สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject มลาบรี มราบรี,ชีวิตความเป็นอยู่,การหาอาหาร,ประเพณี,การรักษาโรค,แพร่
Author หมื่นวลี
Title ผีตองเหลือง
Document Type หนังสือ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity มละบริ ยุมบรี มลาบรี มละบริ มลา มละ, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 137 Year 2537
Source สำนักพิมพ์รวมสาส์น, กรุงเทพฯ, มีนาคม 2537
Abstract

งานชิ้นนี้ศึกษากลุ่มชนเผ่า "ผีตองเหลือง" หรือ มลาบรี คือคนป่า บ้านห้วยฮ่อม อ.ร้องกวาง จ.แพร่ เป็นชนกลุ่มน้อยเผ่าหนึ่งที่อาศัยอยู่ในป่าดงทึบ บนยอดเขาสูงทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีการพบหลักฐานที่เกี่ยวกับผีตองเหลืองบริเวณภูเขียว จ.ชัยภูมิ ราว พ.ศ.2462 ต่อมาก็พบผีตองเหลืองอีกที่ภูกระดึง จ.เลย และที่ดอยเวียงสระ จ.เชียงใหม่ ในเวลาต่อมา และกระจายออกไปเรื่อยๆ ถึงเขต จ.เชียงราย บริเวณดอยช้าง และในอำเภอต่างๆ ของ จ.แพร่ (อ.ร้องกวาง อ.สอง) จ.น่าน (อ.สา อ.น้อย) ในปัจจุบัน ผีตองเหลืองไม่มีที่อยู่ถาวร จะอพยพย้ายกันไปตามป่าทึบบนดอยต่างๆ จะอพยพในลักษณะวนเวียนกลับมาที่เดิม ไม่เคลื่อนย้ายออกไปนอกเส้นทางมากนักภายในรัศมีประมาณ 30 ตารางกิโลเมตร มักปลูกสร้างที่พักอย่างง่ายๆ เป็นเพิงหมาแหงนเล็กๆ จะปลูกที่พักอาศัยอยู่ใกล้กันประมาณ 3-4 ครอบครัว เพื่อช่วยเหลือกันและกันได้ ปัจจุบัน ผีตองเหลืองกำลังลดจำนวนลงเรื่อยๆ เพราะป่าที่เป็นที่อยู่อาศัยลดจำนวนลง อาหารจึงลดลงตาม ทำให้เกิดการขาดแคลน เจ็บไข้ได้ป่วย เสียชีวิตก่อนวัยอันควร พวกเขาหาอาหารด้วยการล่าสัตว์ เก็บพืชผักผลไม้ตามที่ต่างๆ ในป่ามาแบ่งปันกันกิน บางครอบครัวก็ลงมารับจ้างชาวบ้านป่าหรือชาวเขาเผ่าแม้วทำไร่ โดยได้รับค่าแรงเป็นหมูบ้าง เป็นเงินบ้าง ผีตองเหลืองจะอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3-4 ครอบครัว ครอบครัวหนึ่งมีสมาชิกไม่เกิน 4-5 คน ประเพณีการแต่งงานไม่ค่อยมีพิธีรีตองมากนัก เมื่อฝ่ายชายมีความรักต่อหญิงสาว ก็จะขออนุญาตกับพ่อแม่ฝ่ายหญิงสาว โดยไม่มีสินสอดทองหมั้น เมื่อหย่าร้างจะไม่เสียค่าปรับสินไหม ค่าหย่าร้างใดๆ ทั้งสิ้น เรื่องเพศสัมพันธ์ของผีตองเหลืองถือว่าปกติ ไม่น่าอับอาย หญิงและชายอาจจะแต่งงานกันมาแล้วคนละหลายครั้ง บางคู่ที่เลิกกันไปแล้วก็อาจจะย้อนกลับมาแต่งงานกับคู่เดิมของตน หากหญิงมีชู้กับชายอื่น สามีจะยกภรรยาให้ไปอยู่กับชู้โดยไม่มีโทษ สุขภาพและอนามัยของผีตองเหลืองไม่ค่อยได้รับการเอาใจใส่ การคลอดลูกของหญิงผีตองเหลืองจะอาศัยผู้หญิงที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกันช่วยทำคลอด โดยห้ามผู้ชายเข้าไปยุ่งเกี่ยวบริเวณนั้นโดยเด็ดขาด เพราะถือเป็นการผิดประเพณี "บ่แมนฮีต บ่แมนคลอง" ผีตองเหลืองนำพืชพันธุ์ไม้ต่างๆ ในป่ามาทำเป็นยารักษาโรคได้ ของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้วิถีชีวิตของผีตองเหลืองเริ่มเปลี่ยนแปลงตาม เพราะต้องปรับตัวให้เข้ากับอารยธรรมสมัยใหม่เพื่อความอยู่รอด รวมไปถึงพื้นที่ป่าอันเป็นแหล่งอาหารได้ลดลงทำให้ผีตองเหลืองต้องปรับตัวเองให้อยู่รอด

Focus

ลักษณะชีวิตความเป็นอยู่ของผีตองเหลือง (หน้า 4)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

งานชิ้นนี้ศึกษากลุ่มชนเผ่า "ผีตองเหลือง" หรือมนุษย์เผ่ามลาบรีที่มักถูกเรียกว่าคนป่า เป็นชนกลุ่มน้อยเผ่าหนึ่งที่อาศัยอยู่ในป่าดงทึบ บนยอดเขาสูงทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย (หน้า 4, 40) โดยศึกษาผีตองเหลือง บ้านห้วยฮ่อม อ.ร้องกวาง จ.แพร่ (หน้า 32)

Language and Linguistic Affiliations

ใช้ภาษามลาบรีในการติดต่อสื่อสาร เป็นภาษาในตระกูลมอญ - เขมร เสียงหรือคำในภาษาส่วนใหญ่จะเป็นพยางค์เดียวและ 2 พยางค์ ไม่มีวรรณยุกต์และลักษณะน้ำเสียง รวมไปถึงความสั้นยาวของสระ (หน้า 106)

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

ผีตองเหลืองไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของเผ่าพันธุ์ (หน้า 4) แต่มีการพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานผีตองเหลืองบริเวณภูเขียว จ.ชัยภูมิ ราว พ.ศ.2462 ต่อมาก็พบผีตองเหลืองอีกที่ภูกระดึง จ.เลย และที่ดอยเวียงสระ จ.เชียงใหม่ ในเวลาต่อมา และกระจายออกไปเรื่อยๆ ถึงเขต จ.เชียงราย บริเวณดอยช้าง และในอำเภอต่างๆ ของ จ.แพร่ (อ.ร้องกวาง อ.สอง) จ.น่าน (อ.สา อ.น้อย) ในปัจจุบัน พื้นที่ที่ผีตองเหลืองมักจะอพยพเข้ามาสม่ำเสมอ คือเขตป่าบ้านห้วยบ่อหอย บ้านห้วยแม่ลอน ต.ยาบหัวนา อ.สา จ.น่าน และบ้านห้วยผามุม บ้านห้วยฮ่อม ต.บ้านเวียง อ.ร้องกวาง จ.แพร่ เพราะสภาพแวดล้อมและภูมิประเทศเหมาะกับการดำรงชีวิตและเป็นเขตปลอดจากการสู้รบในสมัยคอมมิวนิสต์ (หน้า 46-48)

Settlement Pattern

ผีตองเหลืองไม่มีที่อยู่ถาวร จะอพยพย้ายกันไปตามป่าทึบบนดอยต่างๆ ระหว่างดอยผาจิ จังหวัดน่าน อพยพย้ายลงมาสู่บ้านดอยคูเค็ง บ้านนาก้า บ้านห้วยบ่อหอย อ.เวียงสา ข้ามเขตมาอาศัยอยู่ในเขต อ.น้อย บ้านขุนสถาน บ้านห้วยผามุม แล้ววกกลับขึ้นไปเขต อ.ร้องกวาง จ.แพร่ ที่บ้านป่าแดง บ้านห้วยแม่แรง บ้านห้วยฮ่อม ผีตองเหลืองจะอพยพในลักษณะวนเวียนกลับมาที่เดิม ไม่เคลื่อนย้ายออกไปนอกเส้นทางมากนัก (หน้า 30) ผีตองเหลืองจะอพยพไปภายในรัศมีประมาณ 30 ตารางกิโลเมตร และมักอาศัยบนเทือกเขาที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 3,000 ฟุตขึ้นไป มักปลูกสร้างที่พักอย่างง่ายๆ เป็นเพิงหมาแหงนเล็กๆ ใช้เสาไม้ไผ่หรือไม้อื่นๆ ที่หาได้ให้เพียงพอกับจำนวนสมาชิกในครอบครัว จะปลูกเพิงบนพื้นลาดเท ให้ส่วนท้ายบ้านอยู่สูงกว่า ส่วนที่เป็นหน้าบ้านหรือหน้าเพิงอยู่ต่ำกว่า เพื่อสะดวกในการหลับนอนโดยไม่ต้องใช้หมอนหนุนศรีษะ ภายในเพิงและหลังคาจะใช้ใบตองเป็นอุปกรณ์สำคัญ ยังพบกระบอกไม้ไผ่ไว้ใช้หุงข้าวและใส่น้ำดื่ม โดยจะก่อกองไฟท่อนใหญ่ไว้ใช้หุงหาอาหารและให้ความอบอุ่น จะปลูกที่พักอาศัยอยู่ใกล้กันประมาณ 3-4 ครอบครัว เพื่อช่วยเหลือกันและกันได้ (หน้า 50-56, 75-77)

Demography

ปัจจุบันผีตองเหลืองกำลังลดจำนวนลงเรื่อยๆ เพราะป่าที่เป็นที่อยู่อาศัยลดจำนวนลง อาหารจึงลดลงตาม ทำให้เกิดการขาดแคลน เจ็บไข้ได้ป่วย เสียชีวิตก่อนวัยอันควร (หน้า 4) ปัจจุบันจำนวนประชากรของผีตองเหลืองมีอยู่ประมาณ 140 คน กระจัดกระจายอยู่ตามป่าในเขตอ.สอง อ.ร้องกวาง จ.แพร่ และ อ.สา จ.น่าน (หน้า 139)

Economy

ผีตองเหลืองหาอาหารด้วยการล่าสัตว์ เก็บพืชผักผลไม้ตามที่ต่างๆ ในป่ามาแบ่งปันกันกิน โดยสร้างเพิงที่พักเล็กๆ ระหว่างการออกหาอาหารอาศัยอยู่กันเป็นกลุ่มๆ กลุ่มละ 3-4 ครอบครัว เมื่อแหล่งที่อยู่อาศัยของเขามีอาหารไม่เพียงพอ การหาอาหารเริ่มฝืดเคือง ก็จะโยกย้ายถิ่นฐานไปยังแหล่งที่อยู่ใหม่ต่อไป โดยจะเลือกอาศัยอยู่ใกล้กับแหล่งอาหารที่มีแหล่งน้ำและลำธารไหลผ่าน มักจะเลือกภูมิประเทศที่มีความชุ่มชื้นเพราะมีความสมบูรณ์ด้านอาหาร ผีตองเหลืองบางครอบครัวก็ลงมารับจ้างชาวบ้านป่าหรือชาวเขาเผ่าม้งทำไร่ โดยได้รับค่าแรงเป็นหมูบ้าง เป็นเงินบ้าง (หน้า 42, 48, 50, 79, 114) โดยผู้ชายจะเป็นคนออกไปหาของป่า ล่าสัตว์ หาผลไม้ที่อยู่ไกลออกไปจากที่พัก ส่วนผู้หญิงทำหน้าที่สร้างที่พักอาศัย เช่น ออกไปหาใบตองมาสานเพื่อนำมามุงหลังคาหรือไปตักน้ำ หาฟืนหุงอาหาร หาอาหารตามหนองน้ำ ลำธารเล็กๆ รับผิดชอบดูแลลูกเล็กๆ และเด็กๆ ทุกคน (หน้า 68) การหาอาหารของผีตองเหลืองถูกแบ่งออกเป็น 3 แบบคือ 1) การขุดมันและเก็บผลไม้ชนิดต่างๆ ที่สามารถกินเป็นอาหารได้ ส่วนมากจะเป็นหน้าที่ของผู้หญิงในรัศมีไม่ไกลจากที่พัก หากไปไกลกว่านั้นจะเป็นหน้าที่ของผู้ชาย 2) ผู้ชายผีตองเหลืองจะชำนาญในการปีนต้นไม้ โดยเฉพาะการปีนเก็บรังผึ้ง 3) ผีตองเหลืองมีความชำนาญในการล่าสัตว์ด้วยเครื่องมือเพียงไม่กี่อย่าง เช่น หอกและมีด (หน้า 82-86) ผีตองเหลืองผลิตเครื่องมือเครื่องใช้แบบง่ายๆ ไม่มีพัฒนาการหรือเทคนิคใดๆ เช่น กระบอกไม้ไผ่ ครกไม้ สากตีพริก ตระกร้าหวาย ย่าม สิ่งเหล่านี้ผีตองเหลืองสานขึ้นมาใช้เองจากต้นปอและชุน ส่วนมีด เสียม หรือหอก พวกเขาสามารถทำขึ้นมาใช้เองได้ (หน้า 66)

Social Organization

ผีตองเหลืองจะอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3-4 ครอบครัว ครอบครัวหนึ่งมีสมาชิกไม่เกิน 4-5 คน (หน้า 75) ประเพณีการแต่งงานไม่ค่อยมีพิธีรีตองมากนัก เมื่อฝ่ายชายมีความรักต่อหญิงสาว ก็จะขออนุญาตกับพ่อแม่ฝ่ายหญิงสาว โดยไม่มีสินสอดทองหมั้น เมื่อครอบครัวฝ่ายหญิงสาวอนุญาต ฝ่ายชายจะไปนำอาหาร เช่น หัวเผือกหัวมันหรือพืชผลไม้อื่นๆ มากินกันในครอบครัว เพื่อให้สมาชิกผีตองเหลืองรับรู้ว่าทั้งสองเป็นสามีภรรยากัน เมื่อหย่าร้างจะไม่เสียค่าปรับสินไหม ค่าหย่าร้างใดๆ ทั้งสิ้น เรื่องเพศสัมพันธ์ของผีตองเหลืองถือว่าปกติ ไม่น่าอับอาย หญิงและชายอาจจะแต่งงานกันมาแล้วคนละหลายครั้ง บางคู่ที่เลิกกันไปแล้วก็อาจจะย้อนกลับมาแต่งงานกับคู่เดิมของตน หากหญิงมีชู้กับชายอื่น สามีจะยกภรรยาให้ไปอยู่กับชู้โดยไม่มีโทษ และทั้ง 2 ฝ่ายจะไม่โกรธเคืองกัน โดยก่อนที่ผีตองเหลืองจะเป็นสามี - ภรรยากัน ต้องผ่านกฎเกณฑ์ข้อห้ามทางสังคมหลายประการ เช่น 1) ไม่ให้มีความสัมพันธ์ทางเพศที่เป็นสายเลือดเดียวกัน เช่น บิดากับบุตร พี่กับน้อง 2) ไม่ให้มีความสัมพันธ์ทางเพศระหว่างบุตรที่เกิดจากพี่น้องของพ่อหรือทางแม่ ไม่ว่าจะเป็นพี่น้องเพศใดก็ตาม 3) ไม่ให้มีความสัมพันธ์ทางเพศก่อนการแต่งงานจะเกิดขึ้น 4) ไม่ให้มีความสัมพันธ์ทางเพศกับบุคคลนอกสมรส คือห้ามมีชู้นั่นเอง (หน้า 88 - 96) ครอบครัวของผีตองเหลือง พ่อแม่มีหน้าที่หาอาหารมาเลี้ยงบุตร อบรมสั่งสอน ถ่ายทอดวัฒนธรรมต่างๆ แก่บุตร เมื่อบุตรโตแล้วจะแต่งงานแยกจากพ่อแม่ออกไปมีครอบครัวทันที โดยปลูกเรือนเป็นเพิงใกล้ๆกลุ่มครอบครัว สามารถแบ่งปันอาหารกันกิน ดูแลเรื่องการเจ็บไข้ได้ป่วยและการประกอบพิธีกรรมต่างๆ (หน้า 96)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ผีตองเหลืองมีความเชื่อเรื่องผี ชนเผ่านี้จะกลัวผีและเสือมากจึงไม่นิยมออกเดินทางไปไหนในเวลากลางคืน ไม่นิยมใช้ความรุนแรงตัดสินปัญหา ไม่มีการลักเล็กขโมยน้อย เมื่อพบคนแปลกหน้าจะหลบเข้าไปในป่าอย่างรวดเร็ว ผีตองเหลืองยังเชื่ออีกว่าผีสางและวิญญาณของบรรพบุรุษเป็นผู้พิทักษ์รักษาป่า ภูเขาและแม่น้ำต่างๆ (หน้า 4, 56-58, 102) ผีตองเหลืองเชื่อว่าการมีสามี-ภรรยามากไปกว่า 1 คน ในเวลาเดียวกันถือว่าเป็นการผิดผี ผิดจารีตประเพณี หากล่วงละเมิดจะทำให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ บันดาลให้อาหารของพวกเขาหมดไป ทำให้เกิดความเดือดร้อน และผีตองเหลือยังเชื่ออีกว่าสามี - ภรรยาบางคู่ที่เจ็บไข้ได้ป่วยบ่อยๆ แสดงว่าผีและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไม่ต้องการให้ทั้งคู่อยู่ด้วยกัน จึงต้องหย่าร้างกัน (หน้า 96) เมื่อมีสมาชิกในกลุ่มผีตองเหลืองตาย จะจัดการศพโดยนำไปฝัง หันศรีษะผู้ตายไปทางทิศตะวันตก หากเป็นศพผู้หญิงจะหันไปทางทิศตะวันออก หากผู้ตายเป็นหญิง ผู้หญิงจะพากันนำศพไปฝังเสียเอง หากเป็นชาย ผู้ชายก็จะนำไปฝังเองเช่นเดียวกัน (หน้า 104) ผู้ชายผีตองเหลืองเชื่อว่าศรีษะเป็นส่วนสำคัญห้ามลูบหรือจับต้องจะถือว่าเป็นการผิดผี ทำให้ตนเองปวดหัว ไม่สบาย ปวดแขนขา จนไม่อาจทำงานได้ (หน้า 104)

Education and Socialization

ผีตองเหลืองไม่ได้รับการศึกษามากนัก แต่ในหมู่บ้านห้วยฮ่อมจะมีชาวต่างชาติที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาคอยสอนหนังสือให้กับพวกเขา

Health and Medicine

สุขภาพและอนามัยของผีตองเหลืองไม่ค่อยได้รับการเอาใจใส่ (หน้า 120) ชนเผ่านี้ไม่ค่อยอาบน้ำชำระร่างกาย ส่วนผู้หญิงที่มีประจำเดือนจะใช้ใบไม้หรือผ้าซับเลือดหรือลงไปล้างในลำธารเพื่อทำความสะอาด การคลอดลูกของหญิงผีตองเหลืองจะอาศัยผู้หญิงที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกันช่วยทำคลอด ตัดสายรกด้วยไม้ไผ่ที่เหลาจนคม แล้วนำรกนั้นไปฝังดินใกล้ๆ บริเวณที่พัก แล้วนำเด็กไปอาบน้ำทำความสะอาดที่ลำธารใกล้ที่พัก โดยห้ามผู้ชายเข้าไปยุ่งเกี่ยวบริเวณนั้นโดยเด็ดขาด เพราะถือเป็นการผิดประเพณี "บ่แมนฮีต บ่แมนคลอง" (หน้า 98-100) ผีตองเหลืองนำพืชพันธุ์ไม้ต่างๆ ในป่ามาทำเป็นยารักษาโรคได้ เช่น ต้นสะอาด (สามง่าม) ต้มกับน้ำ ฟอกศีรษะรักษาไข้ป่า ต้นชิมปิ๊ด (หญ้าสามคม) แก้พิษงูหรือตะขาบกัด (หน้า 114-119)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

จากการสำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2505 - 2506 พบว่าผีตองเหลืองขณะนั้นไม่มีเสื้อผ้านุ่งห่มกันมากนัก เพราะชนกลุ่มนี้ไม่รู้จักการทอผ้าใช้เอง ผู้ชายจะนุ่งผ้าผืนเล็กๆ ปกปิดเพียงอวัยวะเพศ เช่นเดียวกับผู้หญิง ทุกคนจะเปลือยกายท่อนบนหมด ส่วนเด็กๆ ไม่ใส่เสื้อผ้าเลย เสื้อผ้าของผีตองเหลืองได้มาจากการแลกเปลี่ยนสิ่งของกับชนเผ่าอื่น เช่น เผ่าม้ง หรือได้จากการบริจาคของชาวเมืองที่ไปพบเห็น (หน้า 64-67) ดนตรี แคนเป็นเครื่องดนตรีชิ้นเดียวของผีตองเหลือง สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลมาจากลาวก่อนอพยพมาสู่ประเทศไทย ผีตองเหลืองจะเล่นดนตรีร้องรำทำเพลงหลังจากเวลาเสร็จงานหรือเมื่อล่าสัตว์ใหญ่มาเป็นอาหารได้ เนื้อหาของดนตรีจะเป็นลักษณะการบรรยายความ แสดงออกถึงสภาวะจิตใจและสภาพความเป็นอยู่ (หน้า 108-111)

Folklore

มีการเล่าตำนานสืบต่อกันมาว่า เมื่อประมาณ 60 ปีที่ผ่านมา ผีตองเหลืองจำนวนหนึ่งอาศัยอยู่บริเวณภูแว อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน เป็นผีตองเหลือขาลายและผีตองเหลืองขาแดง โดยผีตองเหลืองขาลายจะมีรอยสักตั้งแต่ข้อเท้าถึงตลอดทั้งลำตัว มีหอกเป็นอาวุธ ปลายหอกสวมปลอกเอาไว้ เมื่อดึงปลอกออกจากปลายหอกเมื่อใด มันย่อมหมายถึงการต่อสู้กำลังเริ่มต้นขึ้น ส่วนผีตองเหลืองขาแดงจะไม่มีรอยสัก หากมีก็มีเพียงเล็กน้อย นิสัยไม่ดุร้าย ตำนานเล่าว่าผีตองเหลือง เดิมเคยอยู่พื้นราบแถบเมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว เมื่อถูกทางการเรียกเก็บภาษีก็ไม่มีให้ จึงต้องหนีเข้าป่า และถูกสาปแช่งให้ถูกเสือกิน ดังนั้น ผีตองเหลืองที่อาศัยอยู่ในป่าจึงกลัวเสือมาจนถึงปัจจุบันนี้ บางตำนานเล่าว่า มลาบรีเคยอาศัยอยู่ที่ราบมาก่อนรวมกันกับขมุ มีอยู่ครั้งหนึ่งที่พวกเขาเอาข้าวเปลือกและข้าวสารมา แต่ขมุได้เลือกข้าวเปลือกไปปลูกแล้วเกิดงอกขึ้นมา ส่วนมลาบรีนำข้าวสารไปปลูก แต่กลับปลูกไม่ขึ้นจนแมลงกัดกินเมล็ดข้าวจนหมด ทำให้พวกเขาต้องหนีเข้าป่าเพื่อหาอาหารกิน บางชนิดก็กินได้ บางชนิดก็เป็นพิษ จนมลาบรีล้มตายลงไปมากกว่าจะรู้ว่าชนิดไหนกินได้ - ไม่ได้ จนในที่สุดพวกเขาก็ไม่ออกมาจากป่าอีกเลย (หน้า 46)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

"ผีตองเหลือง" เป็นชื่อที่ใช้เรียกชนกลุ่มนี้ของชาวบ้านทางภาคเหนือ เนื่องจากพฤติกรรมที่อยู่ไม่เป็นที่ ชอบเร่ร่อนอาศัยอยู่ในป่า อย่างไรก็ตาม พวกเขาอยากให้คนอื่นเรียกพวกเขาว่ามลาบรีที่หมายถึงคนป่ามากกว่า จะไม่พอใจเมื่อถูกเรียกว่า "ผีตองเหลือง" "ผีตองเหลือง" เริ่มใช้เรียกเป็นทางการจากกลุ่มนักวิชาการที่สนใจศึกษาค้นคว้าชนกลุ่มนี้นับตั้งแต่ พ.ศ.2469 และยังมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เช่น ข่าตองเหลือง ยุมบุรี มลาบรี โดยชาวเขาเผ่าม้งหรือแม้วจะเรียกว่า "ม้ากู่" แต่สำหรับพวกเขาแล้วจะเรียกตัวเองว่า "มลาบรี" หรือคนป่านั่นเอง (หน้า 42) ผีตองเหลืองบ้านห้วยฮ่อมสัมพันธ์กับชาวบ้านและชาวเขาเผ่าม้งหรือแม้วบริเวณนั้น โดยว่าจ้างผีตองเหลืองให้ช่วยทำงานในไร่ โดยมีหมูเป็นสิ่งตอบแทน (หน้า 48)

Social Cultural and Identity Change

สภาพของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้วิถีชีวิตของผีตองเหลืองเริ่มเปลี่ยนแปลงตาม เพราะต้องปรับตัวให้เข้ากับอารยธรรมสมัยใหม่เพื่อความอยู่รอด รวมไปถึงพื้นที่ป่าอันเป็นแหล่งอาหารได้ลดลงทำให้ผีตองเหลืองต้องปรับตัวเองให้อยู่รอด (หน้า 4, 126-129) เช่น ในเพิงพักของผีตองเหลืองจะพบภาชนะอลูมิเนียม เช่น หม้อหุงข้าว ถังน้ำเล็กๆ โดยภาชนะเหล่านี้ได้มากจากการทำงานแลกเปลี่ยนมาจากเผ่าม้งบ้าง คนพื้นเมืองบ้าง (หน้า 56)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

สารคดีชิ้นนี้มีภาพประกอบในแต่ละบท เพื่อประกอบความเข้าใจที่มีต่อผีตองเหลืองในแง่มุมต่างๆ เช่น ภาพของสภาพชีวิตของผีตองเหลือง (หน้า 78) ภาพของสภาพครอบครัวของผีตองเหลือง (หน้า 94-95)

Text Analyst สิทธิพร จรดล Date of Report 26 ม.ค. 2564
TAG มลาบรี มราบรี, ชีวิตความเป็นอยู่, การหาอาหาร, ประเพณี, การรักษาโรค, แพร่, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง