สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject โพล่ง โผล่ง โพล่ว ซู (กะเหรี่ยง),การทำไร่หมุนเวียน,ภาคตะวันตก
Author Jorgensen, Anders Baltzer
Title Swidden Cultivation among Pwo Karens in Western Thailand
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity โพล่ง โผล่ง โผล่ว ซู กะเหรี่ยง, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 15 Year 2515
Source The Danish National Research Council of Humanities
Abstract

การปลูกทำไร่หมุนเวียนเป็นการผลิตที่เกิดขึ้นในบรรยากาศโลกแบบเขตร้อน หรือกึ่งเขตร้อน การทำไร่หมุนเวียนเป็นการยังชีพที่เกิดจากการปรับตัวเรื่องความจำกัดของพื้นที่ และการทำไร่หมุนเวียนก็มีข้อบกพร่องหลายประการ เช่น ความสามารถในการรวบรวมผลผลิตต่ำ เพิ่มผลผลิตยาก เป็นรูปแบบที่อนุรักษ์นิยมและต้องเคลื่อนย้ายที่อาศัยเมื่อดินเสื่อมสภาพถึงแม้ว่าการทำไร่หมุนเวียนจะเป็นระบบการผลิตที่มีข้อบกพร่อง แต่การทำไร่หมุนเวียนกลับเป็นระบบที่สำคัญที่เกี่ยวพันกับวิถีชีวิตของกะเหรี่ยงโปว์ พวกเขายังชีพด้วยการทำไร่หมุนเวียน มีการปลูกพืชผสม การทำไร่หมุนเวียนเป็นกระบวนการการปรับตัวต่อสภาพพื้นที่ เนื่องจากบริเวณภาคตะวันตกของไทยซึ่งเป็นถิ่นที่อาศัยของกะเหรี่ยงโปว์นั้นมีสภาพเป็นเขตป่าฝนเขตมรสุม เต็มไปด้วยเขาหิน หุบเขา สภาพพื้นที่มีจำกัด เป็นปัจจัยที่ทำให้พวกเขาต้องปรับตัวคิดค้นกระบวนการอันมาจากการเปรียบเทียบจำนวนแรงงานกับขนาดการเพาะปลูกที่มีพืชพันธุ์ตลอดปี การทำไร่หมุนเวียนจึงเป็นรูปแบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ มีการหมุนเวียนพื้นที่ในการทำกินภายหลังใช้พื้นที่ทำกินจนเสื่อมสภาพ กะเหรี่ยงโปว์จะเคลื่อนย้ายและปล่อยพื้นที่ทำกินให้ฟื้นตัวเป็นป่าอีกครั้ง เป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมขึ้นมาใหม่ในระดับที่เพียงพอต่อความต้องการ การทำไร่หมุนเวียนจึงไม่ใช่วิถีการผลิตเท่านั้น แต่คือวิถีชีวิต ดังนั้นทุกแง่มุมของชีวิตกะเหรี่ยงโปว์ เศรษฐกิจ วิธีคิด จึงปรากฎอยู่ในความนึกคิดเรื่องการทำไร่หมุนเวียน (หน้า 1,15)

Focus

เน้นการศึกษาลักษณะของการทำไร่หมุนเวียนของกะเหรี่ยงโปว์ ในภาคตะวันตกของประเทศไทย และอธิบายรูปแบบการผลิตแบบหมุนเวียนของกะเหรี่ยงโปว์ว่ามีลักษณะและกระบวนการผลิตอย่างไร (หน้า 2)

Theoretical Issues

แนวคิดเรื่องการปรับตัว ผู้ศึกษาพยายามอธิบายให้เห็นว่า การทำไร่หมุนเวียนเกิดจากบริบทสภาพแวดล้อมแบบหนึ่ง มีระบบ ขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของกะเหรี่ยงโปว์ การทำไร่หมุนเวียนจึงเป็นกระบวนการปรับตัวของกะเหรี่ยงโปว์ต่อสภาพพื้นที่ที่จำกัด

Ethnic Group in the Focus

กะเหรี่ยงโปว์ในภาคตะวันตกของประเทศไทย ในบริเวณอุทัยธานี สุพรรณบุรี และตะวันออกของกาญจนบุรี (หน้า 2)

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ที่ศึกษา คือช่วงตั้งแต่ ค.ศ.1901 - 1969 โดยช่วงที่ผู้ศึกษาได้เก็บข้อมูลเป็นกรณีตัวอย่างคือ ค.ศ. 1969 -1971 (หน้า 2, 10, 12)

History of the Group and Community

ไม่มีข้อมูล

Settlement Pattern

กะเหรี่ยงโปว์ในพื้นที่จะตั้งหมู่บ้านถาวร แม้ว่าจะมีการย้ายพื้นที่ทำกินก็จะหมุนเวียนกลับมาใช้พื้นที่เดิมอีก ซึ่งมีการใช้พื้นที่เดิมมาเป็นร้อยปีแล้ว กะเหรี่ยงอาจะย้ายหมู่บ้านด้วยเหตุผลอื่นมิใช่เกี่ยวกับระบบนิเวศ เช่นเรื่องความเชื่อเมื่อมีคนเจ็บป่วยหรือตาย ซึ่งเป็นเรื่องโชคลางก็จะย้ายไปอยู่ที่อื่น (หน้า 5)

Demography

ไม่มีข้อมูล

Economy

กะเหรี่ยงโปว์ มีระบบการเพาะปลูกแบบหมุนเวียนพื้นที่ โดยเริ่มถางป่า (ซึ่งไม่ใช่ป่าบริสุทธิ์) หลังปล่อยไว้ให้แห้ง เดือนต่อมาเผาซากไม้ 1 ครั้งหรือมากกว่า เมื่อเผาเสร็จก็จะเตรียมพื้นผิวดิน เปลี่ยนสภาพพื้นผิวเป็นขี้เถ้าที่จะทำให้เพาะปลูกได้ดี ที่ดินที่ใช้เพาะปลูกเรียบร้อยแล้วจะถูกพักในปีนั้นแล้วจึงวนกลับมาทำใหม่อีก โดยการปล่อยที่ดินให้ฟื้นตัวนั้นกะเหรี่ยงโปว์จะเฝ้ามองว่าช่วงเวลาใดเหมาะสมที่จะกลับมาทำกินอีกครั้ง ป่าธรรมชาติดั้งเดิมที่ถูกใช้เพาะปลูกแล้วเมื่อฟื้นตัวก็จะมีสภาพเป็นป่าขั้นทุติยภูมิ กะเหรี่ยงโปว์จะใช้พื้นที่เพาะปลูกหมุนเวียนอย่างน้อย 100 ปี แต่ละแห่งนั้นมีบริเวณความยาวเส้นผ่านศูนย์กลางวงกลมประมาณ 4 กิโลเมตรครึ่ง ระยะเวลาการปลูกหมุนเวียนแบ่งได้ 3 ช่วง คือ 1. ก่อนปลูกข้าว (มีนาคม-กรกฎาคม) 2. ระหว่างปลูกข้าว (มิถุนายน/กรกฎาคม-พฤศจิกายน) 3. ภายหลังการเก็บเกี่ยว (พฤศจิกายน- ) ในการเพาะปลูกข้าวเป็นพืชหลักในการเพาะปลูก ข้าวเติบโตได้ดีในช่วงฤดูฝน โดยในการหมุนเวียนก็จะปลูกพืชพันธุ์อื่น ๆ ด้วย ทั้งก่อนและหลังฤดูฝน พันธุ์พืชมีมากกว่า 300 ชนิด ในการเตรียมพื้นที่เพาะปลูกขั้นตอนทุกอย่างเป็นบทสรุปที่เกิดมาจากความรู้เรื่องพืชและดิน พื้นที่ปลูกเลือกจากคนแต่ละคนตัดสินใจจากเรื่องดิน พืช พิจารณาจากสิ่งที่บ่งชี้ว่าเหมาะสม สถานที่ที่ปลูก ระยะเวลาจำนวนครั้งที่จะพักฟื้นก่อนการปลูกอีกรั้ง การเพาะปลูกและการเตรียมพื้นที่ ครอบคลุมเวลาที่ยาวนานกว่ารอบการผลิต เพราะในการตัดสินใจเลือกพื้นที่ตัดสินจาก 2 ปัจจัย คือ 1.ปริมาณวัชพืช 2.ระดับการเติบโตของป่าขั้นทุติยภูมิ (secondary forest : ป่าที่เกิดจากการฟื้นตัว) ดังนั้น การเพาะปลูกจะทำในช่วงที่ดีที่สุดของปี เมื่อวัชพืชเพิ่มขึ้นอันแสดงว่าดินมีฮิวมัส เมื่อนั้น วัชพืชจะถูกกำจัดอีกครั้ง ทั้งนี้ภายหลังจากใช้มาเป็นเวลา 30-50 ปี ที่ดินจะถูกใช้น้อยลง เพราะมีความต้องการตัดไม้ใหญ่ในการผลิต ด้วยเหตุนี้กะเหรี่ยงโปว์จะเลือกตัดไม้ในพื้นที่ป่าฟื้นตัวที่เก่ามากๆ (very old secondary forest) ซึ่งระหว่างที่ป่าฟื้นตัวชาวบ้านจะสามารถเก็บของป่าได้ ในขณะที่ที่ดินที่ใช้ครั้งแรกจะใช้เวลานานมาก กว่าจะวนกลับมาใช้อีกครั้ง ในระหว่างที่พื้นที่ฟื้นตัวเป็นป่า ชาวบ้านจะเก็บของป่าต่าง ๆ ได้ (หน้า 4-8, 12)

Social Organization

กะเหรี่ยงโปว์นับญาติทั้งสองฝ่ายทั้งฝ่ายพ่อและแม่และตั้งถิ่นฐานหลังการแต่งงานข้างฝ่ายหญิง (uxorilocal) ความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งอย่างมากคือความสัมพันธ์ในครอบครัวเดี่ยว ข้อตกลงต่างๆ จะเกิดขึ้นได้ง่ายในความสัมพันธ์ที่รักใคร่ชอบพอ ในขณะที่ญาติห่างๆ จะมีความสัมพันธ์ที่ไม่สนิทสนม (หน้า 2)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ไม่มีข้อมูล

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

กะเหรี่ยงโปว์มีประเพณีเกี่ยวข้องกับมอญซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ตัดไม้มาหลายศตวรรษ ดังนั้นหลายๆ สถานที่ตามแควใหญ่จึงมีชื่อเป็นชื่อมอญ เพื่อที่จะยกย่องแสดงความนับถือ (หน้า 4)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

จากสภาพพื้นที่ของกะเหรี่ยงโปว์ พบว่าชุมชนกะเหรี่ยงโปว์มีความสัมพันธ์กับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ เนื่องจากมีพื้นที่ติดกัน ทางด้านใต้และตะวันออกของพื้นที่ติดกับเขตด้านตะวันตกของภาคกลางของไทย ซึ่งบริเวณดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นคนลาว ส่วนด้านแม่น้ำเจ้าพระยา สุพรรณบุรี แม่กลอง หมู่บ้านในบริเวณนี้มีคนไทยภาคกลางและคนจีน อยู่โดยพื้นที่ระหว่างกะเหรี่ยงโปว์และชาวลาวก็มีหมู่บ้านของกลุ่มขมุและ ลัวะอยู่ 2-3 หมู่บ้าน โดยกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่อยู่ร่วมกันในพื้นที่เป็นการผสมของกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีรากฐานมาจากลานนาไทย ฉาน มอญ และปะโอ (Pa-o) (หน้า 2)

Social Cultural and Identity Change

การเพิ่มจำนวนประชากร และการแพร่กระจายของการปรับโครงสร้างการเกษตรจากส่วนกลางของไทย เข้าสู่พื้นที่ห่างไกลนั้นเป็นเหตุให้คนที่ไร้ที่ทำกินเคลื่อนย้ายเข้าไปในเขตเพาะปลูกอย่างภาคตะวันตกของไทย ดังนั้นพื้นที่ทำไร่หมุนเวียนจึงตกอยู่ในการครอบครองของคนลาว นอกจากนี้พื้นที่เขตรอบนอกของกะเหรี่ยงโปว์นั้นไม่สามารถเพาะปลูกได้ แต่ในส่วนกลางพื้นที่ยังคงอุดมสมบูรณ์ ระบบนิเวศจึงสมบูรณ์ในการปลูกพืชผลแบบหมุนเวียนนั้น กะเหรี่ยงโปว์จะยึดการแพร่พันธุ์จัดปลูกผสมผสานตามสภาพจริง ๆ ตามธรรมชาติ เป็นการปรับตัวให้เข้ากับสภาพนิเวศ ซึ่งกะเหรี่ยงยังยึดมั่นอนุรักษ์นิยมอยู่ แต่การยึดมั่นดังกล่าวถูกคัดค้านจากกะเหรี่ยงโปว์ที่มีความต้องการจะปลูกพืชผลใหม่ ตามวิธีแบบทันสมัย ซึ่งจริงๆแล้วการเพาะปลูกหมุนเวียนนั้นจะปลูกพืชผลตามมาตรฐานของสภาพพื้นที่พืชพันธุ์ มากกว่าใช้ความเชี่ยวชาญ ทันสมัยที่ไม่เป็นธรรมชาติ (หน้า 2-3, 7)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

องค์ความรู้ของกะเหรี่ยงนั้น ระบบการทำไร่เลื่อนลอย ไร่หมุนเวียนเป็นระบบของการจัดการผลิตพืชผลตามธรรมชาติ โดยไร่หมุนเวียนของกะเหรี่ยงโปว์ในภาคตะวันตกของไทยนั้น มีความใกล้เคียงกับการเจริญเติบโตตามธรรมชาติของพันธุ์พืช กะเหรี่ยงโปว์ไม่ได้ใช้เฉพาะความรู้เรื่องพืชผลดอกไม้ การเลือกพื้นที่ ก่อนการเพาะปลูกเท่านั้น แต่พวกเขายังต้องมีความรู้เรื่องอุณหภูมิของดิน เพื่อใช้ในการเลือกพื้นที่ด้วย โดยในการประเมินค่าดินนั้น ต้องดูบริบทเรื่องดินเหนียว ทราย กรวด หิน ความสามารถในการอุ้มน้ำ ความอ่อน ความมั่นคง ความเบาหรือเหนียวแน่นเกาะติดในฤดูแล้งและฤดูฝน สีดิน อุณหภูมิ สารอาหารแร่ธาตุต่างๆ แต่ถึงแม้ว่าพวกเขาจะมีความรู้และความเข้าใจ แต่ก็ยังมีข้อสังเกตว่าการทำไร่หมุนเวียนยังขาดความรู้และความเข้าใจ ซึ่งพวกเขาต้องการที่จะเรียนรู้ เพื่อที่จะเสริมจุดอ่อนของวิธีการผลิต ที่ถูกมองว่าด้อยพัฒนา ดังนั้น การทำไร่หมุนเวียนจึงเป็นระบบการผลิตที่ต้องมีความรู้ ความเข้าใจในธรรมชาติ และมีสภาพนิเวศที่เหมาะสม มิฉะนั้น อาจก่อให้เกิดความเสียหาย เช่น กรณีผู้เพาะปลูกที่ทำการผลิตแบบหมุนเวียนเสริมการผลิตเกษตรประจำที่ ของกลุ่มผู้อพยพที่ไม่มีที่ทำกินทางภาคกลางของไทย ผลิตแบบไร่หมุนเวียนทั้ง ๆ ที่สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม และขาดความรู้ความเข้าใจในการผลิตแบบหมุนเวียน (หน้า 7-8)

Map/Illustration

ขั้นตอนการผลิตตลอดปี (PHASES OF LABOUR THROUGH THE YEAR) (FIG 1 ) การปลูกและเก็บเกี่ยวของการทำไร่หมุนเวียน (GROWTH AND HARVEST OF MOST IMPORTANT SWIDDEN CULTIGENS) (FIG 2) ตารางที่ 1 ระยะเวลาของการเพาะปลูก ใน 4 หมู่บ้าน (LENGTH OF AVERAGE FALLOW IN 4 DIFFERENT VILLAGES) (หน้า 11) ตารางที่ 2 FOLD, YIELD PER HA, TOTAL SIZE OF SWIDDENS, CHANGES IN THESE QUANTITIES FOR SWIDDENS CULVATED TWO SUCCESSIVE YEARS (หน้า 13) ตารางที่ 3 FOLD, YIELD PER HA, TOTAL SIZE OF SWIDDENS AND CHANGES IN THESE QUANTITIES FOR SWIDDENS CULVATED THREE SUCCESSIVE YEARS IN 4 VILLAGES (หน้า 14)

Text Analyst อินทิรา วิทยสมบูรณ์ Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG โพล่ง โผล่ง โพล่ว ซู (กะเหรี่ยง), การทำไร่หมุนเวียน, ภาคตะวันตก, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง