สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลื้อ,ทอผ้า,ผ้าเช็ด,พะเยา,เชียงราย
Author แก้วพรรณกัลยา กัลยาณมิตร
Title การศึกษารูปแบบลวดลายผ้าเช็ดไทลื้อในเขตจังหวัดเชียงรายและจังหวัดพะเยา
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ไทลื้อ ลื้อ ไตลื้อ, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Total Pages 138 Year 2542
Source หลักสูตรศิลปบัณฑิต(ศิลปะไทย) ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract

ผ้าเช็ดของไทลื้อสามารถจำแนกได้เป็น 3 อย่างคือ ผ้าเช็ดหลวง ผ้าเช็ดธรรมดาและผ้าเช็ดน้อย จำแนกตามขนาดและประโยชน์ใช้สอย โดยทั่วไปจะไม่มีขนาด ลวดลาย และสัดส่วนที่แน่นอน แต่พอสรุปได้ว่า ผ้าเช็ดจะมีลาย 2 ข้างที่เหมือนกัน โดยที่ตรงกลางจะเว้นว่างหรืออาจจะใส่ลายเล็กน้อยเพื่อให้รู้ว่าต้องทอลายเดิมกลับไปอีกด้านหนึ่ง โดยจะมีการแบ่งช่องลายไม่เท่ากันแล้วแต่ขนาดของลายดอกที่มาตกแต่ง โดยเห็นความสวยงามเป็นหลัก ผ้าเช็ดเป็นผ้าที่ใช้ในพิธีกรรมเป็นส่วนมาก ไม่นิยมใช้ในชีวิตประจำวัน แต่เดิมผู้ชายไทลื้อจะใช้พาดบ่าเวลาไปงานบุญที่วัด ปัจจุบันจะทำเป็นครัวทานและกลายมาเป็นของที่ระลึกใช้เป็นของตกแต่ง รองภาชนะต่าง ๆ แต่ได้ดัดแปลงมาเป็นผ้าพาดไหล่ทั้งหญิงและชาย ซึ่งเป็นที่นิยมมากโดยเฉพาะการทำลวดลายให้เข้ากับผ้าซิ่น ปัจจุบันการใช้ผ้าพาดไหล่ลักษณะคล้ายสไบนั้น เริ่มจากที่ผู้ชายใช้พาดบ่าไปวัด ต่อมามิได้ใช้เฉพาะไปวัด ดังนั้นประโยชน์ในการเช็ดก็น้อยลงกลายเป็นเพียงของตกแต่งเท่านั้น ต่อมามีการทำเป็นลวดลายต่าง ๆ ที่ไม่เป็นตามความเชื่อและผู้หญิงเริ่มนำมาพาดบ่าด้วยโดยนำสีที่เข้ากับผ้าซิ่นและมีการทอให้มีลวดลายคล้ายผ้าซิ่น โดยไม่มีแบบแผนของผ้าเช็ดเดิม ส่วนลวดลายต่างๆ ก็มีการดัดแปลงเติมลวดลายตกแต่งมากขึ้นและมีการนำลายประยุกต์มาใส่มากขึ้น

Focus

ศึกษาประวัติความเป็นมา กระบวนการผลิต การใช้วัสดุ รูปแบบลวดลายแบบแผนทางศิลปกรรมและเทคนิคต่าง ๆ ในการทำผ้าเช็ดของไทลื้อในเขตจังหวัดเชียงรายและจังหวัดพะเยา ตลอดจนแนวโน้มของการทำผ้าเช็ดและการนำมาประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ไทลื้อ

Language and Linguistic Affiliations

"ลื้อ" เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูลไท (หน้า 4)

Study Period (Data Collection)

พ.ศ. 2542

History of the Group and Community

"ลื้อ" เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ตระกูลไท อาศัยในเขตสิบสองปันนา ตอนใต้ของมณฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนและบริเวณภาคตะวันออกของรัฐฉาน ในเขตเมืองยอง ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า ไทลื้อได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานตามหัวเมืองต่าง ๆ ในภาคเหนือตามนโยบาย "เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง" ของเจ้าผู้ครองนครในอดีต ดังนั้นในปัจจุบันจึงมีไทลื้อกระจายอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ ทางภาคเหนือ ได้แก่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน เชียงรายและจังหวัดพะเยา นอกจากนี้ลื้อบางกลุ่มยังอพยพเข้ามาเพิ่มเติมเพื่อลี้ภัยทางการเมืองจากจีน ที่เปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระบบคอมมิวนิสต์และแสวงหาที่ทำกินที่เหมาะสม (หน้า 4) การศึกษาความเป็นมาของไทลื้อในอำเภอเชียงม่วนมีความเกี่ยวพันกับประวัติอันยาวนานของไทลื้ออื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย อำเภอท่าวังผ้า จังหวัดน่าน การสอบถามผู้สูงอายุในปัจจุบัน ก็ไม่มีใครยืนยันหรือมีเอกสารบันทึกไว้ เพียงแต่มีการบอกเล่าต่อ ๆ กันมา (หน้า 25)

Settlement Pattern

ไทลื้อตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นกลุ่มใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำปลูกบ้านใต้ถุนสูง (หน้า 5-6)

Demography

ปี พ.ศ. 2399 พระเจ้าสุริยผริตเดชได้กวาดต้อนไทลื้อมาไว้ในเขตจังหวัดน่านประมาณ 2,000 คน (หน้า 26)

Economy

สังคมไทลื้อเป็นสังคมเกษตรกรรมเช่นเดียวกับล้านนา บ้านทุกหลังมีการปลูกผักไว้กินเอง เลี้ยงวัวควายไว้ไถนาและเลี้ยง หมู เป็ด ไก่ (หน้า 5-6) นอกจากนี้ ยังมีการทำไร่ยาสูบ ข้าวโพด ข้าวฟ่างและมะเขือเทศ (หน้า 29)

Social Organization

ไทลื้อเคารพและเชื่อฟังผู้อาวุโสกว่า โดยเฉพาะผู้หญิงจะเคารพยกย่องผู้ชายมากเป็นพิเศษด้วยความเชื่อว่า ผู้ชายเป็นเพศพระ (หน้า 5)

Political Organization

ปี พ.ศ. 2504 บ้านท่าฟ้าได้มีการแบ่งการปกครองโดยแยกหมู่บ้านที่อยู่ฝั่งตรงกันข้ามกับลำห้วยข้าด้านทิศตะวันตก เป็นบ้านหล่าย หมู่ที่ 6 (หน้า 30)

Belief System

ไทลื้อมีการเลี้ยงผีฝายเพื่อเป็นสิริมงคล ถ้าปีไหนเห็นว่าข้าวไม่เจริญเติบโตเต็มที่จึงต้องมีการเรียกขวัญข้าว ถ้าในฤดูเก็บเกี่ยวข้าวได้ผลผลิตเป็นที่พอใจก็จะมีการทำพิธีสู่ขวัญข้าวใหม่ ไทลื้อมีการทำพิธีสืบชะตาคนและสืบชะตาหมู่บ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล วันขึ้นปีใหม่ของไทลื้อจะมีระหว่างวันที่ 13-18 เมษายนของทุกปี (หน้า 6) ไทลื้อนับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่ (หน้า 23)

Education and Socialization

ในเขตหมู่บ้านท่าฟ้า มีสถานที่ดูแลเด็กเล็กของศูนย์พัฒนาเด็ก กรมพัฒนาชุมชน ซึ่งก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2482 (หน้า 29)

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

เสื้อที่เป็นเอกลักษณ์ของหญิงชราไทลื้อคือ "เสื้อปั๊ด" เป็นเสื้อสีดำครามแขนยาว ตัวเสื้อรัดรูป เอวลอย มีสาบหน้าเฉียงมาผูกติดกันด้วยด้านสั้นหรือแถบผ้าเล็กๆ ตรงมุมด้านซ้ายหรือขวาของลำตัว เสื้อของสตรีที่มาจากเมืองเงิน ประเทศลาวจะมีลักษณะพิเศษคือ นิยมแต่งสาบด้วยแถบผ้าลายจกซึ่งมี 2 แบบด้วยกัน ถ้าเป็นเสื้อที่ใส่ในโอกาสพิเศษหรือใส่ในฤดูหนาวจะมีผ้าสีแดงซับในเรียกว่า "เสื้อกับหลองแดง" เสื้อของชายไทลื้อจะมีลักษณะคล้ายเสื้อหม้อห้อมของไทยวนคือเป็นเสื้อแขนยาวสีดำคราม บางตัวมีลักษณะพิเศษคือเอวลอย ขลิบด้วยแถบผ้าสีต่างๆ มีผืนผ้าเย็บต่อจากสาบหน้าป้ายมาติดกระดุมเงินทั้งส่วนตรงใกล้รักแร้และส่วนเอว สำหรับเสื้อชายไทลื้อที่เมืองเงินจะเป็นเสื้อคอตั้งตกแต่งด้วยแถบผ้าที่มีลวดลายจก แต่โบราณ ไทลื้อนิยมโพกผ้าขาวแบบเคียนสำหรับไทลื้อเมืองเงินจะนิยมโพกผ้าสีดำ เป็นลักษณะเฉพาะและในโอกาสพิเศษจะสวมหมวกผ้าตกแต่งลวดลายแทนการโพกศีรษะ ไทเหนือและไทพวนมีภูมิลำเนาอยู่ในแถบที่มีอากาศหนาวเย็นในเขตประเทศลาวจึงนิยมสวมเสื้อสีดำครามแต่เมื่ออพยพเข้าล้านนาจึงรับเอาวัฒนธรรมการสวมเสื้อแบบคนไททั่วไปในล้านนา ผ้าทอมือสีน้ำเงินของไทลื้อเรียกว่า "ผ้าฮำ" ย้อมสีแบบสีม่อฮ่อมของคนไทล้านนา ส่วนผ้าถุงของไทลื้อเรียกว่าผ้าถุงลายน้ำไหล ลักษณะเด่นของผ้าซิ่นแบบไทลื้อ เป็นผ้าซิ่นแบบเย็บสองข้างติดกัน ลวดลายมักจะอยู่ตรงกลางของตัวซิ่น ส่วนตีนซิ่นมักจะเป็นสีพื้น ลวดลายขวางบนตัวซิ่นเกิดจากเส้นพุ่ง ลื้อแต่ละแห่งในล้านนาจะมีลักษณะการทอผ้าที่แตกต่างกันออกไป ผ้าซิ่นแบบไทยวนเป็นผ้าซิ่นแบบเย็บข้างเดียว มีลวดลายขวางบนตัวซิ่น ตีนซิ่นอาจเป็นผ้าพื้นธรรมดาสีแดงหรือดำหรือเป็นตีนจก ซึ่งมีลวดลายอยู่ตรงส่วนบนครึ่งท่อนของตีนซิ่น ผ้าซิ่นแบบลาว เป็นผ้าซิ่นแบบเย็บข้างเดียว ลวดลายบนตัวซิ่นเป็นลายทางยาวหรือเป็นลายมุก ตีนซิ่นอาจเป็นผ้าพื้นธรรมดาหรือตีนจกซึ่งมีลวดลายเต็มตลอดผืนของตีนซิ่น (หน้า 7-10 ) ผ้าเช็ดไทลื้อสามารถจำแนกได้เป็น 3 ขนาด ได้แก่ ผ้าเช็ดหลวง ลักษณะคล้ายตุง กว้าง 15-30 เซนติเมตร ยาว 2-3 เมตร นิยมทำถวายวัดเช่นเดียวกับตุง ไม่มีไม้ไผ่คั่นและไม่มีรูปราสาทแบบตุง ลวดลายบนผ้าใช้วิธีการเก็บขิดด้วยไม้ค้ำเป็นช่วงๆ ผืนผ้าเช็ดหลวงจะเป็นผ้าฝ้ายสีขาวลวดลายที่เกิดเส้นพุ่งจะมีหลายสี ลักษณะคล้ายกับผ้าเช็ดของไทลื้อที่สิบสองปันนา ผ้าเช็ด เป็นผ้าผืนยาวประมาณ 1-1.50 เมตร กว้างประมาณ 15-40 เซนติเมตร ใช้สำหรับผู้ชายพาดไหล่เวลาเข้าวัดหรืองานพิธีกรรมต่าง ๆ วิธีการพาดบ่า จะพับ 2-3 ทบ พับด้านยาวให้เหลือครึ่งหนึ่งแล้วพาดบนไหล่ ผ้าเช็ดน้อย เป็นผ้าฝ้ายสีขาว กว้างประมาณ 15-20 เซนติเมตร ยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร มีลายขิดขนาดเล็กเป็นริ้วตรงชายผ้า 2 ข้าง ใช้เป็นผ้าเช็ดหน้า ไทยวนทั้งผู้ชายและผู้หญิงเวลาไปวัดจะใช้ผ้าผืนสีขาวตกแต่งเป็นพิเศษ ผู้ชายจะพาดไหล่แบบเดียวกับการพาดเฉียงที่เรียกว่า "สะหว้ายแล่ง" หรือ "เบี่ยงบ้าย" ผ้าเช็ดเป็นเอกลักษณ์ของไทลื้อที่นิยมติดตัว มีลักษณะผ้าพื้นสีขาวมีลายสีแดงสลับดำหรือน้ำเงินเข้ม นิยมทำลายรูปสัตว์ สลับกับลายเรขาคณิต ลายดอกไม้เป็นแถวๆ ลายหงส์ ลายช้าง ลายม้า เป็นต้น โดยที่หญิงจะทอให้ชายคนรักใช้พาดบ่าไปวัด (หน้า 16-18)

Folklore

ไทลื้อมีประเพณีการเล่นสาดน้ำสงกรานต์ และเรียกชื่อวันต่าง ๆ ในเทศกาลนี้เหมือนล้านนา คือ วันสังขารล่อง วันเน่า วันปากปี เคยมีประเพณีแห่เจ้าฟ้าออกมาสรงน้ำเหมือนการแห่เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ออกมาสรงน้ำในน้ำปิง มีประเพณีจุดบ้องไฟก่อนฤดูทำนา นิยมใช้คำนำหน้าชื่อผู้หญิงว่า "อี่" นำหน้าชายว่า "โอ่" เหมือนในล้านนา ส่วนการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทลื้อคือ การขับลื้อ เป็นการขับร้องที่มีจังหวะสัมผัสเป็นเอกลักษณ์ของไทลื้อโดยใช้ปี่เป็นดนตรีประกอบ การฟ้อนเจ้ง เป็นการฟ้อนก่อนการต่อสู้คล้ายการไหว้ครูก่อนชกมวย การเล่นมะกอน เป็นการเล่นสานสัมพันธ์รัก การเล่นโกงกาง ทำจากไม้ไผ่ต่อที่รองเหยียบสูงประมาณ 1 ฟุต การเล่นก้อปแก๊ป ทำจากกะลามะพร้าวร้อยเชือก (หน้า 6)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ผู้หญิงไทลื้อสุภาพเรียบร้อย ขยันทำงานบ้านและต้องทำนาทำไร่เคียงบ่าเคียงไหล่กับผู้ชาย (หน้า 5)

Social Cultural and Identity Change

ปัจจุบันไทลื้อสวมเสื้อผ้าไม่แตกต่างจากคนไทอื่น ๆ ในล้านนา (หน้า 7) แต่เดิมผู้ชายไทลื้อจะใช้ผ้าเช็ดพาดบ่าเวลาไปงานบุญที่วัด แต่ปัจจุบันกลายมาเป็นของที่ระลึกใช้เป็นของตกแต่ง รองภาชนะต่าง ๆ (หน้า 36)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

เทคนิคการทอผ้ามีหลายแบบ เช่น - มัดก่าน (มัดหมี่) คือการมัดลายที่ด้ายพุ่งด้วยเชือกก่อนนำไปย้อมสี ทำให้เกิดลวดลายต่าง ๆ บานด้ายเส้นพุ่งก่อนนำไปทอเป็นผืน - จก เป็นเทคนิคการเพิ่มเส้นด้ายพุ่งพิเศษเข้าไปเป็นช่วงๆ ไม่ติดต่อกันตลอดหน้ากว้างของผ้า โดยใช้ไม้หรือขนเม่นหรือนิ้วมือยกหรือจกดานเส้นยืดขึ้นสอดใส่คล้ายเส้นพุ่งพิเศษเข้าไป - ขิด เป็นเทคนิคการเพิ่มเส้นด้ายเส้นพุ่งพิเศษเข้าไปเช่นเดียวกับจก แต่ลายขิดทำติดต่อตลอดหน้ากว้างของผืนผ้าโดยไม้ค้ำหรือเขาที่ทำเป็นพิเศษนอกจากเขาที่ทอแบบธรรมดา - ยกดอก เป็นเทคนิคการยกเขาแยกเส้นยืนขึ้นลงแต่ไม่ได้เพิ่มด้ายเส้นพิเศษเข้าไปในผืนผ้าเช่นการจก - เกาะหรือล้วง เป็นการทอที่ไม่ได้ใช้ด้ายเส้นพุ่งฮอดใส่จากริมผ้าด้านหนึ่งไปอยู่อีกริมผ้าด้านหนึ่งตามแบบพิธีการธรรมดา และไม่ใช้วิธีการทอโดยเพิ่มเส้นด้ายพุ่งพิเศษเข้าไปในเนื้อผ้า เช่น เทคนิคการจก - มุก เป็นเทคนิคการทอผ้าให้เกิดลายโดยเพิ่มเส้นด้ายยืนพิเศษกระทำโดยใช้เขาขึงด้ายเส้นยืดพิเศษไว้เหนือด้านเส้นยืนธรรมดา ลวดลายจะเกิดจากด้ายเส้นยืนพิเศษ (หน้า 10)

Map/Illustration

ภาพ - ลายช้าง(37) - ลายม้า(44) - ลายนาค 2 หัว(55) - ลายสิงห์(60) - ลายหงส์(61) - ลายนกยูง(62) - ลายนกน้อย(64) - ลายคน(65) - ลายวิหาร(66) - ลายโบสถ์(67) - ลายโบสถ์หลวง(69) - ลายโบสถ์กาบ(70) - ลายปราสาท(71) - ลายโบสถ์ขอ(72) - ลายจันใหญ่(73) - ลายดอกไม้(74) - ต้นดอกไม้ 4 ดอก 4 ใบ(75) - ลายบัวเครือ(76) - ลายดอกกระดุมหลวง(79) - ลายแก้วต่อม(80) - ลายสายสร้อย(81) - ลายคู้ไข้(83) - ลายผ้ากั้ง(84) - ลายตอกตกแต่ง(86) - ลายจันน้อย(87) - ลายช่อฟ้าเมฆไหล(88) - ลายดอกกุด,ตัวธรรม(89) - ลายเป้าตั้ง(92) - ลายขอ(93) - ลายกุญแจ(94) - ลายกาบน้ำ(95) - ลักษณะรูปแบบต่างๆ ของผ้าเช็ดจากตัวอย่างที่หามาได้ในพื้นที่ต่างกัน(101) - ลักษณะผ้าที่คล้ายกับผ้าเช็ดหน้า(106) - กันต์มะพร้าว(110) - ครัวทาน(111) - ผ้าเช็ดน้อย(112) - ผ้าเช็ดน้อยไม่ตัดใช้แทนตุง(114) - กระสวยผ้าเช็ด(115) - วิธีพับ(116)

Text Analyst สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ Date of Report 30 มี.ค 2561
TAG ลื้อ, ทอผ้า, ผ้าเช็ด, พะเยา, เชียงราย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง