สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลัวะ,เศรษฐกิจ,สังคม,วัฒนธรรม,น่าน
Author ภูเบธ วีโรทัย
Title การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชาวเขาเผ่าถิ่น
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ลัวะ (มัล ปรัย) ลัวะมัล ไปร ลัวะปรัย, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 35 Year 2535
Source วารสาร ข่าวสารสถาบันวิจัยชาวเขา ปีที่ 16 ฉบับ 1,2 มกราคม - มิถุนายน
Abstract

กล่าวถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม และด้านอื่น ๆ ที่มาจากนโยบายการพัฒนาของหน่วยงานต่าง ๆ ของทางราชการ และนายทุนต่าง ๆ ที่เป็นหน่วยงานและกลุ่มบุคคลจากภายนอกชุมชน ซึ่งผลของการพัฒนานั้นได้เกิดผลกระทบต่อชุมชนถิ่น ที่อาศัยอยู่ในบ้านน้ำสอด และบ้านน้ำเพาะ ตำบลและ และบ้านน้ำพิ ตำบลทุ่งช้าง อำเภอท่องช้าง กับบ้านปาก่ำ ตำบลบ่อเกลือเหนือ กิ่ง อำเภอบ่อเกลือ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นได้ส่งผลให้วิถีชีวิตของถิ่นเปลี่ยนไป เช่นการส่งเสริมการทำแบบนาดำซึ่งเป็นวัฒนธรรมของชาวไทยพื้นราบ แทนการทำไร่ข้าวโบราณ หรือ แซฮีด จนทำให้พิธีกรรมในไร่บางอย่างต้องปรับเปลี่ยนหรือสูญหาย และการพัฒนาการเกษตรแบบพานิชย์ ของ สหกรณ์การเกษตร ที่สนับสนุนให้ถิ่นกู้ยืมพันธุ์พืช ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง กระทั่งทำให้เกิดการเกษตรแบบเพื่อขายแทนการเกษตรแบบยังชีพที่เคยทำมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ

Focus

ศึกษาถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง สังคมและวัฒนธรรม ซึ่งมาจากปัจจัยด้านการพัฒนาจากหน่วยงานภาครัฐ ที่เข้ามาทำงานด้านการพัฒนาความเป็นอยู่ของถิ่น กระทั่งทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม และความเป็นอยู่ของถิ่นในพื้นที่ที่ศึกษา ได้แก่ 3 หมู่บ้าน ในพื้นที่ อำเภอทุ่งช้าง และ 1 หมู่บ้าน ในกิ่ง อำเภอบ่อเกลือ (หน้า 5, 6)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ถิ่น 4 หมู่บ้านได้แก่ บ้านน้ำสอด และบ้านน้ำเพาะ ตำบลและ อำเภอทุ่งช้าง, บ้านน้ำพิ ตำบลทุ่งช้าง อำเภอทุ่งช้าง และบ้านปาก่ำ ตำบลบ่อเกลือเหนือ กิ่ง อำเภอบ่อเกลือ

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาถิ่น มีภาษาย่อย 2 กลุ่ม ได้แก่ ภาษาถิ่นปรัย และภาษาถิ่นมาล ทั้งสองภาษามีความแตกต่างกัน นอกจากนี้ถิ่นมักผสมผสานและศึกษาภาษาของคนชาติพันธุ์อื่น เช่น คนสูงอายุสามารถพูดภาษาม้ง ลื้อ ภาษาไทยภาคเหนือ และภาษาไทยพื้นราบ (หน้า 11)

Study Period (Data Collection)

ศึกษาชุมชนเขตบ้านป่าก่ำ เมื่อ กรกฎาคม 2535 (หน้า 14)

History of the Group and Community

ไม่มีข้อมมูล

Settlement Pattern

บ้านมี 2 แบบ 1) บ้านแบบดั้งเดิม หลังคามุงด้วยหญ้าคา หลังคาบ้านด้านหนึ่งลาดลงมาจรดพื้น บริเวณใต้หลังคาจะเป็นที่ตั้งครกกระเดื่องเพราะเอาไว้ตำข้าว พื้นและฝาบ้านทำจากไม้ไผ่ เรียกว่า ไม้ฟาก บ้านไม่เจาะหน้าต่าง ภายในบ้านค่อนข้างทึบเพราะไม่ค่อยมีแสงสว่าง 2 ) บ้านแบบสมัยใหม่ หลังคาบ้านมุงด้วยสังกะสี พื้นและฝาบ้านทำด้วยไม้ บ้านทำประตูและมีหน้าต่าง ภายในบ้านแบ่งเป็นห้อง บ้านส่วนใหญ่จะสร้างส้วมเอาไว้ใช้ (หน้า 16, 33)

Demography

ไม่มีข้อมูล

Economy

ทำการเกษตรเป็นอาชีพหลัก แต่ก่อนทำการเกษตรแบบยังชีพ (หน้า 11) พืชที่ปลูกได้แก่ ข้าว เมี่ยงหรือชาป่าเพื่อนำไปหมักขาย และผัก เช่น ผักกาดเขียว มะนอย มันแกว ถั่ว เป็นต้น และการเลี้ยงสัตว์ เพื่อเอาไว้บริโภคและเลี้ยงผี เช่น เลี้ยง หมู กับ ไก่ ส่วนรายได้ในส่วนอื่นเช่น การเก็บของป่า เช่น มะต๋าว ก๋ง หวาย และ หญ้าคาเพื่อนำมาไพมุงหลังคาบ้านและไพเอาไว้ขาย นอกจากนี้ ถิ่นจะหารายได้โดยทำงานรับจ้างคนไทยพื้นราบที่อยู่หมู่บ้านใกล้เคียง หรือไปทำงานต่างจังหวัด (หน้า 12, 23, 37) โดยมากถิ่นจะเป็นสมาชิกสหกรณ์การเกษตร โดยจะขอยืมเมล็ดพันธุ์พืช เช่นฝ้าย ข้าวโพด ถั่วแขก ถั่วเหลือง เป็นต้น ยาปราบศัตรูพืช และเงิน มาลงทุนเพาะปลูก ทั้งนี้ สหกรณ์จะรับซื้อผลผลิต ฉะนั้นถิ่นจึงนิยมปลูกพืชเศรษฐกิจเป็นจำนวนมาก อนึ่ง การพัฒนาการเกษตรที่มีหน่วยพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาสนับสนุน จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการทำการเกษตร เช่น ถิ่นหันไปทำข้าวนาดำ และทำข้าวไร่พร้อมกันไปด้วย การทำไร่ข้าวแต่เดิม เป็นการทำไร่แบบโบราณ (แซฮีด) ที่มีพิธีกรรมหลายอย่าง แต่เมื่อมาทำไร่แบบขมุ หรือแบบคนเมือง ทำให้ต้องลดการประกอบพิธีกรรม เช่น พิธีกินดอกแดง (หน้า 28) อย่างไรก็ดี จากการส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจ ของสหกรณ์การเกษตร เช่น ให้ยืมเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย และยาฆ่าแมลงนั้น ทำให้ถิ่นทำการเกษตรเพื่อขายแทนการทำการเพาะปลูกแบบยังชีพซึ่งเคยทำมาแต่เดิม (หน้า 34) และการเป็นหนี้สินของถิ่น ถิ่นจะติดหนี้พ่อค้าและสหกรณ์การเกษตร หนี้ที่เกิด ได้แก่ การยืมพันธุ์พืช ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง การกู้ยืมเมื่อขายผลผลิตได้ก็จะให้เจ้าหนี้หรือสหกรณ์หักหนี้ที่เคยยืม หากปีใดผลผลิตไม่ดี หรือผลผลิตราคาตกต่ำก็จะทำให้ถิ่นขาดรายได้ หรือได้ค่าตอบแทนน้อย (หน้า 35) การปลูกพืชเศรษฐกิจ ทั้ง 3 หมู่บ้าน นิยมปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ฝ้าย ข้าวโพด กาแฟ ขิง เป็นต้น ซึ่งสามารถเปรียบเทียบในแต่ละหมู่บ้านได้ดังนี้ - บ้านน้ำสอด พ.ศ.2534 ถิ่นทุกหลังคาเรือนปลูกฝ้ายเป็นหลัก ถิ่นจะกู้เงิน ยืมเมล็ดพันธุ์ฝ้าย ยาฆ่าแมลง ที่สหกรณ์การเกษตร อำเภอทุ่งช้าง และสหกรณ์ฯได้รับซื้อผลการผลิต แต่ซื้อในราคาไม่สูง เกษตรกรถิ่นส่วนหนึ่งจึงขาดทุน ดังนั้น พ.ศ.2535 ถิ่นจึงเปลี่ยนมาปลูกข้าวโพดและขิง (หน้า 22) กาแฟ ถิ่นบ้านน้ำสอดนิยมปลูกเพราะให้ผลผลิตดีและขายง่าย (หน้า 23) - บ้านน้ำพิ บ้านน้ำเพาะ ถิ่นได้ไปเอาเมล็ดพันธุ์ กับยาฆ่าแมลงที่สหกรณ์การเกษตรอำเภอทุ่งช้าง และขายผลิตภัณฑ์ที่นี่ ในปี พ.ศ. 2535 ถิ่นใน 2 หมู่บ้านยังปลูกฝ้ายเหมือนเดิม (หน้า 22) เนื่องจากสหกรณ์ฯ ยังส่งเสริมเรื่องทุน แม้ว่าขายได้กำไรน้อยก็ตาม ส่วนการปลูกกาแฟทั้งสองหมู่บ้านยังไม่ให้ความสนใจเท่าที่ควร (หน้า 23) - บ้านป่าก่ำ ส่วนใหญ่จะปลูกพืชแบบเก่าคือปลูกพืชไร่ เอาไว้กินในครัวเรือน การปลูกข้าวโพดจะปลูกไว้เป็นอาหารสัตว์ และเอาไว้กิน รายได้อื่นชาวบ้านจะเก็บเมี่ยงหรือชาป่า ที่ปลูกไว้รอบหมู่บ้านขายเป็นรายได้ เช่น เอาไปขายที่บ้านสะว้าเหนือ หรือในกิ่ง อำเภอบ่อเกลือ (หน้า 23-24) การบริโภค ถิ่น 3 หมู่บ้านในพื้นที่อำเภอทุ่งช้าง ชอบซื้อของกินของใช้ จากนอกหมู่บ้านสูงขึ้น เช่น อาหารสำเร็จรูป และของใช้ด้านอุตสาหกรรม ที่บ้านน้ำสอด คนไทยพื้นราบขึ้นไปเปิดร้านขายของชำ จำนวน 3 ร้าน ในหมู่บ้านมีไฟฟ้าใช้แล้ว เจ้าของร้านจึงซื้อเนื้อ เช่น เนื้อหมู วัว ปลา เป็นต้น ไปเก็บไว้ขายเพราะสามารถเก็บได้นานๆ (หน้า 16) ส่วนบ้านน้ำพิ และน้ำเพาะ จะมีจำนวนร้านน้อยกว่าบ้านน้ำสอด ที่บ้านน้ำพิ ร้านค้าจะเป็นร้านของกลุ่มสตรีในหมู่บ้าน ซึ่งขายได้อย่างน่าพอใจ และสรุปยอดขายในแต่ละเดือน และมีทุนในร้านค้าหมื่นกว่าบาท ของที่ขายดี เช่น ปลากระป๋อง และอาหารบรรจุซอง นอกจากนี้ ถิ่นยังชอบไปซื้อของที่ตลาดในอำเภอเพราะเดินทางได้สะดวก (หน้า 17)

Social Organization

สังคมถิ่น เป็นแบบครอบครัวเดี่ยว (Nuclear family) ผู้ชายเมื่อแต่งงานแล้ว ในตอนแรกจะอยู่บ้านภรรยา เพราะสังคมถิ่นสืบเชื้อสายทางแม่ (Matrilineal) หากจะสร้างบ้านก็จะแยกออกจากบ้านของพ่อ-แม่ของภรรยา โดยจะออกมาปลูกบ้านอยู่ในบริเวณที่อยู่ใกล้กัน ส่วนลูกสาวคนสุดท้องหากแต่งงานก็จะให้ผู้ชายเข้ามาอยู่ในบ้านเพื่อที่จะได้ดูแลพ่อแม่ (หน้า 8) ถิ่นจะช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เช่น "การเอามื้อ" คือเป็นการแลกเปลี่ยนช่วยเหลือกันทำงาน แต่ทุกวันนี้เมื่อมีการปลูกพืชพาณิชย์มากขึ้น จึงทำให้บางครอบครัวไปเอามื้อช่วยบ้านอื่นไม่ครบทุกบ้าน ผู้อาวุโสจะไม่ออกไปทำงานในไร่ จะอยู่บ้านเพื่ออบรมสั่งสอนลูกหลาน สำหรับผู้ชายที่แต่งงานแล้วจะเปลี่ยนมานับถือผีของฝ่ายหญิง (หน้า 9,19) ทุกวันนี้ใน 3 หมู่บ้านมีการแต่งงานกับคนนอกหมู่บ้านมากขึ้น อาทิ หญิงถิ่นบ้านน้ำพิ กับ บ้านน้ำสอด ได้ไปแต่งงานกับคนไทยพื้นราบ หรือแต่งกับขมุ แต่ฝ่ายชายก็ไม่ยอมนับถือตามฝ่ายหญิง ดังนั้น ชายหญิงทั้งสองจึงถูกตัดจากการนับถือผีของตระกูล และไม่ให้อยู่บ้านแม่ และจัดกิจกรรมเองต่างหาก (หน้า 19)

Political Organization

การปกครองมี 2 แบบ คือการปกครองอย่างไม่เป็นทางการในหมู่บ้าน จะมีผู้สูงอายุของแต่ละตระกูลเป็นผู้นำการประกอบพิธีตามความเชื่อ โดยการปกครองสังคมจะใช้จารีตประเพณี หรือ "ฮีต" เป็นหลักปฏิบัติ จารีตมี 2 อย่างคือ จารีตของหมู่บ้านและของแต่ละตระกูล (หน้า 13) การปกครองอย่างเป็นทางการ หมู่บ้านมีผู้ใหญ่บ้านที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้ปกครองหมู่บ้าน (หน้า 30) โดยมีหน้าที่ติดต่อกับหน่วยงานราชการ โดยจะเข้ามาประชุมที่อำเภอในแต่ละเดือน และนำข่าวและนโยบายของทางการไปบอกกับคนในหมู่บ้าน(หน้า 35) สถานการณ์การเมืองในอดีต หมู่บ้านถิ่นแต่เดิมเป็นพื้นที่ยึดครองของพรรคคอมมิวนิสต์ จึงไม่ได้รับการพัฒนาจากหน่วยงานราชการเท่าที่ควร เนื่องจากยากต่อการเข้าไปในพื้นที่ ในระหว่างปี พ.ศ. 2510-2525 ได้เกิดการสู้รบระหว่างกองกำลังของรัฐบาลและกองกำลังของพรรคคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะเขตที่มีถิ่นอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น พื้นที่ อำเภอ เชียงกลาง อำเภอปัว กระทั่งหลังจาก พ.ศ. 2526 เมื่อเหตุการณ์คลายความตึงเครียดลง จึงทำให้สังคมถิ่นเปิดกว้างขึ้นและได้มีโอกาสติดต่อกับคนภายนอกมากยิ่งขึ้น (หน้า 5)

Belief System

ถิ่นนับถือผี สำหรับผีที่นับถือแบ่งเป็น 4 อย่าง คือ 1) ผีหมู่บ้าน หรือปรองงวล 2) ผีบ้าน หรือ ผีเรือน (ปรองเจิง) เป็นผีที่ถิ่นให้ความสำคัญ ผีเรือนจะลงโทษหากคนในตระกูลทำผิดจารีตประเพณี ผีนี้จะช่วยคุ้มครองในบ้านไม่ให้ผีป่า ผีไร่ หรือสัตว์ร้ายมาทำอันตราย 3) ผีไร่หรือ ปรองแซ มีหน้าที่ดูแลพืชผลในไร่และเจ้าของที่ ใน 1 ฤดูกาลผลิต ถิ่นจะทำพิธีเซ่นไหว้ผีไร่ จำนวน 9 ครั้ง หมอผีไร่ หรือหมอแซ ทำพิธีเลี้ยงผีไร่ 4) ผีเจ้าที่ หรือ ปรองเจ้าตี้ (หน้า 10,22) วันกรรมผีเรือน หรือ " งิรายปรองเจิง " ถือว่าเป็นวันหยุด คนในแต่ละตระกูลจะถือวันกรรมไม่เหมือนกัน ในวันนี้จะไม่ให้ทำงาน หรือไม่ไปทำงานที่ไร่ นอกเหนือจากวันกรรมแล้วยังมีวันกรรมย่อย หรือ งิรายยัด ของแต่ละตระกูลอีกด้วย (หน้า 9,11, 13,18) การเปลี่ยนมาทำนาดำได้มีพิธีกรรมใหม่ในชุมชนถิ่น คือ การทำขวัญควาย (สู่ขวัญควาย) ซึ่งแต่เดิมจะเก็บเกี่ยวข้าวไร่ ซึ่งมีพิธีสำคัญ เช่น พิธีทำโสลด กับพิธีกินข้าวดอกแดงเป็นต้น การทำขวัญควายได้รับพิธีมาจากคนพื้นราบแต่ได้นำมาปรับปรุงให้เข้ากับพิธีของถิ่น เช่น ก่อนจะนำสายสินญ์ผูกเขาควาย จะเลี้ยงผีเรือนก่อน เหมือนกับการสู่ขวัญคน พิธีสู่ขวัญควาย ทำให้เกิดอาชีพ "หมอขวัญควาย" ทั้งนี้ แต่เดิมจะมีหมอขวัญทำพิธีสู่ขวัญให้คนในหมู่บ้าน แต่หมอขวัญควายจะศึกษาคาถาที่ไม่เหมือนหมอขวัญอื่น ๆ (หน้า 22)

Education and Socialization

มีโรงเรียนระดับประถมศึกษา ใน 3 หมู่บ้านของ อำเภอทุ่งช้าง และที่บ้านป่าก่ำจากที่ผู้เขียนเข้าไปศึกษาพื้นที่ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2535 มีครูการศึกษานอกโรงเรียนเข้ามาทำงานได้ 3 เดือน (หน้า 14) 3 หมู่บ้านในเขต อำเภอทุ่งช้าง คนที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปโดยมากจบการศึกษาภาคบังคับ และจบการศึกษาระดับอาชีวะ จากจังหวัดเชียงราย 3 คน (หน้า 26)

Health and Medicine

การรักษาพยาบาล จะรักษาทั้งการแพทย์แผนปัจจุบัน และการรักษาแบบพื้นบ้าน เช่น การรักษาโดยหมอผี หรือ ที่ถิ่นเรียกว่า "หมอขวัญ" โดยทำพิธีเลี้ยงผี ซึ่งเชื่อว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เจ็บป่วย การเลี้ยงผีเรือน และผูกข้อไม้ข้อมือ (แองท้อง) เพื่อเรียกขวัญแก่ผู้ป่วย เป็นต้น (หน้า 20) หากเป็นการรักษาแผนปัจจุบัน เมื่อเจ็บป่วยจะไปรักษาที่โรงพยาบาลอำเภอทุ่งช้าง ส่วนพื้นที่การทำการศึกษา ในบ้านน้ำสอด จะมีสำนักงานสาธารณสุขชุมชน หรือ สสช.ตั้งให้คอยบริการประชาชน (หน้า 14, 20) การรักษาบางครั้งจะทำควบคู่กันเช่น โรงพยาบาลทุ่งช้างยินยอมให้ผู้ป่วยถิ่นกลับบ้านเพื่อทำพิธีเลี้ยงผีเรือนและสู่ขวัญ เพื่อให้เกิดกำลังใจแล้วกลับมารักษาที่โรงพยาบาลอีกครั้งหนึ่ง (หน้า 20,27) การรักษาและให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพภายในหมู่บ้าน แต่ละแห่ง จะมีอาสาสมัครประเภทต่างๆ เช่น อาณาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ผู้สื่อข่าวสาธารณสุข (ผสส.) และอาสาสมัครป้องกันมาลาเรีย คอยให้คำแนะนำ (หน้า 21)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

การแต่งกาย ในอดีตจะไม่ทอผ้าเพื่อตัดเย็บเครื่องแต่งกาย แต่จะไปแลกเปลี่ยนกับไทยลื้อที่อยู่บ้านเมืองเงิน แขวงชัยบุรี ประเทศลาว ทุกวันนี้จะซื้อเสื้อผ้าที่อำเภอ เช่น อำเภอ ปัว ทุ่งช้าง เชียงกลาง สำหรับการแต่งกายไม่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเป็นของตนเอง (หน้า 11) ปัจจุบัน หนุ่มสาวจะแต่งกายด้วยชุดสมัยใหม่เหมือนคนพื้นราบ เช่น สวมเสื้อยืด นุ่งกางเกงยีนส์ (หน้า 31)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

การพัฒนาจากหน่วยงานของภาครัฐ เช่น จากกรมประชาสงเคราะห์ ครูของการประถมศึกษาจังหวัด และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เป็นต้น ซึ่งเป็นคนภายนอกชุมชน มองว่าการที่ถิ่นปฏิบัติตามประเพณีนั้นเป็นคนล้าหลัง จึงพยายามเปลี่ยนแนวความคิดของถิ่น การพัฒนาความเป็นอยู่ของถิ่น ได้ถือเอาความเป็นอยู่ของคนไทยพื้นราบเป็นตัววัดความเจริญ (หน้า 32) การเปลี่ยนแปลงของเจ้าหน้าที่ที่นำมาเผยแพร่ให้กับถิ่น เช่น กรมประชาสงเคราะห์ ได้ส่งเสริมการทำการเกษตรแผนใหม่ปลูกพืชชนิดเดียว (Mono Crops) เช่น ปลูกข้าวโพด เพื่อให้ถิ่นมีรายได้เพิ่มมากขึ้น แทนการปลูกพืชผสม (Mixed Crops) ที่ถิ่นเคยปลูก ในส่วนด้านความเชื่อ เจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐก็พยายามเข้าไปเปลี่ยนความเชื่อของถิ่น ว่าความเชื่อที่เคยปฏิบัติกันมานั้นเป็นสิ่งที่ไม่ทันสมัย ดังนั้น จึงต้องเปลี่ยนให้ทันกับยุคสมัย เป็นต้น (หน้า 32 ,38) เยาวชนที่จบการศึกษาพยายามละทิ้งจารีตประเพณีต่างๆ ที่เคยปฏิบัติ และมีความขัดแย้งกับคนสูงอายุ เรื่องความเคร่งครัดในประเพณีต่างๆ (หน้า 32)

Social Cultural and Identity Change

การเปลี่ยนแปลงใน 3 หมู่บ้านของพื้นที่ที่ศึกษาในอำเภอทุ่งช้าง เกิดขึ้นเมื่อมีการสร้างถนนเข้าหมู่บ้าน เมื่อการคมนาคมสะดวกมากขึ้น ทำให้วัฒนธรรมของคนไทยพื้นราบเข้าไปในหมู่บ้านหลายอย่าง เช่น การสร้างบ้านได้เปลี่ยนจากที่สร้างแบบยกพื้นสูง มาสร้างบ้านแบบคนไทยพื้นราบ โดยใช้วัสดุที่มีความทนทาน มุงหลังคาด้วยสังกะสีแทนหญ้าคา บ้านทำหน้าต่าง ทำให้อากาศภายในบ้านถ่ายเทได้สะดวก และสร้างห้องส้วมเกือบทุกหลังคาเรือน (หน้า 15-16,24) ถิ่นนิยมซื้สินค้าที่คนภายนอกหมู่บ้านนำมาขาย เช่น อาหารสำเร็จรูป นอกจากนี้ยังมีคนไทยพื้นราบเข้าไปขายสินค้าภายในหมู่บ้าน เนื่องจากเมื่อในหมู่บ้านมีไฟฟ้าใช้ ทำให้สามารถเก็บเนื้อไว้จำหน่ายได้นาน และถิ่นติดรายการโทรทัศน์และเลียนแบบพฤติกรรมของคนไทยพื้นราบที่ได้เห็นทางโทรทัศน์ ทำให้เกิดค่านิยมความฟุ่มเฟือยที่เห็นผ่านรายการดังกล่าว ถิ่นให้เวลาในการประกอบพิธีกรรมน้อยลงเพราะจะรีบมาชมโทรทัศน์ เป็นต้น (หน้า 18) ถิ่นละทิ้งความเชื่อเก่า เช่น ความเชื่อเรื่องผีมีน้อยลง เช่น กรณีบ้านน้ำสอด การทำไร่โบราณหรือเซฮีดจะทำน้อยลง เพราะการทำไร่แซฮีดตามประเพณีเดิมต้องเลี้ยงผีหลายครั้ง แต่เมื่อเปลี่ยนมาทำนาดำแบบคนพื้นราบก็ยังคงทำไร่ข้าวแซฮีดไว้บางส่วน เพื่อไม่ทำให้ผีบรรพบุรุษโกรธ ในหมู่บ้านน้ำสอดจำนวน 19 หลังคาเรือนมีถิ่นทำไร่แซฮีดแบบเดิมเพียง 3 หลังคาเรือนเท่านั้น (หน้า 18)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

แผนภูมิ โครงสร้างสังคม (หน้า 7)

Text Analyst ภูมิชาย คชมิตร Date of Report 06 ม.ค. 2566
TAG ลัวะ, เศรษฐกิจ, สังคม, วัฒนธรรม, น่าน, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง