สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject โพล่ง โผล่ง โพล่ว ซู (กะเหรี่ยง),สังคม,วัฒนธรรม,กาญจนบุรี
Author พิพัฒน์ เรืองงาม
Title ชาวกะเหรี่ยงและวัฒนธรรมชาวกะเหรี่ยง ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity โพล่ง โผล่ง โผล่ว ซู กะเหรี่ยง, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 11 Year 2533
Source สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract

กะเหรี่ยงที่อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เป็นกะเหรี่ยงที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน มีรูปแบบสังคม วั ฒนธรรมที่เด่นชัด เช่น การนิยมสักตามร่างกาย การสูบยาเส้น การกินหมาก ซึ่งเชื่อว่าจะป้องกันโรค กันแมลงได้ การแต่งกายที่มีเอกลักษณ์มีความแตกต่างระหว่างหญิงที่แต่งงานแล้วและยังไม่แต่ง การเจาะหู หรือแม้กระทั่งรูปแบบบ้านเรือนที่ทำจากไม้ไผ่มีหิ้งบูชาผี ตามความเชื่อเรื่องผี ซึ่งกลายเป็นกรอบทางสังคมที่คอยควบคุมกะเหรี่ยง ชายและหญิงที่ยังไม่แต่งงานกันจะถูกเนื้อต้องตัวกันไม่ได้ หากมีการล่วงละเมิดมีเพศสัมพันธ์จะต้องขอขมา มิฉะนั้น อาจถูกลงโทษถึงขั้นไล่ออกจากหมู่บ้าน โดยที่สังคมกะเหรี่ยงนั้นถือฝ่ายหญิงเป็นหลักในการสืบสกุล

Focus

เน้นการศึกษาสังคมและวัฒนธรรมของกะเหรี่ยงในแง่วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ลักษณะวัฒนธรรมรูปแบบต่าง ๆ เช่น การแต่งงาน ความสัมพันธ์ บ้านเรือน เครื่องมือเครื่องใช้ การแต่งกาย เพื่อจัดทำสารานุกรมวัฒนธรรมภูมิภาคตะวันตก

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

กะเหรี่ยง เป็นชนชาติเก่าแก่ชนชาติหนึ่งที่มีวัฒนธรรมและภาษาเป็นของตนเอง กะเหรี่ยงมีรูปร่างหน้าตาคล้ายชนชาติไต สีผิวมีตั้งแต่ผิวเหลืองจนถึงผิวสีน้ำตาลคล้ำ รูปร่างค่อนข้างเหลี่ยม หน้าแบน จมูกแบนกว้าง มักไม่มีสันจมูกมีโหนกแก้มสูง ตาหยีเล็กน้อย ส่วนใหญ่ผมสีดำเหยียดตรง เส้นผมใหญ่และหนา บางคนผมหยักศก ส่วนใหญ่ไม่นิยมไว้หนวดเครา นอกจากผู้มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าในงานพิธีหรือพวกฤาษี (หน้า 39, 41)

Language and Linguistic Affiliations

ไม่ได้ระบุไว้ชัดเจน กล่าวเพียงว่า กะเหรี่ยงมีภาษาเป็นของตนเอง (หน้า 39)

Study Period (Data Collection)

พ.ศ. 2533

History of the Group and Community

ได้มีการสันนิษฐานว่าชนชาติกะเหรี่ยงเดิมอาศัยอยู่ทางตะวันออกของทิเบตปัจจุบัน ต่อมาได้เคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเขตประเทศจีน เมื่อประมาณปี ค.ศ.1276 ปีก่อนคริสตกาล แล้วในปี ค.ศ.751 ราชวงศ์จิ๋นได้ส่งกองทัพเข้าตีชนชาตินี้จนแตกหนีลงมาตามลำน้ำโขง และสาละวิน แล้วเข้ามาตั้งรัฐขึ้น 2 รัฐ คือ รัฐกะยาของเผ่ากะเหรี่ยงแดง และรัฐก่อตูเลของเผ่ากะเหรี่ยงขาว นอกจากนี้ ยังกระจายกันอยู่ในบริเวณตอนเหนือของพม่าแถบรัฐฉานตลอดมาจนถึงบริเวณชายแดนไทย - พม่า ตลอดแนวเขาถนนธงชัย ตะนาวศรี จรดปากแม่น้ำกระบุรี จังหวัดระนอง กะเหรี่ยงอพยพเข้ามาในประเทศไทยหลายครั้ง ครั้งสำคัญคือการอพยพเข้ามาสมัยพระเจ้าอลองพญา (อองเจยะ) ทำสงครามกวาดล้างมอญ ซึ่งในช่วงเวลานั้นกะเหรี่ยงเป็นพันธมิตรกับมอญ และให้ความช่วยเหลือในการต่อสู้กับกองทัพพระเจ้าอลองพญา สงครามครั้งนั้นทำให้ต้องอพยพเข้ามาประเทศไทย ครั้งใหญ่อีกครั้งในปี ค.ศ.1885 เมื่อจักรวรรดินิยมอังกฤษพยายามปราบปรามกะเหรี่ยง ในปัจจุบันนี้ยังคงมีรัฐอิสระของกะเหรี่ยงอยู่ในประเทศสาธารณรัฐสหภาพพม่า บริเวณที่เรียกว่ารัฐกะยา ของเผ่ากะเหรี่ยงแดง กะเหรี่ยงกลุ่มนี้ได้ทำการต่อสู้กับรัฐบาลทหารพม่ามาเป็นเวลานาน 37 ปี (1997) เพื่อเรียกร้องความเป็นเอกราช ภายใต้การนำของสภาปฏิบัติกะเหรี่ยง โดยการนำของกลุ่มประธานาธิบดีซอ เม เรห์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะตั้งรัฐอิสระของกะเหรี่ยงในนามของ "รัฐสหภาพกะเหรี่ยง" (หน้า 39, 40) ส่วนความเป็นมาของกะเหรี่ยงในอำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี มีคำบอกเล่าสืบกันว่าเดิมกะเหรี่ยงบริเวณดังกล่าวอาศัยอยู่ที่บ้านเมกะวะ เขตมะละแหม่ง ประเทศพม่า ต่อมาในปี ค.ศ.1788 ได้เริ่มอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่ห้วยซองกะเลีย อำเภอสังขละบุรี และมีการอพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนกระจายกันออกไปตามลำห้วย ลำธารจนจำนวนเพิ่มขึ้น (หน้า 39, 40)

Settlement Pattern

การตั้งถิ่นฐานของกะเหรี่ยงอยู่ในบริเวณที่ราบระหว่างหุบเขา ตามปกติจะมีขนาดเล็ก และมีลำธารหรือห้วยไหล่ผ่านอย่างน้อยหนึ่งสายเสมอ การมีลำธารไหลผ่านข้าง ๆ หมู่บ้านทำให้กะเหรี่ยงไม่จำเป็นต้องทำการชลประทาน เพื่อการหาน้ำมาบริโภคหรือทำการเกษตร นอกจากนี้สภาพภูมิศาสตร์ที่มีสายน้ำ หุบเขานั้นยังเป็นตัวกำหนดการสร้างบ้านเรือนด้วย เนื่องจากพื้นที่ราบระหว่างหุบเขาในบริเวณภาคตะวันตกของไทยมีป่าไผ่จำนวนมาก และมีไผ่ลำต้นใหญ่นั้นส่วนมากเป็นไผ่บง ลำต้นโตมีเนื้อหนาเหมาะแก่การสร้างบ้านเรือนและเครื่องใช้ต่าง ๆ ของกะเหรี่ยง (หน้า 43-44) (ลักษณะบ้านเรือนดูหัวข้อ Art and Crafts)

Demography

ไม่มีข้อมูล

Economy

กะเหรี่ยงเป็นกลุ่มชนที่มีวิถีชีวิตแบบเกษตรกรรม มีการทำไร่ข้าวเพื่อการบริโภคในหมู่บ้าน มีการทอผ้า นอกจากนี้ในวิถีการบริโภคนั้นกะเหรี่ยงยังชีพด้วยการล่าสัตว์ หาของป่า พิจารณาได้จากเครื่องมือเครื่องใช้ในการล่าสัตว์ที่มีมากมาย (หน้า 43, 47)

Social Organization

สังคมกะเหรี่ยงถือฝ่ายหญิงเป็นหลักในการสืบสกุล โดยการแต่งงาน เฉลี่ยอายุระหว่าง 14-30 ปี หนุ่มสาวกะเหรี่ยงจะรู้สึกว่าตนเองเป็นหนุ่มสาวแล้วก็ต่อเมื่อได้ร่วมร้องเพลงในงานศพ เพราะถือว่างานศพคืองานที่คนหนุ่มสาวจะได้มีโอกาสพบเจอกัน และเกี้ยวพาราสีกัน ด้วยบทเพลงอย่างมีไหวพริบ ทีเรียกว่า "ซอ" นอกจากนี้โอกาสอื่นๆ ที่หนุ่มสาวจะเจอกัน เช่น การไปลงแขกปลูกหรือเก็บเกี่ยวข้าว หากพึงพอใจกันก็จะนั่งคุยจนดึก แต่ห้ามถูกเนื้อต้องตัวกัน โดยเฉพาะการล่วงละเมิดถึงขั้นมีเพศสัมพันธ์ เมื่อประกอบพิธีแต่งงานเสร็จแล้วจะต้องบอกกล่าว และเลี้ยงผีเรือน สมัยก่อนโทษของการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งรุนแรงมากและจะต้องถูกขับไล่ออกจากหมู่บ้าน และถูกปรับไหมทั้งชาย-หญิง จึงต้องทำพิธีขอขมาต่อผีประจำตระกูลและผีประจำหมู่บ้าน เป็นกฎที่ชาวบ้านยึดถือปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัด (หน้า 46, 49)

Political Organization

ในช่วงมีการอพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนในอำเภอสังขละบุรี และทองผาภูมิกันมากขึ้น ทำให้เจ้าเมืองกาญจนบุรีเห็นว่าเป็นบ้านเมืองใหญ่เมืองหนึ่ง จึงแต่งตั้งให้หัวหน้ากะเหรี่ยงเป็นเจ้าเมืองสังขละบุรี มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาศรีสุวรรณคีรี (พวะโพ่) สืบตำแหน่งเจ้าเมืองต่อมาอีก 3 คน จนถึง ร.ศ.120 เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองท้องถิ่น เลิกระบบเจ้าเมืองมาใช้การปกครองในระบบนายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านแทน เมืองสังขละบุรีจึงได้เปลี่ยนเป็นอำเภอสังขละบุรี เจ้าเมืองสังขละบุรีองค์สุดท้าย พระยาศรีสุวรรณคีรีคนที่ 4 (ทะเจียบโปรย เสตะพันธ์) จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายอำเภอคนแรก ซึ่งในปัจจุบันเชื้อสายของตระกูลเสตะพันธ์เฉพาะที่อยู่ในอำเภอสังขละบุรี ยังคงเป็นผู้นำที่สำคัญของจังหวัดกาญจนบุรีอยู่และยังสืบทอดประเพณี การทำบุญของกะเหรี่ยงที่ตกทอดมาแต่อดีต (หน้า 40, 41)

Belief System

กะเหรี่ยงมีความเชื่อเรื่องผี ในบ้านของกะเหรี่ยงทางทิศเหนือและทิศตะวันตกของบ้านจะเป็นที่ตั้งหิ้งผี ซึ่งห้ามไม่ให้นอนหันหัวไปทางทิศเหนือและทิศตะวันตกโดยเด็ดขาด และความเชื่อเรื่องบันไดบ้าน บ้านคนเป็นต้องเป็นเลขคี่ ศาลเก็บศพเป็นเลขคู่ นอกจากนี้บันไดบ้านยังถือเป็นที่ฝังรกของลูกสาวเจ้าของบ้านทุกคน ซึ่งเชื่อว่าหากผู้มาเยือนก้าวขึ้นบันไดแล้วหักแสดงว่านำโชคลาภมาให้ หากตอนลงบันไดหักแสดงว่านำโชคลาภออกไป เจ้าของบ้านจะไม่พอใจ (หน้า 44, 47)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

การกินหมาก กะเหรี่ยงเชื่อว่าหมากจะทำให้ไม่เป็นโรคทางเดินอาหาร ดังนั้นจึงนิยมกินหมากตั้งแต่ตอนเป็นหนุ่มสาว เช่นเดียวกับการสูบยา ซึ่งเชื่อว่ายาเส้นที่สูบสามารถป้องกัน การรบกวนของแมลงจำพวกยุงและริ้นได้ (หน้า 42, 43)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

การแต่งกายแบบประเพณีของกะเหรี่ยงในอำเภอสังขละบุรี ชายใส่เสื้อสีแดงบานเย็นหรือสีขาว ตอนล่างเสื้อทอยกดอกเป็นตาราง มีพู่ห้อยเป็นระยะๆ แขนเสื้อสั้น คอเสื้อเป็นคอแหลมไม่นิยมเสื้อดำ และนั่งโสร่ง (ทะด๋ง) ส่วนผู้หญิงถ้าเป็นหญิงสาวจะนุ่งกระโปรงยาวสีขาวกรอมเท้า บางคนจะทอเป็นลวดลายสีแดงเป็นแนวตั้งไม่ทอยกเป็นตาราง มีพู่ห้อยเป็นระยะๆ แขนเสื้อสั้น คอแหลม หากแต่งงานแล้วจะใช้เสื้อผ้าสองท่อน คือใส่เสื้อแบบผู้ชาย แล้วนุ่งผ้าซิ่น (นิ) ที่ทอยกดอกเป็นลายขวาง เครื่องประดับที่ใช้ ได้แก่ สร้อยคอทำจากเงิน รูปร่างคล้ายเมล็ดข้าว ขนาดเท่าเมล็ดข้าวสารร้อยด้วยเส้นฝ้าย เรียงกันจนเต็มเส้นหลายๆ เส้น เรียกว่า "เพ่ยจี่" และใส่กำไลข้อมือทำจากเงิน คนที่ได้เข้าพิธีแต่งงานแล้วจึงจะมีกำไลใส่ทั้งสองข้าง กำไลส่วนใหญ่ไม่มีลาย ผู้หญิงมักรวบผมไว้ตรงกลางศีรษะแต่เยื้องไปทางท้ายทอยแล้วประดับปิ่น และช่อที่ทำขึ้นจากเงินเรียกว่า "คุฉุ" นอกจากนี้ ทั้งชายและหญิงจะเจาะหูตั้งแต่เด็ก ๆ โดยการบีบติ่งหูแล้วใช้เข็มเย็บผ้าแทง ซึ่งผู้หญิงเท่านั้นที่จะใส่ต่างหู ผู้ชายจะผูกด้ายแดง นอกจากนี้ทั้งชายและหญิงนิยมสักตามร่างกาย (ฉิซี่) ด้วยหมึกสีดำ สักบริเวณข้อมือ หัวไหล่ทั้งสองข้าง หน้าผาก กระหม่อมเป็นยันต์ป้องกันงูกัด ส่วนการสักอย่างอื่นนั้นผู้ชายนิยมสักบริเวณแผ่นหลังทั้งหมด เป็นยันต์และรูปสัตว์ต่าง ๆ บางคนอาจสักตั้งแต่บริเวณโคนแขนไปจนถึงศอก และโคนขาเป็นลวดลายต่าง ๆ เหมือนเสื้อผ้า ด้านสถาปัตยกรรมบ้านจะเป็นเรือนเครื่องผูก ใช้ไม้ไผ่ขนาดประมาณ 27x27 ฟุต บ้านแต่ละหลังจะมีเสาอย่างน้อย 16 ต้น มีการสร้างชานหน้าและหลังออกไปอีกด้านละ 1 ช่วงเสา พื้นใช้ฟากไม้ไผ่ (พี่ดะ) ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกทำเป็นหิ้งผี บูชาด้วยต้นโพว่ไจ่ หรือต้นลิ้นมังกร หน้าต่างบ้านนิยมรูปย่อมุมทั้งย่อมุมไม้ 8 และ 12 ไม่นิยมรูปสี่เหลี่ยม ด้านหัตถกรรมจะเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการล่าสัตว์เช่น มีดสั้นปลายแหลม มีดยาว (คลิปะโท่) ธนู หน้าไม้ เป็นต้น ด้านการแสดง มีการรำตงซึ่งผู้แสดงเป็นผู้หญิงจำนวนอย่างน้อย 12 คน ใช้เครื่องดนตรีหลายชนิด เช่น แมนโดริน (รับอิทธิพลจากพม่า) ระนาดเหล็ก (ปาปาล่า) กลองขนาดเล็ก (เป้าว) ฉาบ (ป้าจี้) และฆ้องชนิดต่างๆ (หน้า 41, 42, 44, 45, 47, 48)

Folklore

การแสดงรำตง เป็นการร้องเพลงเล่าเรื่องราวตำนาน นิทานต่างๆ ของชนเผ่า (คล้ายกับหมอรำของชาวอีสาน) โดยมีเนื้อหาที่บอกให้คนฟังอนุรักษ์ วัฒนธรรมการแต่งกายของกะเหรี่ยง เป็นต้น (หน้า 48)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

เชื้อสายของกะเหรี่ยงจัดอยู่ในตระกูลจีน-ทิเบต (Sino-Tibetanstoeke) ตามสายของชนชาติโลโล หรือหลอหลอ (LoLo) และอยู่ในสาขาของกลุ่มทิเบต-พม่า (Tibeto-Berman) ในทางวิชาการได้แบ่งกะเหรี่ยงออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กะเหรี่ยงสะกอ (Skaw) กะเหรี่ยงโปว์ (P'wo) กะเหรี่ยงตองสู หรือ กะเหรี่ยงพะโค (Thung Tsu) และกะเหรี่ยงบเว หรือกะเหรี่ยงคยา (B'Ghwe) ชื่อเรียกชนชาตินี้มีด้วยกันหลายคำ ชาวจีนโบราณเรียกว่าชนชาติโจว ในพม่าเรียกว่า "กะยิ่น" ส่วนชาวล้านนาของไทยและรัฐฉานของพม่าเรียกว่า "ยาง" ซึ่งต่างจากคนไทยแถวเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ที่เรียกว่า "กะหร่าง" แต่สำหรับคนไทยภาคกลางเรียกว่า "กะเหรี่ยง"

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst อินทิรา วิทยสมบูรณ์ Date of Report 05 ก.ย. 2555
TAG โพล่ง โผล่ง โพล่ว ซู (กะเหรี่ยง), สังคม, วัฒนธรรม, กาญจนบุรี, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง