สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ยอง,การเรียน,การสอน,ลำพูน
Author กุหลาบ กันทะรัญ
Title การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่อง ชีวิตของชาวยองสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพรหมจักรสังวร อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ยอง คนยอง ชาวยอง ไทยอง ขงเมืองยอง จาวยอง, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 147 Year 2547
Source หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract

การรับรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยการเขียนสะท้อนความคิดของนักเรียนในเรื่อง ลำแต้อาหารยอง นักเรียนเขียนได้ระดับดี ทั้งด้านความรู้ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และการประเมินค่าคิดเป็นร้อยละ 100 ร้อยละ 99.44, 91.66, 80.56, 77.78 และร้อยละ77.78 ตามลำดับ เรื่องแต่งย่องผ้ายองลาย นักเรียนเขียนได้ระดับดี ทั้งด้านความรู้ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และการประเมินค่า คิดเป็นร้อยละ 97.22, 91.67, 86.11, 77.78, 80.56และร้อยละ 77.78 ตามลำดับ เรื่องหลากหลายยากลางบ้าน นักเรียนเขียนได้ระดับดี ทั้งด้านความรู้ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และการประเมินค่า คิดเป็นร้อยละ 83.34, 80.56, 80.56, 69.44, 75.00และร้อยละ 72.22 ตามลำดับ เรื่องย้อนตำนานบ้านคนยอง นักเรียนเขียนได้ระดับดี ทั้งด้านความรู้ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และการประเมินค่า คิดเป็นร้อยละ 88.89, 77.78, 75.00, 72.22, 69.44 และร้อยละ 69.44 ตามลำดับ การจัดการเรียนการสอนเรื่องชีวิตยองสำหรับนักเรียนโรงเรียนพรหมจักรสังวร เพื่อการศึกษารับรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน จัดได้ว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ดังนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น จึงควรมีการพัฒนากิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดในระดับสูงให้กับนักเรียนเพื่อให้นักเรียนสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่าในการเรียนรู้ของนักเรียนต่อไป

Focus

ศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่อง "ชีวิตของชาวยอง" สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 โรงเรียนพรมจักรสังวร อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ยอง

Language and Linguistic Affiliations

คนพูดภาษายองในจังหวัดลำพูนมีถึง ร้อยละ 80 สามารถแบ่งคนยองออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ตามสำเนียงพูดคือ กลุ่มที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณทิศตะวันออกของอำเภอเมืองและอำเภอแม่ทาเรียกว่า "ลื้อ" ซึ่งมีบรรพบุรุษที่มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่อำเภอเชียงคำ เชียงม่วน เมืองเทิง ส่วนคนยองที่ตั้งถิ่นฐานในอำเภอป่าซางและอำเภอบ้านโฮ่ง เป็นกลุ่มที่เคลื่อนย้ายลงมาในยุคเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมืองจนสามารถตั้งเมืองลำพูนขึ้นใหม่ (หน้า 48)

Study Period (Data Collection)

พ.ศ.2547

History of the Group and Community

ยองเป็นคนไทยกลุ่มหนึ่ง มีถิ่นฐานอยู่ในเมืองยองในเขตจังหวัดเชียงตุงของสหภาพพม่าคำว่า "ยอง" หมายถึง ชื่อหญ้าชนิดหนึ่งที่ขึ้นบริเวณเมืองยอง ตามตำนานเมืองยองอธิบายว่า "ยังมีพรานผู้หนึ่ง ลุกแต่เมืองอรวีนครเดินเทสสันตีเข้ามาฮอดที่นั้นเขาก็เอามาเผาป่าที่นั้น ลุกเป็นเปลวไฟรุ่งเรืองไหม้ที่นั้นหมดใสไปหั้นแล ส่วนหญ้ายองทั้งหลายก็ตราบขึ้นเมือเหนืออากาศกลางหาวปลิวไปทั่วทิศทั้งมวลปรากฏทั่วบ้านน้อยเมืองใหญ่ทั้งหลาย มีพิชรอันหอมมากจึงได้ชื่อเมืองยองสืบแต่นั้นมา" ยองถูกเกลี้ยกล่อม กวาดต้อนอพยพ เข้ามาในประเทศไทยหลายสมัย เช่น สมัยพระเจ้าติโลกราช ได้อพยพครอบครัวยองมาอยู่ในเมืองเชียงใหม่ 2 ครั้งเมื่อ พ.ศ. 2011 และ พ.ศ.2015 ในราวปี พ.ศ. 2347-2348 สมัยพระยากาวิละ ได้ยกพลไปเกลี้ยกล่อมยองให้อพยพเข้ามาอยู่ในเชียงใหม่ ลำปางและลำพูนหลายครั้งเพื่อฟื้นฟูบ้านเมืองขึ้นใหม่ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์มีบัญชาให้เจ้าอนันตฤทธิเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน ไปตีแคว้นสิบสองปันนา เชียงรุ้งและกวาดต้อนยองมาอยู่ในท้องที่จังหวัดเชียงรายและในปี พ.ศ. 2399 เจ้า ผู้ครองนครน่านได้ขึ้นไปต้อนยองมาจากเมืองล้า อำเภอเชียงคำ จังหวัดเชียงราย เป็นการอพยพของคนยองสู่ดินแดนล้านนา (หน้า 45-46)

Settlement Pattern

บ้านของยองในอำเภอป่าซาง เดิมมีลักษณะเป็นบ้านชั้นเดียว ยกพื้นสูงทำด้วยไม้สักหรือไม้อื่นๆ หลังคาบ้านเป็นแบบหน้าจั่ว มีชานเรือนสำหรับนั่งเล่นหรือรับแขก พื้นที่ใต้ถุนเป็นพื้นที่สำหรับเก็บพืชผลทางการเกษตรต่างๆ หรือเก็บข้าวของเครื่องใช้ทางการเกษตร และมีบริเวณบ้าน(โข่งบ้าน) สำหรับให้เด็กวิ่งเล่นหรือสำหรับนั่งสนทนา ส่วนห้องครัวนิยมแยกออกจากตัวบ้าน (หน้า 53)

Demography

ราวปี พ.ศ. 2347-2348 เมืองเชียงใหม่มียองร้อยละ 40 ของประชากรทั้งหมด ส่วนลำพูนมีมากถึงร้อยละ 70 (หน้า 45) อำเภอป่าซาง มีประชากรทั้งสิ้น 30,448 คน เป็นชาย 15,246 คน เป็นหญิง 15,202 คน ซึ่งในจำนวนนี้เกิน ร้อยละ 80 เป็นคนยอง จังหวัดลำพูน ในปี พ.ศ. 2545 มีประชากรจำนวน 405,739 คน จำแนกเป็นชาย 199,068 คน หญิง 206,671 คน (หน้า 48-49) ปัจจุบัน โรงเรียนพรหมจักรสังวร มีนักเรียนจำนวน 140 คน มีครูบรรพชิต 11 รูป ครูฆราวาส 6 คน (หน้า 53) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2546 จำนวน 36 คน (หน้า ง)

Economy

ยองส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม (หน้า 53)

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

อำเภอป่าซาง แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 ตำบล 83 หมู่บ้าน 2 เขตเทศบาล 7 องค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดลำพูน แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ 51 ตำบล 542 หมู่บ้าน 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 เทศบาลเมือง 12 เทศบาลตำบล 45 องค์การบริหารส่วนตำบลและ 2 สภาตำบล (หน้า 48)

Belief System

ไม่ปรากฏชัดเจน กล่าวแต่เพียงพิธีกรรมเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย ได้แก่ พิธีเซ่นไหว้ผี พิธีกรรมส่งเคราะห์และสืบชะตา พิธีกรรมสู่ขวัญและการลงคาถาอาคมพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย เป็นต้น

Education and Socialization

ในปี พ.ศ. 2538 โรงเรียนพรหมจักรสังวร มีการเปิดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (หน้า 53)

Health and Medicine

ชุมชนยองมีวิธีคิดและการรักษาการเจ็บป่วย ได้แก่ การรักษาพยาบาลด้วยพิธีกรรม โดยผู้ทรงภูมิปัญญาของชุมชนว่ามีการเจ็บป่วยจากอำนาจเหนือธรรมชาติจะต้องประกอบพิธีกรรมเพื่อให้อำนาจนั้นหมดไป ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของหมอพื้นบ้าน เช่นการประกอบ พิธีเซ่นไหว้ผี พิธีกรรมส่งเคราะห์และสืบชะตา เป็นการรักษาพยาบาลตามความเชื่อทั้งทางพุทธและพราหมณ์ เกี่ยวกับอิทธิพลของดวงดาวในเรือนผีเกิด ในพิธีต้องพึ่งพาปู่จ๋ารทำพิธีให้หากเจ็บป่วยหนักจะนิมนต์พระภิกษุเป็นผู้ทำพิธีสืบชะตาให้ หากบุคคลใดมีความไม่สบายใจหรือมีลูกหลานอยู่ห่างไกลพ่อแม่หรือญาติ นิยมทำพิธีส่งเคราะห์ให้ เช่น การปูจาเตน ปู่จาข้าวหลีกเคราะห์ซึ่งนิยมทำในระดับปัจเจกชน พิธีกรรมสู่ขวัญ เน้นการฟื้นฟูสภาพจิตใจ มักจะทำเมื่อหายจากความเจ็บป่วยใหม่ๆ ภายใต้ความเชื่อที่ว่า ขวัญของคนเรามีอยู่ 32 ขวัญ เมื่อขวัญหนึ่งขวัญใดหล่นหายก็จะทำให้เจ้าของอ่อนแอ การรักษาพยาบาลด้วยคาถาอาคม คือการใช้คาถาอาคมในการรักษา เช่น เป่าลงในน้ำมนต์ให้ผู้ป่วยดื่ม ปะพรมศีรษะ เป็นต้นก่อนนำคาถามาใช้ต้องมีการขึ้นครูก่อน คาถาจึงจะเกิดผล การรักษาพยาบาลด้วยสมุนไพร มีการใช้ทั้งพืชและสัตว์มาประกอบกัน การใช้ยาสมุนไพรแบบตำรับ ต้องอาศัยผู้ชำนานการหรือหมอยาพื้นบ้านเป็นสำคัญหากเป็นปัจเจกแล้ว การใช้สมุนไพรส่วนใหญ่จะใช้สมุนไพรในเชิงเดี่ยว คือการใช้สมุนไพรบางตัว เช่น ใช้ขมิ้นแก้ตุ่มคันยุงกัด (หน้า 51-53)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ผู้หญิงยองจะสวมเสื้อสีดำคราม แขนยาว ตัวเสื้อรัดรูป เอวลอย มีสายหน้าเฉียงมาผูกกับด้ายฟั่นตรงมุมของลำตัว เรียกว่า "เสื้อปั๊ด"ผ้าซิ่นทำด้วยผ้าฝ้ายทอลายต่างๆ การเกล้าผมของหญิงเรียกว่า "การเกล้าว้อง" มีการใช้ผ้าโพก ปัจจุบันผู้สูงอายุจะแต่งกายแบบดั้งเดิม แต่บางกลุ่มจะแต่งกายคล้ายผู้หญิงล้านนาทั่วไป ส่วนผู้ชายจะนุ่งเตี่ยวสะดอ (กางเกงขาก๊วย) สีดำ เสื้อกุ้ยเฮงหรือเสื้อเชิ้ต คล้ายการแต่งกายของคนไทในล้านนา (หน้า 50)

Folklore

ในตำนานเมืองยองอธิบายว่า ยังมีพรานผู้หนึ่ง ลุกแต่เมืองอรวีนครเดินเทสสันตีเข้ามาฮอดที่นั้นเขาก็เอาไปมาเผาป่าที่นั้น ลุกเป็นเปลวไฟรุ่งเรืองไหม้ที่นั้นหมดใสไปหั้นแล ส่วนหญ้ายองทั้งหลายก็ตราบขึ้นเมือเหนืออากาศกลางหาวปลิวไปทั่วทิศทั้งมวลปรากฏทั่วบ้านน้อยเมืองใหญ่ทั้งหลาย มีพิชรสอันหอมมากจึงได้ชื่อเมืองยองสืบแต่นั้น (หน้า 45)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ปัจจุบันการแต่งกายแบบดั้งเดิมจะแต่งในงานพิธีที่สำคัญต่างๆ เช่น งานมงคล งานรื่นเริงและงานประเพณีต่างๆ เท่านั้น (หน้า 51)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

จากการจัดการเรียนการสอนพบว่า นักเรียนร้อยละ 100 อธิบายรูปแบบและชนิดของอาหารยองได้ในระดับดี นักเรียนร้อยละ 99.44 อธิบายภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอิทธิพลต่อลักษณะรูปแบบและชนิดของอาหารยองได้ในระดับดีและร้อยละ 91.66 อธิบายการจัดอาหารในพิธีกรรมที่สำคัญของยองได้ดี นักเรียนร้อยละ 97.22 อธิบายลักษณะรูปแบบของผ้าและการแต่งกายของยองได้ในระดับดี ร้อยละ 2.78 อยู่ในระดับปานกลาง ด้านความเข้าใจ นักเรียนร้อยละ 91.67 อธิบายภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอิทธิพลต่อลักษณะรูปแบบผ้าและการแต่งกายของยองอยู่ในระดับดี ร้อยละ 8.33 อยู่ในระดับปานกลาง(หน้า 70,72) นักเรียนร้อยละ 75 อธิบายภูมิปัญญาท้องถิ่นที่แสดงออกมาเกี่ยวกับตำรับยากลางบ้าน วิธีการผลิต วิธีคิดเกี่ยวกับการรักษาโรคภัยไข้เจ็บของยองมีความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันได้ในระดับดี นักเรียนร้อยละ 88.89 อธิบายเกี่ยวกับความเป็นมา ลักษณะ รูปแบบของบ้านและการจัดบ้านของยองได้ในระดับดี ร้อยละ 77.78 อธิบายเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอิทธิพลต่อลักษณะรูปแบบบ้านและการจัดการบ้านและพิธีกรรมเกี่ยวกับบ้านของยองได้ในระดับดี (หน้า 76,78)

Map/Illustration

ตาราง - แสดงผลการวิเคราะห์การเขียนสะท้อนความคิดจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่อง ชีวิตของยอง แผนการจัดการเรียนรู้ ที่ 1 เรื่อง ลำแต้อาหารยอง(68) - แสดงผลการวิเคราะห์การเขียนสะท้อนความคิดจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่อง ชีวิตของยอง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง แต่งหย้องผ้ายองลาย(71) - แสดงผลการวิเคราะห์การเขียนสะท้อนความคิดจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่อง ชีวิตของยอง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง หลากหลายยากลางบ้าน(74) - แสดงผลการวิเคราะห์การเขียนสะท้อนความคิดจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่อง ชีวิตของยอง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง ย้อนตำนานบ้านคนยอง(77)

Text Analyst สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ Date of Report 14 พ.ย. 2549
TAG ยอง, การเรียน, การสอน, ลำพูน, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง