สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ขมุ,ประวัติความเป็นมา,เศรษฐกิจ,ระบบสังคม,วัฒนธรรม,ประเทศไทย
Author Schrock, Joann L.
Title The Khmu
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity กำมุ ตะมอย, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
หอสมุดกลาง สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 38 Year 2513
Source Minority groups in Thailand. Joann L. Schrock. American University (Washington, D.C.) Cultural Information Analysis Center. Washington : Headquarters, Dept. of the Army, 1970
Abstract

งานนี้มุ่งเสนอภาพรวมของขมุ ทั้งในเรื่องประวัติความเป็นมาของขมุ ที่เดิมอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศลาว อพยพเข้ามาเป็นแรงงานรับจ้างในไทย และตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทยมานานนับพันปี ปัจจุบัน ขมุอยู่อาศัยกระจายไปทั่วภาคเหนือ นอกจากนี้ ยังนำเสนอลักษณะการตั้งชุมชนของขมุ วิถีการดำรงชีวิต ความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรม การประกอบอาชีพ ระบบเศรษฐกิจ และความสัมพันธ์กับคนกลุ่มอื่น ตลอดจนวิธีการที่คนนอกกลุ่มจะเข้าไปสัมพันธ์กับขมุ ในสังคมขมุนับการสืบเชื้อสายทางฝ่ายชาย ผู้ชายจึงมีความสำคัญในฐานะผู้นำ และผู้ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ โดยธรรมชาติแล้วขมุเป็นกลุ่มชนที่ขี้อาย เจียมเนื้อเจียมตัว ยอมคน และมักจะตื่นตกใจเมื่อต้องเผชิญหน้ากับคนแปลกหน้า

Focus

ศึกษาประวัติความเป็นมา วัฒนธรรม ความเชื่อ วิถีชีวิต เศรษฐกิจ สังคม-การเมือง ของชาติพันธุ์ขมุในประเทศไทย

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ขมุ

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาขมุเป็นภาษาในกลุ่มออสโตรเอเชียติค สาขาภาษามอญ-เขมร ในกลุ่มย่อยที่เรียกว่าขมุอิค ภาษาที่อยู่ในสาขานี้พบในประเทศไทยได้แก่ ภาษาขมุ ภาษาลัวะ หรือถิ่น ภาษามลาบรี (ผีตองเหลือง) และมีหลายกลุ่มที่ใช้ภาษาขมุในทางภาคเหนือของลาว

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

ขมุเป็นชนกลุ่มน้อยเก่าแก่ทางภาคเหนือของไทย อพยพเข้ามาอยู่ระหว่างแม่น้ำโขงและสาละวิน เหนือชายแดนไทยมากว่าพันปีแล้ว จากหลักฐานระบุว่า ลัวะ กะเหรี่ยง และขมุอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยประมาณศตวรรษที่ 13 ขณะที่ชนกลุ่มน้อยกลุ่มสำคัญอย่างม้ง เย้า ลีซอ และอาข่า อพยพสู่ประเทศไทยเพียงแค่ 100 กว่าปีเท่านั้น ขมุอพยพเข้าไทยตามแบบมาตรฐานการอพยพของกลุ่มชนอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือทิ้งบ้านเรือนในตอนใต้ของจีน อพยพมุ่งหน้าลงใต้ มีข้อสันนิษฐานว่าน่าจะมาจากการถูกกดดันทางทหารจากจีน และผลกระทบมาจากการเมืองในจีน (หน้า 455) คำว่า ขมุ แปลว่าคน เป็นคำที่ขมุใช้เรียกตนเอง ดังนั้น ขมุ จึงเป็นที่มาของทั้งภาษาและเผ่าพันธุ์

Settlement Pattern

หมู่บ้านขมุพบตามเชิงเขา สูงกว่าระดับน้ำทะเล 2,500 ฟุตขึ้นไป เนินเขารอบหมู่บ้านขมุมักมีพืชผักและต้นไม้ยืนต้นให้เห็นอยู่ทั่วไป ขมุมีประเพณีการสร้างบ้านเป็นชุมชนหมู่บ้านขนาดเล็ก ส่วนใหญ่ไม่เกิน 15 หลังคาเรือน หรืออย่างมากไม่เกิน 50 หลังคาเรือน บ้านจะปลูกใกล้ ๆ กัน ลักษณะบ้านคล้ายคลึงกัน นิยมสร้างบ้านด้วยไม้ไผ่ คนยากจนจะสร้างบ้านบนดิน เสาและขื่อจะใช้ไม้แผ่นมาประกอบ หลังคาเป็นใบจาก ฝาบ้านเป็นไม้แฝก (ไม้ไผ่สับเป็นแผง) บ้านที่มีฐานะดีหน่อยจะเปลี่ยนไม้ไผ่เป็นไม้กระดาน ใต้ถุนบ้านเก็บฟืน และเป็นคอกสัตว์ ขนาดบ้านมีตั้งแต่ 8x10 ฟุต ถึง 20x30 ฟุต ภายในบ้านแบ่งสัดส่วนเป็นบริเวณเตาหุงข้าว ที่ถือเป็นส่วนศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่ประดิษฐานของผีบ้าน หรือโร้ยกาง (hrooy gaang) มีเตาไฟสำหรับทำอาหารและผิงไฟอยู่กลางบ้าน เหนือเตาไฟทำเป็นชั้นวางของใช้ เป็นที่เก็บอาหารแห้ง พริก เกลือ หม้อ จาน ชาม และน้ำดื่ม ที่นอนจะปูบนพื้นบ้านตอนกลางคืน ส่วนกลางวันเก็บพับไว้ ขมุนิยมสร้างกระท่อมไว้ที่ไร่นา เพื่อเฝ้าข้าว ไร่นกและไก่ป่า (469)

Demography

จำนวนขมุที่อาศัยอยู่ทางภาคเหนือของไทย ในปี 1961 มีประมาณ 3,300 คน จำนวนนี้รวมขมุในจังหวัดน่าน เชียงราย และกาญจนบุรี และพบว่ามีขมุอพยพนับพันคนที่อยู่กระจายไปทั่วภาคเหนือและไกลลงมาจนถึงกรุงเทพฯ ส่วนในประเทศลาว ปี ค.ศ. 1961 มีขมุอยู่ประมาณ 100,000 คน (หน้า 452)

Economy

ระบบเศรษฐกิจของขมุอิงอยู่กับการเกษตรแบบยังชีพ เสริมด้วยการล่าสัตว์ ด้วยลูกดอก จับสัตว์ขายด้วยแร้วหรือกับดัก ตกปลา จับปลาด้วยมือ โดยการวิดน้ำให้แห้ง หรือใช้ตาข่าย บางครั้งก็วางยา และเก็บของป่า พืชที่ปลูกเป็นอาหารคือข้าวไร่ และปลูกพืชอื่น ๆ เสริม เช่น ข้าวโพด กล้วย สับปะรด ถั่ว พริก ยาสูบ แตงกวา มะเขือ บางฤดูปลูกฝ้าย ปอ และฝิ่น รายงานวิจัยบางงานบอกว่าขมุปลูกชา ทั้งบริโภคเองและขายให้กับคนไทยและชาวเขาเผ่าอื่น ๆ ในการเพาะปลูก ขมุใช้วิธีโค่นไม้ และเผาไร่ทำให้เกิดไฟไหม้ป่า ขมุใช้ที่ดินประมาณ 2-3 ปี และพักดินไว้ประมาณ 8-10 ปี แล้วย้ายที่ปลูกพืชไปบริเวณใกล้ ๆ ขมุไม่ย้ายหมู่บ้านไปเรื่อย ๆ เหมือนมลาบรี ในการทำไร่ ขมุไม่ใช้เทคโนโลยีและแรงงานสัตว์ โดยผู้ชายจะขุดหลุมเล็ก ๆ ผู้หญิงและเด็กเป็นคนหยอดเมล็ดพืชตามลงไป หลังจากนั้นก็รอเก็บเกี่ยวผลผลิต ข้าวเก็บประมาณเดือนตุลาคม แม้ว่าขมุจะรู้วิธีการทำนาแบบหว่านในที่ลุ่มจากคนลาว แต่ไม่ทำ จะทำไร่แบบขมุมากกว่า เพราะไม่ต้องใช้แรงงานควายคราดไถ และที่อยู่อาศัยไม่มีที่ลุ่มเพียงพอ ขมุไม่ค่อยมีการค้าขายแลกเปลี่ยนกับคนอื่น เพราะเป็นเศรษฐกิจแบบพอยังชีพ มีบางครั้งที่ซื้อเกลือ มีด เสื้อผ้า น้ำมันก๊าด ส่วนสินค้าที่ขมุจะสามารถนำมาขายได้ มี เครื่องจักสาน เฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่ ไม้ไผ่ ถ่านเป็นสินค้าสำคัญของขมุเพราะในเมืองต้องการมาก บางครั้งก็ขายผัก ในประเทศลาวสมัยก่อน ขมุจะทำงานให้ล่ามที่เป็นตัวกลางระหว่างพ่อค้าชาวฝรั่งเศสกับขมุ ล่ามจะเข้ามาในหมู่บ้านให้ขมุหาสินค้า หรือผลผลิตทางการเกษตรให้ แล้วล่ามนำผลผลิตไปส่งในเมืองให้พ่อค้าฝรั่งเศสอีกที (หน้า 469-471)

Social Organization

สังคมขมุนับการสืบเชื้อสายทางฝ่ายชาย ถือผีทางฝ่ายสามี ถือฝ่ายชายเป็นใหญ่ เมื่อแต่งงานแล้วฝ่ายหญิงจะไปอยู่บ้านพ่อแม่สามี ระเบียบการเลี้ยงผีต้องทำตามวิธีของผีฝ่ายสามี สังคมขมุ ผู้ชายมีความสำคัญในฐานะผู้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ เป็นผู้นำครอบครัว และตัดสินใจเรื่องราวต่างๆ แต่อย่างไรก็ตาม หากฝ่ายชายยังจ่ายสินสอดไม่หมดคู่แต่งงานใหม่จะต้องอยู่กับพ่อแม่ฝ่ายหญิงก่อน จนกว่าจะใช้แรงงานหรือจ่ายค่าสินสอดครบ ขมุเชื่อว่าตนเองมีโคตรวงษ์ หรือบรรพบุรุษ (ซึนต๊ะ) ที่สืบสายมาจากพืช หรือสัตว์บางชนิด เช่น เสือ คางคก และต้นไม้ต่างๆ ผู้ใดอยู่ในโคตรวงษ์ใด จะจับต้อง ทำร้าย หรือกินสัตว์และพืชชนิดนั้นไม่ได้ หากละเมิดจะถึงแก่ความตายตั้งแต่อายุน้อย ฟันร่วง หรือเจ็บป่วย ผู้ที่อยู่ในโคตรวงษ์เดียวกันจะแต่งงานกันไม่ได้ แต่ละโคตรวงษ์มีวิธีการเลี้ยงผีที่ไม่เหมือนกัน กล่าวได้ว่า โคตรวงษ์เป็นตัวกำหนดวัฒนธรรม วิธีการปฏิบัติตน และการดำเนินชีวิตของบุคคลว่าจะทำอะไรได้ ทำอะไรไม่ได้ บทบาทของผู้หญิงและผู้ชาย : แม้จะเป็นแรงงานในไร่นาเหมือนกัน แต่บทบาทหลักของผู้หญิงเน้นไปที่การดูแลบ้าน ตักน้ำ ตำข้าวผ่าฟืน ซักผ้า ทำความสะอาดบ้าน ขณะที่ผู้ชายจะเป็นตัวหลักในไร่นา ล่าสัตว์ เก็บฟืนจากป่า เก็บของป่า แบกของหนัก รับบทบาทในการเจรจาติดต่อการค้า และธุรกรรมที่เป็นสาธารณะ ผู้ชายเท่านั้นที่จะได้เป็นหัวหน้าหมู่บ้าน และประกอบพิธีกรรม ผู้คนภายนอกจะพบเห็นผู้หญิงขมุได้ค่อนข้างยาก การแต่งงาน : ทั้งครอบครัวแบบผัวเดียวเมียเดียว และเมียหลายคนเป็นที่ยอมรับในสังคมขมุ ผู้ชายขมุสามารถมีเมียได้หลายคนแต่ไม่เป็นที่แพร่หลายนัก บางครั้งก็แต่งงานกับน้องเมียของตัวเอง การแต่งงานกับลูกพี่ลูกน้องสามารถทำได้ แต่การแต่งงานกับคนในโคตรวงษ์ฝ่ายพ่อเป็นข้อห้ามเด็ดขาด โดยทั่วไปผู้หญิงแต่งงานอายุประมาณ 14 ปี ผู้ชายอายุมากกว่านิดหน่อย การแต่งงานพ่อแม่เป็นคนจัดการให้ทั้งค่าสินสอดและพิธีกรรม ในกรณีที่เด็กอยู่กินกันก่อน และไม่มีค่าสินสอด คู่แต่งงานใหม่จะอยู่ที่บ้านพ่อแม่ฝ่ายหญิง ทำงานใช้หนี้ค่าสินสอดจนกว่าจะเป็นอิสระ บางคู่ใช้เวลา 3-4 ปี บางคู่อาจนานถึง 8 ปี หลังจากใช้หนี้เสร็จแล้วจะย้ายไปอยู่บ้านฝ่ายชาย หรือบ้านที่สร้างขึ้นเองก็ได้ การหย่าร้าง : ได้รับการยอมรับในสังคมขมุ สามารถทำได้ โดยทั้งสองคนต้องเสียค่าปรับให้กับผู้เฒ่าที่ทำพิธีกรรมในหมู่บ้าน แต่อย่างไรก็ตาม ค่าปรับสูงมาก คือผู้หญิงจ่าย 2 เท่าของค่าสินสอด ประเพณีการเกิด และการดูแลเด็ก : ขมุคลอดลูกที่บ้าน เด็กได้รับการดูแลจากแม่ กินนมแม่ พอเริ่มโตแม่จะห่อผ้าแบกขึ้นหลังไปทำไร่นารอบ ๆ บ้าน กรณีที่พ่อแม่ของเด็กเสียชีวิตเด็ก ๆ จะได้รับการดูแล ดังนี้ 1. ถ้าฝ่ายผู้หญิงตายขณะอาศัยอยู่กับพ่อแม่ของตนเอง ลูกของเธอเป็นของตายาย สามีกลับบ้านตัวเอง 2. ผู้หญิงตายขณะมีบ้านของตัวเองแล้ว หรือขณะอยู่บ้านสามี เด็กอยู่กับปู่ย่า ไม่มีข้อมูลว่าถ้าผู้ชายตายลูกเมียจะทำอย่างไร การตาย : ขมุจะทำพิธีเผาศพในป่าช้านอกหมู่บ้าน คนร่วมงานศพจะต้องป้ายเลือดไก่ที่เข่า เป็นเครื่องหมายป้องกันวิญญาณชั่วร้าย ขมุจะเผาศพคนตายพร้อมเงินจำนวนหนึ่งเพื่อใช้จ่ายระหว่างทางไปโลกหน้า (หน้า 461-463)

Political Organization

ไม่มีกลุ่มการเมืองในหมู่ขมุ เป็นกลุ่มชนที่มีความสนใจทางการเมืองน้อยมาก ไม่มีความทะเยอทะยานทางการเมือง ในหมู่บ้านมีผู้อาวุโสที่ทุกคนเชื่อถือเป็นผู้นำ หมู่บ้านที่พอจะมีโครงสร้างทางการปกครองบ้างก็จะเป็นหมู่บ้านคริสเตียนที่มีโบสถ์ ทั้งในลาวและไทย ผู้นำหมู่บ้านเป็นไปตามข้อกำหนดของรัฐ ในประเทศลาวมีขมุที่มีการศึกษาบางคนมีตำแหน่งในกองทัพ (หน้า 472)

Belief System

ขมุนับถือผี ที่เรียกว่า "hrooy gaang" มีพิธีเซ่นไหว้ด้วยหมู ไก่ เหล้าขาว นอกจากนี้ ยังนับถือผีสำคัญๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เช่น ผีป่า ผีน้ำ ผีภูเขา และพระอาทิตย์ เป็นต้น (หน้า 467) บางกลุ่มนับถือพุทธตามแบบคนไทยและคนลาว แต่ไม่มีขมุในหมู่บ้านที่แยกตัวโดดเดี่ยวในป่าเขานับถือพุทธ ในประเทศลาว ตั้งแต่ปี ค.ศ.1940 จำนวนขมุที่นับถือคริสต์อยู่ระหว่าง 1,000-2,000 คน และขมุ 300 คนที่อุบลฯ เป็นคาทอลิค มิสชันนารีประสบความสำเร็จในการเผยแพร่ศาสนาในหมู่ขมุเพราะขมุต้องการให้มิสชันนารีและพระเจ้าปกป้องพวกเขาจากการข่มเหงรังแกโดยคนลาว และต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บ มิสชันนารีให้ความปลอดภัยหลายอย่างกับขมุ (หน้า 468)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ขมุจะสานกระบุง ตะกร้า และเฟอร์นิเจอร์ง่ายๆ จากไม้ไผ่และหวาย ที่หาได้จากป่า ไม่ทอผ้า ผู้หญิงขมุนุ่งผ้าซิ่นยาวสีคล้ำแบบลาว เสื้อคลุมผ้าหนาสีดำ มีผ้าโพกหัว ผู้ชายแต่งกายไม่ต่างจากชาวนาไทย การแต่งกายไม่ค่อยได้รับการดูแลพิถีพิถันนัก ในงานพิธี ผู้หญิงสวมต่างหูใหญ่หนัก เจาะหูเป็นรูกว้าง ใส่สร้อยลูกปัด ผู้ชายสวมกางเกงขายาว เสื้อแจ็คเก็ตแบบคนเมือง

Folklore

มีตำนานเกี่ยวกับ "Djiung" ซึ่งเป็นกษัตริย์ของขมุ ที่อาศัยอยู่ในถ้ำตอนเหนือของหลวงพระบาง ในถ้ำมีข้าวของทันสมัยมากมาย ทั้งเครื่องบิน รถยนต์ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม แต่กษัตริย์ไม่แข็งแรงพอที่จะออกมาจากถ้ำได้ ถ้าขมุคนไหนขยันทำงาน เป็นคนดี น่านับถือ กษัตริย์ Djiung ก็จะออกมาให้เห็น (หน้า 465) นอกจากนี้ ยังมีตำนานเกี่ยวกับความเป็นมาของขมุอยู่หลายเรื่อง version แรกเป็นเรื่องที่เล่ากันทั้งในหมู่ของขมุและคนไทย ที่อ้างถึงประวัติและถิ่นกำเนิดของพวกเขา คือ "Muang Then" หรือ " The country of the Pumpkins" ตำนานเรื่องนี้เล่าว่าเกิดน้ำท่วมโลกครั้งใหญ่ ผู้คนล้มตายจำนวนมาก มีผู้รอดชีวิตเพียงสองคนพี่น้อง เป็นพี่ชายกับน้องสาว ทั้งสองคนนี้แต่งงานกัน 3 ปีต่อมาน้องสาวก็ให้กำเนิดลูกเป็นน้ำเต้า 2 ลูกใหญ่ และน้ำเต้านี้ เป็นไทยและขมุ version ที่สอง เล่าโดยคนลาวย้อนไปถึงความเป็นมาของคนลาวและขมุว่า ลาวและขมุเป็นผู้ชายสองคนที่กำเนิดจากน้ำเต้า คนหนึ่งผิวน้ำตาลอีกคนผิวดำ สองคนนี้ไปตั้งชุมชนของตนเองโดยไม่มีผู้หญิง อีกตำนานหนึ่งเล่าว่า ขมุมาจากดินแดนตอนเหนือที่ไหนสักแห่งของประเทศจีน อพยพเข้ามาสู่ประเทศลาว ขมุเห็นพระอาทิตย์ขึ้นในดินแดนแห่ง "Ven" แต่อยู่ไกลและเล็กมาก แต่ภายหลังที่เดินทางมาถึงเมือง "Toe" จึงเห็นพระอาทิตย์ดวงโตเต็มที่ จาก " Toe" ขมุเดินทางต่อไป และตั้งรกรากยังดินแดนแห่งสุดท้ายของพวกเขา เรียกว่า "Noea" แต่สถานที่ต่างๆ ในตำนานนี้ยังไม่สามารถเป็นข้อมูลที่ชัดเจนได้ เมื่อเปรียบเทียบกับแผนที่ความรู้เรื่องการอพยพของขมุในปัจจุบัน อีกตำนานเล่าว่าขมุอพยพมาถึงดินแดนตอนเหนือของประเทศลาว ก่อนกลุ่มคนที่พูดภาษาตระกูลไทย-ลาวเสียอีก คนลาวเรียกขมุว่าเป็น "พี่ชาย" ตำนานของขมุเรื่องนี้บอกเกี่ยวกับเรื่องของ "พี่ชาย" หรือขมุ กับ "น้องชาย" หรือกษัตริย์แห่งหลวงพระบาง ค้นหาและก่อตั้งอาณาจักรในฝันของตนเองอย่างไร ขมุพายเรือทองเหลืองมาพบทำเลในฝัน จึงทำเครื่องหมายไว้ หลังจากนั้นเพียงนิดเดียวกษัตริย์หลวงพระบางก็มาถึงสถานที่แห่งเดียวกัน และทำเครื่องหมายไว้บนต้นไม้เหมือนกัน เกิดทะเลาะกันขึ้น กษัตริย์หลวงพระบางชนะเพราะทำเครื่องหมายไว้สูงกว่า จึงตั้งเมืองหลวงพระบางและขับไล่ "พี่ชาย" ไปอยู่บนเขา (456-457)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ในประเทศลาว มีคำเรียกขมุอยู่ 2 คำ คือ ขมุ และ ข่า ในภาษาลาว ข่า หมายถึงข้า ทาส หรือผู้รับใช้ ข่า เป็นคำที่คนลาวใช้เรียกขมุ และชนกลุ่มน้อยที่พูดภาษากลุ่มมอญ-เขมร เป็นคำเรียกที่บ่งบอกถึงสถานะทางสังคมที่ด้อยกว่าคนลาว แต่ขมุไม่ยอมรับ รัฐบาลลาวจึงเรียกชนกลุ่มน้อยว่า "ลาวเทิง" หรือ "ลาวติ่ง" เป็นคำที่มีความหมายสุภาพกว่า หมายถึงคนลาวบนที่สูง หรือประชาชนที่อาศัยอยู่บนเขาสูง คำว่า "ลาวเทิง" ได้รับการยอมรับจากชนกลุ่มน้อยมากกว่า คำว่า "Khamuk" ใช้ในพื้นที่ จังหวัด เชียงใหม่ ของไทย และลาวใช้คำว่า "Khamu" ในภาษาฝรั่งเศสใช้คำว่า "Kha Mou" และคำว่า Tsa Khamu และ Tsa Muong Sing ในภาษาไทดำ ก็หมายถึง ขมุ ที่อยู่ทางเหนือของลาว (หน้า 451) ขมุเป็นกลุ่มชนที่ขี้อาย เก็บเนื้อเก็บตัว มักจะตื่นตกใจเมื่อเผชิญหน้ากับคนแปลกหน้า รู้สึกตัวเองต่ำต้อยกว่าคนกลุ่มอื่น ยกเว้น มลาบรีและถิ่นเท่านั้นที่มีสถานะต่ำต้อยกว่า ขมุไม่รู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง มีความคิดเชิงลบต่อหลายๆ สิ่ง และมักจะคิดว่าตนเอง "เป็นแค่ขมุ" ทำให้ขมุเฉื่อยชา เจียมตัว การจ้างงานขมุ หากนายจ้างดุด่า หรือพูดเสียงดัง ขมุจะหนีงานไปเลย แหล่งข้อมูลหนึ่งเล่าว่า ขมุมักชอบหันหลังกลับแล้ววิ่งหนีมากกว่าเผชิญหน้ากับอันตราย ไม่ว่าจากอะไรทั้งสิ้น ง่ายต่อการถูกครอบงำ ขมุสัมพันธ์กับม้งด้วยความยำเกรงเหมือนกับที่รู้สึกกับคนลาว คนไทย มีเรื่องเล่าว่าขมุจะรู้สึกภาคภูมิใจ และประสบความสำเร็จในชีวิตถ้าได้แต่งงานกับคนลาวหรือคนไทย และเลิกแต่งกายแบบขมุ (หน้า 460)

Social Cultural and Identity Change

สังคมขมุเปลี่ยนแปลงง่ายและรวดเร็วกว่าชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ทั้งจากการเคลื่อนย้ายแรงงานของผู้ชายขมุที่ไปทำงานนอกชุมชน และการแต่งงานกับคนนอกกลุ่ม ในประเทศลาวขมุนับพันคนเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมจากการแต่งงานกับคนลาว การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นง่ายกว่าชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ อาจเป็นเพราะคนขมุหัวอ่อน และไม่มีความภาคภูมิใจในตนเอง (หน้า 463)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

หน้า 450 แผนที่บริเวณที่มีขมุอยู่อาศัย

Text Analyst จุไรรัตน์ ปานนิล Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG ขมุ, ประวัติความเป็นมา, เศรษฐกิจ, ระบบสังคม, วัฒนธรรม, ประเทศไทย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง