สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject มลาบรี มราบรี,ครอบครัว,เครือญาติ,น่าน
Author นิพัทธเวช สืบแสง
Title ระบบครอบครัวและเครือญาติของชาวมลาบรี (ผีตองเหลือง)
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity มละบริ ยุมบรี มลาบรี มละบริ มลา มละ, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 11 Year 2527
Source ข่าวสารศูนย์วิจัยชาวเขา 8,4 (ต.ค-ธ.ค 27)
Abstract

เนื้อหาครอบคลุมถึงระบบครอบครัว ตลอดจนสังคมของมลาบรี หรือ ผีตองเหลือง ซึ่งปัจจุบันนี้มีอยู่ใน จ.น่าน เท่านั้น โดยได้ระบุถึงความเป็นมา การดำรงชีวิตป่า และการคบหากับชาวเขาเผ่าอื่นรวมทั้งคนไทยพื้นราบ ซึ่งแต่ก่อนผีตองเหลืองจะไม่ค่อยพบปะกับคนภายนอก แต่ปัจจุบันได้เข้ามาใช้แรงงานให้กับชาวเขาเผ่าอื่น และคนไทย เพื่อแลกเปลี่ยนกับอาหาร เครื่องใช้ ซึ่งเมื่อก่อนนี้ มลาบรี หรือผีตองเหลือง ดำรงชีวิตโดย หาของป่า ล่าสัตว์เท่านั้น

Focus

ไม่ระบุ

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

มลาบรี มาจากคำว่า " มรา " หมายถึง คน และคำว่า "บรี" หมายถึง ป่า เมื่อรวมกันจึงมีความหมายว่า "คนป่า" ( หน้า 3 ) คนไทยเรียกว่า "ผีตองเหลือง" ซึ่งเป็นชื่อที่มีลักษณะดูหมิ่นไม่ให้เกียรติ (หน้า 4) คนลาวเรียก มลาบรี ว่า "ข่าตองเหือง" ซึ่งเป็นคำที่ดูหมิ่นเหยียดหยาม เพราะคำว่า "ข่า" หมายถึง "ทาส" อันเป็นคำที่ลาวใช้เรียกชาวเขาใประเทศลาว เช่น ขมุ ถิ่น และเขม็ด แต่เวลาต่อมาลาวใช้คำว่า "ลาวเทิง" แทนคำว่า ข่า (หน้า 4) เย้า จะเรียกมลาบรี ว่า "กะตองลวง" ซึ่งไม่มีความหมายแต่อย่างไร สันนิษฐาน เย้า ยืมคำนี้มาจากภาษาลาว แต่เปลี่ยนเสียงเป็นแบบเย้า (หน้า 4) ม้งน้ำเงิน เรียกมลาบรี ว่า "มั้งกู่" ส่วนม้งขาว เรียกว่า "ม้ากู่" ซึ่งคำว่า "มั้ง" กับ "ม้า" ในภาษาแม้ว หมายถึง "คน" และคำว่า "กู่" หมายถึง "สิ่งที่อยู่ป่า" ดังนั้นเมื่อนำมารวมกัน คำว่า "มั้งกู่" หรือ "ม้ากู่" จึงหมายถึง "คนป่า" (หน้า 4) ถิ่นไปร๊ เรียก มลาบรี ว่า "คลำโย้" ซึ่งนำคำสองคำมารวมกันคือคำว่า "คลำ" หมายถึง คน กับ " โย้ " หมายถึง ป่า ( หน้า 4 ) ส่วน ขมุลื้อ ที่เป็นขมุ กลุ่มย่อย เรียก มลาบรีว่า "ผีป้า" หมายถึง " ผีป่า " ( หน้า 5 )

Language and Linguistic Affiliations

อยู่ในตระกูลภาษามอญ-เขมร ในสาขา ออสโตรเอเชีย ซึ่งเป็นตระกูลภาษาเดียวกันกับ ลัวะ ถิ่น และขมุ (หน้า 5) นอกจากนี้ มลาบรี ยังสามารถพูดภาษาไทยภาคเหนือ และภาษาม้ง ( หน้า 6 )

Study Period (Data Collection)

เก็บข้อมูลเขียนบทความ พ.ศ.2520-2527

History of the Group and Community

ไม่มีข้อมูล

Settlement Pattern

ในอดีตมลาบรีจะสร้างเพิงที่พักอยู่ในป่า ด้วยใบไม้ยังสด เมื่อใบไม้เหลือง ก็จะย้ายไปสร้างที่อยู่ใหม่ เพิงที่อยู่เก่าก็จะปล่อยทิ้งเอาไว้อย่างเดิม ในบางครั้ง หากมีบุคคลภายนอกเข้าใกล้ ก็จะหลบหนีไป โดยทิ้ง กองไฟ หรือ ของใช้เอาไว้ ( หน้า 4 )

Demography

การสำรวจประชากรของมลาบรี ใน อ.นาน้อย อ.สา จ.น่าน จากการศึกษาของสยามสมาคม เมื่อปี 2506 พบ มลาบรี 24 คน (หน้า 6) ปี 2523 ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา จ.น่าน กรมประชาสงเคราะห์ พบ มลาบรี 81 คน (หน้า 7) ส่วนการสำรวจของโครงการวิจัยชาติพันธุ์ทางโบราณคดี คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร เมื่อ ต.ค. 2525-มี.ค2526 พบว่าจำวนประชากรมลาบรี 138 คน ( หน้า 7 )

Economy

ดำรงชีวิตจากการหาของป่า ล่าสัตว์ กับรู้จักพืชป่าเป็นจำนวนมาก ( หน้า 8 ) และรู้ว่าพืชชนิดนั้นเกิดที่บริเวณใดและเวลาใด ในการบริโภคก็รู้จักประหยัดอาหารธรรมชาติ เช่นขุดมันก็เก็บ ไว้ส่วนหนึ่ง เพื่อให้เจริญเติบโตต่อไป ( หน้า 9 ) การล่าสัตว์จะใช้หอกล่าสัตว์ใหญ่ และใช้เสียมขุดรูหาสัตว์ขนาดเล็ก เช่น หนู ตุ่น ฯลฯ หาไข่นกบนต้นไม้เวลากลางคืน และหาปลา ปู กุ้ง ในแหล่งน้ำ ( หน้า 9 ) แรงงาน ทุกวันนี้มลาบรี ขายแรงงานให้คนภายนอก เช่น ชาวเขาเผ่าต่างๆ และคนไทย โดยจะทำงานรับจ้างแลกอาหารและเครื่องใช้สิ่งของ หรือเงิน ( หน้า 10 ) สิ่งของที่ผู้ว่าจ้างมักจะให้ตอบแทนมลาบรี เช่น ข้าวสาร เกลือ ตาล ยาสูบ เสื้อผ้า ผ้าห่ม ภาชนะหุงต้ม หวี กระจก ฯลฯ (หน้า 10) งานที่ทำส่วนใหญ่เช่น ตัดต้นไม้ กำจัดวัชพืช หลังเพาะปลูก เก็บผลผลิตไร่ ตีข้าว ขนข้าวเข้ายุ้ง ส่วนการเพาะปลูกนั้น มลาบรี สามารถปลูกข้าวกินเอง แต่ไม่ทำเพราะเชื่อว่าจะผิดผี (หน้า 11)

Social Organization

มลาบรี ค่อนข้างเก็บตัว ไม่ยอมพบปะคนภายนอก เมื่อมีคนเข้าใกล้ก็มักจะหลบหนี ปล่อยเพิงพักทิ้งไว้ ( หน้า 4 ) เป็นสังคมแบบหาของป่า-ล่าสัตว์ โดยมีลักษณะเหมือนสังคมมนุษย์ในยุคแรกๆ การดำเนินชีวิตจะอยู่แบบหาของป่า ล่าสัตว์ ( หน้า 8 ) แต่ทุกวันนี้ มลาบรีจะคบคนภายนอก โดยการขายแรงงาน ( หน้า 10 ) ลักษณะนิสัย ทำงานขยัน ซื่อสัตย์ รักษาสัญญา ตั้งใจทำงาน และอดทน ฉะนั้นจึงเป็นที่พอใจของผู้ว่าจ้าง ( หน้า 11 )

Political Organization

การย้ายที่อยู่ของมลาบรี ถูกจำกัดมากขึ้น เช่น ในช่วงที่มีการต่อสู้ระหว่าง รัฐบาลไทยกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ในบริเวณตอนเหนือของ จ.น่าน ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของมลาบรี มลาบรีไม่ได้ปรากฏตัวให้ใครเห็น ในบริเวณนั้น (หน้า 8)

Belief System

มลาบรีปลูกข้าวเป็นแต่ไม่ปลูกกิน เพราะเป็นการกระทำที่ไม่เคยทำ จะเป็นการผิดผี " ปะลุวอก" ตามภาษามลาบรี เพราะเป็นการปฏิบัติที่ทำให้วิถีชีวิตแบบเดิมเปลี่ยนแปลง ( หน้า 11 )

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

เมื่อล่าสัตว์ใหญ่จะใช้หอก และเวลาหาอาหาร ล่าสัตว์เล็กๆ เวลาขุดหาหนู อ้น ตุ่น จะใช้เสียม (หน้า 9)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

มลาบรี ติดต่อกับชาวเขาเผ่าอื่น เช่น แม้ว เย้า ถิ่น ขมุ เพื่อแลกเปลี่ยนของกินของใช้ โดย มลาบรีจะมีน้ำผึ้ง เทียนไข เครื่องจักสาน ต่างๆ เช่น เสื่อหวาย ตะกร้า ไปแลกข้าวสารและเศษเหล็กไปทำมีด เสียม หอก บางครั้งก็ไปขออาหารมากินโดยไม่ต้องแลกเปลี่ยน (หน้า 9) แต่เมื่อสังคมเปลี่ยนแปลง มลาบรีจะพึ่งพิงชาวเขาเผ่าอื่นและคนไทยโดยไปขายแรงงาน เพื่อแลกกับอาหาร เครื่องใช้ (หน้า 10 ) มลาบรีมีความขยันและซื่อสัตย์ นายจ้างจึงชอบ เพราะว่าขยัน อดทนในการทำงาน (หน้า 11) การจ้างแรงงาน คนไทยท้องถิ่นบางส่วน ได้ให้สิ่งของและสัตว์เลี้ยงแก่ มลาบรี เพื่อให้มลาบรีนำไปใช้ไปกินก่อน เพื่อให้มลาบรีกลับมาทำงาทดแทน บางครั้งนายจ้างก็จะใส่ร้ายนายจ้างฝ่ายตรงข้าม เพื่อที่จะให้มลาบรีกลัว และไม่กล้าไปขายแรง บางครั้งทำให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งกัน เพื่อแย่งแรงงานมลาบรี (หน้า 12 ) บางครั้งนายจ้างก็โกหกมลาบรี เพื่อไม่ให้ไปติดต่อคนอื่น เช่น บอกว่า เขาจะจับไปขัง หรือหากพูดมากก็จะถูกตัดลิ้น บางครั้งนายจ้างก็เอาเปรียบให้ทำงานหนัก หรือให้ทำงานนานๆ (หน้า 13) บางทีเจ้าของไร่ก็ล้อเล่นจนเลยเถิด เช่น ยิงปืนขู่ เพื่อหยอกล้อ หรือข่มขู่ เพื่อให้มลาบรีเชื่อฟัง (หน้า 13 )

Social Cultural and Identity Change

การขยายที่ทำกินบนภูเขาของชาวเขา และคนพื้นราบทำให้ที่อยู่อาศัยของมลาบรี ลดลง ( หน้า 7) ในช่วงที่เกิดการสู้รบของพรรคคอมมูนิสต์แห่งประเทศไทย กับ รัฐบาลไทย ใน จ.น่าน ทำให้ที่อยู่ของมลาบรีลดน้อยลง จะพบเห็นมลาบรีพื้นที่ ที่ไม่ค่อยมีการสู้รบ เช่น เขต อ.นาน้อย อ.สา และ อ.เมือง จ.น่าน ( หน้า 8)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst ภูมิชาย คชมิตร Date of Report 27 ก.ย. 2555
TAG มลาบรี มราบรี, ครอบครัว, เครือญาติ, น่าน, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง