สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง),โพล่ง โผล่ง โพล่ว ซู (กะเหรี่ยง),ลัทธิฤาษี,วาทกรรมคนชายขอบ,การปรับตัว,ความอยู่รอดของชาติพันธุ์,ตาก
Author ภาสกร ภูแต้มนิล
Title ลัทธิฤาษี : วาทกรรมของคนชายขอบ (กะเหรี่ยง) ภาพสะท้อนพลังชุมชนสู่สังคมอุดมคติ
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity โพล่ง โผล่ง โผล่ว ซู กะเหรี่ยง, ปกาเกอะญอ, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 14 Year 2546
Source รวมบทความทางวิชาการไทศึกษา โครงการปริญญาเอกไทศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Abstract

กะเหรี่ยงเป็นกลุ่มชนที่มีความเชื่อเป็นกรอบในการดำรงและการสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยความเชื่อที่ยึดโยงสังคมกะเหรี่ยงคือ ลัทธิฤาษี ซึ่งเป็นความเชื่อที่ตกผลึกสั่งสมมายาวนานตั้งแต่บรรพบุรุษ กะเหรี่ยงจึงดำรงอยู่อย่างพึ่งพาธรรมชาติ เคารพธรรมชาติ มีข้อห้ามทางศาสนาเป็นเครื่องมือควบคุมทางสังคม โดยมีฤาษีเป็นผู้นำทางความเชื่อที่มีบทบาทในการปกครอง และมีความสัมพันธ์ระหว่างกะเหรี่ยงทั้งฝั่งไทยและพม่า มีการแลกเปลี่ยนสินค้าและการร่วมกันใช้ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม มีการไปมาหาสู่อย่างไร้พรมแดน เมื่อความเจริญเข้ามามีความสำคัญ เกิดการพยายามเปลี่ยนแปลงโดยรัฐชาติ ที่เข้ามาแทรกแวงการดำรงตนของกะเหรี่ยง โดยเข้าไปจัดระบบการศึกษา ยกเลิกพิธีกรรมความเชื่อ และมองกะเหรี่ยงเป็นกลุ่มชนกลุ่มน้อย หรือคนชายขอบ ที่ก่อให้เกิดปัญหา เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาแรงงาน ปัญหาการลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย บริเวณชายแดนไทย-พม่า โดยเป็นการมองที่ขาดความเข้าใจถึงรากของปัญหา ทำให้การแก้ไขปัญหาไม่สามารถสำเร็จลุล่วงไปได้

Focus

เน้นการศึกษาการปรับตัวของกะเหรี่ยงบริเวณชายแดนไทย-พม่า ผ่านลัทธิฤาษีซึ่งถูกมองว่าเป็นวาทกรรมของคนกะเหรี่ยงที่กลายเป็นคนชายขอบ

Theoretical Issues

ผู้วิจัยมองว่ากะเหรี่ยงโปว์และสะกอที่อาศัยบริเวณตะเข็บชายแดนไทย-พม่า ถูกวาทกรรมการพัฒนาของรัฐไทย ซึ่งเป็นเศรษฐกิจทุนนิยมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้กะเหรี่ยงซึ่งยึดถือวัฒนธรรมดั้งเดิมที่พึ่งพิงธรรมชาติเป็นหลัก ถูกมองว่าเป็นกลุ่มชนล้าหลังที่ต้องการการพัฒนาเพื่อให้เกิดความเจริญ ต้องมีการเรียนรู้ตามระบบการศึกษาไทย และเลิกล้มความเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติ ทำให้กะเหรี่ยงบางกลุ่มต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง แต่มีกะเหรี่ยงบางกลุ่มที่ยึดถือในลัทธิฤาษีที่ผสมผสานความเชื่อเรื่องสิ่งเหนือธรรมชาติและพุทธศาสนาเข้าด้วยกันได้ และยึดมั่นในสังคมประเพณีเดิมได้อาศัยพลังอำนาจลัทธิฤาษีต่อต้านการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ผ่านการสร้างวาทกรรมที่ว่า กะเหรี่ยงเป็นนักอนุรักษ์ทรัพยากรเพราะอยู่อย่างสมถะ เคารพธรรมชาติซึ่งจะนำไปสู่สังคมสันติสุข (หน้า 143, 148)

Ethnic Group in the Focus

กะเหรี่ยงโปว์และสะกอ เป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย อาศัยอยู่ตามที่ราบเชิงเขาตามแนวตะเข็บชายแดนทางด้านตะวันตก คือบริเวณชายแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า (หน้า 139)

Language and Linguistic Affiliations

ในงานการศึกษาระบุเพียงว่ากลุ่มกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในบริเวณพรมแดนไทย-พม่า ทางตะเข็บชายแดนทางตะวันตก นักวิชาการทั้งในและต่างประเทศแบ่งตามเกณฑ์ภาษาออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กะเหรี่ยงสะกอ กะเหรี่ยงโปว์ กะเหรี่ยงบะเว และกะเหรี่ยงตองตู่หรือต่องสู้ (หน้า 140)

Study Period (Data Collection)

ไม่ได้ระบุว่าได้ทำการศึกษาช่วงปีใด แต่ระบุว่าในขณะที่เขียนบทความยังเก็บข้อมูลไม่เสร็จสิ้น การศึกษาน่าจะอยู่ในช่วงปีประมาณ 2545

History of the Group and Community

ประวัติศาสตร์การตั้งชุมชนในบริเวณชายแดนระหว่างไทย-พม่า โดยเฉพาะกลุ่มกะเหรี่ยงตามบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง จากจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน และจังหวัดตาก ได้อาศัยอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิแห่งนี้มาช้านนานก่อนที่ชาวไทยจะอพยพเข้ามา ดังปรากฎในตำนานพระธาตุและพงศาวดารเมืองเหนือว่า "นอกจากมีพวกลัวะหรือละว้าแล้วยังมีพวกยางหรือกะเหรี่ยงอาศัยอยู่ตามป่ารอบเมือง" แต่ประวัติศาสตร์ต้นกำเนิดและการอพยพยย้ายถิ่นของกะเหรี่ยงยังไม่ชัดเจน เพียงแต่สันนิษฐานว่า ถิ่นเดิมของชนกะเหรี่ยงอยู่ทางทิศตะวันออกของธิเบต แล้วอพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ในประเทศจีนเมื่อ 3,334 ปีล่วงมาแล้ว หรือ 733 ปี ก่อนพุทธกาลโดยตั้งหลักแหล่งอยู่บริเวณแม่น้ำแยงซีเกียง ชาวจีนเรียกว่า "โจว" ต่อมาถูกชนชาติจีนรุกรานจึงอพยพม่าตั้งถิ่นฐานยังแหลมอินโดจีน บริเวณลุ่มแม่น้ำโขง ลุ่มแม่น้ำสาละวิน และลุ่มแม่น้ำเมยในเขตไทยและพม่า ชุมชนกะเหรี่ยงจึงมีลักษณะเป็นรัฐกันชน ระหว่างไทยกับพม่ามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (หน้า 139-140)

Settlement Pattern

การเข้ามาตั้งถิ่นฐานของกะเหรี่ยง อาจแบ่งตามช่วงเวลาที่เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทย เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ดั้งเดิมก่อนเกิดรัฐชาติ และกลุ่มที่อพยพเข้ามาอยู่ใหม่ด้วยเหตุผลอย่างน้อย 2 ประการคือ หนีภัยสงคราม และการอพยพเข้ามาหาที่ทำกินใหม่ โดยลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย กะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่บริเวณชายแดนฝั่งไทย เมื่ออพยพเข้ามาในไทยจึงตั้งหมู่บ้านขึ้นเรียกว่า "เลตองคุ" และตั้งสำนักฤาษีขึ้นเป็นศูนย์กลางพลังอำนาจควบคุมการขับเคลื่อนทางสังคม (หน้า 140, 147)

Demography

กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงจากการสำรวจประชากรอย่างเป็นทางการ ปี พ.ศ.2544-2545 พบว่ามีประชากรกะเหรี่ยงในประเทศไทยจำนวน 438,450 คน และมีสัญชาติไทยไม่ถึง 40% อาศัยอยู่หนาแน่นตามเส้นตะเข็บชายแดนบริเวณจังหวัดตาก ตั้งแต่อำเภอท่าสองยาง อำเภอแม่ระมาด อำเภอแม่สอด อำเภอพบพระ และอำเภออุ้มผาง ชาวกะเหรี่ยงส่วนมากไม่ต้องการที่จะอพยพพลัดจากบ้านเกิดเมืองนอน แต่มีเหตุปัจจัยความไม่มั่นคงและความปลอดภัยในพม่า ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่พม่าได้รับอิสระจากอังกฤษในปี 2491 เพราะพม่าต้องการผนวกเอาดินแดนกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐชาติพม่า โดยการยกเลิกรัฐธรรมนูญและสัญญาปางโหลง ที่พม่าและกลุ่มชาติพันธ์ต่าง ๆ ทำขึ้นร่วมกัน โดยมีเงื่อนไขและตกลงกันไว้ว่าหากกลุ่มชาติพันธุ์ที่ร่วมมือกับรัฐบาลพม่า ร่วมต่อต้านและร่วมเรียกร้องอิสระจากจักรวรรดินิยมอังกฤษสำเร็จ หลังจากนั้น 10 ปี หากกลุ่มชาติพันธุ์ใดต้องการแยกตัวไปปกครองตนเองก็สามารถทำได้ แต่เมื่อครบกำหนดพม่ากับไม่ปฏิบัติตาม มีการส่งกองกำลังทหารเข้าไปยึดครองพื้นที่กลุ่มชาติพันธุ์ ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์กลายเป็นชนกลุ่มน้อยของพม่า จึงเกิดการอพยพหนีเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย (หน้า 138-141)

Economy

กะเหรี่ยงยังชีพโดยการผลิตแบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน เป็นเศรษฐกิจแบบพอเพียง พออยู่พอกินภายใต้ระบบนิเวศที่มีดุลยภาพ นอกจากนี้ยังมีการติดต่อแลกเปลี่ยนกับกะเหรี่ยงในประเทศพม่า มีการร่วมใช้ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมร่วมกัน (หน้า 143-144, 146)

Social Organization

ไม่ได้ระบุชัดเจน

Political Organization

ลัทธิฤาษี เป็นลัทธิความเชื่อที่มีการนับถือมาอย่างยาวนาน ลัทธิฤาษีที่กลุ่มชนกะเหรี่ยงนับถือ เป็นวาทกรรมอย่างหนึ่งของ กะเหรี่ยงโปว์และสะกอ ที่อาศัยตามตะเข็บชายแดนไทย-พม่า สร้างขึ้นเพื่อความเป็นปึกแผ่นและเป็นการปรับตัวเพื่อการเอาตัวรอดของชาติพันธุ์ ในอดีตกะเหรี่ยงกลุ่มนี้อาศัยอยู่ในพม่า และถูกพม่ารังแกอย่างน้อย 2 ครั้งคือ ครั้งแรกในสมัยพระเจ้าอลองพญาทำสงครามชนะมอญ พ.ศ. 2318 ครั้งที่ 2 คือ พ.ศ. 2355 พม่าปราบปรามกะเหรี่ยงเมื่อทราบว่ามีทัศนะที่ดีต่ออังกฤษ ทำให้ต้องอพยพเข้ามาในประเทศไทยแล้วสร้างลัทธิฤาษีขึ้นมา สมาชิกในโซนวัฒนธรรมลัทธิฤาษีต้องปฏิบัติตามข้อห้าม เช่น ห้ามดื่มสุรา ยาเสพติด เคารพในธรรมชาติ และทุกวันพระต้องไปทำบุญที่ศูนย์กลางวัฒนธรรม ซึ่งถือเป็นการควบคุมทางสังคม โดยผ่านฤาษี เจ้าฤาษีมีการส่งผ่านอำนาจมาแล้ว 10 คน โดยมี 2 ลักษณะในการส่งผ่าน ประการแรกเจ้าฤาษีองค์ก่อนแต่งตั้งนักบวชในสำนักก่อนมรณภาพ และประการที่สองหากเจ้าฤาษีมรณภาพก่อนแต่งตั้ง จะแต่งตั้งโดยผ่านการเข้าฝันนักบวช อย่างน้อย 3 คน และฝัน 3 ครั้ง จึงจะได้เป็นเจ้าฤาษี ท่ามกลางการรุกคืบของอำนาจรัฐและอำนาจโลกาภิวัตน์ ที่พยายามเข้าไปพัฒนาและเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางวัฒนธรรม เช่น กรณีการปะทะกันระหว่างกะเหรี่ยงกับตำรวจตระเวนชายแดนที่ ต.แม่จัน อ.อุ้มผางจ.ตาก เมื่อปี 2535 ในขณะเดียวกัน การจัดการแบบโซนวัฒนธรรมลัทธิฤาษีในปัจจุบัน มีความสอดคล้องกับนโยบายรัฐไทยที่มุ่งเน้นการกระจายอำนาจการปกครองลงสู่ท้องถิ่น ลัทธิฤาษีก็มีการปกครองโดยเจ้าฤาษี มีกรอบกติกาของพลังทางการเมือง ผูกโยงไว้กับผู้ที่มีอำนาจ เพื่อใช้อำนาจนั้นเป็นกลไกควบคุมทางสังคม สมาชิกคนใดหากละเมิดจะถูกทำโทษจากคณะกรรมการที่แต่งตั้งจากสมาชิกทั้งไทยและพม้า จำนวน 12 คน ที่เรียกว่า "บูโค๊ะเคอะ" ลงโทษอย่างหนักคือการไล่ออกจากชุมชน เช่น กรณีทำผิดลูกเมียคนอื่น (หน้า 145-147, 149-150)

Belief System

กะเหรี่ยงโปว์และสะกอ ที่อาศัยอยู่บริเวณตะเข็บชายแดนไทย-พม่า บริเวณ อ.ท่าสองยาง อ.แม่ระมาด อ.แม่สอด อ.อุ้มผาง จังหวัดตาก อ.สังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ตลอดจนที่อยู่ในจังหวัดดูปาย่า จังหวัดเมียวดีของพม่า มีระบบวัฒนธรรมอยู่ภายใต้ระบบความเชื่อในพุทธศาสนา คริสต์ศาสนาและลัทธิฤาษี โดยกลุ่มที่นับถือลัทธิฤาษีมักจะตั้งชุมชนอยู่เฉพาะกลุ่ม เช่น กะเหรี่ยงลัทธิฤาษีอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก และจังหวัดเคียวดอน พม่า ลัทธิฤาษีนั้นเป็นลัทธิความเชื่อที่มีการนับถือมาอย่างยาวนาน คำว่า ฤาษี แปลว่า ผู้เห็น หมายถึง การแลเห็นด้วยความรู้พิเศษอันเกิดจากฌานสามารถแลเห็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต ในโซนวัฒนธรรมลัทธิฤาษีพัฒนามาจากกระบวนการปรับตัวเพื่อความสอดคล้องกับบริบทสังคมที่อาศัย เดิมกะเหรี่ยงอาศัยในพม่าและปกรองโดยพือย่าแฮ (ปู่หรือฤาษี) อยู่กันเป็นปึกแผ่นพึ่งพาธรรมชาติชีวิตเรียบง่าย มีความเชื่อตัวเดียวกันคือ ผีบ้าน และผีเรือน ผีของชนกะเหรี่ยงจะเป็นผีพหูพจน์ คือมีการนับถือผีหลายตัวร่วมกัน เช่น เจ้าแห่งผืนน้ำ (คองซากา) เทพธิดาปกป้องดิน (ซ่าทะรี) เทพยดาแห่งน้ำ (โปโลกุ) เทพธิดาแห่งข้าว (พิบือโย) และผีบรรพบุรุษ ความเชื่อเหล่านี้เมื่อผสมผสานกับพุทธศาสนาจึงเกิดเป็นลัทธิฤาษี โดยหากแบ่งตามลัทธิความเชื่อพอแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม คือ กลุ่ม ความเชื่อดั้งเดิมที่หลากหลาย กลุ่มกะเหรี่ยงพุทธ กลุ่มกะเหรี่ยงคริสต์ และกลุ่มกะเหรี่ยงลัทธิฤาษี (หน้า 140, 142, 143, 145, 147)

Education and Socialization

มีการพยายามจากรัฐที่จะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของกะเหรี่ยง เช่น การพยายามจัดระบบการศึกษาเป็นระบบโรงเรียนแบบส่วนกลาง โดยที่กะเหรี่ยงเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ยึดมั่นในความเชื่อเรื่องผีและสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างเหนียวแน่นมายาวนาน วัฒนธรรมชุมชนจึงตั้งอยู่บนฐานของความเชื่อในอำนาจลึกลับเหนือธรรมชาติ และมีบทบาทต่อการกำหนดกิจกรรมในการดำเนินชีวิตทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง ขนบประเพณี การดูแลสุขภาพ และการจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ดังนั้นในกระบวนการขัดเกลาทางสังคม ความเชื่อจึงเป็นแกนสำคัญในกระบวนการขัดเกลา เช่น ความเชื่อในลัทธิฤาษีซึ่งมีการผลิตซ้ำและส่งผ่านจากบรรพชนมายาวนานกว่า 200 ปี สมาชิกส่วนมากอาศัยอยู่ในป่าลึกที่สมบูรณ์ พึ่งพาธรรมชาติ มีเศรษฐกิจแบบพอเพียง โดยมีกรอบวัฒนธรรมของลัทธิฤาษีเป็นแบบแผนกำหนดให้สมาชิกในโซนวัฒนธรรมลัทธิฤาษีปฏิบัติทำให้โครงสร้างทางสังคมเข้มแข็ง (หน้า 142-143, 146)

Health and Medicine

ไม่ได้ระบุไว้ชัดเจน แค่เพียงระบุว่า วัฒนธรรมชุมชนจึงตั้งอยู่บนฐานของความเชื่อในอำนาจลึกลับเหนือธรรมชาติ และมีบทบาทต่อการกำหนดกิจกรรมในการดำเนินชีวิตทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง ขนบประเพณี การดูแลสุขภาพ และการจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม (หน้า 142)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ลัทธิฤาษีนั้น ฤาษีเริ่มปรากฎหลักฐานในมหากาพย์รามายณะ และมหาภารตะของกลุ่มวัฒนธรรมอินเดีย ซึ่งลัทธิฤาษีเป็นเรื่องของจิตใจภายในเกิดขึ้นกับบุคลในทุกศาสนาและกลุ่มพิธีกรรมต่างๆ ฤาษีบางคนจะออกมาช่วยเหลือสังคม โดยการเป็นผู้นำทางคุณธรรมด้านต่าง ๆ เช่น เป็นผู้สื่อผ่านระหว่างสิ่งศักดิ์สิทธิ์เบื้องบน ดังปรากฏในเกร็ดพงศาวดารมอญ เรื่องเมืองหงสาวดีว่าพระอินทร์ประทานกลองวิเศษให้ฤาษี และฤาษีมอบกลองนี้ให้เชื้อพระวงศ์ของมอญ เป็นผู้มีเมตตาให้ความช่วยเหลือนางสีดาในรามายณะ เป็นผู้นำในการสร้างบ้านแปลงเมือง ในตำนานจามเทวีวงศ์กล่าวถึงฤาษีวาสุเทพ และฤาษีสุกกทันตฤาษี ได้สร้างเมืองลำพูน เป็นต้น (หน้า 145)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

บริเวณตะเข็บชายแดนไทย-พม่า ที่มีความยาว 2,532 กิโลเมตร ตั้งแต่จังหวัดเชียงรายจนถึงจังหวัดระนองมีช่องทางติดต่อระหว่างกันประมาณ 76 ช่องทางตลอดพรมแดน ในอดีตก่อนเกิดรัฐชาติพื้นที่ดังกล่าว ล้วนเป็นพื้นที่วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย เช่น ม้ง กะเหรี่ยง เย้า ลีซอ มูเซอ อีก้อ ฯลฯ หากมองมิติทางประวัติศาสตร์จะเห็นว่ากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงมีความสัมพันธ์ที่ยาวนานกับรัฐไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฎชื่อ สิน ภูมิโลกเพชร แม่ทัพหน้ากะเหรี่ยง และพระวอ นายทหารกองสอดแนม ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกไปตีตองอู พระยาศรีสุวรรณ นายอำเภอสังขละบุรี พระพิชัยสงคราม นายอำเภอศรีสวัสดิ์ และพระแม่กลอง นายอำเภออุ้มผาง ซึ่งนับได้ว่าเป็นความเกี่ยวข้องผูกพันระหว่างกลุ่มกระเหรี่ยงกับคนไทยที่มีต่อกันมายาวนาน (หน้า 137-138, 140)

Social Cultural and Identity Change

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ประเทศไทยได้สร้างวาทกรรมการพัฒนาพร้อมพัฒนาประเทศอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติตั้งแต่แผนที่ 1-9 ความเจริญ เทคโนโลยี และเศรษฐกิจระบบทุนนิยม เน้นตลาด ถูกนำมาใช้ในการพัฒนาสังคมไทย พร้อมกับแพร่ขยายไปยังสังคมกะเหรี่ยงบริเวณชายแดนไทย-พม่า ชาวกะเหรี่ยงถูกมองว่าเป็นกลุ่มชนกลุ่มน้อย ที่ล้าหลัง รัฐต้องเข้าไปพัฒนา เช่น การพยายามจัดระบบการศึกษาแบบระบบโรงเรียน การพยายามยกเลิกพิธีกรรมความเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติ โดยการเผยแพร่พุทธศาสนา คริสต์ศาสนาโดยมิชชั่นนารี การพยายามเปลี่ยนแปลงการปกครองชองชุมชนให้เหมือนชุมชนสังคมไทย ผลจากการพัฒนาก่อให้เกิดการทำลายสถาบันและระบบความเชื่อดั้งเดิมของกะเหรี่ยงที่เน้นการพึ่งพาระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติ การผลิตเปลี่ยนเป็นผลิตเพื่อตลาด มีการแข่งขันดิ้นรนเพื่อเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งตกเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนทางการเมืองของกลุ่มผู้มีอำนาจทั้งไทยและพม่า เกิดการสู้รบกันบริเวณชายแดนไทย-พม่า ซึ่งทำให้เกิดปัญหาทางสังคมที่กะเหรี่ยงตกเป็นจำเลยทางสังคมตามที่ปรากฎตามสื่อต่างๆ (หน้า 143, 144)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst อินทิรา วิทยสมบูรณ์ Date of Report 10 มี.ค 2559
TAG ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง), โพล่ง โผล่ง โพล่ว ซู (กะเหรี่ยง), ลัทธิฤาษี, วาทกรรมคนชายขอบ, การปรับตัว, ความอยู่รอดของชาติพันธุ์, ตาก, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง