สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ออแรนายู มลายูมุสลิม มุสลิมมลายูมุสลิม,ขบวนการแบ่งแยกดินแดน,สี่จังหวัดชายแดนภาคใต้
Author Jha, Ganganath
Title The Muslim Seperatist Movement in Southern Thailand from an Indian Viewpoint
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity มลายู ออแฆนายู มลายูมุสลิม ไทยมุสลิม, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเนเชี่ยน
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 18 Year 2532
Source The Muslims of Thailand, vol.2, (ed) A. Forbes. Gaya: Center for Southeast Asian Studies., p.183-200.
Abstract

ความแตกต่างทางวัฒนธรรม และการขาดความเข้าใจ นำไปสู่ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างมาเลย์มุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้กับรัฐบาล มุสลิมไม่พอใจการปกครองที่เอาเปรียบทางเศรษฐกิจและถูกกดขี่ไม่ให้มีเสรีภาพในการใช้ชีวิตและการนับถือศาสนา นับแต่ยุคสิ้นสุดระบบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นต้นมามีการนำนโยบายสร้างความเป็นไทยมาใช้ หลวงพิบูลสงครามมีนโยบายรัฐนิยม คนไทยต้องรักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ไม่ว่าคน ๆ นั้นจะเป็นศาสนาใดก็ต้องแสดงความรักต่อสามสิ่งนี้ และเราอาจตีความได้ว่า คำว่าศาสนา ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงศาสนาคริสต์หรือหรืออิสลาม แต่คำนี้ในบริบทของไทยหมายถึงศาสนาพุทธ ซึ่งแนวคิดนี้ไม่เหมาะกับการอยู่อย่างสามัคคีในสังคมที่ประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติ ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่ภูมิใจในวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของตนเอง และยากที่จะเปลี่ยนแปลงหากผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามกลายเป็นพวกหลงผิด เชื่ออย่างไม่ลืมหูลืมตาและกลายเป็นกบฏ รัฐเองก็ไม่อาจทนต่อคนเหล่านี้ได้นานนัก ด้วยเหตุนี้รัฐบาลไทยจึงถือว่าการกลืนชนกลุ่มน้อยให้เข้าสู่กระแสหลักของชาติเป็นความจำเป็นทางสังคมการเมืองของรัฐบาล ปัจจุบัน มีการพยายามที่จะเร่งปฏิรูปคนอิสลามให้ทันสมัย มุสลิมที่อพยพมาจากจีน อินเดีย และปากีสถานต่างก็ยอมรับวิถีชีวิตแบบไทยมากขึ้น ในทางกฎหมาย มุสลิมมีสิทธิและเสรีภาพเช่นเดียวกับคนไทยกลุ่มอื่น กฎหมายไทยที่เกี่ยวกับศาสนาอิสลามให้การยอมรับสถานภาพของผู้ดำรงตำแหน่งทางศาสนา เช่น อิหม่าม คาทิป ฯลฯ และกษัตริย์ยังเป็นผู้ลงนามแต่งตั้งจุฬาราชมนตรีที่จะมาทำหน้าที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องของศาสนาอิสลาม ตลอดจนกิจกรรมและงานพิธีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม อย่างไรก็ตาม ศาสนาประจำชาติของไทยคือศาสนาพุทธ และศาสนาพุทธก็คือปัจจัยในความเข้าใจเรื่องความเป็นชาตินิยมของคนไทย ถึงแม้กษัตริย์ของไทยจะพยายามช่วยเหลือให้คนไทยเข้าใจและเคารพศาสนาอิสลาม แต่สังคมไทยไม่ยอมรับและอดทนต่อการต่อต้านของกลุ่มผู้แบ่งแยกดินแดนเท่าใดนัก ขณะเดียวกันมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ไม่พร้อมที่จะเปลี่ยนแนวคิด ซึ่งทัศนคติเช่นนี้อาจขัดขวางและเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของท้องถิ่น กลุ่มผู้แบ่งแยกดินแดนก็มีจุดอ่อนอยู่ที่การมีคนอยู่น้อยเกินไป คือ ไม่ถึง 4 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งประเทศ ไม่มีอาวุธยุทโธปกรณ์ในการที่จะเผชิญหน้ากับรัฐบาล และไม่รวมตัวกันเหนียวแน่น แต่แบ่งเป็น 3 กลุ่มที่สำคัญซึ่งแต่ละกลุ่มมีผู้นำของตนเองและไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเปิดเผยจากมาเลเซีย แม้ขบวนการเหล่านี้จะได้รับการช่วยเหลือจากประเทศอิสลามในตะวันออกกลาง ซึ่งการช่วยเหลือเช่นนี้ดูไม่ดีในทัศนคติของคนทั่วไป กลุ่มผู้แบ่งแยกดินแดนจึงไม่สามารถสร้างสถานการณ์รุนแรงได้มากพอที่จะเป็นภัยต่ออำนาจอธิปไตย และจากความอ่อนแอเมื่อเทียบกับอำนาจรัฐนี้เอง จึงอาจทำนายได้ว่าสถานภาพของมุสลิมใน 4 จังหวัดภาคใต้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงเพราะจะไม่มีพลังมากขึ้นในอนาคต มุสลิมมาเลย์ในไทยยังคงรู้สึกถึงวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน พวกแบ่งแยกดินแดนสามารถพยายามเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับคนไทยได้ถ้าคนไทยทำให้พวกเขารู้สึกว่ามีความปลอดภัยมั่นคงในสังคม รัฐบาลต้องสร้างบรรยากาศสังคมที่ทำให้มุสลิมรู้สึกสบายและผ่อนคลาย ต้องปรับปรุงสภาพเศรษฐกิจ เพราะถ้ามีความเจริญทางเศรษฐกิจ พฤติกรรมทางการเมืองก็จะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ดังนั้น การพัฒนาทางเศรษฐกิจอาจทำให้เกิดหนทางอันสดใสที่มุสลิมจะกลืนกลายเข้ากับสังคมเหมือนกับคนจีนในประเทศไทย แต่สถานการณ์ในปัจจุบันกำลังเป็นไปในแบบตาต่อตา ซึ่งไม่ใช่วิธีที่จะนำไปสู่ความเข้าใจและสันติภาพได้เลย ช่วงทศวรรษ 2510 รัฐบาลพยายามปรับปรุงเครือข่ายการคมนาคมติดต่อสื่อสาร มีการสร้างถนนเชื่อมระหว่างอำเภอต่าง ๆ ตลอดจนสร้างสาธารณูปโภค ไฟฟ้า น้ำประปา สถานีอนามัย หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ และริเริ่มโครงการชลประทาน 13 โครงการในจังหวัดนราธิวาส เป็นความพยายามเพิ่มผลผลิตและช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ นอกจากนี้ ยังมีการสร้างสุเหร่าขนาดใหญ่ในจังหวัดปัตตานีที่ต้องใช้เงินถึง 200,000 เหรียญสหรัฐฯ และมีการตั้งศูนย์ฝึกอบรมที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และที่มหาวิยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดปัตตานีเพื่อเน้นการศึกษาภาษามาเลย์และวัฒนธรรมมุสลิมเพื่อนำไปสู่การเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสองชุมชน

Focus

ปรากฏการณ์ขบวนการแบ่งแยกดินแดนของมุสลิมในจังหวัดชายแดนของประเทศไทยและผลกระทบต่อมุสลิมในพื้นที่

Theoretical Issues

ไม่ได้ระบุแนวทฤษฎีที่ชัดเจน แต่บอกว่าเป็นมุมมองของคนอินเดียคนหนึ่งที่เห็นว่าพฤติกรรมของชนกลุ่มน้อยมุสลิมในประเทศไทยเป็นประเด็นที่อ่อนไหว ขณะที่มุสลิมบางกลุ่มในกรุงเทพฯ ยอมรับที่จะปฏิรูปวิถีชีวิตตนเองให้เข้ากับคนไทย แต่มุสลิมส่วนใหญ่ที่เป็นมาลายูกลับไม่ยอมที่จะถูกกลืนไปกับกระแสหลักของสังคม มุสลิมมาเลย์ยึดมั่นในประวัติศาสตร์และลักษณะเฉพาะของกลุ่มตนเป็นอย่างมาก ปัญหาชนกลุ่มน้อยมุสลิมในประเทศไทยรุนแรงขึ้นเนื่องมาจากปัญหาด้านทัศนคติทางสังคม ปัญหาการแสดงออกด้านพฤติกรรมทางการเมือง ปัญหาการถูกทิ้งให้เผชิญความล้าหลังทางเศรษฐกิจ และปัญหาการไม่รู้หนังสือ รวมถึงการที่ลัทธิศาสนาอิสลามที่มีบทบาทมากขึ้นในระยะหลังมานี้ และการได้รับความช่วยเหลือจากประเทศมุสลิมบางประเทศให้การก่อความไม่สงบในไทยดำเนินต่อไป นอกจากนี้ความล้มเหลวของรัฐบาลในการปฏิรูปทัศนคติทางสังคมการเมืองของชนกลุ่มน้อยก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้มุสลิมในจังหวัดชายแดนต่อต้านรัฐบาล

Ethnic Group in the Focus

มุสลิมในชายแดนภาคใต้ 4 จังหวัด ได้แก่ ปัตตานี ยะลา สตูล และนราธิวาส

Language and Linguistic Affiliations

ภาษามาเลย์ (มาลายู) ซึ่งต่างจากภาษาไทย แต่เหมือนกับภาษาของชาวมาเลย์ที่อยู่ข้ามชายแดนไปในเขตประเทศมาเลเซีย (หน้า 185-186)

Study Period (Data Collection)

ศึกษาจากเอกสาร ไม่ได้ลงศึกษาในพื้นที่

History of the Group and Community

ศาสนาอิสลามเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคกลาง ในตอนนั้นรัฐปะตานี บรูไน ชวา สุมาตรา และมาลายูเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมและอารยธรรมที่สำคัญของศาสนาอิสลาม อาณาจักรปัตตานีเป็นอาณาจักรที่อุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วย กลันตัน ยะลา นราธิวาส ปะลิศ และเคดาห์ อาณาจักรปัตตานีมีความขัดแย้งกับอาณาจักรไทยและมีการสู้รบกันอยู่เนืองๆ เมื่อใดที่ปัตตานีแพ้สงครามและตกเป็นเมืองขึ้นก็ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวายแก่กษัตริย์ของไทย อาณาจักรปัตตานีหมดอำนาจลงในปี พ.ศ. 2444 แต่การพ่ายแพ้ครั้งนี้ไม่สามารถทำลายอิทธิพลของผู้ครองอาณาจักรปัตตานีลงได้ เมื่อมีการทำสนธิสัญญากับอังกฤษในปี พ.ศ.2452 ไทยได้ยก เคดาห์ ปะลิศ กลันตันและตรังกานูให้แก่อังกฤษ รัฐเหล่านี้ไม่มีปัญหาในการไปรวมกับมาเลย์ของอังกฤษ เพราะประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามเหมือนกัน ปัตตานีและจังหวัดอื่นๆ ที่มีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามแต่กลับถูกทิ้งไว้ให้อยู่ภายใต้การปกครองของไทยจึงรู้สึกไม่พอใจ และการแบ่งสรรเช่นนี้เป็นการตัดกำลังมุสลิมในพื้นที่ ปัตตานีเคยยื่นคำร้องที่ลอนดอนขออยู่ภายใต้ระบบอาณานิคมของอังกฤษเช่นเดียวกับอีก 4 รัฐที่ถูกแยกออกไปแต่ถูกอังกฤษปฏิเสธ ปัตตานีและเขตพื้นที่ที่ประชาชนส่วนใหญ่เป็นมุสลิมที่อยู่ภายใต้การปกครองของไทยจึงใช้วิธีบอยคอตต์การบริหารของรัฐบาล เช่น การปฏิเสธที่จะส่งลูกหลานเข้าเรียนในโรงเรียนของรัฐ แต่ให้เข้าเรียนที่โรงเรียนปอเนาะแทน การปฏิเสธนโยบายรวมชาติ และแยกตัวอยู่อย่างโดดเดี่ยว ทำให้เกิดปัญหากับอำนาจรัฐเรื่อยมา บาร์บารา วิตติงตัน โจนส์ ไปเยือนปัตตานีในปี พ.ศ.2490 รายงานว่า แม้ไทยจะกดดันและทอดทิ้งปัตตานีมากว่าครึ่งศตวรรษแต่ก็ไม่สามารถสลายความเป็นชาติของปัตตานีได้ ชาวมาเลย์ปัตตานียังคงรักษาและปฏิบัติตามธรรมเนียมขนบประเพณีเก่า ๆ ของพวกเขา "เพราะชาวมาเลย์ปฏิเสธที่จะส่งลูกหลานเข้าเรียนในโรงเรียนของรัฐและไม่ยอมเรียนภาษาไทย (ในระหว่างที่ดิฉันไปเยือนที่แห่งนี้ ดิฉันได้พบเพียงคนเดียวที่เขียนและอ่านภาษาไทยได้ และเคยเป็นข้าราชการของท้องที่มาก่อน) ความล้าหลังทางการศึกษาเช่นนี้ทำให้เศรษฐกิจและสังคมขาดการพัฒนาและล้าหลังตามไปด้วย" รัฐบาลไทยไม่เหลียวแลมุสลิมในประเทศเท่าใดนัก ผู้นำรัฐบาลทหารอย่างหลวงพิบูลสงคราม จอมพลสฤษฎิ์ ธนรัชต์ และจอมพลถนอม กิตติขจรต่างก็ใช้นโยบายปราบปรามและกดขี่พวกแบ่งแยกดินแดน รัฐบาลไม่เคยเห็นใจคนกลุ่มนี้และมักใช้มาตรการที่เข้มงวดปราบปราม (หน้า 189-193)

Settlement Pattern

มุสลิมใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งถิ่นฐานแยกจากกลุ่มชาวพุทธ เพราะพวกเขารู้สึกแปลกแยกจากคนไทยส่วนใหญ่ ขณะที่ชาวพุทธและชาวจีนตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมือง มุสลิมจะตั้งถิ่นฐานอยู่นอกเมือง (หน้า 185)

Demography

จำนวนประชากรมุสลิมในประเทศไทยมีทั้งสิ้นราว 2 ล้านคน ในจำนวนนี้ 80 เปอร์เซ็นต์เป็นมุสลิมมาเลย์ที่อาศัยอยู่ในภาคใต้ (ข้อมูลจากกระทรวงการต่างประเทศในปีพ.ศ. 2522 แต่ Bapa Idris หัวหน้ากองกำลังปลดปล่อยปัตตานี (Pattani Liberation Front) บอกว่าลำพังภาคใต้ของประเทศไทยก็มีมุสลิมถึง 3 ล้านคน) ใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีประชากรราว 1,212,673 คน ในจำนวนนี้ 909,500 คน หรือราว 75 เปอร์เซ็นต์เป็นมุสลิม (ข้อมูลจากที่เดียวกัน แต่ในงานวิจัยเรื่อง "ปัญหาชาวไทยมุสลิมใน 4 จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย" ที่ตีพิมพ์ในวารสารเซาธ์อีสต์ เอเชียน สเตอดียส์ประเทศสิงคโปร์ ฉบับเดือนกันยายน ปีพ.ศ.2519 โดยนันทวัน เหมินทร์บอกว่าประชากรจังหวัดปัตตานีประกอบด้วยมุสลิม 78 เปอร์เซ็นต์ ประชากรจังหวัดยะลามีมุสลิม 61 เปอร์เซ็นต์ ประชากรจังหวัดนราธิวาสเป็นมุสลิม 78 เปอร์เซ็นต์ และประชากรจังหวัดสตูลเป็นมุสลิม 83 เปอร์เซ็นต์ (หน้า 185)

Economy

มุสลิมใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ส่วนมาประกอบอาชีพทำนาปลูกข้าวและทำสวนมะพร้าว นอกจากนี้ก็มีทำสวนยางพารา น้ำมันปาล์ม ทำการประมง ทำเหมืองแร่ และเลี้ยงสัตว์ (หน้า 185)

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับชนกลุ่มน้อยมุสลิมนั้นมีมานานและไม่เคยได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสม มุสลิมในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้รู้สึกว่าตนถูกเอาเปรียบและถูกกดขี่มาโดยตลอด รัฐบาลเองก็ไม่ได้พิสูจน์ว่ามีความใสใจในเรื่องของภาษาและศาสนาที่แตกต่างกัน มุสลิมต้องการรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนไว้และกลัวว่ารัฐบาลไทยจะกลืนพวกเขาด้วยการเปลี่ยนธรรมเนียมปฏิบัติ ภาษา ศาสนา และสถาบันท้องถิ่นของมุสลิม ความกลัวเช่นนี้ถูกเผยแพร่ออกไปโดยมุสลิมที่คลั่งศาสนาและองค์กรอิสลามสากล ทำให้ประชาชนในพื้นที่เริ่มลุกขึ้นทำสงครามต่อสู้เพื่อปลดปล่อยชาติของตน กลางเดือนเมษายน พ.ศ. 2490 Haji Sulung (Abdul-Qadir) ได้ร่างข้อเรียกร้อง 7 ข้อเสนอต่อรัฐบาล แม้ว่านายกรัฐมนตรีในขณะนั้นจะเห็นใจข้อเรียกร้องของเขาแต่ก็ไม่มีอำนาจจะทำอะไรเพราะการเมืองในขณะนั้นขาดเสถียรภาพ (พ.ศ. 2488-2491) ต่อมาในปี พ.ศ.2497 Haji Sulung ถูกจับและถูกประหารชีวิต การเสียชีวิตของเขาทำให้เกิดความสูญเสียทั้งสองฝ่าย ทำให้ขบวนการแบ่งแยกดินแดนมาถึงจุดที่หันกลับไม่ได้ Haji Sulung กลายเป็นวีรบุรุษผู้เสียสละของขบวนการแบ่งแยกดินแดน พวกเขาจึงต้องล้างแค้นรัฐบาล ในเหตุการณ์นั้นมีข้าราชการและตำรวจจำนวนมากถูกสังหาร รวมถึงเลขานุการส่วนพระองค์ของสมเด็จพระราชินีที่ไปปฏิบัติภารกิจเพื่อสัมพันธไมตรีก็ถูกสังหารด้วย ปี พ.ศ. 2512 มุสลิมใน 4 จังหวัดภาคใต้ได้ก่อตั้งกลุ่ม Barisan Nasional Pembebsan Republik Pattani (BNPRP) หรือที่รู้จักกันในชื่อ National Liberation Front of the Pattani Republic (NLFPR) กลุ่มนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อก่อตั้งรัฐอิสลาม จากนั้นก็มีกลุ่ม Tentera National Pembebsan Rak'yet Pattani (TNPRP) หรือ National Liberation Army of the Pattani People TNPRP มีกองกำลังแบบกองโจรและมีสมาชิกที่ได้รับการฝึกมาให้อุทิศตนให้แก่การก่อตั้งรัฐอิสระปัตตานี NLFPR ส่วนกลุ่มกองกำลังปลดปล่อยปัตตานี (Pattani Liberation Front) ก็มีการแจ้งข่าวสาร กระจายข่าวในชุมชน ถ่ายทอดแนวคิดชาตินิยมและเป็นศัตรูกับกฎหมายไทย มีการซุ่มทำร้ายกองกำลังที่ตั้งของตำรวจเพื่อปล้นอาวุธและใช้ลัทธิการก่อการร้ายเตือนรัฐบาลและประชาชนในเขตนั้นให้เห็นศักยภาพของกลุ่ม ปฏิบัติการของกลุ่มรวมไปถึงการขู่กรรโชก การลักพาตัวเรียกค่าไถ่ ฯลฯ เพื่อนำเงินที่ได้มาสร้างเสริมให้กลุ่มมีความเข้มแข็งขึ้น Bapa Idris ผู้บัญชาการสูงสุดของ BNPRP เป็นผู้นำคนหนึ่งที่ได้รับความเคารพในภาคใต้ เขาอยู่ในป่า และทำกิจกรรมเพื่อก่อตั้งรัฐอิสลามปัตตานี เขาไม่ต้องการต่อรองกับรัฐบาลเพราะบรรพบุรุษของเขาที่เคยต้องการเจรจากับรัฐบาลถูกสังหารเขาเชื่อว่าการจะปลดปล่อยปัตตานีให้เป็นอิสระได้ต้องใช้ความรุนแรง เขาจึงเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่รัฐบาลต้องการตัวมากที่สุดและถูกตั้งค่าหัวเป็นเงินมหาศาล กบฏหรือกลุ่มที่ก่อความไม่สงบในเขตชายแดนภาคใต้แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือโจรธรรมดา ผู้ก่อการร้ายชาวไทย กองทัพปลดปล่อยชาวมาเลย์ (Malayan People's Liberation Army-MCP) และพวกผู้แบ่งแยกดินแดนมุสลิม และกลุ่มผู้แบ่งแยกมุสลิมยังแบ่งออกได้เป็นอีก 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือกลุ่มที่ต้องการปกครองพิเศษภายใต้การอาณาจักรไทย กลุ่มที่ 2 ต้องการเป็นรัฐอิสระที่มีสุลต่านปกครอง และกลุ่มที่ 3 ต้องการเป็นรัฐอิสระปัตตานี กลุ่มแรกนั้นได้รับความนิยมในคนรุ่นเก่า ส่วนกลุ่มที่ 2 และ3 ได้รับความนิยมในกลุ่มคนรุ่นใหม่ คนส่วนมากสนับสนุนกลุ่มที่ 3 และกลุ่มนี้เองที่ร่วมกันก่อตั้งกองกำลังปลดปล่อยปัตตานี (PLF) ที่ไม่มีกองทัพประจำ แต่มีการฝึกคนขึ้นมาเพื่อใช้ในสงครามแบบกองโจร หลังจากที่ Tungku Yala Nasae หลานชายของอดีตสุลต่านปัตตานีเสียชีวิตลง กำลังของ PNPRP ก็อ่อนแอลงเรื่อยๆ และมีกลุ่มแบ่งแยกดินแดนกลุ่มใหม่เกิดขึ้นคือ Pattani United Liberation Organization (PULO) ขบวนการ PULO มีกองกำลังติดอาวุธ 550 คน จะแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละไม่เกิน 10 คน แทรกซึมเข้ามาจู่โจมเป้าหมายที่เป็นพลเมืองใกล้ชายแดนแล้วก็ถอยไปหลบซ่อนในป่ามาเลเซีย กบฏอีกกลุ่มในภาคใต้ของไทยคือกองโจร CPM (Communist Party of Malaysia-พรรคคอมมิวนิสต์มาเลเซีย) ที่มีกองกำลังกว่า 2,000 คน รายได้ของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนมาจาก 3 ทางหลักคือ ความช่วยเหลือด้านการเงินจากประเทศอิสลาม เช่น ลิเบีย ซีเรีย อียิปต์ ซาอุดิอาระเบีย มาเลย์เซีย และอินโดนีเซีย ประเทศเหล่านี้แอบให้ความช่วยเหลือผู้ก่อการกบฏทั้งในไทยและฟิลิปปินส์ ในการต่อสู้กับกลุ่ม PULO ในช่วงกลางทศวรรษ 2520 ไทยได้พบจดหมายที่เขียนเป็นภาษามาเลย์ส่งมาจากสำนักงาน PULO ในเมืองดามัสกัสบอกว่ากลุ่มผู้ถูกคัดเลือกที่ได้รับการฝึกแล้วกำลังเดินทางมาถึงปัตตานี หนทางที่ 2 คือรายได้จากการขายยาเสพติดที่ลักลอบขนมาจากสามเหลี่ยมทองคำและส่งต่อไปขายยังออสเตรเลีย ยุโรปตะวันตก และเอเชีย ส่วนทางที่ 3 คือเงินที่ได้จากการเรียกค่าไถ่และเงินบริจาค พฤติกรรมของขุนนางข้าราชการไทยก็เป็นอีกสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดขบวนการแบ่งแยกดินแดน เหตุเพราะข้าราชการไทยที่ไปปกครองจังหวัดมุสลิมในภาคใต้ละเลยภาษา วัฒนธรรม และประเพณีของท้องถิ่น และเพราะข้าราชการเหล่านี้ต้องถูกย้ายทุก 3 ปีทำให้ไม่สนใจที่จะทำความรู้จักกับมุสลิม นอกจากนี้ ชาวจีนและมุสลิมจะถูกกีดกันไม่ให้ดำรงตำแหน่งสูง ๆ ในระบบราชการ ข้าราชการที่ไปทำงานในภาคใต้ก็เผชิญสถานการณ์ลำบากเพราะต้องระวังพฤติกรรมอย่างมาก มิฉะนั้น จะถูกสงสัยอย่างง่ายดาย เช่น ถ้าพวกเขาสนิทสนมกับมุสลิมมากเกินไปเพื่อนข้าราชการที่เป็นชาวพุทธก็จะสงสัย ทำให้เป็นอันตรายต่อหน้าที่การงาน ตรงกันข้าม ถ้าสนิทกับเพื่อนข้าราชการไทยมากไปก็จะถูกสบประมาทจากเพื่อนมุสลิม นโยบายของรัฐบาลที่จะทำให้เกิดความสมดุลด้านประชากรและวัฒนธรรมในภาคใต้ก็ทำให้มุสลิมหวาดวิตก นับแต่สมัยจอมพลสฤษฎิ์ ธนะรัชต์ มีการอพยพคนจากภาคเหนือและภาคอีสานเข้าไปตั้งถิ่นฐานใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีรัฐบาลให้ความคุ้มครอง ผู้อพยพเหล่านี้ได้รับที่ดิน ฉโนด และความช่วยเหลือด้านการเงินและเครื่องไม้เครื่องมือในการประกอบอาชีพ ทำให้กลุ่มผู้แบ่งแยกดินแดนกลัวว่าชาวมาเลย์จะกลายเป็นประชากรส่วนน้อยในชายแดนภาคใต้ไป ปี พ.ศ.2524 รัฐบาลได้จัดตั้งหน่วยพิเศษขึ้นเพื่อมาดูและชายแดนภาคใต้ นอกจากตำรวจตระเวนชายแดนแล้วยังมีหน่วยปราบปรามผู้ก่อการร้ายที่มีหน้าที่รับมือกับพวกกองโจรด้วย (หน้า 186-189)

Belief System

นับถือศาสนาอิสลาม

Education and Socialization

คนมาเลย์จะส่งงลูกหลานเข้าเรียนในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม หรือที่เรียกกันว่าโรงเรียนปอเนาะหรือปอนด๊อก ที่โรงเรียนจะมีการเรียนการสอนเรื่องศาสนาอิสลาม เรียนคัมภีร์กุรอ่าน กฎหมายศาสนาอิสลาม ภาษามาเลย์ ภาษาอารบิก ประวัติศาสตร์ปัตตานี และการเป็นมุสลิมที่ดี โรงเรียนปอเนาะเป็นสถาบันที่สำคัญในการสอนอารยธรรมและศาสนาอิสลาม ในชายแดนภาคใต้มีโรงเรียนปอเนาะ 512 โรง ในจำนวนนี้ 335 โรงอยู่ในจังหวัดปัตตานี 83 โรงอยู่ในยะลา 16โรงในสตูล และ 78 โรงในนราธิวาส (หน้า 185-186, 193)

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

มุสลิมมาเลย์มีประวัติศาสตร์ ภาษา และวัฒนธรรมต่างจากไทยพุทธ แต่มีความเหมือนและเข้ากันได้กับคนมาเลย์ที่อาศัยอยู่ข้ามชายแดนไปในเขตประเทศมาเลเซีย (หน้า 185)

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ตารางแสดงจำนวนชนกลุ่มน้อยมุสลิมของประเทศในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เทียบกับจำนวนประชากรทั้งประเทศและจำนวนประชากรของชาติพันธุ์ที่เป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศ (หน้า 184)

Text Analyst วิลาวัณย์ ฤดีศานต์ Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG ออแรนายู มลายูมุสลิม มุสลิมมลายูมุสลิม, ขบวนการแบ่งแยกดินแดน, สี่จังหวัดชายแดนภาคใต้, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง