สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject กะเหรี่ยง,ประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐาน,ยุคแรก,เขตที่ราบสูง,เชียงใหม่
Author Renard, Ronald D.
Title On the Possibility of the Early Karen settlement in the Chiang Mai Valley
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity โพล่ง โผล่ง โผล่ว ซู กะเหรี่ยง, ปกาเกอะญอ, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 24 Year 2545
Source http://coe.asafas.kyoto-u.ac.jp/news/Inter-Ethnic%20Relations2002/(6)Ronald.pdf
Abstract

การรวบรวมข้อมูลในการศึกษาการตั้งถิ่นฐานของกะเหรี่ยงยุคแรกในเขตที่ราบสูงในเชียงใหม่จากหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์ งานวิจัยของนักวิจัยท่านอื่นมาประมวลภาพการตั้งถิ่นฐานของกะเหรี่ยงประวัติศาสตร์

Focus

นำเสนอข้อมูลใหม่ทางประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานของกะเหรี่ยงยุคแรก ๆ ในเขตที่ราบสูงเชียงใหม่ โดยวิเคราะห์จากหลักฐานทางบันทึกประวัติศาสตร์ต่าง ๆ และงานวิจัยอื่น ๆ

Theoretical Issues

ไม่มีข้อเสนอทางทฤษฎี ใช้กรอบการรวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์มาประมวลและวิเคราะห์และนำเสนอ

Ethnic Group in the Focus

กะเหรี่ยง หรือยาง

Language and Linguistic Affiliations

ภาษากะเหรี่ยงผู้ศึกษาเห็นว่าเป็นภาษาที่มีมาก่อนพม่าและภาษาไต ในขณะที่นักวิชาการบางท่านจัดให้ภาษากะเหรี่ยงอยู่ในตระกูลทิเบต-พม่า (Tibeto-Burman) หรือ ตระกูลภาษาไต (Tai) (หน้า 60)

Study Period (Data Collection)

ไม่ได้ระบุว่าทำการศึกษาในปีไหน แต่เน้นการศึกษาประวัติศาสตร์จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่พบว่ายางอยู่ในเชียงใหม่จากปี ค.ศ. 1296 ถึง ปี ค.ศ.1700 ที่ผ่านมา (หน้า 60)

History of the Group and Community

หลักฐานการบันทึกของอาณาจักรล้านนา กล่าวถึงคนที่ราบสูงน้อยมาก และที่ปรากฏอยู่ก็มีเพียงลั๊วะ (Lua) และข่า (Kha) ซึ่งถูกมองว่าเป็นชาวป่า ชาว "ยาง" ก็น่าจะรวมอยู่ในกลุ่มเดียวกัน (หน้า 62) ในขณะเดียวกันคนกลุ่มนี้จะอยู่บนที่ราบสูงที่มีความสูงมากกว่า 100 เมตรขึ้นไป กะเหรี่ยงน่าจะกระจายออกไปทางใต้ในบริเวณจังหวัดตากและทางเหนือในบริเวณจังหวัดเชียงราย (หน้า 63) ซึ่งทั้งกะเหรี่ยงและคนไทยทางเหนือมองว่าบริเวณดังกล่าวเป็นของกลุ่ม ลั๊วะ (หน้า 63) จากการศึกษาทางประวัติศาสตร์และการรวบรวมข้อมูลการศึกษา ต่างทำให้ได้ภาพของการตั้งถิ่นฐานก่อนเข้าอยู่ที่ลุ่มแม่น้ำปิง ดังนี้ 1) กะเหรี่ยงถูกอพยพเข้ามาเชียงใหม่จากเขต Zwei Kabin หลังจากสงครามเสร็จสิ้นในช่วง ค.ศ. 1804 และพระยากาวิละ พยายาม "เก็บข้าใส่เมือง" (หน้า 66) 2) มาจากแม่แจ่ม ซึ่งมีวัดเก่าแก่ชื่อวัดยางหลวง ตามคำบอกเล่าของกะเหรี่ยงและคนไทยภาคเหนือที่อาศัยอยู่บริเวณดังกล่าวต่างก็บอกว่าคนยางเป็นคนสร้างในช่วงของพระยากาวิละ ประมาณปี ค.ศ. 1800 (หน้า 66-67) 3) มาจากแม่สะเรียง โดยย้ายมาจากฝั่งแม่น้ำ "Li" และถูกเรียกว่า "Yang phiang" (หรือ Biang) หมายความว่า กะเหรี่ยงที่อยู่ในที่ราบ (หน้า 69) 4) การอพยพเข้ามาของกะเหรี่ยงอีกกลุ่ม ที่มีจำนวนจำกัดเกิดขึ้นในปี ค.ศ.1804 ที่มีการส่งบรรณาการ เช่น ช้าง และหญิงกะเหรี่ยงให้กับเจ้าเมืองเชียงใหม่ ซึ่งก็น่าจะเป็นไปได้ว่ากลุ่มกะเหรี่ยง หมู่บ้านหนองเต่าน่าจะอยู่มาก่อนหน้านี้ (หน้า 70) ในขณะเดียวกัน จากคำบอกเล่าของผู้นำกลุ่มกะเหรี่ยงเล่าว่า แม้ว่ากะเหรี่ยงที่มาจากแม่แจ่มเองก็อพยพมาจากเชียงใหม่อีกที และบางครั้ง "Yang Biang" ก็เป็นคำที่หมายถึงกะเหรี่ยงซึ่งพบในฝั่งตะวันออกแม่น้ำปิง ในลำพูน และฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิงในเชียงใหม่ (หน้า 71-72) ส่วนคำว่ายางในบันทึกประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นตำนานพระธาตุหริภุญไชย กล่าวถึงกะเหรี่ยง (Yang Biang) ตรงกับคำบอกเล่าของผู้นำกะเหรี่ยงที่หมู่บ้าน Nong tao ได้กล่าวมาข้างต้น อย่างไรก็ดี คำว่า Yang ในบันทึกประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ก็ยังต้องศึกษาอยู่ว่ามีความหมายไปในลักษณะใด เช่น คน, ต้นไม้,ป่า เป็นต้น (หน้า 72-79) นอกจากนี้ มีหลักฐานการจารึกบนแผ่นเงิน มีความเก่าแก่ประมาณปี ค.ศ. 1567 ซึ่งเป็นโองการของเจ้านายวิสุทธิ เกี่ยวกับการยกเว้นพวก "ข้าวัด" (ในบริเวณจอมทอง) จากการเสียภาษี และปรากฏคำว่า "ยาง" ในการยกเว้นด้วย

Settlement Pattern

กะเหรี่ยงจะอาศัยตามลุ่มแม่น้ำ และเขตที่ราบสูงที่มีเขตพื้นที่ราบอยู่บ้าง และบางครั้งก็พบว่าเคยอยู่ที่ราบมาก่อน (หน้า 66,69)

Demography

ไม่มีข้อมูล

Economy

ไม่มีข้อมูล

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ไม่ได้ระบุชัดเจน แต่มีการกล่าวถึงการส่งคณะผู้แทนอาวุโสเพื่อขออนุญาตจากเชียงใหม่ หรือ เจ้า "อินทวิชยานนท์" ในทศวรรษของปี 1870 เพื่อขออยู่ "ผาหม่อน" แหล่งต้นสายแม่น้ำ Mae Klang บนดอยอินทนนท์โดยจ่ายไป 500 รูปี (rupees) เท่ากับมูลค่าของช้างก่อนที่จะได้รับอนุญาต (หน้า 68) หรือการส่งบรรณาการ เช่น ช้าง และหญิงกะเหรี่ยงให้กับเมืองเชียงใหม่ (หน้า 70)

Belief System

ไม่ได้ระบุชัดเจน Charles Keyes กล่าวว่าลั้วะโบราณนั้นมีความสำคัญ และมีอิทธิพลในบทบาทเชิงพิธีกรรมของล้านนา (หน้า 63) นอกจากนี้มีการกล่าวถึง ความกลัวต่อชนเผ่าที่อยู่ในป่าในบันทึกประวัติศาสตร์ล้านนา ว่ามีความใกล้ชิดกับจิตวิญญาณ ไทกลัวในเรื่องของเวทมนตร์ของชาวป่าว่าสามารถทำให้ถึงแก่ความตายได้ นอกจากนี้บทความยังได้ระบุความเชื่อตามศาสนาพุทธของกลุ่มชนชาติอื่นที่ไม่ใช่กะเหรี่ยง (หน้า 62)

Education and Socialization

ไม่ได้ระบุชัดเจน แต่มีการกล่าวถึงการส่งผ่านประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเผ่าผ่านรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง แต่ก็ยังมีกะเหรี่ยงในเชียงใหม่และคนไทยภาคเหนือบางกลุ่มที่ไม่บอกเล่าความประวัติศาสตร์ความเป็นมาของตนได้ และมีผู้นำกลุ่มเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่มีความสนใจในวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของกลุ่ม (หน้า 71)

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่ได้ระบุชัดเจน ถึงข้อมูลทางด้านศิลปะของกะเหรี่ยง แต่มีการระบุถึงการค้นพบที่ฝังศพพร้อมสิ่งของมากมายในทางตอนเหนือของตากและทางตอนใต้ของเชียงใหม่ (หน้า 64)

Folklore

กล่าวถึงตำนานพระธาตุหริภุญไชย ในช่วงปี ค.ศ.1351 หรือ 1352 ที่กษัตริย์ "Kuna" แห่งเชียงใหม่ผู้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้ส่งช้างมงคลไปทุกแห่ง กษัตริย์รุ่นก่อน ได้เผยแพร่พุทธศาสนาเพื่อพระพุทธ, พระธรรม, พระสงฆ์ ช้างเดินทางไปโดยทั่ว ผ่านทางตะวันตกของแม่ระมิงค์ (แม่ปิง) ถึงป่าซางและขึ้นเขาไปดอย "Lakha" จนถึงหมู่บ้าน Yang Piang ซึ่งเป็น กระเหรี่ยงเดิมและลงเขามาเวียงกุมกาม (หน้า 72-74)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

กะเหรี่ยงนั้นขึ้นกับกลุ่มเมืองเชียงใหม่หรือคนที่อยู่ในเขตที่ราบ อยู่รวมกับกลุ่มคนไทยภาคเหนือบ้าง บางครั้งถูกเรียกว่า Yang,Yang Biang (Phiang)

Social Cultural and Identity Change

ไม่ระบุการเปลี่ยนแปลงสังคมชัดเจนนัก

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

Rout of the Phu Chai Nong Kham Elephant (76)

Text Analyst สุทธิลักษณ์ ศิริสวัสดิ์ Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG กะเหรี่ยง, ประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐาน, ยุคแรก, เขตที่ราบสูง, เชียงใหม่, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง