สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ม้ง, เมี่ยน,ลื้อ, ลีซู, ลาหู่, อ่าข่า, ลัวะ ,ละเวือะ,ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง),โพล่ง โผล่ง โพล่ว ซู (กะเหรี่ยง), ชาวเขา,การศึกษา,ระบบโรงเรียน,ภาคเหนือ
Author Kataoka Tatsuki
Title ทำอย่างไรให้ชาวเขาในภาคเหนือของไทย รับระบบการศึกษาสมัยใหม่ของประเทศ
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาญี่ปุ่น
Ethnic Identity ลัวะ (มัล ปรัย) ลัวะมัล ไปร ลัวะปรัย, อ่าข่า, ไทลื้อ ลื้อ ไตลื้อ, ลีซู, ลาหู่ ลาหู่ ละหู่ ลาฮู, อิ้วเมี่ยน เมี่ยน, ม้ง, โพล่ง โผล่ง โผล่ว ซู กะเหรี่ยง, ปกาเกอะญอ, ลัวะ (ละเวือะ) ลเวือะ อเวือะ เลอเวือะ ลวะ ละว้า, Language and Linguistic Affiliations ไม่ระบุ
Location of
Documents
สมาคมไทยศึกษาแห่งประเทศญี่ปุ่น Total Pages 14 Year 2544
Source Nenpou Tai kenkyuu Dai 1 Gou , Nihon Tai Gakkai. PP. 87-100. (วารสารไทยศึกษา :สมาคมไทยศึกษาแห่งประเทศญี่ปุ่น)
Abstract

รายงานชิ้นนี้เป็นการศึกษาเรื่อง ทำอย่างไรให้ชาวเขาในภาคเหนือของไทย รับระบบการศึกษาสมัยใหม่ของประเทศ ทั้งนี้โดยการใช้กรณีศึกษาเรื่องการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดเชียงใหม่ ระบบการศึกษาแห่งชาติจากส่วนกลางถูกนำเข้าสู่เขตพื้นที่สูงในภาคเหนือของไทย ในช่วงทศวรรษ 1950 ซึ่งเกี่ยวโยงถึงยุคสงครามเย็นอันเป็นเงื่อนไขในขณะนั้น และในเวลาต่อมาได้ถูกใช้เป็นบริบทในการพัฒนาพื้นที่สูง ชาวเขาสมัครใจที่จะส่งลูกหลานของพวกเขาเข้าโรงเรียนประถมที่สอนตามหลักสูตรการศึกษาแห่งชาติ และไม่ลังเลใจที่จะรับการสนับสนุนพิเศษสำหรับชาวเขา เพื่อโอกาสทางการศึกษาที่เพิ่มมากขึ้น ด้วยบริบทดังกล่าว ชาวเขาจึงตกอยู่ในสภาวะการมีตัวตนหรือเอกลักษณ์ที่กำกวม เพราะไม่เลือกชัดเจนว่าจะเป็นชาวเขาหรือคนไทย แต่กลายเป็นว่าพวกเขาเป็นทั้งชาวเขาและคนไทย (หน้า 87)

Focus

งานนี้ศึกษาเรื่องนโยบายของรัฐบาลไทยในการกระจายการศึกษาระบบโรงเรียนไปสู่ชาวเขา

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ชาวเขา (ม้ง เย้า กะเหรี่ยง ลีซู ลัวะ คาม ถิ่น ละหู่ อะข่า ตามคำจำกัดความของกระทรวงมหาดไทยทั้ง 9 ชนเผ่าที่กล่าวนี้คือ ชาวเขา )

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ไม่มีข้อมูล

History of the Group and Community

ผู้เขียนไม่ได้ระบุประวัติของกลุ่มหรือชุมชนชาวเขา แต่ได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาเรื่องการศึกษาของชาวเขา ใน พ.ศ. 2476 การศึกษาแห่งชาติได้ขยายไปถึงชาวเขาเป็นครั้งแรก โดยรัฐบาลมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการกระจายการศึกษาระดับประถมสู่พื้นที่ภูเขา ซึ่งในช่วงเวลานั้นยังไม่ได้ผลมากนัก จนกระทั่งปี พ.ศ.2493 เป็นต้นมา ได้เริ่มกระจายการศึกษาสู่พื้นที่ภูเขา โดยมุ่งเน้นที่หลักสูตรการศึกษาแห่งชาติ จุดประสงค์หลักก็คือการป้องกันไม่ให้เกิดคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2494 ชุมชนสงเคราะห์ชาวเขา ก็ได้ก่อตั้งขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2496 ได้ก่อตั้งตำรวจตระเวนชายแดน ซึ่งได้เปิดโรงเรียนสอนหนังสือให้แก่เด็กชาวเขา โดยใช้หลักสูตรการศึกษาแห่งชาติ หลังจากนั้นโครงการเพื่อการศึกษาในพื้นที่สูงเริ่มได้รับงบประมาณสนับสนุน ซึ่งเป็นผลมาจากสงครามเย็นและการช่วยเหลือด้านการพัฒนาที่กำลังตื่นตัวอย่างมากในขณะนั้น และยังสืบเนื่องมาจนถึงปี พ.ศ. 2523 วัตถุประสงค์ในการให้การศึกษาแก่ชาวเขาก็เปลี่ยนไปสู่การพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเขาให้ดีขึ้น และเพื่อลดการปลูกฝิ่น (หน้า 89-92)

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

ข้อมูลประชากรชาวเขาตามการสำรวจของกระทรวงมหาดไทยในปี 2540 มีประชากรชาวเขา 187,116 คน (หน้า 88)

Economy

ระบบการผลิตพื้นฐานของชาวเขาคือการเพาะปลูกเพื่อยังชีพ หลังจากปี ค.ศ. 1960 ด้วยการสนับสนุนของรัฐบาลไทย องค์กรต่างประเทศได้นำการเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยวมาสู่ชาวเขา รวมทั้งระบบทุนนิยมและการพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานต่างๆ (หน้า 88-89)

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ไม่มีข้อมูล

Education and Socialization

มีรูปแบบการศึกษาอื่นๆ สำหรับชาวเขา เช่น 1. การศึกษาตามหลักสูตรของรัฐ 2. การศึกษาพิเศษเพื่อกลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นชนกลุ่มน้อย (ซึ่งยังคงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมของตนไว้) 3. การศึกษาเพื่อการอนุเคราะห์คนยากจน (ซึ่งให้คำจำกัดความว่า ชาวเขาคือผู้ด้อยพัฒนาและยากจน) - การศึกษาตามหลักสูตรของรัฐ มีโรงเรียนของรัฐหลายแห่งทั่วประเทศทั้งในพื้นที่ราบและพื้นที่สูง ซึ่งจัดการโดย ONPEC (คณะกรรมาธิการการประถมศึกษาแห่งชาติ) แต่โรงเรียนเหล่านี้ไม่ได้มีการจัดการเรียนการสอนหรือกิจกรรมพิเศษอื่นใดสำหรับชาวเขา - การศึกษาพิเศษเพื่อกลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นชนกลุ่มน้อย (ซึ่งยังคงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมของตนไว้) มีการศึกษารูปแบบอื่นที่มีเป้าหมายเพื่อการรักษาวัฒนธรรมประเพณีและผลักดันให้มีการพัฒนาชุมชน บนรากฐานของวัฒนธรรมประเพณีของตนเอง เช่น HAE Project (โครงการการศึกษาบนพื้นที่สูง) ซึ่งดำเนินการโดยศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน แต่อย่างไรก็ดี โครงการนี้ก็ยังเป็นสัดส่วนเล็ก เมื่อเทียบกับโรงเรียนของรัฐ - การศึกษาเพื่อการอนุเคราะห์คนยากจน (ซึ่งให้คำจำกัดความว่า ชาวเขาคือผู้ด้อยพัฒนาและยากจน) มีการจัดหอพักเพื่อรับนักเรียนชาวเขาและส่งเด็กเหล่านี้เข้าสู่โรงเรียนของรัฐ และมีระบบการให้ทุนการศึกษาซึ่งมุ่งเป้าไปที่เด็กชาวเขา โรงเรียนสวัสดิการเหล่านี้จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลไทยเมื่อ พ.ศ. 2519 โดยมีเป้าหมายเพื่อให้การเรียนการสอนและที่พักแก่คนยากจนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และยังมีโครงการพิเศษสำหรับโรงเรียนเอกชน ที่ดำเนินการโดยองค์กรศาสนา ซึ่งเป็นโรงเรียนในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะเชียงใหม่และเชียงราย ซึ่งไม่เก็บค่าใช้จ่ายใดๆ จากนักเรียน ทั้งในด้านการเรียนการสอนและหอพัก (หน้า 92-97)

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ปัจจุบัน เอกลักษณ์ของคนกลุ่มนี้ไม่อยู่ในหมวดของชาวเขาหรือชาวไทย เพราะในความเป็นจริง การเป็นชาวเขาก็เพื่อการได้รับสิทธิพิเศษจากรัฐ และเป็นคนไทยก็เพื่อสิทธิทางการศึกษา ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า การเป็นทั้งชาวเขาและคนไทย คือสิ่งที่ดีสำหรับพวกเขา (หน้า 97)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst Nishikawa Yoko Date of Report 06 ม.ค. 2566
TAG ม้ง, เมี่ยน, ลื้อ, ลีซู, ลาหู่, อ่าข่า, ลัวะ, ละเวือะ, ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง), โพล่ง โผล่ง โพล่ว ซู (กะเหรี่ยง), ชาวเขา, การศึกษา, ระบบโรงเรียน, ภาคเหนือ, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง