สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject เมี่ยน,อิ้วเมี่ยน,เย้า,วัฒนธรรม,พะเยา
Author สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย(ศ.ว.ท./IMPECT) และคณะ
Title สาระองค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นอิ้วเมี่ยน (เย้า)
Document Type หนังสือ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity อิ้วเมี่ยน เมี่ยน, Language and Linguistic Affiliations ม้ง-เมี่ยน
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 138 Year 2545
Source สำนักงานกองทุนเพื่อสังคม (สกส./SIF)
Abstract

มีเนื้อหาครอบคลุมความเป็นมาของวัฒนธรรม ความเชื่อ ประเพณี ศิลปะพื้นบ้านตลอดจนวิถีชีวิตของเมี่ยน

Focus

ศึกษาประวัติศาสตร์โครงสร้างสังคม ระบบความเชื่อ และศาสนา ประเพณีและพิธีกรรมระบบคุณธรรมและจริยธรรม ศิลปะวรรณกรรม ระบบเศรษฐกิจ อาหารและโภชนาการ ของชนเผ่าอิ้วเมี่ยนในประเทศไทย

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

คนเย้าในประเทศไทยเรียกตัวเองว่า "เมี่ยน" หรือ "อิ้วเมี่ยน" เมี่ยน (เย้า) ในประเทศจีน เย้ามีคำเรียกชื่อกลุ่มตัวเองแตกต่างกันถึง 28 ชื่อ มีเชื้อชาติมองโกลอยด์ อยู่ในตระกูลจีน-ธิเบต เย้าตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายว่า เป็นชนเผ่าหนึ่งอยู่ในประเทศไทยตอนเหนือ แต่คำว่า "เย้า" ไม่มีในภาษาของเผ่าเมี่ยน ซึ่งจะไม่เรียกตัวเองว่าเย้า แต่เรียกตัวเองว่า "เมี่ยน" หรือ "อิ้วเมี่ยน" แปลว่า "คน" หรือ มนุษย์ แต่มีหลักฐานว่าเมื่อสองพันปีมาแล้ว "เมี่ยน" อยู่ตามถ้ำเขาสูง เพราะไม่ยอมตกอยู่ใต้อำนาจจีน และถูกเรียกว่า "ม่อเย้า" ก่อนหน้านี้ถูกจีนเรียกว่า "หมาน" หมายความว่าพวกป่าเถื่อนทางใต้ สมัยราชวงศ์ซ่ง คำว่า "ม่อ" ถูกตัดทิ้งไปเหลือแต่คำว่า "เย้า" (หน้า 1,2)

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาของเย้าจัดอยู่ในตระกูลจีน-ธิเบต สาขาเเม้ว-เย้า ภาษาพูดพัฒนามาจากกลุ่มภาษาหนึ่งของชาวหมาน ปัจจุบันภาษาเย้าพัฒนากลายเป็นภาษาถิ่นย่อย 3 ภาษา คือ ภาษาเมี่ยน ภาษาปูนู และภาษาลักจา เมี่ยนมีแต่ภาษาพูด แต่ไม่มีภาษาเขียน จึงยืมภาษาฮั่นมาใช้ แต่เมี่ยนก็ได้สร้างตัวหนังสือไว้ใช้เองโดยดัดแปลงจากของฮั่น ซึ่งมีลักษณะผสมระหว่างภาษาเมี่ยนกับภาษาฮั่น การอ่านออกเสียงคำศัพท์ในภาษาเมี่ยนจะอ่านเป็นสำเนียงเมี่ยน คำศัพท์ในภาษาฮั่นจะอ่านเป็นสำเนียงภาษาย่อยชนิดหนึ่งของภาษาถิ่นกวางตุ้ง (หน้า 2)

Study Period (Data Collection)

ไม่ได้ระบุชัดเจน แต่กล่าวว่าสาระองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอิ้วเมี่ยน (เย้า) เกิดจากการศึกษารวบรวมมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 (คำนำในการจัดพิมพ์)

History of the Group and Community

เมื่อประมาณสองพันกว่าปีมาแล้ว บรรพชนได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ราบ รอบๆ ทะเลสาปตงถิง แถบแม่น้ำแยงซี ไม่ยอมอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐ จึงอพยพเข้าไปในป่าหรือภูเขาสูง ตั้งถิ่นฐานด้วยตนเอง เย้าในประเทศจีนแยกออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ คือ เผ่าเปี้ยน เผ่าปูนู เผ่าฉาซัน และเผ่าผิงตี้ เผ่าเปี้ยนมีประชากรมากที่สุด และย้ายถิ่นอยู่ตลอดเวลาเริ่มจากมณฑลกวางตุ้ง กุ้ยโจว กวางสี และยูนนาน และย้ายถิ่นเข้าสู่ภาคเหนือของเวียดนามในราวคริสตวรรษที่ 15-16 ต่อจากนั้นก็ย้ายถิ่นเข้าสู่ลาว พม่า และไทย เมื่อสงครามในเวียดนาม และลาวสิ้นสุดเมื่อปี ค.ศ. 1975 เย้าเผ่าเปี้ยนบางส่วนก็ได้ลี้ภัยไปตั้งถิ่นฐานในประเทศสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส แคนาดา และสวีเดน (หน้า 1) เย้าเผ่าเปี้ยนอพยพเข้าสู่ประเทศไทยในราวร้อยปีมานี้ โดยแบ่งเป็น4 กลุ่ม คือ - กลุ่มเชียงราย - น่าน ส่วนใหญ่จะเป็นเมี่ยนแซ่เติ๋น รองลงมามีแซ่พ่าน แซ่ฟุ้ง เมี่ยนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีถิ่นฐานอยู่ในมณฑลกวางสีประเทศจีน ก่อนจะย้ายถิ่นเข้ามาในประเทศเวียดนาม ลาว และประเทศไทย ตามลำดับ (หน้า 10,11) - กลุ่มดอยอ่างขาง เมี่ยนกลุ่มนี้ได้ย้ายเข้าสู่ประเทศไทยทางอำเภอเชียงของ ในช่วงระยะเวลาใกล้เคียงกับเมี่ยนกลุ่มเขียงราย- น่าน คือประมาณ 132 ปี เมื่อ พ.ศ. 2512 และเริ่มตั้งถิ่นฐานในบริเวณดอยอ่างขาง และบริเวณใกล้เคียง ทั้งในเขตประเทศไทย และพม่า (พ.ศ. 2380) ในปัจจุบันเมี่ยนกลุ่มนี้กระจายตัวอยู่ในบริเวณอำเภอฝาง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย บ้านหนองแว่น อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย (หน้า 11,12) - กลุ่มเชียงรายตอนบน เมี่ยนกลุ่มนี้ย้ายถิ่นออกจากมณฑลกวางตุ้งหลังจากเมี่ยนกลุ่มเชียงราย - น่าน ประมาณ 3 รุ่น จากมณฑลกวางตุ้งได้ย้ายถิ่นฐานเข้าสู่มณฑลกวางสี มณฑลยูนนาน และเข้าสู่ลาว ไทย แต่บางกลุ่มก็ย้ายจากมณฑลยูนนานเข้าสู่พม่า ลาว ไทย (หน้า 12,13) - กลุ่มผู้หนีภัยสงคราม เป็นเมี่ยนที่ย้ายถิ่นเข้ามาเป็นกลุ่มสุดท้าย หลังจากที่สงครามในประเทศเวียดนามและประเทศลาวได้หยุดลง เมี่ยนผู้ลี้ภัยสงครามกลุ่มใหญ่สุดมีประมาณ 80 กว่าหลังคาเรือน ได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านห้วยขุนบง ตำบลปงน้อย อำเภอแม่จัน จังหวัดเขียงราย ตำบลตาฟาง อำเภอเมืองสิงห์ แขวงน้ำทา ประเทศลาว (หน้า 13)

Settlement Pattern

หมู่บ้านของเมี่ยนส่วนมากจะตั้งอยู่บนที่สูง กระจายอยู่ทั่วไปทางตอนเหนือของประเทศไทย ในเขตจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ลำปาง น่าน สุโขทัย กำแพงเพชร ตาก และเพชรบูรณ์ (หน้า 16) ปัจจุบัน เมี่ยนที่อาศัยอยู่เพชรบูรณ์ได้อพยพไปอยู่ที่อื่นเกือบหมดแล้ว การย้ายเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกของเมี่ยน กลุ่มต่างๆ จะเลือกตั้งถิ่นฐานทำมาหากินตามไหล่เขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 - 1,500 เมตร เพราะเป็นพื้นที่เหมาะแก่การปลูกฝิ่น (หน้า 14) เมี่ยนมีการตั้งหมู่บ้านและลักษณะบ้านเรือนอยู่ 2 แบบ คือ - แบบดั้งเดิม โดยจะเลือกตั้งหมู่บ้านอยู่บนที่ราบตามไหล่เขา บริเวณต้นน้ำลำธารหรือบริเวณหุบเขา ในระดับความสูง 1,000-1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเล ต้องเป็นที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ เมี่ยนนิยมสร้างบ้านหันหน้าออกจากภูเขา หรือมักอยู่ทางทิศตะวันออกของภูเขา จะไม่ปลูกบ้านซ้อนกัน เพราะจะทำให้บ้านของตนไปตรงกับประตูใหญ่ของบ้านอื่น ด้วยเชื่อว่าสิ่งชั่วร้ายที่ถูกชับไล่ออกจากทางประตูใหญ่นี้จะเข้าบ้านที่อยู่ตรงกับประตูใหญ่ในระยะใกล้ๆ กัน นิยมปลูกบ้านคร่อมดิน ใช้พื้นดินเป็นพื้นบ้านของบ้าน มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และไม่นิยมปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างใดๆ ไว้หลังบ้าน เพราะเชื่อว่าด้านหลังบ้านเป็นที่อยู่อาศัยของเทพผู้ดูแลน้ำ นำความชุ่มชื้นมาให้แก่ผู้อาศัย สิ่งก่อสร้างต่างๆ เช่น เล้าหมู ยุ้งข้าว จะสร้างไว้ด้านหน้า ส่วนข้างๆ บ้านจะมีสวนครัวเล็ก ๆ - แบบสมัยใหม่ จะปลูกยกพื้นเหมือนคนพื้นราบ วัสดุที่ใช้เป็นไม้ทั้งหลังหรือตึก มุงหลังคาด้วยกระเบื้องหรือสังกะสี หรืออาจจะปลูกคร่อมดิน แต่เปลี่ยนวัสดุที่ใช้ในการปลูกสร้าง จากไม้ไผ่หญ้าคา มาเป็นกระเบื้องหรือสังกะสีแทน (หน้า 50,51) เมี่ยนทุกบ้านจะมี "โหเป๋ยชาน" หรือเขตป่าชุมชน เพราะให้ประโยชน์เรื่องน้ำ แหล่งอาหารและอื่นๆ ซึ่งมีรัศมีจากหมู่บ้าน 2-3 กิโลเมตร และยังเป็นแนวป้องกันไฟป่าที่คุ้มกันหมู่บ้าน ให้ความร่มรื่น ชุ่มชื้น เป็นที่อยู่อาศัยและหากินของสัตว์เลี้ยง เป็นเขตเก็บหาเครื่องใช้ไม้สอยในครัวเรือน ยาสมุนไพร ผลไม้ป่า เมี่ยนจะไม่ทำไร่ในบริเวณนี้เพราะจะทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ดังนั้นเมี่ยนจะตั้งหมู่บ้านอยู่ได้ จำต้องดูบริเวณโหเป๋ยชานควบคู่ไปด้วย หากไม่มีบริเวณใดที่จะเป็นโหเป๋ยชานของหมู่บ้านได้ เมี่ยนจะไม่ตั้งหมู่บ้าน (หน้า 130 )

Demography

เมี่ยนในจังหวัดต่างๆ มีจำนวนดังนี้ จังหวัดกำเเพงเพชรมีประชากร 4,059 คน จังหวัดเชียงรายมีประชากร 16,027 คน จังหวัดเชียงใหม่มีประชากร 1,688 คน จังหวัดสุโขทัยมีจำนวนประชากร 785 คน จังหวัดตากมีประชากร 401 คน จังหวัดพะเยามีประชากร 7,851 คน จังหวัดลำปางมีประชากร 5,159 คน จังหวัดน่านมีประชากร 12,304 คน และจังหวัดเพชรบูรณ์มีประชากร 83 คน รวมทั้งสิ้นมีเมี่ยนกระจายตามที่ต่างๆ 48,357 คน (ดูตารางจำนวนประชากรทั้งหมดที่กระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆ ของประเทศไทย หน้า 16-18)

Economy

เมี่ยนจะเลือกอยู่ในพื้นที่ที่เหมาะแก่การปลูกฝิ่น เพราะฝิ่นเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ส่วนพืชอาหาร เมี่ยนจะปลูกข้าว ข้าวโพด และผักสวนครัวไว้บริโภค การปลูกพืชตามไหล่เขาทำให้เกิดการไหลชะของหน้าดินง่าย ทำให้ดินหมดความอุดมสมบูรณ์แล้วเมี่ยนก็จะย้ายไปอยู่ที่ใหม่ ปัญหาเรื่องที่ทำกินเป็นปัจจัยที่สำคัญทำให้เมี่ยนต้องย้ายถิ่น (หน้า 14,15) การทำมหากินของเมี่ยน - เมี่ยนทำการเกษตรเป็นหลัก พืชหลักได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ฝิ่น พืชรองได้แก่ มีตะช้าน อึมไจ ฟัก ฟักทอง มันชนิดต่างๆ ถั่วชนิดต่างๆ ผัก แตง เผือก ขิง มะเขือ เป็นต้น (หน้า 119) - มีการหาของป่า และล่าสัตว์ ในเขตป่าที่ห่างไกลจากหมู่บ้านมากที่สุด การล่าสัตว์มีทั้งสัตว์เล็ก จนถึงสัตว์ใหญ่ เช่น นก กระแต ลิงค่าง กวางหมี กระทิง (หน้า 127) - ของป่าพืชที่นำมาบริโภคและใช้งาน ได้แก่ หน่อไม้ หน่อหวาย ผลไม้ป่า ดอกกล้วย น้ำผึ้ง ประเภทอุปโภค ได้แก่ ไม้ก่อสร้างบ้าน ประเภทถาวร เช่น ฝาบ้านต้องเป็นไม้ล่อเห่ เดี๋ยงแมง เปี๊ยวต้น ก่อจวย ตะจู้ง หรือไม้ที่ใช้ในการจักสาน เช่น หวาย ใบค้อ ไม้ไผ่ เป็นต้น (หน้า 130)

Social Organization

ในชุมชนของเมี่ยนจะมีผู้ปกครองหรือหัวหน้าหมู่บ้าน 1 คน โดยทั่วไปมักเป็นบุคคลที่มาจากกลุ่มแซ่สกุลที่ใหญ่ที่สุดในหมู่บ้าน ทำหน้าที่ดูแลทุกข์สุขของชาวบ้านและไกล่เกลี่ยคดีต่างๆ ในชุมชน เมี่ยนมีการจัดตำแหน่ง หรือฝ่ายต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อชุมชน ได้แก่ - กลุ่มผู้อาวุโส มีความสำคัญในหมู่บ้านในด้านการปกครองดูแลหมู่บ้าน - ผู้ประกอบพิธีกรรม เมี่ยนเชื่อว่าโลกนี้มีสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติและนอกเหนือธรรมชาติ (วิญญาณ) เมี่ยนจึงต้องติดต่อกับวิญญาณดีเพื่อให้ช่วยปกป้องคุ้มครองตน และควบคุมวิญญาณร้ายไม่ให้ก่อสิ่งที่ไม่ดี - ช่างตีเหล็ก เป็นผู้ทำอุปกรณ์การเกษตร เพราะสังคมเมี่ยนเป็นสังคมเกษตรกรรม ส่วนมากจะซื้อเหล็กมาจากในเมืองแล้วให้ช่างตีเหล็กทำ - ช่างเงิน เป็นตำเเหน่งในด้านศิลปะหัตถกรรม ในสังคมเมี่ยน เงินเป็นสิ่งที่มีค่ามาก นอกจากใช้เป็นตัวแลกเปลี่ยนสิ่งของ ยังนำมาทำเครื่องประดับต่างๆ - หมอยาสมุนไพร จะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านพฤกษาศาสตร์ และการใช้ยาสมุนไพรในการรักษาผู้ป่วย - หมอตำแย ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้เรื่องการใช้ยาสมุนไพร และสามารถดูแลหญิงหลังคลอด และเด็กได้อย่างปลอดภัย หมอตำแยกับหมอยาสมุนไพรอาจเป็นคนเดียวกัน (หน้า 19,20) ครอบครัวเมี่ยนส่วนมากเป็นครอบครัวขยาย คือมีคู่สมรสในครอบครัวหลายคู่ สมาชิกในครอบครัวมีตั้งแต่ 2-20 คน ในครอบครัวจะมีหัวหน้าครอบครัว ทุกคนต้องเคารพเชื่อฟัง แต่ละคนในครอบครัวจะเคารพกันตามศักดิ์และความอาวุโส สมาชิกในครอบครัวจะแบ่งงานกันทำ พ่อจะมีหน้าที่หลักในการรับผิดชอบต่อครอบครัว ฝ่ายแม่จะรับผิดชอบในครัวเรือน เมี่ยนถือว่าผู้ชายมีความรู้และประสบการณ์มากกว่า เมี่ยนให้ความนับถือ และสืบเชื้อสายทางฝ่ายชาย โดยลูกจะใช้แซ่ตามพ่อและถือวิญญาณบรรพบุรุษของพ่อ เมี่ยนมีอิสระในการเลือกคู่ครอง นิยมแต่งงานกับคนในกลุ่ม (หน้า 25,26)

Political Organization

แต่ละหมู่บ้านจะปกครองดูแลตนเอง โดยกลุ่มผู้นำของเมี่ยนจะถูกเลือกจากคนในหมู่บ้าน มักเป็นผู้อาวุโสของสายตระกูลอาจารย์ หรือผู้ประกอบพิธีกรรม การปกครองเป็นไปตามกฎจารีตประเพณี มีข้อควรปฏิบัติและบทลงโทษ (หน้า24)

Belief System

ความเชื่อและศาสนา เมี่ยนนำเอาลัทธิเต๋ามาเป็นแนวทางปฏิบัติ เมี่อครั้งอพยพทางเรือในช่วงคริสตวรรษที่ 13 ความเชื่อของเมี่ยนเป็นการผสมกันระหว่างความเชื่อเรื่องเทพและวิญญาณ เมี่ยนส่วนใหญ่นับถือวิณณาณบรรพบุรุษ เมี่ยนเชื่อว่าในชีวิตคนจะมีขวัญซ่อนอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย 11 แห่ง คือ เส้นผม ตา หู จมูก ปาก คอ ขา แขน อก ท้อง และเท้า เมื่อเสียชีวิตไปขวัญจะเปลี่ยนเป็นวิญญาณ เมี่ยนมีทัศนะคติว่าความมั่นคงและความปลอดภัยของมนุษย์ทั้งขณะมีชีวิตหรือตายไปแล้วล้วนขึ้นอยู่กับเทพเจ้า การสร้างความสัมพันธ์กับเทพเจ้าจะกระทำโดยผ่านพิธีกรรมเท่านั้น วิญญาณที่เมี่ยนนับถือแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ วิญญาณเทพยดา วิญญาณบรรพบุรษ และวิญญาณทั่วๆ ไป - วิญญาณบรรพบุรษ เมี่ยนนับถือวิณณาณบรรบุรุษของคนที่ตายไปแล้วเพียง 4 รุ่นเท่านั้น เชื่อว่าเมื่อบรรพบุรุษของตนตายไปจะไปอยู่บนสวรรค์และคอยดูแลปกป้องลูกหลานของตน นอกจากนี้เมี่ยนยังนับถือเซ่นไหว้บูชาเปี้ยนฮู่ง (วิญญาณพระเจ้าผินฮว่างฮ่องเต้) ซึ่งเมี่ยนถือว่าเป็นผู้ให้กำเนิดเมี่ยน - เทพยดา หรือเทพเจ้า เมี่ยนถือว่ามีระดับสูงและมีอำนาจมาก มีประมาณ 80 กว่าองค์ - เทพทั่วไป ได้แก่ เทพเจ้าป่า เจ้าเขา เจ้าที่ เมี่ยนจะเลี้ยงเทพเจ้าป่าเจ้าเขาเพื่อขอบคุณที่ได้ดูแลรักษาพืชไร่ สัตว์เลี้ยง ตลอดจนทุกคนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข (หน้า 52-55) ความเชื่อเกี่ยวกับสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ - สุสาน จะมีการทำพิธีเลือกพื้นที่ โดยจะมีการทำพิธีตามดวงวิญญาณของผู้ตาย และเจ้าที่ว่าจะอยู่ที่ไหน โดยอาจารย์ผู้ประกอบพิธีกรรมจะใช้ไข่ไก่ดิบ 1 ฟองโยนขึ้น ถ้าไข่แตกแสดงว่าทำเลตรงนั้นดี และสามารถฝังกระดูกได้ - ป่า,ภูเขา,ต้นไม้ เชื่อว่าป่าต่างๆ หรือภูเขาจะมีเจ้าป่าเจ้าเขาและวิญญาณอยู่เป็นจำนวนมาก ถ้าทำให้สภาพที่เหล่านี้สกปรก หรือได้รับความเดือดร้อน เจ้าป่าเจ้าเขา หรือวิญญาณเหล่านี้จะจับขวัญเราและทำให้เจ็บป่วย - หนองน้ำ ถ้าหนองน้ำไหนมี "จย๊างเมี้ยน" อาศัยอยู่ หากคนไปรบกวนจะทำให้ไม่สบาย - แม่น้ำ ในแม่น้ำเชื่อว่ามี "อื่มฮ้อยฮู่ง" หรือ "ซุ้ยโกว้เมี้ยน" อาศัยอยู่ เชื่อว่าห้ามผู้หญิงอยู่ไฟเอาเสื้อผ้าไปซัก ลงไปอาบน้ำ หรือข้ามแม่น้ำ เพราะถือว่าร่างกายยังไม่สะอาด - จอมปลวก เชื่อว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์อาศัยอยู่ที่จอมปลวก เมื่อเดินทางผ่านเมี่ยนจะเอาใบไม้ใบหญ้ามาวางไว้บนจอมปลวก ถือเป็นสิ่งคุ้มครองให้เดินทางปลอดภัย - นรก-สวรรค์ เมี่ยนเชื่อว่าขณะเป็นมนุษย์ ถ้าทำแต่เรื่องไม่ดี ตายไปจะตกนรก เรียกว่า "ด๋อนเต่ยหยั่ว" วิญญาณจะไม่ได้ไปเกิดใหม่ คนที่จะได้ขึ้นสวรรค์คือคนที่ผ่านพิธีบวชใหญ่ (โตว่ไซ) เพราะถือว่ามีบุญบารมี และภรรยาก็จะได้บุญบารมีจากสามี (หน้า 52-57) ประเพณีพิธีกรรม เมี่ยนมีพิธีกรรรมเกี่ยวกับชีวิตที่สำคัญ - ตั้งครรภ์ ผู้หญิงตั้งครรภ์ต้องปฏิบัติตามกฎ มีพิธีที่คุ้มครองลูกและแม่ขณะตั้งครรภ์ และการดูแลแม่ขณะหลังคลอด (หน้า 62,63) - การเกิด หมอตำแยจะเป็นผู้ทำคลอด หลังจากนั้นอาจารย์ผู้ประกอบพิธีกรรมจะเลือกเอาวันดี ทำพิธีตั้งชื่อภายใน 10 วัน และพิธีบอกวิญญาณบรรพบุรุษว่ามีคนมาเกิด (หน้า 63,64) - พิธีสู่ขวัญ เมื่อเกิดการเจ็บป่วยหรือได้รับอันตราย ขวัญจะหนีออกจากร่างกายต้องทำพิธีเรียกขวัญ เด็กวัย 1-12 ขวบ จะใช้ไข่ไก่ และไก่ กระดาษเงินและเหล้าเป็นเครื่องเซ่น ถ้าเป็นผู้ใหญ่จะทำคล้ายกัน แต่ใช้หมูเป็นเครื่องเซ่นแทนไข่ และไก่ (หน้า 64) - พิธีบวช จะทำเฉพาะผู้ชายเท่านั้น ถือเป็นการสร้างบุญบารมีให้ตนเอง ทำบุญอุทิศให้บรรพบุรุษและเป็นการสืบตระกูล พิธีบวช 1) พิธีแรก เรียกว่า "กว๋าตั่ง" ซึ่งจะทำให้กับผู้ชายเมี่ยนโดยไม่จำกัดอายุ แต่ขึ้นอยู่กับความพร้อม พิธีบวชนี้เป็นการสืบตระกูล เมื่อผ่านพิธีนี้แล้วจะทำให้เขาเป็นผู้ชายที่สมบูรณ์ เขาจะได้รับชื่อใหม่ ผู้ชายเมี่ยนทุกคนต้องเข้าพิธีกว๋าตั่ง จะใช้เวลาทำพิธี 3 วัน เพื่อถวายตัวแด่เทพเจ้าเต๋า (หน้า 64-68) 2) พิธีต่อเนื่องจากพิธีกว๋าตั่งคือพิธีโตว่ไซ (บวชใหญ่) ใช้เวลา 7 วัน 7 คืน ระหว่างที่อยู่ในพิธีนี้ ผู้เข้าพิธีต้องกินเจ และถือพรหมจรรย์ และจะต้องไต่บันไดดาบ ซึ่งเป็นบันไดไม้ โดยมีอาจารย์นำประกอบพิธีหน้าขบวน (หน้า 68,69) ผู้ที่เคยผ่านพิธีกว๋าตั่งและโตว่ไซมาแล้ว จะไปสู่การเพิ่มยศศักดิ์โดยปริยาย โดยเข้าพิธีจาแฌะต่อเมื่อบุตรชายหรือน้องชายของผู้ที่เคยผ่านพิธีกรรมทั้งสองอย่างมาแล้ว (หน้า 69) - การแต่งงาน หนุ่มสาวอายุประมาณ 15 ปีขึ้นไปจะเริ่มหาคู่ครอง โดยฝ่ายชายจะเป็นฝ่ายไปหาฝ่ายหญิง เมื่อทั้งสองรักกัน ฝ่ายชายจะมาติดต่อสู่ขอตามประเพณี เมี่ยนมีพิธีแต่งงาน 2 อย่าง คือ พิธีแต่งงานใหญ่ ( โต้ม ชิ่ง จา) พิธีใหญ่จะใช้ค่าใช้จ่ายสูง ผู้จัดต้องมีฐานะดี จะใช้เวลาทำพิธี 3 วัน 3 คืน และพิธีแต่งงานเล็ก จะเป็นการกินเลี้ยงฉลองอย่างเดียว ใช้เวลาวันเดียว ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก จุดสำคัญคือเจ้าบ่าวตกลงตามสัญญาจ่ายค่าตัวเจ้าสาวให้กับพ่อแม่ของเจ้าสาว และต้องบอกให้วิญญาณบรรพบุรุษของตนเองยอมรับ (หน้า 69-72) - พิธีงานศพ ถ้าเป็นเด็กเล็กหรือผู้หญิงตาย หลังอาบน้ำศพ พ่อแม่จะมีการหมายไว้ เมื่อเกิดมาจะมีปานแดงหรือปานดำ สามารถดูได้ว่าชาติก่อนเป็นลูกของเราหรือไม่ เด็กที่อายุ 12-15 ปีขึ้นไป เมื่อตายจะมีคนยิงปืน มีการอาบน้ำศพ โดยผู้อาบน้ำศพต้องระวังไม่ให้เหงื่อหยดลงไปบนศพเพราะถือว่าขวัญจะไปกับผู้ตาย ศพจะสวมชุดใหม่ มีการเอาเหรียญใส่ปาก คนที่ผ่านการโตว่ไซ หรือบวชใหญ่มาแล้ว ถ้าเป็นพ่อแม่ลูกหลานต้องเอาผ้าขาวเป็นเส้นมาคาดไว้บนศีรษะ ซึ่งวิญญาณนี้จะเป็นวิญญาณบรรพบุรุษให้ลูกหลานบูชา (หน้า 72-73) - วันขึ้นปีใหม่ มีการฉลองปีใหม่เริ่มพร้อมกับคนจีน เรียกวันนี้ว่า "วันตรุษจีน" ภาษาเมี่ยนเรียกว่า "เจี๋ยฮยั๋ง" โดยเมี่ยนจะเตรียมอาหารสัตว์ ฟืน ขนมสำหรับไหว้บรรพบุรษ เนื้อสัตว์ ไข่ย้อมสีแดง ของใช้ส่วนตัว ปะทัด ก่อนถึงวันขึ้นปีใหม่เครือญาติจะมารวมตัวกัน เป็นการพบปะสังสรรค์และทำพิธีบวงสรวงบรรพบุรุษ จะเริ่มวันที่ 30 ส่วนวันที่ 1 แต่ละครอบครัวจะตื่นเช้า และจุดปะทัด หรือยิงปืนเพื่อฉลองความเป็นสิริมงคล (หน้า 73-75) - วันกรรม เป็นวันที่ถูกกำหนดขึ้นตามความเชื่อของคนรุ่นก่อน เรียกว่า "กิ่ง" จะเริ่มตั้งแต่วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป เมี่ยนจะหยุดงาน หรือไม่ทำกิจกรรม (หน้า 75-77) - วันสาร์ทจีน ตรงกับวันที่ 14, 15 เดือน 7 ของจีน มีการเซ่นไหว้บรรพบุรุษตามความเชื่อที่มีมาแต่โบราณ เพราะเป็นวันที่เทพเจ้า เทพยดา วิญญาณบรรพบุรุษเฉลิมฉลองครั้งยิ่งใหญ่ มีการทำบุญ มีการอภัยโทษแก่ดวงวิญญาณต่างๆ ให้เป็นอิสระ (หน้า 77) - พิธีซิปตะปูงเมี้ยน เป็นวันที่ชุมชนในหมู่บ้านจัดขึ้นเพื่อเซ่นไหว้ผีบ้าน ผีเมือง มีทั้งวิญญาณดีและร้าย (หน้า 78) - ความเชื่อเรื่องการเจ็บป่วย เกิดจากการกระทำของสิ่งเหนือธรรมชาติ เช่น วิญญาณเจ้าป่า เจ้าเขา เจ้าที่ เป็นต้น และเกิดจากการที่ขวัญไม่อยู่หรือออกจากร่างกาย จะทำให้ไม่สบาย ซึ่งเกิดจากสาเหตุต่างๆ เช่นละเมิดกฏเกณฑ์ความเชื่อ วิญญาณร้ายจับไป อาการตกใจสุดขีด หรือเกิดจากการดูและสุขภาพและความผิดปกติของร่างกาย (หน้า 78-80) - นอกจากนี้เมี่ยนยังมีพิธีกรรมเกี่ยวกับขวัญ เช่น การเรียกขวัญ หรือพิธีกรรมเกี่ยวกับการทำมาหากิน เช่นการทำขวัญข้าวเพราะเชื่อว่า จะทำให้ข้าวตลอดจนพืชผักในไร่เจริญงอกงามให้ผลผลิตดี และจะทำควบคู่กับการทำขวัญสัตว์เลี้ยงด้วย (หน้า 89) ความเชื่ออื่นๆ นอกจากเมี่ยนจะเชื่อว่าคนเรามีขวัญตามอวัยวะต่างๆ แล้ว ยังมีความเชื่อในเรื่องของวันที่และการหาฤกษ์ยาม (หน้า 61)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ในชุมชนเมี่ยนจะมีหมอพื้นบ้านเป็นผู้รักษาทั้งทางกายและทางจิตวิญญาณ ยาที่ใช้รักษาโรคเป็นยาสมุนไพร โดยหมอสมุนไพรเวลาออกไปเก็บยาต้องระลึกถึงครูเพื่อความศักดิ์สิทธิ์เมื่อนำมารักษาผู้ป่วยแล้ว ต้องทำพิธีเซ่นไหว้ต่อเทพ (หน้า 80-82) นอกจากนี้เมี่ยนยังรักษาสุขภาพด้วยการบนบาน ให้บรรพบุรุษคุ้มครอง โดยจะทำการบนบานเมื่อมีการเดินทาง เจ็บป่วยหนัก ทรัพย์สมบัติหาย (หน้า 82,83)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

นิทานมีบทบาทในวัฒธรรมสังคมของเมี่ยน ซึ่งสืบทอดมาแต่สมัยบรรพบุรุษ เช่น นิทานส่วนใหญ่ของเมี่ยนเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับมนุษย์ มุ่งสอนให้เห็นผลของการประพฤติดี ประพฤติชั่ว นิทานพื้นบ้านของเมี่ยนแสดงถึงวัฒนธรรมด้านการดำเนินชีวิตหรือคติกรรม โดยเฉพาะเรื่องของความเชื่อ นอกจากนี้ ยังมีสุภาษิต คำสอน และคำพังเพย ซึ่งเป็นทั้งข้อปฎิบัติและข้อห้าม มีทั้งนิทานท้องถิ่น นิทานปรัมปรา และนิทานตำนาน ดังนี้ - นิทานเรื่องยักษ์ มีครอบครัวหนึ่งถูกยักษ์กินจนหมดเหลือแต่ยายแก่ๆ ยักษ์ไม่กินยายคนนี้ เพราะต้องการมานอนด้วยทุกๆ กลางคืน วันหนึ่งยายแก่พร่ำบ่นให้ฟ้าดินช่วยใบไม้ไผ่สงสาร เลยช่วยกำจัดยักษ์โดยให้เสือกับหมีกินจนหมด - นิทานฟ่ามแป๊ะ แอ้งต้อย ฟ่ามแป๊ะ และแอ้งต้อยเป็นเพื่อนกันสนิทสนมกันมาก แอ้งต้อยเป็นผู้หญิงที่ปลอมตัวเป็นผู้ชาย แต่ฟ่ามแป๊ะไม่รู้ เพื่อนๆ ในห้องบอกให้พิสูจน์ดูว่าแอ้งต้อยเป็นผู้หญิงหรือไม่เพราะฟ่ามแป๊ะก็ไม่เชื่อ แอ้งต้อยรู้แผนการตลอด ทำให้เเผนไม่สำเร็จ จนเมื่อเรียนจบ ต่างคนก็ต่างกลับบ้าน เมื่อเวลาล่วงผ่านไปฟ่ามแป๊ะไปเยี่ยมแอ้งต้อย ซึ่งกลายเป็นหญิงสาวสวย เมื่อฟ่ามแป๊ะรู้ความจริงก็เกิดหลงรักนางทันที แต่ก็สายเกินไปเพราะแอ้งต้อยได้รับหมั้นกับชายอื่นแล้ว ฟ่ามแป๊ะกลับไปด้วยความตรอมใจจนตาย หลังพิธีแต่งงานสิ้นสุด แอ้งต้อยได้ไปเยี่ยมศพของฟ่ามแป๊ะ และกล่าวต่อที่ฝังศพว่าถ้ามีบุญวาสนา ขอให้เปิดโลงศพให้ตนเข้าไป และก็จริงอย่างที่นางกล่าว นางจึงโดดหายไปในหลุมศพนั้น - นิทานเรื่องพิธีของเมี่ยน เยี่ยนฟิวเมี้ยนเป็นวิญญาณรูปร่างคล้ายมนุษย์มาก ได้เข้าศึกษาในสถานศึกษาแห่งหนึ่ง เพื่อนๆ ของเยี่ยนฟิวเมี้ยนชอบดูถูกและชอบรังแก เขาโกรธมากจึงใช้เหลงเชกสั่นไปมา ทำให้นักเรียนที่มาทำร้ายเขามึนเมาไปและควบคุมสติไม่ได้ ครั้นเยี่ยนฟิวเมี้ยนหลับ เพื่อนก็โขมยเหลงเชกไปเลียนแบบ และใช้ต่อสู้กับเยี่ยนฟิวเมี้ยน เยี่ยนฟิวเมี้ยนอาศัยอยู่บนต้นโพธิ์ แต่มนุษย์ที่ไปมาหาสู่ไม่อยากให้เขาอยู่เพราะต้องการพื้นที่ทำไร่ ทำให้พวกเยี่ยนฟิวเมี้ยนต้องอพยพ แต่พวกมนุษย์ก็กลั่นเเกล้งอีกขณะที่พวกเยี่ยนฟิวเมี้ยนอพยพทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ ภายหลังสืบรู้ว่าเป็นเพื่อนเก่าจึงไล่ทำร้าย คนพวกนี้ได้กลายร่างเป็นก้อนหิน ทำให้เยี่ยนฟิวเมี่ยนหาไม่พบและบอกว่าต้องแก้แค้นแน่นอนถ้าหากว่ายังไม่บวชเป็นโตว่ไซก่อน ดังนั้นพอพวกนั้นหนีกลับบ้านได้จึงทำพิธีโตว่ไซ เพราะเชื่อว่าทำพิธีนี้แล้วจะมีทหารคุ้มครองมากมาย (หน้า 90-99)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

มีตำนานเรื่องเมี่ยนว่าเป็นเผ่าเทพบนสวรรค์ คือตาองและตากู๋สร้างขึ้นมา ทั้งสองลงมาเกิดบนโลกมนุษย์เพื่อที่จะปกป้องคุ้มครองเผ่าเมี่ยน โดยตากู๋จะลงมาเกิดเป็นลูกสาวคนที่สามของพระราชา ส่วนโล่งช้วนจะเกิดมาเป็นสุนัขมังกร ช่วงนั้นโลกมนุษย์มีเมืองอยู่ 2 เมือง มีเมืองฝ่ายแป้งฮู่งและกู๋ฮ่งต่างก็ทำสงครามกัน แป้งฮู่งประกาศว่าถ้าใครสามารถตัดหัวกู๋ฮ่งได้ก็จะยกลูกสาวคนที่ 3 ให้ รวมทั้งจะยกแผ่นดินและข้าทาสบริวาร หญิงม่ายคนหนึ่งพบเห็นสุนัขมังกรจึงไปบอกพระราชาแป้งฮู่ง ซึ่งพอใจกับลักษณะพิเศษของสุนัขจึงเลี้ยงไว้ โล่งช้วนซึ่งเกิดเป็นสุนัขมังกรอาสาพระราชาจะไปฆ่ากู๋ฮ่งด้วยตนเอง โล่งช้วนว่ายน้ำ 7 วัน 7 คืนไปถึงเมืองของกู๋ฮ่ง กู๋ฮ่งคิดว่าโล่งช้วนเป็นสุนัขมังกรที่จะมาช่วยตัวเองทำศึก กู๋ฮ่งเป็นกษัตริย์ที่โหดร้ายและปล่อยปละละเลยราชกิจในสำนัก เมื่อโอกาสเหมาะโล่งช้วนก็กระโดดกัดคอกู๋ฮ่งขาด แป้งฮ่งได้ยกลูกสาวคนที่สามและข้าราชบริวารพร้อมแผ่นดินให้โล่งช้วน เพราะคิดว่าสุนัขมังกรตัวนี้ไม่ธรรมดา และแต่งตั้งลูกเขยให้เป็น พ่าน ต๋าย โหว เป็นแซ่แรกของเผ่าเมี่ยน คือ แซ่พ่าน เมื่อแต่งงานแล้วมีบุตรชาย 6 คน หญิง 6 คน ลูกชายให้แต่งภรรยาเข้าบ้าน และลูกหญิงให้แต่งสามีเข้าบ้าน จึงเป็นที่มาของทั้ง 12 แซ่ของเมี่ยน ในประเทศไทยพบ 12 แซ่ (หน้า 2- 4)

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst กฤษฎาภรณ์ อินทรวิเชียร Date of Report 12 ก.พ. 2548
TAG เมี่ยน, อิ้วเมี่ยน, เย้า, วัฒนธรรม, พะเยา, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง