สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject เวียต,ญวน,วิถีชีวิต,มุกดาหาร
Author ผล อัฐนาค
Title วิถีชีวิตของคนไทยเชื้อสายเวียดนามในเขตเทศบาลเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity เวียด เหวียตเกี่ยว ไทยใหม่, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 88 Year 2543
Source หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยคดีศึกษา (เน้นสังคมศาสตร์)
Abstract

คนไทยเชื้อสายเวียดนามในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดมุกดาหาร มีวิถีชีวิตที่คล้ายคลึงกับคนไทยโดยทั่วไป ทั้งสภาพชีวิตด้านการศึกษา ที่อยู่อาศัย อาหารการกิน ตลอดจนสภาพเศรษฐกิจ หากแต่ยังคงค่านิยมดั้งเดิมอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวเวียดนามอยู่บ้าง อาทิ การให้ความสำคัญกับสถาบันครอบครัว เคารพผู้อาวุโส ระบบความเชื่อที่เชื่อในวิญญาณเหนือธรรมชาติ รวมทั้งนับถือศาสนาคริสต์และศาสนาพุทธ และประกอบพิธีกรรมอันเป็นเอกลักษณ์แตกต่างจากคนไทยทั่วไป ตลอดจนการแต่งกายเมื่อมีพิธีกรรมสำคัญ คนไทยเชื้อสายเวียดนามรุ่นเก่าจะแต่งกายตามแบบดั้งเดิม อันมีรูปแบบเฉพาะตัวของชาวเวียดนาม

Focus

วิถีชีวิต วัฒนธรรมความเป็นอยู่ของคนไทยเชื้อสายเวียดนาม ในเขตเทศบาลเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

คนไทยเชื้อสายเวียดนามหรือญวนที่อพยพมาจากประเทศเวียดนามเข้ามาอยู่ในบริเวณภาคอีสาน รวมทั้งบริเวณจังหวัดมุกดาหารในปัจจุบันด้วย

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาญาณ ภาษาไทย

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

การอพยพคนญวนเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกมีขึ้นในสมัยพระเจ้าตากสินแห่งกรุงธนบุรี และในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้มีการรวบรวมกวาดต้อนผู้คนเข้าสู่อาณาจักรสยาม ญวนเป็นกลุ่มหนึ่งที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในภาคอีสาน ญวนกลุ่มแรกอพยพเข้ามาในสยามเมื่อสมัยเกิดกบฏไกรซิน ได้อพยพมาอยู่ตามหัวเมืองต่างๆแถบลุ่มแม่น้ำโขง เช่น นครพนม มุกดาหาร สกลนคร ในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ญวนกลุ่มที่สองอพยพมาจากประเทศเวียดนามระหว่างปี พ.ศ. 2488-2489 เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง เนื่องมาจากการกลับเข้ามายึดครองของฝรั่งเศสที่ใช้การปกครองอย่างเข้มงวดและทำการปราบปรามขบวนการชาตินิยมที่ต่อต้านฝรั่งเศส ในช่วงปี พ.ศ. 2492-2493 รัฐบาลไทยกำหนดถิ่นที่อยู่ของญวนไว้ 5 จังหวัด จนถึงปี พ.ศ. 2527-2537 กระทรวงมหาดไทยประกาศให้ 13 จังหวัดเป็นเขตที่พักอาศัยคนญวน รวมทั้งจังหวัดมุกดาหารด้วย ในจังหวัดมุกดาหารแบ่งคนญวนได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ญวนเดิม ที่บรรพบุรุษอพยพเข้ามาตั้งแต่อดีต จนลูกหลานได้ถือสัญชาติไทย กับญวนที่อพยพเข้ามาลี้ภัยในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง (หน้า 1-3)

Settlement Pattern

ญวนเดิมนิยมมีบ้านอยู่อาศัยแบบชั้นเดียวติดดิน โดยผนังก่ออิฐและปูพื้นด้วยอิฐ เมื่ออพยพข้ามมาอยู่ฝั่งไทยก็ยังนิยมปลูกบ้านชั้นเดียวติดดินแบบเดิมและนิยมรวมกันอยู่เป็นกลุ่มเป็นพวก จากการถูกจำกัดพื้นที่อยู่อาศัยและจำกัดสิทธิในการเป็นเจ้าของที่ดินและโรงเรือน ญวนจึงต้องเช่าอาศัยหรือรับจ้างปลูกพืชสวนครัวตามที่ดินของคนไทย อาศัยกระต๊อบหรือโรงนาที่อยู่รอบๆ เขตเทศบาลเมืองมุกดาหาร ส่วนในเขตเทศบาลเมือง ญวนจะเช่าบ้านและอาคารไม้สำหรับประกอบอาชีพค้าขาย ในปัจจุบันที่อยู่อาศัยและขนาดครอบครัวของญวนในเขตเทศบาลเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหารมีครอบครัวขนาดเล็กและมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง (หน้า 64)

Demography

จังหวัดมุกดาหารมีประชากรทั้งสิ้น 320,976 เป็นชาย 141,776 คน หญิง 179,200 คน คน (ข้อมูลปี พ.ศ.2541-2542) (หน้า 46)

Economy

เมื่ออพยพเข้ามาครั้งแรก คนญวนจะทำงานทุกอย่างเพื่อหาเลี้ยงชีพ เช่น เป็นคนงานก่อสร้าง ช่างไม้ ค้าขาย บ้างก็เช่าที่ดินคนไทยเพื่อปลูกผัก เลี้ยงเป็ด รายได้ส่วนหนึ่งจะบริจาคให้องค์กรกลางนำส่งไปช่วยชาติในการต่อสู้เรียกร้องเอกราช ในปัจจุบันคนญวนเป็นกลุ่มที่มีฐานะดี เป็นนายทุน เจ้าของโรงงาน กิจการร้านค้า และขายสินค้าในตลาดสด (หน้า 62)

Social Organization

ญวนมีระบบครอบครัวเครือญาติที่แน่นแฟ้น มีความเคารพผู้อาวุโสและบรรพบุรุษ สมาชิกในครอบครัวมีความรักและผูกพันกัน มีความภาคภูมิใจในชีวิตครอบครัวและกลุ่มชาติพันธุ์ของตนสูง สมาชิกในครอบครัวมีบทบาทหน้าที่ที่เท่าเทียมกัน และผู้สูงอายุจะเป็นศูนย์รวมจิตใจของครอบครัว รวมทั้งยังมีการรวมกลุ่มทางสังคมเฉพาะที่เป็นญวนด้วยกัน เช่น กลุ่มธุรกิจการค้า (หน้า 5,70) ผู้เขียนยังได้กล่าวถึงประเพณีการแต่งงานของญวน มีการประกอบพิธีตามขั้นตอนเริ่มจากขั้นดูฐานะทางครอบครัวแต่ละฝ่าย โดยฝ่ายเจ้าสาวจะไปดูตัวและฐานะของเจ้าบ่าวเป็นอันดับแรก ต่อมาฝ่ายเจ้าบ่าวจึงจะไปดูตัวและฐานะของเจ้าสาว หลังจากตกลงค่าสินสอดแล้วจะนำสินสอดมาใส่รวมกันในปี๊บ ในพิธีแต่งงานจะมีการดื่มน้ำชาและไหว้บรรพบุรุษ โดยฝ่ายเจ้าสาวจะจัดทำ "ขนมฮำ" เพื่อนำไปไหว้บรรพบุรุษทั้งสองฝ่าย (หน้า 69)

Political Organization

ข้อมูล ณ วันที่ 1 มกราคม 2541 จังหวัดมุกดาหารแบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ 52 ตำบล 475 หมู่บ้าน โดยมีอำเภอเมืองมุกดาหารเป็นเขตการปกครองใหญ่ที่สุดโดยมีพื้นที่ปกครองถึง 1,235.066 ตารางกิโลเมตร รองลงมาคือ อำเภอดงหลวง ส่วนเขตปกครองเล็กที่สุด คืออำเภอกว้านใหญ่ มีพื้นที่ปกครอง 84.483 ตารางกิโลเมตร เทศบาลเมืองมุกดาหารเป็นส่วนหนึ่งของส่วนการปกครองราชการบริหารส่วนท้องถิ่น (หน้า 41-42)

Belief System

ญวนมีความเชื่อในเรื่องภูตผีวิญญาณหรือสิ่งเหนือธรรมชาติ มีการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อคือ "หมอจิ๋น" เป็นพิธีกรรมเกี่ยวกับการปัดรังควานของผีภัยให้ออกจากร่างกายของผู้ป่วยและเป็นการส่งเสริมสิ่งดีงามให้แก่ผู้คนทั่วไป นอกจากนี้ยังมีความเชื่อในเรื่องโชคลางหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์เช่นเดียวกับคนไทยในท้องถิ่น แต่แตกต่างกันในส่วนของการประกอบพิธีกรรม ส่วนในเรื่องศาสนามีทั้งที่นับถือศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์ (หน้า 5,68) ในส่วนของพิธีศพนั้น จะถูกจัดขึ้นตามขั้นตอนโดยพิธีสวดศพจะมีการจ้างตระกูลที่รับจ้างร้องไห้มาร้องไห้ต่อหน้าศพเพื่อแสดงการไว้อาลัย ญาติพี่น้องจะสวมชุดสีขาวมาร่วมขบวนแห่ศพและมีตัวแทนญาติของผู้ตายทำการเดินถอยหลังและใช้มือผลักรถบรรทุกศพเพื่อส่งวิญญาณ ในกรณีที่เป็นญวนที่นับถือศาสนาพุทธจะเผาศพ ส่วนญวนที่นับถือศาสนาคริสต์จะฝังศพ (หน้า 69-70)

Education and Socialization

ในระยะแรกที่ญวนอพยพเข้ามาในปะเทศไทยจะถูกจำกัดในเรื่องการศึกษา มีเพียงบางคนเท่านั้นที่มีโอกาสเข้าศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มคนญวนรุ่นแรก การเรียนรู้ศึกษาดังกล่าวเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตร่วมกับสังคมท้องถิ่นและสังคมไทย ทั้งเพื่อการค้าขายด้วย นอกจากนี้ยังมีการเรียนการสอนภาษาญวนให้แก่บุตรหลานโดยกระทำอย่างลับๆ ไม่มีสถานศึกษาที่แน่นอน ปัจจุบันได้รับการศึกษาโดยรัฐบาลเปิดโอกาสให้เรียนภายใต้การปรับปรุงแนวทางปฏิบัติในการศึกษาใหม่ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการควบคุมญวนอพยพของสภาความมั่นคงแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2539 เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2539 (หน้า 3,60-61)

Health and Medicine

เมื่อคนญวนคนใดมีอาการไข้จะมีหมอยากลางบ้านมาทำการรักษาโดยใช้สมุนไพรและใช้ภูมิปัญญาจากการสังเกตอาการของผู้ป่วย เช่น การตรวจจับชีพจรจะรู้ว่ามีอาการป่วยเกี่ยวกับโรคอะไร ขณะเดียวกันจะใช้ยาปฏิชีวนะควบคู่กันไปด้วยแต่เน้นรักษาด้วยสมุนไพรเป็นหลัก กรณีที่เกินความสามารถของหมอกลางบ้านแล้วจะจัดส่งโรงพยาบาลของรัฐต่อไป ปัจจุบันการรักษาพยาบาลของคนญวนในเขตเทศบาลเมืองมุกดาหารที่เจ็บป่วยเล็กน้อยจะรักษาที่คลินิคแพทย์แผนปัจจุบัน หากเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจะได้รับบริการและสวัสดิการเหมือนคนไทยทั่วไป (หน้า 4,61)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

เดิมคนญวนมีบ้านพักอาศัยแบบชั้นเดียวติดดิน โดยผนังก่ออิฐและปูพื้นด้วยอิฐ เมื่ออพยพข้ามมาฝั่งไทยก็ยังนิยมปลูกบ้านชั้นเดียวติดดินแบบเดิม (หน้า 64) การแต่งกายแบบดั้งเดิมคล้ายของชาวจีน จะนุ่งกางเกงขายาวโดยใช้ผ้าบางๆ ทั้งหญิงและชาย เสื้อคลุมผ่าข้างยาวคลุมถึงเข่าและมีผ้าม้วนพันรอบศีรษะทั้งหญิงและชาย ในระยะแรกที่อพยพเข้ามา เด็กผู้หญิงญวนจะสวมใส่กางเกงขาก๊วย เสื้อแขนสั้นหรือยาวตัดเย็บด้วยผ้าต่วนหรือผ้าแพรบาง มีสีฟ้า สีดำ หรือไม่มีสีและลวดลาย ขึ้นอยู่กับการดำเนินกิจกรรม เช่น ทำงานเกี่ยวกับการเกษตรจะสวมใส่กางเกงเสื้อผ้าสีดำหรือสีน้ำเงินซึ่งย้อมสี สวมหมวกญวนที่เรียกว่า "กุ๊บ" ส่วนการแต่งกายเมื่อมีพิธีกรรมต่างๆ นั้นจะนิยมสวมใส่ชุดพื้นเมืองของชาวเวียดนามที่เรียกว่า "โอได๋" หรือ "เอ๋าด่าย" สำหรับผู้ชายในวัยเด็กจะสวมใส่กางเกงขาสั้น เสื้อยืดคอกลม หรือเสื้อเชิ้ตติดกระดุมสีดำ สีขาวหรือสีอื่นๆ ตามฐานะและความพอใจ วัยหนุ่มจะแต่งกายเหมือนชาวไทยทั่วไป วัยชราจะสวมใส่กางเกงขาสั้นเสื้อยืดคอกลม เสื้อกล้าม แต่ในงานพิธีกรรมต่างๆ จะสวมใส่เสื้อขาวแขนยาว กางเกงสีดำหรือสีน้ำเงิน ยกเว้นพิธีศพจะสวมใส่กางเกงขาก๊วยและเสื้อแขนยาวหรือแขนสั้นสีขาว (หน้า 4,65) ในพิธีแต่งงานเจ้าสาวจะสวมชุดสีแดง สวมหมวกกุ๊บ เจ้าบ่าวจะสวมเสื้อสีขาว กางเกงสีดำ ส่วนคู่แต่งงานที่อพยพมาจากเวียดนามใต้เจ้าสาวจะสวมชุดสีเหลือง สวมหมวกกุ๊บ เจ้าบ่าวจะสวมเสื้อสีขาวกางเกงสีดำ (หน้า 69)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ในระยะแรกที่อพยพเข้ามา มีการสอนภาษาญวนให้แก่บุตรหลานของตน แต่เป็นไปอย่างลับๆ ครูผู้สอนจะเดินเท้าเปล่าไปสอนตามบ้านเรือนคนญวน ปัจจุบันยังมีการรวมกลุ่มทางสังคมเฉพาะคนญวนชั้นสูงเพื่อดำเนินกิจกรรมหลากหลาย เช่น กลุ่มธุรกิจการค้า กลุ่มนันทนาการ นอกจากนั้นยังมีการรวมกลุ่มในพิธีกรรมทางศาสนา ศูนย์กลางการรวมกลุ่ม คือวัดญวนที่ตั้งอยู่ในชุมชนหลังศูนย์ราชการจังหวัดมุกดาหาร ทำให้เกิดจิตสำนึกความเป็นญวน ซึ่งแตกต่างไปจากสังคมไทยในท้องถิ่นอย่างชัดเจน (หน้า 3, 70, 84, 87)

Social Cultural and Identity Change

คนญวนในเขตเทศบาลเมืองมุกดาหารได้พยายามปรับตัวให้เป็นคนไทย ด้วยมีสาเหตุสองประการ คือ 1. คนญวนรุ่นเก่าได้ตายไป คนรุ่นใหม่ที่ปฏิเสธความเป็นญวนและเกิดความรู้สึกว่าเขาคือคนไทย พูดภาษาญวนน้อยลงหรือไม่พูดเลยและไม่ยอมพูดภาษาพื้นเมืองอีสานจนคนไทยเรียกขานว่า "ไทยใหม่" 2. สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมของไทยได้เอื้อต่อการครอบงำจนกลืนญวนรุ่นใหม่ไปหมด โดยเฉพาะมีพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2535 ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้คนญวนมีความภูมิใจ ถือว่าตนเป็นคนไทยเช่นเดียวกับคนไทยทั่วไป (หน้า 64, 84)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ผู้เขียนกล่าวถึงอาหารญวนที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับอาหารจีน อาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของญวนก็คือ หมูยอ แหนมเนือง ฯลฯ บางพวกอาจนิยมรับประทานเนื้อสุนัขเช่นเดียวกับชาวจีน ชาวเวียดนามมีวัฒนธรรมการกินคล้ายกับชาวจีน คือบริโภคอาหารจำพวกเส้นซึ่งนิยมใช้ตะเกียบ อาหารส่วนมากมีรสชาติจืด ปัจจุบันคนญวนหรือคนไทยเชื้อสายเวียดนามนิยมบริโภคอาหารเหมือนกับคนไทยทั่วไป แต่จะเน้นอาหารจำพวกผักเป็นพิเศษ ผักจะเป็นส่วนประกอบของอาหารทุกมื้อ (หน้า 65-66) ในยุคแรกที่ญวนอพยพเข้ามา บ้านทุกบ้านจะมีหิ้งบูชาและภาพของโฮจิมินท์และมีการสวดบูชาโฮจิมินท์ทุกวัน ต่อมาเมื่อทราบว่ากรรมการองค์กรชาวเวียดนามบางคนยักยอกเงินไป ชาวญวนอพยพจึงเลิกความเชื่อถือดังกล่าว ปัจจุบันจะไม่พบเห็นหิ้งบูชาหรือภาพถ่ายโฮจิมินท์อีกแล้ว (หน้า 68)

Map/Illustration

ผู้เขียนแสดงข้อมูลแผนที่และรูปภาพไว้ในส่วนของภาคผนวกท้ายเล่ม เพื่อแสดงให้ห็นถึงวิถีชีวิตของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดมุกดาหารให้ชัดเจนขึ้น เช่น แผนที่เทศบาลเมืองมุกดาหาร รูปภาพชุดประจำชาติเอ๋าด่าย รูปภาพการรวมกลุ่มออกกำลังกายของสตรีตอนเช้า

Text Analyst พรรณปพร ภิรมย์วงษ์ Date of Report 01 พ.ย. 2555
TAG เวียต, ญวน, วิถีชีวิต, มุกดาหาร, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง