สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลาว,เขมร,เวียต,การอพยพ,ประเทศลาว
Author ธวัชชัย พรหมณะ
Title ความสำคัญของการอพยพเคลื่อนย้ายกลุ่มชาติพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำโขงต่อความเป็นเมืองสุวรรณเขต ระหว่าง ค.ศ.1893-1954
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity เวียด เหวียตเกี่ยว ไทยใหม่, Language and Linguistic Affiliations -
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 234 Year 2545
Source หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกประวัติศาสตร์เอเชีย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Abstract

เมืองสุวรรณเขตตั้งอยู่ในภาคกลางของสาธารณะประชาธิปไตยประชาชนลาว ตรงข้ามจังหวัดมุกดาหารของประเทศไทย เดิมเป็นเพียงเมืองเล็กๆ ชื่อว่าท่าแร่ คนเมืองสุวรรณเขตและชาวมุกดาหารเชื่อว่าตนมีบรรพบุรุษเดียวกัน แต่ตั้งอยู่คนละฝั่งแม่น้ำ ตั้งแต่ ค.ศ. 1893-1954 เมื่อลาวตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส เมืองสุวรรณเขตได้ถูกสถาปนาขึ้นและกลายเป็นเมืองสำคัญของลาว ฝรั่งเศสต้องการพัฒนาเมืองสุวรรณเขตให้เป็นเมืองศูนย์กลางการปกครองในระดับส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น ศูนย์กลางการไปรษณีย์โทรเลข แต่ขาดแคลนแรงงานเพราะมีพลเมืองน้อย จึงดำเนินนโยบายเพิ่มจำนวนประชากร โดยส่งเสริมให้คนลาวที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในไทยอพยพไปอยู่ที่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงโดยรับเป็นผู้ที่ถือสัญชาติฝรั่งเศสเป็นการตอบแทน และดำเนินการอพยพผู้ที่ถือสัญชาติฝรั่งเศสในอาณานิคมอินโดจีน เช่น คนลาว คนกัมพูชา คนเวียดนาม เข้ามาอยู่ในเมืองสุวรรณเขต โดยคนเวียดนามอพยพเข้ามามากที่สุด ทำให้เมืองสุวรรณเขตเป็นเมืองที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ แต่ละกลุ่มมีการปรับตัวเข้าหากันและมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองสุวรรณเขตซึ่งเดิมเป็นชุมชนลาวให้เป็นเมืองที่มีรูปแบบตามแบบตะวันตก การอพยพของกลุ่มชาติพันธุ์เข้ามาในเมืองส่งผลให้เป็นเมืองที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์และเป็นรากฐานของสังคมเรื่อยมาถึงปัจจุบัน

Focus

การอพยพเคลื่อนย้ายของกลุ่มชาติพันธุ์ลาว เขมร และคนเวียดนามที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองสุวรรณเขตระหว่าง ค.ศ.1893-1954 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ลาวอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสและศึกษาขบวนการความเป็นเมืองสุวรรณเขตซึ่งเกิดจากอยู่ร่วมกันของกลุ่มชาติพันธุ์ลาว เขมร และคนเวียดนาม

Theoretical Issues

ผู้เขียนเสนอว่าในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1893-1945 ซึ่งลาวอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสนั้น ได้เกิดมีการอพยพผู้ที่ถือสัญชาติฝรั่งเศสในอาณานิคมอินโดจีน เช่น คนลาว คนเขมร คนเวียดนาม เข้ามาอยู่ในเมืองสุวรรณเขตทำให้เมืองสุวรรณเขตเป็นเมืองที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์มีการปรับตัวเข้าหากันและมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเมืองสุวรรณเขตซึ่งเดิมเป็นชุมชนลาวแบบตะวันตก

Ethnic Group in the Focus

กลุ่มชาติพันธุ์ลาว คนเวียดนาม และเขมรที่อพยพเข้ามาอยู่ในเมืองสุวรรณเขต ประเทศสาธารณประชาธิปไตยประชาชนลาว ในช่วงระหว่าง ค.ศ.1893-1954

Language and Linguistic Affiliations

ไม่ระบุ

Study Period (Data Collection)

ระบุระยะเวลาในการศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ระหว่าง ค.ศ.1893-1945 มีการเก็บข้อมูลภาคสนามที่เมืองสุวรรณเขต ประเทศสาธรณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระหว่างวันที่ 14-17 เดือนธันวาคม ค.ศ.1998 และระหว่างวันที่ 1-10 เดือนกันยายน ค.ศ. 2001 (บทคัดย่อ)

History of the Group and Community

ก่อนการสถาปนาเมืองสุวรรณเขตในปี ค.ศ.1893 บริเวณสองฝั่งแม่น้ำโขงบริเวณเมืองสุวรรณเขตปัจจุบันมีชุมชนดั้งเดิมอยู่แล้ว คนสุวรรณเขตและมุกดาหารมีความเชื่อว่ามีบรรพบุรุษเดียวกัน ซึ่งอพยพมาจากบ้านโพนสิมซึ่งอยู่ไม่ห่างมากนัก ตามตำนาน "นาน้อยอ้อยหนู" (หน้า 1-7) จากเอกสารทางประวัติศาสตร์สันนิษฐานการอพยพของกลุ่มคนว่ามาจากหลายปัจจัย คือ 1. ปัจจัยทางด้านการเมือง ในช่วงปี ค.ศ.1730 -1779 อาณาจักรล้านช้างเกิดกบฏขึ้นหลายครั้ง เช่น เหตุการณพระวรปิตาเป็นกบฏในปี ค.ศ.1759 2. ปัจจัยทางเศรษฐกิจ เนื่องจากบ้านโพนสิมเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีประชากรจำนวนมากจึงมีที่ทำกินไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงเป็นเหตุให้มีการอพยพหาที่อยู่ใหม่ที่ยังอุดมสมบูรณ์อยู่ (หน้า 19-22) ในปี ค.ศ.1770 เจ้าจันทกินผู้ปกครองบ้านโพนสิมได้อพยพพรรคพวกมาตั้งถิ่นฐานริมแม่น้ำโขงฟากตะวันตกแล้วตั้งเป็นเมือง "มุกดาหาร" ขึ้น ต่อมา ค.ศ. 1778 สมัยธนบุรี สยามมีอำนาจเหนืออาณาจักล้านช้างทั้ง 3 อาณาจักร เมืองที่อยู่ในขอบขัณฑสีมาของล้านช้างจึงกลายเป็นเมืองของสยามรวมทั้งมุกดาหารด้วย แต่มุกดาหารยังคงปกครองแบบล้านช้าง (หน้า30-36) ส่วนเมืองสุวรรณเขตซึ่งอยู่ตรงข้ามกับเมืองมุกดาหาร เดิมเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ชื่อ "บ้านท่าแร่" ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1542 ต่อมา ปี ค.ศ.1893 ฝรั่งเศสยึดดินแดนลาวฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงเป็นอาณานิคม ฝรั่งเศสย้ายศูนย์บัญชาการมาที่บ้านท่าแร่เพราะต้องการสร้างสถานีการค้าที่เมืองมุกดาหารและเมืองอื่นๆ ที่ตั้งอยู่ฝั่งขวาแม่น้ำโขง และเรียกเมืองที่ตั้งขึ้นว่า "เมืองสุวรรณเขต" โดยปัจจัยที่ทำให้ฝรั่งเศสสถาปนาเมืองสุวรรณเขตขึ้นเนื่องจากที่ตั้งเป็นจุดยุทธศาสตร์ อยู่กึ่งกลางของลาว หลังจากฝรั่งเศสได้ดินแดนฝั่งซ้ายเป็นอาณานิคมแต่เป็นดินแดนที่มีคนน้อย ฝรั่งเศสต้องการผนวกดินแดนทางฝั่งขวา จึงได้ตั้งสถานีการค้าตลอดแนวฝั่งแม่น้ำโขงในดินแดนฝั่งไทย เพื่อหวังแผ่ขยายอิทธิพลและสอดส่องว่าไทยทำผิดสัญญาหรือไม่ นอกจากนี้ เมืองสุวรรณเขตยังเป็นที่ราบซึ่งแม่น้ำโขงไหลผ่านสะดวกในการคมนาคม (หน้า 52-59)

Settlement Pattern

มีการอพยพเคลื่อนย้ายกลุ่มชาติพันธุ์เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองสุวรรณเขตตั้งแต่ ค.ศ.1893 ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงอยู่แล้วได้แก่กลุ่มคนลาว เขมร และเวียดนาม โดยคนลาวตั้งบ้านเรือนอยู่อย่างหนาแน่นบริเวณริมแม่น้ำโขงทางด้านทิศเหนือของตัวเมือง คนเวียดนามเข้ามาอยู่อย่างหนาแน่นในตัวเมือง ส่วนคนเขมรอพยพมาตั้งบ้านเรือนอยู่รวมกับคนลาวและผสมกลมกลืนกลายเป็นคนลาวในปัจจุบัน (หน้า ค)

Demography

การอพยพเคลื่อนย้ายกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เข้ามาสู่เมืองสุวรรณเขตจนพัฒนาสู่ความเป็นเมืองนั้น มีพัฒนาการดังนี้ ประชากรในเมืองสุวรรณเขตเมื่อครั้งเป็นบ้านท่าแร่ซึ่งอพยพมาจากบ้านโพนสิม มีจำนวน 40 กว่าครัวเรือน จำนวนประชากรไม่น่าจะเกิน 300 คน ในสมัยที่ลาวตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ระหว่าง ค.ศ. 1893-1954 ฝรั่งเศสได้ปรับปรุงเมืองที่มีอยู่เดิมหรือได้สร้างเมืองขึ้นใหม่ให้เป็นเมืองอาณานิคมตามแบบของฝรั่งเศส เช่น เมืองเวียงจันทน์ หลวงพระบาง สุวรรณเขต เป็นต้น เมืองอาณานิคมเหล่านี้เป็นจุดศูนย์กลางบัญชาการเพื่อควบคุมดูแลภายในดินแดนอาณานิคมกับเมืองแม่ เมืองเหล่านี้จึงมีฐานะเป็นศูนย์กลางการเมือง การปกครอง เมืองท่า หรือเมืองเศรษฐกิจ และเป็นแหล่งรวมของข้าราชการ พ่อค้า รวมทั้งประชาชนจากที่ต่างๆ อพยพเคลื่อนย้ายเข้ามาแสวงหาโอกาสในเมืองส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นมือง เมืองสุวรรณเขตเป็นเมืองใหม่ที่ฝรั่งเศสสร้างขึ้นในปลายศตวรรษที่ 19 เพื่อเป็นศูนย์กลางการคมนาคม ศูนย์กลางการขนส่งทางน้ำและทางบก ศูนย์กลางไปรษณีย์โทรเลข และศูนย์กลางการเมืองการปกครอง โดยฝรั่งเศสได้สร้างสถานที่ราชการ ที่ทำการไปรษณีย์ โทรเลข ท่าเรือ ถนนภายในเมืองสุวรรณเขต และถนนเชื่อมกับเมืองต่างๆ (หน้า 110) ทำให้เมืองสุวรรณเขตเป็นเมืองที่พัฒนาและมีสาธารณูปโภคที่ดี ประกอบกับนโยบายเพิ่มจำนวนประชากรเป็นเหตุให้มีการอพยพเคลื่อนย้ายประชากรจากที่ต่างๆ ภายในอาณานิคมอินโดจีนฝรั่งเศสเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองสุวรรณเขต ได้แก่ คนลาวฝั่งขวาแม่น้ำโขง คนเวียดนาม และกัมพูชา (หน้า 83-84) เนื่องจากเมื่อฝรั่งเศสได้ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเป็นอาณานิคม ประชากรในพื้นที่มีจำนวนไม่มากโดยที่ประชากรประมาณครึ่งหนึ่งเป็นลาว และอีกครึ่งหนึ่งเป็นชนเผ่าต่างๆ เนื่องจากไทยดำเนินการอพยพคนลาวจากฝั่งซ้ายมายังฝั่งขวาและภาคกลางของไทย ฝรั่งเศสจึงมีนโยบายให้ลาวที่อยู่ฝั่งไทย (มุกดาหาร) อพยพกลับไปยังลาว และคนลาวในพื้นที่ใกล้เคียงเมืองสุวรรณเขต เช่น เมืองสองคอน จำพอน เซโดปน อาดสะพังทอง เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองสุวรรณเขต นอกจากนั้น ยังเคลื่อนย้ายคนเวียดนามมาจากแคว้นตังเกี๋ยจำนวนมากเข้ามาทำงานในลาว ในระหว่าง ค.ศ. 1912-1943 มีจำนวนถึง 4,000-44,500 คน ซึ่งคนเวียดนามที่อพยพมายังลาวส่วนใหญ่จะตั้งถิ่นฐานที่เมืองสุวรรณเขต การเคลื่อนย้ายของคนกัมพูชาซึ่งประกอบด้วยคนเขมร และคนจาม โดยเข้ามารับราชการและค้าขายมีจำนวนน้อยและไม่รวมตัวกันตั้งเป็นชุมชนของตนเองแต่จะอยู่กระจายอยู่ทั่วตัวเมืองสุวรรณเขต (หน้า 79-109) การอพยพเคลื่อนย้ายประชากรเหล่านี้ส่งผลให้ในปี ค.ศ.1930 ประชากรเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 4,500 คน ปี ค.ศ.1943 เพิ่มเป็นจำนวน 5,500 คน ซึ่งแยกได้เป็นลาว 850 คน เวียดนาม 4,000 คน จีน 450 คน อื่นๆ 200 คน (ตาราง 5 หน้า 91) และหลังปี ค.ศ.1958 หลังได้รับเอกราชประชากรเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 7,000-10,000 คน (หน้า 112-113) ซึ่งการอพยพเคลื่อนย้ายประชากรมีผลสำคัญในการพัฒนาการสู่ความเป็นเมืองสุวรรณเขต

Economy

ไม่มีข้อมูล

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

เมืองสุวรรณเขตเป็นศูนย์กลางการปกครองเมื่อฝรั้งเศสได้ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเป็นอาณานิคม ในช่วงระหว่าง 1893 - 1954 สุวรรณเขตจึงเป็นเมืองสำคัญของลาวและอาณานิคมอินโดจีนฝรั่งเศส ฝรั่งเศสปกครองลาวโดยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ - ระยะที่ 1 ค.ศ.1893-1895 ยังคงรักษารูปแบบการปกครองแบบล้านช้างไว้ - ระยะที่ 2 ค.ศ.1895-1899 ฝรั่งเศสยกเลิกกฏหมายบางฉบับที่ขัดต่อระบบการปกครองของฝรั่งเศส และจัดแบ่งลาวเป็น 2 เขตคือเขตภาคเหนือและภาคใต้ - ระยะที่ 3 ค.ศ. 1899-1941 ผนวกลาวเป็นแคว้นที่ 5 ของสหภาพอินโดจีน แต่ละแคว้นมีตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนเป็นผู้บัญชาการสูงสุด ตั้งเมืองสุวรรณเขตเป็นเมืองหลวงชั่วคราว - การปกครองระยะสุดท้าย ค.ศ.1841-1954 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นเข้ามาครอบครองอินโดจีนแทนฝรั่งเศส แต่ยังคงใช้รูปแบบการปกครองตามแบบฝรั่งเศสเมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม ค.ศ.1946 ฝรั่งเศสกลับมาปกครองลาวอีกครั้ง โดยมีรัฐบาล 2 ชุด คือรัฐบาลลาวเวียงจันทน์และรัฐบาลปลดปล่อย (หน้า 59-64)

Belief System

คนลาวส่วนใหญ่ นับถือพุทธศาสนา นิกายหินยาน ในสมัยที่ฝรั่งเศสปกครองลาว ฝรั่งเศสไม่สนับสนุนให้สร้างวัดจึงมีวัดไชยภูมิเป็นวัดลาวแห่งเดียวในเมืองสุวรรณเขต คนลาวยังคงยึดมั่นในพุทธศาสนาและเป็นองค์ประกอบหนึ่งของวัฒนธรรมลาว วิถีชีวิตผูกพันกับวัดตั้งแต่เกิดจนตาย ในขณะที่คนเวียดนามนับถือพุทธศาสนา นิกายมหายาน ราวปลายค.ศ.1920 มีการสร้างวัดขึ้นในบริเวณชุมชนคนเวียดนามทางด้านทิศเหนือของเมือง ชื่อว่า วัดเดือยก๊าก ความเชื่อของคนเวียดนามเป็นการผสมผสานความเชื่อพุทธศาสนากับปรัชญาจีน ลัทธิขงจื้อ และเต๋าซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์ของคนเวียดนาม นอกจากนี้ ในเมืองสุวรรณเขตยังมีการนับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก ซึ่งมีทั้งชาวฝรั่งเศส ลาว เวียดนาม ศาสนาคริสต์เข้ามาพร้อมกับการเผยแพร่อิทธิพลของฝรั่งเศสแต่ยังไม่มีวัดคริสต์มีเพียงบ้านพักหรือเรือนบาทหลวง (หน้า 123-129 )

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ตำนานเรื่อง "นาน้อยอ้อยหนู" เป็นตำนานที่ชาวเมืองสุวรรณเขต มุกดาหารและชุมชนอื่นตามริมแม่น้ำโขง เชื่อกันว่าเป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของบรรพบุรุษของตน คือ เมื่อประมาณปลายคริสตศตวรรษที่ 16 มีหมู่บ้านหนึ่งชื่อ "บ้านนาน้อยอ้อยหนู" เมื่อหมู่บ้านมีประชากรมากขึ้นพื้นที่ทำกินไม่พอ จึงมีการอพยพไปตั้งถิ่นฐานใหม่โดยเลือกบริเวณริมดงโพนทิศตะวันออกเฉียงเหนือของทุ่งบึงขามใกล้กับพระธาตุอิงฮัง และตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านโพนสิม" ต่อมาบ้านโพนสิมมีคนมากขึ้นจึงมีการอพยพออกไปตั้งบ้านเรือนริมแม่น้ำโขงเพราะสะดวกในการทำมาหากินและค้าขาย จึงไปตั้งถิ่นฐานทางทิศตะวันตกของพระธาตุอิงฮังโดยนำหินแฮ่จากแม่น้ำโขงมาสร้างจึงเรียกชุมชนว่า "ท่าแร่" ปัจจุบันคือบริเวณบ้านท่าแร่ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของตัวเมืองสุวรรณเขต ชาวบ้านอีกส่วนหนึ่งไปตั้งถิ่นฐานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพระธาตุอิงฮัง เรียกว่า "บ้านท่าสะโน" ต่อมาชุมชนท่าแร่และท่าสะโนมีขนาดใหญ่ขึ้นจึงขยายชุมนมมาทางฟากตะวันตกหรือฝั่งขวาแม่น้ำโขง เรียกว่า "บ้านชะโนด" อีกกลุ่มมาสร้างชุมชนที่ป่าตาลซึ่งเป็นตาลเจ็ดยอดและมีแก้วมุกดาหารอยู่บนยอดตาลเป็นชุมชนบริเวณปากห้วยมุกซึ่งต่อมาถูกทิ้งร้าง จนผู้ปกครองของบ้านโพนสิมรุ่นต่อมาพาคนเข้ามาอาศัยซึ่งคือจังหวัดมุกดาหารในปัจจุบัน (หน้า 1-5)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ภายในเมืองสุวรรณเขตแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์จะอยู่รวมกันเป็นชุมชนของตน แต่เนื่องจากเมืองสุววรณเขตเป็นเมืองที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ โดยความสัมพันธุ์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์จะมีการปรับตัวเข้าหากันเพื่อรักษาฝลประโยชน์ร่วมกันในสังคม คนลาว คนเวียดนาม และกัมพูชา ต่างถือสัญชาติฝรั่งเศสต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของฝรั่งเศสเหมือนกัน ความสัมพันธุ์จึงเป็นไปในลักษณะต้องทำตามหน้าที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ละกลุ่มมีการประสานผลประโยชน์กันระหว่างกลุ่ม มีการปรับและรับวัฒนธรรมระหว่างกัน แต่ในแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ยังคงรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนไว้ ลาว เวียดนาม กัมพูชาล้วนตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสจึงมีศัตรูร่วมกันก่อให้เกิดขบวนการต่อต้านฝรั่งเศสขึ้นหลายกลุ่ม แต่ยังคงปรากฏอคติเชิงชาติพันธุ์ โดยที่คนกัมพูชาถูกผสมกลมกลืนเข้ากับคนลาวเพราะมีจำนวนน้อย ส่วนคนลาวแม้มีจำนวนน้อยกว่าคนเวียดนามแต่คนลาวเป็นคนพื้นเมืองดั้งเดิมและเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของลาว ในใจลึกๆ คนลาวยังคิดว่าคนเวียดนามต่ำต้อยกว่าลาว และลาวถือว่าตนเป็นพี่ใหญ่ต้องเป็นผู้ปกครอง ส่วนคนเวียดนามคิดว่าคนลาวเป็นคนโง่ ซื่อ รักสนุก ขี้เกียจ และต่ำต้อยกว่าตน (หน้า 130-139)

Social Cultural and Identity Change

เมื่อลาวตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ฝรั่งเศสได้สร้างเมืองสุวรรณเขตขึ้นให้เป็นเมืองอาณานิคมแบบของฝรั่งเศส เป็นเมืองศูนย์กลางการเมืองการปกครอง และเป็นแหล่งรวมของข้าราชการ พ่อค้า รวมทั้งประชากรจากที่ต่างๆ อพยพเคลื่อนย้ายเข้ามาแสวงหาโอกาสในเมือง ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเมือง เมืองสุวรรณเขตจึงกลายเป็นเมืองศูนย์กลางคมนาคมทั้งทางบกและทางน้ำ ศูนย์กลางไปรษณีย์โทรเลข มีการสร้างสาธารณูประโภคต่างๆขึ้น มีการรับเทคโนโลยีและนวัตกรรมตะวันตก ทำให้เมืองมีการขยายตัว ทำให้เกิดความพัฒนาทางสังคมจากสังคมชนบทไปสู่ความเป็นสังคมเมืองมากขึ้น (หน้า110-121)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ตาราง 1 เปรียบเทียบการตั้งถิ่นฐานระหว่างบ้านโพนสิมกับเมืองมุกดาหาร(หน้า 37) ตาราง 2 รายชื่อเจ้าเมือง อุปราช ราชวงษ์และราชบุตรเมืองมุกดาหาร (หน้า 45) ตาราง 3 ความยาวและพื้นที่แม่น้ำโขงไหลผ่านประเทศต่างๆ (หน้า 56) ตาราง 4 อัตราภาษาที่ชาวจีนในอาณานิคมอินโดจีนต้องจ่ายให้รัฐบาลอินโดจีนฝรั่งเศส (หน้า 81) ตาราง 5 จำนวนประชากรในเขตตัวเมืองของลาวจำแนกตามกลุ่มชาติพันธุ์ ค.ศ.1943 (หน้า 91) ตาราง 6 สถิติประชากรในอาณานิคมอินโดจีนฝรั่งเศส ค.ศ.1937 (หน้า 94) ตาราง 7 สถิติประชากรของกลุ่มชาติพันธุ์จีนในอาณานิคมอินโดจีน ค.ศ.1921 และ ค.ศ.1931(หน้า 107) ตาราง 8 จำนวนประชากรที่ตั้งถิ่นฐานในเขตชนบทในแคว้นลาว (หน้า 111) ตาราง 9 จำนวนประชากรในตัวเมืองต่างๆของลาว ค.ศ.1930 และ ค.ศ.1943 (หน้า 112) ภาพที่ 1 แผนที่ชุมชนที่อพยพมาจากบ้านโพนสิม (หน้า 17) ภาพที่ 2 แผนผังสายตระกูลเจ้าเมืองมุกดาหาร (หน้า 33) ภาพที่ 3 แผนผังการสืบทอดตำแหน่งเจ้าเมืองมุกดาหารตามสายตระกูล"จันทรสาขา" (หน้า 46) ภาพที่ 4 แผนผังการบริหารสหภาพอินโดจีนของฝรั่งเศส ค.ศ.1899-1941 (หน้า 62) ภาพที่ 5 แผนผังสายการบังคับบัญชาการบริหารแค้วนลาว (หน้า 63) ภาพที่ 6 แผนภูมิจำนวนประชากกรกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตตัวเมืองสุวรรณเขต ค.ศ.1943 (หน้า 105) ภาพที่ 7 แผนภูมิจำนวนประชากรเมืองสถวรรณเขตระหว่าง ค.ศ.1893-1958 (หน้า 113) ภาพที่ 8 แผนภูมิความสัมพันธ์การอพยพเข้ากับอัตราความเจริญเตบโตของเมือง (หน้า 114) ภาพที่ 9 ภาพถ่ายทางอากาศตัวเมืองสุวรรณเขต ค.ศ.1967 (หน้า 116) ภาพที่ 10 แผนที่ตัวเมืองสุวรรณเขต ค.ศ.1929 (หน้า 117) ภาพที่ 11 แผนที่ตัวเมืองสุวรรณเขต ค.ศ.1954 (หน้า 118) ภาพที่ 12 แผนผังลำดับขั้นการปกครองสงฆ์ลาวตามกฏข้อบังคับลักษณะปกครองสงฆ์ในแคว้นลาว ค.ศ.1928 (หน้า 125)

Text Analyst รุ่งทิวา กลางทัพ Date of Report 25 ก.ค. 2559
TAG ลาว, เขมร, เวียต, การอพยพ, ประเทศลาว, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง