สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง),การจัดการทรัพยากร,เชียงใหม่
Author ชูพินิจ เกษมณี
Title ศักยภาพในการจัดการทรัพยากรดิน-น้ำ-ป่า ของชาวกะเหรี่ยง
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ปกาเกอะญอ, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 16 Year 2539
Source สถาบันวิจัยชาวเขา
Abstract

กะเหรี่ยงมีการจัดการทรัพยากรดิน-น้ำ-ป่า มาเป็นเวลายาวนาน ชาวบ้านจึงดำรงอยู่ยังชีพและดูแลธรรมชาติอย่างสมดุลย์ เกื้อกูลกัน ชาวบ้านใช้ระบบความเชื่อเป็นกฎหมายควบคุมการจัดการทรัพยากร ดังนั้น พื้นที่ป่าในระบบความคิดของชาวบ้านจึงมีระดับในการใช้ประโยชน์ พื้นที่ป่าบางแห่งถูกห้ามใช้เพราะมีเทพสถิตอยู่ บางแห่งใช้เก็บของป่า หาอาหารได้ โดยที่ชาวบ้านทั้งในระดับปัจเจก และระดับชุมชนมีหน้าที่รับผิดชอบร่วมกัน ความสัมพันธ์ดังกล่าวทำให้กะเหรี่ยงดำรงตนมาได้ยาวนาน มีป่าที่อุดมสมบูรณ์เขียวชอุ่มล้อมรอบหมู่บ้าน แต่การแทรกแซงจากอำนาจส่วนกลาง ทำให้การจัดการทรัพยากรของชาวบ้านมีการปรับเปลี่ยน เพราะถูกมองว่าผิดกฎหมาย มีการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับชาวบ้านเปลี่ยนแปลงไป

Focus

เน้นการศึกษาในเรื่องศักยภาพในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยเฉพาะการจัดการทรัพยากรดิน-น้ำ-ป่า โดยที่มีมโนทัศน์ที่สำคัญ 3 ประการ คือ กลุ่มชาติพันธุ์ ภูมิปัญญา และทรัพยากร ซึ่งทั้ง 3 มโนทัศน์มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน (หน้า 1 )

Theoretical Issues

ผู้วิจัยมีแนวคิดที่มองว่า ระบบความคิดและการจัดการทรัพยากรดิน-น้ำ-ป่า ของกะเหรี่ยงดำรงอยู่ ภายใต้กฎระเบียบที่ถูกกำหนดโดยความเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติ ดังนั้นการจัดการทรัพยากรของกลุ่มชาติพันธุ์จึงมีความเชื่อมโยง สัมพันธ์กับระบบวิธีคิดเรื่องอื่นๆ ในสังคม แต่ความเปลี่ยนแปลงจากอำนาจภายนอกกำลังทำให้การจัดการทรัพยากรของกลุ่มชาติพันธุ์สูญหายไป และกำลังเข้าเปลี่ยนแปลงวิถีการดำรงชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์อย่างไม่รู้ตัว (หน้า 15)

Ethnic Group in the Focus

กะเหรี่ยงสะกอ ซึ่งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน (หน้า 2)

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ไม่ได้ระบุไว้ชัดเจนแต่อาจศึกษาอยู่ในช่วงเวลาปี พ.ศ. 2535-2536 ทั้งนี้ พิจารณาจากกรอบการวิจัยของทีมงานวิจัยแบบเครือข่าย ซึ่งยึดตามรายงานการประชุมปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทีมงานวิจัยเครือข่าย เมื่อปี 2535 และในบทความผู้วิจัยลงช่วงเวลาเป็นปี 2536 (หน้า 1)

History of the Group and Community

ไม่มีข้อมูล

Settlement Pattern

เมื่อหมู่บ้านได้กำหนดว่าจะใช้พื้นที่บริเวณใดของหมู่บ้านในการเพาะปลูก ชาวบ้านก็จะตระเตรียมที่ไร่ของตนเพื่อการเพาะปลูกแต่ละครัวเรือน ภายหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ที่ดินผืนนั้นจะถูกทิ้งให้พักตัว แล้วฮีโข่จะเรียกประชุมอีกครั้งเพื่อกำหนดพื้นที่ในปีถัดไป ในเรื่องที่ดินนั้น นอกจากการเลือกทำเลในการตั้งหมู่บ้านแล้ว กะเหรี่ยงใช้ที่ดินในการทำนา ไร่ข้าว สวนครัวริมบ้าน ดังนั้นการเลือกที่ดินจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อการตั้งหมู่บ้าน ที่ดินที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก มีระบบน้ำหล่อเลี้ยงที่ดีเหมาะแก่การปลูกพืชแบบผสมจึงเป็นที่ที่กะเหรี่ยงจะเลือกในการตั้งถิ่นฐาน (หน้า 7, 11)

Demography

หมู่บ้านแม่หมีนอกมีจำนวนครัวเรือนมากที่สุด คือ 27 หลังคาเรือน มีประชากรรวม 129 คน ขณะที่ขุนวินและหนองมณฑา (มอวาคี) ในจังหวัดเชียงใหม่ มีลักษณะเป็นกลุ่มบ้าน กล่าวคือ กลุ่มบ้านซึ่งถูกเปลี่ยนชื่อ จาก มอวาคีเ ป็นทางการว่า หนองมณฑา ประกอบด้วยหมู่บ้านย่อยๆ 3 หมู่ (หรือเรียกว่า ป็อก) คือหนองมณฑา (18 หลังคาเรือน) บ้านใหม่ (14 หลังคาเรือน) และปางโม้ม (4 หลังคาเรือน) ส่วนกลุ่มขุนวินประกอบด้วย 3 หมู่ย่อย คือขุนวินมะจิโน (3 หลังคาเรือน) ขุนวินกลาง (8 หลังคาเรือน) และบ้านใหม่ขุนวิน (11 หลังคาเรือน) ดังนั้นหมู่บ้านกะเหรี่ยงที่ศึกษาจึงเป็นหมู่บ้านขนาดเล็กตั้งแต่ 3-27 หลังคาเรือน (หน้า 2)

Economy

สภาพทางเศรษฐกิจโดยรวมนั้นมีการปลูกข้าวไร่ เพื่อการบริโภคในครัวเรือน มีครัวเรือนเป็นส่วนน้อยในแต่ละหมู่บ้านที่มีที่นาของตนเอง สำหรับรายได้ที่เป็นเงินสดส่วนใหญ่ได้จากการขายของป่า ขายสัตว์เลี้ยงและการออกรับจ้างแรงงาน ส่วนกลุ่มหมู่บ้านกะเหรี่ยงในจังหวัดลำปาง เนื่องจากมีหน่วยงานพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาเคลื่อนที่ เข้ามาดำเนินการ ชาวบ้านในกลุ่ม 4 หมู่บ้านแม่หมีนอก แม่หมีใน แม่ต๋อมนอกและแม่ต๋อมใน ได้หันมาปลุกพืชเงินสดกันมากขึ้น ได้แก่ ถั่วแดง ขิง และข้าวโพด โดยปลูกในลักษณะพืชเดี่ยว พร้อมไปกับการพัฒนาสวนผลไม้จำพวก มะม่วง มะขามหวาน และ ขนุน รวมทั้งการปลูกสวนกาแฟ ในการผลิตและการ บริโภค การจัดการทรัพยากรดิน-น้ำ-ป่า เป็นสิ่งสำคัญ ชาวบ้านจึงมีการจัดการตามลำดับ แบ่งป่าออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้ "กอเบ" คือป่าในเขตแห้งแล้ง ล่างสุดของลำดับชั้นป่า "เก่อเนอค่อทิ" คือป่าเบญจพรรณ อากาศค่อนข้างอบอุ่นถึงค่อนแห้งแล้ง และป่าตอนบนที่เป็นเขตต้นน้ำ "เก่อเนอ" เป็นป่าที่มีลักษณะชุ่มชื้น อากาศเย็นตลอดปี ต้นไม้หนาแน่น เมื่อป่ามีคุณสมบัติที่ต่างกันทำให้การใช้ประโยชน์ต่างกัน ชาวบ้านจึงจัดป่าเป็นประเภทคือ ป่าใช้สอยรอบหมู่บ้าน เป็นแหล่งน้ำ ป่าช้า ที่ห้ามตัดไม้ทุกชนิด ป่าฟื้นตัวจากไร่ จะอยู่ห่างจากหมู่บ้านออกไป 1 ก.ม. ป่าหัวนา เป็นพื้นที่เหนือผืนนา เป็นต้นน้ำ ป่าขุนห้วย เป็นแหล่งน้ำสำคัญอยู่ในความรับผิดชอบของคนทั้งชุมชน สามารถเก็บของป่าและล่าสัตว์ได้ และตัดไม้ได้จำนวนไม่มากนัก ในส่วนการจัดการดินนั้น ชาวบ้านใช้ที่ดินในการทำนาข้าวไร่มากกว่าการทำข้าวนา เพราะพื้นที่ที่สามารถเปิดเป็นที่นามีระบบน้ำหล่อเลี้ยงได้ไม่มากนัก อีกประการหนึ่งการปลูกข้าวไร่ หมายถึงการมีพืชผักอื่นๆ อีกหลายชนิดไว้บริโภคด้วยระบบการปลูกพืชแบบผสม (mixed cropping) ในไร่ข้าวเป็นการทำไร่แบบหมุนเวียนที่ดินโดยมีระบบขั้นตอน ดังนั้น "ดูละ" เป็นช่วงเวลาที่พื้นที่ป่าฟื้นตัวจากการทำไร่ ช่วงเวลาของการกำหนดคัดเลือกพื้นที่จึงไม่นานเกิน 1 - 2 เดือน "คึ" เมื่อเลือกพื้นที่ได้ นับตั้งแต่ตัด ฟัน โค่น ถาง เผา เพราะปลุกข้าวจนถึงเก็บผลผลิต ช่วงเวลา 1 ปีแรกของการทำกิน "ฉกี่วา" เริ่มตั้งแต่หลังเก็บเกี่ยวไปอีก 1 - 2 รอบปี (รอบปีที่ 2 - 3 นับจากเริ่มทำกิน) ซึ่งยังพอมีพืชบางชนิด เช่น เผือก มัน ให้เก็บกินได้ "ฉกี่เบาะ / ฉกี่เบาะปู" นับจากขึ้นรอบปีที่ 4 ไปจนถึงประมาณ 8 ปี ในพื้นที่เริ่มมีไม้ใหญ่ขึ้นเติบโตเป็นป่าขนาดเล็ก สามารถนำไม้มาใช้ประโยชน์ได ถ้าต้นไม้ได้ขนาดแล้วก็จะหมุนเวียนกลับมาทำกินอีก เข้าสู่ช่วง "ดูละ" ต่อไป "ปก่า" เกิดจากสภาพป่าที่ได้พัฒนาจากช่วง "ฉกี่เบาะ" โดยไม่ได้หวนกลับไปใช้ที่อีก ( หน้า 3-5, 8-9)

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

กะเหรี่ยงใช้ความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นกฎหมายควบคุมการจัดการทรัพยากร ซึ่งมีการปรับเปลี่ยน จากคำบอกเล่าของผู้อาวุโสกะเหรี่ยง ในสมัยที่การปกครองยังอยู่ในมือเจ้าเมืองต่าง ๆ กะเหรี่ยงนิยมอยู่รวมกันเป็นชุมชนใหญ่ ภายใต้การนำของ "ฮีโข่" (หัวหน้าหมู่บ้าน) ก่อนการเพาะปลูกฮีโข่จะเรียกประชุมเพื่อกำหนดพื้นที่เพาะปลูก เมื่อฮีโข่กำหนดว่าจะใช้พื้นที่บริเวณใดของหมู่บ้าน ชาวบ้านก็จะตระเตรียมที่ไร่ของตน ภายหลังเก็บเกี่ยวที่ดินผืนนั้นจะถูกทิ้งให้พักตัว แล้วฮีโข่จะเรียกประชุมอีกครั้งเพื่อกำหนดพื้นที่ในปีถัดไป ต่อมาเมือการปกครองถูกรวมศูนย์อำนาจ เจ้าเมืองต่างๆ เสื่อมอำนาจสังคมกะเหรี่ยงเกิดการแยกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายที่ยินดีจะปรับตัวสู่ระบบอำนาจส่วนกลาง และฝ่ายที่ต้องการหลีกเลี่ยงจากอำนาจส่วนกลาง ซึ่งมีผลให้เกิดการแตกตัวของชุมชนกะเหรี่ยงขนาดใหญ่ เป็นชุมชนเล็ก ๆ มากขึ้น กระจายกันอยู่ในป่าลึกในป่าเขา พร้อมไปกับการเกิดโครงสร้างชุมชนที่ไม่มีฮีโข่ โดยจะมีเพียง "คอทิ" หรือผู้อาวุโสที่นับถือกัน ปกครองเฉพาะชุมชน (หน้า 10-12)

Belief System

ความเชื่อทางศาสนาแม้จะมีชาวบ้านบางส่วนหันมานับถือศาสนาคริสต์ แต่ความเชื่อในจิตวิญญาณและสิ่งศักดิ์สิทธิยังมีอิทธิพลต่อชีวิตของคนในสังคม โดยความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะเกี่ยวข้องกับการจำแนกประเภทป่า ดังนี้ 1. ปก่า ตะ เด โดะ เป็นป่าที่อยู่ในช่วงเขา ถือเป็นทางเดินผี ห้ามหักล้างทำลาย แต่สามารถหาอาหารได้ 2. ปก่า เต หมื่น เบอ เป็นป่าที่ขึ้นบนเนินลักษณะหลังเต่า มีสายน้ำไหลอ้อม มีลักษณะเหมือน "เขียดแลว กกไข่" (ชื่อกบขนาดใหญ่ทางเหนือ) ถือว่ามีผีแรงห้ามหาประโยชน์ใด ๆ 3. ปก่า เซ มอ ปู เป็นป่าน้ำซับมีต้นไม้ใหญ่ และมีน้ำขังในบริเวณนั้นตลอดปี ถือเป็นที่อยู่ของผืนน้ำ ห้ามกินน้ำบริเวณนี้ 4. ปก่า ที หน่า จวะ คี หรือ ป่าขุนห้วย มีสิ่งศักดิ์สิทธิสถิตอยู่ ห้ามตัดใช้ประโยชน์ 5. ปก่า ที เช่อ ถ่อ เป็นป่าที่มีน้ำซึมออกมาเป็นบริเวณกว้าง มีน้ำไหลตลอดปี เป็นที่อยู่ของผีน้ำ อาจตัดไม้ใช้สอยได้แต่ต้องห่างออกไปจากบริเวณน้ำซับ 9 - 10 เมตร 6. ปก่า ปู ที เป่อ ถ่อ เป็นป่าที่มีน้ำผุด เชื่อกันว่าผีน้ำดุมาก ห้ามรบกวนเด็ดขาด ความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ เป็นตัวควบคุมการจัดการทรัพยากร ซึ่งแสดงออกในรูปของพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น พิธีกรรมเกี่ยวกับการปลูกข้าวไร่ ที่เรียกรวม ๆ ว่า "บอคี" ที่มีพิธีกรรมดังนี้ - ต่า หลื่อ แหม่ เป็นพิธีที่ทำให้เกิดความร่มเย็นในไร่ ป้องกันมิให้ผู้ทำไร่ หรือคนในครอบครัวถูกพิษภัยจากการเผาไร่ เป็นการขอขมา - ต่า ขอ คึ เป็นพิธีเลี้ยงผีไฟ เป็นการขอขมาผีไฟ เพื่อให้พื้นที่กลับสู่ความร่มเย็น พิธีนี้ทำพร้อมกับ ต่า หลื่อ แหม่ - ต่า แซะ เป็นพิธีขับไล่ศัตรูพืชต่าง ๆ หรือสิ่งเลวร้ายใด ๆ ที่อาจเกิดในไร่ข้าว - ต่า เตอะ เมาะ เป็นพิธีที่อธิษฐานขอให้ข้าวกล้างอกงามและอุดมสมบูรณ์ - ต่า คะ แก๊ะ เป็นพิธีที่ประกอบขึ้น เพื่อสาปแช่งสิ่งที่จะล่วงล้ำเข้ามาทำลายพืชผลในไร่ข้าว - เอาะ บือ แชะ คลี พิธีต้มเหล้ากินหลังปลูกข้าวเสร็จ - เสอะ ลา คี ดะ พิธีต้มเหล้ากิน หลังนวดข้าวและเก็บเข้ายุ้งแล้ว นอกจากนี้ยังมีพิธีกินข้าวใหม่ (เอาะ บือ ซอ) พิธีเรียกขวัญข้าวขึ้นยุ้ง พิธีกรรมวันขึ้นปีใหม่ ในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นการชุมนุมพบปะกันของคนในชุมชน ก่อนที่จะลงมือทำไร่ข้าวในรอบปี (หน้า 3, 5-6, 9-10)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

พืชสมุนไพรจะมีมากทั้งชนิดและจำนวนในป่าประเภท เก่อเนอ โดยป่าฟื้นตัวจากไร่ จะอยู่ห่างจากตัวหมู่บ้านออกไปประมาณ 1 ก.ม.ขึ้นไป ตรงกับคำเรียกทางภาคเหนือว่า "ป่าเหล่า" อันหมายถึงพื้นที่ที่เคยทำไร่ แต่ได้พักฟื้นไว้ประมาณ 5 - 7 ปี เป็นทั้งแหล่งอาหารและยารักษาโรค (หน้า 5)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

เมื่อพื้นที่ป่ามีปริมาณลดลง ประกอบกับจำนวนประชากรบนพื้นที่สูงเพิ่มตัวขึ้น การทำไร่หมุนเวียนของกะเหรี่ยงที่ต้องใช้ที่ดินจึงไม่เหมาะสม การเกษตรประจำที่ได้รับการสนับสนุนเข้ามาแทนที่ การผลิตการจัดการทรัพยากรของกะเหรี่ยงถูกมองว่าก่อให้เกิดการทำลาย ไม่เหมาสมและผิดกฎหมาย เช่น กรณีบ้านขุนวิน ในจังหวัดเชียงใหม่ เคยถูกนายอำเภอสั่งห้ามตัดไม้ ทำให้ชาวบ้านไม่กล้าหวนกลับไปใช้พื้นที่ป่าฟื้นตัว จึงจำเป็นต้องลดช่วงเวลาหมุนเวียนที่ไร่ลง นอกจากการแทรกแซงจากอำนาจรัฐแล้ว กระบวนการพัฒนาที่แพร่กระจายเข้าไปทั้งเทคโนโลยี ปุ๋ย สารเคมีต่าง ๆ ทำให้ความสัมพันธ์ของชาวบ้านกับธรรมชาติเปลี่ยนไป มีการผลิตซ้ำมากขึ้นขาดการดูแลรักษาพื้นที่เช่นอดีต (หน้า 13-15)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ที่ไร่ถือเป็นทรัพย์สินส่วนตัว แต่สามารถเปิดการเจรจาขอใช้ที่ดินได้ หากผู้ที่ทำอยู่ก่อนให้ความยินยอมเป็นลักษณะของการเป็นสมบัติกึ่งส่วนตัว - กึ่งส่วนรวม โดยตลอดพื้นที่ปลุกสร้างบ้านหรือ "ต่าโร่" สวนริมบ้านนั้นถูกพิจารณาว่าเป็นของส่วนตัวตราบเท่าที่ผู้ครอบครัวยังอยู่และยังใช้ประโยชน์อยู่ แต่เมื่อไหร่ที่บ้านหลังนั้นย้ายไป พื้นที่บริเวณนั้นก็จะกลับมาตกเป็นของส่วนรวมที่ครอบครัวอื่นสามารถใช้สอยได้ สำหรับที่นานั้นพิจารณาว่าเป็นทรัพย์สินส่วนตัวถาวรที่ตกทอดสู่ลูกหลานได้ ซึ่งรวมไปถึงป่าหัวนา ดังนั้นครัวเรือนที่ใช้น้ำหล่อเลี้ยงนาจากป่าหัวนาใด ก็จะเป็นผู้รักษาและดูแลป่าหัวนานั้น หากมีหลายครัวเรือนที่นาของตนได้ใช้น้ำจากป่าหัวนาร่วมกัน ก็ต้องร่วมกันรักษา โดยการใช้ที่ดินนั้น ชุมชนขนาดใหญ่จะยังคงยึดถือรูปแบบการใช้ที่ดินในแบบส่วนรวม ในขณะที่ชุมชนขนาดเล็กจะใช้รูปแบบการใช้ที่ดินแบบอิสระ (หน้า 13)

Map/Illustration

ภาพจำลองการแยกป่าประเภทป่า (หน้า 4) ตัวแบบการจำแนกระบบไร่ข้าวของกะเหรี่ยง (หน้า 8) ภาพจำลองแบบง่ายของรูปแบบการใช้ที่ดินเพราะปลูกข้าวไร่แบบรวม (หน้า 11) ภาพจำลองแบบง่ายของรูปแบบการใช้ที่ดินเพาะปลูกข้าวไร่แบบอิสระ (หน้า 12)

Text Analyst อินทิรา วิทยสมบูรณ์ Date of Report 05 ก.ย. 2555
TAG ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง), การจัดการทรัพยากร, เชียงใหม่, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง