สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลเวือะ, ปกาเกอะญอ(กะเหรี่ยง),จกอ, คานยอ,ความสัมพันธ์,เศรษฐกิจ,การเมือง,รัฐ,พื้นที่สูง,ของประเทศไทย
Author ศรีศักร วัลลิโภดม
Title ลัวะ ละว้า และกะเหรี่ยง : ของเผ่าในที่สูงกับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ - การเมืองกับรัฐในที่ราบ
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ละว้า ลัวะ ว้า, ปกาเกอะญอ, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 10 Year 2529
Source เมืองโบราณ ปี 12 ฉบับที่ 1, กรุงเทพฯ, หน้า 54-63.
Abstract

การเกิดรัฐ เกิดอาณาจักร มักเกิดขึ้นในพื้นที่ราบ เพราะมีความสามารถในการตั้งถิ่นฐานได้ถาวร เพาะปลูกได้ผลผลิตดี เลี้ยงคนได้มากกว่าที่สูง มีการติดต่อแลกเปลี่ยนและรับเทคโนโลยีสูงกว่า ทำให้พัฒนาเป็นรัฐได้ แต่ทั้งนี้การพัฒนาเป็นรัฐของกลุ่มคนที่ราบนั้น กลุ่มคนบนที่สูงก็มีความสำคัญ เพราะทั้งกลุ่มคนบนที่สูงและในที่ราบมีความสัมพันธ์ที่แลกเปลี่ยนสินค้าต่อกัน สินค้าจากกลุ่มคนบนที่สูงเป็นปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจของกลุ่มคนที่ราบเติบโตรุ่งเรือง จนถึงขั้นพัฒนาเป็นรัฐ เช่น ความสัมพันธ์ของ ลัวะ ละว้า กะเหรี่ยงกับรัฐในที่ราบ ลัวะ ละว้า และกะเหรี่ยงมีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรซึ่งเป็นที่ต้องการของกลุ่มที่ราบ ดังนั้นโบราณสถานต่าง ๆ จึงพบหลักฐานโบราณคดีที่บ่งบอกความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคนที่เชื่อมโยงกัน

Focus

เน้นการศึกษาทำความเข้าใจกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มที่อยู่ในที่สูงในอดีต ว่าเป็นพวกใดมีความเกี่ยวข้องทางเศรษฐกิจ - การเมือง กับรัฐในพื้นที่ราบอย่างไรบ้าง (หน้า 55)

Theoretical Issues

ผู้ศึกษาได้อธิบายให้เห็นว่าคนที่ราบและคนที่สูงมีการปฏิสังสรรค์กันเสมอ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง เพราะต่างฝ่ายต่างพึ่งพากัน พวกที่อยู่ในที่ราบต้องการสินค้าป่าจากคนที่สูง ความสัมพันธ์ที่ว่านี้ยังมีต่อเนื่องมาแม้ว่าได้มีการพัฒนาการเกิดเป็นรัฐของกลุ่มคนที่ราบ (หน้า 54)

Ethnic Group in the Focus

ศึกษาชนเผ่าลัวะหรือละว้า ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่เคยมีบทบาททางเศรษฐกิจ และการเมืองบนที่สูง โดยเฉพาะบริเวณเทือกเขาทางตะวันตกของที่ราบลุ่มเชียงใหม่ และกล่าวพาดพิงถึงกลุ่มชนกะเหรี่ยงที่มีหลักแหล่งอยู่ทางฟากตะวันตกของเทือกเขาถนนธงชัย - ตะนาวศรี ของพม่าตลอดลงมาตามลุ่มน้ำสาละวินจนถึงมะริด ตะนาวศรี ในเขตแดนของพวกมอญ ส่วนในเขตแดนประเทศไทยนั้นกระจายอยู่ตามเชิงเขาตั้งแต่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ลงมาจนถึงตากและกาญจนบุรี (หน้า 56, 60-61)

Language and Linguistic Affiliations

ชนเผ่าลัวะหรือละว้าเป็นกลุ่มชนที่พูดภาษาในตระกูลออสโตรเซียติก หรือที่เรียกว่าพวกมอญ-ขะแมร์ ส่วนกะเหรี่ยงนั้นไม่ได้ระบุตระกูลภาษาของกะเหรี่ยงไว้ (หน้า 61)

Study Period (Data Collection)

ศึกษาประวัติศาสตร์ย้อนไปถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยลานนา (หน้า 54)

History of the Group and Community

เขตแคว้นล้านนา เป็นดินแดนที่มีทั้งกลุ่มคนบนที่ราบและคนที่สูง พัฒนาการบ้านเมืองของบ้านเมืองในภูมิภาคนี้เป็นเรื่องราวของการสร้างสรรค์ระหว่างคนในที่ราบและคนบนที่สูง ในตำนานจามเทวีวงศ์ ชินกาลมาลีปกรณ์ ตำนานมูลกายหา ได้กล่าวถึงพัฒนาการของรัฐหริภุญชัย ซึ่งพัฒนาขึ้นบริเวณที่ราบลุ่มลำพูน-เชียงใหม่ เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 โดยเกิดจากกลุ่มชนที่มาจากเมืองละโว้ มีการสร้างเมืองหริภุญชัยหรือลำพูนขึ้นในที่ราบลุ่มระหว่างลำน้ำปิงกับลำน้ำแม่กวง พระนางจามเทวีเป็นกษัตริย์องค์แรกซึ่งมีการสู้รบกับชนเผ่าลัวะที่มีขุนวิลังคะเป็นหัวหน้าเผ่า เมื่อปราบปรามสำเร็จได้รวบรวมพวกลัวะมายังที่ราบโดยมุ่งหมายจะเปลี่ยนให้กลายเป็นคนที่ราบแต่ไม่สำเร็จ เมื่อบริเวณที่ราบลุ่มเชียงรายเกิดเป็นบ้านเมืองมีตำนานกล่าวว่ามีกลุ่มชนที่อยู่บนดอยตุง ได้เคลื่อนลงมาและสร้างบ้านแปงเมืองในที่ราบโดยมีลาวจกสถาปนาตัวเองเป็นกษัตริย์ปกครอง สืบทอดบ้านเมืองต่อมาหลายแห่ง ซึ่งเชื่อกันว่ากลุ่มคนบนที่สูงที่ลงมาเป็นกลุ่มลัวะ (หน้า 55)

Settlement Pattern

ลัวะเป็นกลุ่มชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บนทางผ่านของเส้นทางคมนาคมระหว่างบ้านเมืองในเขตลุ่มน้ำปิง ทางตะวันออกกับเมืองมอญ -พม่า ในลุ่มน้ำสาละวินทางตะวันตก ซึ่งอาจไม่ใช่กลุ่มชนที่อยู่บนที่สูงเสมอไป อาจมีถิ่นฐานตามที่ราบใกล้เชิงเขาก็เป็นได้ ส่วนกะเหรี่ยงมักตั้งหลักแหล่งอยู่ในเขตภูเขาหรือเขตลุ่มน้ำ เช่น พวกกะเหรี่ยงที่ตั้งถิ่นฐานในเขตลุ่มน้ำสาละวินในพม่า (หน้า 57, 58, 60, 61)

Demography

ไม่มีข้อมูล

Economy

ในช่วงเวลาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19-20 รัฐในบริเวณลุ่มน้ำใกล้เคียงกับพื้นที่ดังกล่าวมีการค้าขายกับต่างชาติโดยเฉพาะการค้ากับจีนรุ่งเรืองมาก เพราะมีสินค้าที่เป็นที่ต้องการมากมาย รวมทั้งสินค้าป่าจากบริเวณที่อยู่ของลัวะซึ่งตั้งอยู่บนเส้นทางการติดต่อระหว่างลานนาในลุ่มน้ำแม่ปิงกับพวกมอญ-พม่า ในสาละวินที่อุดมสมบูรณ์จึงมีการแลกเปลี่ยนและซื้อขายสินค้ากับทางลานนา โดยพวกลัวะแลกเปลี่ยนสินค้าป่ากับเครื่องสังคโลก เครื่องประดับ เครื่องใช้ต่าง ๆ จากลานนา ซึ่งพบในบริเวณแหล่งโบราณคดีที่เชื่อว่าเคยเป็นที่อาศัยของพวกลัวะหรือพวกละว้า พวกนี้ยังชีพด้วยการทำไร่เลื่อนลอยโดยการตัดและเผาป่าแล้วใช้ไม้เจาะรูบนผิวดิน หยอดเมล็ดพันธุ์ปล่อยให้โตตามธรรมชาติ (หน้า 57-58)

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

พวกลัวะมีแหล่งทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ทำให้กลุ่มคนที่ราบมีความต้องการสินค้าป่า ทำให้ทั้งสองกลุ่มมีการติดต่อแลกเปลี่ยนกัน โดยกลุ่มคนที่อยู่บนที่สูงมีความสำคัญต่อการพัฒนากลายเป็นรับเป็นอาณาจักรของกลุ่มคนที่ราบ อย่างเช่น ล้านนา เพราะพวกลัวะเป็นแหล่งป้อนสินค้าป่าให้แก่ลานนา เพื่อขายแก่ต่างชาติอย่างจีน บ้านเมืองจึงเติบโต นอกจากการเมืองภายนอกที่พวกลัวะเกี่ยวข้องด้วยนั้น การเมืองภายในของกลุ่มลัวะก็มีการรวมกลุ่มเป็นเผ่าใหญ่ ๆ หลายเผ่า ที่มีหัวหน้าเผ่าปกครอง แต่ละเผ่าจะมีอาณาบริเวณของตนไม่รุกล้ำซึ่งกันและกัน ส่วนกะเหรี่ยงนั้นมีความสัมพันธ์ทางการเมืองโดยการช่วยสอดแนมให้การฝ่ายไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (หน้า 60)

Belief System

ลัวะมีศาสนาดั้งเดิม ต่อมาลัวะหันไปนับถือศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู ซึ่งพิจารณาได้จากประเพณีการฝังศพครั้งที่สองหรือประเพณีการฝังศพ ที่เป็นอิทธิพลของศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู ส่วนกะเหรี่ยงนั้นมีความเชื่อเรื่องผี และมีเวทย์มนต์คาถา ต่อมาอาจมีการรับอิทธิพลจากศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู เช่นเดียวกับลัวะ ทำให้พบประเพณีที่เกี่ยวกับการฝังศพ (หน้า 59-61)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

นิยายศักดิ์สิทธิ์ของลัวะเล่ากันมาว่าบรรพบุรุษของพวกตนมีขุนวิลังคะเป็นหัวหน้า และเป็นกลุ่มชนที่มีความรุ่งเรืองมากในสมัยโบราณ (หน้า 61)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ลัวะแบ่งอย่างคร่าวๆ เป็น 2 กลุ่มใหญ่ตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ กลุ่มที่ตั้งหลักแหล่งอยู่ในที่สูงในเขตเชียงตุงของพม่า เลยเข้าไปในเขตยูนนาน ประเทศจีน อีกกลุ่มหนึ่งทางใต้ลงมาตามที่สูงในเทือกเขาถนนธงชัย - ตะนาวศรี (หน้า 61)

Social Cultural and Identity Change

การติดต่อแลกเปลี่ยนระหว่างคนที่ราบกับคนที่สูง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น ลานนาพยายามเผยแพร่พุทธศาสนา และพยายามจะมีอำนาจการปกครองในกลุ่มลัวะ ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางศาสนาในกลุ่มคนที่สูง ที่มีการรับเอาศาสนาพุทธและศาสนาฮินดูเข้าไปยึดถือปฏิบัติ เช่น พบได้ในประเพณีการฝังศพที่พบหลักฐานเครื่องสังคโลก ที่กลุ่มบนที่สูงไม่สามารถผลิตเองได้ แต่ได้จากการติดต่อกับคนที่ราบ (หน้า 57)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst อินทิรา วิทยสมบูรณ์ Date of Report 06 ม.ค. 2566
TAG ลเวือะ, ปกาเกอะญอ(กะเหรี่ยง), จกอ, คานยอ, ความสัมพันธ์, เศรษฐกิจ, การเมือง, รัฐ, พื้นที่สูง, ของประเทศไทย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง