สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject เมี่ยน,การอพยพ,การปรับตัว,เชียงใหม่
Author ประสิทธิ์ ลีปรีชา, ยรรยง ตระการธำรง และ วิสุทธิ์ เหล็กสมบูรณ์
Title เมี่ยน หลากหลายชีวิตจากขุนเขาสู่เมือง
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity อิ้วเมี่ยน เมี่ยน, Language and Linguistic Affiliations ม้ง-เมี่ยน
Location of
Documents
สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ห้องสมุดสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Total Pages 177 Year 2547
Source สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract

คณะผู้วิจัยได้สรุปว่า จากการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นทางประชากรเท่าที่สามารถตามสัมภาษณ์คนเมี่ยนที่มาทำงานอยู่ในเชียงใหม่ได้จำนวนทั้งหมด 306 คน คาดว่าไม่ถึงครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรเมี่ยนทั้งหมดส่วนใหญ่เป็นโสด อยู่ในวัยเรียนและวัยทำงาน นับถือความเชื่อดั้งเดิมมากกว่าศาสนาคริสต์ กว่าครึ่งหนึ่งของประประชากรประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว เช่น ขายน้ำเต้าหู้ ไก่ทอด ไอศกรีม ฯลฯ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับครอบครัวและยังมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสมาชิกในครัวเรือนและชุมชนต้นทางโดยมีการกลับไปเยี่ยมโดยเฉพาะในเทศกาลและพิธีกรรมสำคัญๆ รวมทั้งส่งเงินกลับไปช่วยเหลือพ่อแม่และญาติพี่น้องในหมู่บ้านนอกจากกลุ่มเครือญาติแล้วคนเมี่ยนที่อพยพเข้ามาอยู่ในเมืองยังมีการรวมกลุ่มกันตามลักษณะอาชีพแห่งที่พักอาศัยเพื่อพบปะสังสรรค์ ช่วยเหลือซึ่งกันและกันและออกบำเพ็ญประโยชน์แก่คนในชุมชนต้นทางเป็นครั้งคราว (หน้าจ) การอพยพเข้ามาสู่เมืองอย่างมากมายในช่วงสิบปีที่ผ่านมาเป็นผลจากระบบการศึกษาสมัยใหม่ที่มุ่งผลิตคนเข้าสู่ภาคบริการและอุตสาหกรรม นโยบายของรัฐที่บีบบังคับให้คนออกจากป่าภายหลังที่จบสิ้นการสู้รบกับคอมมิวนิสต์ และความตกต่ำของราคาพืชผลทางการเกษตรหลังวิกฤตเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ทุนทางสังคมหลายอย่างของคนเมี่ยนเป็นพื้นฐานสำคัญที่ช่วยเอื้อให้คนเมี่ยนสามารถปรับตัวเข้ากับอาชีพและวิถีชีวิตในเมืองได้เป็นอย่างดี (หน้า ฉ)

Focus

หนังสือเล่มนี้ได้นำเสนอข้อมูลพื้นฐานทางประชากร วิถีชีวิตการปรับตัวของกลุ่มชาติพันธุ์เมี่ยน (เย้า) ที่เข้ามาอยู่ในตัวเมืองเชียงใหม่อำเภอใกล้เคียง นอกจากจะสำรวจและทำความเข้าใจลักษณะทั่วไปของคนเมี่ยนในเมืองเชียงใหม่ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันแล้ว ทางคณะผู้วิจัยยังได้พยายามโยงให้เห็นถึงบริบททางประวัติศาสตร์ระบบความเชื่อ วิถีชีวิตและอิทธิพลของรัฐชาติและกระแสโลกาภิวัฒน์ที่มีผลต่อการอพยพเข้าสู่เมืองและความสามารถในการปรับตัวอย่างรวดเร็วของคนเมี่ยน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความคิดและความพยายามของคนเมี่ยนในการรวมกลุ่มและดำรงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์(หน้า จ)

Theoretical Issues

คณะผู้วิจัยได้ใช้การศึกษาวิจัยแนวชาติพันธุ์วรรณา (ethnography) 8 กรณีศึกษา (case studies) โดยให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์บริบททางสังคมวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์เฉพาะอย่างยิ่ง การเปลี่ยนแปลงทางวิถีการผลิตภายใต้ผลกระทบจากการพัฒนาของรัฐอีกทั้งยังวิเคราะห์อำนาจต่อรองของคนเมี่ยนในการนำเอาทุนทางสังคมวัฒนธรรมต่างๆ มาปรับใช้ในการเผชิญหน้ากับอาชีพและวิถีชีวิตในสังคมเมืองนอกจากนี้ คณะผู้วิจัยยังได้ให้ความสำคัญกับมุมมองของคนเมี่ยนในเมืองที่มีต่ออัตลักษณ์ ทางชาติพันธุ์ซึ่งกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว(หน้า 173) "เมี่ยน" หรือ "เย้า" ที่อพยพเข้ามาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่ามาประกอบอาชีพต่างๆ อย่างหลากหลาย และบางอาชีพแทบไม่สัมพันธ์กับอาชีพเดิม ไม่มีลวดลายของเครื่องแต่งกายในชีวิตประจำวันชิ้นใดเลยที่บ่งบอกถึงความเป็นคนเมี่ยน แม้แต่ภาษาก็เริ่มสูญหาย โดยเฉพาะในหมู่เยาวชนและเด็กรุ่นใหม่ (หน้า 172) ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนี้เป็นผลมาจากบริบททางประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ทั้งในและนอกกลุ่มชาติพันธุ์เมี่ยน โดยเฉพาะผลซึ่งมาจากการพัฒนาของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายสนับสนุนการปลูกฝิ่นในระยะแรกแล้วปรับเปลี่ยนมาตัดทำลายในระยะหลัง การปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ การประกาศขยายเขตพื้นที่อนุรักษ์โดยกรมป่าไม้ทับที่ทำกินของชาวบ้าน เหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคสำคัญต่อเมี่ยนและคนบนดอยทั้งหลายในการทำการเกษตรบนพื้นที่สูง(หน้า 172) อย่างไรก็ตาม คนเมี่ยนก็มีทุนทางสังคมและวัฒนธรรมทางความคิดหลายอย่าง เช่น ทักษะในการใช้ตัวหนังสือในการจดบันทึกเรื่องราวพิธีกรรมและประวัติศาสตร์ของตนเองในอดีต ได้ปรับนำมาใช้กลายเป็นทุนทางสังคมในการจดบันทึกรายละเอียดลูกค้าและการคิดคำนวณในระบบบัญชี ที่มากไปกว่านั้นคือ วัฒนธรรมความเชื่อที่ได้รับจากชาวจีนกวางตุ้งและระบบจักรวาลวิทยาของเมี่ยน ทำให้ต้องขยันขันแข็งทำมาหากินเพื่อตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ แสวงหาความร่ำรวยเพื่อความสุขและชื่อเสียงบารมีสำหรับตนเองในโลกนี้ นอกจากนั้น ยังเป็นการสะสมผลบุญสำหรับชีวิตภายหลังความตายด้วย โดยมีเงินเป็นปัจจัยหลักในการบรรลุถึงสิ่งเหล่านี้ (หน้า 174-175) ระบบเครือญาติเป็นทุนทางสังคมที่สำคัญของเมี่ยนที่อพยพลงมาในระยะเริ่มต้น และขยายความสัมพันธ์ข้ามพรมแดนรัฐชาติไปยังกลุ่มเมี่ยนอพยพในประเทศตะวันตก เช่น สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส และการแต่งงานกับชาวต่างชาติ ทั้งนี้ ความสัมพันธ์กับหมู่บ้านต้นทางบนดอยก็ยังดำรงอยู่ สังเกตได้จาก จะมีการส่งเงินและสิ่งของเครื่องใช้กลับไปช่วยพ่อแม่ญาติพี่น้องที่ยังอยู่ในหมู่บ้านอย่างสม่ำเสมอ และกลับไปร่วมพิธีสำคัญๆ เช่น เทศกาลปีใหม่ (หน้า 175-176) ปรากฏการณ์การอพยพเข้าสู่เมืองของกลุ่มชาติพันธุ์เมี่ยนและความสามารถในการปรับตัวเข้ากับวิถีชีวิตแบบในเมืองได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการทำการค้า ทำให้มีฐานะทางเศรษฐกิจค่อนข้างดี บางส่วนที่เข้ามานานแล้วจึงสามารถเช่าหรือซื้อบ้านในเมืองได้ จึงหายากมากที่จะพบครอบครัวเมี่ยนอาศัยอยู่ในชุมชนแออัด(หน้า 176) อย่างไรก็ตาม เมี่ยนก็ต้องยอมสูญเสีย/เก็บกดอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์บางอย่าง เช่น ภาษา ความรู้เรื่องพิธีกรรม การแต่งกายและทักษะการปักลวดลายตามจารีตประเพณีของพวกตน(หน้า 172)

Ethnic Group in the Focus

กลุ่มชาติพันธุ์อิวเมี่ยน หรือภาษาราชการเรียกว่า "เย้า" ที่อพยพเข้ามาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

Language and Linguistic Affiliations

พูดภาษาในตระกูลแม้ว-เย้า เป็นกลุ่มภาษาย่อยในตระกูลภาษาจีน-ธิเบต (หน้า 2)

Study Period (Data Collection)

มกราคม - พฤษภาคม 2546 (หน้า 70)

History of the Group and Community

เมี่ยนเป็นชนกลุ่มน้อยโบราณที่อาจมีอายุเก่าแก่เท่ากับกลุ่มชาวฮั่นหรือชาวจีนมีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณหุบเขาลุ่มแม่น้ำเหลือง (หวงเหอ) ทางตอนเหนือของประเทศจีนเมื่อหลายพันปีมาแล้วต่อมาได้ถูกรุกรานจากภัยทางการเมืองหลายต่อหลายครั้ง โดยส่วนหนึ่งได้อพยพเข้ามาในประเทศ ลาว เวียดนาม และไทย (หน้า 4-5)

Settlement Pattern

อิวเมี่ยนที่อพยพเข้ามาในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอใกล้เคียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหลังจากการประกาศเขตอนุรักษ์ป่าของรัฐทับที่ทำกินของชาวบ้าน นับตั้งแต่กลางทศวรรษ 2520 เป็นต้นมา (หน้า 174) ที่พักอาศัย - จากจำนวนประชากรเมี่ยนในเมืองที่ทราบแน่นอนเกี่ยวกับที่พักอาศัย พบว่าส่วนใหญ่เข้ามาเช่าบ้านหรือหอพักเพื่ออยู่อาศัย รองลงมาเป็นกลุ่มที่พักอยู่ในบ้านพักหรือหอพักที่ไม่ต้องเสียค่าเช่า ซึ่งเป็นโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ วัด และหอพักที่ให้บริการโดยองค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรศาสนา ส่วนกลุ่มที่อยู่ในบ้านที่มีโฉนด (อาจซื้อแล้วเช่าอยู่) นั้นมีเพียง 19 คน จะเป็นที่น่าสังเกตว่าข้อมูลจากการสำรวจครั้งนี้ไม่พบคนเมี่ยนอาศัยอยู่ในบ้านที่ไม่มีโฉนดหรือแหล่งชุมชนแออัดแต่อย่างใด (หน้า 77) - เมื่อพิจารณาตามลักษณะของการอยู่อาศัยของแต่ละบุคคล พบว่ากว่าครึ่งหนึ่งเป็นกลุ่มที่อาศัยอยู่กับครอบครัวในเมือง รองลงมาคือกลุ่มที่อยู่หอพักหรือบ้านเช่าที่มีกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันอยู่ด้วย (แต่ไม่มีสมาชิกในครอบครัวอยู่ด้วย) ส่วนกลุ่มที่มาอาศัยอยู่กับญาตินั้นมีเพียงสองคน(หน้า 77) - ครึ่งหนึ่งของประชากรเมี่ยนในเมืองนั้น พักอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ รองลงมาคืออำเภอแม่ริม เนื่องจากมีกลุ่มที่เข้ามาเป็นช่างทองและกลุ่มนักเรียนอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว นอกจากนั้น กระจายกันไปตามพื้นที่อำเภอสันทราย สารภี หางดง สันกำแพง และดอยสะเก็ด ตามลำดับ(หน้า 78) - เมื่อจำแนกลงไปในรายละเอียดของแต่ละกลุ่มอายุ พบว่ากลุ่มอายุระหว่าง 11-20 ปีนั้น เป็นหญิงมากกว่าชายถึง 20 คน นอกจากนั้น กลุ่มอายุอื่นๆมีสัดส่วนของหญิงและชายใกล้เคียงกัน (หน้า 79) - ในกลุ่มที่เป็นนักเรียนนักศึกษา พบว่ากลุ่มที่เรียนระดับอนุบาล ประถม และอาชีวศึกษานั้น อาศัยอยู่กับครอบครัว มากกว่าอยู่หอพัก ส่วนกลุ่มที่เรียนระดับมัธยมนั้น อยู่หอพักมากกว่าอยู่กับครอบครัว ที่น่าสนใจคือกลุ่มที่เรียนระดับอุดมศึกษานั้น ไม่มีใครที่พักอาศัยอยู่กับครอบครัวของตัวเองเลย (หน้า 85)

Demography

จำนวนประชากรตัวอย่างที่สามารถเก็บรวบรวมมาได้ในครั้งนี้มีทั้งหมด 306 คน แต่เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของกลุ่มที่คณะผู้วิจัยสามารถเข้าถึงได้โดยคาดว่าอาจจะไม่ถึงครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรเมี่ยนทั้งหมดในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่และอำเภอใกล้เคียง (หน้า 70) จากข้อมูลประชากรตัวอย่างดังกล่าว สามารถแจกแจงได้ดังนี้ โครงสร้างประชากร - มีประชากรหญิงมากกว่าประชากรชาย คือ ร้อยละ 52.6 ต่อ 47.4 (หน้า 71) - มีประชากรกลุ่มอายุ 11-20 ปีมากที่สุด รองลงมาคือกลุ่มอายุ 21-30 ปี โดยสองกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่อยู่ในวัยเรียนและวัยทำงานเป็นหลัก ส่วนกลุ่มที่มีน้อยที่สุด คือกลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 51 ปีขึ้นไป (หน้า 71-72) สถานภาพการสมรส - ประชากรส่วนใหญ่ยังโสด โดยมีสัดส่วนของกลุ่มที่ยังโสด ต่อกลุ่มที่แต่งงานอยู่ที่ร้อยละ 57.2 ต่อ 42.8 (หน้า 72) - ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มที่ยังเป็นโสดหรือแต่งงานแล้ว ล้วนเป็นกลุ่มผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย (หน้า 79) รูปแบบการอพยพ - เฉพาะในส่วนของคนที่รู้แน่ว่าเข้ามาปี พ.ศ. ไหนนั้น จากการสำรวจพบว่า กลุ่มประชากรเมี่ยนมีการอพยพเข้ามาในเมืองเพิ่มมากขึ้นในระยะหลังมานี้ และมีแนวโน้มว่านับวัน มีแต่จะเพิ่มมากขึ้น และมีการอพยพเข้ามาเป็นครอบครัวมากขึ้นด้วย (หน้า 75) - เมื่อพิจารณาตามจังหวัดต้นทางที่อพยพมา พบว่าเป็นกลุ่มที่มาจากจังหวัดเชียงรายมากที่สุด รองลงมาคือน่านและพะเยา กำแพงเพชร ลำปาง เชียงใหม่และตาก ตามลำดับ(หน้า 76) - ไม่ว่าจะเป็นการอพยพช่วงระยะเวลา พ.ศ. ใดก็ตาม ล้วนเป็นกลุ่มผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย(หน้า 81) - เมื่อพิจารณาตามกลุ่มอายุ พบว่ากลุ่มที่อพยพเข้ามาระหว่างปี พ.ศ. 2521 ถึงปัจจุบันนั้นเป็นกลุ่มวัยรุ่นที่มีอายุระหว่าง 11-20 ปีมากที่สุด รองลงมาคือกลุ่มที่มีอายุระหว่าง 21-30 ปี ส่วนกลุ่มที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปนั้น มีแนวโน้มว่าจะเข้ามาในเมืองลดน้อยลงไป โดยยังไม่มีแม้แต่คนเดียวที่อพยพเข้ามาระหว่างปี พ.ศ. 2541-2546 (หน้า 83) -ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มที่นับถือความเชื่อดั้งเดิมกับพุทธ หรือกลุ่มที่นับถือศาสนาคริสต์ก็ตามประชากรเมี่ยนที่อพยพเข้ามาในเมือง ล้วนเป็นกลุ่มผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย(หน้า 79)

Economy

ก่อนหน้าปี พ.ศ. 2502 รัฐบาลไทยยังมีนโยบายให้เมี่ยนและคนดอยกลุ่มอื่นๆ ปลูกฝิ่นเพื่อนำฝิ่นดิบป้อนโรงฝิ่นในประเทศ จากการที่เศรษฐกิจของเมี่ยนมีรายได้หลักมาจากการปลูกฝิ่นเช่นนี้ การตั้งถิ่นฐานของคนเมี่ยนในระยะนั้นจึงเลือกเอาพื้นที่บนภูเขาที่มีภูมิอากาศเหมาะสมแก่การปลูกฝิ่นเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม พื้นที่สูงดังกล่าวก็เป็นที่ห่างไกลจากรัฐฝ่ายคอมมิวนิสต์ก็อาศัยพื้นที่เหล่านี้หลบซ่อนและปฏิบัติงานเช่นกัน ดังนั้น ในช่วงทศวรรษ 2510 เมื่อรัฐบาลทำการกวาดล้างคอมมิวนิสต์อย่างหนักเมี่ยนหลายหมู่บ้านจึงต้องหนีภัยลงมาอยู่ในพื้นราบมากขึ้น และหันมาปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่น ในขณะที่บางคนกลายเป็นพ่อค้าคนกลางระหว่างชุมชนเมี่ยนกับตลาดในเมืองและบางคนก็หันไปทำเครื่องประดับเงินเพื่อขายให้กับกลุ่มลูกค้าที่ไม่ใช่คนเมี่ยน จนภายหลังได้ยกระดับขึ้นมาทำเครื่องประดับทอง ในส่วนของคนเมี่ยนที่ยังยึดถืออาชีพเกษตรกรเป็นหลักนั้นเมื่อภัยคอมมิวนิสต์สงบลงรัฐบาลก็ได้ประกาศเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ทับที่อยู่อาศัยและที่ทำกินของพวกเขา ส่งผลต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรมของเมี่ยนอย่างมาก หลายครอบครัวถูกบังคับให้อพยพออกจากพื้นที่เดิมไปยังที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติน้อยกว่า คนเมี่ยนเหล่านี้ จำนวนมากต้องอพยพเข้าสู่เมืองเพื่อประกอบอาชีพต่างๆ เช่น ขายน้ำเต้าหู้ ก๋วยเตี๋ยว และอื่นๆ ที่เป็นเจ้าของกิจการเองเป็นหลัก (หน้า 173-174) การประกอบอาชีพ - ในส่วนของคนที่กำลังประกอบอาชีพอยู่ขณะที่ทำการสำรวจนั้น จากจำนวนทั้งหมด 149 คน พบว่าร้อยละ 61.7 เป็นกลุ่มที่ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว เช่น ขายน้ำเต้าหู้ ก๋วยเตี๋ยว ไก่ทอด ฯลฯ ซึ่งมีจำนวนมากที่สุด รองลงมา เป็นกลุ่มพนักงานบริษัทและองค์กรพัฒนาเอกชน ส่วนกลุ่มที่รับราชการนั้น มีเพียง 2 คน (หน้า 74) - เป็นที่น่าสังเกตว่า ในกลุ่มประชากรเมี่ยนที่สำรวจได้มานั้น มีเพียงสองคนที่รับราชการ และทั้งสองคนนั้นเป็นหญิง เช่นเดียวกับกลุ่มที่ประกอบธุรกิจส่วนตัวนั้น เป็นหญิงมากกว่าชาย ส่วนกลุ่มที่เป็นพนักงานบริษัทและองค์กรพัฒนาเอกชนนั้นมีสัดส่วนระหว่างชายกับหญิงที่ใกล้เคียงกัน (หน้า 81) - ใน 2 คนที่รับราชการนั้น มีอายุระหว่าง 41-50 ปี ส่วนกลุ่มที่เป็นพนักงานบริษัทกับองค์กรพัฒนาอกชนและกลุ่มที่ประกอบอาชีพส่วนตัวนั้น ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีอายุระหว่าง 21-30 ปี รองลงมาเป็นกลุ่มที่มีอายุระหว่าง 31-40 ปี (หน้า 82) - ทั้งสองคนที่รับราชการนั้น เรียนจบระดับอาชีวศึกษาและปริญญาตรี ส่วนกลุ่มที่เป็นพนักงานบริษัทกับองค์กรพัฒนาอกชนและกลุ่มที่ประกอบอาชีพส่วนตัวนั้น มีคนที่ไม่เคยเรียนหนังสือเลยมากที่สุด รองลงมาเป็นกลุ่มที่เรียนจบระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา(หน้า 86)

Social Organization

ในสังคมหรือชุมชนเมี่ยนที่ยังทำการเกษตรเป็นหลักนั้นครอบครัวเมี่ยนโดยทั่วไปเป็นครอบครัวขยายมีสมาชิกไม่น้อยกว่า 4 รุ่น ครัวเรือนเมี่ยนเป็นครอบครัวขยายเพราะถือว่าคนคือแรงงาน บางครัวเรือนที่สามีภรรยาไม่สามารถมีลูกได้ก็มักจะซื้อเด็กกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ มาเลี้ยงดูตั้งแต่เป็นทารก นิยมซื้อเด็กชายเพราะสืบสกุลได้ และเมื่อเด็กเหล่านี้เติบโตขึ้นภายใต้วัฒนธรรมเมี่ยนก็ได้รับการยอมรับจากสังคมเมี่ยนอย่างสมบูรณ์ (หน้า15) ในสังคมเมี่ยน มีการแบ่งหน้าที่ระหว่างหญิงและชายอย่างชัดเจน โดยชายเป็นผู้นำทางสังคม ประเพณี และพิธีกรรม และชี้ขาดปัญหาสำคัญทุกอย่างในบ้าน ส่วนหญิงมีสถานภาพทางสังคมต่ำกว่าชาย มีหน้าที่เลี้ยงลูก ทำงานบ้าน ปรนนิบัติผู้สูงอายุ รวมถึงทำงานในไร่นาอีกด้วย (หน้า15) แต่ปัจจุบัน โครงสร้างทางสังคมและความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงไปตามบริบทและสภาพแวดล้อมของแต่ละชุมชน โดยชุมชนที่เข้าสู่ระบบตลาดและอาชีพนอกภาคเกษตร โครงสร้างและความสัมพันธ์ทางสังคมเหล่านี้ จะปรับเปลี่ยนไปอย่างมาก (หน้า15) เมี่ยนให้ความนับถือและสืบเชื้อสายทางฝ่ายชายโดยลูกถือแซ่สกุลตามพ่อ นับถือวิญญาณบรรพบุรุษของพ่อเว้นแต่ในกรณีที่คู่สามีภรรยาไม่มีลูกชายลูกเขยจะแต่งงานเข้ามาอยู่กับพ่อแม่ฝ่ายหญิง แล้วสืบเชื้อสายทางพ่อแม่ฝ่ายหญิงไม่มีข้อห้ามสำหรับการแต่งงานภายในแซ่เดียวกันขอเพียงแต่ให้อยู่คนละกลุ่มเครือญาติย่อย ก็สามารถแต่งงานกันได้ (หน้า 15-17) กลุ่มเครือญาติมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งถือเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานของทุกคนในชุมชน โดยเมี่ยนจะให้ความสำคัญกับญาติลำดับต่างๆ ดังนี้ 1.ญาติใกล้ (เชี่ยนฟัด) 2. ญาติห่างๆ (เชี่ยนไง) 3. ญาติทางการแต่งงาน (จ่าฟินเจี้ยว) 4. ญาติร่วมหมู่บ้าน(โต้งอั๋งจ่วงล่างเมี่ยนหมั่วต่อย) 5. ญาติร่วมเผ่า (เมี่ยมั่วต่อย) ถือเป็นที่พึ่งสุดท้าย และสำหรับแซ่ตระกูลของเมี่ยนในประเทศไทย เท่าที่พบมีทั้งหมด 12 แซ่ ซึ่งในแต่ละแซ่ตระกูลก็จะมีรุ่นของตระกูล (หน้า 17) ปัจจุบัน คนเมี่ยนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะคนที่เข้ามาอยู่ในเมือง ลักษณะเฉพาะของครอบครัวระบบแซ่ตระกูลและการนับเครือญาติดังกล่าวเริ่มเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด โดยมีปัจจัยด้านเศรษฐกิจ การย้ายถิ่นและการเปลี่ยนไปใช้นามสกุลไทย เป็นตัวแปรสำคัญ (หน้า16-18) นอกจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวแล้วในบรรดาประชากรเมี่ยนในเมืองที่คณะผู้วิจัยสำรวจมาทั้งสิ้น 306 คน พบว่า - มีจำนวนผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย (หญิง 161 ชาย 145 คน)(หน้า 71) - ส่วนใหญ่เป็นโสด (โสด175 แต่งงาน131 คน) (หน้า 72) - ร้อยละ33.3 อยู่ในกลุ่มอายุ 11-20 ปี รองลงไป ร้อยละ28.4 อยู่ในกลุ่มอายุ 21-30 ปี(หน้า 71) - ประกอบธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 61.7รองลงไปเป็นพนักงานบริษัทและองค์กรพัฒนาเอกชน ร้อยละ36.9 (หน้า 74) - นับถือผีบรรพบุรุษและพุทธศาสนาเป็นหลัก (265 คน) (หน้า76) - ร้อยละ 57.8 พักอาศัยอยู่กับครอบครัว(หน้า 77) - ร้อยละ 45.4 อาศัยในบ้านเช่าหรือหอพัก (หน้า 76)

Political Organization

ระบบโครงสร้างสังคมตามจารีตประเพณีของชุมชนเมี่ยนมีตำแหน่งหรือฝ่ายต่างๆ ได้แก่ 1. ผู้ปกครองหรือหัวหน้าหมู่บ้าน (ต้าวเมี่ยน, ล่างโก๋ หรือ ล่างเจี้ยว) โดยทั่วไปจะมาจากกลุ่มแซ่สกุลที่ใหญ่ที่สุดในหมู่บ้านหรือ เป็นผู้นำในการอพยพมาตั้งหมู่บ้าน 2. กลุ่มผู้อาวุโส 3. ผู้ประกอบพิธีกรรม (ซิบเมี้ยนเมี่ยน) 4. ช่างตีเหล็ก 5. ช่างเงิน 6. หมอยาสมุนไพร (เดียไซ) 7. หมอตำแย (หน้า 13-15)

Belief System

ความเชื่อของเมี่ยนเป็นการผสมผสานกันระหว่างความเชื่อเรื่องเทพสิ่งศักดิ์ในธรรมชาติกับบรรพบุรุษ และความเชื่อที่ได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิเต๋าเมื่อครั้งอพยพทางเรือในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันความเชื่อเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าวได้ลดน้อยลงไปมากเนื่องจากการย้ายถิ่นเข้ามาในเมือง และการรับศาสนาคริสต์และการผสมผสานกับพุทธศาสนา (หน้า 10) ความเชื่อทางศาสนา - ประชากรส่วนใหญ่ ร้อยละ 86.6 ยังคงนับถือความเชื่อดั้งเดิมกับศาสนาพุทธ รองลงมา ร้อยละ 13.1 นับถือศาสนาคริสต์ (หน้า 72) -ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มที่นับถือความเชื่อดั้งเดิมกับพุทธ หรือกลุ่มที่นับถือศาสนาคริสต์ก็ตาม ล้วนเป็นกลุ่มผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย(หน้า 79) - ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มที่ยังเป็นโสด หรือกลุ่มที่แต่งงานแล้วก็ตาม ล้วนนับถือความเชื่อแบบบรรพบุรุษและศาสนาพุทธ มากกว่ากลุ่มที่นับถือศาสนาคริสต์(หน้า 84) - ในทุกระดับการศึกษาของประชากรเมี่ยนที่ให้สัมภาษณ์นั้น ล้วนนับถือความเชื่อแบบบรรพบุรุษและศาสนาพุทธ มากกว่ากลุ่มที่นับถือศาสนาคริสต์(หน้า 84) เมี่ยนมีประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ มากมาย เป็นต้นว่า พิธีคุ้มครองลูกและแม่ขณะตั้งครรภ์ พิธีเกี่ยวกับการเกิดพิธีสู่ขวัญ พิธีบวช พิธีเกี่ยวกับการแต่งงาน พิธีศพพิธีฉลองปีใหม่ พิธีวันสารทจีนพิธีเซ่นไหว้ผีบ้านผีเมือง นอกจากนี้ เมี่ยนจะถือวันกรรม คือ วันที่ถูกกำหนดขึ้นมาตามความเชื่อของบรรพบุรุษโดยในวันกรรมนี้เมี่ยนจะหยุดงานหรือไมทำกิจกรรมบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับชื่อวันกรรมนั้นๆ นอกจากนี้ เมี่ยนยังมีพิธีทำขวัญข้าวพิธีที่ใช้ในการรักษาพยาบาล เช่น พิธีเรียกขวัญพิธีบนบาน อีกด้วย (หน้า 10-11)

Education and Socialization

การศึกษา - จากจำนวนประชากรทั้งหมด 306 คน พบว่าเป็นกลุ่มที่กำลังเรียนหนังสือ ทั้งหมด 133 คน โดยมีจำนวนมากที่สุด คือ กลุ่มที่เรียนอยู่ระดับมัธยมศึกษา (48 คน) รองลงมาเป็นกลุ่มที่เรียนระดับประถมศึกษา อุดมศึกษา อนุบาล และเด็กเล็ก และกลุ่มที่เรียนอาชีวะศึกษา ตามลำดับ (หน้า 73) - จบการศึกษาแล้ว 109 คนในจำนวนนี้ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา (35 คน) (หน้า 73) - ในกลุ่มที่ไม่ได้อยู่ในระหว่างเรียนหนังสือ พบว่ากลุ่มที่เรียนจบระดับประถมศึกษา กลุ่มที่ไม่เคยเรียนเลยกับกลุ่มที่เรียนจบระดับมัธยมศึกษานั้น มีอัตราส่วนใกล้เคียงกัน นอกจากนั้นเป็นกลุ่มที่เรียนจบระดับอุดมศึกษา (หน้า 74) - เฉพาะในกลุ่มนักเรียนนักศึกษา พบว่า ทุกระดับการศึกษา มีสัดส่วนของจำนวนผ้ชายกับผู้หญิงที่ใกล้เคียงกัน (หน้า 80) - สำหรับกลุ่มที่ไม่ได้เรียนหนังสือ ระหว่างที่ทำการสำรวจข้อมูลนั้น พบว่า ในกลุ่มที่ไม่เคยเรียนหนังสือ กลุ่มที่เรียนจบระดับปริญญาตรีขึ้นไป กับกลุ่มที่เรียนจบระดับมัธยมศึกษานั้น เป็นหญิงมากกว่าชาย ส่วนกลุ่มที่เรียนจบระดับประถมศึกากับอาชีวศึกษานั้น เป็นชายมากกว่าหญิง (หน้า 80)

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

เมี่ยนในประทศไทยมีเครื่องแต่งกายตามประเพณี โดยผู้หญิงจะมีผ้าโพกศรีษะผ้าคาดเอวซึ่งมีลายปักที่ชายแต่ละข้าง เสื้อคลุมยาว สาบเสื้อด้านในรอบคอลงมาถึงเอวจะติดไหมพรมสีแดง และกางเกงขาก๊วยซึ่งเป็นผ้าสีดำและปักลวดลายด้านหน้า ส่วนผู้ชายมีเสื้อตัวสั้นหลวมคอกลมชิ้นหน้าห่ออกอ้อมไปติดกระดุมลูกตุ้มเงินแปดถึงสิบเม็ดเป็นแถวทางด้านขวา กางเกงเป็นกางเกงขาก๊วยไม่มีปักลาย ทั้งเสื้อและกางเกงจะตัดเย็บด้วยผ้าฝ้ายทอมือย้อมครามสีน้ำเงินหรือดำส่วนเด็กมีเพียงหมวกประดับปุยไหมพรมสีแดง ปัจจุบันคนเมี่ยนรุ่นใหม่ได้เปลี่ยนแปลงมาแต่งกายตามแบบคนพื้นราบหมดแล้วจะแต่งชุดตามประเพณีก็ต่อเมื่อมีเทศกาลหรือพิธีสำคัญๆ ในหมู่บ้านเท่านั้น(หน้า 3-4)

Folklore

เมี่ยนมีนิทานปรัมปราเกี่ยวกับกำเนิดชาติพันธุ์ตัวเองว่าสืบเชื้อสายมาจากเทพเจ้าที่มาเกิดเป็นสุนัขมังกรและเจ้าหญิงในประเทศจีน แต่งงานกันโดยจักรพรรดิจีนได้พระราชทานหนังสือเดินทางให้เป็นใบเบิกทางแก่พวกเขาในการบุกเบิกพื้นที่ทำกินและอาศัยอยู่บนภูเขาอย่างถูกต้อง และได้สืบเชื้อสายขยายเผ่าพันธุ์กันมาจนถึงทุกวันนี้ (หน้า 8-9) นอกจากนี้ในนิทาน(เกิ้ว) ของเมี่ยนได้สอดแทรกแบบแผนในการดำเนินชีวิตในเรื่องต่างๆ ได้แก่ 1. แบบแผนด้านวัตถุเงินทอง ว่าเงินทองความร่ำรวยถือเป็นความมีหน้าตาและเป็นสื่อสำคัญในการเคารพบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์และวิญญาณบรรพบุรุษ 2. แบบแผนด้านข้อบังคับหรือเนติธรรมโดยผู้มีบทบาทสำคัญในการกำหนดแบบแผนนี้คือผู้ประกอบพิธีกรรม (ซิบเมี้ยนเมี่ยน) 3. แบบแผนด้านอำนาจหน้าที่ในครอบครัว และชุมชนผู้ชายหรือหัวหน้าครอบครัวเป็นผู้ทรงอำนาจสูงสุดในครอบครัวและรับผิดชอบโดยตรงต่อการหาเลี้ยงครอบครัวผู้หญิงมีหน้าที่ต้องทำงานหนักทั้งในไร่และงานบ้านและต้องอยู่ภายใต้การควบคุมและคุ้มครองของผู้ชาย นอกจากนี้ หญิงชายยังมีหน้าที่เกื้อกูลกันระหว่างแซ่สกุลและในระดับชุมชนโดยให้ถือว่าทุกคนล้วนเป็นพี่น้องกันอีกด้วย 4. แบบแผนด้านการดำเนินชีวิตหรือคติธรรมเมี่ยนถือว่าความขยันเป็นสิ่งสำคัญมาก การเลือกคู่ครองจะพิจารณาจากความขยันขันแข็งเป็นคุณสมบัติสำคัญ จริยธรรมสำคัญในสังคมเมี่ยน ได้แก่ ความกตัญญูกตเวทีความซื่อสัตย์ ความเมตตา ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และมีความสามัคคีโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ เมี่ยนยังมีสุภาษิต คำสอน คำพังเพยคำปริศนาที่เป็นกลอนหรือเพลง (จชูงอ้อม) รวมทั้งมีเครื่องดนตรีตามประเพณี เช่น ปี่ กลอง ฆ้อง ฉาบไว้ถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้อีกด้วย (หน้า 13)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

เมี่ยนเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมเครื่องแต่งกายและภาษาที่มีลักษณะเฉพาะของตนเองมีภาษาพูดเป็นของตนเองแต่ภาษาเขียนได้คิดสร้างตัวหนังสือขึ้นไว้ใช้เองโดยดัดแปลงจากตัวอักษรจีนในภาษาฮั่น (หน้า 3)

Social Cultural and Identity Change

ปรากฏการณ์ในการอพยพเข้าสู่เมืองของกลุ่มชาติพันธุ์เมี่ยนและความสามารถในการปรับตัวเข้ากับวิถีชีวิตแบบเมืองได้เป็นอย่างดี เป็นผลพวงที่เกิดจากการสั่งสมทางวัฒนธรรมวิธีคิดอันยาวนานของคนเมี่ยนกับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วบนชุมชนบนพื้นที่สูงในระยะสี่ทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งเกิดจากการเข้ามาของรัฐไทยและกระแสโลกาภิวัตน์ที่กลุ่มชาติพันธุ์เมี่ยนไม่สามารถควบคุมได้ ในทางตรงข้ามกลับต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการปรับตัวโดยต้องยอมสูญเสียอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์บางอย่างไป (หน้า 176-177)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ผู้เขียนได้ใช้ตารางและภาพต่าง ๆ ดังนี้ ตาราง - ตารางที่ 1 แสดงจำนวนประชากรเมี่ยนในเมือง จำแนกตามเพศ (หน้า 71) - ตารางที่ 2 แสดงจำนวนประชากรเมี่ยนในเมืองจำแนกตามกลุ่มอายุ (หน้า 71) - ตารางที่ 3 แสดงจำนวนประชากรเมี่ยนในเมืองจำแนกตามสถานภาพสมรส (หน้า 72) - ตารางที่ 4 แสดงจำนวนประชากรเมี่ยนในเมืองจำแนกตามศาสนาที่นับถือ (หน้า 72) - ตารางที่ 5 แสดงจำนวนประชากรเมี่ยนในเมืองจำแนกตามระดับการศึกษาที่กำลังเรียน (หน้า 73) - ตารางที่ 6 แสดงจำนวนประชากรเมี่ยนในเมืองจำแนกตามระดับการศึกษาที่จบ (หน้า 73) - ตารางที่ 7 แสดงจำนวนประชากรเมี่ยนในเมืองจำแนกตามกลุ่มอาชีพหลัก (หน้า 74) - ตารางที่ 8 แสดงจำนวนประชากรเมี่ยนในเมือง จำแนกตามปี พ.ศ. ที่เข้ามา (หน้า 75) - ตารางที่ 9 แสดงจำนวนประชากรเมี่ยนในเมืองจำแนกตามจังหวัดต้นทาง (หน้า 76) - ตารางที่ 10 แสดงจำนวนประชากรเมี่ยนในเมืองจำแนกตามแหล่งที่พักอาศัย (หน้า 76) - ตารางที่ 11 แสดงจำนวนประชากรเมี่ยนในเมืองจำแนกตามลักษณะการอยู่อาศัย (หน้า 77) - ตารางที่ 12 แสดงจำนวนประชากรเมี่ยนในเมืองจำแนกตามอำเภอที่พักอาศัย (หน้า 78) - ตารางที่ 13 แสดงจำนวนประชากรเมี่ยนในเมืองจำแนกตามเพศและอายุ (หน้า 78) - ตารางที่ 14 แสดงจำนวนประชากรเมี่ยนจำแนกตามเพศและสถานภาพสมรส (หน้า 79) - ตารางที่ 15 แสดงจำนวนประชากรเมี่ยนจำแนกตามเพศและศาสนา (หน้า 79) - ตารางที่16แสดงจำนวนประชากรเมี่ยนจำแนกตามกลุ่มเพศและระดับการศึกษาที่กำลังเรียน (หน้า 80) - ตารางที่ 17 แสดงจำนวนประชากรเมี่ยนจำแนกตามเพศและระดับการศึกษาที่จบ (หน้า 80) - ตารางที่ 18 แสดงจำนวนประชากรเมี่ยนจำแนกตามเพศและกลุ่มอาชีพหลัก (หน้า 81) - ตารางที่ 19 แสดงจำนวนประชากรเมี่ยนจำแนกตามเพศและช่วงปี พ.ศ. ที่เข้ามา (หน้า 81) - ตารางที่ 20 แสดงจำนวนประชากรเมี่ยนจำแนกตามกลุ่มอายุและอาชีพหลัก (หน้า 82) - ตารางที่ 21 แสดงจำนวนประชากรเมี่ยนจำแนกตามกลุ่มอายุและช่วงปี พ.ศ. ที่เข้ามา (หน้า 83) - ตารางที่ 22 แสดงจำนวนประชากรเมี่ยนจำแนกตามสถานภาพสมรสกับศาสนาที่นับถือ (หน้า 83) - ตารางที่ 23 แสดงจำนวนประชากรเมี่ยนจำแนกตามศาสนากับระดับการศึกษาที่กำลังเรียน (หน้า 84) - ตารางที่ 24 แสดงจำนวนประชากรเมี่ยน จำแนกตามระดับการศึกษาที่กำลังเรียนและลักษณะการอยู่อาศัย (หน้า 85) - ตารางที่ 25 แสดงจำนวนประชากรเมี่ยนจำแนกตามระดับการศึกษาที่จบกับกลุ่มอาชีพ (หน้า 84) กลุ่มอาชีพหลัก (หน้า 86) ภาพ ภาพที่ 1 ดอยผาวัวผาช้าง อำเภอปง จังหวัดพะเยาที่ตั้งเดิมของเมี่ยนบ้านละเบ้ายา (หน้า 64) ภาพที่ 2 นักเรียนเมี่ยนบ้านละเบ้ายาเดินรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก (หน้า 64) ภาพที่ 3 พิธีแต่งงานใหญ่ ญาติฝ่ายเจ้าสาวจากต่างหมู่บ้านเดินทางมาส่งตัวเจ้าสาวที่บ้านละเบ้ายา (หน้า 65) ภาพที่ 4 เยาวชนเมี่ยนพัฒนาหมู่บ้าน (หน้า 65) ภาพที่ 5 สภาพบ้านเรือนที่เปลี่ยนมาสร้างด้วยไม้และมุงหลังคาสังกะสีกับสมาชิกในครัวเรือน (หน้า 66) ภาพที่ 6 สวนส้มของเมี่ยนบ้านละเบ้ายาเลียบสองฝั่งลำน้ำสมุนในดูน้ำหลาก (หน้า 66) ภาพที่ 7 การแสดงของเมี่ยนที่ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ (หน้า 67) ภาพที่ 8 ร้านขายน้ำเต้าหู้และก๋วยเตี๋ยวของคนเมี่ยนในเมืองเชียงใหม่ (หน้า 67) ภาพที่ 9 ภาพเทพเจ้าใหญ่ นำมาแขวนบริเวณหิ้งบูชาแล้วอัญเชิญเทพเจ้ามาสิงสถิตเพื่อรับการไหว้ใน พิธีบวช (หน้า 68) ภาพที่ 10 พิธีบวชเยาวชนชายอิวเมี่ยน (หน้า 68) ภาพที่ 11 การเผากระดาษเงินกระดาษทองแก่วิญญาณบรรพบุรุษในพิธีบวช (หน้า 69)

Text Analyst วิสุทธิ์ เหล็กสมบูรณ์ Date of Report 18 ส.ค. 2557
TAG เมี่ยน, การอพยพ, การปรับตัว, เชียงใหม่, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง