สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ(กะเหรี่ยง),การท่องเที่ยวแบบเดินป่า,เศรษฐกิจ,สังคม,การเปลี่ยนแปลง,การปรับตัว,ภาคเหนือ
Author Bartsch, Henry
Title The Impact of Trekking Tourism in a Changing Society: A Karen Village in Northern Thailand
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity ปกาเกอะญอ, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 20 Year 2543
Source Jean Michaud (ed), Turbulent Times and Enduring People.Richmond: Curzon Press
Abstract

ผู้เขียนสรุปว่าการท่องเที่ยวในบ้านใจดีซึ่งเป็นหมู่บ้านของกะเหรี่ยง เป็นสิ่งเพิ่มเติมจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในครัวเรือน มันไม่ใช่สิ่งที่จะมาแทนที่กิจกรรมและการเกษตร ซึ่งยังได้รับความสำคัญจากชาวบ้าน ชาวบ้านยังคงให้ความสำคัญกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ในบ้านใจดีมีเพียงไม่กี่ครัวเรือนที่ได้รับรายได้เป็นกอบเป็นกำจากกิจกรรมการท่องเที่ยวประเภทนี้ ในความเป็นจริงแล้วชาวบ้านในบ้านใจดีนี้ไม่ได้ต้องการเลิกการดำเนินชีวิตและการผลิตแบบดั้งเดิม พวกเขายังคงต้องการจะดำรงการปลูกพืชแบบหมุนเวียนอยู่ เพราะเป็นสิ่งที่ใกล้เคียงกับศาสนาและความเชื่อเรื่องจิตวิญญาณที่พวกเขานับถือ การท่องเที่ยวนั้นไม่ได้เป็นทางเดียวที่จะเพิ่มรายได้ มันยังก่อให้เกิดผลกระทบที่ไม่ต้องการ คือ มลพิษที่เกิดจากการทิ้งสิ่งปฏิกูลโดยนักท่องเที่ยว มลพิษทางเสียงในตอนกลางคืน การรุกล้ำบรรทัดฐานและค่านิยมของชาวบ้าน การท่องเที่ยวนำชาวบ้านไปติดต่อกับตลาดเศรษฐกิจซึ่งมีความสัมพันธ์อย่างยิ่งกับอำนาจและการพึ่งพาผู้อื่น การท่องเที่ยวแบบเดินป่านี้ก่อตั้งและควบคุมโดยบริษัทเดินป่าที่ดำเนินการในเชียงใหม่และคนไทยในพื้นที่รอบบ้านใจดี ซึ่งชาวบ้านคือผู้ที่มีอำนาจน้อยที่สุด กำไรที่ได้จากการท่องเที่ยวแบบเดินป่านี้จะตกอยู่กับบริษัทและคนกลางชาวไทยเป็นส่วนใหญ่ และมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่ไปสู่ชาวบ้าน ชาวบ้านพยายามที่จะรักษาสถานะของพวกเขาให้มีที่สุดเท่าที่จะทำได้เพราะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวนั้นมีความหมายกับชาวบ้าน เป็นการยากสำหรับชาวบ้านที่จะเปลี่ยนสถานการณ์ของอำนาจที่ไม่เท่ากันและต้องพึ่งพาผู้อื่น อีกทางหนึ่งเป็นการยากที่พวกเขาจะยกเลิกธุรกิจการท่องเที่ยวเพราะพวกเขาต้องการรายได้ สิ่งนี้เองที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงจากการที่พวกเขานั้นเป็นผู้ที่ถูกครอบงำขณะนี้ ในการศึกษาครั้งนี้ การท่องเที่ยวแบบเดินป่าพิสูจน์ว่าเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ปัจจัยอื่นๆ ได้รับการเปลี่ยนแปลงในบ้านใจดี การเสื่อมลงของสิ่งแวดล้อมและนโยบายของรัฐนั้นมีความเชื่อมโยงกับนักท่องเที่ยว การที่สิ่งแวดล้อมเสื่อมกับนโยบายของรัฐบาลในเรื่องการห้ามล่าสัตว์และถางป่านั้นเป็นการยากสำหรับชาวบ้านใจดีที่จะดำรงชีวิตแบบดั้งเดิม สิ่งที่ชดเชยคือ ชาวบ้านจะต้องหาวิธีที่จะก่อให้เกิดรายได้ทางอื่น นั่นก็คือการท่องเที่ยวแบบเดินป่า สิ่งนี้จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในชุมชน การพัฒนาของการท่องเที่ยวในบ้านใจดีนั้นได้ถูกรวมกับเศรษฐกิจแห่งชาติ สิ่งนี้เองที่ทำให้พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย (210-212)

Focus

บทบาทของการท่องเที่ยวที่มีต่อระบบเศรษฐกิจของบ้านใจดีซึ่งเป็นหมู่บ้านของกะเหรี่ยง

Theoretical Issues

กะเหรี่ยงบ้านใจดีได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากการที่เป็นส่วนหนึ่งของรัฐไทย ซึ่งมีนโยบายและออกกฎหมายควบคุมการใช้พื้นที่ป่า ทำให้พวกเขาเผชิญหน้ากับการขาดแคลนทรัพยากร และไม่อาจจะดำรงชีพด้วยระบบการเกษตรแบบเดิมแค่อย่างเดียวได้ ต้องหารายได้จากการร่วมกิจกรรมการท่องเที่ยวแบบเดินป่าของบริษัทท่องเที่ยว ซึ่งทำให้นักท่องเที่ยวเข้ามาในหมู่บ้านมากขึ้น มีผลต่อหมู่บ้านทั้งในทางบวกและทางลบ ในทางดีก็เป็นการเพิ่มรายได้ให้มากบ้างน้อยบ้างตามลักษณะการเข้าร่วม แต่ในทางลบก็คือทำให้ความสัมพันธ์ทางสังคมในหมู่บ้านเปลี่ยนแปลงไป จากที่เคยให้ความช่วยเหลือแลกเปลี่ยนกันมาเป็นความสัมพันธ์ที่เป็นผลประโยชน์ทางธุรกิจมากขึ้น และทำให้มีคนติดฝิ่นมากขึ้น และสภาพแวดล้อมเริ่มถูกทำลายไป

Ethnic Group in the Focus

กะเหรี่ยงที่บ้านใจดี อยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทย (หน้า 195)

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ระหว่างกลางเดือนพฤษภาคม-ปลายเดือนตุลาคมปี ค.ศ.1996 แต่ผู้วิจัยใช้เวลาเพียง 6 สัปดาห์ในการเข้าไปศึกษาเก็บข้อมูลการวิจัยในบ้านใจดี (หน้า 195)

History of the Group and Community

เมื่อประมาณ 30 ปีก่อน กะเหรี่ยงได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ในบ้านใจดีแห่งนี้ แต่งานวิจัยนี้ไม่ได้กล่าวถึงว่ากะเหรี่ยงกลุ่มนี้มีต้นกำเนิดมาจากที่ใด (หน้า 196)

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

ประชากร 212 คนมีครัวเรือนกว่า 41 ครัวเรือน (หน้า 197)

Economy

แต่เดิมนั้นกะเหรี่ยงดำรงชีพด้วยการล่าสัตว์ ถางป่าเพื่อทำไร่เลื่อนลอย เลี้ยงสัตว์ ค้าแรงงานและนำสินค้าที่หาได้ไปแลกเปลี่ยนกับหมู่บ้านอื่น แต่หลังจากการลดลงของทรัพยากรและรัฐบาลได้ออกกฎหมายไม่อนุญาตให้ถางป่า เผาป่า และชาวบ้านไม่มีที่ดินที่อุดมสมบูรณ์ในการเพาะปลูก เมื่อชาวบ้านขาดแคลนทรัพยากรก็เป็นการยากที่จะทำให้พวกเขาดำรงชีวิตด้วยวิธีดั้งเดิมได้ วิธีแก้ปัญหาทางเดียวก็คือ การมองหารายได้จากทางอื่น ดังนั้น การท่องเที่ยวจึงได้รับความสนใจจากชาวบ้านในหมู่บ้านนี้ การท่องเที่ยวประเภทนี้คือ การท่องเที่ยวแบบเดินป่า (หน้า 198) การท่องเที่ยวประเภทนี้จะแบ่งนักท่องเที่ยวเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6-8 คน หลังจากที่บริษัททัวร์นำนักท่องเที่ยวมาส่ง นักท่องเที่ยวก็จะเดินเท้าไปกับมัคคุเทศน์เพื่อจะไปเยี่ยมชมหมู่บ้านชาวภูเขา และนักท่องเที่ยวอาจค้างแรมเป็นเวลา 1 คืน ใน 2-3 วันแรกนั้นนักท่องเที่ยวจะถูกนำไปชมทัศนียภาพและน้ำตกที่บริเวณบ้านใจดี นอกจากนั้นนักท่องเที่ยวได้ล่องแพและขี่ช้างด้วย บทบาทของกะเหรี่ยงในบ้านใจดีที่มีส่วนในกิจกรรมการท่องเที่ยวคือ การจัดหาที่พักให้นักท่องเที่ยวทั้งในหมู่บ้านและบริเวณน้ำตกใกล้เคียง แต่การจัดที่พักในน้ำตกนั้นจะเป็นการร่วมมือกันบ้านละ 4 ครัวเรือน เพราะพวกเขาไม่สามารถสร้างครัวเรือนละ 1 บ้านได้เพราะไม่มีงบประมาณเพียงพอ และลดปัญหาการแข่งขันกันเองในหมู่บ้าน โดยทั้ง 4 ครัวเรือนจะต้องแบ่งกำไรที่ได้ด้วยกัน จึงเป็นเหตุให้มีรายได้น้อยกว่าผู้ที่จัดหาที่พักให้นักท่องเที่ยวในหมู่บ้าน (หน้า 199-200) นอกจากนี้ชาวบ้านยังมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเศรษฐกิจประเภทนี้อีกอย่างหนึ่งคือการช่วยมัคคุเทศน์ขนของ และนำสินค้าหัตถกรรมที่ตนทำไปขายกับนักท่องเที่ยว จากข้อมูลเบื้องต้นจะเห็นว่าบริษัททัวร์นั้นดำเนินการโดยบุคคลภายนอก ได้แก่ บริษัททั้งในประเทศไทยและบริษัทต่างชาติที่เข้ามามีบทบาทในกิจกรรมการท่องเที่ยวแบบเดินป่าในบ้านใจดี และเป็นผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากกิจกรรมนี้มากที่สุด อาจกล่าวได้ว่า บริษัททัวร์ต่าง ๆ ได้เข้ามาหาผลประโยชน์ในบ้านใจดีและเป็นผู้ได้รับประโยชน์มากที่สุดในกิจกรรมการท่องเที่ยวนี้ สาเหตุที่เป็นอย่างนี้เพราะชาวบ้านในบ้านใจดีไม่สามารถที่จะลงทุนได้ ครัวเรือนที่จัดหาที่พักให้นักท่องเที่ยวนั้นทำรายได้ให้กับการท่องเที่ยวแบบเดินป่าได้สูงสุด ส่วนครัวเรือนที่ขายสินค้าหัตถกรรมนั้นทำรายได้น้อยมากที่สุด หลายครัวเรือนได้หยุดการขายผลิตภัณฑ์แล้ว เพราะว่าไม่สร้างรายได้ให้กับพวกเขา (หน้า 202) การวิเคราะห์กิจกรรมทางเศรษฐกิจในรอบปี (ตารางที่ 1 หน้า 203) ได้ชี้ให้เห็นว่าชาวบ้านส่วนใหญ่ได้นำเงินที่ได้จากการท่องเที่ยวนี้ไปใช้ในเรื่องของการซื้ออาหาร เสื้อผ้า ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต ส่วนสิ่งของที่เป็นสินค้าราคาสูงเช่น ที่อยู่อาศัยใหม่ ที่นาหรือ รถมอเตอร์ไซด์ ซึ่งจะถูกซื้อโดยชาวบ้านที่มีรายได้จากการจัดหาที่พักให้กับนักท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม การท่องเที่ยวนั้นไม่สามารถที่จะทดแทนกิจกรรมเศรษฐกิจดั้งเดิมของพวกชาวบ้านในบ้านใจดี โดยเฉพาะการเกษตรกรรมซึ่งเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญของหมู่บ้าน อย่างไรก็ตาม การท่องเที่ยวในขณะนี้เป็นส่วนสำคัญของรายได้ในครัวเรือน ซึ่งสามารถทำให้พวกเขาได้นำรายได้ไปซื้อของที่จำเป็นสำหรับสุขภาพและผู้วิจัยได้พบว่า เงินมีส่วนสำคัญกับชาวบ้านที่ไม่สามารถปลูกพีชได้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากนโยบายของรัฐบาลที่ห้ามถางและเผาป่าเมื่อ 10 ปีก่อน (หน้า 203) รายได้ที่ชาวบ้านได้รับไม่แน่นอนเพราะกิจกรรมนี้ขึ้นอยู่กับฤดูกาลการท่องเที่ยว

Social Organization

แต่เดิมนั้นกะเหรี่ยงจะมีความเป็นปึกแผ่นกันอย่างเหนียวแน่นในหมู่บ้านที่อยู่อาศัย และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ก็สามารถยืมและแบ่งปันกันได้ในหมู่บ้าน แต่นับตั้งแต่การเข้ามาของอิทธิพลของธุรกิจการท่องเที่ยว ธรรมเนียมปฏิบัตินี้ได้หายไปจากบ้านใจดี ในอดีตชาวบ้านจะคิดราคาของต่าง ๆ กับชาวบ้านในหมู่บ้านเดียวกันราคาถูกกว่าคนไทยหรือนักท่องเที่ยว แต่ปัจจุบันนี้ เวลาชาวบ้านในหมู่บ้านเดียวกันไปซื้อของก็จะถูกคิดในราคาเดียวกันกับนักท่องเที่ยว ถ้าเปรียบเทียบกับเมื่อก่อนนั้นจะคิดเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น (หน้า 204 -205) ในการวิจัยนี้ได้กล่าวถึงบทบาทของผู้หญิงกะเหรี่ยงในหมู่บ้านใจดีว่า ผู้หญิงที่อยู่ในแต่ละครัวเรือนนั้นจะมีหน้าที่ดูแลนักท่องเที่ยวและงานที่พวกเธอจะต้องทำคืองานบ้านด้วย ตัวอย่างเช่น เมื่อมีธุระสำคัญที่จะต้องทำในนา เธอจะดูแลนักท่องเที่ยวและรอจนกระทั่งพวกเขาออกจากบ้านก่อน แล้วเธอจึงไปทำงานที่นาของตนเองต่อ (หน้า 202)

Political Organization

ไม่มีข้อมูลชัดเจน นอกจากกล่าวว่าหมู่บ้านใจดีอยู่ภายใต้อำนาจรัฐไทย

Belief System

ถึงแม้ว่าจะมีพื้นฐานแบบคาทอลิกโปรแตสแตนท์ แต่กะเหรี่ยงในหมู่บ้านนี้ยังคงมีความเชื่อเรื่องวิญญาณ ผีสางเทวดา เหมือนกับกะเหรี่ยงในบริเวณที่ราบสูงในหลายพื้นที่ ความเชื่อเรื่องการนับถือผีของกะเหรี่ยง มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและการทำการเกษตรของกะเหรี่ยงเป็นอย่างมาก (หน้า 196)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

กะเหรี่ยงที่หมู่บ้านใจดีนี้มีการสานตะกร้าไว้ใช้เอง และมีการทอผ้าและกระเป๋าไว้ในครัวเรือนด้วย ในขณะเดียวกันก็ขายสินค้าหัตถกรรมให้กับนักท่องเที่ยวด้วยสินค้านั้น ได้แก่ โสร่ง กระเป๋า เสื้อ เป็นต้น (หน้า 196, 199)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

กิจกรรมการท่องเที่ยวแบบเดินป่านั้นทำให้กะเหรี่ยงมีการติดต่อกับบุคคลภายนอก ได้แก่ คนไทยและชาวต่างชาติ ที่เข้ามามีส่วนในกิจกรรมประเภทนี้ นอกจากนี้ ชาวบ้านใจดียังมีการติดต่อกับกะเหรี่ยงในหมู่บ้านไทย คือ บ้านสยาเพื่อไปหางานทำ งานที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว จากบ้านใจดีพวกเขาต้องเดินราว 1 ชั่วโมงครึ่งไปยังบ้านสยา จากที่นั่นพวกเขาต้องคอยรถบรรทุกหรือรถบัสที่จะนำพวกเขาไปยังสถานที่ที่มีกิจกิรรมการท่องเที่ยวเกิดขึ้น (หน้า 206-207)

Social Cultural and Identity Change

การที่อิทธิพลของการท่องเที่ยวเข้ามาในบ้านใจดีนั้นทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในหมู่บ้านลดน้อยลง ในอดีตกะเหรี่ยงในบ้านใจดีจะมีความเป็นปึกแผ่นอย่างหนาแน่น แต่หลังจากการเข้ามาของธุรกิจการท่องเที่ยวทำให้ความสัมพันธ์ในหมู่บ้านเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเห็นได้จากในอดีตสมาชิกในหมู่บ้านจะซื้อสินค้าที่จำหน่ายโดยสมาชิกในหมู่บ้านเดียวกันเพียงครึ่งราคาเมื่อเทียบกับปัจจุบันนี้จะขายในราคาเดียวกับนักท่องเที่ยว นอกจากนี้การเสื่อมลงของสิ่งแวดล้อมและนโยบายของรัฐที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของชาวบ้านพวกเขาไม่มีรายได้ แต่ทรัพยากรที่พวกเขามีอยู่ซึ่งก็คืออัตลักษณ์ของพวกเขาคือการท่องเที่ยวแบบเดินป่า ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่พวกเขาสามารถนำมาหารายได้กับสมาชิกในหมู่บ้าน โดยการเสนอความเป็นอัตลักษณ์ของพวกเขาให้กับนักท่องเที่ยวที่ต้องการเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวกะเหรี่ยงและชมทัศนียภาพรอบๆ หมู่บ้าน และการเข้ามาของนักท่องเที่ยวก็ได้สร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน ในทางกลับกันการเข้ามาของนักท่องเที่ยวก็ส่งผลเสียให้กับชาวบ้านเช่นเดียวกัน เช่นการเพิ่มจำนวนของผู้ติดฝิ่นในหมู่บ้าน ไม่เคารพยำเกรงบรรทัดฐานทางสังคมและประเพณีดั้งเดิมของกะเหรี่ยง

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ระหว่างการท่องเที่ยวแบบเดินป่ามีกิจกรรมที่รวมอยู่ในการท่องเที่ยวประเภทนี้คือ การแสดงการสูบฝิ่น นักท่องเที่ยวสามารถเรียนรู้การสูบฝิ่นจากกิจกรรมนี้ แต่สำหรับนักท่องเที่ยวนั้นถือเป็นการทดลองครั้งหนึ่งในชีวิต แต่สำหรับกะเหรี่ยงในหมู่บ้านนั้นต้องแสดงกิจกรรมนี้ให้นักท่องเที่ยวได้ชมติดต่อกันระยะหนึ่ง สิ่งนี้เป็นสาเหตุให้ชาวบ้านติดฝิ่น แต่เมื่อไม่นานมานี้ได้มีการเลิกกิจกรรมชนิดนี้ไปแล้วและผู้เขียนพบว่ายังมียาเสพติดอยู่ให้เห็นในหมู่บ้าน บางครั้งเพราะการนำเข้ามาของมัคคุเทศน์หรือนักท่องเที่ยวนั่นเอง (หน้า 204)

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst ศิริอร อารมย์ดี Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ(กะเหรี่ยง), การท่องเที่ยวแบบเดินป่า, เศรษฐกิจ, สังคม, การเปลี่ยนแปลง, การปรับตัว, ภาคเหนือ, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง