สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ม้ง,เมี่ยน อิวเมี่ยน,สังคม,วัฒนธรรม,ความเชื่อ,วิถีชีวิต,ภาคเหนือ
Author Blofeld, John
Title Some Hilltribes of North Thailand (Miaos and Yaos)
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity อิ้วเมี่ยน เมี่ยน, ม้ง, Language and Linguistic Affiliations ม้ง-เมี่ยน
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 19 Year 2498
Source The Journal of the Siam Society, vol.XLIII , part 1 (August 1955)
Abstract

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อแนะนำให้ผู้อ่านได้รู้จักชนเผ่าสองชนเผ่าทางภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งยังเป็นชนเผ่าที่ยังคงมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบสังคมดั้งเดิม โดยทั้งสองเผ่านี้คือ ม้งและเย้า แม้จะเป็นชนเผ่าที่ยังล้าหลังในเรื่องเทคโนโลยีทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการผลิต การศึกษา การสาธารณสุข แต่ก็เป็นชนเผ่าที่รักสงบ และทำงานหนัก โดยจะเห็นได้ว่าผู้เขียนมีความสนใจเป็นพิเศษในเรื่องของวัฒนธรรมความเป็นอยู่ ประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อ และเรื่องราวทางสังคม โดยไม่ได้ให้รายละเอียดในแง่ของประชากรศาสตร์ สภาพภูมิศาสตร์ หรือประวัติศาสตร์มากนัก สุดท้ายผู้เขียนยังได้เสนอว่า มีประเด็นสำคัญ 2 ประเด็นที่ควรพิจารณาเกี่ยวกับสองชนเผ่านี้คือ 1. การที่พวกเขาทำการเกษตรโดยการทำไร่เลื่อนลอย ถางและเผาป่า เปลี่ยนที่ทำกินไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นการทำลายระบบนิเวศ 2. การปลูกฝิ่น อย่างไรก็ตาม จุดยืนของผู้เขียนในบทความนี้คือการพยายามชี้แจงให้รัฐบาลไทยเห็นถึงความสำคัญในการอนุรักษ์ชุมชนดั้งเดิมเหล่านี้ไว้ โดยไม่เข้าไปเปลี่ยน หรือทำลายวิถีชีวิตของพวกเขา มีเพียงอย่างเดียวที่ผู้เขียนเห็นว่ารัฐบาลไทยควรเข้าไปช่วยเหลือ ในการส่งผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรเข้าไปแนะนำและส่งเสริมให้ปลูกพืชอื่นทดแทนการปลูกฝิ่น ซึ่งจะต้องมีการวางแผนอย่างเป็นระยะยาว (หน้า 16 - 18)

Focus

ทำความรู้จักกับเรื่องราวชีวิต และวัฒนธรรมของ 2 ชนเผ่า คือ ม้ง(แม้ว) และเมี่ยน(เย้า)

Theoretical Issues

ผู้เขียนไม่ได้ระบุชัดเจน หากได้วิเคราะห์และสันนิษฐานจากตำนานเรื่องเล่าถึงต้นกำเนิดของทั้งสองเผ่าว่า เรื่องเล่าในตำนานของพวกเขาสอดรับกับข้อมูลเรื่องการอพยพที่มักจะอพยพทางทิศตะวันตกเสมอ และเมื่อดูจากการแต่งกายที่คล้ายคลึงกันของชนเผ่าดั้งเดิมของไต้หวัน และผู้หญิงม้งแล้ว ก็ยิ่งสนับสนุนทฤษฎีที่ว่า ทั้งสองเผ่านี้น่าจะมีต้นกำเนิดดั้งเดิม มาจากเกาะไต้หวัน หรือเกาะไหหลำ หรือจากทั้งสองเกาะ ซึ่งต้องเปรียบเทียบตรวจสอบในเรื่องของภาษาอีกที เพื่อความแน่ใจ (หน้า 15)

Ethnic Group in the Focus

เป็นข้อมูลเกี่ยวกับม้ง (ดูจากรูปภาพแล้วอาจเป็นกลุ่มที่ถูกเรียกว่า "ม้งน้ำเงิน" - ผู้ตรวจ/ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ) และเมี่ยน ซึ่งบทความนี้ เรียกว่า "แม้ว" กับ "เย้า" ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ไม่ได้ระบุพื้นที่ชัดเจนว่าอยู่ในเขตพื้นที่ไหน นอกจากบอกว่าการเดินทางไปยังชุมชนทั้งสองนี้ ใช้เส้นทางเชียงใหม่-ฝาง โดยลงรถบริเวณกิโลเมตรที่ 60 แล้วต้องขี่ฬ่อขึ้นเขาเข้าไปในป่า

Language and Linguistic Affiliations

มีแต่ภาษาพูด ไม่มีภาษาเขียน และยากที่จะบอกว่าภาษาพูดเป็นภาษาในตระกูลใด เป็นภาษาที่ใช้คำพยางค์เดียว และโทนเสียงต่างจากทั้งภาษาจีน และไทย ใช้ภาษาจีนเป็นภาษาทางการ และเป็นภาษาในการติดต่อซื้อขาย (หน้า 1)

Study Period (Data Collection)

ไม่ได้ระบุชัดเจน ผู้เขียนบอกว่าเดินทางไปสองครั้ง การเดินทางครั้งแรกในปี ค.ศ.1953 ใช้เวลาอยู่ที่หมู่บ้านม้งแห่งหนึ่ง ทางตอนเหนือของจังหวัดเชียงใหม่ ไม่กี่วัน และจากนั้นพยายามจะเดินทางต่อไปเชียงคำบริเวณพื้นที่ใกล้กับพรมแดนไทย-ลาว และพบหมู่บ้านเย้าที่นั่น ถัดจากนั้นอีกหนึ่งปีต่อมาในปี ค.ศ.1954 ได้เดินทางไปที่หมู่บ้านม้งอีกครั้ง และใช้เวลานานขึ้นกว่าครั้งแรก (หน้า 1-2) แต่ถ้าดูจากช่วงเวลาที่บทความนี้ตีพิมพ์ คือในปี ค.ศ.1955 เป็นไปได้ว่าน่าจะใช้เวลาในการศึกษาและเก็บข้อมูลไม่เกิน 2 ปี

History of the Group and Community

ไม่มีข้อมูล มีแต่ตำนานเรื่องเล่า

Settlement Pattern

ไม่ได้อธิบายชัดเจน นอกจากให้ข้อมูลว่าม้งมีวัฒนธรรมการทำการเกษตรแบบทำไร่เลื่อนลอย คือถางป่าและเผาป่าเพื่อทำไร่ และโดยจะย้ายที่ไปเรื่อย ๆ พืชหลักที่ปลูกคือ ฝิ่น ปลูกเพื่อขาย และข้าวโพด ปลูกเพื่อเป็นอาหาร ม้งจะใช้หมู่บ้านเป็นเสมือนศูนย์กลางในการติดต่อ หากส่วนใหญ่แล้วพวกเขาจะใช้เวลาอยู่ในไร่มากกว่า โดยสร้างที่พักชั่วคราวไว้นอนในไร่ ประมาณทุก 4 ปี เมื่อพื้นดินหมดความอุดมสมบูรณ์ ทั้งหมู่บ้านก็จะพากันอพยพ ไปถางป่าหาพื้นที่ทำการเกษตรใหม่ (หน้า 6) สำหรับในกรณีของเผ่าเย้า ผู้เขียนไม่ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมใด ๆ (รายละเอียดโครงสร้างบ้านเรือนดูที่หัวข้อ Art and Crafts)

Demography

ผู้เขียนระบุเพียงว่าหมู่บ้านม้งหมู่บ้านหนึ่งประกอบกอบด้วยบ้านราว 30-40 หลังคาเรือน (หน้า 2)

Economy

ทำการเกษตรแบบทำไร่เลื่อนลอย เพื่อเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ พืชเศรษฐกิจหลักที่ปลูกคือ ฝิ่น ซึ่งปลูกไว้สำหรับขาย และปลูกข้าวโพดไว้สำหรับเป็นอาหาร เนื่องจากไม่สามารถทำนาปลูกข้าวบนพื้นที่สูงได้ นอกจากนั้น ก็ยังปลูกชาและยาสูบบ้าง สัตว์ที่เลี้ยงได้แก่ ม้า วัว ควาย หมู ไก่ สุนัข และแมว ม้งไม่เชื่อถือในเรื่องมูลค่าของเงินที่เป็นธนบัตร พวกเขาจึงขายฝิ่นแลกกับเงินที่เป็นโลหะของพม่า โดยเงินที่ได้มาจะนำไปใช้ซื้อของที่จำเป็น เช่น ม้า ฬ่อ ข้าว เข็มและด้ายหลากสี โดยเฉพาะในบรรดาข้าวของอุปโภคบริโภคที่จำเป็นที่สุดคือ เหล็ก และเกลือ โดยส่วนใหญ่แล้วพวกเขาจะประดิษฐ์สิ่งของใช้เอง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำมาหากินต่างๆ อาวุธ เครื่องเรือน สมัยก่อนเคยมีพ่อค้าชาวจีนเดินทางมาเร่ขายสินค้าประเภทที่ทำจากพลาสติกในหมู่บ้าน แต่ต่อมาพ่อค้าชาวจีนไม่ได้รับอนุญาตให้ข้ามชายแดน ดังนั้นช่วงหลังหากต้องการซื้อของที่ผลิตเองไม่ได้ พวกผู้อาวุโส ก็จะเดินทางลงเขา เข้าไปซื้อของในเมืองที่อยู่ใกล้ที่สุด (หน้า 7-8) สำหรับเย้า ยังมีการจ้างครูชาวจีนมาสอนเรื่องการเขียนตัวหนังสือจีนเป็นครั้งคราวด้วย

Social Organization

วัยรุ่นม้งจะมีอิสระเต็มที่ในการมีความสัมพันธ์ทางเพศและเลือกคู่ ขณะที่ตามประเพณีของเย้าผู้หญิงมีสิทธิที่จะเลือกชายต่างถิ่นที่เป็นแขกของหมู่บ้านที่เธอพอใจไปหลับนอนด้วยได้ แต่สิ่งที่แตกต่างกันระหว่าง 2 เผ่านี้คือ สำหรับม้งแล้วมีกฎว่าห้ามมีความสัมพันธ์ฉันท์ชู้สาวไม่ว่าจะในระดับใดกับคนนอกเผ่าม้ง แม้แต่มีความสัมพันธ์กับม้งต่างกลุ่มก็ไม่ได้ ยกเว้นในกรณีของม้งขาวที่สามารถจีบกลุ่มอื่นๆ ได้ การให้อิสระเต็มที่เช่นนี้ ทำให้ผู้หญิงส่วนใหญ่ไม่ต้องเผชิญกับการถูกบังคับให้แต่งงานเพื่อพ่อแม่ และเมื่อแต่งงานไปแล้วถ้าอยู่กับสามีไม่ได้ ก็สามารถไปอยู่กับสามีใหม่ได้ โดยที่สามีเก่าไม่ว่า เพราะถือว่าจะไม่มีการบังคับฝืนใจกัน โดยมีธรรมเนียมของเผ่ากำกับไว้ว่า ในกรณีเช่นนี้สามีเก่าจะได้รับค่าชดเชยจากพ่อแม่ของฝ่ายอดีตภรรยามากกว่าค่าสินสอดที่เคยจ่ายไปเมื่อตอนแต่งงาน ด้วยเหตุนี้อัตราการหย่าร้างของเผ่าจึงต่ำมาก (หน้า 11 -12)

Political Organization

ในแต่ละหมู่บ้านม้ง จะมีการเลือกผู้นำหรือหัวหน้าหมู่บ้าน ซึ่งไม่ค่อยมีบทบาทอะไรมากนัก นอกจากคอยทำหน้าที่ติดต่อกับทางการไทยเท่านั้น คือคอยรายงานเรื่องการย้ายถิ่นของหมู่บ้าน ผู้ที่มีอำนาจในการปกครองดูแลเผ่าอย่างแท้จริง คือ บรรดาผู้อาวุโสทั้งหลายของหมู่บ้าน เช่นในกรณีที่มีคนละเมิดกฎระเบียบประเพณี ผู้อาวุโสจะเป็นคนที่คอยตัดสินใจว่าจะเรียกค่าปรับเท่าไร หากส่วนใหญ่แล้วในหมู่บ้านแทบจะไม่มีปัญหาใดๆ เลย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความขัดแย้ง การลักทรัพย์ หรืออาชญากรรมต่าง ๆ เนื่องจากตามความเชื่อของเผ่า การทะเลาะเบาะแว้งกันจะทำให้วิญญาณของบรรพบุรุษที่คอยเฝ้าดูอยู่ไม่พอใจ และพวกเขาเลือกที่จะใช้วิธีวิ่งหนีเข้าไปเพื่อหลีกเลี่ยงการทะเลาะหรือกระทบกระทั่งกันมากกว่า นอกจากนั้น การใช้พื้นที่อยู่อาศัยร่วมกันเป็นกลุ่มใหญ่ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้การลักขโมยเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก (หน้า 10-11)

Belief System

ทั้งม้งและเย้าเป็นชนเผ่าที่ไม่มีศาสนา ไม่มีการสักการะบูชา หรือประกอบพิธีกรรมเซ่นสังเวยใด ๆ ในเวลาปกติ ยกเว้นเวลาที่มีปัญหา พวกเขานับถือและเชื่อในเรื่องวิญญาณของบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว แต่ไม่เชื่อในเรื่องภูติผีปีศาจ โดยเชื่อว่าในระหว่าง 3 ปีหลังการตายวิญญาณผู้ตายจะยังคงอยู่คอยตรวจตราดู ถ้าหากมีใครในหมู่บ้านประพฤติผิดธรรมเนียมประเพณี ผีบรรพบุรุษก็จะลงโทษ โดยทำให้ผู้นั้นโชคร้าย หรือไม่ก็เจ็บป่วย บุคคลที่มีบทบาทสำคัญในพิธีกรรมการตาย รวมถึงพิธีกรรมการรักษาผู้ที่เจ็บไข้ได้ป่วย เรียกว่า "Meng-goong" ซึ่งผู้เขียนไม่แน่ใจว่าจะเรียกเขาว่าเป็น ผู้มีเวทมนตร์ เป็นพระ หรือเป็นหมอดี และในกรณีที่มีการละเมิดขนบธรรมเนียมประเพณี วิธีขอขมาต่อผีบรรพบุรุษก็คือให้ผู้ที่ทำผิดฆ่าสัตว์มาสังเวยต่อ "Meng-goong" โดย "Meng-goong" จะเป็นคนระบุว่าให้ฆ่าสัตว์อะไร จำนวนเท่าไร (หน้า 9)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ตามความเชื่อของเผ่าม้ง ความเจ็บป่วยมีสาเหตุมาจากการผิดผีบรรพบุรุษ เมื่อมีคนป่วยในหมู่บ้าน "Meng-goong" จะเป็นผู้ประกอบพิธีในการรักษา โดย "Meng-goong" จะแต่งตัวด้วยชุดสีดำ สวมหน้ากากสีดำ นั่งเผชิญหน้ากับศาลผีบรรพบุรุษในห้อง พร้อมกับตีกลอง และท่องคาถา สลับกับกรีดร้อง และกระโดดตัวลอยสูงขึ้นจากพื้นในท่านั่งเป็นระยะ ๆ ขณะที่ผู้ป่วยจะถูกจับให้นอนราบกับพื้น มีการนำเอาเลือดไก่ หรือเลือดลูกหมูที่เพิ่งถูกฆ่าสดๆ มาทาที่หลังของคนป่วย และทาที่เขาสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ในการทำพิธีของ "Meng-goong" ขณะที่ "Meng-goong" ท่องคาถาและตีกลองไปเรื่อยๆ (หน้า 9-10)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ผู้เขียนให้ความสำคัญกับประเด็นเหล่านี้ค่อนข้างมากกว่าประเด็นอื่นๆ ในบทความเดียวกัน โดยจะบรรยายถึงสภาพบ้านเรือน เครื่องใช้ไม้สอย เสื้อผ้าและการแต่งกาย รวมถึงเรื่องเครื่องดนตรี และวัฒนธรรมการละเล่น การบันเทิงของเผ่าค่อนข้างละเอียด ดังนี้ บ้านเรือน : มีลักษณะเป็นกระท่อมแบบยุคบรรพกาล สร้างแบบเรียบง่ายติดกับพื้นดิน ใช้พื้นดินเป็นพื้นบ้าน ฝาผนังทำด้วยไม้กระดานหยาบ ๆ เอามาต่อกันแบบไม่สนิทดี ทำให้มีแสงส่องลอดเข้ามาได้ หลังคามุงด้วยใบไม้แห้งซ้อนทับกันหยาบ ๆ ภายในบ้านพื้นที่ 1 ใน 5 ถูกกั้นไว้เป็นห้องนอนสำหรับคู่ที่อาวุโสที่สุดของบ้าน ภายในบ้านไม่มีเครื่องเรือนอะไรมากนัก นอกจากเก้าอี้นอนที่ทำด้วยไม้ไผ่ และชั้นใส่ของ (หน้า 3) เครื่องเรือน และเครื่องใช้ : ส่วนใหญ่พวกเขาจะประดิษฐ์สิ่งของใช้เอง จากวัสดุจำพวกไม้ ไม้ไผ่ และ พืชจำพวกบวบ หรือน้ำเต้า โดยเฉพาะสิ่งประดิษฐ์ที่แสดงถึงภูมิปัญญาในการจัดการน้ำ ได้แก่ท่อไม้ไผ่ส่งน้ำ ซึ่งเป็นการนำเอาน้ำจากน้ำพุบนภูเขามาใช้สำหรับหุงหาอาหาร ดื่มกิน และซักเสื้อผ้า (หน้า 4) เครื่องใช้สอยในครัวเรือนมีเพียงหินโม่แป้ง และเตาไฟ เครื่องแต่งกาย : 

ผู้ชายม้ง โดยเฉพาะวัยรุ่นจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสมัยใหม่ ที่สะอาด สีสันกลมกลืน ดำ แดงสด และเงิน หลายคนสวมหมวกครอบทรงกลมสีดำแบบจีนมีจุกสีแดงตรงกลาง และสวมเสื้อคลุมสั้นสีดำ กระดุมทำด้วยเงิน มีสายคาดเอวสีแดงสดปักลวดลาย กางเกงขายาวเหมือนกางเกงของจีนทั่วไป แตกต่างตรงที่เป็นกางเกงที่เป้าต่ำยาวมาจนถึงเข่า (หน้า 4 -5)

ผู้หญิงม้ง ไม่สวมหมวก แต่จะมัดผมเป็นมวยหลายแบบ สวมเสื้อคลุมยาวสีน้ำเงิน ประดับด้วยแถบผ้าสีรอบคอเสื้อ ยาวลงมาข้างหน้าถึงเอว เหมือนกิโมโน สวมกระโปรงสั้นที่ทำจากผ้าหนาและหนักยาวประมาณ 21 ฟุตเย็บจับจีบรอบ ส่วนบนของขอบกระโปรงเป็นผ้าสีน้ำเงินมีลายสีขาว ส่วนล่างปักครอสติชเป็นลวดลาย คล้ายชุดชาวนายุโรปตะวันออก สวมปลอกผ้าสีน้ำเงินป้องกันขาทั้งสองข้างจากหนามในป่าเกี่ยว ไม่ปรากฎว่ามีการสวมรองเท้าทั้งผู้หญิงและผู้ชายม้ง อย่างไรก็ดีสำหรับม้งกลุ่มอื่น จะมีเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายที่มีสีสันแตกต่างออกไป (หน้า 5) -

ผู้ชายเย้า จะสวมชุดสีน้ำเงินเข้ม ลักษณะคล้ายกับชุดของชาวนาจีนทางตอนใต้ สวมหมวกครอบ เสื้อคลุมมีกระดุมข้าง

ส่วนผู้หญิงเย้า สวมเสื้อคลุมยาวที่มีคอเสื้อทำด้วยขนแกะสีแดงสดยาวไปถึงข้อเท้า สวมหมวกโพกศีรษะสีดำขนาดใหญ่ คาดเข็มขัดทับ และสวมกางเกงขายาวปักลวดลายละเอียดยิบ ( หน้า 13 )

เครื่องประดับ : ทั้งผู้ชายและผู้หญิงม้งสวมเครื่องประดับ 2 แบบลักษณะคล้ายกัน คือเป็นสร้อยคอเงินเส้นใหญ่และหนัก ห้อยแม่กุญแจ และกำไลคอที่ทำด้วยเงินเป็นรูปตัวยู โดยเชื่อเครื่องประดับอย่างแรกจะช่วยคล้องรักษาโชคดีไว้กับตัว ส่วนอย่างที่สองจะช่วยป้องกันโชคร้ายจากภายนอก นอกจากนั้นผู้ชายม้งบางคนอาจจะสวมสร้อยข้อมือเงินด้วย (หน้า 5)

ในส่วนของเครื่องประดับเผ่าเย้าผู้เขียนไม่ได้ให้รายละเอียดไว้ เครื่องดนตรี และการแสดง : ในงานรื่นเริงม้งจะเล่นเครื่องดนตรีที่เป็นเครื่องเป่าขนาดใหญ่ปานกลาง ทำด้วยท่อไม้ไผ่มามัดเรียงกันลักษณะคล้าย "แคน" ที่วางในแนวนอน โดยหนุ่มม้งจะเป่าเครื่องดนตรีชนิดนี้เป็นเพลงรักพร้อมกับเต้นรำไปรอบ ๆ จากช้าค่อย ๆ เร็วขึ้น ๆ ขณะที่ผู้ฟังบางคนที่เป็นหนุ่มสาวก็จะมีความชำนาญในการดัดแปลงเนื้อกลอนบทนั้นและช่วยร้องเป็นลูกคู่ นอกจากนี้ยังมีการแสดงเพื่อความรื่นเริงอีกอย่างหนึ่ง คือการร่ายรำการต่อสู้ด้วยดาบ หรือดาบไม้ ช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลองที่สำคัญที่สุดคือในช่วง 10 วันของเทศกาลตรุษจีน ที่ทุกคนจะกลับมายังหมู่บ้านเพื่อมาเตรียมงานฉลอง ดื่มกิน และมีงานรื่นเริงสนุกสนานด้วยกัน กับอีกเทศกาลที่สำคัญคืองานฉลองของครอบครัวที่จะมีการฆ่าสัตว์เพื่อเซ่นสังเวยวิญญาณผีบรรพบุรุษ ในช่วงที่มีการเจ็บป่วยหรือมีการตาย (หน้า 8)

Folklore

ชนเผ่าเย้ามีตำนานเล่ากันสืบต่อมาถึงต้นกำเนิดของเผ่าว่า พวกเขาสืบเชื้อสายมาจากสุนัขของจักรพรรดิ์แห่งประเทศจีน โดยเรื่องในตำนานเกี่ยวข้องกับบรรพบุรุษของม้งด้วย กล่าวคือ นานมาแล้ว จักรพรรดิ์จีนได้ส่งบรรพบุรุษของพวกเขาคือสุนัขของพระองค์ ไปกัดเจ้าชายแม้วซึ่งปกครองดินแดนแห่งหนึ่งตาย หลังจากนั้นสุนัขก็ขอแต่งงานกับพระธิดาของจักรพรรดิ์เป็นรางวัลตอบแทน และก็ได้พาภรรยากลับมาอาศัยอยู่ในดินแดนที่เคยเป็นของเจ้าชายแม้ว และให้กำเนิดเป็นลูกหลานเผ่าพันธุ์เย้าสืบมา นอกจากตำนานนี้แล้วก็ยังมีตำนานอีกเรื่องหนึ่งที่เล่าต่อมาจากตำนานเรื่องแรกอีกด้วยว่า ครั้งหนึ่งเกิดภัยพิบัติเรื่องอาหารขาดแคลนในดินแดนเย้า ทำให้มีคนพยายามที่จะอพยพโดยลงเรือข้ามน้ำข้ามทะเลไป แต่ก็ไปไม่สำเร็จเพราะเจอพายุพัดจนเรือจมคนตาย สุดท้ายมีครอบครัว 9 ครอบครัวที่ทำสามารถทำได้สำเร็จ เนื่องจากพวกเขาได้สวดอ้อนวอนบนบานต่อปีศาจใหญ่ที่ชื่อปัน ว่าถ้าข้ามน้ำไปได้จะฆ่าหมูแก้บน อย่างไรก็ตาม เมื่อพวกเขาอพยพข้ามน้ำมายังดินแดนใหม่กลับไม่มีหมูให้นำไปแก้บน จึงใช้วิธีเขียนรูปหมูบนกระดาษและแก้บนด้วยของสิ่งอื่นแทน และนี่เองที่เป็นที่มาของนามสกุล 9 นามสกุลในเผ่า และความเชื่อเรื่องการนำเอากระดูกต้นขาหมูไว้ในบ้านเพื่อบูชาปีศาจ ( หน้า 14-15 )

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ม้งยังจำแนกออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ อีกหลายกลุ่ม อาทิเช่น ม้งขาว และม้งสีอื่น ๆ โดยเรียกชื่อกลุ่มตามสีของเครื่องแต่งกายที่สวม และสำเนียงภาษาที่แตกต่างกัน โดยมีกฎว่าม้งจะไม่แต่งงานกับคนต่างเผ่า หรือแม้แต่เผ่าม้งเหมือนกันแต่คนละกลุ่มเป็นอันขาด ในบทความนี้เราจะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างม้งกับเย้าไม่ชัดเจนนัก รวมถึงแม้แต่ลักษณะสิ่งแวดล้อมถิ่นที่อยู่อาศัย เนื่องจากผู้เขียนใช้วิธีบรรยายถึงสองเผ่าไปด้วยกันเป็นส่วนใหญ่ โดยมีมุมมองว่าสองเผ่านี้มีความเป็นอยู่ วัฒนธรรมประเพณีที่เหมือนกันมาก จะมีก็แต่ตอนที่เล่าถึงตำนานกำเนิดเผ่าเย้าที่สะท้อนให้เห็นความเกี่ยวพันกับเผ่าม้งอยู่ สำหรับความสัมพันธ์กับคนกลุ่มอื่น ที่ถูกกล่าวถึงก็จะมีความสัมพันธ์กับนายอำเภอไทย ในแง่ของการรายงานการเคลื่อนย้ายพื้นที่ และการเข้าไปใช้พื้นที่ป่าของม้งซึ่งผู้เขียนเห็นว่าทางการไทยกำลังจับตามองอยู่ และความสัมพันธ์กับชาวจีน ทั้งพ่อค้าชาวจีนที่เคยเดินทางมาค้าขายกับม้งในอดีต และครูชาวจีนที่เย้าจ้างมาสอนการเขียนตัวหนังสือเป็นครั้งคราว ตลอดจนการค้าขายฝิ่นกับชุมชนข้างนอก ที่ผู้เขียนไม่ได้ให้รายละเอียดมากนัก

Social Cultural and Identity Change

ผู้เขียนแทบไม่ได้อธิบายในประเด็นนี้เท่าไร เนื่องจากในสายตาของผู้เขียนที่บรรยายถึงสองเผ่านี้ มองว่าทั้งสองชุมชนเป็นชุมชนดั้งเดิมที่ยังไม่เจริญ ไม่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก หากเมื่อวิเคราะห์จากข้อมูลแวดล้อมแล้ว จะเห็นได้ว่ามีหลายปัจจัยที่อาจสนับสนุนข้อสรุปว่าสองชุมชนไม่มีความเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม หรือรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงทางอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ได้ กล่าวคือ

1. ทำเลที่ตั้งของชุมชนที่ยากแก่การเดินทางเข้าออก และยากต่อการติดต่อกับชุมชนภายนอก นอกจากชุมชนใกล้เคียง ซึ่งก็มีสภาพไม่แตกต่างกันมากนัก

2. การเป็นชุมชนที่พึ่งตนเองได้เป็นส่วนใหญ่ ทำให้ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาชุมชนอื่น

3. การมีกฎระเบียบที่เคร่งครัดเกี่ยวกับการแต่งงานภายในกลุ่มเดียวกันเอง

4. การย้ายถิ่นฐานไปเรื่อยๆ ไม่อยู่ติดที่ เหล่านี้ล้วนเป็นเหตุผลที่เป็นไปได้ในการที่ทำให้พวกเขาไม่มีโอกาสได้รับรู้ถึงวัฒนธรรมภายนอกมากนัก

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ภาพม้ง

Text Analyst สุไลพร ชลวิไล Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG ม้ง, เมี่ยน อิวเมี่ยน, สังคม, วัฒนธรรม, ความเชื่อ, วิถีชีวิต, ภาคเหนือ, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง