สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ยอง,อาหาร,ลำพูน,ภาคเหนือ
Author พิกุล บุญมากาศ
Title การศึกษาตำรับอาหารพื้นบ้านชาวยอง
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ยอง คนยอง ชาวยอง ไทยอง ขงเมืองยอง จาวยอง, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(เอกสารฉบับเต็ม)
Total Pages 109 Year 2544
Source หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชนศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract

ตำรับอาหารพื้นบ้านของคนยองทั้ง 47 ตำรับ จำแนกเป็นประเภทแกง 19 ตำรับ ประเภทน้ำพริก (ต๋ำ) 14 ตำรับ และประเภทอื่นๆ อีก 14 ตำรับ ปรุงโดยวิธีคั่ว (ผัด) ยำ และแอ๊บ อาหารดังกล่าวล้วนมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุ ส่วนเครื่องปรุงสำคัญ ได้แก่ ปลาร้า เกลือ กะปิ และนิยมใช้ตะไคร้ ข่า ขมิ้น ใบมะกรูด กระเทียม หัวหอมเล็ก ผักชีในการปรุงแต่งอาหารให้น่ารับประทานยิ่งขึ้น โดยรายการอาหารที่รับประทานในชีวิตประจำวันกับในงานประเพณีและเทศกาลต่าง ๆ ส่วนใหญ่มีความคล้ายคลึงกัน จะมีรายการอาหารบางอย่างที่เพิ่มเข้ามา ได้แก่ แกงฮังเล แกงอ่อม แกงหยวก แกงปลีตาล ห่อนึ่ง จิ้นปิ้ง น้ำพริกอ่อง ขนมจ๊อก ข้าวต้มกล้วย และขนมบะแต๋งลาย นอกจากนี้ผลไม้ที่นิยมรับประทาน ได้แก่ กล้วยน้ำว้า มะม่วง ส้มโอ และกระท้อน (หน้า 92-94)

Focus

ศึกษาตำรับอาหารพื้นบ้าน ประเภทอาหาร ส่วนประกอบ และวิธีการปรุงอาหาร ตลอดจนอาหารในประเพณีและเทศกาลต่างๆ ของคนยองในจังหวัดลำพูน โดยสัมภาษณ์คนยองเพศหญิงในพื้นที่ซึ่งมีอายุ 60 ปีขึ้นไป ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน (หน้า 3)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

คนยองในเขตอำเภอเมือง อำเภอป่าซาง และอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน

Language and Linguistic Affiliations

ไทยองพูดภาษาไทเช่นเดียวกับคนไทย แตกต่างกันบ้างที่คำศัพท์และสำเนียง (หน้า 4)

Study Period (Data Collection)

สำรวจข้อมูลภาคสนามระหว่างวันที่ 25 สิงหาคม ถึง 17 กันยายน 2543 (หน้า 36)

History of the Group and Community

ในสมัยพระเจ้ากาวิละแห่งล้านนาได้กวาดต้อนคนยองจากเมืองยองในประเทศพม่าลงมาตั้งถิ่นฐานบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะในจังหวัดลำพูน ปัจจุบันมีประชากรยองตั้งถิ่นฐานเป็นจำนวนมาก (หน้า 4)

Settlement Pattern

คนยองตั้งชุมชนบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง แม่น้ำกวง และแม่น้ำทา ในพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอป่าซาง อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน (หน้า 5)

Demography

กลุ่มตัวอย่างประชากรเพศหญิงที่มีอายุระหว่าง 61-83 ปี ในหมู่บ้านศรีเมืองยู้ อำเภอเมือง หมู่บ้านป่าซาง อำเภอป่าซาง และหมู่บ้านทาขุมเงิน อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน หมู่บ้านละ 10 คน (หน้า 34-36)

Economy

อาหารหลักของคนยองคือข้าวนึ่งหรือข้าวเหนียวและอาหารประเภทแก๋ง (แกง) น้ำพริก คั่ว (ผัด) ยำ แอ๊บ นิยมรับประทานผักและเนื้อปลาเป็นหลัก ได้แก่ ยอดตำลึง ยอดฟักทอง ยอดกระถิน ผักชะอม ถั่วฝักยาว ผักกาด ผักสะแล ผักเฮือด ผักขี้ขวง ผักเสี้ยว และยอดมะขาม โดยรับประทานเป็นเครื่องเคียงกับน้ำพริกหรือนำมาประกอบอาหาร (หน้า 92-93) อาหารประเภทแกงของคนยองได้แก่ แกงอ่อมไก่ แกงแคไก่ แกงบอน แกงบ่าฟักหม่น (ฟักเขียว) แกงผักหวานป่า แกงสะแล แกงหน่อไม้สด แกงหยวกใส่ไก่ แกงเห็ดกระโดง (เห็ดไข่ห่าน) แกงฮังเล แกงขนุนอ่อน แกงเห็ดถอบ (เห็ดเผาะ) แกงกะหล่ำปี๋ (แกงกะหล่ำปลี) แกงผักกาดใส่ไก่ แกงผักแคบ (ตำลึง) แกงผักป้อก้าตี๋เมีย (แกงผักเฟือยนก) แกงเห็ดหล่ม แกงอ่อมป๋าดุก (แกงอ่อมปลาดุก) แกงจิ้นแห้ง (จิ้นฮุ้ม) อาหารประเภทน้ำพริก ได้แก่ น้ำพริกต่อ น้ำพริกปู๋ขาว (น้ำพริกปูนา) น้ำพริกลาบ น้ำพริกจิ๊กุ่ง (จิ้งหรีด) น้ำพริกเห็ดหล่ม น้ำพริกป๋า (น้ำพริกปลา) น้ำพริกหัวข่า (นำพริกข่า) น้ำพริกต๋าแดง (น้ำพริกตาแดง) น้ำพริกน้ำผัก น้ำพริกปลาฮ้า (น้ำพริกปลาร้า) น้ำพริกมะเขือนอนออง (น้ำพริกอี่เก๋) น้ำพริกงาป่น (งาดำ) น้ำพริกน้ำปู๋ (น้ำพริกน้ำปูดำ) น้ำพริกอ่อง อาหารประเภทคั่ว (ผัด) ยำ แอ๊บ ได้แก่ คั่วมะเขือ คั่วผักโหมแดง (ผักโขม) ยำมะถั่ว มะเขือ (ยำถั่วฝักยาว มะเขือ) ยำจิ้นไก่ เจี๋ยวเตา ผักกาดจอ ต้มส้มป๋า (ต้มส้มปลา) ตำมะเขือ ปลาปิ้ง จิ้นปิ้ง (หมูปิ้ง) แอ๊บป๋า (แอ๊บปลา) ขนมปาด ข้าวหนุกงา ข้าวแคบ อาหารพื้นเมืองล้านนาประเภทแกง ได้แก่ 1) แกงแบบใช้น้ำพริกหนุ่ม เช่น แกงผักเชียงดา แกงผักเสี้ยว แกงหัวปลี แกงผักชะอม แกงผักขี้เสียด 2) แกงส้มแบบใช้น้ำพริกหนุ่ม เช่น แกงตูนใส่ปลา (แกงก้านคูนใส่ปลา) แกงยอดมันเทศ 3) แกงแบบใช้พริกแห้ง เช่น แกงฟักเขียว นิยมใส่มะแขว่น แกงอ่อม นิยมใส่บะแหลบ แกงขนุนอ่อน นิยมใส่จะค่าน อาหารประเภทแกงนี้นอกจากจะนิยมใส่เครื่องเทศแล้วยังนิยมใช้ปลาเป็นส่วนประกอบของเครื่องแกงด้วย อาหารที่ผ่านกรรมวิธีการถนอมอาหาร โดยนำอาหารที่เหลือมาทำเป็นอาหารหม้อใหม่ เช่น นำแกงฮังเล แกงจืดวุ้นเส้น ผัดผักต่าง ๆ มารวมกันแล้วเพิ่มหน่อไม้ดองเปรี้ยว วุ้นเส้น ใบมะกรูด ตะไคร้ ผัดให้แห้งจะได้แกงโฮะ และอาหารที่รับประทานเป็นเครื่องเคียงกับน้ำพริกอ่อง น้ำเมี่ยง ขนมจีนน้ำเงี้ยว ผักกาดจอ ได้แก่ แคบหมู หนังปอง น้ำหนัง เป็นต้น (หน้า 18) ส่วนผสมสำคัญของอาหารพื้นเมืองล้านนาประกอบด้วยเครื่องเทศ แมลง และผักพื้นบ้าน เช่น บะแหลบ ใส่ลาบ ยำจิ๊นไก่ มะแขว่น บะข่วง ใช้เป็นส่วนประกอบในน้ำพริก จะค่าน ใส่แกงขนุนอ่อน แกงแคหรือแกงอ่อม งาขี้ม้อนใส่ข้าวหลาม ทำงาต๋ำอ้อย และข้าวหนุกงา ดอกงิ้วใส่แกงแค และน้ำเงี้ยว แมงนูน แมงมัน ตัวต่ออ่อน จิกุ่ง นิยมนำมาทำน้ำพริก เต้งแมงมัน (ไข่แมงมัน) นำมายำ ตัวอ่อนผึ้ง (รังผึ้งอ่อน) นำไปปิ้งไฟอ่อน ๆ เรียกแอ๊บเพิ้ง ด้วงไม้ไผ่ นำมาทอดเกลือ ผักเสี้ยว ผักหนาม ผักหวาน ผักฮ้วนหมู ผักป้อง ผักขี้ขวงนิยมนำมาแกงใส่ปลาย่างหรือลวกรับประทานกับน้ำพริก และต๋ำส้มบะม่วง ต๋ำส้มบะผาง เป็นต้น (หน้า 18-20) นอกจากนี้ยังมีอาหารประเภทคั่ว (ผัด) ประเภทยำ ประเภทต๋ำ (โขลก) ประเภทน้ำพริก ประเภทเจี๋ยว (แกงประเภทหนึ่ง) ประเภทนึ่ง ประเภทต้มส้ม ลักษณะคล้ายต้มโคล้งของภาคกลาง ประเภทลาบ ถือเป็นอาหารชั้นหนึ่งของชาวล้านนา นิยมใช้เป็นอาหารในงานมงคล และในงานแก้บน อาหารประเภทแอ๊บ (งบ) คือ อาหารที่ห่อด้วยใบตองแล้วนำไปปิ้งโดยใช้ไฟอ่อน อาหารประเภทฮุ่มหรืออุ๊ก เป็นการต้มอาหารประเภทเนื้อสัตว์ให้สุกเปื่อย อาหารประเภทปิ้ง อาหารประเภทจอหรือแกงที่มีรสเปรี้ยว แต่ไม่เผ็ด และอาหารประเภททอด (หน้า 23-31)

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

เทศกาลและประเพณีต่าง ๆ ของชาวล้านนา เช่น เทศกาลสงกรานต์ ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ ทุกครัวเรือนจะทำความสะอาดบ้านและจิตใจให้แจ่มใส มีการทำบุญขนทรายเข้าวัด สรงน้ำพระพุทธรูป และรดน้ำดำหัว เทศกาลทำบุญข้าวใหม่ ตรงกับเดือนมกราคม เป็นช่วงที่ชาวนาเก็บเกี่ยวข้าวใส่ยุ้งฉาง จะมีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้พระแม่โพสพก่อนนำข้าวไปรับประทาน เทศกาลสลากภัต จัดในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม เป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ประเพณีปอบหลวง หมายถึง งานฉลองครั้งใหญ่ ได้แก่ งานฉลองถาวรวัตถุของวัดหรือฉลองสิ่งก่อสร้างที่ชาวบ้านช่วยกันสร้างขึ้นเพื่ออุทิศบุญกุศลแด่บรรพชน ประเพณีงานศพ ถือเป็นภาระหน้าที่ของทุกคนในหมู่บ้านที่จะต้องช่วยกัน โดยฝ่ายชายจะสร้างปะรำ แผ้วถางสถานที่ ส่วนฝ่ายหญิงจะช่วยกันทำครัว ตกแต่งดอกไม้ ประเพณีขึ้นบ้านใหม่ โดยจะเชิญเพื่อนบ้านที่เคารพนับถือมาร่วมงานบุญ อาหารที่จัดเตรียมสำหรับงานดังกล่าวมีความคล้ายคลึงกัน อาหารที่นิยมได้แก่ แกงฮังเล แกงบะฟักหม่น ห่อนึ่ง (ห่อหมก) แกงอ่อม จิ๊นลาบ (ลาบพื้นเมืองล้านนา) น้ำพริกผักนึ่ง ขนมจ๊อก (ขนมเทียน) ข้าวต้มกล้วย ขนมปาด (คล้ายขนมศิลาอ่อน) ข้าวแต๋น เป็นต้น (หน้า 13-17)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจและสังคมในยุคปัจจุบันทำให้การดำรงชีวิตของผู้คนต้องแข่งขันกับเวลา จึงไม่มีโอกาสที่จะพิถีพิถันกับการปรุงแต่งอาหาร อาหารสำเร็จรูปจึงเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับคนเมือง อาหารเหล่านี้ล้วนมีคุณค่าทางโภชนาการน้อย อีกทั้งยังอาจมีสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อย่างไรก็ดีปัจจุบันผู้คนได้ให้ความสนใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น โดยหันมารับประทานอาหารจากธรรมชาติ นับเป็นหนทางหนึ่งในการดูแลสุขภาพให้ห่างไกลจากภาวะการเจ็บป่วย (หน้า 9,17)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไทยองมีเชื้อสายเดียวกับไทใหญ่ ไทเขิน ไทลื้อ ไทเมา ไทคำตี่ ไทอาหม ไทยสยาม ไทล้านนา และคนไทยในประเทศไทย (หน้า 4) คนกลุ่มนี้มีส่วนในการกำหนดวัฒนธรรมการประกอบอาหาร ดังเช่นอาหารพื้นบ้านของชาวล้านนาไม่นิยมใช้กะทิและน้ำตาลในการปรุงอาหาร โดยเฉพาะอาหารประเภทแกงต่าง ๆ แต่นิยมใช้น้ำมันจากพืชและสัตว์แทน และไม่นิยมอาหารรสจัด นิยมรสเปรี้ยวจากมะเขือส้มหรือมะกอก และรสเค็มจากปลาร้าในการปรุงอาหาร ขนมหวานส่วนใหญ่ทำด้วยแป้งและน้ำตาลเป็นหลัก (หน้า 8) นอกจากนี้ยังมีอาหารอีกหลายประเภทที่รับรูปแบบการปรุงมาจากชาติอื่นๆ เช่น แกงฮังเลหรือแกงฮินเล อุ๊กไก่หรืออุ๊บไก่ รับรูปแบบการปรุงมาจากพม่า ขนมจีนน้ำเงี้ยว ข้าวเงี้ยวหรือข้าวกั้นจิ๊น น้ำพริกอ่อง อาหารประเภทจอ และอาหารที่ปรุงจากถั่วเน่า รับรูปแบบการปรุงมาจากไทยใหญ่ ข้าวซอย รับรูปแบบการปรุงมาจากจีนฮ่อ อาหารประเภทผัดโดยใช้กระทะและน้ำมัน แกงจืดวุ้นเส้นซึ่งปรุงด้วยดอกไม้จีน เห็ดหูหนู ฟองเต้าหู้ กุ้งแห้ง และหมูสับ รับรูปแบบการปรุงมาจากจีน ต้มส้ม และน้ำพริกอี่เก๋ ดัดแปลงมาจากต้มโคล้งและน้ำพริกกะปิของภาคกลาง (หน้า 11)

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ปัจจัยที่ทำให้คนยองยังเลือกรับประทานอาหารพื้นบ้าน ได้แก่ มีวัตถุดิบในการปรุงทั้งเนื้อสัตว์และพืชผักในท้องถิ่น สะดวกต่อการเลือกซื้อและมีราคาถูก พืชผักบางชนิดยังเจริญเติบโตตามฤดูกาล ทำให้เกิดการหมุนเวียนรายการอาหารในแต่ละฤดูกาล อีกทั้งยังมีรสชาติถูกปาก เนื่องจากมีความคุ้นเคยกับการรับประทานอาหารดังกล่าวมาตั้งแต่เกิด (หน้า 94-95) อย่างไรก็ดีคนยองบางส่วนไม่นิยมรับประทานอาหารพื้นบ้านเนื่องจากขาดการสืบทอดนิสัยการรับประทานจากบรรพบุรุษ บางคนมีทัศนคติทางด้านลบ เช่น คิดว่าอาหารพื้นบ้านไม่ค่อยมีประโยชน์ทางโภชนาการ รสชาติไม่ถูกปาก ทานแล้วแพ้อาหารหรือแสลงโรค อีกทั้งบางท้องถิ่นเครื่องปรุงอาหารพื้นบ้านได้สูญพันธุ์ไปนานแล้ว (หน้า 95)

Map/Illustration

ตารางกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุในหมู่บ้านศรีเมืองยู้และกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุในหมู่บ้านป่าซาง (หน้า 35) ตารางกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุในหมู่บ้านขุมเงิน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน (หน้า 36) ตารางอาหารประเภทต่างๆ (หน้า 38) ภาพแผนที่ทิศทางการขยายตัวและการกระจายตัวของชุมชนยอง (พ.ศ.2380-2445) (หน้า 5) แผนที่ทิศทางการกวาดต้อนผู้คนสมัยพระเจ้ากาวิละ (พ.ศ.2325-2356) (หน้า 6) ภาพตัวอย่างอาหารพื้นบ้านของคนยอง(หน้า 102-106) ภาพตัวอย่างเทศกาลต่าง ๆ ของคนยอง (หน้า 107-108)

Text Analyst ดวงใจ พิชิตณรงค์ชัย Date of Report 29 มิ.ย 2560
TAG ยอง, อาหาร, ลำพูน, ภาคเหนือ, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง