สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject มลาบรี มราบรี,การจัดกลุ่มชาติพันธุ์,ผีตองเหลือง,น่าน
Author นิพัทธเวช สืบแสง
Title ปัญหาการจัดกลุ่มเชื้อชาติของผีตองเหลือง
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity มละบริ ยุมบรี มลาบรี มละบริ มลา มละ, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 11 Year 2524
Source ข่าวสารศูนย์วิจัยภูเขา 5,2 (2524)
Abstract

กล่าวถึงการจัดกลุ่มชาติพันธุ์ผีตองเหลือง หรือ มลาบรี ว่าอยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์ใด และมีชีวิตอยู่อย่างไร ตลอดจนได้เล่าความเป็นมาของผีตองเหลือง หลังจากที่ได้โยกย้ายไปอยู่ตามสถานที่ต่างๆในหลายจังหวัด ก่อนที่จะมาอาศัยอยู่ในหมู่บ้านอีกหลายแห่ง ในหลายอำเภอของจังหวัดน่านกระทั่งถึงปัจจุบัน

Focus

ไม่ระบุ

Theoretical Issues

ไม่ระบุ

Ethnic Group in the Focus

มลาบรี เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในไทย ซึ่งเรียกตนเองว่า "มราบรี" หมายถึง "คนป่า" ซึ่งมาจากคำว่า "มรา" หมายถึง คน และ "บรี" หมายถึงป่า (หน้า 2) สำหรับการจัดกลุ่มนั้นนักวิชาการ ได้มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เช่นจัดกลุ่มผีตองเหลืองว่า เป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิม (Primitive) หรือ มองโกลอยด์ดั้งเดิม (Proto-Mongoloids) ที่มีประชากรเป็นจำนวนมากมาก่อน และมีความเกี่ยวพันกับชาวจากุน (Jakun) ช่วงยุคต้นของมาเลเซียตอนใต้ (หน้า 4) บางแนวคิดจัดเป็นกลุ่มย่อยในกลุ่มภาษาปะหล่อง-ว้าเหมือนกับ ขมุ และเลม็ด บ้างก็จัดให้อยู่ในตระกูล มอญ-เขมรที่เป็นตระกูลที่อยู่ในกลุ่มออสโตรเอเชียติก (หน้า 4) นักวิชาการบางท่านได้จัดกลุ่มผีตองเหลือง อยู่ในกลุ่มภาษาลาวเหนือ อันเป็นกลุ่มหนึ่งในตระกูลภาษามอญ-เขมร (หน้า 4) ทั้งนี้ นักวิชาการได้ตั้งข้อสังเกต กลุ่มคนที่เรียกตนเองว่า "มราบรี" กับ " ยุมบรี" นี้เป็นกลุ่มที่ใกล้ชิดกันหรือเป็นกลุ่มเดียวกัน เพราะคนภายนอกเรียกว่า "ผีตองเหลือง" เหมือนกัน ยังมีการย้ายที่อยู่ และดำรงขีวิตคล้ายกันอีกด้วย ( หน้า 6 ) ตามหลักฐานแล้ว นักวิชาการยืนยันว่า กลุ่มชนเร่ร่อนหาของป่าล่าสัตว์ในภาคเหนือของไทย มีเพียงกลุ่มเดียวซึ่งเรียกตนเองว่า "มราบรี " (หน้า 8) ส่วนคนชาติพันธุ์แม้ว จะเรียก มลาบรี ว่า "ม้ากู่" (หน้า 8) หมายถึง "อยู่ในป่า" หรือ "ไม่เชื่อง" (หน้า 9 )

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาอยู่ในกลุ่มลาวเหนือที่อยู่ในตระกูลภาษามอญ-เขมร (หน้า 4) ภาษาคล้ายกับภาษาถิ่น 45 คำ ขมุ 35 คำ เขม็ด(เลม็ด) 20 คำ ละว้า(ลัวะ) 14 คำ มอญ 13 คำ (หน้า 5) ภาษาผีตองเหลือง เป็นส่วนหนึ่งของภาษาในสาขาออสโตเอเซี่ยน (หน้า 6)

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

ไม่มีข้อมูล

Settlement Pattern

จะสร้างที่อยู่ไม่ถาวร โดยจะทำเพิงติดพื้นดินมุงด้วยใบไม้สด เมื่อใบไม้เหลือง และแห้ง ก็จะย้ายไปอยู่ที่อื่น (หน้า 2)

Demography

ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา จ.น่าน ระบุว่า ปี 1980 ประชากรมลาบรีมีจำนวน 81 คน ( หน้า 7 )

Economy

ดำรงชีวิตโดยการล่าสัตว์ หาของป่า ไม่เพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์ (หน้า 2,6)

Social Organization

ดำรงชีวิตในป่า และไม่ค่อยพบปะกับคนนอกเผ่า เมื่อมีคนภายนอกเข้ามาพื้นที่อยู่อาศัย ก็จะระมัดระวังตัว หลบหนีหายเข้าป่าอย่างเร็วไว

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ไม่มีข้อมูล

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

นิทานความเป็นมาของมลาบรี เรื่องนี้ระบุว่า มลาบรีแต่เดิมเป็นคนเผ่าถิ่น อาศัยอยู่หมู่บ้านแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ริฝั่งแม่น้ำโขง ในประเทศลาว ได้มีพี่น้องเผ่าถิ่นชาย หญิง ที่เติบโตมาด้วยกัน แต่พอโตเป็นหนุ่มสาว ทั้งสองกลับมีความรักต่อกัน เหมือนกับคนรักทั่วไป เมื่อพ่อกับแม่รู้เรื่อง จึงได้ตักเตือนและห้ามลูกไม่ให้ทำอย่างนี้เพราะผิดประเพณี (หน้า 9) แต่ทั้งสองก็แอบมีความสัมพันธ์ต่อกันแบบชู้สาว จนกระทั่งพ่อ แม่ และคนในหมู่บ้านรู้ เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ ชาวบ้านจึงตัดสินปัญหาโดยนำเชือกมาขึงระหว่าง สองฝั่งแม่น้ำโขงและทำอู่ (เปล) 2 อัน จากนั้นก็ผูกอู่ทั้งสองอันที่ริมฝั่งแม่น้ำ แล้วก็ให้พี่น้องชายหญิงอยู่ในอู่ทั้งสองอัน (หน้า 10) ชาวบ้านจึงอธิษฐานว่า หากทั้ง 2 คนนี้จะได้ครองรักเป็นผัว เมียกันก็ให้อู่ลอยเข้าหากัน แต่ไม่ให้กลับมาในหมู่บ้าน แต่ถ้าหากทั้งสองจะไม่ได้เป็นผัว เมียกัน ก็ขอให้อู่จมน้ำ และให้ตาย เมื่อตัดเชือก แต่เหตุการณ์นี้ลงเอยว่า อู่ลอยเข้าหากัน และลอยเข้าหาฝั่ง ทั้งสองพี่น้องจึงขึ้นฝั่งหายไป แล้วอาศัยอยู่ในป่า กระทั่งมีลูกหลาน ต่อมาถูกเรียกว่า "ผีตองเหลือง" ( หน้า 10

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst ภูมิชาย คชมิตร Date of Report 17 ม.ค. 2556
TAG มลาบรี มราบรี, การจัดกลุ่มชาติพันธุ์, ผีตองเหลือง, น่าน, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง