สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ม้ง, ยาเสพติด,เชียงใหม่
Author ทรงวิทย์ เชื่อมสกุล
Title วัฒนธรรมกับยาเสพติด : กรณีศึกษาเผ่าแม้ว
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ม้ง, Language and Linguistic Affiliations ม้ง-เมี่ยน
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 53 Year 2541
Source สถาบันวิจัยชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
Abstract

หมู่บ้านแม่สาใหม่ หมู่ที่ 6 ต.โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้งที่ในปัจจุบันมีการใช้สารเสพติดเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะเฮโรอีน จากการศึกษาวัฒนธรรมการอบรมสั่งสอนเกี่ยวกับเรื่องยาเสพติดของพ่อแม่ที่มีต่อลูก พบว่าในสังคมเผ่าม้งที่บ้านแม่สาใหม่มีการได้รับการอบรมสั่งสอนเกี่ยวกับยาเสพติดจากพ่อแม่ สำหรับสถานการณ์ยาเสพติดและความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและการเพิ่มขึ้นของยาเสพติดในสังคมนั้น ชาวบ้านส่วนใหญ่เห็นว่าไม่ได้มีความสัมพันธ์กับการเสื่อมลงของวัฒนธรรมมากนัก ส่วนการระบาดของยาเสพติดในอนาคตนั้น ชาวบ้านส่วนใหญ่เห็นว่าจะมีความรุนแรงมากขึ้น การแก้ไข้ปัญหาที่คนในสังคมต้องการคือรัฐควรให้อำนาจกับชุมชนในการจัดการแก้ไขปัญหาเองในระดับหนึ่ง โดยให้การสนับสนุนในส่วนที่ประชาชนร้องขอเท่านั้น และรัฐควรมีการประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้ความรู้เรื่องยาเสพติด รวมทั้งควรมีการบรรจุเรื่องยาเสพติดเป็นหลักสูตรให้มีการเรียนการสอนในโรงเรียนในพื้นที่ที่มียาเสพติด

Focus

ศึกษาวัฒนธรรมของม้งที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารเสพติด ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของม้งที่มีผลต่อพฤติกรรมในการใช้สารเสพติดโดยเฉพาะเฮโรอีน (หน้า 1-2)

Theoretical Issues

ผู้ศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าวัฒนธรรมเป็นกลไกทางสังคม (Social Mechanism) ที่มนุษย์สร้างขึ้นซึ่งมีทั้งที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม มีการสืบทอดและปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ ดังนั้นวัฒนธรรมส่วนใดที่ไม่เหมาะสมหรือมีส่วนฉุดรั้งการเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่าของมนุษย์ ก็จะถึงจุดเสื่อมและถูกปรับเปลี่ยน ในงานนี้ ยาเสพติดโดยเฉพาะฝิ่นถือได้ว่าเป็นพืชวัฒนธรรมของม้ง แต่ม้งก็ยังมีวัฒนธรรมในการอบรมสั่งสอนคนในสังคมให้ระลึกถึงคุณและโทษของฝิ่นผ่านขบวนการขัดเกลาทางสังคม (หน้า 35-38)

Ethnic Group in the Focus

ม้งน้ำเงิน (ผู้เขียนใช้ "แม้วน้ำเงิน" และในข้อเขียนใช้คำว่า "ชาวเขาเผ่าแม้ว" )

Language and Linguistic Affiliations

ปัจจุบันสังคมบ้านแม่สาใหม่นี้ จะพูดภาษาม้งน้ำเงินเป็นส่วนใหญ่ (หน้า 5)

Study Period (Data Collection)

เริ่มทำการศึกษาวิจัยตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ.2537 - เดือนกันยายน พ.ศ. 2538 (หน้า 3)

History of the Group and Community

ม้ง (แม้ว) ได้เริ่มเข้ามาตั้งหมู่บ้านในบ้านแม่สาใหม่นี้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2509 สาเหตุของการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบ้านแม่สาใหม่นี้ เกิดจากการที่รัฐได้ประกาศให้ฝิ่นเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ซึ่งในสมัยนั้นชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพปลูกผิ่นเป็นหลัก จึงทำให้ชาวบ้านต้องโยกย้ายหาที่ทำกินแห่งใหม่เพื่อหนีการปราบปรามของรัฐ ซึ่งชาวบ้านกลุ่มแรกที่อพยพเข้ามา คือ กลุ่มสกุลแซ่โซ้ง มีผู้นำชื่อนายจุเต็ง แซ่โซ้ง โดยได้ซื้อพื้นที่จากไร่ของคนพื้นราบ ตั้งเป็นหมู่บ้านขึ้น ต่อมาก็ได้มีชาวบ้านหลายกลุ่มแซ่สกุลอพยพเข้ามาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กลายเป็นชุมชนใหญ่จนถึงปัจจุบัน (หน้า 4)

Settlement Pattern

ในอดีตบ้านเรือนส่วนใหญ่จะมุงหลังคาด้วยหญ้าคา ตัวบ้านเป็นไม้ปลูกคล่อมดิน แต่ในปัจจุบัน แม้ส่วนใหญ่จะมีการปลูกบ้านคล่อมดินเช่นเดิม ซึ่งเป็นลักษณะบ้านตามวัฒนธรรมของม้ง แต่หลังคาบ้านได้เปลี่ยนมาใช้ลอนกระเบื้องเป็นส่วนใหญ่ (หน้า 5)

Demography

ชาวบ้านในหมู่บ้านแม่สาใหม่ มีประชากรทั้งหมด 1,412 คน เป็นชาย 731 คน และหญิง 681 คน ประชากรส่วนใหญ่เป็นม้งน้ำเงินถึง 72.02% เป็นม้งขาว 24.87% และ 03.11% เป็นคนพื้นราบ โดยมีกลุ่มประชากรถึง 88.60% เป็นผู้ที่สมรสและอยู่ด้วยกัน มีเพียงผู้ที่เป็นโสด 07.77% สำหรับอายุของกลุ่มประชากรส่วนใหญ่ 54.90% มีอายุระหว่าง 21-40 ปี โดยแยกเป็นกลุ่มอายุ 26-30 ปี 20.21% กลุ่มอายุ 21-25 ปี 14.51% กลุ่มอายุ 36-40 13.47% และกลุ่มอายุ 31-35 ปี 06.71% ซึ่งมีกลุ่มประชากรที่ไม่มีการศึกษามากที่สุดถึง 46.11% รองลงมาคือผู้ที่มีการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 คิดเป็น 18.65% และ 15.03 ตามลำดับ (หน้า 6, 9-11)

Economy

ในอดีตชาวบ้านจะมีการยังชีพด้วยการปลูกข้าวและพืชผักพันธุ์ท้องถิ่นไว้สำหรับบริโภคเอง ทั้งยังมีการปลูกฝิ่นเป็นพืชเงินสดและเป็นยารักษาโรคนานาชนิด ต่อมาเมื่อมีการติดต่อกับชุมชนภายนอนมากขึ้น ก็ได้ทำให้ระบบการผลิตภายในชุมชนเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ฝิ่นที่เคยเป็นพืชหลักต้องถูกแทนที่ด้วยพืชชนิดใหม่ พ่อค้าจากนอกชุมชนได้เข้ามามีบทบาทในชุมชนมากขึ้น ปัจจุบัน ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังคงมีอาชีพทางการเกษตร โดยมีลักษณะปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว (Mono Crop) มากขึ้น โดยส่วนใหญ่จะมมีอาชีพทำไร่ทำสวน คือการปลูกกะหล่ำปลี ปลูกผักและผลไม้เพื่อส่งออกยังตลาดนอกหมู่บ้าน นอกจากนี้ ชาวบ้านยังมีอาชีพค้าขายงานหัตถกรรมประเภทเสื้อผ้า เครื่องประดับของม้งและชนเผ่าอื่น ๆ และมีจำนวนชาวบ้านเพียงเล็กน้อยที่มีอาชีพรับจ้างทั่วไป (หน้า 15-16)

Social Organization

ม้ง ในหมู่บ้านแม่สาใหม่จะมีกลุ่มวงศ์ตระกูล หรือแซ่ และตนในแซ่เดียวกัน ถือว่าเป็นญาติพี่น้องกัน จะแต่งงานกันไม่ได้ แต่ในปัจจุบันคนในแต่ละสกุลแซ่ได้เปลี่ยนจากแซ่ ไปใช้นามสกุลตามแบบคนไทยพื้นราบอย่างรวดเร็ว จึงทำให้ม้งกำลังประสบปัญหาว่าญาติพี่น้องแซ่เดียวกัน แต่นามสกุลไทยต่างกันจะแต่งงานกันได้หรือไม่ (หน้า 7-8)

Political Organization

การปกครองของบ้านแม่สาใหม่ในระยะเริ่มแรกนั้น จะให้การยกย่องผู้ก่อตั้งหมู่บ้านเป็นผู้นำชุมชนตามประเพณีวัฒนธรรมของม้ง แต่ในปัจจุบันมีการจัดระเบียบการปกครองท้องถิ่นของทางราชการจากส่วนกลางเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น มีการจัดตั้งคณะกรรมการหมู่บ้านเข้ามาทำหน้าที่ปราบปรามปัญหายาเสพติดในชุมชน (หน้า 4, 21)

Belief System

ม้งในหมู่บ้านแม่สายใหม่ ประมาณร้อยละ 90 ยังคงมีความเชื่อเดิม คือนับถือผีบรรพบุรุษ (Ancestor Spirit) โดยมีหมอผีเป็นผู้ติดต่อระหว่างผีและสิ่งศักดิ์สิทธ์ที่อยู่เหนือธรรมชาติ ความเชื่อของคนม้งในปัจจุบันได้มีการผสมผสานกับพุทธศาสนามากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีประชากรประมาณร้อยละ 10 ที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก และนิกายไคร้ส ออฟ เชิร์ช (หน้า 14)

Education and Socialization

ในหมู่บ้านมีโรงเรียน 1 แห่ง จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล-ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ส่วนระดับการศึกษาของประชากรในบ้านแม่สายใหม่นี้ ส่วนใหญ่ไม่มีการศึกษาถึงร้อยละ 46.11 ในขณะที่กลุ่มประชากรที่มีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่ามีเพียงร้อยละ 01.04 นอกจากการรอบรมสั่งสอนเยาวชนในชุมชนให้มีความรู้ผ่านแบบเรียนของทางภาครัฐบาลแล้ว คนในชุมชนก็ยังคงอบรมสั่งสอนบุตรหลานให้ยึดถือตามวัฒนธรรมประเพณี ดังเช่น การอบรมสั่งสอนของพ่อแม่ที่มีต่อลูกเกี่ยวกับยาเสพติดตามวัฒนธรรมของม้ง (หน้า 13, 45)

Health and Medicine

ในอดีตชาวเขาเผ่าม้งในบ้านแม่สาใหม่จะรักษาโรคภัยไข้เจ็บโดยมีหมอผีเป็นผู้ทำพิธีลงผี (อัวเน้ง) และมีค่าตอบแทนให้หมอผีด้วยฝิ่น ทั้งนี้การทำพิธีกรรมรักษาคนป่วยจะมีตลอดปี โดยมีฝิ่นเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ทางเภสัชอย่างมาก ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวจะสูบฝิ่นเพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยจากโรคนั้น ๆ ต่อมาในปี พ.ศ. 2534 ความเจริญทางด้านสาธารณสุขสมัยใหม่ได้เข้ามามีบทบาทในชุมชนมากขึ้น โดยมีสถานบริการสาธารณสุขชุมชนให้แก่ชาวบ้าน จึงทำให้ชาวบ้านมีทางเลือกในการรักษาโรคมากยิ่งขึ้น (หน้า 13, 20)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ม้งน้ำเงิน ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ในหมู่บ้าน ได้มีการผสมกลมกลืนกับม้งขาวในช่วงระยะเวลาประมาณ 3 ทศวรรษที่ผ่านมาเกือบทั้งหมดแล้ว ดังนั้น ความแตกต่างระหว่างคนม้งน้ำเงินและม้งขาวก็คือเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายและภาษาพูดซึ่งมีไม่มากนัก (หน้า 5)

Social Cultural and Identity Change

การเข้ามาของรัฐด้วยนโยบายต่างๆ ได้นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงในบ้านแม่สาใหม่หลาย ๆ ด้าน เช่น การเปลี่ยนแปลงจากการใช้แซ่เป็นชื่อวงศ์ตระกูลไปใช้นามสกุลแบบไทยอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนในชุมชนเดิม โดยมีพัฒนาทุกรูปแบบจนชาวบ้านตั้งตัวไม่ทัน มีการปรับเปลี่ยนการผลิตจากพืชวัฒนธรรมอย่างฝิ่นมาปลูกพืชทดแทนตามนโยบายของรัฐ ชาวบ้านต้องเลิกปลูกฝิ่นซึ่งเป็นพืชที่พวกเข้าคุ้นเคย และเป็นส่วนหนึ่งของพวกเขามานานนับร้อยปี ซึ่งในปัจจุบันคนม้งปลูกฝิ่นน้อยมาก ทั้งนี้เพราะรัฐบาลมีนโยบาย และมาตรการที่เข้มงวดมาก ประกอบกับสิ่งแวดล้อมและสังคมบนพื้นที่สูงที่ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ไม่สามารถปลูกฝิ่นได้ดั้งเดิม ส่งผลให้เกิดปัญหาการติดสารเสพติดชนิดใหม่ คือ เฮโรอีน อย่างแพร่หลาย (หน้า 1, 8, 15)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ฝิ่นเป็นยาเสพติดที่ได้กลายมาเป็นพืชทางวัฒนธรรมของชาวเขาเผ่าม้ง โดยสืบเนื่องมาจากการที่ไทยมีความสัมพันธ์ทางการค้าจีน เป็นผลทำให้เกิดการหลั่งไหลของฝิ่นในจีนเข้าสู่ไทยจนแพร่ระบาดมากในอดีต และจากการที่ม้งอาศัยอยู่บนพื้นที่ที่เอื้อต่อการเพาะปลูกฝิ่น ประกอบกับในอดีตนั้นได้มีการปลูกฝิ่นอย่างถูกต้อง ม้งส่วนหนึ่งจึงยึดอาชีพการปลูกฝิ่นเป็นอาชีพหลัก เหตุเพราะฝิ่นกำลังเป็นสินค้าที่เป็นที่นิยมในขณะนั้น และถึงแม้ในสมัยของรัฐบาล จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จะมีการประกาศเลิกการสูบฝิ่นในประเทศไทย แต่ม้งก็ยังคงอาศัยพื้นที่ตามป่าเขาสูง ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของพวกเขาทำการเพาะปลูกฝิ่นต่อไป ด้วยการคมนาคมที่เต็มไปด้วยความยากลำบาก การสาธาณสุขที่ยังเข้าไปไม่ถึง ฝิ่นจึงเป็นยาสารพัดประโยชน์สำหรับม้ง และถึงแม้ว่าพวกเขาจะปลูกฝิ่น แต่ม้งมิได้นิยมสูบฝิ่น ตรงกันข้ามพวกเขากลับได้มีการอบรมสั่งสอนลูกหลานให้ห่างไกลจากและยาเสพสิ่งเสพติดชนิดอื่น ๆ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ลูกหลานต้องตกเป็นทาสของสิ่งเสพติดเหล่านั้น จะเห็นได้จากการศึกษาที่พบว่า ประชากรร้อยละ 94.30 เคยได้รับการอบรมสั่งสอนเกี่ยวกับสารเสพติดจากพ่อแม่ ม้งในบ้านแม่สาใหม่ ต่างมีความคิดเห็นในทางที่จะป้องกันยาเสพติดในหมู่บ้าน โดยต้องการให้มีการปราบปรามอย่างจริงจัง และในการปราบปรามนี้รัฐควรให้อำนาจกับชุมชนในการจัดการกับปัญหาในระดับหนึ่ง โดยรัฐควรให้การสนับสนุนในส่วนที่ชุมชนร้องขอ อีกทั้งชาวบ้านยังต้องให้ความร่วมมือกับผู้นำชุมชนในการแก้ปัญหา และรัฐควรรีบดำเนินการประชาสัมพันธ์และรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดแก่ชาวบ้าน จะต้องมีมาตรการห้ามไม่ให้ชาวบ้านมียาเสพติดไว้ในครอบครอง และประกาศให้หมู่บ้านเป็นหมู่บ้านที่ปลอดยาเสพติดทุก ๆ หมู่บ้าน (หน้า 35-51)

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst กนกอร สว่างศรี Date of Report 24 มี.ค 2548
TAG ม้ง, ยาเสพติด, เชียงใหม่, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง