สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject เย้า,การเปลี่ยนแปลง,เศรษฐกิจ,สังคม,ศาสนา,เชียงราย
Author Kandre, Peter
Title Stability and Adaptation in a Socio-Economic-Religious System : The Yao
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity อิ้วเมี่ยน เมี่ยน, Language and Linguistic Affiliations ม้ง-เมี่ยน
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Total Pages 26 Year 2508
Source นำเสนอในการประชุม
Abstract

เอกสารฉบับนี้มีเนื้อหาแสดงถึง ความเป็นมา เอกลักษณ์เฉพาะทางภาษา ความเชื่อ วัฒนธรรม และการปรับตัวทางสังคม ของชาวเผ่าเย้าที่อาศัยอยู่ ณ อ.แม่จัน จังหวัดเชียงราย

Focus

ลักษณะทั่วไปทางภาษา วัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ เอกลักษณ์เฉพาะของชาวเผ่าเย้า ที่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย (หน้า 1)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ผู้เขียนศึกษากลุ่มชนที่เรียกว่า "เย้า" เป็นกลุ่มชนที่มักตั้งถิ่นฐานอยู่ตามเทือกเขา ตั้งแต่เอเชียใต้ (ทางตอนใต้ของจีน) จนมาถึงเอเเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ทางตอนเหนือของไทย เวียตนาม ลาวและพม่า) (หน้า 1)

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีการกล่าวถึงอย่างชัดเจนว่าภาษาของเย้าเป็นภาษาในตระกูลใด แต่ให้ข้อมูลว่าเป็นภาษาเฉพาะของชาวเผ่าเย้า (หน้า 3)

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ แต่มีการกล่าวว่างานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการสนับสนุนจากยูเนสโก ในปี ค.ศ.1964 (หน้า 2)

History of the Group and Community

เย้าเป็นชื่อเรียกกลุ่มคนที่ตั้งถิ่นฐานตามเทือกเขาตั้งแต่จังหวัดต่างๆ ทางตอนใต้ของประเทศจีน เช่น กวางตุ้ง กวางสี และยูนนาน เรื่อยลงมาทางตอนเหนือของลาว เวียดนาม ไทยและพม่า และเย้าที่อยู่ที่แม่จันนั้นคาดว่าอพยพยมาจากลาวในช่วงสงครามโลกครั้งที 2 ในปัจจุบันมีเย้าบางส่วนที่อพยพมาจากเชียงตุง พม่า (หน้า 1)

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

ในไทยนั้นมีประชากรเย้าอยู่ราว 10,000 คน ซึ่งอาศัยอยู่ตามชายเขตไทยลาว

Economy

พืชเงินสดของเย้าคือ การปลูกฝิ่น ซึ่งเป็นอาชีพที่ผิดกฎหมายไทย วิธีการปลูกเป็นแบบทำไร่เลื่อนลอย (หน้า 8)

Social Organization

สมาชิกภายในครอบครัวของเย้ามีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันสูง แต่ละครอบครัวจะมีเจ้าบ้าน เจ้าบ้านเป็นคนที่มีความสามารถในการดูแลสมาชิก เช่น เมื่อเกิดการทะเลาะ โต้ถียงกัน เจ้าบ้านจะพยายามไกล่เกลี่ย หรือหยุดความขัดแย้งนั้นลง และจะเป็นผู้ถามว่าฝ่ายใดจะย้ายออกจากบ้านไป เย้าเรียกเจ้าบ้านว่า "Peo Tsiu" เมื่อบุตรชายแต่งงานอาจจะย้ายออกไปสร้างครอบครัวใหม่ หรือยังคงอยู่ร่วมกันและมีกิจกรรมร่วมกันตามปกติ เช่น ทำการเกษตร การรับประทาน นอกจากนี้ถึงแม้ว่าบางบ้านจะย้ายออกไปสร้างบ้านเป็นของตนเองแล้ว แต่ยังคงเคารพและนับถือบรรพบุรุษร่วมกัน ผู้ที่จะเป็นเจ้าบ้านได้ จะต้องฉลาดและมีความสามารถ ดังนั้นเจ้าบ้านจึงไม่จำกัดอยู่เฉพาะผู้ชาย ดังที่มีคำกล่าวว่า "ถ้าภรรยามีความฉลาดมากกว่า เธอจะเป็นผู้นำ" บางครอบครัวหากสามีเสียชีวิตและภรรยาเป็นคนที่ฉลาดที่สุด ก็สามารถเป็นผู้นำได้เลย นอกจากระบบเจ้าบ้านแล้ว เย้ายังให้ความสำคัญกับความอาวุโส ผู้ที่อาวุโสน้อยกว่าจะให้ความเคารพต่อผู้อาวุโสมากกว่า สมาชิกภายในสังคมเย้าจัดเป็นกลุ่มคนที่รักสันติ โดยพื้นฐานแล้วจะแสดงออกด้วยความสุภาพ เคารพซึ่งกันและกันเพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะ หรือทะเลาะเบาะแว้ง (หน้า 8-18)

Political Organization

"Tao Mien" เป็นชื่อที่เย้าใช้เรียกหัวหน้าหมู่บ้าน ในด้านของอำนาจสิทธิขาดในการปกครองหัวหน้ามีบทบาทน้อยมาก เพราะแต่ละครอบครัวมีเจ้าบ้านปกครองอยู่แล้ว ดังนั้น หัวหน้าจึงมีหน้าที่เกี่ยวกับพิธีกรรมเป็นส่วนมาก เช่น การแต่งงาน การบูชาวิญญาณ หัวหน้าสามารถใช้อำนาจได้เพียงโอกาสเดียว คือ เป็นหัวหน้าป้องกันการรุกรานจากภายนอก ที่ทำการของหัวหน้าหมู่บ้าน เรียกว่า "Lij Njej" (หน้า 10)

Belief System

เย้าให้ความนับถือในวิญญาณบรรพบุรุษเป็นสำคัญ แต่ละครอบครัวถึงแม้ว่าสมาชิกจะแต่งงานและแยกครอบครัวออกไปแล้ว แต่ยังคงนับถือวิญญาณบรรพบุรุษร่วมกับครอบครัวดั้งเดิม นอกเหนือจากวิญญาณบรรพบุรุษแล้ว เย้ายังให้ความนับถือแก่วิญญาณหลัก (Big Spirits) โดยเชื่อว่าหากทำการบูชาวิญญาณเหล่านี้ด้วยเงินและอาหารในจำนวนที่พอเพียงแล้ว วิญญาณจะคุ้มครอง และช่วยให้เกิดความอุดสมบูรณ์แก่ผลิตผลทางการเกษตร และเกิดความร่ำรวย (หน้า 4-6)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ชาวเผ่าเย้ามีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตไปจากเดิมบ้างบางส่วน เช่น การปฏิบัติตามกฎหรือข้อปฏิบัติตามท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ สิ่งที่เห็นชัดคือการเลิกปลูกฝิ่นซึ่งเป็นอาชีพดั้งเดิม การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นไปตามกฎของเผ่าเย้าที่เรียกว่า Lej fing (หน้า 4-5) ทั้งนี้เย้าก็ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของตนไว้อย่างเหนียวแน่น ทั้งภาษา ความเชื่อเกี่ยวกับวิญญาณและกฎของกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปนิสัยที่รักสงบ

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst ศิริเพ็ญ วรปัสสุ Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG เย้า, การเปลี่ยนแปลง, เศรษฐกิจ, สังคม, ศาสนา, เชียงราย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง