สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลัวะ,ยอง,ไต คนไต ไตโหลง ไตหลวง ไตใหญ่,ขึน ไทขึน,ยวน คนเมือง,มอญ,ชาติพันธุ์,วิถีชีวิต,เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Author Hayashi, Yukio
Title Inter-Ethnic Relations in the Making of Mainland Southeast Asia
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity ลัวะ (มัล ปรัย) ลัวะมัล ไปร ลัวะปรัย, ยอง คนยอง ชาวยอง ไทยอง ขงเมืองยอง จาวยอง, ไทยวน ยวน ยวนสีคิ้ว คนเมือง, มอญ รมัน รามัญ, ไทใหญ่ ไต คนไต, ไทขึน ไตขึน ขึน, ลัวะ (ละเวือะ) ลเวือะ อเวือะ เลอเวือะ ลวะ ละว้า, ละว้า ลัวะ ว้า, Language and Linguistic Affiliations ไม่ระบุ
Location of
Documents
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Total Pages 308 Year 2541
Source Inter-Ethnic Relations in the Making of Mainland Southeast Asia
Abstract

เนื้อหาภายในเอกสารฉบับนี้กล่าวถึงความเป็นมา ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต ความเชื่อ ประเพณี ความสัมพันธ์ และปัจจัยในการเปลี่ยนแปลงของชาติพันธุ์ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Focus

ศึกษาประวัติศาสตร์ ความเป็นมา วิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดเชียงใหม่ ไทลื้อ ไตในบริเวณยูนนาน-พม่า คนลาว ไทดำ

Theoretical Issues

ปรากฏทฤษฎีของ C.F.Keyes ที่สนับสนุนเอกสารฉบับนี้ กล่าวไว้ในบท "เป็นและไม่เป็นไทลื้อ" (หน้า 93) ว่า "อัตตลักษณ์ท้องถิ่นนั้น ฝังรากลึกอยู่ในจารีตประเพณี และดำเนินสืบต่อเนื่องมาโดยผ่านเรื่องเล่า นิทาน หรือตำนานต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกลับไปถึงถิ่นฐานดั้งเดิมในช่วงก่อนสมัยใหม่"

Ethnic Group in the Focus

กลุ่มชาติพันธุ์ใน จ.เชียงใหม่ มีกลุ่มชนที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ตามช่วงต่าง ๆ ดังนี้ ก. สมัยราชวงศ์มังราย 1.) คนเมือง อาศัยมาตั้งแต่พญาเม็งรายสร้างเมืองเชียงใหม่ (หน้า 40) 2.) ลัวะ อาศัยอยู่แถบดอยสุเทพก่อนที่พญาเม็งรายจะสร้างเมืองเชียงใหม่ (หน้า 41) 3.) มอญ หรือ เม็ง อาศัยอยู่แถบลุ่มน้ำปิง ร่วมสมัยกับลัวะ (หน้า 44) ข. สมัยรัตนโกสินทร์ 1.) ชาวเชียงแสน อพยพมาจาก อ.เชียงแสน จ.เชียงราย (หน้า 48) 2.) ชาวน่าน อพยพจาก จ.น่าน (หน้า 48) 3.) ชาวแพร่ ตั้งถิ่นฐานอยู่นอกเมืองเชียงใหม่ (หน้า 49) 4.) ชาวพม่า อพยพเข้ามาเมื่อพม่าปกครองล้านนา (หน้า 49) 5.) ไทใหญ่ หรือเงี้ยว มีฝีมือการทำเครื่องเซรามิค (หน้า 49) 6.) ชาวคง เป็นชื่อเรียกคนที่อพยพมาจากแถบ แม่น้ำสาละวิน (หน้า 50) 7.) เขินหรือไทเขิน อพยพมาจากเชียงตุง (หน้า 50) 8.) ยอง อพยพมาจากเมืองยอง ประเทศพม่า (หน้า 50) 9.) ชาวเมืองลวง อพยพจากแถบสิบสองปันนา (หน้า 51) 10.) ชาวเมืองหลวยอพยพจากรัฐฉาน พม่า (หน้า 51) 11.) ชาวเมืองเลน เป็นไทลื้ออีกกลุ่ม (หน้า 51) 12.) ชาวงัวลาย มีฝีมือการทำเครื่องเงิน (หน้า 51) 13.) ชาวแม่ปละ อพยพมาจากแถบแม่น้ำปละ พม่า (หน้า 51) 14.) จีนฮ่อ อพยพจากประเทศจีน (หน้า 52) 15.) คนจีน อพยพมาจากกรุงเทพฯ (หน้า 53) 16.) ฝรั่ง (ชาวตะวันตก) ที่มีทั้งที่เข้ามาทำธุรกิจ และเผยแพร่ศาสนา (หน้า 54) 17.) แขก ปาทาน อพยพมาจากปากีสถานหรืออินเดีย (หน้า 55) 18.) ชาวเขา เป็นชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่แถบเทือกเขาใน จ.เชียงใหม่ (หน้า 55) บทความที่ 4 : เป็นลื้อหรือไม่ กลุ่มชาติพันธุ์ที่กล่าวถึง ไทลื้อ ตั้งถิ่นฐานอยู่ 3 หมู่บ้านใน อ.วังผา จ.น่าน ซึ่งน่าจะความเชื่อมโยงกับกลุ่มชนในสิบสองปันนา โดยเฉพาะด้านพิธีกรรม (หน้า 76) บทความที่ 5 : ลักษณะทางวัฒนธรรมและพรมแดนด้านชาติพันธุ์วิทยาของคนไทเหนือในบริเวณยูนนาน-พม่า สำหรับบทความนี้กล่าวถึงกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่ม ในมุมมอง หรือนโยบายของรัฐบาลจีน ได้แก่ ไต้ลื้อ ไตเหนือ และไตหยา ซึ่งทั้งหมดตั้งถิ่นฐานอยู่แถบยูนนาน (หน้า 95) บทความที่ 6 : การวิเคราะห์ความเป็นพม่าในรัฐฉาน กล่าวถึงกลุ่มชาติพันธุ์ที่เรียกว่า "ไต" เนื่องเป็นกลุ่มชนที่ใช้ภาษาพูดเป็น ไต (หน้า 115) บทความที่ 8 : มองลาวผ่านพระพุทธศาสนา กล่าวถึงกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีถิ่นฐานอยู่ใน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือชาวลาว ทั้งนี้รวมถึง คนไทยในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยด้วย และหากกล่าวโดยรวมคือ กลุ่มคนที่อยู่แถบแม่น้ำโขง มีกลุ่มต่าง ๆ ที่แบ่งตามวัฒนธรรมดังนี้ 1.) กลุ่มวัฒนธรรมไทย-ลาว 2.) กลุ่มวัฒนธรรมมอญ-เขมร หรือหากในประเทศลาวเองสามารถแบ่งกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ได้ดังนี้ 1.) ลาวลุ่ม 2.) ลาวเทิง 3.) ลาวสูง (หน้า 184-189) บทความที่ 9 : ความแตกต่างและความสัมพันธ์ของคนลาวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กล่าวถึงกลุ่มชนชาวลาว (ประเทศลาว) และคนอิสาน (ในประเทศไทย) ที่มีความเหมือนกันทั้งทางภาษา และวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เดียวกัน (หน้า 233) บทความที่ 10 : ไทดำใน สปป. ลาว (พิธีกรรมและความเชื่อที่สำคัญ) กล่าวถึงกลุ่มชาติพันธุ์ที่ดั้งเดิมอยู่ที่สิบสองปันนา มีเอกลักษณ์คือ มักสวมเสื้อผ้าสีดำ (หน้า 260) บทความที่ 11 : การเคลื่อนย้ายถิ่นและความสัมพันธ์ของกระเหรี่ยงหญิงและชายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่เรียกว่า ชาวเขา มักตั้งถิ่นฐานอยู่แถบภูเขาภาคเหนือของประเทศไทย (หน้า 289)

Language and Linguistic Affiliations

บทความที่ 3: เนื่องจากมีหลายหลายชาติพันธุ์ ภาษาที่ใช้จึงมีหลากลายตามไปด้วย ได้แก่ 1.) คนเมือง ใช้ภาษาล้านนา (หน้า 40) 2.) ลัวะ ไม่ระบุ (หน้า 41) 3.) มอญ หรือ เม็ง ใช้อักษรภาษามอญ ซึ่งคาดว่าเป็นต้นกำเนิดของอักษรล้านนา (หน้า 44) นอกเหนือจากที่กล่าวไปแล้วกลุ่มชาติพันธุ์อื่นที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ใน จ.เชียงใหม่ ไม่ได้ระบุถึงภาษาที่ใช้ (หน้า 48-55) บทความที่ 4 : ลื้อ ไม่ได้ถูกระบุถึงภาษาที่ใช้ บทความที่ 5 : ภาษาที่ใช้ แบ่งเป็น ภาษาถิ่นไตเต้อหง และภาษาไตสิบสองปันนา สำหรับภาษาเขียนมีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น 4 แบบ โดยเป็นการประดิษฐ์ตัวอักษรที่ยืมมาจากพม่า สำหรับภาษาทางราชการปัจจุบันเรียกกันว่า ตัวอักษร "ลิกไทแล" (หน้า 112) บทความที่ 6 : ไม่ได้ระบุถึงภาษาที่ใช้ (หน้า 115-125) บทความที่ 8 : ภาษาที่ใช้มีอยู่ด้วยกันดังนี้ คือ 1.) กลุ่มวัฒนธรรม ไท-ลาว มีภาษาพูดเดียวกันกับชาวลาว และมีอักษรเป็นของตนเอง(หน้า 211) 2.) กลุ่มวัฒนธรรม มอญ-เขมรใช้ภาษาตระกูลมอญ-เขมร (หน้า 212) บทความที่ 9 : กล่าวถึงภาษาที่ใช้ที่เรียกว่า ภาษาไทย-ลาว (หน้า 233) บทความที่ 10 : ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนเรียกว่า ภาษาไทดำ (หน้า 276) บทความที่ 11 : ใช้ภาษากระเหรี่ยงที่คำศัพท์บางคำยืมมาจากภาษาพม่าและคะยิน (หน้า 293)

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

บทความที่ 3 :กลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดเชียงใหม่ 1.) ลัวะ มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่สันนิษฐานว่าชุมชนของลัวะในอดีตคือ เวียงเชษฐบุรี ในบริเวณเชิงดอยสุเทพ นอกจากนี้ยังกล่าวถึง เวียงสวนดอกและเวียงนพบุรีว่าเป็นเขตของลัวะอีกด้วย (หน้า 61) 2.) เม็งหรือมอญ ปรากฏในบริเวณเมืองเชียงใหม่และบริเวณลุ่มน้ำปิงพร้อม ๆ กันกับลัวะ (หน้า 63) 3.) ชาวเชียงแสน ในเอกสารฉบับนี้ไม่กล่าวถึงที่ที่อพยพมา กล่าวถึงแต่ถิ่นฐานใน จ.เชียงใหม่ และเป็นช่างฝีมือจึงได้อยู่ในเมือง (หน้า 66) 4.) ชาวน่าน อพยพมาจากเมืองน่าน (หน้า 66) 5.) ชาวแพร่ ไม่ระบุถึงที่มาก่อนจะถึงเมืองเชียงใหม่ (หน้า 66) 6.) ไท ไม่ระบุถึงที่มาก่อนจะถึงเมืองเชียงใหม่ (หน้า 66) 7.) ชาวพม่า อพยพมาจากเมืองมางในรัฐฉาน 8.) ไทใหญ่ อพยพมาจากรัฐฉานในพม่าเช่นเดียวกัน (หน้า 67) 9.) ชาวคง อพยพมาจากลุ่มแม่น้ำสาละวิน คนล้านนาเรียกแม่น้ำสาละวินว่า แม่น้ำคง (หน้า 67) 10.) เขิน คาดว่าน่าจะถูกกวาดต้อนมาจากเมืองเชียงตุง (หน้า 68) 11.) ยอง อพยพหรือถูกกวาดต้อนมาจากเมืองยองในรัฐฉานของพม่า (หน้า 68) 12.) ชาวเมืองลวง เป็นชาวไทลื้อมาจากแคว้นสิบสองปันนา (หน้า 68) 13.) ชาวเมืองหลวย กวาดต้อนมาจากเมืองหลวงในรัฐฉาน (หน้า 68) 14.) ชาวเมืองเลน อพยพมาจากเมืองเลนในรัฐฉาน (หน้า 68) 15.) ชาวงัวลาย อพยพกวาดต้อนมาจากบ้านงัวลายในรัฐฉาน (หน้า 68) 16.) ชาวแม่ปละ มาจากเมืองที่ตั้งอยู่บริเวณแม่น้ำแม่ปละในรัฐฉาน (หน้า 68) 17.) จีนฮ่อเป็นชาวจีนที่อพยพมาจากยูนนาน (หน้า 69) 18.) ฝรั่งมีทั้งชาวอังกฤษที่เข้ามาทำกิจการค้า และอเมริกันที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนา (หน้า 70) 19.) แขก ส่วนใหญ่มาจากปากีสถาน (หน้า 71) 20.) ชาวเขา ส่วนใหญ่อพยพมาจากทางตอนใต้ของจีนผ่านเข้ามาทางลาว อีกส่วนมาจากทางพม่า (หน้า 72) บทความที่ 4 : ไทลื้อ เชื่อว่าถิ่นฐานเดิมคือ สิบสองปันนา (หน้า 93) บทความที่ 5 : ไตเหนือ มีถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ในแถบที่นักล่าอาณานิคมอังกฤษในพม่าเรียกว่า รัฐฉานจีน เป็นหมู่บ้านใหญ่ในหุบเขา (หน้า 111) บทความที่ 6 : ไตที่ตั้งถิ่นฐานในพม่า จัดเป็นชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในรัฐฉานและเป็นชนกลุ่มน้อยที่ถูกจัดกลุ่มรวมๆกัน ไม่ใช่ไทดั้งเดิมทั้งหมด (หน้า 130) บทความที่ 8 : ชาวลาว เป็นขนชาติที่มีอยู่ดั้งเดิมในดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง (หน้า 168) บทความที่ 9 : ชาวลาวที่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขงเกิดวิกฤตการณ์กับการล่าอาณานิคมของฝรั่งเศสจนทำให้ต้องอพยพย้ายมายังฝั่งซ้าย ซึ่งเป็นบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย และผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ก็มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกัน ทั้งทางภาษาและวัฒนธรรม จึงสามารถเรียกคนสองกลุ่มโดยรวมว่า ชาวลาว (หน้า 233) บทความที่ 10 : ไทดำ มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ในเขตสิบสองจุไท ประเทศเวียดนาม เมื่อฝรั่งเศสเข้าปกครองเวียดนาม ได้เรียกชนชาติเหล่านี้ว่าไทดำ ตามแม่น้ำที่เป็นถิ่นที่อยู่ (หน้า 274) บทความที่ 11 : กะเหรี่ยงดั้งเดิมนั้นมีถิ่นฐานอยู่แถบพื้นที่เขาสูง ต่อมาด้วยปัจจัยที่ต้องการความเจริญทางด้านการศึกษา การค้าและมาตรฐานชีวิตที่สูงขึ้นจึงมีบางส่วนที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณในเมือง

Settlement Pattern

บทความที่ 3 : กล่าวถึงคติการสร้างบ้านเมืองที่ว่า บ้านเมืองเปรียบเสมือนกับคนที่ประกอบไปด้วยหัว สะดือ หางหรือส่วนล่าง ทั้งนี้ไม่ได้ระบุถึงลักษณะของรูปแบบบ้านเรือนที่ชัดเจน บทความที่ 4 : ไม่ระบุชัดเจน กล่าวแต่เพียงว่า บ้านไทลื้อมักจะมีศาลไว้บูชาวิญญาณที่คอยคุ้มครองผู้คนในบริเวณนั้น บทความที่ 5 : บ้านของไตเหนือรับอิทธิพลจากประเทศจีน โดยจะมีทั้งหมด 3 ห้องนอน และมีแท่นบูชาบรรพบุรุษอยู่ห้องกลาง (หน้า 112) บทความที่ 6 : ไม่ระบุ บทความที่ 8 : ไม่ระบุ บทความที่ 9 : ไม่ระบุ บทความที่ 10 : ไม่ระบุ บทความที่ 11 : ไม่ระบุ

Demography

บทความที่ 3-8 และ 10-11 ไม่ได้ระบุ แต่ในบทความที่ 9 ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประชากรของ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ว่ามีประชากรทั้งสิ้น ราว 4.5 ล้านคน

Economy

บทความที่ 3 : กลุ่มชนต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในเอกสารฉบับนี้มีอาชีพเกี่ยวกับการเกษตรและการเพาะปลูกเป็นส่วนมาก นอกจากที่เขตเชียงใหม่เท่านั้นที่มีอาชีพหลากหลาย เช่น ชาวไทเขิน ที่มีอาชีพทำเครื่องเงินและเครื่องเขิน และชาวจีนฮ่อที่นิยมทำการค้า บทความที่ 4 : ไม่ระบุ บทความที่ 5 : ไม่ระบุ บทความที่ 6 : ไม่ระบุ บทความที่ 8 : ไม่ระบุ บทความที่ 9 : ไม่ระบุ บทความที่ 10 : ไม่ระบุ บทความที่ 11 : กะเหรี่ยงนั้นนอกจากจะประกอบอาชีพดั้งเดิมคือ การเกษตรและการหาของป่าแล้ว ในปัจจุบันกะเหรี่ยงยังรูจักทำการค้า กับคนเมืองอีกด้วย และจากการค้านี่เองที่เป็นปัจจัยที่ทำให้กะเหรี่ยงอพยพจากนอกเมืองเข้าสู่ตัวเมือง

Social Organization

บทความที่ 3 : ระบบทางสังคมของกลุ่มชนในเชียงใหม่ตั้งแต่อดีตมีการปกครองโดยชนชั้นเจ้านายตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่กล่าวถึง เขตพระราชวัง เขตที่คุมขังนักโทษ (หน้า 64-65) ส่วนในสังคมไตเหนือมีการใช้ระบบหัวหน้าท้องถิ่น (หน้า 112) ในระบบสังคมของชาวลาวมีความคล้ายคลึงกับของเชียงใหม่ คือ ปกครองด้วยชนชั้นเจ้านายในอดีต แต่ในปัจจุบันลาวปกครองในระบบสาธารณรัฐประชาธิปไตย ส่วนกลุ่มชนชาติอื่นที่เป็นชนกลุ่มน้อยมีระบบหัวหน้าในหน่วยการปกครองเล็กและเป็นไปตามระบบประเทศหรือถิ่นที่อพยพไปอาศัยเช่น ในไทย หรือพม่าในหน่วยการปกครองระดับประเทศ บทความที่ 4 : ไม่ระบุ บทความที่ 5 : ไม่ระบุ บทความที่ 6 : ไตเป็นชนกลุ่มน้อยประจำเมือง อยู่ภายใต้การปกของพม่า บทความที่ 8 : เดิมทีลาวปกครองในระบอบราชาธิปไตย มาเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว บทความที่ 9 : ไม่ระบุ บทความที่ 10 : ไทดำมักให้ความสำคัญกับญาติทางฝ่ายสามี ให้พ่อเป็นใหญ่ รองลงมาคือบันดาลูกชาย บทความที่ 11 : ไม่ระบุ

Political Organization

การจัดการหรือระบบการเมืองในแต่ละท้องถิ่นล้วนแล้วแต่แตกต่างกันไปและส่งผลต่อวิถีชีวิตของกลุ่มชนเหล่านี้ กล่าวคือ กลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในประเทศพม่าต้องอยู่ภายใต้การปกครองแบบรัฐบาลทหาร ประเทศเวียดนามอยู่ภายใต้การปกครองแบบสาธารณรัฐลาวอยู่ภายใต้การปกครองแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตย และไทยกับกัมพูชาที่มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

Belief System

บทความที่ 3 : กลุ่มชนในจังหวัดเชียงใหม่มีระบบความเชื่อมีหลากหลายและผสมผสานกันอันเนื่องมาจากหลายชนชาติที่เข้ามาอาศัยในบริเวณเดียวกัน เช่น ประเพณีบูชาเสาอินทขีลที่เป็นของลัวะ (หน้า 62) การฟ้อนผีเม็งของมอญ (หน้า 63) หรือคติการใช้พื้นที่เวียงในเมืองเชียงใหม่ของชาวล้านนา (หน้า 64-66) เป็นต้น แต่ในความหลากหลายของความเชื่อเหล่านี้ สิ่งที่เป็นศูนย์กลางของกลุ่มชนคือ พุทธศาสนา บทความที่ 4 : ไทลื้อ มีพิธีกรรมการบูชาเจ้าหลวงเมืองล้าที่แสดงถึงความเกี่ยวข้องกับถิ่นที่มาของไทลื้อ (หน้า 93) บทความที่ 5 : ไตเหนือนอกจากการนับถือพุทธศาสนาแล้ว ยังมีพิธีกรรมที่โดดเด่นอีกอย่างคือ การฉลองตรุษจีน หรือปอย "Lun Si" ที่มีความคล้ายคลึงกับประเพณีของชาวจีน (หน้า 112) บทความที่ 6 : ไต ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า มักจะถูกพม่าพยามยามกลืนความเป็นไตให้เป็นพม่าในเรื่องความเชื่อ ทั้งในเรื่องการจำกัดนิกายของพุทธศาสนา และการเปลี่ยนการไหว้ผีหลวงทั้งเก้า เป็นไหว้ผีnat (หน้า 128) บทความที่ 8 : ชาวลาวมีพุทธศาสนาเป็นหลักในการยึดมั่น และประเพณีเกี่ยวกับความเชื่อของชาวลาวที่เรียกว่า บุญประเพณีของฮีตสิบสอง ล้วนเป็นประเพณีเนื่องในพุทธศาสนาทั้งสิ้น (หน้า 228) บทความที่ 10 : ไทดำ มีความเชื่อและพิธีกรรมที่สำคัญและเกี่ยวจ้องวิถีชีวิตตั้งแต่เกิดจนเสียชีวิต คือ ประเพณีการเกิด ประเพณีวัยหนุ่ม ประเพณีการตาย (หน้า276-283) บทความที่ 11 : ความเชื่อดั้งเดิมของกะเหรี่ยง คือความเชื่อในเรื่องของวิญญาณ เหมือนกับชาวเขาเผ่าอื่นๆ ต่อมาเมื่อมีการติดต่อกับคนพื้นราบมากขึ้น กะเหรี่ยงจึงหันมานับถือศาสนา เช่นเดียวกับคนเมือง ทั้งศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์

Education and Socialization

บทความที่ 3-6 : ไม่ระบุ บทความที่ 8 : ในเอกสารมีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับระบบการศึกษาของพระสงฆ์ทั้งลาวและไทยดังนี้ 1.พระสงฆ์ลาวมีสามระดับคือ ประถมศึกษา มัธยมศึกษาและอุดมศึกษา (หน้า 222-223) 2. พระสงฆ์ไทยมีการจัดระบบเป็นสองสายใหญ่คือ การศึกษาพระปริวัติธรรมแผนกธรรมและแผนกบาลี โดยสูงสุดคือการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเช่นเดียวกับลาว(หน้า224) บทความที่ 9-10 : ไม่ระบุ บทความที่ 11 : กล่าวถึงว่ากะเหรี่ยงที่อพยพเข้าสู่สังคมเมืองมีสาเหตุหนึ่งมาจากการต้องการรับการศึกษาตามมาตรฐานของสังคมไทย อันได้แก่ การศึกษาระดับประถมศึกษา - อุดมศึกษา

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

บทความที่ 3 : เอกสารกล่าวถึงการสันนิษฐานว่าชาวไทใหญ่หรือเงี้ยวนั่นน่าจะมีฝีมือการทำเครื่องสังคโลก นอกจากนี้ยังมีไทใหญ่ที่มีฝีมือการทำไม้ ชาวคงที่มีความสามารถในการประดิษฐ์เครื่องดนตรี เป็นต้น สำหรับชนชาติอื่นไม่ได้ระบุ (บทความที่ 4 - 11)

Folklore

เอกสารกล่าวถึงไม่ชัดเจนนัก โดยมากจะเป็นไปในเรื่องของความเชื่อมากกว่า (Belief System)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติพันธุ์โดยรวมที่ทางเอกสารได้นำเสนอคือ 1.ประวัติศาสตร์ความเป็นมา 2.ภาษา 3.ประเพณีวัฒนธรรม 4.ความเชื่อ ในส่วนของความสัมพันธ์นั้นแทบทุกชนชาติมีการติดต่อค้าขายกันมาตั้งแต่อดีต และเนื่องจากกว่าร้อยละ 80 ของกลุ่มชาติพันธุ์ได้มีการย้ายถิ่นฐานทำให้เกิดประเพณีที่เชื่อมโยงกัน อาทิเช่น การบูชาเจ้าหลวงเมืองล้าที่ไทลื้อในไทยกับสิบสองปันนามีเหมือนกัน (หน้า 93) หรือ ประเพณีตรุษจีน และการใช้แซ่ของไตเหนือที่ได้รับอิทธิพลจากจีน เป็นต้น

Social Cultural and Identity Change

ในปัจจุบันวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมของชาติพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เปลี่ยนไปจากอดีต ตามปัจจัยของสิ่งแวดล้อม กล่าวคือ มีการรวมกลุ่มของชนหลายกลุ่มในเชียงใหม่ทำให้เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรม หรือการเปลี่ยนแปลงจากเดิม เช่น การไหว้ผีหลวงทั้งเก้า เป็นการไหว้ผีนัตของไตลื้อ ที่ต้องเปลี่ยนแปลงตามวิธีการของพม่า

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ตาราง 1. Population of Muang Sing (หน้า 24) 2. Name List of Guardian Spirits (หน้า 89) 3. Virtuos Traditions of Heetsipsong (หน้า 202) 4. บุญประเพณีของฮีตสิบสอง (หน้า 228) 5. Rice Varieties Planted?(หน้า 247) 6. Classification of Surrounding People?(หน้า 294) แผนที่ 1. Town Map of Muang Sing (หน้า 33) 2. Xieng Khong, Xieng Sen?(หน้า 39) 3. Thawapha Basin (หน้า 90) 4. System of Succession? (หน้า 91) 5. Succesion of Chao Muang (หน้า 92) 6. แผนที่ภาษาจีน (หน้า 109-110) 7. The Shan States (หน้า 127) 8. Provinces of Lao? (หน้า 180) 9. Research Sites (หน้า 240) 10. Lao People's Democratic Republic (หน้า 261 และ 275) 11. Map of the Area (หน้า 291)

Text Analyst ศิริเพ็ญ วรปัสสุ Date of Report 06 ม.ค. 2566
TAG ลัวะ, ยอง, ไต คนไต ไตโหลง ไตหลวง ไตใหญ่, ขึน ไทขึน, ยวน คนเมือง, มอญ, ชาติพันธุ์, วิถีชีวิต, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง