สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง),โพล่ง โผล่ง โพล่ว ซู (กะเหรี่ยง),ความสัมพันธ์ไทย-พม่า,ปัญหาของรัฐกะเหรี่ยง,ประเทศพม่า
Author สมโชค สวัสดิรักษ์
Title ความสัมพันธ์ไทย-พม่า-กะเหรี่ยง
Document Type หนังสือ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity โพล่ง โผล่ง โผล่ว ซู กะเหรี่ยง, ปกาเกอะญอ, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 166 Year 2540
Source มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์
Abstract

กะเหรี่ยงเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่งซึ่งรัฐบาลทหารพม่าถือว่าเป็นชนกลุ่มน้อย เมื่อพม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษ ชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ ได้เรียกร้องขออิสระในการปกครองแต่รัฐบาลทหารพม่ากลับไม่ทำตามเงื่อนไขข้อตกลง ทำให้ชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ จัดตั้งกลุ่มเรียกร้องอิสระการปกครองจากรัฐบาลทหารพม่า เช่น กองกำลังกะเหรี่ยงซึ่งมีการจัดตั้งเป็นสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) โดยมีที่ตั้งอยู่ติดชายแดนตะวันตกของไทย ดังนั้น ในการสู้รบกันระหว่างไทย-พม่า จึงส่งผลต่อประเทศไทยในหลายแง่มุม ทั้งความมั่นคงเนื่องจากมีกระสุนปืนตกในฝั่งไทย บ้านเรือนประชาชนเสียหาย ทหารพม่าติดตามโจมตีกองกำลังกะเหรี่ยงเข้ามาในฝั่งไทย เรื่องเศรษฐกิจรัฐบาลกอตูเลมีทรัพยากรธรรมชาติที่พ่อค้าเอกชนและภาครัฐไทยต้องการ การติดต่อสร้างความสัมพันธ์กับรัฐกะเหรี่ยงจึงสำคัญต่อการค้าขาย ในขณะเดียวกันด้านมนุษยธรรม เมื่อเกิดการสู้รบทำให้กะเหรี่ยงได้รับบาดเจ็บ เดือดร้อนจากภัยสงครามจึงอพยพเข้ามาในประเทศไทย ซึ่งรัฐบาลไทยต้องให้การดูแล ช่วยเหลือ อันทำให้รัฐบาลทหารพม่ามองว่ารัฐบาลไทยให้การสนับสนุนสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงในฐานะรัฐกันกระทบ และใช้เรื่องดังกล่าวมาเป็นเงื่อนไขในการเจรจาด้านการค้า การลงทุนระหว่างไทย-พม่า ส่งผลให้เกิดความเดือดร้อนด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การต่างประเทศ ดังนั้นในความสัมพันธ์ระหว่างไทย-พม่า-กะเหรี่ยง จึงเป็นความสัมพันธ์ที่เปราะบางโดยมีรัฐกะเหรี่ยงเป็นตัวแปรสำคัญในความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่าตั้งแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบัน

Focus

เน้นการศึกษาปัญหาชนชาติกะเหรี่ยง หรือ กองทัพสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) ภายใต้การนำของพลเอกโบเมี๊ยะ ในฐานะที่เป็นตัวแปรสำคัญในความสัมพันธ์ระหว่างไทย-พม่า (หน้า lii, liii)

Theoretical Issues

ใช้ทฤษฎีความเกี่ยวพัน : กระบวนการตอบโต้ (reactive process) ของ เจมส์ เอ็น. โรสเนา เป็นกรอบในการวิเคราะห์ โดยอธิบายว่าไทย-พม่า-กะเหรี่ยง มีความสัมพันธ์เกี่ยวพันต่อกัน โดยปัญหาของรัฐกะเหรี่ยงเป็นตัวแปรสำคัญระหว่างความสัมพันธ์ของไทย-พม่า กล่าวคือ รัฐบาลทหารพม่ามองว่ารัฐบาลไทยดำเนินนโยบายใช้รัฐกะเหรี่ยงเป็นรัฐกันกระทบ ให้ความช่วยเหลือเสบียงอาหาร การรักษาพยาบาล อาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ ในการต่อสู้กับรัฐบาลทหารพม่า ฝ่ายรัฐบาลไทยนั้นก็ต้องให้ความช่วยเหลือกะเหรี่ยงในแง่มนุษยธรรม เมื่อมีผู้อพยพก็ต้องดูแลช่วยเหลือ ในขณะเดียวกัน การค้าระหว่างพ่อค้าไทยกับรัฐกะเหรี่ยงก็มีความเติบโต เพราะรัฐกะเหรี่ยงมีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์เป็นที่ต้องการของภาครัฐและเอกชนของไทย รัฐบาลไทยจึงต้องประคับประคองความสัมพันธ์กับรัฐกะเหรี่ยงไว้ด้วยเช่นกัน จากความเกี่ยวพันที่เกิดขึ้นทำให้รัฐบาลทหารพม่าตอบโต้ด้วยการนำเรื่องดังกล่าวมาเป็นเงื่อนไขในการเจรจาการค้า การติดต่อลงทุน อุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั้งในระดับรัฐและเอกชน ทำให้ความสัมพันธ์ไทย-พม่ามีความเปราะบางและกระทบกระเทือนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหลายต่อหลายครั้ง (หน้า lii)

Ethnic Group in the Focus

กะเหรี่ยง แบ่งออกเป็นสองพวก พวกชาวเขา กับกะเหรี่ยงพื้นที่ราบ ทั้งสองพวกนี้มีภาษารูปร่าง ลักษณะผิวพรรณต่างกันบ้าง กะเหรี่ยงชาวเขามีความเป็นอยู่อีกแบบหนึ่งกับกะเหรี่ยงพื้นที่ราบ ทั้งสองพวกนี้มีร่างกายแข็งแรง ใบหูหนา อดทนต่อความลำบากในการทำมาหากิน มีวัฒนธรรมและประเพณีของตนเอง คบค้าสมาคมง่าย ไม่ถือตัว ชอบสงบและมีความซื่อสัตย์ (หน้า 25)

Language and Linguistic Affiliations

กะเหรี่ยงส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ทางส่วนเหนือของพม่า ใช้ภาษากะเหรี่ยง เรียกว่า "สะกอ" (Sgaw) ทางส่วนใต้ใช้ภาษากะเหรี่ยงเรียกว่า "โป" (Pwo) แต่ภาษาเขียนทั้งสองภาคใช้เหมือนกัน ภาษาพูดเพี้ยนกันบ้าง แต่ก็เข้าใจกันได้ภาษากลางใช้ภาษาพม่าและภาษาอังกฤษ อักษรภาษากะเหรี่ยงเริ่มปรากฏครั้งแรกในปี ค.ศ.1823 เมื่อมิชชั่นนารีแบ็บติสต์ชาวอเมริกันชื่อ โจนาธาน เวด ได้คิดประดิษฐ์แบบการเขียนภาษากะเหรี่ยงโดยใช้ภาษาสะกอเป็นหลัก (หน้า25, 26)

Study Period (Data Collection)

เป็นการศึกษาในเชิงประวัติศาสตร์การเมืองของสหภาพพม่าช่วงปี ค.ศ.1988-1995 (พ.ศ.2531-2538) อันเป็นช่วงที่รัฐบาลทหารพม่า (SLORC) อยู่ภายใต้การนำของพลเอกซอหม่อง จนถึงสมัยพลเอกตานฉ่วย (หน้า lii)

History of the Group and Community

กะเหรี่ยงอ้างว่าสืบเชื้อสายมาจากชนชาติโจว (Chou) เมื่อประมาณ 3,000 ปีมาแล้ว เคยตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณทิเบต ต่อมาได้อพยพลงมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในพม่าตอนเหนือ กะเหรี่ยงได้เกิดการสู้รบกับไทยใหญ่ในรัฐฉาน แต่สู้ไทยใหญ่ไม่ได้จึงได้อพยพไปตั้งอยู่บริเวณตอนใต้ของพม่า คือรัฐกะเหรี่ยงในปัจจุบัน (หน้า 12)

Settlement Pattern

กะเหรี่ยงได้จัดตั้งสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงภายใต้การนำของพลเอกโบเมี๊ยะ การจัดตั้งเกิดขึ้นจากรัฐบาลทหารพม่าได้ดำเนินการปราบปรามชนกลุ่มน้อยในช่วงปี ค.ศ.1951-1992 (พ.ศ.2494-2535) โดยรวมตัวจากกะเหรี่ยงที่ต้องการแยกตัวเป็นอิสระ ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติคือล้มล้างอำนาจรัฐบาลทหารพม่า เพื่อแยกตัวเป็นรัฐอิสระและให้ประชาคมระหว่างประเทศรับรอง (recognition) ขณะเดียวกันบริเวณที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของรัฐกะเหรี่ยงมีฐานะเป็นรัฐกันกระทบระหว่างไทย-พม่า เป็นเขตที่ตั้งส่วนหนึ่งของเขตสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ 4 ประเทศ คือ ไทย จีน พม่า และลาว เป็นที่ตั้งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจระดับอนุภูมิภาค มีความได้เปรียบด้านภูมิประเทศที่มีอาณาบริเวณติดต่อกัน มีประโยชน์ต่อความร่วมมือทางด้านการค้า การลงทุน อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และการแลกเปลี่ยน เพื่อใช้ทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งมีภูมิศาสตร์ที่ยากต่อการเข้าถึงฐานที่มั่นได้ เพราะฐานที่มั่นส่วนใหญ่จะหันหน้าให้แม่น้ำเมย โดยมีเทือกเขาสูงโอบล้อมรอบอยู่ข้างหลัง (หน้า 3-4, 6, 36)

Demography

รัฐกะเหรี่ยงมีประชากรประมาณ 8,600,000 คน คิดเป็นร้อยละ 20 ของประชากรในสหภาพพม่า (รวมทั้งกะเหรี่ยงตามแนวชายแดนด้านตะวันตกของไทย) ประชากรกะเหรี่ยงร้อยละ 70 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในบริเวณลุ่มน้ำอิรวดีตอนล่าง ดินแดนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำสะโตง (Sittang) ลุ่มน้ำสาละวินตอนล่าง และแถบภูเขาตามแนวชายแดนไทย-พม่า ชนชาติกะเหรี่ยงอาจแบ่งได้เป็นกลุ่มย่อย 2 กลุ่มหลักคือ "สะกอ" (Sgaw) และ "โป" (Pwo) กลุ่มสะกอมีจำนวนร้อยละ 60 ของกะเหรี่ยงทั้งหมด อาศัยอยู่ทางใต้ของกลุ่มโป นอกจากนี้ ยังมีกะเหรี่ยงกลุ่มย่อยอีกหลายกลุ่ม เช่น พวกคะยาหรือคะเรนนี ((กะเหรี่ยงยางแดง) ฯลฯ ซึ่งอาศัยอยู่ในรัฐคะยาและจังหวัดแม่ฮ่องสอนของไทยในปัจจุบัน และยังมีพวกปะโอ (Pa-o) หรือพวกต้องสู้ (มาจากตองอู หมายถึง ผู้อาศัยอยู่บนภูเขาในภาษาพม่า) พวกนี้แม้จะพูดภาษาซึ่งมีความเกี่ยวโยงกับภาษาพวกโป แต่มีความคล้ายคลึงทางวัฒนธรรมกับพวกฉานหรือไทยใหญ่มากกว่า (หน้า 13-14)

Economy

กะเหรี่ยงส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม นอกจากนี้จากปัจจัยทางภูมิศาสตร์ ที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่กลายเป็นสิ่งหายากในปัจจุบันได้แก่ อัญมณี แร่ธาตุ และไม้สัก ฯลฯ ทำให้กะเหรี่ยงมีการทำการค้าอัญมณี แร่ธาตุ และไม้สัก แลกกับอาวุธจากกลุ่มพ่อค้าของเถื่อนในประเทศไทย ทั้งนี้เพราะกะเหรี่ยงไม่นิยมเก็บเงินจั๊ดในมือ แต่จะนิยมเปลี่ยนเป็นสิ่งของและสินค้าหรือเงินบาทมากกว่า จากความอุดมสมบูรณ์ดังกล่าว ทำให้รัฐบาลทหารพม่าต้องการที่จะได้ครอบครองทรัพยากรธรรมชาตินั้น เหตุดังกล่าวส่งผลให้เกิดการคุกคามจากรัฐบาลทหารพม่า ทำให้รัฐกะเหรี่ยงต้องนำเอาทรัพยากรมาแลกเปลี่ยนซื้ออาวุธ เพื่อสร้างศักยภาพทางทหาร จึงเกิดการค้านอกระบบหรือตลาดมืดอย่างกว้างขวางในบริเวณชายแดนไทย-พม่า สินค้าที่เป็นที่นิยมในตลาดมืดซึ่งกะเหรี่ยงได้เปรียบคือ สินค้าส่งออกที่มีมูลค่าสูงอย่าง ไม้ซุง ผลิตภัณฑ์ไม้ อัญมณี และแร่ธาตุ ฯลฯ รวมทั้งมีการค้ากับต่างประเทศอย่าง ญี่ปุ่นและไต้หวันด้วย (หน้า 13, 30, 37, 50, 81, 84)

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

กะเหรี่ยงได้รวมตัวจัดตั้งกลุ่มกู้ชาติเพื่อให้รัฐกะเหรี่ยงเป็นอิสระในการปกครอง เพราะกะเหรี่ยงไม่ต้องการที่จะเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพพม่า รัฐกะเหรี่ยงแยกเป็น 2 กลุ่มคือ กอตูเลตะวันตกและกอตูเลตะวันออก ต่อมาจึงรวมกันเป็นรัฐบาลกอตูเล ซึ่งมีการจัดองค์กรการปกครองและกำลังทหารอย่างมีระเบียบมีความสามัคคี มีวัฒนธรรมตลอดจนมีขนบประเพณีของตนเอง มีอุดมการณ์ในการต่อสู้เพื่อแยกตัวโดยนโยบายทางการทหารสำคัญที่สุด ทุกคนต้องเป็นทหารทุกเพศทุกวัยไม่มีปลดเกษียณ คำขวัญของชาติกะเหรี่ยงคือ "จะต้องได้มาซึ่งรัฐกะเหรี่ยงอิสระ ต้องได้มาซึ่งความเสมอภาคและไม่มีสงครามกลางเมือง" มีหัวหน้าหมู่บ้านหรือผู้นำทางศาสนาพื้นเมือง (Hihko) ซึ่งจะมีหน้าที่รับผิดชอบต่าง ๆ โดยในทางการเมืองกะเหรี่ยงมีการเคลื่อนไหวทางการเมืองตั้งแต่ ค.ศ.1886 เพราะกะเหรี่ยงเคยช่วยเหลือทหารอังกฤษรบกับพม่า เมื่ออังกฤษเข้าปกครองประเทศพม่าแล้วรัฐกะเหรี่ยงจึงขอสิทธิในการปกครองแต่ไม่สำเร็จ ในปี ค.ศ.1947 พลเอกซอบาอู (Saw Ba U) ผู้นำกะเหรี่ยงได้รวมกำลังกะเหรี่ยงจัดตั้งกลุ่มกู้ชาติขึ้นเรียกว่า "สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง" โดยมีพลเอกซอบาอูเป็นประธานาธิบดี ดำเนินการเพื่อให้รัฐกะเหรี่ยงเป็นอิสระ เมื่อ ค.ศ.1964 สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงได้แบ่งแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ กอตูเลตะวันตกและกอตูเลตะวันออก ต่อมาในวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ.1975 จึงรวมกันเป็นรัฐบาลกอตูเลภายใต้การนำของพลโทโบเมี๊ยะและใช้ชื่อว่า "สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง" ตั้งกองบัญชาการสูงสุดขึ้น ณ ค่ายมาเนอปลอว์ ตรงข้ามอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ดำเนินการต่อต้านรัฐบาลทหารพม่า ระบบการปกครองเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ (republic) มีประธานาธิบดีเป็นประมุข โดยได้รับจากการเลือกตั้งของผู้บัญชาการกองพลต่าง ๆ ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวแทนประชาชน วาระการเป็นประธานาธิบดี 4 ปี ประธานาธิบดีเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดโดยตำแหน่ง มีสภาแห่งรัฐเป็นองค์กรที่มีอำนาจสูงสุด ประกอบด้วย "คณะกรรมการกลาง" ซึ่งทำหน้าที่เลือกตั้ง "คณะรัฐมนตรี" และผู้ว่าการของพื้นที่ต่าง ๆ โดยมี"รัฐมนตรี" ว่าการส่วนราชการต่างๆ เป็นผู้รับผิดชอบ ปัจจุบันรัฐกอตูเลมีพลเอกโบเมี๊ยะ เป็นประธานาธิบดี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐกะเหรี่ยงแบ่งเขตการปกครองเป็น 7 เขต แต่ละจังหวัดหรือเขตแบ่งเขตการปกครองเป็นอำเภอ (เมือง) ตำบล และหมู่บ้าน ตามลำดับ มีคณะกรรมการบริหารรับผิดชอบในการบริหารแต่ละระดับ นอกจากนี้ รัฐกะเหรี่ยงยังมีฐานะเป็นรัฐกันกระทบระหว่างไทย-พม่า เป็นตัวแปรสำคัญในความสัมพันธ์ระหว่างไทย-พม่า การสู้รบระหว่างรัฐกะเหรี่ยง-พม่าเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งอันนำมาซึ่งความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนฝั่งไทย มีกระสุนปืนตกเข้ามาฝั่งไทย ทหารพม่าติดตามโจมตีกำลังกะเหรี่ยงเข้ามาฝั่งไทย และการสู้รบของกะเหรี่ยงพุทธกับกะเหรี่ยงคริสต์อันเกิดจากการสนับสนุนกะเหรี่ยงพุทธของรัฐบาลทหารพม่า การสู้รบบ่อยครั้งนำมาซึ่งการอพยพเข้ามาฝั่งไทยของกะเหรี่ยงหรือชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ โดยที่รัฐบาลไทยก็จำต้องจัดการ ทั้งนี้การให้ความช่วยเหลือกลับทำให้รัฐบาลทหารพม่ามองว่า รัฐบาลไทยดำเนินนโยบายรัฐกันกระทบโดยใช้รัฐกะเหรี่ยง มีการยินยอมให้กองกำลังติดอาวุธชนกลุ่มน้อยใช้ดินแดนไทยเป็นฐานปฏิบัติการการก่อร้ายในพม่า และสนับสนุนทหารกะเหรี่ยงในด้านอาวุธ เสบียงอาหาร และการรักษาพยาบาล ซึ่งแท้จริงนั้นการต่อสู้กันระหว่างกองกำลังกะเหรี่ยงกับรัฐบาลทหารพม่าทำให้กะเหรี่ยงได้รับบาดเจ็บ และบ่อยครั้งรัฐบาลทหารพม่าก็ใช้เหตุการณ์ต่าง ๆ นี้เป็นเงื่อนไขในการเจรจาต่อรองในการค้าชายแดนไทย-พม่า และการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชนของไทย ด้วยการหน่วงเหนี่ยวการเจรจาหรือปิดด่านศุลกากร ปิดด่านชักลากไม้ ตลอดจนการให้สัมปทานการทำไม้ การประมง การเกษตรกรรม การท่องเที่ยวของเอกชนไทย (หน้า 6, 8, 16,18-19, 22-24, 27, 53, 69, 80-81, 107, 126, 131)

Belief System

กะเหรี่ยงส่วนใหญ่ยึดถือประเพณีดั้งเดิม คือ การนับถือผี เชื่อการปักกระดูกไก่ บางพวกนับถือศาสนาพุทธ นอกจากนี้ยังนับถือบุคคลที่ประพฤติตัวอยู่ในศีล ซึ่งเรียกว่า "ฤาษี" แต่ในปัจจุบันความเจริญได้แพร่เข้าไปถึง กะเหรี่ยงได้หันมานับถือศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์ บุคคลระดับผู้นำมีการศึกษาหรือระดับหัวหน้าส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ลัทธิโปรเตสแตนท์ (หน้า 25)

Education and Socialization

การศึกษาเป็นปัญหาใหญ่เรื่องหนึ่งของกะเหรี่ยง นับตั้งแต่กะเหรี่ยงเริ่มปฏิวัติเพื่อเป็นรัฐอิสระเมื่อปี ค.ศ.1948 เป็นต้นมา การศึกษาของรัฐกะเหรี่ยงแบ่งเป็น 4 ระดับคือ ระดับอนุบาล ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมตอนต้น ระดับมัธยมตอนปลาย ในหลักสูตรการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา นักเรียนชายกะเหรี่ยงต้องศึกษาวิชาบังคับว่าด้วยการทหาร ต้องทำการฝึกวิชาทหารราบ ทุกคนไม่มียกเว้น เริ่มตั้งแต่อายุ 13 ปี ผู้ที่จะสำเร็จการศึกษาออกไปประกอบอาชีพทหารนั้นจะต้องฝึกหนักมา จนเมื่ออายุครบ 16 ปีบริบูรณ์จึงจะได้รับอนุญาตให้ติดตามกองทหารออกไปปฏิบัติหน้าที่ในสนามรบ รัฐกะเหรี่ยงมีโรงเรียนอยู่ 4 แห่ง นักเรียนกะเหรี่ยงจะต้องเสียค่าใช้จ่ายคนละไม่เกิน 900 บาทต่อปี นักเรียนที่มีผลการเรียนดีรับบาลกอตูเลจะให้ทุนการศึกษา โดยต้องพรางตัวไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยย่างกุ้งหรือต่างประเทศ เช่น ไทย ปัจจุบัน สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงส่งเสริมการศึกษาให้กับกะเหรี่ยงอย่างกว้างขวาง ด้วยการสร้างโรงเรียนขึ้นในชุมชน เปิดสอนภาษากะเหรี่ยง "สะกอ" และ"โป" ภาษาพม่า ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย (หน้า 33-35)

Health and Medicine

เนื่องจากการสู้รบมีตลอดเวลา ทำให้กะเหรี่ยงหรือชนกลุ่มน้อยได้รับความเดือดร้อน บาดเจ็บและบางส่วนได้อพยพเข้าในฝั่งไทย ดังนั้น รัฐบาลไทยกับองค์การเอ็มเอสเอฟของฝรั่งเศสจึงให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อพยพกะเหรี่ยงในเขตจังหวัดตากร่วมกับผู้ช่วยกะเหรี่ยงที่ได้รับการฝึกอบรมจากองค์กร หากมีผู้เจ็บป่วยหนักจะนำส่งโรงพยาบาลท่าสองยาง โรงพยาบาลแม่สอด และโรงพยาบาลอื่น ๆ ในเขตจังหวัดตาก (หน้า 78, 80)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

กะเหรี่ยงจะมีบทเพลงและบทกลอนที่กะเหรี่ยงท่องจำเกี่ยวกับผู้นำในอดีตที่พวกเขายกย่องสรรเสริญ อย่างเช่นเรื่องของ "ออเมบา" บรรพบุรุษต้นตระกูลกะเหรี่ยง (หน้า 16)

Folklore

ไม่มีหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับต้นกำเนิด แต่จะมีตำนานบอกเล่าที่กะเหรี่ยงทุกกลุ่มจะจดจำสืบทอดกันมาว่าพวกเขาได้เดินทางข้ามแม่น้ำสายหนึ่ง ซึ่งบางครั้งมีผู้แปลชื่อว่า "แม่น้ำทรายไหล" ก่อนที่จะมาถึงดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป นอกจากนั้น ผู้ที่เล่าตำนานกะเหรี่ยงได้กล่าวถึงเหตุการณ์ในอดีตว่ากะเหรี่ยงดูเหมือนจะไม่มีระบบปฏิทินที่นับเวลาเป็นปี ซึ่งทำให้การกำหนดเวลาของเหตุการณ์ในอดีตอย่างเที่ยงตรงเป็นไปไม่ได้ วลีเช่น "กะส่า กะส่า" (Kasa Kasa) ชั่วคนแล้วชั่วคนเล่าปรากฎอยู่เสมอในนิทานของกะเหรี่ยง และกะเหรี่ยงเพิ่งเริ่มอาศัยการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรเมื่อ ค.ศ.1832 (หน้า 14, 16)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

จากบทเพลงของกะเหรี่ยงร้องเป็นตำนานไว้ว่า พระเจ้ายั่วเป็นผู้สร้างโลก สร้างกะเหรี่ยงขึ้นก่อน ส่วนชนชาติอื่น ๆ ที่เกิดภายหลัง ล้วนแต่เป็นน้องชายและน้องสาวของกะเหรี่ยงทั้งสิ้น เมื่อชนชาติอื่นไปหาเขาถือว่าพวกน้อง ๆ มาเยี่ยมจะต้อนรับอย่างดี นอกจากนี้ในเรื่องความสัมพันธ์ของรัฐกะเหรี่ยงกับไทยและพม่านั้นเป็นไปในฐานะรัฐกันกระทบ ซึ่งการสู้รบระหว่างพม่าและรัฐกะเหรี่ยงได้ส่งผลต่อความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่างไทย-พม่า เนื่องจากรัฐบาลทหารพม่าได้กำหนดยุทธศาสตร์ให้กะเหรี่ยงเป็นศัตรูอันดับหนึ่งที่ต้องปราบปรามอย่างเด็ดขาด แต่ฐานที่มั่นของรัฐกะเหรี่ยงอยู่ติดชายแดนตะวันตกของไทย การปราบปรามจึงไม่สามารถสำเร็จได้ ทำให้รัฐบาลไทยถูกมองว่าให้การสนับสนุน ก่อให้เกิดปัญหาในความสัมพันธ์ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ ดังนั้นรัฐกะเหรี่ยงจึงมีความสำคัญอย่างมากเพราะเป็นตัวแปรสำคัญในความสัมพันธ์ไทย-พม่า (หน้า 25, 131)

Social Cultural and Identity Change

เดิมกะเหรี่ยงนับถือผี เชื่อการปักไก่ นับถือฤาษี แต่ในปัจจุบันความเจริญได้แพร่เข้าไปถึงกะเหรี่ยงได้หันมานับถือศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์ บุคคลระดับผู้นำมีการศึกษาหรือระดับหัวหน้าส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ลัทธิโปรเตสแตนท์ นอกจากนี้หลังจากประเทศพม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี ค.ศ.1948 แล้ว บรรดาชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ ในสหภาพพม่าได้เรียกร้องและทวงสัญญาในการปกครองตนเอง โดยเฉพาะกะเหรี่ยงนั้นไม่ต้องการที่จะเข้าเป็นส่วนหนึ่งของพม่า เกิดการรวมกันตั้งเป็นสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง เพื่อล้มล้างอำนาจรัฐบาลทหารพม่า กลุ่มกะเหรี่ยงที่เคยรวมกลุ่มกันนั้น รัฐบาลทหารพม่าก็ได้เข้าไปสนับสนุนกะเหรี่ยงพุทธก่อให้เกิดการแตกแยกระหว่างกลุ่มกะเหรี่ยงทั้งสอง เกิดการสู้กันระหว่างกะเหรี่ยงพุทธและกะเหรี่ยงคริสต์ การสู้รบทำให้เกิดการอพยพเข้ามาในประเทศไทย เข้ามาอาศัยอยู่ในศูนย์อพยพในประเทศไทย (หน้า 25, 40)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

แผนที่รัฐกะเหรี่ยง (หน้า 20) แผนที่แสดงที่ตั้งมาเนอปลอร์ (หน้า 21) สถิติการค้าระหว่างไทยกับสหภาพพม่า ปี ค.ศ.1984-4991 มูลค่า/ล้านบาท (หน้า 85) แผนที่สังเขปแสดงพื้นที่อิทธิพลของกองกำลังชนกลุ่มน้อยสัญชาติพม่าติดชายแดนไทย (หน้า 92) แผนที่สังเขปแสดงที่ตั้งกองกำลังชนกลุ่มน้อยบริเวณชายแดนไทย-พม่า (หน้า 93) แผนที่การวางกำลังทหารของสหภาพพม่า ค.ศ.1994-1995 (หน้า 105) แผนที่สังเขปแสดงที่ตั้งของศูนย์อพยพ (หน้า 127) 40 สัมปทานป่าไม้ตลอดแนวชายแดนฝั่งตะวันตก (หน้า 135) ภาพและบทกวีของนักศึกษาพม่าผู้พลัดถิ่น (หน้า 159)

Text Analyst อินทิรา วิทยสมบูรณ์ Date of Report 15 มี.ค 2564
TAG ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง), โพล่ง โผล่ง โพล่ว ซู (กะเหรี่ยง), ความสัมพันธ์ไทย-พม่า, ปัญหาของรัฐกะเหรี่ยง, ประเทศพม่า, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง