สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject พวน ไทยพวน ไทพวน,จารีตประเพณี,คองสิบสี่,วิถีชีวิต,อุดรธานี
Author มยุรี ปาละอินทร์
Title คองสิบสี่ในวิถีชีวิตของชาวไทพวน ตำบลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ไทยพวน ไทพวน คนพวน, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 244 Year 2543
Source หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Abstract

การอยู่ร่วมกันในสังคมไทพวนนั้น มีคองสิบสี่ที่เป็นหลักปฏิบัติและแนวทางที่ผู้อาวุโสนำเอามาปฏิบัติร่วมกันกับศาสนาเพื่อให้เกิดมั่นคงและมีระเบียบวินัยในสังคม คองสิบสี่เป็นเหมือนกฎหมายที่กำหนดหน้าที่ให้ประชาชนต้องปฏิบัติคือ ถ้าเป็นผู้ปกครองบ้านเมือง ข้าราชการ ให้ยึดหลักของ คองเจ้าคองขุน คองท้าวคองเพีย คองไพร่คองนาย เป็นตัวกำหนดหน้าที่ได้ สำหรับประชาชนทั่วไปพบว่า คองที่ทุกคนยึดถือประพฤติปฏิบัติร่วมกัน ได้แก่ คองบ้านคองเมือง คองเฒ่าคองแก่ คองปีคองเดือน และคองไฮ่คองนาส่วนที่ปฏิบัติกันเฉพาะคนในครอบครัวและระบบเครือญาติ ได้แก่ คองผัวคองเมีย คองพ่อคองแม่ คองลูกคองหลาน คองใภ้คอง เขย คองป้าคองลุง และคองปู่คองย่า คองตาคองยาย นอกจากนั้น ยังพบว่า มีชาวบ้านบางกลุ่มไม่รู้จักคองสิบสี่เลย คือ กลุ่มของวัยรุ่นและเด็ก

Focus

ศึกษา "คองสิบสี่" ในวิถีชีวิตของไทพวนบ้านผือ ในด้านต่าง ๆ เช่น ครอบครัว ศาสนาและประเพณี การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และค่านิยมต่าง ๆ โดย "คองสิบสี่" หมายถึง แนวทางอันควรปฏิบัติ 14 ข้อ สำหรับบุคคลในสถานการณ์ต่าง ๆ ควรปฏิบัติ เช่น สามีกับภรรยา พ่อกับแม่ ไพร่กับนาย (หน้า 5-6, 138)

Theoretical Issues

ผู้เขียนได้พยายามวิเคราะห์ให้เห็นความสำคัญของ "คองสิบสี่" ที่มีต่อวิถีชีวิตของชุมชนไทพวนในเชิงการหน้าที่ว่า คองสิบสี่นั้นเป็นเสมือนกฎหมายที่กำหนดหน้าที่ของคนในสังคม โดยเมื่อยึดถือประพฤติปฏิบัติตามแล้ว จะทำให้เกิดความสามัคคีปรองดองกัน และหากสิ่งใดที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต ของคนในชุมชน สิ่งนั้นจะยังคงมีอยู่และทำหน้าที่ต่อไป (หน้า 6-7,19-22)

Ethnic Group in the Focus

ไทพวน หรือลาวพวน สำหรับคำว่า "พวน" สันนิษฐานว่าคงจะเรียกตามถิ่นที่อยู่อาศัย โดยเริ่มแรกชนกลุ่มนี้ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้กับเขาภูพวน จึงตั้งชื่อเมืองว่า "เมืองภูพวน" และเรียกคนที่อาศัยอยู่ในเมืองนั้นว่า "ชาวภูพวน" ต่อมาได้เรียกกันสั้น ๆ ว่า "เมืองพวน" ส่วนผู้ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมืองพวนก็เรียกกันว่า "คนพวน" นอกจากนี้ยังมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าชื่อ "ไทพวน" น่าจะมีที่มาจากแม่น้ำพวน เพราะจากการตรวจสอบดูตามแผนที่ไม่ปราฏกว่ามีภูเขาลูกที่ชื่อ "ภูพวน" (หน้า 37)

Language and Linguistic Affiliations

ไทพวนมีภาษาพูดจัดอยู่ในกลุ่มตระกูลไต (Tai) มีสำเนียงคล้ายกับภาษาของคนไทยทางภาคอีสาน โดยยังคงภาษาของตนไว้อย่างมั่นคง จะเห็นได้จากการไม่ยอมพูดภาษาอื่นกับพวกเดียวกัน แต่จะพูดภาษาพวนเท่านั้น แม้จะอยู่ใกล้ชิดกับลาวเวียงและไทอีสานก็ตาม (หน้า 38, 41)

Study Period (Data Collection)

เริ่มทำการศึกษาวิจัยตั้งแต่ เดือนมีนาคม พ.ศ.2540 จนถึง พ.ศ. 2543

History of the Group and Community

ไทพวนมีภูมิลำเนาอยู่บริเวณภาคเหนือของลาวเรียกว่า เมืองพวนหรือแขวงเชียงขวาง สงครามระหว่างไทยกับลาวในอดีตได้ส่งผลให้ไทพวนถูกกวาดต้อนและอพยพเข้าสู่ประเทศไทยหลายต่อหลายครั้ง และตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยเกือบทุกภูมิภาค ไทพวนบ้านฝือ เป็นไทพวนกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งในภาคอีสานที่มีประวัติศาสตร์ของชนชาติภาษาและวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง และได้ถูกกวาดต้อนเข้ามาอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2428-2436) มีทั้งที่อพยพหนีศึกฮ่อ และยังมีพวนที่อยู่ในภาคกลางอพยพไปพึ่งพาญาติพี่น้องของตนที่บ้านผือ (หน้า 23, 40)

Settlement Pattern

พวนที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในภาคอีสานจะกระจัดกระจายกันอยู่ในบริเวณใกล้ ๆ แม่น้ำโขง ซึ่งเป็นบริเวณที่ใกล้ถิ่นฐานเดิมที่เคยอพยพมา อีกทั้งยังมีความสอดคล้องกันในเรื่องของภาษาและวัฒนธรรมต่าง ๆ เช่น ที่จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย จังหวัดอุดรธานี จังหวัดหนองบัวลำภู (หน้า 39)

Demography

ประชากรในอำเภอบ้านผือ ส่วนใหญ่เป็นไทพวน แต่เอกสารไม่ระบุถึงตัวเลขที่ชัดเจนของไทพวนในบ้านผือว่ามีจำนวนเท่าใด โดยในหมู่บ้านที่มีไทพวนอาศัยอยู่จะมีจำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น 6,419 คน แยกเป็นชาย 3,112 คน เป็นหญิง 3,307 คน และมีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 1,668 ครัวเรือน (หน้า 46-51)

Economy

ชุมชนบ้านผือเป็นสังคมเกษตรกรรมเพื่อการยังชีพ หากมีผลผลิตที่เหลือจากการบริโภคในครัวเรือนก็จะนำไปขาย อาชีพในอดีตจนถึงปัจจุบันที่ทำเป็นอาชีพหลักคือ การทำนา โดยการทำนาของไทพวนดั้งเดิมนั้นจะอาศัยแรงงานคนในครัวเรือนเป็นสำคัญ หากปีใดผลผลิตไม่เพียงพอ ก็ต้องหาอาชีพเสริมต่าง ๆ ทำ เช่น การเลี้ยงสัตว์ รับจ้าง ค้าขาย และอื่น ๆ ปัจจุบันการใช้แรงงานของไทพวนในแต่ละครัวเรือนยังเหลือผู้ที่ทำนาบ้านละ 2-3 คนเท่านั้น จึงต้องมีการจ้างแรงงานเข้ามาช่วย โดยจะมีผู้ที่ไม่มีนาทำเข้ามารับจ้าง หรือบางครั้งมีผู้ที่มาจากหมู่บ้านอื่นเข้ามารับจ้าง แต่ก็ยังมีบางหมู่บ้านที่ยังถือแรงกันโดยมีการตอบแทนแรงที่ได้รับการช่วยเหลือในทันทีเช่นกัน (หน้า 5, 161-162)

Social Organization

ไทพวนมีการดำรงชีวิตเป็นแบบสังคมญาติพี่น้องพึ่งพาอาศัยกัน และมีความเคารพต่อผู้อาวุโสประจำตระกูลและผู้อาวุโสประจำหมู่บ้าน ครอบครัวของไทพวนมีลักษณะเป็นครอบครัวใหญ่ มีพ่อและแม่เป็นผู้นำครอบครัวที่สำคัญ เมื่อพ่อแม่เสียชีวิต ลูกคนแรก (ผู้ชาย) จะต้องรับหน้าที่ผู้นำครอบครัวแทน การให้ความเคารพนับถือของครอบครัวไทพวน บุคคลที่สำคัญของครอบครัวที่ได้รับความเคารพคือ พ่อหรือญาติฝ่ายพ่อมากกว่าแม่หรือญาติฝ่ายแม่ ไทพวนตำบลบ้านฝือมีการปฏิบัติตนตามจารีตประเพณีโดยในอดีตเมื่อแต่งงานกันแล้ว ฝ่ายหญิงจะไปอยู่บ้านฝ่ายชาย เพื่อดูแลปรนนิบัติพ่อแม่ฝ่ายชาย และเมื่อมีฐานะค่อนข้างมั่นคงแล้วจะแยกครัวเรือนออกจากครอบครัว (หน้า 45, 144-145)

Political Organization

ไทพวนตำบลบ้านผือ มีระบบการเมืองการปกครองในหมู่บ้าน ตามความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับชาวบ้าน โดยยึดถือปฎิบัติตาม คองสิบสี่สำหรับผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง มีกำนันและผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้นำสูงสุดของหมู่บ้าน ทำหน้าที่ปกครองดูแลความสงบเรียบร้อยและเป็นผู้ไกล่เกลี่ยให้ความเป็นธรรมให้แก่ลูกบ้าน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้นำที่มีความสำคัญรองลงมา ได้แก่ คณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้อาวุโส พระสงฆ์ ผู้นำทางเศรษฐกิจ และข้าราชการ (หน้า 152, 156-158)

Belief System

ไทพวนมีความเชื่อดั้งเดิม คือ การนับถือผี การไหว้ผี ลงผี เป็นเรื่องสำคัญในชีวิตประจำวัน สังคมไทพวนบ้านฝือจะนับถือผีปู่ตา และถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีการรับนับถือพุทธศาสนาแล้วก็ตาม แต่ไทพวนก็ยังคงนับถือผีควบคู่ไปกับศาสนาพุทธ ถือเป็นการผสมกลมกลืนทางความเชื่ออย่างหนึ่ง ปัจจุบัน ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยมีวัดเป็นศูนย์กลางแห่งความศรัทธา และมีพระสงฆ์เป็นผู้นำในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาต่าง ๆ อีกทั้งคนในชุมชนยังมีการยึดมั่นในแบบแผนในการประพฤติปฏิบัติตามครรลองคองธรรมของคองสิบสี่ต่อครอบครัวเริ่มจาก พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา ลูก หลาน เหลน บ้านเรือน ต่อพระศาสนา ซึ่งแบบแผนและค่านิยมเหล่านี้ ยังมีการสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน (หน้า 4, 42, 45, 151)

Education and Socialization

ปัจจุบันชาวบ้านผือได้เห็นความสำคัญของการศึกษา โดยการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียนสังกัดการประถมศึกษาและโรงเรียนสอนเด็กก่อนเกณฑ์ ทำให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานครบทุกคน และยังมีโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย โรงเรียนศึกษาผู้ใหญ่ โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ซึ่งในโรงเรียนแต่ละแห่งจะมีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นทุกปี นอกจากการอบรมสั่งสอนคนในชุมชนให้มีความรู้ผ่านแบบเรียนของทางภาครัฐบาลแล้ว คนในชุมชนก็ยังคงอบรมสั่งสอนบุตรหลานให้ยึดถือและปฏิบัติตามหลักธรรมของศาสนาที่เรียกว่า "คองสิบสี่" ตามจารีตคอง 14 ลูกหลานจะถูกสั่งสอนให้เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ ปู่ย่า และญาติพี่น้อง และยังถือปฏิบัติตนทางด้านการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญ (หน้า 4, 44, 145)

Health and Medicine

แม้ในปัจจุบัน จะมีการพัฒนาทางด้านสาธารณสุขภายในชุมชนมากขึ้น แต่จากพิธีกรรมความเชื่อเกี่ยวกับผีที่มั่นคงของคนในชุมชน เป็นผลทำให้คนในชุมชนยังคงมีการรักษาโรคด้วยการลงผีอยู่ (หน้า 42)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไทพวนมักนิยมแต่งกายด้วยผ้าฝ้ายที่ทอด้วยมือ ซึ่งมีลวดลายแบบไทพวน อาทิเช่น ลายเบี้ยง (เบี่ยง) ลายตะขอ ลายซุ้มปราสาท เป็นต้น ผ้าดังกล่าวเรียกว่า "ผ้ามัดหมี่" หรือที่พวนเรียกว่า "ซิ่นหมี่" (หน้า 38)

Folklore

จากตำนานพงศาวดารล้านช้างได้กล่าวถึงการสร้างเมืองพวนไว้ว่า ขุนบูลม (ขุนบรม) กษัตริย์แห่งเมืองแถน มีพระโอรสอยู่ด้วยกัน 7 พระองค์ เมื่อพระโอรสทั้ง 7 พระองค์เจริญวัย ขุนบูลมได้แบ่งสมบัติให้แก่พระโอรสทั้ง 7 และให้แยกย้ายกันไปสร้างบ้านแปงเมืองเพื่อขยายเขตปกครองให้กว้างขวางออกไป ก่อนพระโอรสจะเสด็จออกจากเมืองแถนเพื่อไปสร้างบ้านแบ่งเมืองนั้น ขุนบูลมได้ให้พระโอรสทั้ง 7 พระองค์ สาบานต่อกันว่าจะไม่รบราฆ่าฟันแย่งชิงดินแดนกัน หากผู้ใดผิดคำสาบานขอให้พบกับความวินาศฉิบหาย หลังจากที่ขุนเจ็ดเจิงสร้างเมืองพวนสำเร็จแล้ว ขุนลอซึ่งได้ไปสร้างเมืองหลวงพระบางและตั้งตนขึ้นเป็นเจ้าเมืองหลวงพระบาง ก็ได้แบ่งปันดินแดนเพิ่มให้แก่ขุนเจ็ดเจิงเจ้าเมืองพวนอีก ต่อมาขุนลกกลมเจ้าเมืองคำเกิด ได้ยกดินแดนเมืองคำเกิดทั้งหมดให้แก่เจ้าเมืองพวนเพื่อเป็นค่าปรับไหมความผิดที่ได้กระทำไว้ ดั้งนั้นอาณาเขตทางตอนใต้ของเมืองพวนจึงกว้างใหญ่ขยายลงมจนจรดเขตเวียงจันทน์ (หน้า 33-36) นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาเกี่ยวกับความเป็นมาของชื่อหมู่บ้าน "บ้านผือ" ว่าเดิมบริเวณนี้มีหนองน้ำแห่งหนึ่ง "หนองปรือ" เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ ประชาชนในบริเวณนี้และบริเวณใกล้เคียงได้อาศัยน้ำจากหนองน้ำนี้ เพื่อบริโภคและอุปโภคเป็นประจำ คงจะเป็นด้วยน้ำนี้มีประโยชน์ต่อชาวบ้านเป็นเอนกประการ การตั้งหมู่บ้านจึงตั้งตามหนองน้ำว่า "บ้านปรือ" นานวันเข้าสำเนียงพูดจึงเพี้ยนเป็น "บ้านผือ" (หน้า 42)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

"ไทพวน" เป็นชื่อของชนกลุ่มหนึ่งทางภาคอีสาน สันนิษฐานว่าคงจะเรียกชื่อตามถิ่นที่อยู่อาศัย ซึ่งผู้ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมืองพวนนี้เรียกกันว่า "ชาวพวน" หรือ "คนพวน" ไทพวนมีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับลาวพวกอื่น ๆ ผิวขาวเหลือง มีนิสัยรักสงบ ขยันขันแข็ง โอบอ้อมอารีและรักพวกพ้อง ดังจะเห็นได้จากการจัดประเพณีต่าง ๆ ที่มักจะมีการรวมตัวกันช่วยเหลืองานอย่างเต็มที่ ไทพวนบ้านฝือมีความสำนึกในประวัติศาสตร์ชนชาติสูง และมีความสำนึกในเอกลักษณ์ ภาษา ประเพณี และวัฒนธรรม โดยจะมีการรวมตัวกันตั้งชมรมไทพวนบ้านผือ และมีการประชาสัมพันธ์กับไทพวนกลุ่มอื่น ๆ ร่วมทำกิจกรรม และมีการสังสรรค์กันอย่างใกล้ชิด โดยเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพงานสังสรรค์ไทพวนทุกปี (หน้า 37-38, 41)

Social Cultural and Identity Change

จากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม เป็นผลทำให้การยึดถือจารีตประเพณีในการผลิตบางอย่างต้องเปลี่ยนแปลงไป ดังเช่น การคองไฮ่คองนาของไทพวนได้ลดน้อยลง เนื่องจากไทพวนทำนาด้วยเครื่องจักรเป็นส่วนใหญ่ จึงลดพิธีกรรมบางอย่างไป คงเหลือเพียงการประกอบพิธีกรรมสู่ขวัญข้าว และพิธีแฮกนาเท่านั้นที่ยังคงยึดถือปฏิบัติกัน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสภาพสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองการปกครองจะเปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ ระบบครอบครัว การปกครองและอาชีพในชนบทได้เปลี่ยนแนวประพฤติปฏิบัติ โดยยึดกฎหมายเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น กฎหมายเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม กฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจการค้าขาย แต่แนวปฏิบัติในครอบครัวเป็นคองที่ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาก็ยังคงดำรงอยู่ สะท้อนให้เห็นว่าสิ่งใดที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในชุมชน สิ่งนั้นจะยังคงมีอยู่และทำหน้าที่ต่อไป (หน้า 150, 168, 172)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

คองสิบสี่ ของไทพวนตำบลบ้านผือ หมายถึง แนวทางในการประพฤติปฏิบัติของประชาชนทั่วไป ผู้ปกครองบ้านเมืองนับแต่พระมหากษัตริย์ ข้าราชการ ผู้อยู่ใต้ปกครองพุทธศาสนาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สังคมนับถือร่วมกันมี 14 ข้อ คือ คองเจ้าคองขุน คองท้าวคองเพีย คองไพร่คองนาย คองบ้านคองเมือง คองผัวคองเมีย คองพ่อคองแม่ คองลูกคองหลาน คองใภ้คองเขย คองป้าคองลุง คองปู่คองย่าคองตาคองยาย คองเฒ่าคองแก่ คองปีคองเดือน คองไฮ่คองนา และคองวัดคองสงฆ์

Map/Illustration

แผนที่ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (หน้า 36) แผนที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (หน้า 226) แผนที่จังหวัดอุดรธานี (หน้า 227) แผนที่อำเภอบ้านฝือ จังหวัดอุดรธานี (หน้า 228) แผนที่ตำบลบ้านฝือ อำเภอบ้านฝือ จังหวัดอุดรธานี (หน้า 229)

Text Analyst กนกอร สว่างศรี Date of Report 07 พ.ค. 2556
TAG พวน ไทยพวน ไทพวน, จารีตประเพณี, คองสิบสี่, วิถีชีวิต, อุดรธานี, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง