สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ไทยใหญ่,เครื่องจักสาน,ภาคเหนือ
Author จารุวรรณ โรจน์พงศ์เกษม
Title บทวิเคราะห์ข้อมูลเรื่อง เครื่องจักสานของชาวไทยใหญ่
Document Type อื่นๆ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ไทใหญ่ ไต คนไต, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Total Pages 82 Year 2534
Source รายงานประกอบวิชาสาขาวิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract

เครื่องจักสานของไทยใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ และลักษณะประชากร คือ กะเหรี่ยงที่อยู่ข้างเคียง โครงสร้างของเครื่องจักสาน มีทั้ง โครงสร้างที่มีลายเป็นตัวบังคับรูปทรง มีทั้งลายขัด และลายทะแยง โครงสร้างที่ใช้วัสดุอื่น หรือวัสดุเดียวกันเสริมให้คงรูป ประกอบขึ้นเป็นส่วนก้น ส่วนกลาง หรือส่วนผนังของภาชนะ และส่วนปาก ที่มีการเก็บริม และเข้าขอบ เครื่องจักสานจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหน้าที่การใช้สอย และวัสดุ มีทั้งเครื่องจักสานที่ใช้เป็นภาชนะ เครื่องจักสานที่ใช้เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องจักสานที่ใช้เป็นเครื่องเรือน และปูลาด เครื่องจักสานที่ใช้ในวัฒนธรรมการบริโภค และเครื่องจักสานที่ใช้เป็นเครื่องจับ ดัก ขังสัตว์ สุนทรียภาพหรือคุณค่าทางความงามเกิดจากรูปทรง โครงสร้าง และลวดลายที่สัมพันธ์กัน สุนทรียภาพที่เกิดจากผิวและสีวัสดุ และสุนทรียภาพที่เกิดขึ้นขณะใช้งาน (หน้า 18-82)

Focus

วิเคราะห์ลักษณะรูปแบบ รูปทรง โครงสร้าง และลวดลายเครื่องจักสานของไทยใหญ่ และอิทธิพลที่มีต่อรูปแบบเครื่องจักสาน วิเคราะห์หน้าที่ใช้สอยและสุนทรียภาพของเครื่องจักสานของไทยใหญ่ (บทนำ)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ไทยใหญ่ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในเขตอำเภอเมือง อำเภอขุนยวม อำเภอแม่ลาน้อย อำเภอแม่สะเรียง อำเภอปาย (บทนำ)

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

เดือนมิถุนายน - กันยายน 2533 (บทนำ)

History of the Group and Community

ไม่มีข้อมูล

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

ไม่มีข้อมูล

Economy

ไทยใหญ่ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประกอบอาชีพเพาะปลูกพืชไร่เพื่อเลี้ยงตัวเอง เช่น ข้าว ถั่ว กระเทียม (หน้า 11)

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ไม่มีข้อมูล

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

อิทธิพลที่มีผลต่อลักษณะรูปแบบของไทยใหญ่ ได้แก่ สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ ที่ไทยใหญ่อาศัยอยู่ตามที่ราบแคบ ๆ ระหว่างหุบเขา มีแม่น้ำสายเล็ก ๆ ไหลผ่าน เครื่องจักสานที่ใช้เป็นเครื่องดักสัตว์น้ำ จึงใช้กับน้ำไหล ชายคลอง และที่ตื้น เป็นต้น และอิทธิพลจากทางวัฒนธรรมของประชากร ที่มีการติดต่อค้าขายด้วย เช่นกับกะเหรี่ยง โดยกะเหรี่ยงนำเครื่องจักสานเข้ามาขายในหมู่บ้านไทยใหญ่ จึงมีเครื่องจักสานบางชนิดมีรูปร่างคล้ายกับเครื่องจักสานของไทยภูเขาและกะเหรี่ยง และยังมีเครื่องจักสานที่มีลักษณะเช่นเดียวกับเครื่องจักสานที่ผลิตทั่วไปทางภาคเหนือ (หน้า 10,11,12,16) โครงสร้างของเครื่องจักสาน มี 2 ชนิด ได้แก่ โครงสร้างที่มีลายเป็นตัวบังคับรูปทรง มีทั้งลายขัด และลายทะแยง เป็นโครงสร้างที่ใช้วัสดุอื่น หรือวัสดุเดียวกันเสริมให้คงรูป โครงสร้างของเครื่องจักสานนั้นประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนก้น ส่วนกลาง หรือส่วนผนังของภาชนะ และส่วนปาก ที่มีการเก็บริม และเข้าขอบ เครื่องจักสานจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ หน้าที่การใช้สอย ที่มีเครื่องจักสานที่ใช้เป็นภาชนะ สำหรับใส่และเก็บผลผลิตทางการเกษตร เช่น ก๋วย แปม สำหรับใส่และเก็บสิ่งของทั่วไป เช่น ปุง แอ่บ และสำหรับเป็นเครื่องตวง ได้แก่ ควายและก๊อกแป้ เครื่องจักสานที่ใช้เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น ล่ง วี แคนห่มน้ำ เครื่องจักสานที่ใช้เป็นเครื่องเรือนและปูลาด ได้แก่ สาด และอู่ เครื่องจักสานที่ใช้ในวัฒนธรรมการบริโภค เช่น ก่องข้าว ไหนึ่งข้าว และเครื่องจักสานที่ใช้เป็นเครื่องจับ ดัก ขังสัตว์ เช่น ไซ ตุม สุ่มไก่ และวัสดุก็เป็นส่วนที่ทำให้เครื่องจักสานมีลักษณะต่างกัน ลวดลายของเครื่องจักสานที่พบในเขตชนบท จังหวัดแม่ฮ่องสอน มี 2 ลักษณะใหญ่ ได้แก่ ลวดลายที่เกิดจากการสอดขัดกัน ในแบบต่าง ๆ ได้แก่ ลายหนึ่ง ลายขัดแตะ ลายประสุ ลวดลายที่เกิดจากการสอดขัดกันในแนวทะแยง เป็นลายขัดทะแยงที่สานเป็นลายสอง หรือลายสาม ลายเฉลวหรือลายตะเหลว ลายหัวสุ่ม สุนทรียภาพและคุณค่าของเครื่องจักสานนั้นเกิดจากรูปทรง โครงสร้าง และลวดลายที่สัมพันธ์กัน ด้วยรูปทรงที่โค้งมน สร้างความกลมกลืน ลวดลายที่ทำให้เกิดความเชื่อมต่อทางโครงสร้าง ขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดความคงทนแข็งแรง สุนทรียภาพที่เกิดจากผิวและสีวัสดุทั้งที่เป็นไปตามธรรมชาติของวัสดุ และการตบแต่งที่เคลือบด้วยรักและการรมควัน และสุนทรียภาพที่เกิดขึ้นขณะใช้งาน ด้วยการออกแบบรูปทรงให้เหมาะสมกับการใช้งาน (หน้า 18-82)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

เครื่องจักสานถูกประดิษฐ์ขึ้นสำหรับการใช้งาน ทั้งสำหรับเป็นภาชนะ เครื่องมือเครื่องใช้ สำหรับเป็นเครื่องเรือนและ ปูลาด สำหรับวัฒนธรรมการบริโภค และสำหรับจับ ดัก ขังสัตว์ เครื่องจักสานเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสิ่งจำเป็นและใช้ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นเครื่องจักสานจึงสะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมท้องถิ่น สภาพความเป็นอยู่ สภาพทางภูมิศาสตร์ สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของท้องถิ่น รวมถึงการประกอบอาชีพ ซึ่งจะต้องแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นและกลุ่มชน เครื่องจักสานของไทยใหญ่ จึงเป็นเอกลักษณ์หนึ่งที่เป็นลักษณะเฉพาะของไทยใหญ่ (หน้า 82)

Social Cultural and Identity Change

ไทยใหญ่ได้รับอิทธิพลจากเครื่องจักสานของกะเหรี่ยงในด้านรูปทรงและการใช้สอยอยู่บ้าง เพราะมีกะเหรี่ยงอาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียง และมีการติดต่อค้าขายกัน โดยกะเหรี่ยงนำเครื่องจักสานมาจำหน่ายให้กับไทยใหญ่ ส่วนมากเป็นภาชนะที่ใช้สำหรับใส่ผลิตผลทางการเกษตรและสาด ซึ่งเป็นการรับเข้ามาใช้โดยตรง และยังมีการนำเครื่องจักสานของกะเหรี่ยงมาดัดแปลงรูปแบบให้เป็นรูปแบบเฉพาะของตน (หน้า 12)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ภาพที่ 1 ภาชนะดินเผา พบที่ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาร จังหวัดอุดรธานี (หน้า 5) ภาพที่ 2 เครื่องปั้นดินเผาสีเทา ลักษณะคล้ายเครื่องจักสาน (หน้า 6) ภาพที่ 4-5 ภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ (หน้า 7) ภาพที่ 6 จิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน (หน้า 8) ภาพที่ 7 เครื่องจักสานที่ชาวเขาใช้เก็บใบชา (หน้า 13) ภาพที่ 8 แปม ภาชนะที่ไทยใหญ่ใช้เก็บผักแบบเดียวกับที่ชาวเขาใช้เก็บใบชา (หน้า 14) ภาพที่ 9 แสดงรูปร่างของ แปม ของไทยใหญ่ ที่มีขนาดป้อมและเตี้ยกว่า (หน้า 15) ภาพที่ 10 แสดงรูปทรงของ แปม ทรงกระบอก (หน้า 16) ภาพที่ 11 ซ้า (หน้า 19) ภาพที่ 12 ฝาชี (หน้า 20) ภาพที่ 13 น้ำโบย (หน้า 21) ภาพที่ 14 เปี้ยด (หน้า 22) ภาพที่ 15 ซองไก่ (หน้า32) ภาพที่ 16 ก๊อกโขด (หน้า 33) ภาพที่ 17 ก๋วยสัง (หน้า 34) ภาพที่ 18 แปมใส่ปลา (หน้า 35) ภาพที่ 19 สุ่มไก่ (หน้า 36) ภาพที่ 20 ล่ง (หน้า 37) ภาพที่ 21 เปี้ยด ใช้ใส่เมล็ดพืช (หน้า 40) ภาพที่ 22 คุ ภาชนะขนาดใหญ่ ใช้สำหรับนวดข้าว หรือตีข้าวให้หลุดจากรวง(หน้า 41) ภาพที่ 23 ก๋วยตาห่าง คือ เข่งที่สานโปร่งทั้งใบ ใช้ใส่พืชผัก(หน้า 42) ภาพที่ 24 โป่ ใช้ใส่เมล็ดพืช ข้าวเปลือก หรืองา(หน้า 43) ภาพที่ 25 แปม ภาชนะใช้เก็บผัก (หน้า 44) ภาพที่ 26 กับ , แอบ ใช้ใส่สิ่งของ (หน้า 46) ภาพที่ 27 ปุงหลำ ใช้ใส่เสื้อผ้าหรือของใช้สำคัญ เมื่อเดินทาง(หน้า 47) ภาพที่ 28 เปียมพะ ใช้ใส่ของใช้เล็ก ๆ น้อย ๆ เวลาไปไร่นา (หน้า 48) ภาพที่ 29 ซ้า ตะกร้าใช้ใส่ของไปจ่ายตลาด (หน้า 49) ภาพที่ 30 แหย่ง ใช้ใส่สัมภาระเทียมม้า ลา ในสมัยก่อน ปัจจุบันนำมาใช้กับรถจักรยานยนต์ (หน้า 50) ภาพที่ 31 ก๊อกแป้ ใช้ตวงเมล็ดพืข ข้าว ข้าวเปลือก (หน้า 51) ภาพที่ 32 เป๊าะหีควาย บุ้งกี๋ ใช้ตัก โกยดิน หิน ทราย (หน้า 52) ภาพที่ 33 แคนห่มน้ำ ใช้ปิดโอ่ง ถังน้ำ(หน้า 53) ภาพที่ 34 ยู ไม้กวาด ทำจากต้นยู (หน้า 54) ภาพที่ 35 แปมมีด ฝักมีดหรือปอกมีด (หน้า 55) ภาพที่ 36 ล่ง ตะแกรง ใช้ร่อนเปลือกกระเทียม (หน้า 56) ภาพที่ 38 วี ใช้พัดเศษหญ้า ฟาง หรือขี้รีบออกจากข้าว (หน้า 57) ภาพที่ 39 น้ำโบย ใช้สำหรับตักน้ำรดผัก (หน้า 58) ภาพที่ 41 สาด เสื่อ ใช้ปูรองนั่ง นอน(หน้า 59) ภาพที่ 42 อู่ เป็นเปลนอนสำหรับเด็ก (หน้า 59) ภาพที่ 43 ซ้าหวด ใช้ใส่ข้าวเหนียวหลังจากแช่น้ำ เพื่อให้สะเด็ดน้ำ (หน้า 60) ภาพที่ 44 เตี๊ยบข้าว ใช้ผึ่งข้าวเหนียวขณะร้อนให้เย็น (หน้า 61) ภาพที่ 45 ก่องข้าว ใช้ใส่ข้าวเหนียว (หน้า 61) ภาพที่ 46 ไหนึ่งข้าว ใช้นึ่งข้าวเหนียว (หน้า 62) ภาพที่ 47 ก๊อกโขด ใช้ตักเส้นขนมจีน(หน้า 63 ) ภาพที่ 48 ไม่ทราบชื่อ ใช้สำหรับใส่เกลือ , น้ำ (หน้า 64) ภาพที่ 49 ขันข้าว เป็นที่วางกับข้าวเหมือนกระด้ง (หน้า 65) ภาพที่ 50 ไซ เครื่องจับ ดักสัตว์น้ำ (หน้า 66) ภาพที่ 51 แซะปลา ใช้สำหรับช้อนจับปลา (หน้า 67) ภาพที่ 52 ข้อง ใช้ใส่สัตว์น้ำ (หน้า 67) ภาพที่ 53 ตุม เครื่องมือดักปลา (หน้า 68) ภาพที่ 54 ซองไก่ ใช้ใส่ไก่ต่อเวลาเข้าป่า (หน้า 69) ภาพที่ 55 สุ่มไก่ เป็นที่นอนสำหรับไก่ (หน้า 69) ภาพที่ 56 สุ่มไก่ ใช้ขังไก่ที่เลี้ยงไว้ให้อยู่ในบริเวณจำกัดชั่วคราว (หน้า 70) ภาพที่ 57 ลักษณะรูปทรง โครงสร้าง ลวดลายและสีสันของวัสดุที่มีความกลมกลืน ลงตัวของแปมข้อง (หน้า 76) ภาพที่ 58 ซ้า ที่ตบแต่งผิววัสดุด้วยการทาสีตอกให้เป็นสีดำด้วยใส้ของถ่านไฟฉายที่ทุบละเอียด (หน้า 77) ภาพที่ 59 การทาเคลือบผิวภาชนะด้วยรัก (หน้า 78) ภาพที่ 60 การรมควันเครื่องมือหาปลา (หน้า 79) ภาพที่ 61 สุนทรียภาพที่เกิดขณะใช้งาน แปมเอว ที่ต้องผูกเอวเมื่อใช้ใส่สิ่งของส่วนตัวไปไร่นา (หน้า 80) ภาพที่ 62-63 ลักษณะของเตาสามเส้า ที่ไทยใหญ่ใช้ประกอบอาหารและตะแกรงสานด้วยไม้ไผ่เป็นชั้นลอย สำหรับแขวนอาหารและเก็บเครื่องจักสาน (หน้า81)

Text Analyst ขนิษฐา อลังกรณ์ Date of Report 01 พ.ค. 2556
TAG ไทยใหญ่, เครื่องจักสาน, ภาคเหนือ, Translator Chalermchai Chaichompoo
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง