สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลัวะ,วัฒนธรรม,ภาคเหนือ
Author Filbeck, David
Title T'in Culture: An Ethonography Of The Tin Tribe Of Northern Thailand
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity ลัวะ (มัล ปรัย) ลัวะมัล ไปร ลัวะปรัย, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 165 Year 2515
Source Department of Sociology and Anthropology, Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University, 1972
Abstract

เอกสารมีเนื้อหาครอบคลุมความเป็นมา วิถีชีวิต ความเชื่อ ประเพณีและเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของถิ่น ตลอดจนความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายหลังที่มีความเจริญมากขึ้น

Focus

วิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อเอกลักษณ์ ของถิ่น ที่มีถิ่นฐานใน อ.ปัว จ.น่าน

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

คำว่า ถิ่น (Tin) เป็นคำไทยที่ปรากฏในเอกสารของบุญช่วย ศรีสวัสดิ์ และเอกสารอื่นๆอีกหลายฉบับ อย่างไรก็ตาม ถิ่นกลับไม่เรียกตนเองว่า ถิ่น และมีชนบางกลุ่มเช่น ไทยยวนที่อาศัยอยู่ใน จ.น่านเรียก ถิ่น ว่า ลัวะ (lua หรือ lwa) สำหรับ ถิ่นที่ผู้เขียนทำการศึกษานั้นเรียกตนเองว่า Maal และ Pray หรือ Prai และ/หรือ Lua (หน้า 1-8)

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาที่ใช้จัดอยู่ในตระกูล มอญ-เขมร แต่ก็มีนักวิชาการที่เชื่อว่าภาษาเป็นภาษาตระกูล ออสโตรนีเชียน เนื่องจากไม่มีอิทธิพลของ มอญ-เขมร ภาษาถิ่นมีความเกี่ยวข้องกับภาษาสองภาษา คือ Mal และ Pray ซึ่งจัดเป็นสาขาของภาษาถิ่น สำหรับในไทยนั้นภาษา Mal ที่ใช้ในหมู่บ้าน Mal ที่ อ.ปัว จ.น่าน ภาษาถิ่นในไทยเกิดจากการผสมเติมคำจากภาษาอื่นมากกว่าหนึ่งภาษา โดยเฉพาะภาษาเหนือ (คำเมือง) ที่ใช้กันแพร่หลายในแถบนั้น และด้วยการติดต่อกับชนเผ่าต่างๆ ในบริเวณใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะม้ง ทำให้ถิ่นบางกลุ่มใช้ภาษาพูดถึงสามภาษา คือ ภาษาถิ่น ภาษาเหนือ และภาษาม้ง อย่างไรก็ตาม เด็กๆ มักจะเริ่มเรียนภาษาเหนือก่อน จากนั้นจึงเริ่มเรียนภาษาถิ่น ทั้งนี้เพื่อการติดต่อสื่อสารกับคนไทยเหนือนั่นเอง (หน้า 8-13)

Study Period (Data Collection)

ระหว่าง ค.ศ. 1962 - 1967 (หน้า iv)

History of the Group and Community

ไม่มีข้อมูล

Settlement Pattern

บ้านของถิ่น มีด้วยกันสองประเภทคือ 1. บ้านถิ่น เป็นบ้านที่ปลูกตามลักษณะความลาดชันของแนวเขา ปลายสุดของบ้านสร้างเป็นห้อง ขนาดของบ้านขึ้นอยู่กับจำนวนของห้องที่ต้องการใช้งาน พื้นและผนังสร้างจากไม้ไผ่ หรือไม้ หรือทั้งสองอย่าง หลังคายาวลงถึงพื้นดิน ความสูงของบ้านราว 6 ฟุต ภายในแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนสำหรับทำครัว และส่วนที่เป็นห้องนอน 2. คือ บ้านแบบคนไทยเหนือ (หน้า [2-12], [2-13])

Demography

สถิติจากศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รายงานว่า จำนวนประชากรของถิ่น ใน อ.ปัว จ.น่าน มีจำนวน 23,379 คน (ค.ศ. 1969) (หน้า 1)

Economy

อาชีพหลัก ของถิ่น คือ การทำนาข้าว โดยเฉพาะข้าวเหนียว เพราะถึงแม้ว่าจะอยู่ในแถบเทือกเขาที่มีความสูงกว่า 3,000 ฟุตจากระดับน้ำทะเล แต่อากาศในบริเวณดังกล่าวไม่เหมาะกับการปลูกฝิ่นเหมือนชาวเขาเผ่าอื่นๆ (หน้า [2-7]) การเพาะปลูกข้าวในรอบปีเริ่มต้นในเดือนธันวาคมที่ข้าวเจริญเติบโตจนเกี่ยวได้ แล้วปล่อยให้นาแห้ง จากนั่นจึงเผาเพื่อเตรียมปลูกข้าวรอบต่อไปในเดือนพฤษภาคม พันธุ์ข้าวที่นิยมปลูกคือ Khaw daw เนื่องจากโตเร็วภายในระยะเวลา 90 วัน รองลงมาคือพันธุ์ Khaw pii สำหรับอุปกรณ์หลักที่ใช้ทำนา คือ ขวานหลากหลายขนาด จัดเป็นอุปกรณ์ขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ขนาดเล็กที่ใช้สำหรับงานหัตถกรรม เช่น เข็มไม้ สำหรับทำเครื่องจักสาน และแพ นอกจากการปลูกข้าวแล้วถิ่นยังนิยม จับปลา เลี้ยงไก่ไว้เป็นอาหารและเลี้ยงหมูเป็นสินค้า(หน้า [2-9])

Social Organization

ครอบครัวของถิ่นเป็นครอบครัวแบบขยาย โดยแต่ละครอบครัวจะให้ความสำคัญแก่เด็กและผู้อาวุโสซึ่งเป็นสมาชิกในครอบครัว (หน้า [5-1]-[5-2]) ในสังคมของถิ่นให้ความสำคัญกับผู้อาวุโส โดยจะได้รับความเคารพจากผู้คนในหมู่บ้าน และจะได้รับเกียรติให้เป็นผู้นำในกิจกรรมต่างๆ เช่น การแต่งงาน งานศพ การประชุม เป็นต้น สถานะทางสังคมมีความแตกต่างกันตามเพศและวัย โดยชายฉกรรจ์จะรับหน้าที่ทำงานหนัก ส่วนฝ่ายหญิงจะทำงานที่เบากว่า เช่น การทำความสะอาดบ้าน และโดยมากผู้อาวุโสมักจะได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าหมู่บ้าน (หน้า[2-14]-[2-16]) พิธีการแต่งงานของถิ่นจัดว่ามีเอกลักษณ์อย่างยิ่ง กล่าวคือ จนกว่าจะได้รับการยอมรับจากครอบครัวจะไม่มีการฉลอง เมื่อมีการยอมรับฝ่ายชายจะย้ายเข้าบ้านฝ่ายหญิงและอยู่โดยไม่ได้เข้าหอเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ เพื่อให้ครอบครัวฝ่ายหญิงพิจารณาว่ามีพฤติกรรมสมควรแก่การแต่งงานหรือไม่ถ้าผ่านช่วงนี้ไปได้จึงจะมีพิธีแต่งงาน (หน้า [6-7] - [6-8])

Political Organization

หมู่บ้านของถิ่นเป็นหมู่บ้านที่อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลไทย โดยที่ระบบการปกครองภายในของหมู่บ้านอาศัยหน้าที่ทั่วไปดังต่อไปนี้ 1. การจัดการของสาธารณะ เป็นการควบคุมเกี่ยวกับ ระดับพฤติกรรมและการแสดงออกของแต่ละครัวเรือน 2. การควบคุมโดยสังคม 3. การพิจารณา ทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้การนำของหัวหน้าหมู่บ้าน หัวหน้าหมู่บ้านจะเป็นคนกลางที่เชื่อมโยงระหว่างถิ่นกับหน่วยงานของรัฐบาลไทย เช่นมีหน้าที่เก็บภาษี รายงานความเคลื่อนไหวทางกายภาพ (จำนวนประชากร) ให้แก่ที่ว่าการอำเภอ รับนโยบายจากรัฐบาลมาสู่สมาชิกในหมู่บ้าน เป็นต้น (หน้า [4-2] - [4-6])

Belief System

ระบบความเชื่อของถิ่น คือ การให้ความเคารพความสมดุลระหว่างธรรมชาติและสิ่งที่เหนือธรรมชาติ เนื่องจากธรรมชาติคือ วิถีทางแห่งชีวิต และเชื่อว่ามนุษย์และโลกของวิญญาณมีความเชื่อมโยงกันอยู่ สิ่งที่อยู่เหนือการควบคุมคือสิ่งที่เกิดจากวิญญาณและเรื่องเหนือธรรมขาติ (หน้า [3-1] - [3-2])

Education and Socialization

ต้น ปี ค.ศ. 1960 ทางรัฐบาลไทยจัดตั้งโรงเรียนปฐมศึกษาขนาดเล็กขึ้นใน อ.ปัว จ.น่าน (หน้า [8-29])

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ในส่วนของงานหัตถกรรมของถิ่น แบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้ 1. ประเภทของสถาปัตยกรรม นัน่คือ บ้านแบบถิ่น (กล่าวถึงในหัวข้อที่ 15) 2. วรรณกรรมต่างๆที่เป็นเรื่องเล่า หรือที่ผู้เขียนเรียกว่านิยายกว่า 48 เรื่อง (กล่าวถึงในหัวข้อที่ 25)

Folklore

ผู้เขียนกล่าวว่ามีเรื่องเล่าหรือตำนานเกี่ยวกับถิ่นมากมายกว่า 48 เรื่อง ซึ่งผู้เขียนเองได้แบ่งประเภทไว้ดังต่อไปนี้ 1.เรื่องราวเกี่ยวกับประเพณีพิธีกรรมของถิ่นมีเรื่องราวกว่า 29 เรื่อง 2.เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวรรณคดีของถิ่น 13 เรื่อง และ3.เรื่องราวที่ผู้เขียนเรียกว่า "นิยาย" อีก 5 เรื่อง (หน้า [7-3] - [7-4])

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ความสัมพันธ์กับชนกลุ่มอื่นที่เห็นได้ชัดคือ ความสัมพันธ์กับสังคมไทยทางเหนือ ผลของความสัมพันธ์นั้นแสดงออกมาในทางภาษา ถิ่นจะให้ภาษาเหนือควบคู่กับการใช้ภาษาถิ่น และลักษณะบ้านของถิ่นที่มีสองประเภทคือ แบบถิ่น และแบบไทยเหนือ

Social Cultural and Identity Change

แน่นอนว่าเมื่อการคมนาคมเจริญขึ้นวิถีชีวิตของถิ่นย่อมต้องมีการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายนอกมากขึ้น เช่น การอยู่ภายใต้หน่วยงานของรัฐบาลไทย โดยมีหัวหน้าหมู่บ้านเป็นเหมือนสะพานในการเชื่อมโยงการปกครอง ระบบการศึกษาแบบไทยที่ถิ่นได้รับ โดยการจัดตั้งโรงเรียนประถมศึกษาขึ้นเพื่อให้การศึกษาพื้นฐานให้แก่ถิ่น เป็นต้น

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

1. Mal Kinship Term (หน้า 5-10)

Text Analyst ศิริเพ็ญ วรปัสสุ Date of Report 06 ม.ค. 2566
TAG ลัวะ, วัฒนธรรม, ภาคเหนือ, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง