สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ม้ง,การอพยพ,การตั้งถิ่นฐาน,เศรษฐกิจ,สังคม,การปรับตัว,เชียงใหม่,แม่ฮ่องสอน
Author Cooper, Robert
Title Resource Scarcity and the Hmong Response
Document Type หนังสือ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity ม้ง, Language and Linguistic Affiliations ม้ง-เมี่ยน
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 314 Year 2527
Source Singapore University Press, Kent Ridge, Singapore
Abstract

ผู้เขียนสรุปว่า การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงในสังคมม้งส่วนเล็ก ๆ ในการศึกษาครั้งนี้ ไม่ได้เป็นแนวทฤษฎีโดยรวมที่จะนำไปใช้ได้กับส่วนอื่นๆ การขาดแคลนทรัพยากรไม่ได้มีผลกระทบต่อชุมชนม้งในแบบเดียวกัน บางพื้นที่อยู่ห่างไกล การแข่งขันในการใช้ประโยชน์จากพื้นที่มีน้อย การวิเคราะห์พิจารณาจากทรัพยากรที่มีอยู่ วิธีนำทรัพยากรนั้นไปใช้ประโยชน์ โดยเน้นที่รูปแบบการจัดการทำงาน รูปแบบนี้คือความสัมพันธ์ระหว่างเทคนิคการผลิตและความต้องการแรงงาน เพื่อให้เห็นภาพรวมของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งสัมพันธ์กับโครงสร้างหลักในการปกครอง การตัดสินคดี และคติความเชื่อ สถานการณ์ขาดแคลนทรัพยากรเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้เกิดการจ้างงานและเงินทุน ในเศรษฐกิจและสังคมม้ง การเปลี่ยนระบบการใช้ที่ดินให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ผลผลิตส่วนเกินมาจากแรงงานในครอบครัวและการจ้างแรงงานจากภายนอก การสะสมและการลงทุนซ้ำทำให้เกิดการครอบครองที่ดินโดยบุคคล เมื่อเผชิญกับปัญหา ชุมชนม้งมีวิธีรับมือต่างกัน การแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างรูปแบบการตั้งถิ่นฐานและระบบเศรษฐกิจของม้งในบางพื้นที่ ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งด้านสังคมและเศรษฐกิจ การเปลี่ยนวิธีการผลิตเป็นการเกษตรแบบถาวรต้องใช้เงินทุน ทำให้ม้งที่ยากจนไม่สามารถทำได้ จึงต้องหารายได้มาทดแทนผลผลิตที่ลดลงจากการทำไร่เลื่อนลอยโดยการขายแรงงาน ยิ่งทรัพยากรลดลงการพึ่งพารายได้จากการแรงงานก็เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการแบ่งชนชั้นทางสังคมระหว่างผู้ครอบครองที่ดินกับลูกจ้าง ซึ่งส่งผลกระทบที่เชื่อมโยงไปถึงด้านอื่น ๆ ของสังคม (หน้า 214, 247-250)

Focus

การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของม้งเมื่อทรัพยากรขาดแคลน (หน้า 1, 12-13)

Theoretical Issues

ผู้เขียนอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนม้ง เมื่อเผชิญกับปัญหาทรัพยากรขาดแคลนกล่าวถึงสาเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้ทรัพยากรขาดแคลน ซึ่งส่งผลต่อรูปแบบการอพยพการตั้งถิ่นฐาน และการจัดการทรัพยากร และชี้ให้เห็นถึงผลกระทบที่เชื่อมโยงกันในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบเศรษฐกิจ โครงสร้างสังคม ศาสนาและคติความเชื่อ ฯลฯ รวมทั้งการแก้ปัญหาของม้งในแต่ละกลุ่มเมื่อการย้ายถิ่นไม่สามารถทำได้อีกต่อไป (หน้า 1) ผู้เขียนได้นำแนวทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีอยู่หลายแนวมาอธิบายว่าแต่ละแนวทฤษฎีสามารถนำมาใช้กับชุมชนม้งที่ศึกษาอย่างไร เช่น แนวมาร์กซิสต์ ทุนนิยม ฯลฯ บางแนวก็สอดคล้องเพียงบางส่วน บางแนวก็ไม่เหมาะสมอย่างไรบ้าง (หน้า 222-233) สำหรับเนื้อหาของงานครอบคลุมในด้านประชากร การย้ายถิ่น การใช้แรงงาน ผลผลิต การแบ่งชนชั้น ศาสนา และคติความเชื่อ ประวัติศาสตร์ นอกจากนั้น ยังให้ข้อมูลด้านสถิติและชาติพันธุ์วรรณนาของม้งทางตอนเหนือของประเทศไทยส่วนหนึ่งตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน (หน้า 1, 216-217)

Ethnic Group in the Focus

ม้ง ซึ่งผู้เขียนอธิบายว่าไทยหรือจีนเรียกว่า แม้ว ส่วนลาวเรียกเป็นทางการว่า ม้ง (หน้า ii)

Language and Linguistic Affiliations

ม้งทางเหนือของไทยอยู่ในตระกูลภาษา ชิโน - ธิเบต (Sino-Tibetan stock) (หน้า 2 บรรทัด 2) มีความแตกต่างทางภาษาด้านคำศัพท์และการออกเสียงระหว่างม้งขาวและม้งเขียว (หน้า 29)

Study Period (Data Collection)

กรกฎาคม ค.ศ.1973 - มีนาคม ค.ศ.1975 และเมษายน - พฤษภาคม ค.ศ.1978 (หน้า xvii)

History of the Group and Community

เนื่องจากม้งไม่มีภาษาเขียน ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของม้งจึงมาจากผู้ที่ไม่ใช่ม้ง ม้งที่อยู่ในดินแดนไทย ลาว และเวียดนาม สืบทอดเชื้อสายมาจากม้งอพยพซึ่งลงมาจากตอนใต้ของจีน หลักฐานทางประวัติศาสตร์จีนกล่าวถึงการขับไล่พวก "แม้ว" จากตอนกลางลุ่มน้ำแยงซีมาทางตะวันตกเฉียงเหนือของแคว้นกานซูราว 2,000 ปีก่อนคริสตศักราช จากช่วงกลางของคริสตศตวรรษที่ 19 ความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่ายย่ำแย่ มีการกบฎและปราบปรามเป็นระยะ นอกจากนั้น ยังสู้รบกับไทยและเวียดนามในช่วงทศวรรษที่ 1860 ในปี 1958 ม้งในลาวต่อสู้กับฝรั่งเศสตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง ม้งมักมีส่วนร่วมในสงครามที่เกิดขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากสงครามกลางเมืองในลาว ทำให้ม้งจำนวนมากอพยพลงจากเขามาอยู่ในค่ายอพยพซึ่งอเมริกันอุปถัมภ์ ม้งรุ่นเยาว์หลายคนได้รับการสนับสนุนให้เข้าร่วมกับซีไอเอ ในปี 1967 เกิดการสู้รบระหว่างม้งกับตำรวจไทย ฝ่ายไทยกล่าวหาว่าม้งมีแผนลับจากการวางแผน โดยคอมมิวนิสต์ในลาว ส่วนม้งกล่าวว่าตำรวจถูกโจมตีเพราะเข้าไปทำลายหมู่บ้านม้ง เนื่องจากม้งไม่ยอมจ่ายเงินใต้โต๊ะเพิ่มในการปลูกฝิ่น ม้งจำนวนมากต้องย้ายมาอยู่ค่ายอพยพ ต่อมาผู้อพยพจำนวนมากย้ายกลับขึ้นภูเขา แต่บางส่วนก็พอใจกับพื้นที่เกษตรที่รัฐจัดให้ ส่วนม้งในเชียงรายมีการต่อสู้กับกองทัพก๊กมินตั๋งอพยพในช่วงเวลา 30 ที่ผ่านมา (หน้า 16-18)

Settlement Pattern

ม้งอยู่รวมกลุ่มเป็นหมู่บ้านประมาณ 20-30 หลังคาเรือน สำหรับกรณีหมู่บ้านที่ศึกษา ครัวเรือนส่วนใหญ่มีการย้ายถิ่นทุก 10-15 ปี เนื่องจากการขาดแคลนทรัพยากร โดยย้ายเป็นครัวเรือน (ไม่ได้ย้ายทั้งหมู่บ้าน) อาจเริ่มจากการบุกเบิกของบุคคลหรือครอบครัวหนึ่งหรือสองหน่วยเพื่อหาที่ทำไร่ แล้วครัวเรือนอื่นจึงย้ายตามมาในภายหลัง (ซึ่งมักเป็นเครือญาติ) หมู่บ้านส่วนใหญ่มีครอบครัวแกนหลักที่มาจากที่เดียวกัน ส่วนหมู่บ้านเดิมจะถูกทิ้งและสลายไปในที่สุด (หน้า 94-96) การย้ายถิ่นของหมู่บ้านที่ศึกษามี 3 รูปแบบดังนี้ (แผนผังหน้า 69, 71-72) 1. การย้ายถิ่นแบบเส้นตรง (Lineal movement) ในกรณีของหมู่บ้านห้วยมะนาว หมู่บ้านนี้นับว่าเป็นหมู่บ้านที่อายุยืน ย้ายมาจากหมู่บ้านเก่าซึ่งอยู่ห่างออกไป 2 ชั่วโมงเดิน 9 ครอบครัวที่ย้ายมามีเชื้อสายเดียวกัน ทั้งหมู่บ้านเป็นม้งขาว 15 ปีถัดมา 5 ครอบครัวย้ายออกไปตามการเปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูก ตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่อยู่ไม่ไกล (หน้า 66-67) 2. การย้ายถิ่นแบบระเบิดออก (Explosive movement) ในกรณีของหมู่บ้านผานกกก 36.8 % ของครัวเรือน ย้ายมาจากหมู่บ้านแม่สาเก่า อยู่ห่างออกไปราว 1 ชั่วโมงเดิน สำหรับครัวเรือนอื่น ๆ มาจากหลายแห่ง เช่น หมู่บ้านขุนสา ดอยปุย ดอยคำ ลาว (ครัวเรือนในหมู่บ้านแม่สาเก่าย้ายออกไปตั้งเป็นสองหมู่บ้าน ส่วนใหญ่ไปอยู่หมู่บ้านแม่สาใหม่) 3. การย้ายถิ่นแบบแบ่งส่วน (Divisive movement) ในกรณีของหมู่บ้านขุนสามีการย้ายถิ่น 2 แบบ หมู่บ้านขุนสา A ย้ายถิ่นแบบเส้นตรง มาจากหมู่บ้านขุนลอยซึ่งมีอายุยืนอาจมากกว่า 50 ปี ส่วนหมู่บ้านแม่สา B ย้ายเข้ามาจากที่ต่าง ๆ (หน้า 77, 81)

Demography

ผู้เขียนได้ให้ตัวเลขจำนวนประชากรชนเผ่าทางเหนือของไทย (ตารางหน้า 5) ม้งมีประมาณ 53,031 คน ม้งในหมู่บ้านที่ศึกษามี 660 คน แบ่งตามอายุ (ตารางหน้า 7-8) และตามเพศ (ตารางหน้า 253) เฉพาะหมู่บ้านผาปู่จอมมีการเปรียบเทียบจำนวนประชากรในระยะเวลา 5 ปี ประชากรกว่า 40% อายุต่ำกว่า 10 ปี แต่ผู้เขียนให้ความเห็นว่า ตัวเลขนี้อาจไม่ได้หมายถึงประชากรม้งเพิ่มขึ้น ยังมีปัจจัยอื่น เช่น อาจมีอัตราการตายของเด็กสูง และมีการย้ายถิ่น (หน้า 6) มีตารางแสดงจำนวนหลังคาเรือนของประชากรในหมู่บ้านที่ศึกษา (หน้า 59)

Economy

มีเศรษฐกิจ 4 รูปแบบ คือ ทำนาแบบเลื่อนลอย ไร่ฝิ่นแบบเลื่อนลอย นาข้าวทดน้ำ และการปลูกพืชเพื่อการค้าแบบถาวร โดยมีการทำทั้ง 4 แบบในครัวเรือนที่สามารถทำได้ในสัดส่วนที่ต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของแต่ละพื้นที่ พืชหลัก คือ ฝิ่น ข้าว ข้าวโพด บางพื้นที่ทำสวนผลไม้บ้าง มีการเลี้ยงสัตว์ เช่น ม้า วัว ควาย หมู ล่าสัตว์และเก็บของป่า เดิมม้งทำการเกษตรแบบเลื่อนลอย แต่การหาพื้นที่เพาะปลูกใหม่ทำได้ยากขึ้น สาเหตุหลัก ได้แก่ รัฐบาลไทยต้องการปลูกป่าเพิ่มขึ้น คนไทยพื้นราบขยายพื้นที่เพาะปลูกขึ้นที่สูง และการเพาะปลูกที่ถี่เกินไปทำให้ดินขาดความสมบูรณ์ ทำให้เริ่มมีการเปลี่ยนวิธีผลิตเกษตรแบบถาวรในบางพื้นที่ ปัจจัยที่สำคัญคือเงินทุนเพื่อใช้ขยายพื้นที่เพาะปลูก ดังนั้น ม้งที่มีเงินทุนจึงสามารถทำได้ ส่วนม้งที่ยากจนต้องทำงานรับจ้างและพึ่งพารายได้จากค่าแรงมากขึ้น เนื่องจากรายได้จากการทำไร่เลื่อนลอยไม่เพียงพอ (หน้า 3-4, 19, 43, 216) (ตารางแสดงรายได้ หน้า 25-29) ชายม้งเกือบทุกคนมีไร่ฝิ่นเป็นของตนเองหลังการแต่งงาน ครัวเรือนเป็นหน่วยการผลิต โดยมีการช่วยเหลือระหว่างตระกูลเดียวกันบ้าง เมื่อกันส่วนที่ครอบครัวต้องการไว้แล้ว ผู้ชายเป็นผู้ตัดสินใจว่าผลผลิตที่เหลือจะนำมาบริโภค จำหน่ายหรือนำไปลงทุน (หน้า 103, 214, 237) ผู้เขียนจำแนกรูปแบบการจัดการแรงงานออกเป็น 5 แบบ ได้แก่ 1. ความร่วมมือกัน 2.แรงงานที่จ้างโดยตรง โดยจ้างคนนอกหมู่บ้านในช่วงที่ต้องใช้แรงงานมาก 3. แรงงานที่จ่ายทางอ้อม ระหว่างสามี-ภรรยา 4.แรงงานด้านธุรกิจ เช่น การผลิตและจำหน่ายของที่ระลึก (ที่ดอยปุย) และ 5.แรงงานแลกเปลี่ยนระหว่างครัวเรือนในบางช่วงของการเพาะปลูก (หน้า 100-121)

Social Organization

สังคมม้งเป็นสังคมเครือญาติ มีการรวมกลุ่มญาติสายตระกูลทางฝ่ายบิดา สำหรับหมู่บ้านสี่แห่งที่ศึกษามี 7 ตระกูล (ตารางหน้า 34) มีศัพท์เรียกคนในตระกูลเดียวกันว่า "kua ti" ผู้หญิงจะเปลี่ยนตระกูลเมื่อแต่งงาน โดยฝ่ายชายต้องจ่ายเงินค่าเจ้าสาวหรือบางคนอาจใช้วิธีทำงานให้พ่อของฝ่ายหญิงแทน การแต่งงานต่างกลุ่มวัฒนธรรมย่อยระหว่างม้งเขียวกับม้งขาวถือเป็นเรื่องธรรมดา กลุ่มร่วมสายโลหิต (lineage) ในตระกูลเดียวกัน ม้งถือว่าการร่วมสายโลหิตมีความสำคัญกว่าญาติกลุ่มอื่น เป็นการสืบทอดจากบรรพบุรุษเดียวกัน มีศัพท์เรียกคนร่วมสายโลหิตเดียวกันว่า "ii jua kua ti" กลุ่มร่วมสายโลหิตคือครอบครัวขยาย ผู้อาวุโสสูงที่สุดเป็นหัวหน้า เรียกว่า "tu hao zo" หมายถึง "หัวหน้าหมู่บ้าน" สิทธิและหน้าที่ที่มีต่อกันเข้มแข็ง และเป็นปัจจัยที่สำคัญเมื่อจะย้ายถิ่น เพราะถ้าเป็นการย้ายเข้าไปในหมู่บ้านที่มีอยู่แล้ว ญาติที่อยู่ในหมู่บ้านนั้นจะช่วยเหลือ (หน้า 36) ครัวเรือนเป็นการรวมกลุ่มที่เข้มแข็งที่สุดและหน่วยสำคัญที่สุดในสังคมม้ง ในครัวเรือนอาจมี 3 รุ่นคนอาศัยอยู่ และสามีอาจมีภรรยาหลายคน ภรรยาทำตามคำสั่งของสามี ในครัวเรือนอาจมีสมาชิกอื่น เช่น ญาติสนิทที่ชราหรือเจ็บป่วย เมื่อลูกชายโตขึ้นอาจแยกบ้านออกไป แต่ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อและลูกชาย พี่ชายและน้องชายยังเข้มแข็ง ในการแต่งงานกับหญิงที่อยู่หมู่บ้านอื่น ฝ่ายชายจะสร้างความสัมพันธ์กับพ่อตาเพื่อให้สามารถสร้างครอบครัวในหมู่บ้านของฝ่ายหญิง ความสัมพันธ์ระดับรองลงมาคือระหว่างพี่น้องผู้ชายฝ่ายภรรยากับพ่อและพี่น้องผู้ชายฝ่ายสามี ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ข้ามตระกูล (หน้า 39-40) ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างลูกจ้าง ในช่วงที่ต้องการแรงงานมากจะมีการจ้างแรงงานนอกหมู่บ้านเข้ามาชั่วคราว ส่วนใหญ่เป็นกะเหรี่ยง คนเมืองและอาจมีม้งที่ยากจนด้วย โดยให้อาศัยกินนอนอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน (หน้า 104, 110)

Political Organization

ผู้นำครัวเรือนเป็นผู้มีอำนาจและมีอิสระในการตัดสินใจด้านการปกครองในครัวเรือนของตน โดยอาจได้รับคำแนะนำจากหัวหน้าหมู่บ้าน หรือหมอผีบ้าง ส่วนกฎของม้ง (หรือธรรมเนียม) มาจากคติที่พ่อแม่และผู้สูงอายุสอนเด็ก กฏการเคารพนับถือผู้อาวุโส และภรรยาเคารพสามี สำหรับหัวหน้าสายตระกูล "tu hao zo" ซึ่งเป็นหัวหน้าหมู่บ้านด้วย มีหน้าที่เป็นผู้นำทางศาสนาและพิธีกรรม มีอำนาจจำกัด เมื่อมีปัญหาขัดแย้งภายในหมู่บ้าน กลุ่มผู้สูงอายุจะมาประชุมกัน "tu hao zo" เป็นตัวแทนติดต่อกับคนนอกหมู่บ้าน และเมื่อแก่เกินจะปฏิบัติงาน น้องชายที่มีอายุลำดับถัดไปจะรับหน้าที่แทนในฐานะผู้ช่วย เมื่อมีหมู่บ้านหลายตระกูลเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดตำแหน่งผู้นำลำดับสอง เป็นผู้นำหมู่บ้านอย่างเป็นทางการ เรียกว่าพ่อหลวง พบในหมู่บ้านส่วนใหญ่ ในหมู่บ้านที่กลุ่มร่วมสายโลหิตเข้มแข็ง เช่น หมู่บ้านห้วยมะนาวและขุนสา "tu hao zo" จะทำหน้าที่ตามประเพณี ส่วนพ่อหลวงจะทำหน้าที่ที่เกี่ยวกับงานสมัยใหม่ เช่น ติดต่อกับทางการไทย และเป็นตัวแทนของหมู่บ้านแทน "tu hao zo" เมื่อมีบุคคลที่ไม่ใช่ม้งเข้ามาเกี่ยวข้อง พ่อหลวงจะพบกับหัวหน้าของอีกฝ่ายเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างหมู่บ้าน โดยรายงานต่อหมู่บ้านก่อน สำหรับบางหมู่บ้านที่ไม่มี "tu hao zo" เช่น ผานกกก และผาปู่จอม พ่อหลวงจะเป็นผู้นำทางพิธีกรรมด้วย การตัดสินใจในระดับหมู่บ้านมาจากการประชุมหัวหน้าครัวเรือนทั้งหมดไม่ได้มาจากคนใดคนหนึ่ง เมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างสมาชิกในหมู่บ้านที่มาจากต่างตระกูลพ่อหลวงจะมีบทบาทในการตัดสิน การลงโทษจะเป็นการเสียค่าปรับ ซึ่งอาจเป็นเงินหรือสัตว์เลี้ยง สำหรับกรณีร้ายแรงเช่น ฆาตกรรมจะรายงานต่อทางการไทย ม้งยังต้องปฎิบัติตามกฎหมายไทยซึ่งมีการบังคับใช้ในระดับที่ต่างกัน (หน้า 128-129, 133-134, 215-216)

Belief System

ผีบรรพบุรุษ และศาสนาคริสต์ : ศาสนาของม้ง ต้องทำการบูชายัญสัตว์หลายปี เพื่อการเกิดใหม่ที่ดี ซึ่งต้องอาศัยเงินและการทำงานหนัก เพื่อซื้อวัวและหมูสำหรับใช้ทำพิธี ในการสะสมผลได้ทางวิญญาณ (spiritual gain) ในขณะที่ ศาสนาคริสต์ถือว่าความยากจนไม่ได้เป็นสิ่งที่ไม่ดี ดังนั้น การเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์จะทำให้หัวหน้าครัวเรือนมีภาระค่าใช้จ่ายน้อยลง ทั้งยังไม่ต้องรับผิดชอบด้านความสุขทางจิตใจของครอบครัวเพราะเป็นความรับผิดชอบของพระเจ้า ซึ่งจะพบว่าม้งที่ยากจนหลายครอบครัวในหมู่บ้านขุนสาเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ (หน้า 169) พิธีทางศาสนานำโดยฝ่ายชาย ผู้หญิงถูกห้ามไม่ให้มีส่วนร่วมในพิธีสำคัญบางอย่างหรือในบางส่วนของพิธีกรรม เช่นพิธีการฝังครั้งสุดท้าย (หน้า 237) เมื่อม้งเสียชีวิต วัวควรจะถูกฆ่า 1 ตัวสำหรับลูกชายทั้งหมด และอีก 1 ตัวสำหรับลูกสาว (หน้า 168) ในพิธีศพและพิธีกรรมของหมู่บ้าน ทุกคนในหมู่บ้านจะมาร่วมดื่มกินและทำงานด้วยกัน ในงานศพ ส่วนใหญ่ราว 12 วัน ญาติจะมาจากถิ่นไกลอาจเป็นร้อย ๆไมล์ มีการสังสรรค์เพื่อกระชับความสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนความรู้ด้านทรัพยากรซึ่งเป็นประโยชน์ในการย้ายถิ่นต่อไป (หน้า 32,37)

Education and Socialization

ไม่ระบุชัดเจน

Health and Medicine

ม้งส่วนใหญ่มีความรู้ด้านสมุนไพรจากป่า บางแห่งอาจมีหมอสมุนไพร (herbalist) ที่มีความรู้มากกว่าคนอื่นรับจ้างผสมยา (หน้า 37) หรืออาจปรึกษาหมอผี (shaman) ในการทำพิธีรักษาอาจมีการใช้สัตว์บูชายัญ เช่น วัว หรือหมู (ใช้วัวเมื่อเจ็บป่วยร้ายแรง) (หน้า 114) ส่วนฝิ่นใช้เป็นยากระตุ้น (หน้า 19) การแพทย์สมัยใหม่มีผลต่อสังคมม้งน้อยมาก แม้ว่ามีการรักษาฟรีในโรงพยาบาลเชียงใหม่ แต่ม้งไม่ค่อยไปเพราะค่าใช้จ่ายและความลำบากในการเดินทาง จำนวนหมอที่อยู่บนภูเขามีน้อยมาก ทำให้โรคที่รักษาไม่ยากอาจทำให้ม้งถึงตายได้ ม้งน้อยคนที่อายุยืน (หน้า 9, 23) ม้งที่มีฐานะ อาจซื้อยาแผนปัจจุบันใช้ในครอบครัว ส่วนม้งที่ยากจน เช่น ในหมู่บ้านขุนสา อาจขอรับยาแผนปัจจุบันโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายจากหน่วยงานเคลื่อนที่ของรัฐ ส่วนใหญ่เป็นยาแอสไพริน และไอโอดีน ม้งที่นับถือคริสต์จะถูกห้ามไม่ให้รักษาแบบเดิมที่ใช้สัตว์บูชายัญ ซึ่งถือว่า "ป่าเถื่อน" (หน้า168)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

การแต่งกาย แบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ ม้งเขียว และ ม้งขาว ในชีวิตประจำวันหญิงม้งเขียวใส่กระโปรงสีน้ำเงิน มีการย้อมบาติก(รับเทคนิคมาจากจีน) ผู้ชายใส่กางเกงเป้าต่ำ ส่วนหญิงม้งขาวจะใส่กางเกงสีน้ำเงินเช่นเดียวกับผู้ชาย กางเกงเป็นแบบที่รับมาจากจีน (คือเป้าสูงกว่าที่ม้งเขียวใส่) ในช่วงเทศกาลปีใหม่ หญิงม้งขาวจะใส่กระโปรงขาวไม่ได้ย้อมบาติกหรือปักประดับ ส่วนหญิงม้งเขียวจะใช้เวลาปักประดับหลายเดือน หญิงม้ง ทั้งสองกลุ่มมีความเชี่ยวชาญในศิลปะปักประดับ (หน้า 28-29)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ม้งมีอัตลักษณ์ที่ชัดเจนแม้ว่าจะมีความแตกต่างทางวัฒนธรรมอยู่บ้าง เห็นได้จากประการแรก ความเป็นหนึ่งเดียวกันในเชื้อชาติอยู่เหนือความแตกต่างทางวัฒนธรรม (กลุ่มย่อย) ประการที่สอง การแต่งงานกับชนต่างเผ่ามีน้อยมาก และ ประการที่สาม สังคมม้งแยกตัวจากกลุ่มอื่น ๆ (หน้า 218) นอกจากนั้น อัตลักษณ์ของม้งกำหนดโดยการเป็นสมาชิกของตระกูล (หน้า 35-36) สำหรับอัตลักษณ์ทางสังคม มีการแบ่งกลุ่มย่อยทางวัฒนธรรมเป็นม้งขาว (Hmong Doh) และม้งเขียว (Hmong Njua) จากความแตกต่างทางภาษา การแต่งกาย รูปแบบบ้าน และพิธีกรรมบางอย่าง ม้งในหมู่บ้านห้วยมะนาวและหมู่บ้านขุนสาทั้งหมดเป็นม้งขาว (มีครอบครัวไทย 4 ครอบครัว) หมู่บ้านผานกกกเป็นแบบผสมคือมีทั้งม้งขาวและม้งเขียว ส่วนหมู่บ้านผาปู่จอมเป็นม้งเขียวเกือบทั้งหมด (หน้า 3, 28-29) ม้งมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการรับจ้างทำงาน ซึ่งต้องรับคำสั่งจากคนอื่น จะทำให้รู้สึกเสียหน้า ม้งชอบความเป็นอิสระและการพึ่งพาตนเอง นอกจากนั้น ยังไม่ชอบสังคมเมือง (หน้า 110-112) ผู้เขียนกล่าวถึงทัศนคติของม้งต่อคนไทยในบางประเด็น เช่น ในการตอบโต้คนไทยที่วิจารณ์การมีภรรยาได้หลายคนของม้ง ม้งมองว่าคนไทยเป็นพวกพูดอย่างทำอย่าง เพราะแม้จะมีภรรยาคนเดียวตามกฎหมาย แต่อาจมีภรรยาน้อยซึ่งไม่มีสิทธิใด ๆ ตามกฎหมายได้ (หน้า 135-136)

Social Cultural and Identity Change

การเปลี่ยนรูปแบบการเพาะปลูกเป็นการทำไร่ฝิ่นเพื่อการค้าทำให้ความสัมพันธ์ทางสังคมในครัวเรือนเปลี่ยนไป ความร่วมมือกันระหว่างสามีภรรยาเปลี่ยนไปสู่การเป็นนายจ้างลูกจ้าง การที่สามีเป็นผู้กำหนดผลตอบแทนของภรรยา ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกัน และการใช้ประโยชน์จากแรงงานของอีกฝ่าย นอกจากนั้น ลูกชายที่แต่งงานแล้วแม้จะยังไม่แยกบ้านมักมีไร่ฝิ่นเป็นของตน และใช้แรงงานในครอบครัวของตนเป็นหลัก ทำให้มีรายได้ของตนเองเป็นอิสระจากบิดา หน่วยการผลิตเปลี่ยนจากเดิมที่เป็นครอบครัวขยายมาเป็นครอบครัวเดี่ยว น้ำหนักของความสำคัญทางเชื้อสาย (zo) ย้ายไปอยู่ที่บ้านหรือครอบครัว (jay) การลงทุนในเศรษฐกิจแบบถาวรของม้งที่ร่ำรวยบางคน ทำให้เกิดความแตกต่างทางฐานะระหว่างผู้ถือครองที่ดินกับแรงงานที่ไม่มีที่ดิน การแบ่งชั้นทางสังคมเริ่มจะเห็นได้ในสังคมม้ง (เมื่อ 10 ปีที่แล้วยังไม่มี) (หน้า 134, 246-247) การขาดแคลนทรัพยากรส่งผลกระทบต่อสังคมแบบเครือญาติ จากเดิมม้งเชื้อสายเดียวกันมักอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน เมื่อการย้ายถิ่นเพื่อหาที่เพาะปลูกถี่ขึ้น แนวโน้มที่ญาติสนิทจะอยู่กระจายออกจากกันมีมากขึ้น ทำให้หมู่บ้านที่มีหลายตระกูล (multi-clan village) และหมู่บ้านที่มีทั้งม้งขาวและม้งเขียวอยู่ร่วมกันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (หน้า 45, 97, 214)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ตาราง ตัวเลขจำนวนประชากรชนเผ่าทางเหนือของไทย (หน้า 5) ตาราง ม้งในหมู่บ้านที่ศึกษา (หน้า 7-8) ตาราง แยกตามเพศ (หน้า 253) ตาราง แสดงจำนวนหลังคาเรือนของประชากรในหมู่บ้านที่ศึกษา (หน้า 59) ตาราง แสดงรายได้ (หน้า 25-29)

Text Analyst เกสรา จาติกวนิช Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG ม้ง, การอพยพ, การตั้งถิ่นฐาน, เศรษฐกิจ, สังคม, การปรับตัว, เชียงใหม่, แม่ฮ่องสอน, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง