สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ยอง,พืชสมุนไพร,ป่าชุมชน,ลำพูน
Author พวงผกา สุทธิกูล
Title การใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรในบางบริเวณของป่าชุมชนทุ่งยาว ตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ยอง คนยอง ชาวยอง ไทยอง ขงเมืองยอง จาวยอง, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 103 Year 2545
Source หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract

การศึกษาพันธุ์ไม้ที่ชาวบ้านในบางบริเวณของป่าชุมชนทุ่งยาว ตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน สำรวจพบพืชที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพร 38 ชนิด จัดอยู่ใน 22 วงศ์ 32 สกุล จัดจำแนกยาสมุนไพรตามสรรพคุณเป็น 5 กลุ่มใหญ่คือ ยาใช้ภายนอก 8 ชนิดเกี่ยวกับทางเดินอาหารและอวัยวะภายใน 14 ชนิด แก้ไข้และแก้ปวดเมื่อย 8 ชนิด เครื่องสำอาง 4 ชนิดและอื่นๆ อีก 4 ชนิด ตัวอย่างพืชสมุนไพรที่น่าสนใจ เช่น ผักลิดไม้ (Oroxylum indicum Vent.) ใช้ส่วนเปลือกลำต้น ขูดใส่เกลือ นำมะนาวที่ฝานแล้วมาจิ้มกินแก้ไข้มาลาเรีย หญ้าดูดเน่า (Sida rhombifolia Linn.) ใช้ใบขยี้พอกบนแผลที่เป็นหนองหรือพอกบนสิวที่อักเสบ ทำให้แผลและหัวสิวแห้ง เหมิดกี (Memecylon Pleberjum Kurz.) นำน้ำยางที่เกิดจากการนำส่วนลำต้นมาเผาแล้วเอาแผ่นไม้มาอังไอไว้ เรียกส่วนน้ำยางว่า "จีไม้" นำมาถูฟัน ทำให้ฟันแข็งแรงไม่หลุดร่วงง่าย เป็นต้น

Focus

ศึกษาและรวบรวมข้อมูลการใช้พืชสมุนไพรในบางบริเวณของป่าชุมชนทุ่งยาว ตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เป็นการศึกษาพันธุ์ไม้ที่ชาวบ้านนำมาใช้ประโยชน์เพื่อเป็นยาสมุนไพรพื้นบ้าน เพื่อเป็นข้อมูลในการอนุรักษ์และประยุกต์ใช้ต่อไป

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ยอง

Language and Linguistic Affiliations

ภาษายอง

Study Period (Data Collection)

พ.ศ. 2545

History of the Group and Community

ประวัติศาสตร์ของเมืองยอง เมืองลำพูนก็เหมือนกับเมืองอื่นๆ ในดินแดนแถบนี้ที่มีการเดินทางเคลื่อนย้ายของผู้คนด้วยเหตุผลต่างๆ ตามยุคสมัย กลุ่มคนยองถูกกวาดต้อนมาจากเมืองยองซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน ปัจจุบันอยู่ในรัฐฉานฝ่ายตะวันออกของพม่า การเคลื่อนย้ายของผู้คนจากเมืองยองเข้ามาตั้งถิ่นฐานในล้านนา เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยพระเจ้าติโลกราช แห่งราชวงศ์มังราย และการเคลื่อนย้ายครั้งสำคัญที่สุดเกิดขึ้นในสมัยพระเจ้ากาวิละ ในปี พ.ศ.2348 ที่ได้ดำเนินนโยบายรวบรวมผู้คนจากหัวเมืองต่างๆ ทางตอนบนเพื่อฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่และเมืองลำพูน (หน้า 3) ประมาณ พ.ศ.2458 มีชาวบ้านจากบ้านสันคะยอมและบ้านป่าตึง ตำบลป่าสัก ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน ประมาณ 5-6 ครอบครัว เนื่องจากอพยพหนีความแห้งแล้งประกอบกับการแย่งที่ดินเพื่อประกอบอาชีพ เข้ามาตั้งรกรากในเขตป่าต้นน้ำแม่สาร ต่อมาได้มีผู้อพยพเข้ามามากขึ้น มีการบุกเบิกที่ดินเพื่อการเกษตร ในปี พ.ศ.2466 ผู้นำชุมชนคนแรกคือ พ่อหลวงเครื่อง พยัคฆศักดิ์ ได้นำชาวบ้านร่วมมือกันสร้างระบบเหมืองฝายเพื่อนำน้ำเข้าสู่ที่นา บริเวณที่ตั้งเหมืองฝายมีสภาพป่า เป็นป่าเบญจพรรณผสมกับป่าดิบแล้ง มีต้นไม้เด่นคือ สักและตะเคียน และมีน้ำซับไหลออกมาตลอดเวลา ชาวบ้านจึงเรียกป่าแห่งนี้ว่า "ป่าน้ำจำ" (หน้า 7 - 8)

Settlement Pattern

ด้านทิศเหนือของหมู่บ้านจะมีหอผี (หน้า 5)

Demography

บ้านทุ่งยาว พ.ศ.2542 มีครัวเรือนทั้งหมด 286 ครัวเรือน ประชากร 1,044 คน เป็นชาย 490 คน เป็นหญิง 554 คน (หน้า 7)

Economy

การผลิตสิ่งของต่างๆ ในหมู่บ้านยังคงเป็นแบบเลี้ยงตนเอง เช่น การเกษตรและงานหัตถกรรมต่างๆ (หน้า 5) ประชากรบ้านทุ่งยาวส่วนใหญ่มีรายได้นอกภาคเกษตรกรรมที่มาจากการรับจ้างทั้งในและนอกนิคมอุตสาหกรรม เกษตรกรรม ค้าขายและรับราชการ รายได้โดยเฉลี่ย 30,480 บาท/ครอบครัว/ปี โดยรายได้จากภาคเกษตรกรรม มาจากการทำสวน มีการปลูกพืชไว้กินเองและเก็บหาของป่าเพื่อบริโภคในครัวเรือนและจำหน่าย (หน้า 7)

Social Organization

ชาวบ้านทุ่งยาวเป็นกลุ่มที่มีวิถีชีวิตผูกพันกับธรรมชาติและป่า (หน้า 1) สภาพสังคมในหมู่บ้านยองเป็นความสัมพันธ์แบบเครือญาติหรือนับถือผีเดียวกัน (หน้า 5)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ด้วยเหตุที่การเคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองลำพูนของกลุ่มยองเป็นการยกเข้ามาทั้งโครงสร้างของสังคม คนยองจึงยังคงยึดมั่นและรักษาลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม เช่น ภาษาพูด การบูชาผีเมือง ความเชื่อและการเซ่นสรวงในวิญญาณบรรพบุรุษผสมผสานควบคู่กับการนับถือพระพุทธศาสนา (หน้า 3) ประมาณเดือนเมษายนของทุกปีจะมีการเซ่นสรวงเลี้ยงผีเมืองยองด้วยเนื้อควายดำสด พร้อมกับเครื่องเซ่นไหว้อื่นๆ มีการเก็บรวบรวมเงินเพื่อนำไปใช้ในการประกอบพิธีกรรม (หน้า 5)

Education and Socialization

การใช้ประโยชน์จากยาสมุนไพรของชาวบ้าน มีการถ่ายทอดความรู้มาตั้งแต่บรรพบุรุษโดยการถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ที่สนใจในแต่ละรุ่น โดยอาจได้รับความรู้จากบิดา มารดา เครือญาติและหมอพื้นบ้านซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุในรูปของตำรายาหรือโดยวิธีการจำจากคำบอกเล่าและนำไปปฏิบัติจริง (หน้า 1-2)

Health and Medicine

จากการสำรวจในบางบริเวณของป่าชุมชนทุ่งยาว ตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูนพบพืชสมุนไพรที่ชาวบ้านนำมาใช้ประโยชน์ทั้งหมด 38 ชนิด จัดอยู่ใน 32 สกุล 22 วงศ์ โดยจัดจำแนกพืชสมุนไพรตามสรรพคุณเป็น 5 กลุ่มใหญ่คือ พืชที่ใช้เป็นยาใช้ภายนอก ได้แก่ พืชที่มีสรรพคุณในการรักษาแผลสด แผลเรื้อรัง ผื่นคัน เช่น ต้นน้อยหน่า เปล้าตองแตก เอื้องหมายนา สาบเสือ เต็ง หญ้าขัดมอญผักดีดและมะขาม พืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณเป็นยาเกี่ยวกับทางเดินอาหารและอวัยวะภายใน ได้แก่ พืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณเป็นยาระบาย แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ แก้ริดสีดวงทวาร และเป็นยาที่ใช้หลังคลอด เช่น ต้นคูน (ราชพฤกษ์) ขี้เหล็ก ตำลึง เครืออ่อน เปล้าหลวง และฮากเหลือง พืชที่ใช้เป็นยาแก้ไอและแก้ปวดเมื่อย ได้แก่ พืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณเป็นยารักษาอาการปวดเมื่อย ร้อนใน เป็นไข้ รวมถึงเป็นยาชูกำลัง เช่น ต้นก้างปลา โด่ไม่รู้ล้ม กะตังใบ ไมยราบ เพกา ลูกใสต้ใบและมะแว้งเครือ เป็นต้น พืชที่ใช้เป็นเครื่องสำอาง ได้แก่พืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการรักษาหน้าให้ขาวนวลหรือทำให้เส้นผมดกดำ เป็นต้น เช่น ต้นพันงู ตะมองคอง กระแจะจันทน์และงา พืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณอื่น เช่น ต้นปิ้ง กิ่งและใบช่วยฆ่าพยาธิ จันขาง เปลือกอ่อนข้างในลำต้นช่วยแก้ร้อนในหรือนำไปเข้ายารักษาโรคขางซางหรือตานขโมย รางจืด ช่วยแก้พิษตกค้าง พิษจากสารเคมี รักษาโรคเบาหวาน แก้อาการเมาค้างและเถาช่วยให้สุนัขที่ถูกงูกัดไม่ตาย (หน้า 18-22)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ตาราง - พืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณเป็นยาใช้ภายนอก(19) - พืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณเป็นยาเกี่ยวกับทางเดินอาหารและอวัยวะภายใน(19) - พืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณแก้ไข้และแก้ปวดเมื่อย(21) - พืชสมุนไพรที่ใช้เป็นเครื่องสำอาง(22) - พืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณอื่นๆ (22) ภาพ - ที่ตั้งเมืองยองและเมืองต่างๆ ที่อยู่ระหว่างแม่น้ำสาละวินและแม่น้ำโขง(4) - แผนภาพป่าชุมชนทุ่งยาวและหมู่บ้านทุ่งยาว กำหนดบริเวณที่ทำการศึกษา(15)

Text Analyst สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ Date of Report 04 พ.ย. 2549
TAG ยอง, พืชสมุนไพร, ป่าชุมชน, ลำพูน, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง