สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject เมี่ยน, ลีซู, ม้ง,ชาวเขา,ความเป็นอยู่,ประเพณี,การปรับตัว,สังคมเมือง,เชียงใหม่
Author ทวิช จตุวรพฤกษ์, สมเกียรติ จำลอง และ ทรงวิทย์ เชื่อมสกุล
Title จากยอดดอยสู่สลัม : การปรับตัวของชาวเขาในเมืองเชียงใหม่
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ลีซู, อิ้วเมี่ยน เมี่ยน, ม้ง, Language and Linguistic Affiliations ไม่ระบุ
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 108 Year 2540
Source เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยชาวเขา
Abstract

เนื้อหาในงานศึกษากล่าวถึง ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาสังคมไปสู่สังคมทันสมัย ประวัติศาสตร์การอพยพเคลื่อนย้ายและการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนของชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในเมืองเชียงใหม่ กล่าวถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและแนวทางการปรับตัวของครอบครัวคนเย้า ลีซอกลุ่มหนึ่ง และผู้หญิงม้งที่อพยพเข้ามาประกอบอาชีพในเมืองเชียงใหม่

Focus

มุ่งวิเคราะห์ถึงการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตในเรื่องการประกอบอาชีพของกลุ่มชาวเขา ที่อพยพจากเขตชายขอบทางภูมิศาสตร์ เข้าสู่ศูนย์กลางเมืองเชียงใหม่ (หน้า 10) โดยเน้นศึกษาเฉพาะกรณีคือ ครอบครัวคนเย้าโดยเลือกศึกษาครอบครัวนายจัน (นามสมมติ) ที่ชุมชนศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ (หน้า 31-32) ลีซอกลุ่มหนึ่งที่ได้ผ่านประสบการณ์และเผชิญปัญหาในการดำรงชีวิต ที่ชุมชนหัวฝาย (หน้า 54) และกลุ่มผู้หญิงม้ง ที่พักอยู่ริมบาทวิถีหน้าร้านค้าแห่งหนึ่งของถนนวิชยานนท์โดยจะหยิบยกเอาประวัติชีวิต และประสบการณ์ของ นางผิง (นามสมมติ) มาเป็นกรณีศึกษา (หน้า 14,79)

Theoretical Issues

นโยบายการพัฒนาประเทศที่มีเป้าหมายเพื่อไปสู่ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมทันสมัย ส่งผลให้ชุมชนชาวเขาถูกผลักดันให้เข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนทางสังคมและวัฒนธรรมขนานใหญ่ ทำให้ชุมชนบนภูเขาถูกครอบงำโดยลัทธิบูชาสินค้า ซึ่งนอกจากจะทำให้ชุมชนชาวเขาสูญเสียพลังทางสังคมและวัฒนธรรมไป (หน้า 101) โดยเริ่มจากการสูญเสียอำนาจในการเข้าถึงปัจจัยการผลิตและการควบคุมทรัพยากรตามจารีตประเพณี รัฐได้กำหนดมาตรการควบคุมการเข้าถึงและการใช้ทรัพยากรบนที่สูงอย่างเข้มงวด ทำให้สถานที่ตั้งชุมชน และระบบการทำไร่หมุนเวียน กลายเป็นสิ่งต้องห้าม ครัวเรือนชาวเขาไม่อาจเข้าถึงที่ดินด้วยระบบกรรมสิทธิ์ตามจารีตได้อีก การล่มสลายของกิจการด้านการเกษตร ก่อให้เกิดภาวะแตกกระจายของชุมชน เพราะเท่ากับว่าได้สูญเสียงานของท้องถิ่น (หน้า 97-99) พวกเขาจำต้องเปลี่ยนแปลงทั้งวิถีการผลิต วิถีชุมชนและวัฒนธรรมไปอย่างรวดเร็ว จากกลุ่มชาติพันธุ์ที่เคยตั้งบ้านเรือนอยู่บนที่สูง สามารถทำการผลิตเพื่อบริโภคและใช้แลกเปลี่ยนกับปัจจัยการดำรงชีพที่ผลิตเองไม่ได้เกือบทั้งหมด (หน้า 97) ต้องตัดสินใจเคลื่อนย้ายไปประกอบอาชีพเชิงพาณิชย์ในเมือง ผู้ศึกษามีแนวคิดว่า การปรับตัวเข้าสู่วิถีชีวิตใหม่แบบเมือง โดยผ่านกระบวนการปรับเปลี่ยนอาชีพ ไม่ได้เป็นเพียงการปรับเปลี่ยนวิธีการหาเงินมาเลี้ยงครอบครัวเท่านั้น แต่ยังเป็นกระบวนการปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อเชื่อมหรือสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่น เพื่อที่จะสามารถเข้าถึงหรือได้มาซึ่งข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต และประกอบอาชีพใหม่ในเมือง รวมทั้งเป็นหลักประกันให้กับชีวิต ว่าจะมีความมั่นคงในการประกอบอาชีพ (หน้า 13-14)

Ethnic Group in the Focus

เน้นศึกษา 3 ชาติพันธุ์ คือ เย้า ลีซอ และ ม้ง เย้า ในประเทศไทย เรียกตัวเองว่า "เมี่ยน" หรือ "อิวเมี่ยน" มีความหมายว่า "คน" มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน แถบมณฑล หูหนาน นักวิชาการจีนได้แบ่งคนเย้าที่ตั้งหลักแหล่งอยู่ในจีนออกเป็น 4 กลุ่ม คือ เมี่ยน มูนุ ฉาซัน และผิงตี้ ในบรรดา 4 กลุ่ม เมี่ยนเป็นกลุ่มประชากรที่มีมากที่สุด มีการอพยพและมีรัศมีการกระจายตัวออกไปไกลที่สุด (หน้า 28-29) ลีซอ เรียกขานตนเองว่า "ลีซู" คำว่า ลีซู มีความหมายอยู่ 2 นัย ซึ่งมีทั้งด้านบวกและลบ ลีซอบางคนอธิบายว่า ลีซูหมายถึง ผู้ที่มักจะหลบหนีหลังจากประสบความพ่ายแพ้ในการต่อสู้ ส่วนอีกความหมายหนึ่งมีการอธิบายว่า คำว่าลี มาจาก อิ๊หลี่ ซึ่งมีความหมายว่าจารีต ประเพณี และได้นิยามคำว่าลีซู ว่า หมายถึงผู้ที่ยึดมั่นในจารีตประเพณีของตนเองอย่างเหนียวแน่น (หน้า 50) ม้ง ในงานศึกษานี้ ศึกษาเฉพาะกลุ่มผู้หญิงม้งที่ได้รอนแรมจากถิ่นที่อยู่ เพื่อมาเป็นคนขายผ้าในตรอกเล่าโจ๊ว และ ไนท์บาซ่าร์ (หน้า 79)

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

เย้า มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน แถบมณฑล หูหนาน นักวิชาการจีนได้แบ่งคนเย้าที่ตั้งหลักแหล่งอยู่ในจีนออกออกเป็น 4 กลุ่ม คือ เมี่ยน มูนุ ฉาซัน และผิงตี้ ในบรรดา 4 กลุ่ม เมี่ยนเป็นกลุ่มประชากรที่มีมากที่สุด มีการอพยพและมีรัศมีการกระจายตัวออกไปไกลที่สุด เย้าในไทยเป็นกลุ่มเมี่ยนนี้เอง ประวัติการอพยพเคลื่อนย้ายจากถิ่นกำเนิดไปสู่มณฑลต่างๆ ทางทิศใต้ของจีนนับพันปีแล้ว และเมื่อกว่าครึ่งทศวรรษที่ผ่านมา จึงได้อพยพเข้าสู่เขตเวียดนาม ลาว พม่า และไทย ตามลำดับ จนกระทั่งมีการอพยพไปสู่ทวีปอเมริกาเหนือ (สหรัฐอเมริกา และแคนาดา) และยุโรป (ฝรั่งเศส และสวีเดน) หลังสิ้นสุดสงครามอินโดจีน เมื่อประมาณ 20 ปี ที่ผ่านมา เย้าที่ตั้งถิ่นฐานในเขตปัจจุบัน เกือบทั้งหมดอพยพมาจากลาว เหยาซุ่นอัน นักวิชาการจีนได้ศึกษาประวัติการอพยพของชนเผ่าเย้า และได้สรุปสาเหตุของการอพยพว่ามีอยู่ 3 ประการ คือ การทำไร่เลื่อนลอย การถูกกดขี่จากชนชาติที่มีอำนาจเหนือกว่า และการหลบหนีภัยธรรมชาติและโรคภัยไข้เจ็บ (หน้า 28-29)

Settlement Pattern

ไม่ได้กล่าวถึงรูปแบบการตั้งถิ่นฐานอย่างชัดเจน กล่าวเพียงว่าการเข้าไปอยู่ในชุมชนแออัดได้สะท้อนถึงปัญหาความไม่มั่งคงของการตั้งถิ่นฐานอย่างเด่นชัด การตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนร่วมกันเป็นชุมชนบนภูเขาแม้ว่าจะมีความจำเป็นในการเคลื่อนย้ายอยู่เสมอ แต่ไม่ได้แสดงถึงความไม่มั่นคงในการตั้งถิ่นฐานหรือหลักลอยไร้หลักการ พวกเขาเคลื่อนย้ายอย่างมีทิศทาง มีแบบแผน และผ่านกระบวนการตัดสินใจอย่างรอบคอบเพื่อให้เกิดความมั่นคงปลอดภัย โดยมีระบบเครือญาติเป็นหลักประกัน หรือมีพันธมิตรคอยช่วยเหลือ ทั้งในด้านการตั้งบ้านเรือน และการมีที่ทำกินอันเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแรกๆ ของการเคลื่อนย้าย (หน้า 7)

Demography

อัตราการขยายตัวของจำนวนประชากรชาวเขาในเมืองเชียงใหม่ ได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ทางราชการได้เริ่มให้ความสนใจกับการดำรงอยู่ในฐานะชนกลุ่มน้อยบนที่สูงของชาวเขาอย่างจริงจัง โดยเริ่มจากส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดนเข้าไปให้การสงเคราะห์ และควบคุมดูแล ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเขา ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1950 และผู้อพยพได้ทวีจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ควบคู่ไปกับการเร่งรัดพัฒนาชุมชนบนที่สูงของทางราชการ ต่อมาในราวทศวรรษที่ 1960 เชียงใหม่ได้เริ่ม กลายเป็นเมืองที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว กิจการขายสินค้าของชาวเขา เช่น เสื้อผ้า และงานเย็บปักประดิษฐ์ ฯลฯ เป็นอาชีพที่มีกำไรงามและขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีร้านค้าหัตถกรรมชาวเขาเกิดขึ้นเป็นการเฉพาะ โดยเริ่มแรกร้านค้าเหล่านี้ได้ติดต่อซื้อขายผ่านตำรวจตระเวนชายแดน และซื้อโดยตรงจากชาวเขาที่ลงมาซื้อข้าวของเครื่องใช้ในเมือง ในระยะต่อมา มีกลุ่มคนแม้ว เย้า อีก้อและลีซอ เริ่มมองเห็นลู่ทางในการทำการค้ากับร้านเหล่านี้ด้วยตนเอง จึงมีกลุ่มแม้วจากบ้านหนองหอย และบ้านดอยปุย ได้เริ่มประกอบกิจการในลักษณะนี้เป็นกลุ่มแรก ๆ ต่อมาเมื่อการคมนาคมสะดวกขึ้น ทำให้ชาวเขากลุ่มอื่น สามารถเดินทางเข้าเมืองไปติดต่อค้าขายกับค้าโดยตรงได้อย่างสะดวก โอกาสในเชิงเศรษฐกิจเช่นนี้เองที่เป็นปัจจัยเร้าให้ชาวเขาบางกลุ่มตัดสินใจเข้ามาอยู่อาศัยในเมืองอย่างถาวร(หน้า 21-22)

Economy

ก่อนที่จะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแบบตลาดและกระบวนการเชิงพาณิชย์ กลุ่มชาวเขา มีระบบการเพาะปลูกแบบหมุนเวียนตามจารีตประเพณี ซึ่งส่วนใหญ่สามารถทำการผลิตเพื่อเลี้ยงตนเองและแลกเปลี่ยนกับคนอื่นได้เองเกือบทั้งหมด เมื่อปรับตัวมาเป็นการเพาะปลูกในเชิงพาณิชย์ ทำให้ต้องพึ่งพาปัจจัยการผลิตและระบบตลาดจากภายนอกแทบทั้งหมด ทั้งทางด้านเทคโนโลยี ข่าวสาร เงินทุน และกลไกตลาด ที่บ้านใหม่ร่มเย็นครอบครัวนายจันซึ่งเป็นเย้าปลูกข้าวโพด มันสำปะหลังขายเป็นพืชหลัก และมีการปลูกฝ้ายตามความต้องการของพ่อค้า ซึ่งครอบครัวนายจันต้องประสบกับปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายและหนี้สินต่าง ๆ ที่เกิดจากการกู้ยืมเงินมาลงทุนทางการเกษตร (หน้า 11) ต่อมาภายหลังจากที่อพยพเข้ามาอยู่ที่เชียงใหม่ นายจันและครอบครัวได้เข้ามารับจ้างเป็นนักแสดงประจำศูนย์ และมีรายได้เสริมจาการขายของที่ระลึก (หน้า 44) กลุ่มลีซอที่ศึกษา จากแต่เดิมที่เคยทำการเกษตร ก็เปลี่ยนมาเป็นการค้าของเก่าที่ไนท์บาซาร์ (หน้า 66) ม้ง ประกอบอาชีพเพาะปลูก พืชที่นิยมได้แก่ ต้นกัญชง แต่ภายหลังถูกเจ้าหน้าที่ตั้งข้อหาว่าปลูกกัญชาเนื่องมาจากความเข้าใจผิด เพราะลักษณะคล้ายกับต้นกัญชามาก จึงเปลี่ยนเป็นการค้าผ้ากัญชงที่นำมาจากฝั่งลาวแทน สินค้าที่เป็นที่นิยมมากคือ กระโปรงผ้าใยกัญชงของแม้ว ต่อมากลุ่มผู้หญิงม้งได้อพยพเข้ามาขายผ้ากัญชงในเมือง (หน้า 88)

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ผู้ศึกษากล่าวถึงปมความขัดแย้งทางการเมืองกับการอพยพของคนเย้าว่า ในปี พ.ศ.2512 พื้นที่สูงแถบอำเภอนครไทยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ม้งในหมู่บ้านได้เอนเอียงไปเป็นแนวร่วมของ พคท. ทำให้ฝ่ายบ้านเมืองส่งกองกำลังทหารขึ้นมาปราบปราม ม้งส่วนใหญ่หลบหนีไป แต่กลุ่มเย้ายังคงอยู่ และทำมาหากินตามปกติ เนื่องจากคิดว่าพวกเขาไม่ได้เข้าร่วมกับ พคท.จึงไม่น่าจะมีความผิด และไม่คิดจะทิ้งถิ่นฐานไปไหน แต่กองทหารที่ขึ้นไปปราบปรามได้พยายามหาข่าวเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของ พคท. ในพื้นที่หลบซ่อนของม้งจากชาวบ้าน ซึ่งบางครั้งมีการบีบคั้นและคุกคามเย้าอยู่เนืองๆ ทำให้ได้รับความเดือนร้อน และรู้สึกเกรงกลัวทั้งฝ่ายม้งและทหาร ในที่สุดต้องอพยพ ทิ้งบ้าน ทิ้งไร่ ไปทำกินอยู่ที่อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร บางส่วนย้ายไปอยู่ที่อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก แต่อยู่ได้ไม่นาน ต้องอพยพอีกครั้ง เพื่อไปอยู่ที่บ้านใหม่ร่มเย็น อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ทางราชการตั้งขึ้นและจัดสรรที่ทำกินให้กับครัวเรือนคนไทยภูเขา ที่อพยพหนีภัยจากเขตอิทธิพลของ พคท. (หน้า 33-34) นอกจากนี้แล้ว ผู้ศึกษาก็ไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียดทางการเมืองด้านอื่น ๆ ของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ศึกษาอีก

Belief System

เย้าเห็นว่าการอพยพโยกย้ายเป็นปรากฏการณ์ปกติในชีวิต พวกเขาจะเตรียมความพร้อมที่จะเคลื่อนย้ายอยู่เสมอ เพื่อรักษามาตรฐานการครองชีพเอาไว้ แนวทางการจัดองค์กรทางสังคมที่สำคัญที่ทำให้พวกเขาสามารถเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่อันเหมาะสม และปกป้องทรัพย์สินได้ เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ก็คือ การมีครัวเรือนและพันธมิตรขนาดใหญ่ (หน้า 29) เย้ามีคตินิยมทางด้านอาชีพที่มีเกียรติ คือ หมอผี ช่างไม้ และค้าขาย เนื่องจากเห็นว่า หมอผีทำหน้าที่ควบคุมข่าวสาร และสื่อกลางระหว่างมนุษย์กับพลังเหนือธรรมชาติ อันเป็นรากฐานสำคัญของการดำรงอยู่ อาชีพช่างฝีมือ เป็นการใช้ทักษะพิเศษที่คนอื่นไม่มี ส่วนการค้าขาย พวกเขาเห็นว่า คุณสมบัติของการเป็นพ่อค้า ต้องเป็นผู้ที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ทันคน ขยันหมั่นเพียร กล้าหาญ อดทน และมีความเป็นผู้นำ เนื่องจากต้องใช้ความรอบรู้และรอบคอบในการตัดสินใจหลายอย่างที่เกี่ยวกับการแข่งขันในทางการค้า ในสังคมเย้าผู้ที่ร่ำรวยจากการค้าขาย มักจะได้รับความนิยมยกย่องและเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่น ในปัจจุบัน อาชีพค้าขาย ยังคงเป็นอาชีพในฝันของคนเย้าทั่วไป (หน้า 46-47) ในมุมมองของคนลีซอ เชื่อว่า การมีสถานภาพเป็นคน จะต้องประกอบด้วยพละกำลังทางกายภาพที่ได้รับมาโดยกำเนิด (มี๊) ซึ่งแต่ละคนจะมีไม่เท่ากัน ทำให้แต่ละคนมีรูปร่างสูงต่ำดำขาวแตกต่างกัน มีโชควาสนาและชะตากรรมไม่เหมือนกัน ทำให้ประสบปัญหาในชีวิตหนักเบาแตกต่างกันไปได้ นอกจากนี้ยังต้องประกอบด้วยพลังทางวัฒนธรรม (ดุ) ซึ่งหมายถึงความรู้ ความสามารถ ในการผลิตและการผลิตซ้ำ ศักยภาพทางการผลิตได้แก่ สมรรถภาพของมนุษย์ในการดัดแปลง แปรสภาพ และปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติให้กลายเป็นปัจจัยการดำรงชีพ ส่วนสมรรถภาพในการผลิตซ้ำ เป็นมิติด้านการสร้างสรร เป็นด้านการจัดโครงสร้างทางสังคม ความสามารถทั้งสองด้านนี้ของมนุษย์ ได้เพิ่มพูนมากขึ้นเรื่อยๆ ตามประสบการณ์การผ่านพ้นอุปสรรค การติดต่อสัมพันธ์ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกับคนอื่น ซึ่งการสร้างสรรและการสืบทอดความเป็นชาติพันธุ์ของลีซอ ได้แสดงถึงศักยภาพของชนเผ่าในการจัดระบบความสัมพันธ์ให้คน สิ่งแวดล้อม และอำนาจเหนือธรรมชาติ ดำรงอยู่ด้วยกันได้อย่างสอดคล้องกัน ซึ่งส่งผลให้มนุษย์สามารถสร้างระบบความหมายขึ้นมาอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รายรอบได้อย่างลงตัว ดังนั้น ศักดิ์ศรี (หมิดุ) ของความป็นลีซอ หรือการเป็นคนลีซอที่มีศักดิ์ศรี นอกจากจะต้องแสดงความสามารถของตนให้ประจักษ์ ตามวิถีทางอันสอดคล้องกับความหวังของคนอื่นหรือชุมชน และเป็นไปตามพันธะทางสังคมแล้ว ยังอยู่ที่การสืบทอดพลังทางวัฒนธรรม ที่ได้ผ่านการปรับเปลี่ยนและผลิตซ้ำจากการที่ต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์และปัญหาในชีวิตประจำวันมาอย่างต่อเนื่อง จนตกผลึกเป็นระบบความคิดอันแจ่มชัดที่เรียกว่า อิ๊หลี่ เพื่อธำรงรักษาลักษณะเฉพาะหรือพื้นที่ของความเป็นลีซอ ไม่ให้เสื่อมสลายไป (หน้า 51-52) ทางด้านของพิธีกรรมผู้ศึกษาไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียด กล่าวเพียงแต่ว่า มีการร่วมกันทำพิธีก่อสร้าง อาปามุฮี หรือศาลผีเสื้อบ้าน มีพิธีกินข้าวใหม่ หรือฉื่อแปกั๊วะ มีการอันเชิญผีดอยใหญ่ (ได้แก่ ผีดอยเชียงดาว) ให้มาสิงสถิตอยู่ที่ศาลผีของหมู่บ้าน ซึ่งพวกเขาสร้างเอาไว้ใกล้กันแต่อยู่สูงกว่า อาปาหมุฮี (หน้า 62) ความเชื่อดั้งเดิมของม้งที่เกี่ยวกับพิธีศพคือ จะใช้ฟั่นเชือกที่ทำจากเส้นใยของต้นกัญชง มาสานเป็นรองเท้าสำหรับคนตาย และใช้ฟั่นเชือกมัดศพไว้กับไม้คาน จะไม่นิยมใช้วัสดุหรือเชือกชนิดอื่นทดแทน (หน้า 70)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

กล่าวถึงม้งว่ามีการนำเปลือกของกัญชงมาทำเป็นเส้นใย ใช้ทอเป็นเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม ฟั่นเป็นเชือก สำหรับใช้ประโยชน์ต่าง ๆ เช่น ใช้เป็นสายสะพาย หรือหัวยึดติดกับตะกร้า (เกอะว์) ซึ่งใช้ขนฟืนและพืชผล ใช้ฟั่นเชือกทำสายหน้าไม้ (เหน็ง) สำหรับล่าสัตว์ สานเป็นรองเท้าสำหรับคนตายใช้มัดศพกับไม้คาน (หน้า 70)

Folklore

กล่าวเพียงเรื่องตำนานเก่าแก่ของชนชาติเย้าที่เชื่อว่าบรรพชนของพวกเขามีสถานภาพ เป็น " อ๋อง" คนหนึ่งในประวัติศาสตร์จีน ได้รับอภิสิทธิ์ และมีอิสระในการเคลื่อนย้ายไปยังแหล่งที่ทำกิน เนื้อหาสำคัญเกี่ยวกับการอพยพ โดยสรุปใน "เกียเซ็นป๊อง" หรือ "หนังสือเดินทางข้ามเขตภูเขา" ซึ่งเป็นเอกสารเกี่ยวกับตำนานว่าด้วยความเป็นมาของชนชาติเย้า ซึ่งเย้าในประเทศไทยถือว่าเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด (หน้า 30)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ครอบครัวเย้าที่เป็นกรณีศึกษามีการติดต่อกับพ่อค้าม้ง โดยรับจ้างทำเครื่องประดับเงินให้พ่อค้าที่มาว่าจ้าง (หน้า32)

Social Cultural and Identity Change

ชาวเขาที่อพยพเข้ามาอยู่ในตัวเมืองเชียงใหม่ต้องพบกับการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายทั้งวิถีชีวิตชุมชนและวัฒนธรรม โดยเฉพาะเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางด้านวิถีการผลิตจากแต่เดิมเป็นทั้งผู้ผลิต ผู้ใช้ และผู้นำส่วนเกินมาผลิตซ้ำมาทำให้เกิดกำไรได้ สามารถทำการผลิตเลี้ยงตนเองและแลกเปลี่ยนกับคนอื่นมาได้เป็นอย่างดี เมื่ออพยพเข้ามาในเมืองเป็นผู้บริโภค ทำให้สูญเสียความสามารถในการจัดการทรัพยากร ก่อนที่จะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแบบตลาดและกระบวนการเชิงพาณิชย์ กลุ่มชาวเขา มีระบบการเพาะปลูกแบบหมุนเวียนตามจารีตประเพณี ซึ่งส่วนใหญ่สามารถทำการผลิตเพื่อเลี้ยงตนเองและแลกเปลี่ยนกับคนอื่นได้เองเกือบทั้งหมด เมื่อปรับตัวมาเป็นการเพาะปลูกในเชิงพาณิชย์ ทำให้ต้องพึ่งพาปัจจัยการผลิตและระบบตลาดจากภายนอกแทบทั้งหมด ทั้งทางด้านเทคโนโลยี ข่าวสาร เงินทุน และกลไกตลาด นอกจากนี้ ชุมชนระบบเครือญาติ กฏเกณฑ์ตามจารีตประเพณีรวมทั้งระบบทรัพย์สินส่วนรวมถูกทำลายลง วัฒนธรรมท้องถิ่น และกิจกรรมตามจารีตของชนเผ่าถูกลดคุณค่า กลายเป็นเพียงการแสดงเพื่อบริการแก่นักท่องเที่ยว ประดิษฐกรรมจากภูมิปัญญาชนเผ่ากลายเป็นของเก่าที่ถูกซื้อไปประดับบารมี หรือเป็นเครื่องบอกรสนิยมของคนพื้นราบและชาวต่างประเทศ แรงงานกลายเป็นสินค้าถูก การทำงานและการประกอบอาชีพใหม่ กลายเป็นภาระอันซ้ำซาก น่าเบื่อหน่ายชีวิตสังคมเป็นเรื่องแปลกแยกและสับสน (หน้า 97)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst วิมล เตรียมล้ำเลิศ Date of Report 18 ส.ค. 2557
TAG เมี่ยน, ลีซู, ม้ง, ชาวเขา, ความเป็นอยู่, ประเพณี, การปรับตัว, สังคมเมือง, เชียงใหม่, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง