สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject อูรักลาโว้ย,ชาวเล,ความเชื่อ,พิธีกรรม,มานุษยวิทยาวัฒนธรรม,เกาะพีพีดอน,กระบี่,ภาคใต้
Author วิสิฏฐ์ มะยะเฉียว, เขมชาติ เทพไชย
Title ชาวเลบ้านแหลมตง : การศึกษาทางด้านมานุษยวิทยาวัฒนธรรม
Document Type อื่นๆ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity อูรักลาโว้ย อูรักลาโวยจ, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเนเชี่ยน
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 30 Year 2527
Source รายงานการสำรวจ กองโบราณคดี กรมศิลปากร
Abstract

รายงานการสำรวจชุมชนชาวเลบ้านแหลมตง บรรยายให้เห็นสภาพวิถีชีวิตความเป็นอยู่ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี และพิธีกรรมของชาวเล ชาวเลบ้านแหลมตงได้อพยพมาจากชุมชนชาวเลต่าง ๆ อาทิ ชาวเลสิงห์ อูรักลาโว๊ย และมอเกลน มีการผสมผสานด้านชาติพันธุ์โดยการแต่งงานข้ามกลุ่ม

นอกจากนี้ยังมีกลุ่มนายทุนอพยพมาจากสตูล และพวกมุสลิมอพยพมาจากเกาะยาว ชาวเลมีความเชื่อในเทพเจ้าประจำศาล โดยยึดถือเป็นที่พึ่งทางใจ มักทำพิธีแก้บนเมื่อมีเรื่องทุกข์ร้อนใจ ทั้งยังยกย่องนับถือโต๊ะเป็นผู้นำประจำชุมชน และเป็นที่ปรึกษาด้านพิธีกรรม ผู้ใหญ่บ้านมีบทบาทต่อชีวิตความเป็นอยู่ไม่มากนัก ชาวเลชุมชนบ้านแหลมตงมักอยู่กันเป็นครอบครัวเดี่ยว ดำเนินชีวิตอยู่ภายใต้ระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพานายทุนในชุมชนเป็นหลัก ประกอบอาชีพหลักคือการจับสัตว์น้ำ เป็นที่น่าสังเกตว่า ระบบวงจรเศรษฐกิจภายในชุมชนถูกกำหนดขึ้นโดยนายทุน มีการหมุนเวียนสินค้าและค่าจ้างแรงงานในรูปแบบต่าง ๆ เป็นเครื่องผูกมัดชาวเล นายทุนมีบทบาทและอิทธิพลสูงในการกำหนดราคารับซื้อสินค้า โดยให้ราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาด ในขณะที่ขายสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคแก่ชาวเลในราคาแพง ทั้งยังเป็นเจ้ามือหวยเถื่อน ผูกชาวเลไว้ด้วยระบบหนี้สิน โดยไม่มีหน่วยงานรัฐเข้าไปจัด การ

Focus

ศึกษาการดำรงชีวิตของชาวเลในหมู่บ้านแหลมตง บนเกาะพีพีดอน อ.เมือง จ.กระบี่

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

กลุ่มชาวเลบ้านแหลมตง เกาะพีพีดอน อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ ประกอบด้วยกลุ่ม ที่เรียกตัวเองว่า "ชาวเลสิงห์" (Moken) "อูรัก ลาโว้ย" (Urak Lawoi) และ "มอเกล็น" ((Moklen) อยู่รวมกัน (หน้า 1)

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

ชาวเลชุมชนบ้านแหลมตงอพยพมาจากชุมชนชาวเลต่างๆ อาทิ ชุมชนชาวเลบ้านแหลมหลา ชุมชนชาวเลเกาะจำ ชุมชนชาวเล หาดราไวย์ ชุมชนชาวเลบริเวณเกาะลันตา จ. กระบี่ ชุมชนชาวเลบริเวณหมู่เกาะแถบจังหวัดระนอง เรียกกันว่า "เมืองพรัด" รวม ถึงชุมชนชาวเลเกาะอาดัง จ.สตูล มีการแต่งงานข้ามกลุ่ม ชาวเลสิงห์เป็นกลุ่มที่อพยพเข้ามาภายหลัง เป็นกลุ่มนักเดินทางแสวงหา มักไม่สร้างบ้านเป็นหลักแหล่ง แต่จะใช้ชีวิตอยู่ บนเรืออพยพไปเรื่อย ๆ ชาวเลสิงห์แวะเข้ามาสร้างบ้านเรือนแถบชุมชนหาดราไวย์ แต่ยังคงแยกเป็นกลุ่มต่างหากจากชาวเลกลุ่มเดิม นายทุนอพยพมาจากสตูล ส่วนคนที่นับถือศาสนาอิสลามอพยพมาจากเกาะยาว (หน้า 2, 8)

Settlement Pattern

ที่ดินแปลงบ้านแหลมตงมีเนื้อที่ประมาณ 108 ไร่ ของชาวเล 10 ครอบครัว ตั้งอยู่ติดบริเวณชายฝั่งทะเล สภาพพื้นที่มีลักษณะเป็นดินปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะกับการอยู่อาศัยและทำการเพาะปลูก ชุมชนชาวเลตั้งถิ่นฐานบนเกาะมานาน ได้สร้างบ้านเรือนเป็นเขตชุมชนเฉพาะบริเวณบ้านแหลมตงเท่านั้น ต่อมาคนที่นับถือศาสนาอิสลามจากเกาะยาวค่อยอพยพมาจับจองภายหลังโดยตั้งถิ่นฐานอยู่คนละฝั่งกับชาวเล ต่อมาได้ขยายพื้นที่มาหักร้างถางพง และจับจองเป็นเจ้าของที่ดินเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่ชาวเลมักไม่สนใจเป็นเจ้าของที่ดินมากนัก ชาวเลบ้านแหลมตงมีทั้งหมด 26 ครัวเรือน เป็นบ้านชาวเล 22 ครัวเรือน และบ้านที่นับถือศาสนาอิสลาม 3 ครัวเรือน ร้านขายของชำ 2 ร้าน บ้านคนจีน 1 หลัง ที่ดินทั้งหมดในชุมชนคิดเป็น 82 ไร่ เป็นของชาวเล 10 ครอบครัว ชาวเลมีที่ดินเป็นของตนเองไว้ทำการเพาะปลูกบางคนมีที่ดินเป็นที่สวน ส่วนใหญ่เป็นพืชที่มีอยู่ก่อนได้สิทธิครอบครองจากทางการ ในชุมชนมีศาลประจำชุมชนเหมือนชาวเลกลุ่มอื่น (หน้า 8,9,10,14,20, 21)

Demography

ประชากรชาวเลมีจำนวน 110 คน (หน้า 8) จำนวนครอบครัวชาวเล 18 ครัวเรือน แรงงานชายที่ทำงานหารายได้มาจุนเจือครอบครัวทั้งหมด 30 คน หญิง 33 คน เด็ก 47 คน การใช้แรงงาน 33% นักเรียนโรงเรียนบ้านแหลมตงระดับชั้น ป.1- ป.6 มีจำนวน 47 คน มีครูทั้งหมด 4 คน การขยายตัวของประชากรที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ชาวเลเริ่มมีความสัมพันธ์กับคนไทยที่นับถือศาสนาพุทธ และคนไทยที่นับถือศาสนาอิสลามมากขึ้น (หน้า 15, 20, 23, 24)

Economy

ชาวเลมีอาชีพหลักคือ การจับสัตว์น้ำ นอกจากนี้ยังนิยมเพาะปลูกพืชจำพวก มะม่วง กล้วย มะม่วงหิมพานต์ มะพร้าว ผู้ชายจะเป็นแรงงานสำคัญ ในขณะที่ผู้หญิงจะรับผิดชอบภายในครอบครัว ชาวเลในชุมชนบ้านแหลมตงจะออกไปตกเบ็ดตอนเข้าตรู่หรือคืนเดือนหงาย ชาวเลจะใช้เรือที่เช่าซื้อแบบผ่อนส่งจากนายทุน ออกไปตกเบ็ด ดำหอย ดำกุ้ง สัตว์น้ำที่จับมาได้ต้องขายให้กับนายทุนเจ้าของเรือ ปลาที่ราคาสูงคือ ปลาเสียด ได้ราคากิโลกรัมละ 15 บาท การจับปลาเป็นอาชีพที่ไม่แน่นอน วันไหนจับได้มากได้เงินมาก็มักใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย ไม่เก็บออม นายทุนในชุมชนมีบทบาทเป็นตัวเชื่อมโยงกับสังคมภายนอก นายทุนเป็นผู้ให้เช่าซื้อเรือกรรเชียงเล็กแบบเงินผ่อน เนื่องจากเรือเป็นเครื่องมือสำคัญและจำเป็นต่อการประกอบอาชีพ เป็นคนหักเงินจากการขายปลาได้ ซ้ำยังมีสิทธิ์กำหนดราคาปลาได้ตามใจชอบ มีนายทุนเป็นผู้สร้างระบบวงจรทางเศรษฐกิจขึ้นมาครอบงำให้เป็นไปตามเงื่อนไขจนแทบจะครบวงจร ชาวเลจะซื้อของด้วยวิธีเงินเชื่อกับร้านนายทุน ชาวเลทุกครัวเรือนจึงเป็นหนี้กันหมด แม้บางครอบครัวจะมีสวน ก็ไม่มีเงินเหลือจากการขายมะพร้าว ชาวเลที่มีสวนมะพร้าวก็ต้องขายมะพร้าวให้นายทุนซึ่งเป็นผู้กำหนดราคารับซื้อ ซ้ำยังโดนหักหนี้เป็นผลมะพร้าว หากมะพร้าวขายได้ราคาดี หญิงชาวเลจะตื่นก่อนสามี เพื่อหุงหาอาหารเตรียมข้าวห่อตักน้ำจากบ่อ

นอกจากนี้ยังไปช่วยนายทุนผ่าปลา ได้ส่วนหัวปลา เหงือกและตับไตไส้พุงมาทำอาหาร หญิงชาวเลที่ไม่เล่นไพ่ จะมาช่วยแกะเนื้อมะพร้าว นายทุนจะให้กะลามาเป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้มเป็นสิ่งตอบแทน ระบบเงินตราจึงเป็นเครื่องมือสำคัญของนายทุน ในการหมุนเวียนสินค้าและค่าจ้างแรงงานรูปแบบต่าง ๆ ทั้งยังเป็นเครื่องผูกมัดชาวเลในชุมชนที่ส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ทั้งวงจร นอกจากนี้ นายทุนยังเป็นเจ้ามือหวยเถื่อนออกเลข สำหรับชาวเลในชุมชนที่นิยมเสี่ยงโชคอีกด้วย (หน้า 9, 3,14,15,16,17)

นอกจากอาชีพตกเบ็ดจับสัตว์น้ำแล้ว ชาวเลชุมชนบ้านแหลมตงยังเป็นลูกจ้างทำระเบิดปลา อุปกรณ์ทำระเบิดเป็นของนายทุนทั้งหมด แต่จะเก็บไว้ที่บ้านชาวเลเพราะนายทุน ไม่ต้องการมีปัญหา หากถูกตรวจค้น การระเบิดปลาใช้แรงงาน 10-15 คน ต้องนำเรือกรรเชียงไปด้วย การระเบิดแต่ละครั้งจะได้ปลาเป็นจำนวนมากเป็นร้อยกิโลกรัม (หน้า 18 - 19)

Social Organization

ครอบครัวชุมชนชาวเลบ้านแหลมตงมักอยู่กันเป็นครอบครัวเดี่ยว (Nuclear Family) ครอบครัวหนึ่ง ๆ ประกอบด้วยพ่อ แม่และลูก สามีจะมีบทบาทสำคัญสูงสุดในบรรดาสมาชิกในครอบครัว เพราะต้องรับผิดชอบในการหาเลี้ยง ภรรยาชาวเลมักพูดว่าทำอะไรต้องปรึกษาสามีก่อน แสดงให้เห็นถึงการเคารพเชื่อฟังสามี ในหมู่เครือญาติจะมีการร่วมทานอาหารกันบางโอกาส นายทุนมีบทบาทในการเป็นผู้เชื่อมโยงโลกภายนอกเข้ากับชุมชนชาวเล (หน้า 12,16,27)

Political Organization

ชุมชนชาวเลมีราษฎรในพื้นที่บ้านหมู่ 8 เป็นมุสลิมเกือบทั้งหมด การเลือกตั้งผู้นำเสียงส่วนใหญ่จึงเป็นของมุสลิม ผู้ใหญ่บ้านก็เป็นมุสลิมปกครอง กลุ่มชาวเลถือว่าโต๊ะประจำชุมชนเป็นผู้นำชาวเล และมักให้ความเคารพนับถือ เป็นที่ปรึกษาด้านพิธีกรรม ผู้นำ เป็นผู้ที่มีอิทธิพลในการชักจูงใจ ฉลาด เป็นนักคิดนักพูดแต่ไม่มีอำนาจหรือกำลังบังคับ และต้องเป็นคนซื่อสัตย์ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีศีลธรรม เข้าใจความต้องการคนส่วนใหญ่ ผู้ใหญ่บ้านมีบทบาทต่อชีวิตความเป็นอยู่มีไม่มากนัก เพียงแค่เก็บค่าภาษีที่ดิน สำรวจ สำมะโนประชากร และเรียกประชุมชาวบ้านตามคำสั่งจากอำเภอ ครูมีบทบาทสูงต่อชาวเลในชุมชน ชาวเลมักให้ความเคารพนับถือครู อย่างไรก็ดี ปัญหาที่พบก็คือนายทุนมีอิทธิพลสูงในการกำหนดราคารับซื้อสินค้า โดยให้ราคาต่ำกว่าท้องตลาดในขณะที่ขายสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคในราคาแพงแก่ชาวเล โดยที่ไม่มีหน่วยงานรัฐเข้าไปจัดการ ทั้ง ๆ ที่ชาวเลเป็นกลุ่มที่เสียภาษีให้รัฐทุกปี (หน้า 26 - 27, 29)

Belief System

ชาวเลในชุมชนมีความเชื่อในเทพเจ้าประจำศาล เป็นที่พึ่งทางใจ มักทำพิธีบนเมื่อมีเรื่องทุกข์ร้อนใจ เช่น หาปลาไม่ค่อยได้ หรือในยามเจ็บไข้ได้ป่วย มีการแก้บนด้วยเหล้าขาว ทั้งยังต้องเชิญโต๊ะประจำชุมชนไปช่วยกล่าวขอบคุณเทพเจ้า ที่บันดาลให้ผู้มาบนบานไว้ โดยใช้ภาษาชาวเล หลังจากนั้นจะมีการร้องรำทำเพลงบรรเลงดนตรีพวกรำมะนา ดื่มเหล้าเต้นรำกันอย่างสนุกสนานรอบ ๆ ศาลประจำชุมชน(หน้า 10)

ชาวเลส่วนใหญ่จะไปร่วมงานบุญเดือนสิบซึ่งเป็นประเพณีสารทไทย โดยจะไปกันทั้งครอบครัวเป็นกลุ่ม วัดที่นิยมไปคือวัดแก้ว หรือวัดที่บริเวณเมืองกระบี่ ชาวเลจะมากับเรือของนายทุน หลังจากเกิดอุบัติเหตุเรือล่มระหว่างเดินทางไปรับบุญเดือนสิบ หากปีไหนคลื่นลมแรง ชาวเลจะไม่พาเด็กเล็กไปร่วมงาน ชาวเลมีความเชื่อว่า เมื่อมาร่วมพิธีรับบุญเดือนสิบแล้วนำของเซ่นไหว้กลับมา เท่ากับนำเปรตกลับมายังชุมชนชาวเล ต้องทำพิธีลอยเรือเพื่อลอยเปรตและสิ่งไม่ดีทั้งหลายออกไป ชาวเลชุมชนบ้านแหลมตงได้ให้เหตุผลในการจัดพิธีลอยเรือบริเวณชุมชนอื่น แทนที่จะจัดที่หมู่บ้านตนเองว่าไม่สนุก จึงพากันไปร่วมพิธีลอยเรือตามบริเวณชุมชนชาวเลเกาะภูเก็ต และเกาะลันตา (หน้า 11)

นอกจากพิธีกรรมที่สะท้อนความเชื่อแบบพุทธและผีแล้ว ยังมีพิธีกรรมที่แสดงถึงความเชื่อด้านไสยศาสตร์คือ ในกลุ่มชาวเลบ้านแหลมตงจะมีหมอทำเสน่ห์ใช้น้ำตาปลาพะยูน (ชาวเลเรียกว่า ปลาดุหยง) มาทำพิธีตามความเชื่อมนต์ขลัง ส่วนพิธีกรรมด้านอื่นๆ โดยทั่วไป มีความคล้ายคลึงกันกับพิธีกรรมของชาวเลภูเก็ต แตกต่างตรงที่ชาวเลบ้านแหลมตงได้รับอิทธิพลในการใช้ชีวิตจากคนในหมู่บ้านที่นับถือศาสนาอิสลาม ในขณะที่ชาวเลภูเก็ตจะได้รับอิทธิพลจากคนไทยพุทธและจีนจากการติดต่อสัมพันธ์กัน (หน้า 12)

Education and Socialization

การจัดสรรที่ดินเพื่อสร้างโรงเรียนบริเวณใกล้ชุมชนชาวเล เป็นการส่งเสริมให้เด็กชาวเลมีโอกาสได้รับศึกษาขั้นพื้นฐาน ป.1-ป.6 ทำให้วิถีชีวิตชาวเลเปลี่ยนแปลงไปมาก (หน้า24) นักเรียนชาวเลที่จบชั้น ป.6 จะมีความรู้ภาษาไทยในขั้นอ่านออกเขียนได้แทบทุกคน ชาวเลรุ่นหนุ่มคิดจะส่งลูกให้เรียนหนังสือสูงกว่าพ่อแม่ เพราะเชื่อว่าหากมีความรู้มากขึ้นจะได้ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากกลุ่มนายทุน เพราะลำพังพวกชาวเลเองแล้ว ก็มิได้มีความสามารถจะแก้ปัญหาได้ดีกว่าที่เป็นอยู่ บางกลุ่มที่อายุมากก็ดูจะเฉยเมยต่อปัญหา ในขณะที่ครูมีบทบาทและได้รับความเคารพจากชาวเลในชุมชน เพราะมีส่วนช่วยให้ชาวเลเรียนรู้เรื่องอื่น ๆ มากขึ้น (หน้า 26)

Health and Medicine

เนื่องจากความห่างไกลของสถานีอนามัย และความไม่สะดวกในการเดินทางทำให้บริการด้านอนามัยเข้าถึงชาวเลน้อย ชาวเลจะเรียกเจ้าหน้าที่อนามัยติดปากว่า "หมอแม๊ะ" มาเยี่ยมเยียน (ข้อมูลปี 2525) คอยให้บริการและคำแนะนำเกี่ยวกับยาคุมกำเนิดแก่ชาวเล ผู้หญิงชาวเลบ้านแหลมตงใช้ยาคุมกำเนิด 11 คน จากคู่สมรส 16 คู่ ชาวเลนิยมมีบุตรไม่เกินครอบครัวละ 4 คน เมื่อชาวเลในชุมชนเจ็บป่วยและประสบปัญหา พบว่า บริการสาธารณสุขมูลฐานด้านอื่น ๆ ยังไม่เพียงพอ เกิดการขาดแคลนยา เครื่องมือในการตรวจรักษา (หน้า 24-25)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

การจัดสรรที่ดินเพื่อสร้างโรงเรียนบริเวณใกล้ชุมชนชาวเล เป็นการส่งเสริมให้เด็กชาวเลมีโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ป.1-ป.6 ทำให้วิถีชีวิตชาวเลเปลี่ยนแปลงไปมาก (หน้า24) นักเรียนชาวเลที่จบชั้น ป.6 จะมีความรู้ภาษาไทยในขั้นอ่านออกเขียนได้แทบทุกคน ชาวเลรุ่นหนุ่มคิดจะส่งลูกให้เรียนหนังสือสูงกว่าพ่อแม่ เพราะเชื่อว่าหากมีความรู้มากขึ้นจะได้ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากกลุ่มนายทุน เพราะลำพังพวกชาวเลเองแล้ว ก็มิได้มีความสามารถจะแก้ปัญหาได้ดีกว่าที่เป็นอยู่ บางกลุ่มที่อายุมากก็ดูจะเฉยเมยต่อปัญหา ในขณะที่ครูมีบทบาทและได้รับความเคารพจากชาวเลในชุมชน เพราะได้มีส่วนช่วยให้ชาวเลเรียนรู้เรื่องอื่นๆ มากขึ้น (หน้า 26)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

มีกลุ่มชาวเลอยู่รวมกันในชุมชน 3 กลุ่มคือ พวกชาวเลสิงห์ (Moken) พวกอูรักลาโว้ย (Urak Lawoi) และ มอเกล็น (Moklen) (หน้า 1)

Social Cultural and Identity Change

มีการผสมผสานด้านชาติพันธุ์โดยการแต่งงานข้ามกลุ่ม ระหว่างชาวเลกลุ่มต่าง ๆ ลักษณะการผสมผสานที่เห็นได้ชัดเจนของชาวเลชุมชนบ้านแหลมตงคือ การแต่งงานระหว่างหนุ่มสาวชาวเลและพ่อม่ายแม่ม่าย มีชาวเลกลุ่มหนึ่งคือ ชาวเลสิงห์อพยพเข้ามาเป็นกลุ่มมาสมทบทีหลัง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีรูปร่างหน้าตาและภาษาแตกต่างจากชาวเลกลุ่มอื่น ความแตกต่างระหว่าง " ชาวเล" กับ "ชาวเลสิงห์" นั้นแบ่งแยกได้ด้วยภาษาพูด อย่างไรก็ดี กลุ่มชาวเลเดิมก็ไม่ได้รังเกียจ กีดกัน แต่กลับอยู่ร่วมกันฉันญาติมิตร(หน้า 1-2)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

แผนที่แสดงที่ตั้งชุมชนชาวเลบ้านแหลมตง (หน้า 1)
แผนผัง 1 แสดงการผสมผสานกันของกลุ่มชาวเลในบริเวณชุมชน (หน้า 4 - 7)
แผนผัง 2 แสดงลักษณะบ้านชาวเล (หน้า 8.2)
แผนผัง 3 ชุมชนชาวเลบ้านแหลมตง จ.กระบี่ (หน้า 9.1)
ตาราง 1 การใช้แรงงานของครอบครัวชาวเลในเชิงเศรษฐกิจ (หน้า 15)
ตาราง 2 การครอบครองที่ดินของชาวเลชุมชนบ้านแหลมตง (หน้า 22 - 23)
ตาราง 3 จำนวนครูและนักเรียน ป.1- ป.4 โรงเรียนบ้านแหลมตงปีการศึกษา 2527 (หน้า 23)
ตาราง 4 จำนวนนักเรียนชั้น ป.5 - ป.6 (หน้า 24)
ภาพ 1 การสร้างบ้านเรือนและสภาพบริเวณชุมชนชาวเลบ้านแหลมตง (หน้า 8.1)
ภาพ 2 การทำกิจกรรมต่าง ๆ ในบ้านชาวเล (หน้า 8.3)
ภาพ 3 พื้นที่สวนด้านหลังชุมชนชาวแล และหลุมฝังศพชาวเล (หน้า 9.2)
ภาพ 4 การประกอบพิธีกรรมแก้บนของชาวเล (หน้า 10.1)
ภาพ 5 ชาวเลตอกหมันเรือ (หน้า14.1)
ภาพ 6 การประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจของชาวเล (หน้า 15.1)
ภาพ 7 การหาปลาของชาวเลบ้านแหลมดง (หน้า 15.2)
ภาพ 8 การขึ้นกราบเรือ และการเย็บจาก (หน้า 15.3)
ภาพ 9 นักเรียนบ้านแหลมตงกำลังเข้าแถวเคารพธงชาติและฝึกกายบริหาร(หน้า 23.1)
ภาพ 10 กิจกรรมบริเวณโรงเรียน / บ้านพักครู (หน้า 23.2)
ภาพ 11 เด็กชาวเลหัดว่ายน้ำ-กรรเชียงเรือ/ลานหินริมฝั่งด้านหลังชุมชนชาวเล (หน้า 26.1)
ภาพ 12 หมอตำแยและโต๊ะประจำชุมชน (หน้า 27.1)
ภาพ 13 บ้านและเรือชาวเล (หน้า 28.1)

Text Analyst เสาวนีย์ ศรีทับทิม Date of Report 18 มิ.ย 2556
TAG อูรักลาโว้ย, ชาวเล, ความเชื่อ, พิธีกรรม, มานุษยวิทยาวัฒนธรรม, เกาะพีพีดอน, กระบี่, ภาคใต้, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง