สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ไทลื้อ,ประวัติ,ความเป็นอยู่,ประเพณี,ภาษา,เชียงใหม่
Author รัตนาพร เศรษฐกุล, ชุลีพร วิมุกตานนท์ และราญ ฤนาท
Title การสำรวจทางชาติพันธุ์ของชนเผ่าไทในลุ่มแม่น้ำปิงจังหวัดเชียงใหม่
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ไทลื้อ ลื้อ ไตลื้อ, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 84 Year 2529
Source เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยพายัพ
Abstract

มีเนื้อหาครอบคลุมหลายประเด็น คือ อธิบายประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านเมืองลวง การตั้งถิ่นฐาน ชีวิตความเป็นอยู่ของไทลื้อบ้านเมืองลวง การจัดระเบียบทางสังคม ของชุมชน

Focus

แบบแผนการตั้งถิ่นฐาน ประวัติการก่อตั้งชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณีและวิถี การดำรงชีวิต โดยเน้นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น (หน้า 3)

Theoretical Issues

ผู้เขียนไม่ได้ระบุชัดเจนว่าใช้แนวทฤษฎีอะไรเป็นกรอบในการจัดระเบียบข้อมูล แต่พยายามแสดงให้เห็น การเปลี่ยนแปลงระบบความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในสังคม เช่น ในสถาบันครอบครัว เครือญาติ การครองเรือน เศรษฐกิจ ความเชื่อ เป็นต้น (หน้า 63-81)

Ethnic Group in the Focus

ไทลื้อบ้านเมืองลวง (หน้า 1-84)

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาไทลื้อนั้นมีความคล้ายคลึงกับภาษาไทอื่น เช่น ไทยวน ไทเขินและไทเหนือ ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนต่างกันตรงสำเนียงเท่านั้น (หน้า 10)

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

ไทลื้อบ้านเมืองลวงมีความเชื่อเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานของตนเองว่า บรรพบุรุษได้เดินทางอพยพมาจากแคว้นสิบสองปันนาซึ่งปัจจุบันอยู่ในมณฑลยูนานทางใต้ของจีน เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบ้านเมืองลวงราวพุทธศตวรรษที่ 20 เนื่องจากบ้านเมืองอยู่ในภาวะ สงคราม มีเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่น่าจะเกี่ยวข้องกับการอพยพของไทลื้ออีก 2 เหตุการณ์ คือ สงครามกับฮ่อในรัชสมัยพระเจ้าสามฝั่งแกนและการยกทัพไปตีสิบสองปันนาในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช จากข้อสรุปของผู้เขียนโดยอาศัยหลักฐานต่างๆ เข้า ด้วยกัน ในพุทธศตวรรษที่ 20 ได้มีชุมชนเรียกว่า "พันนาฝั่งแกน" ในบริเวณที่เป็นเมือง ลวง ปัจจุบันซึ่งยังเหลือร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดีอยู่ แต่ไม่ชัดเจนว่าเป็นชุมชน ไทลื้อหรือไม่ แต่บรรพบุรุษของไทลื้อในปัจจุบันอพยพมาภายหลัง (หน้า 8,12-14)

Settlement Pattern

ลักษณะการตั้งบ้านเรือนของบ้านเมืองลวงจะอยู่รวมกันเป็นกระจุกเรียงรายตาม 2 ฝั่ง ตามแนวลำเหมืองแม่ลาย (หน้า 17)

Demography

ผู้เขียนไม่ได้ระบุชัดเจนแต่จากการสุ่มตัวอย่างของชาวบ้านน่าจะมีไม่ต่ำกว่า 114 ครัว เรือน (หน้า 20,23-25,39,69)

Economy

ลักษณะเศรษฐกิจแบบเลี้ยงตัวเองเกิดขึ้นมาเป็นเวลานานแล้วในชุมชนบ้านเมืองลวง กิจกรรมอื่น ๆ ที่ชาวบ้านนิยมทำกันในยามว่าง เช่น งานจักสาน งานทอผ้า ก็ทำเพื่อประโยชน์ใช้สอยภายในครอบครัวทั้งสิ้น หากครัวเรือนใด บ้านใด ขาดเหลือสิ่งอุปโภคบริโภคก็จะใช้วิธีแลกเปลี่ยนสิ่งของซึ่งกันและกัน ระบบเงินตราถูกนำมาใช้ในชุมชนบ้านเมืองลวงในระยะแรกเพียงเพื่อใช้จ่ายในด้านพิธีกรรม เช่น การปรับไหม ต่อมา ในระยะหลังเงินได้เพิ่มความสำคัญให้กับตัวเองและทำให้เศรษฐกิจของบ้านเมืองลวง เปลี่ยนแปลงไปเช่นเดียวกับเศรษฐกิจหมู่บ้านชนบททั่ว ๆ ไปในภาคเหนือด้วย ไทลื้อบ้านเมืองลวงยังคงมีอาชีพหลักในการทำนาอยู่ ผลผลิตที่ได้ส่วนใหญ่จะนำมาใช้สำหรับการบริโภคภายในครอบครัว เหลือจากนั้นจึงนำไปขาย บางปีหากมีน้ำพออาจปลูก พืชชนิดอื่นหมุนเวียนแทนข้าวได้ เช่น ถั่วเหลือง พริก กระเทียมหากปริมาณน้ำไม่เพียง พอ ชาวบ้านจะออกไปรับจ้างซึ่งมีรายได้ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดขณะนั้น ลักษณะการถือครองที่ดินของครัวเรือนส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 65.1 มีที่ดินเป็น ของตัวเอง ร้อยละ 24.6 ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินนั้นไม่ได้เช่าที่ผู้อื่นทั้งหมด เพราะได้รับอนุญาตให้ทำกินในที่ดินของผู้เป็นพ่อแม่หรือญาติพี่น้องโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า สมัยก่อนแรงงานรับจ้างหายากชาวบ้านจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนไปช่วยกันและกัน เรียกว่า "เอามื้อเอาวัน" เจ้าของนาไม่ต้องเสียเงินจ้าง แต่จะมีการเลี้ยงอาหารตอบแทน ปัจจุบัน นิยมการจ้างแรงงานมากขึ้นเพราะแรงงานรับจ้างหาง่ายกว่าแต่ก่อนสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย น้อยกว่าผู้มาเอามื้อเอาวันและยังได้งานมากกว่าอีกด้วย เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ของภาคเหนือเป็นที่ราบระหว่างภูเขาทำให้ไม่สามารถเก็บกักน้ำสำหรับเพาะปลูกได้ จึงต้องสร้างเหมืองฝายเพื่อทดน้ำเอาไว้ใช้เพาะปลูก

Social Organization

ชาวบ้านเมืองลวงมีความสัมพันธ์ระหว่างครัวเรือนแบบใกล้ชิดและพึ่งพาอาศัยกัน ลักษณะโครงสร้างของสังคมที่ประกอบด้วยชาวบ้าน รูปแบบความสัมพันธ์และกิจกรรมที่ทำ ยังผลให้ชาวบ้านเมืองลวงมีชีวิตความเป็นอยู่ที่อาศัยวิถีประชาและจารีต เป็นบรรทัดฐานการรวมกลุ่มทางสังคม มีลักษณะที่ทำให้มีโครงสร้างของชุมชนที่เข้มแข็งสามารถรักษาสถานะทางสังคมของตนได้ ครอบครัวมีลักษณะเป็นผัวเดียวเมียเดียว ขนาดของครอบครัวมีขนาดเล็กเป็นครอบครัวเดี่ยว (59.65%) เป็นครอบครัวขยาย 40.35% การสืบสายโลหิตจะให้ความสำคัญทั้งญาติทางพ่อและแม่ หลังการสมรสนิยม มาอยู่กับญาติทางฝ่ายหญิง บุตรจะใช้นานสกุลของผู้เป็นพ่อ ลักษณะอำนาจที่ใช้ภายใน ครอบครัวจะให้อำนาจแก่บิดา ลักษณะของการสืบมรดกและมารดาจะแบ่งให้ลูกทุกคนโดยเท่าเทียมกัน การรวมกลุ่มทางสังคมของไทลื้อมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ 1. กลุ่มที่ทางการจัดตั้งขึ้น ได้แก่ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มออมทรัพย์ เป็นต้น ชาวบ้านให้ความสนใจ ในการเข้าเป็นสมาชิกไม่มากเท่าที่ควร เพราะยังไม่เข้าใจในหลักการ รวมทั้งยังไม่มั่นใจในหลักการ รวมทั้งไม่มั่นใจว่าตนจะได้รับประโยชน์หรือไม่ 2. กลุ่มที่ยอมรับว่าเป็นทางการ ได้แก่ กลุ่มสตรีแม่บ้านมีบทบาทในการพัฒนาหมู่บ้านในวันสำคัญต่าง ๆ กลุ่มหนุ่มสาวมีบทบาทในการต้อนรับแขกต่างถิ่นที่มาเยี่ยมเยียนในงานเทศกาลต่าง ๆ นอกจากนี้มีบทบาทอย่างมากต่อการพัฒนาหมู่บ้านให้มีความเจริญในแง่ของความทันสมัย ขณะเดียวกันก็ยังเป็นกลุ่มที่อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีบางอย่างไว้ได้อย่างดี เช่น กลุ่มช่างฟ้อน เป็นต้น กลุ่มฌาปนกิจดำเนินการในงานศพของสมาชิกซึ่งมีเงื่อนไขในการส่งเงินค่าสมาชิกครอบครัวละ 20 บาท เป็นลักษณะของการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน (หน้า 18,33-35,45-48,68)

Political Organization

ในอดีตผู้ปกครองชุมชน คือ แคว่นและแก่บ้าน รับผิดชอบหมู่บ้านของตนเองแคว่นจะคอยเก็บรวบรวมภาษีอากรให้เจ้านายเชียงใหม่ด้วย ในปัจจุบันเป็นผู้ใหญ่บ้าน วิธีเลือก ผู้ใหญ่บ้านนั้นจะต้องเรียกประชุมชาวบ้านทั้งหมด มีประธานมักจะเป็นนายอำเภอหรือ ปลัดอำเภอและคณะกรรมการเลือกตั้ง ผู้ใหญ่บ้านคนเก่าอาจจะเสนอชื่อบุคคลที่ตน เห็นว่าเหมาะสมขึ้น การเสนอชื่อแต่ละคนจะต้องมีผู้ออกเสียงรับรอง หลังจากนั้นชาวบ้านจะลงคะแนนลับ ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดจะเป็นผู้ใหญ่บ้านคนต่อไป (หน้า 40-42)

Belief System

ชาวบ้านเมืองลวงนับถือพุทธศาสนาแล้วยังมีความเชื่อเรื่องผีปู่ย่าเป็นผีบรรพบุรุษของฝ่ายหญิงคอยปกป้องคุ้มครองสมาชิกในครอบครัว นับถือเสื้อบ้านหรือพ่อบ้านแม่บ้าน เป็นผู้คุ้มครองหมู่บ้านทั้งหมด หากมีคนป่วยในบ้านก็มักเชื่อกันว่าเป็นเพราะผีปู่ย่า โกรธ เนื่องจากมีผู้กระทำ "ผิดผี" คือ การที่ชายหญิงแตะเนื้อต้องตัวกันหรือ "ไปสู่" คือ ได้เสียกัน เป็นการกระทำผิดประเพณีทำให้ผีบรรพบุรุษไม่พอใจจึงบันดาลให้ญาติของ ฝ่ายหญิงเจ็บป่วย ฝ่ายชายต้องเสียผีโดยค่าเสียผีประมาณ 4 แถบ ครอบครัวของฝ่าย หญิงจะจัดการเลี้ยงผีโดยใช้หัวหมูหรือ "เหล้าไหไก่คู่" ตามความนิยมของบ้าน ความเชื่ออื่นๆก็ เช่น การสักน้ำหมึกรอบตัวบริเวณขาถึงท้องเชื่อว่าทำให้อยู่ยงคงกระพันมีพิธีกรรมที่เกี่ยวกับเหมืองฝาย คือ ก่อนทำการเพาะปลูกจะมีการบูชาผีฝายที่ทำหน้าที่ดูแล เหมืองฝายให้มีน้ำพอเพียงสำหรับการใช้ในหมู่บ้านตลอดทั้งปี รวมทั้งช่วยดูแลป้องกัน รักษาไม่ให้เหมืองฝายต้องได้รับความเสียหายจากภัยอันตราย พิธีกรรมนี้จะช่วยสร้าง ความมั่นใจให้แก่ชาวบ้านก่อนที่จะเริ่มฤดูกาลเพาะปลูกต่อไป (หน้า 34,55,58-59,61-62)

Education and Socialization

โรงเรียนของบ้านเมืองลวงก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2464 โดยอาศัยศาลาบาตรในบริเวณวัดศรีมุงเมืองเป็นห้องเรียน ให้ชื่อว่า โรงเรียนประชาบาลตำบลลวงเหนือ (บำรุงราษฏร์วิทยา) เริ่มสอนตั้งแต่ชั้นประถม 1-3 ต่อมาในปี พ.ศ.2495 มีการสร้างอาคารสถานที่ใหม่ในบริเวณที่เป็นโรงเรียนปัจจุบันซึ่งเป็นธรณีส่งฆ์เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนบ้านลวงเหนือ ชาวบ้านให้ความสนใจส่งบุตรหลานมารับการศึกษาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จึงมีการขยายถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ต่อมาได้เพิ่มชั้นประถมปีที่ 5 ใน พ.ศ. 2514 และชั้นประถมปีที่ 6 ในปี พ.ศ. 2517 ชาวบ้านเมืองลวงที่มีฐานะดีมักนิยมส่งบุตรหลานไปเข้าโรงเรียนในเมืองและให้เรียนต่อไปถึงระดับอุดมศึกษา เพื่อจะมีโอกาสในการทำงานที่ดีขึ้น ส่วนที่ไม่มีโอกาสศึกษาในระดับสูงนั้นมักประกอบอาชีพสืบต่อจากบิดามารดา แต่อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านยังมีโอกาสรับการอบรมวิชาชีพต่าง ๆ ที่หน่วยงานของรัฐเข้ามาช่วยอบรม

Health and Medicine

เมื่อเกิดการเจ็บป่วยขึ้น ชาวบ้านที่เชื่อในเรื่องผีจะรักษาโดยการไปถามผีเจ้านายหรือ ถามผีหม้อนึ่ง โดยนำดอกไม้ ธูป เทียน วัน เดือน ปี เกิดและเสื้อผ้าผู้ป่วยพร้อมกับเงิน ค่าบูชาครูไปมอบให้ผู้เข้าทรงซึ่งจะทำพิธีเข้าทรงแล้วบอกสาเหตุและวิธีการแก้ไขการ เจ็บป่วย (หน้า 59)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ในวัดศรีมุงเมืองมีเจดีย์แบบพม่า ภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นแบบแนวใหม่ เสาแต่ละต้น และรูปนาคที่บันไดทางเข้าวิหารมีลักษณะรูปแบบและลายปูนปั้นแบบใหม่ เนื่องจาก ได้รับการปรับปรุงอย่างเสมอ (ภาพระหว่างหน้า 12-13) ลักษณะบ้านเรือนมีหลังคาลาด ต่ำลงมา ใต้ถุนสูงมีเสามาก (หน้า 50,52)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไทลื้อเมืองลวงติดต่อค้าขายกับพ่อค้าจีน เงี้ยว พม่าและคนเมืองที่ตลาดดอยสะเก็ดและ ได้อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีบางอย่างไว้อย่างดี เช่น กลุ่มช่างฟ้อน (หน้า 36-37,46)

Social Cultural and Identity Change

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชนจะดำเนินไปอย่างช้า ๆ ตามขั้นตอน เช่น จากการเปลี่ยนการผลิตเพื่อเลี้ยงดูตนเองไปสู่การผลิตเพื่อขาย มีการจ้างแรงงานมากขึ้นเพราะ แรงงานรับจ้างหาง่ายกว่าแต่ก่อน หน้าที่ของชาวบ้านในปัจจุบัน คือ การเสียภาษีอากร และปฏิบัติตามกฎหมายการเกณฑ์แรงงานถูกยกเลิก ขนาดของครอบครัวแต่เดิมเป็น ครอบครัวขยาย เนื่องจากมีความต้องการแรงงานในการผลิตทางการเกษตร แต่ปัจจุบัน เป็นครอบครัวเดี่ยว ที่อยู่อาศัยของคู่สมรสแต่เดิมหลังจากพิธีแต่งงานเสร็จแล้วเจ้าบ่าวต้องกลับไปอยู่บ้านของตนมากกว่า 3 วัน จึงจะกลับไปอยู่กับเจ้าสาวได้และต้องอยู่มี กำหนดอย่างช้า 3 ปี หลังจากนั้นผู้หญิงก็ไปอยู่บ้านผู้ชายอีก 3 ปี แล้วจึงแยกตัวไปตั้งครอบครัวอยู่ต่างหากได้ แต่ในปัจจุบันพบว่าภายหลังแต่งงานผู้ชายนิยมไปตั้งถิ่นฐานอยู่กับผู้หญิง และเนื่องจากคนเมืองเข้าไปอาศัยอยู่ในเมืองลวง จึงทำให้บางครอบครัวมีโอกาสเลือกที่อยู่อาศัยได้มากกว่าแต่ก่อน การแบ่งงานกันทำตามเพศและอายุลดความสำคัญลง จะเน้นที่ความสามารถและความรู้ที่ได้จากการเล่าเรียนมากขึ้น (หน้า 22,26, 45,63)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ภาพที่ 3 แผนที่หมู่บ้าน ภาพที่ 5 รูปถ่ายเจดีย์วัดศรีมุงเมือง ภาพที่ 6 รูปถ่ายภายใน วิหาร ภาพที่ 8 รูปถ่ายคันดิน ภาพที่ 9 รูปถ่ายกำแพง ภาพที่ 12 รูปถ่ายแหล่งน้ำใช้ใน การเกษตร ภาพที่ 14 รูปถ่ายเรือนไทลื้อ (หน้า ค,จ,ฉ,ฌ,ญ,ฏ,ฑ)

Text Analyst จารุวรรณ เจนวณิชย์วิบูลย์ Date of Report 18 เม.ย 2556
TAG ไทลื้อ, ประวัติ, ความเป็นอยู่, ประเพณี, ภาษา, เชียงใหม่, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง