สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ม้ง, เมี่ยน, ลีซู, ลาหู่, ลเวือะ, ลัวะ,ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง),โพล่ง โผล่ง โพล่ว ซู (กะเหรี่ยง), ชาวเขา,จักรวาลวิทยา,กระบวนการเคลื่อนไหวทางศาสนา,ศาสนาคริสต์,จิตสำนึกชาติพันธุ์,ภาคเหนือ
Author Claes Corlin
Title The Politics of Cosmology : An Introduction to Millenarianism and Ethnicity among Highland Minorities of Northern Thailand
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity ลัวะ (มัล ปรัย) ลัวะมัล ไปร ลัวะปรัย, ลีซู, ลาหู่ ลาหู่ ละหู่ ลาฮู, อิ้วเมี่ยน เมี่ยน, ม้ง, โพล่ง โผล่ง โผล่ว ซู กะเหรี่ยง, ปกาเกอะญอ, ลัวะ (ละเวือะ) ลเวือะ อเวือะ เลอเวือะ ลวะ ละว้า, ละว้า ลัวะ ว้า, Language and Linguistic Affiliations ไม่ระบุ
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 16 Year 2543
Source Civility and Savagery, ed. Andrew Turton
Abstract

การเคลื่อนไหวเพื่อโลกใหม่ที่ดีขึ้น(millenarian) ในหมู่ชาวเขาทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เกิดจากองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น ความหมายทางวัฒนธรรมของชาวเขากลุ่มต่าง ๆ สถานะทางเศรษฐกิจ-การเมืองระหว่างปลายศตวรรษที่ 19 ถึงศตวรรษที่ 20 อิทธิพลทางวัฒนธรรมของชนส่วนใหญ่ที่ปกครองอยู่ (อาทิเช่น วัฒนธรรมพุทธนิกายเถรวาท) รวมทั้งอิทธิพลของมิชชันนารี (หน้า 116) ความหมายทางวัฒนธรรม หมายถึง วิถีทางเฉพาะที่ถือปฏิบัติในการเคลื่อนไหวเพื่อโลกใหม่ที่ดีกว่า แม้ว่าจะมีลักษณะร่วมกับแบบแผนการเคลื่อนไหวแบบ millenarian ทั่วไป แต่ก็จะมีลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรมสำหรับความเคลื่อนไหวของกลุ่มชาวเขาในประเทศไทย ซึ่งมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ อาจจะกล่าวได้ว่ามีความร่วมกันบางประการอันเนื่องจากการมีพื้นฐานระบบคิด และโลกทัศน์ในเรื่องจักรวาลที่คล้ายคลึงกัน ความหมาย หรือการสื่อเชิงวัฒนธรรมมิใช่เป็นเรื่องที่ตายตัว แต่ถูกก่อรูปมาในช่วงเวลาอันยาวนานที่ได้มีการปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และกลุ่มชนที่อยู่รอบข้างตำนานบ่งบอกว่า "ชาวเขา" เป็นผู้พ่ายแพ้ แต่ตำนานก็ให้ความหวังว่า สักวันหนึ่งยุคทองจะกลับคืนมาในโลกปัจจุบัน วัฒนธรรมของชาวเขาต้องเผชิญหน้ากับวัฒนธรรมที่เป็นของรัฐไทย และอาจจะทำให้ชาวเขารู้สึกถูกคุกคามในทางวัฒนธรรม คริสตศาสนาอาจจะเป็นทางเลือกหนึ่ง (หน้า 117) คริสต์ศาสนากับความเชื่อท้องถิ่นของชาวเขาดูเหมือนจะเข้ากันได้ดี โดยความเชื่อบางอย่างของชาวเขานั้นสอดคล้องกับสิ่งที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ไบเบิ้ล เช่น ความเชื่อเกี่ยวกับน้ำท่วมโลก มีมิชชันนารีผู้หนึ่งถึงกับกล่าวอ้างว่ากะเหรี่ยงก็คือกลุ่มชนในอิสราเอลที่สาบสูญไป อย่างไรก็ตาม พัฒนาการของความสัมพันธ์ดังกล่าวได้พิสูจน์แล้วว่าการพบกันของสองวัฒนธรรมจะทำให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้น ทั้งนี้ องค์ประกอบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมของชาวเขา สถานการณ์ที่ล่อแหลมในฐานะที่เป็นชนกลุ่มน้อย รวมทั้งอิทธิพลของศาสนาคริสต์ ได้ส่งผลให้เกิดความเคลื่อนไหวทางการเมืองขึ้นอย่างไม่คาดคิด ซึ่งก็รวมถึงการสร้างนิยามใหม่ให้กับชาติพันธุ์ของตนด้วย ตัวอย่างเช่น กองกำลังกะเหรี่ยงเพื่อการปลดแอก (Karen Liberation Army)(หน้า 117) ทุกวันนี้ชาวเขาชนกลุ่มน้อยเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และวัฒนธรรม โดยทัวร์ต่างชาติและอุตสาหกรรมป่าไม้เป็นสิ่งที่สร้างรายได้เป็นอย่างดี(หน้า 117) อย่างไรก็ตาม ชีวิตของชาวเขาก็เปลี่ยนไปในหลาย ๆ ด้าน อย่างเช่น การมีโทรทัศน์เข้ามาแทนที่นิทานเรื่องเล่า และการใส่เสื้อแบบสมัยใหม่แทนเสื้อผ้าพื้นเมือง แต่ในขณะเดียวกันก็มีจิตสำนึกด้านชาติพันธุ์ในกลุ่มคนวัยรุ่นที่มีการศึกษา และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็น มาของชนกลุ่มน้อยก็ก่อให้เกิดความรู้ซึ้งในวัฒนธรรมที่เจริญงอกงามอย่างยิ่งของชาติพันธุ์ตนเอง นอกจากนั้น พวกเขายังตระหนักถึงประเด็นความเท่าเทียมกันทางการเมืองและเศรษฐกิจอีกด้วย(หน้า 119)

Focus

ผู้ศึกษาต้องการให้เห็นว่าในกระบวนการเคลื่อนไหวทางศาสนาของชาวเขาในภาคเหนือของไทย มีมิติทางวัฒนธรรมนอกจากมิติทางการเมือง และมีความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อทางศาสนา และการปฏิบัติการทางการเมืองในสถานการณ์ดังกล่าว

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ชาวเขา

Language and Linguistic Affiliations

มีภาษาทั้งหมด 3 ตระกูลหลักที่ใช้ในพื้นที่บริเวณตอนเหนือของไทยบาง ส่วนของพม่า ลาว เวียดนาม และมณฑลยูนานของประเทศจีน คือ ตระกูล Sino-Tibetan (จีน, ทิเบต-พม่า), ตระกูล Austro-Thai (แม้ว-เย้า) และตระกูล Austro-Asiatic (มอญ-เขมร, กะเหรี่ยง) (หน้า 106)

Study Period (Data Collection)

ค.ศ. 1991-1992 (หน้า 104)

History of the Group and Community

มโนทัศน์ "Millenium" ได้มีต้นกำเนิดจากคัมภีร์ "New testament" ของคริสต์ศาสนา กล่าวถึงการฟื้นคืนชีพของพระเยซูในฐานะเป็นพระผู้ไถ่ให้รอด (Messiah) และในประวัติศาสตร์ของโลกคริสเตียนได้มีการเคลื่อนไหวทางศาสนาถึงการกลับมาของพระเยซูโดยกลุ่มที่ถูกกดขี่ในสังคม และในบางครั้งเกิดการใช้กำลังต่อต้านผู้มีอำนาจทางศาสนา ส่วนในโลกของศาสนาอื่น ๆ ที่ใช้คริสเตียนก็มีการเคลื่อนไหวทำนองเดียวกัน เช่น การเคลื่อนไหวทางศาสนาที่เรียกว่า "Ghost Dance" ของอินเดียนแดงในอเมริกาเหนือ (หน้า 104-105) ความเคลื่อนไหวทางศาสนาที่เรียกว่า "millenarianism" มักจะเริ่มด้วยการปรากฎตัวของศาสดา (Prophet) อ้างว่าเป็นผู้ส่งข่าวอันศักดิ์สิทธิ์ หรืออาจจะถูกวิญญาณศักดิ์สิทธิ์สิงสู่ จะเป็นผู้มาช่วยคนที่ถูกกดขี่ในโลกที่ไร้ความยุติธรรม และจะสร้างโลกใหม่ที่มีความยุติธรรมให้ จะขอให้ทุกคนรอคอยผู้ที่จะมาช่วยให้ทุกคนรอดพ้นจากความทุกข์ยาก (หน้า 105) สำหรับกลุ่มชาวเขาที่ศึกษาซึ่งมีหลากหลายชาติพันธุ์ อาศัยอยู่บนพื้นที่สูงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเมื่อเวลาผ่านไปก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของรัฐประชาชาติต่าง ๆ ในพื้นที่ดังกล่าว (หน้า 106) ในทางตอนเหนือของประเทศไทยก่อนทศวรรษของ 1950 รัฐบาลไทยไม่เข้าไปแทรกแซง เช่น การอพยพเข้ามาเป็นจำนวนมาก การปลูกฝิ่นและค้าฝิ่น แต่ด้วยปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทำให้รัฐบาลเข้าไปแทรกแซงมากขึ้นเรื่อย ๆ (หน้า 104) เช่น การส่งเสริมพืชอื่นแทนฝิ่น การมีหน่วยตำรวจตระเวนชายแดนควบคุม การตั้งกองสงเคราะห์ชาวเขา และการเผยแพร่ศาสนา

Settlement Pattern

โดยทั่วไปตั้งหมู่บ้านบนภูเขา และอาศัยอยู่เป็นย่อม ๆ มากกว่าที่จะอยู่รวมกันเป็นร้อย ๆ หลังคาเรือน (หน้า 106)

Demography

การย้ายถิ่นมักเป็นผลมาจากสงคราม ซึ่งโดยมากเป็นการอพยพย้ายถิ่นข้ามประเทศ เช่น ผู้ลี้ภัยสงครามจากเวียดนาม และพม่า หรือชาวเขานับพันจากประเทศลาวที่เข้ามาอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของไทย ขณะที่บางส่วนย้ายไปอยู่ถึงสหรัฐอเมริกา แคนาดา ฝรั่งเศส (หน้า 106)

Economy

ส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา(นาหว่าน) ทำไร่เลื่อนลอยแต่มีบางส่วนที่เพาะปลูกข้าวนาดำตามบริเวณที่ลาด หรือเนินเขา (หน้า 106)

Social Organization

ไม่ได้ระบุ

Political Organization

ตามประวัติศาสตร์ของชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในพื้นที่การศึกษานั้น พวกเขาถูกนับรวมให้เป็นคนในชาติมากบ้างน้อยบ้าง แต่ก็มักถูกครอบงำโดยคนที่อยู่ในที่ราบ (หน้า 106) ตั้งแต่อดีตจนถึงทศวรรษ 50 รัฐบาลมีนโยบายเกี่ยวกับชาวเขาชนกลุ่มน้อยในลักษณะที่ไม่พยายามเข้าไปแทรกแซง แต่เนื่องจากปัญหาผู้ลี้ภัยจากประเทศที่เป็นคอมมิวนิสต์อพยพเข้ามาในไทยมากขึ้น รัฐบาลเริ่มกลัวกลุ่มคนเหล่านี้จะเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศ จึงมีการตั้งหน่วยงานตำรวจชายแดนขึ้นมาในปี 1953 เพื่อตรวจสอบกลุ่มคนซึ่งมีแนวโน้มที่จะสร้างความไม่ปลอดภัย ต่อมาในปี 1967 กองทัพบกได้ดำเนินการเฝ้าระวังคอมมิวนิสต์ในพื้นที่บริเวณที่เป็นเทือกเขา เป็นเหตุให้หมู่บ้านของม้ง และเมี่ยนหลายแห่งถูกเผา และผู้คนมากมายถูกบังคับให้ย้ายมาอยู่ในพื้นที่ควบคุม ขณะที่ฝ่ายสงฆ์เองก็พยายามช่วยเหลือโดยการส่งมิชชันนารีเข้าไปในหมู่บ้านของชาวเขาในกลางทศวรรษที่ 60 เช่นกัน เพื่อที่จะหลอมรวมชาวเขาชนกลุ่มน้อยให้เข้ากับคนอื่น ๆ ในชาติ (หน้า 107) ทางการไทยประสบความสำเร็จในการพยายามหาพืชชนิดอื่นมาทดแทนการปลูกฝิ่นของชาวเขา โดยหมู่บ้านชาวเขาหลายแห่งหันมาปลูกผัก อย่างไรก็ดี สำหรับในด้านการจำหน่ายผลผลิตก็ยังมีปัญหาในเรื่องการขนส่ง อีกทั้งเมื่อเศรษฐกิจเริ่มเปลี่ยนไป การทำเกษตรจำเป็นต้องลงทุนมากขึ้น ซึ่งก็ส่งผลให้ชาวเขาต้องเป็นหนี้สถาบันการเงินในเมือง (หน้า 107) สำหรับการลดการทำลายป่าไม้นั้น ทางการได้สร้างอุทยานแห่งชาติในพื้นที่ภูเขา แต่นโยบายนี้เองได้ทำให้ชาวเขานับพันคนกลายเป็นผู้รุกล้ำพื้นที่ป่า (หน้า 107) ซึ่งชาวเขาหลายคนอพยพมาอยู่ที่ราบ นอกจากนี้ ยังมีความเปลี่ยนแปลงอีกมากที่เกิดขึ้น เช่น การเติบโตของธุรกิจท่องเที่ยว อันส่งผลให้ชาวเขาพบว่าตนเองตกอยู่ในสถานการณ์ที่เสี่ยงมากขึ้นเรื่อย ๆ (หน้า 108) ในบรรดาชาวเขาเผ่าต่าง ๆ นั้น ลั๊วะกับกะเหรี่ยงถูกมองว่าเป็นคนในท้องถิ่น ในขณะที่เผ่าอื่น ๆ ล้วนมีต้นกำเนิดจากจีนตอนใต้ แล้วจึงค่อยอพยพเข้ามาผ่านพรมแดนลาว และพม่า (หน้า 108) กิจกรรมของมิชชันนารีถือว่าทำให้ศาสนาคริสต์ประสบความสำเร็จในชุมชนชาวเขา ตรงกันข้ามกับพุทธศาสนาซึ่งไม่เป็นเช่นนั้น ความแตกต่างนี้เกี่ยวข้องกับประเด็นทางการเมือง และประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ สำหรับในประเทศไทยนั้น พุทธนิกายเถรวาทนั้นเชื่อมโยงอยู่อย่างเหนียวแน่นกับอำนาจรัฐ และระบบความเชื่อของคนไทยส่วนใหญ่ ซึ่งการที่ชาวเขาจะประยุกต์พุทธศาสนามาใช้ก็เท่ากับเป็นการประยุกต์วิถีชีวิตทั้งหมดของชนส่วนใหญ่ไปด้วย แต่หลักธรรมของพุทธศาสนาก็สอดคล้องเข้ากันได้กับศาสนาความเชื่อต่าง ๆ ของชาวเขาแต่ละกลุ่ม ขณะที่ศาสนาคริสต์ก็มีแนวปฏิบัติที่ใกล้เคียงกับค่านิยมความเชื่อของชาวเขา แนวคิดคริสต์ที่รวมกับความเชื่อเดิมนั้น ได้ผลิตศาสนารูปแบบใหม่ และบางครั้งได้กระตุ้นให้เกิดพลังแห่งการเคลื่อนไหวทางสังคม ทั้งนี้ ชาวเขาบางกลุ่มได้เคยมีการติดต่อกับมิชชันนารีตั้งแต่สมัยอยู่ที่ประเทศจีนแล้ว (หน้า 110) ม้งในลาวและทางตอนเหนือของไทยก็ได้รับการกระตุ้นให้ทำการเคลื่อนไหวต่อต้านการเมืองเช่นกันโดยในปี 1918 ม้งในลาว นำโดย Paj Cai ได้ลุกฮือขึ้นเป็นกบฏหรือเป็นศัตรูกับคนไทย คนลาว และคนฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าการกระทำครั้งนี้ดูเหมือนมีลักษณะที่คิดเองทำเอง แต่แท้จริงแล้วได้รับการสนับสนุนจากมิชชันนารีนั่นเอง ขณะที่ในช่วงทศวรรษ 50 ก็มีการเคลื่อนไหวที่เรียกว่า "Meo Trinity Cult" เกิดขึ้น ซึ่งมีม้ง 3 คนอ้างว่าเป็นตัวแทนของ "Holy Trinity" โดยพวกเขาได้ตระเวนจากหมู่บ้านหนึ่งไปยังอีกหมู่บ้านหนึ่งเพื่อจูงใจคนผู้อื่นเปลี่ยนมานับถือคริสต์ แต่การเคลื่อนไหวครั้งนี้จบลงด้วยการที่ม้งคนหนึ่งฆ่าตัวตายโดยการกระโดดจากภูเขา เพื่อที่จะแสดงว่าเขาสามารถบินได้เหมือนนก (หน้า 112)

Belief System

ความเชื่อท้องถิ่นของชาวเขามาจากการหล่อหลอมรวมกันของวัฒนธรรมพุทธ เต๋า และคริสต์(เผยแพร่โดยมิชชันนารี) (หน้า 104) ส่วนวัฒนธรรมต่าง ๆ นั้น ชาวเขาแต่ละเผ่าได้รับอิทธิพลระหว่างกัน ซึ่งศาสนาของชาวเขาสะท้อนให้เห็นว่ารับอิทธิพลจากเต๋า ขงจื้อ และพุทธ (หน้า 108) ถึงแม้จะได้รับอิทธิพลจากพุทธทั้งนิกายเถรวาทและมหายาน อีกทั้งแนว คิดพุทธจะมีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวเพื่อให้เกิดโลกใหม่ที่ดีขึ้น millenarian ก็ตาม แต่แกนหลักของการเคลื่อนไหวตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 นั้น มาจากการสนับสนุนโดยคริสตศาสนา (หน้า 109) อย่างไรก็ตาม วัฒนธรรมความเชื่อทั้งหลายที่มีการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนกันนั้น ได้แก่ ความเชื่อเกี่ยวกับต้นกำเนิดของโลก และความเป็นมาของมนุษยชาติ ตลอดจนชาติพันธุ์ที่หลากหลายในโลกของเรา ทั้งนี้ทั้งนั้น ความเชื่อต่าง ๆ นั้น มิได้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของชาวเขาเผ่าใดเผ่าหนึ่ง อย่าง เช่น ความเชื่อในเรื่องของวิญญาณก็มีให้เห็นทั่วไปในหลายพื้นที่ทั้งพม่า ไทย จีน และเวียดนาม (หน้า 108) นอกจากนั้นแล้ว ชาวเขาไม่มีสังคมที่เป็นศูนย์กลางและศาสนาหลัก หากแต่ชาติพันธุ์ต่าง ๆ และหมู่บ้านแต่ละแห่งล้วนมีชุดของความเชื่อและวิถีปฏิบัติที่แตกต่างจากชุมชนอื่นไม่มากก็น้อยทั้งสิ้น (หน้า 109) ความเชื่อ และการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับ millenarian เริ่มต้นจากการปรากฏตัวของผู้รับสารจากพระเจ้าที่อ้างว่าโลกแห่งความอยุติธรรมกำลังจะสิ้นสุดลง และโลกใหม่ที่ดีกว่าจะถูกสร้างขึ้น โดยผู้ที่เชื่อในสิ่งที่ผู้รับสารจากพระเจ้าประกาศจะละเว้นจากกิจวัตรประจำวันที่เคยทำเพื่อรอคอยยุคแห่ง millennium นี้เอง ทั้งนี้ ลัทธิความเชื่อดังกล่าวจะมีส่วนประกอบที่เป็นการร่ายรำคล้ายถูกสะกดจิต หรือถูกผีเข้าสิง และพฤติกรรมหลายอย่างที่คนภายนอกมองว่าแปลกประหลาดด้วย อย่างไรก็ดี สิ่งที่แสดงออกมักอยู่ในรูปแบบที่ต่อต้าน(เป็นปฏิปักษ์) กลุ่มคนส่วนใหญ่ในสังคม และอำนาจจักรวรรดินิยม เช่น กบฏ Taiping ในประเทศจีน (1851-1864) ที่เริ่มจากผู้นำ millenarian ที่ชื่อ Hsiu-ch'uan อันนำไปสู่สงครามกลางเมืองที่นองเลือดมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติการณ์ (หน้า 105) ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทก็ได้กล่าวถึงแนวคิดในลักษณะซึ่งเป็นโลกใหม่ที่ดีขึ้นกว่าเดิม (millenarian) เช่นกัน อย่างที่เรียกว่า "กระบวนการพระศรีอารย์" เช่นเดียวกับหลักธรรมที่ใช้กับกษัตริย์ อาทิ ธรรมราชา และจักรวรรดิวัตร ซึ่งอาจถือเป็นข้อร้องขอเพื่อให้เกิดการเมืองการปกครองที่ชอบธรรมในโลก millenarian (หน้า 109) ทั้ง ๆ ที่นับถือพุทธในนิกายต่างกัน แต่ละหู่ซึ่งพูดภาษาตระกูลทิเบต-พม่า นับถือลัทธิกีชา (G'uisha) อันมีลักษณะรูปแบบที่คล้ายคลึงกับลัทธิ Ywa ของกะเหรี่ยง (หน้า 111) ละหู่เชื่อว่า กีชา (G'uisha) เป็นผู้สร้างโลก และมวลมนุษยชาติ อีกทั้งคุณธรรมความดีในแบบพุทธก็ถูกกำหนดขึ้นโดยกีชา ทั้งนี้ หากใครที่ทำความดีก็จะได้ไปอยู่กับกีชาหลังจากตายไปแล้ว ขณะที่ใครทำบาปก็ต้องตกนรก การกลับมาเกิดใหม่ของกีชาเป็นสิ่งที่พวกเขารอคอย ซึ่งละหู่เชื่อว่ากีชาที่จะมาเกิดใหม่ในลักษณะครึ่งมนุษย์ครึ่งพระเจ้านี้ จะมีอาวุธพิเศษประจำตัวที่ช่วยให้กีชาเอาชนะศัตรูรอบข้างได้ โดยสำหรับละหู่ที่นับถือคริสต์นั้น กีชาถูกตีความว่าเป็นองค์เดียวกับพระเจ้าของคริสตศาสนา (หน้า 111) แม้เหล่ามิชชันนารีจะได้ทำงานเพื่อจูงใจให้ชาวเขาหันมานับถือคริสต์ และพยายามธำรงคำสอนเดิมของพระเยซูเอาไว้ แต่กระนั้นก็ดี การตีความคำสอนของศาสนาคริสต์โดยชาวเขาก็ทำให้สาระได้ผิดเพี้ยนเปลี่ยนไป แม้คำสอนในเรื่องสันติภาพของพระเยซูก็กลายเป็นความเข้าใจไปในทางตรงกันข้าม(หน้า 112)

Education and Socialization

ไม่ได้ระบุ

Health and Medicine

ไม่ได้ระบุ

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่ได้ระบุ

Folklore

ความเชื่อพื้นฐานทางศาสนาอย่างหนึ่งของชาวเขาก็คือ ความเชื่อที่ว่าจักรวาลแบ่งออกเป็นสามภพ คือ สวรรค์ โลก และนรก นอกจากนั้นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับวิญญาณบรรพบุรุษ เจ้าป่าเจ้าเขา และพระเจ้าผู้สร้างโลก พวกเขาเชื่อว่าชีวิตของมนุษย์ ข้าว และสรรพสิ่งล้วนมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สิงสถิตย์อยู่ โดยสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วย และการตาย ซึ่งหมอผีจะเป็นผู้ที่สามารถเรียกสิ่งศักดิ์สิทธิ์กลับมาคุ้มครองรักษาผู้ป่วยได้ เรื่องเล่านิยายต่าง ๆ จะถูกเล่าโดยกวีเร่ร่อนและผู้มีความรู้ อย่างเช่น เรื่องเกี่ยวกับน้ำท่วมโลกนั้น กล่าวว่า มีพี่น้องชายหญิง 2 คน รอดตายจากเหตุน้ำท่วม จากนั้นทั้งสองได้แต่งงานเป็นสามีภรรยากัน หลังจากมีการตั้งครรภ์แล้ว สิ่งที่คลอดออกมาไม่ใช่เด็กทารก แต่กลับเป็นน้ำเต้า เมื่อทั้งสองเจาะน้ำเต้าดูแล้ว จึงมีไอน้ำพุ่งออกมา กลายเป็นบรรพบุรุษของชาติพันธุ์ต่าง ๆ นั่นเอง (หน้า 115) สาระสำคัญของเรื่องเล่าหลังจากเกิดชาติพันธุ์ต่าง ๆ มาแล้วก็คือ การอธิบายความแตกต่าง หรือความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ การรู้หนังสือ ฯลฯ ของแต่ละชาติพันธุ์ว่าเป็นเพราะเหตุใด เช่น การที่คนผิวขาวรู้หนังสือ และรวยกว่ากะเหรี่ยงก็เพราะว่า พวกเขาได้ขโมยคัมภีร์ทอง ซึ่งซ่อนเคล็ดลับเกี่ยวกับความรวย และความรู้เอาไว้ (หน้า 115) อย่างไรก็ดี ด้วยความที่ทุกชาติพันธุ์ล้วนเป็นเครือญาติกันทั้งสิ้น ทุกคนจึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องเพื่อแบ่งผลประโยชน์กันระหว่างเครือญาติ ดังนั้น จะเห็นได้ว่า เรื่องเล่านิยายเหล่านี้ได้อธิบายทั้งความเป็นจริงในปัจจุบัน วิถีปฏิบัติ ตลอดจนการกระทำในอนาคตด้วย (หน้า 115)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

การจัดแบ่งประเภทของชาวเขา และคำที่ใช้เรียกชาวเขาโดยคนเมืองหรือรัฐนั้นแตกต่างจากกลุ่มประเภทที่ชาวเขาจัดแบ่งพวกเขาเอง อย่างเช่น แม้วพอใจมากกว่าที่จะเรียกตนเองว่า "ม้ง" ส่วนเย้าก็ชอบที่จะเรียกตนเองว่า "เมี่ยน" (Mien) ทั้งนี้ ประเภทต่าง ๆ ของชาวเขาที่มีอยู่ก็แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม และภาษาของพวกเขา นอกจากนั้น ชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ก็แบ่งเป็นประเภทย่อย ๆ อีก โดยอาจใช้สีเป็นตัวแบ่งแยก เช่น พวกละหู่ (Lahu) แยกออกได้เป็น ละหู่ดำ ละหู่ ละหู่แดง และละหู่เหลือง (หน้า 107) การเข้ามาของมิชชันนารีอเมริกันในต้นศตวรรษที่ 19 เป็นไปตามคำทำนายที่ว่าจะมีคนต่างชาติผิวขาวเข้ามาพร้อมหนังสือซึ่งจะเป็นกุญแจสำคัญในการทำให้กะเหรี่ยงพบทางสว่างขึ้นมาได้ โดยผู้นำกะเหรี่ยงเองอ้างว่าเขาจะสามารถล้มล้างการถูกครอบงำโดยพม่าได้ (หน้า 111)

Social Cultural and Identity Change

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นภายหลังจากทางการไทยมีนโยบายด้านต่าง ๆ ที่นำมาปฏิบัติกับชาวเขา ทำให้วัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เพราะความคิด และค่านิยมใหม่ ๆ ที่ทางการนำเข้ามานั้นค่อนข้างขัดแย้งกับวัฒนธรรมเดิม อย่างไรก็ตาม ชาวเขาพยายามปรับตัวปรับใช้วัฒนธรรมใหม่ที่เข้ามาให้เป็นเนื้อเดียวกันกับวัฒนธรรมเดิม ผลที่เกิดจากกระบวนการนี้ทำให้เกิดวัฒนธรรม รูปแบบใหม่ขึ้นมา ซึ่งค่อนข้างจะแปลกประหลาดหากมองด้วยสายตาของคนนอก (หน้า 108)

Other Issues

แนวคิดเกี่ยวกับ millennium มาจากคัมภีร์ไบเบิ้ลซึ่งกล่าวถึงอาณาจักร messianic ที่มีอายุเป็นพันปี อันเป็นอาณาจักรที่จะเกิดขึ้นภายหลังการประสูติครั้งที่สองของพระเยซูคริสต์ในนามของ messiah การเคลื่อนไหวเกี่ยวกับ millenarian ได้เกิดขึ้นท่ามกลางสังคมแห่งช่วงเวลาที่ชนกลุ่มน้อยถูกกดขี่ข่มเหง ซึ่งผู้รับสารจากพระผู้เป็นเจ้าพยากรณ์ไว้ถึงวินาทีที่พระเยซูคริสต์จะกลับมา และเสรีภาพภายหลังภาวการณ์กดขี่ข่มเหงดังกล่าว (หน้า 104) การเคลื่อนไหวเกี่ยวกับ messianic และ millenarian ดูเหมือนจะขึ้นในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจและการเมืองอยู่ในลักษณะที่ไม่เท่าเทียมกัน ผู้คนมากมายต่างรู้สึกว่าตนเองถูกแบ่งแยก ไม่ได้รับความช่วยเหลือ และสถานการณ์ก็ไม่อยู่ในทิศทางที่จะเปลี่ยนแปลงไปได้เลย ดังนั้นสาระสำคัญของ millenarian ก็คือ ความต้องการเปลี่ยนแปลงนั่นเอง กล่าวคือ หวังว่าโลกอย่างที่เป็นอยู่จะสิ้นสุดลง และมีโลกใหม่ที่ดีกว่าเกิดขึ้นมา (หน้า 112) แม้กระทั่งอาณาบริเวณที่ไม่ใช่ผู้คนมิได้นับถือศาสนาคริสต์หลาย ๆ แห่งก็ยังมีการเคลื่อนไหว millenarian เกิดขึ้นเช่นกัน เช่น ปรากฎการณ์ผีเต้นระบำ (Ghost Dance) ในอเมริกาเหนือ หรือลัทธิ Cargo ในเมลานีเซีย (หน้า 105) อย่างไรก็ตาม ประวัติศาสตร์เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะใช้อ้างอิงความ ชอบธรรมในการใช้อำนาจเพื่อการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง บางครั้งถึงกับมีการสร้างสาระทางประวัติศาสตร์ขึ้นมาใหม่ในลักษณะที่เหมาะสม เพื่อสนับสนุนการใช้อำนาจ (หน้า 114) เนื่องด้วยชาวเขาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่รวมกันในลักษณะที่ไม่เป็นรัฐ ภาพของประวัติศาสตร์ก็จะแตกต่างกันไป อีกทั้งประวัติศาสตร์ของพวกเขาไม่มีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร และยังไม่สิ้นสุดลง มีแต่การบอกเล่าจากปากต่อปาก ลักษณะสังคมที่ไม่มีความเป็นรัฐ หรือทำอะไรเหมือน ๆ กันไปหมดเช่นนี้ ดังจะเห็นว่าไม่มีศาสนาหลักประจำชาติพันธุ์ที่กำหนดขึ้นมา และพิธีกรรมต่าง ๆ ก็แตกต่างหลากหลายไปตามความคิดของผู้นำเผ่า หรือหมอผีประจำเผ่า ด้วยเหตุนี้ การเปลี่ยนแปลง การเคลื่อนไหว เกี่ยวกับ millenarian หรือการเคลื่อนไหวอื่น ๆ ก็มีลักษณะของการเริ่มต้นขึ้นที่แตกต่างกันไป (หน้า 114)

Text Analyst เกรียงกมล ธีระศักดิ์โสภณ Date of Report 06 ม.ค. 2566
TAG ม้ง, เมี่ยน, ลีซู, ลาหู่, ลเวือะ, ลัวะ, ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง), โพล่ง โผล่ง โพล่ว ซู (กะเหรี่ยง), ชาวเขา, จักรวาลวิทยา, กระบวนการเคลื่อนไหวทางศาสนา, ศาสนาคริสต์, จิตสำนึกชาติพันธุ์, ภาคเหนือ, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง