สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ออแรนายู มลายูมุสลิม มุสลิมมลายู,มุสลิม,ชุมชน,ชาวไร่,ชาวนา,การจัดระเบียบทางเศรษฐกิจ,ปัตตานี
Author ศรีพงศ์ อุดมครบ
Title การจัดระเบียบทางเศรษฐกิจของชาวไร่นามุสลิม : ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนปัตตานี
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity มลายู ออแฆนายู มลายูมุสลิม ไทยมุสลิม, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเนเชี่ยน
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
(เอกสารฉบับเต็ม)
Total Pages 185 Year 2539
Source หลักสูตรปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract

ผู้วิจัยเน้นการวิเคราะห์การจัดระเบียบทางเศรษฐกิจของชาวไร่นามุสลิมในชุมชนปัตตานีโดยศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อการจัดระเบียบทางเศรษฐกิจ รวมทั้งศึกษาการปรับตัวต่อสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของชาวไร่นามุสลิม

Focus

ศึกษาวิถีชีวิตของชาวไร่นามุสลิมทางภาคใต้ตอนล่างของไทย ซึ่งนับถือศาสนาอิสลามและมีแบบแผนทางวัฒนธรรมที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากชาวไร่นาในส่วนอื่นๆ ของประเทศ โดยเน้นหนักเรื่องการจัดระเบียบทางเศรษฐกิจ (economic organization) ของชุมชนเป็นสำคัญ เพื่อโยงไปสู่วิถีชีวิตในแง่มุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และเพื่อเข้าใจวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวไร่นาในบริบทรวมทั้งประเทศ (หน้า 2)

Theoretical Issues

การจัดระเบียบเศรษฐกิจของชุมชนชาวไร่ชาวนา "ปัตตานี" เป็นแบบทวิลักษณ์ คือ มีการจัดระเบียบแบบเศรษฐกิจดั้งเดิม ซึ่งเป็นการบริโภคและความร่วมมือในการผลิตระหว่างเครือญาติกับการจัดระเบียบทางเศรษฐกิจแบบสมัยใหม่คือ การปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ยางพารา ซึ่งอาศัยเงินตราเป็นทุนในการผลิตและถูกดึงเข้าสู่ตลาด และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่สำคัญ เช่น ระบบกรรมสิทธิ์มีความเข้มข้นขึ้น ผู้หญิงเข้ามามีบทบาทในระบบการจ้างงานมากขึ้น แต่การเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างช้าๆ ด้วยอิทธิพลของศาสนาอิสลาม ซึ่งส่งเสริมให้คนในชุมชนช่วยเหลือกัน และไม่ให้นิยมสะสมทรัพย์สินเฉพาะตัว ทำให้ชุมชนยังรักษาระบบจริยธรรมไว้ได้ โดยผ่านกลไกที่เป็นรูปธรรมอย่างเช่น "ระบบวะห์" ซึ่งคิดค่าเช่าที่นาโดยการแบ่งผลผลิต และ "ระบบซอล์" ซึ่งเป็นระบบการแลกเปลี่ยนแรงงาน (หน้า 169-175)

Ethnic Group in the Focus

มุสลิมเชื้อสายมาเลย์ (หน้า 2)

Language and Linguistic Affiliations

ไม่ได้ระบุชัดเจน แต่จากบทที่ 4 พัฒนาการทางเศรษฐกิจและการขยายตัวของอำนาจรัฐ มีตอนหนึ่งระบุว่า "จากลักษณะทางชาติพันธุ์และภาษาแสดงให้เห็นว่าชาวบ้านในชุมชนแห่งนี้เป็นกลุ่มคนที่มีเชื้อสายมลายู" ดังนั้น ภาษาที่ใช้ในชุมชนน่าจะเป็นภาษามลายู และภาษาไทย (หน้า 80)

Study Period (Data Collection)

มกราคม ถึง ธันวาคม 2537

History of the Group and Community

ชุมชนปัตตานีเป็นชุมชนเก่าแก่ก่อตั้งมาประมาณ 100 ปี ด้วยลักษณะทางชาติพันธุ์และภาษาแสดงให้เห็นว่าชาวบ้านในชุมชนมีเชื้อสายมลายู แต่เดิมบรรพบุรุษของชาวบ้านเหล่านี้ตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้ลำห้วยสายใหญ่ บริเวณช่องเขาบ้าน "กำปงนาคอ" ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าระหว่างเมืองปัตตานีและไทรบุรีในอดีต (อนันต์ วัฒนานิกร, 2531,108) ซึ่งเป็นพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ ต่อมาเมื่อมีประชากรเพิ่มมากขึ้นเกินขีดความสามารถของระบบนิเวศน์จะรองรับได้ จึงเกิดการอพยพของกลุ่มคนต่าง ๆ ไปสู่พื้นที่อื่น ๆ โดยรอบ และหนึ่งในกลุ่มนั้นได้อพยพมาตั้งถิ่นฐาน ณ ชุมชนปัตตานีปัจจุบัน (หน้า 80)

Settlement Pattern

การตั้งบ้านเรือนของชาวชุมชนปัตตานีกระจัดกระจายตามถนนในชุมชน มัสยิดจะตั้งอยู่ในศูนย์กลางของชุมชน บ้านเรือนส่วนใหญ่เป็นอาคารไม้ยกพื้นสูงเช่นเดียวกับเรือนไทยภาคกลางทั่วไป แต่จะมีบันไดขึ้น 2 ทาง คือ ด้านหน้าและหลังบ้าน ใต้ถุนเป็นพื้นที่ว่างใช้ประโยชน์สำหรับกิจกรรมต่าง ๆ ลักษณะเด่นซึ่งเป็นลักษณะบ้านของมุสลิมคือมีหน้าต่างมาก มีช่องลมเหนือหน้าต่างซึ่งเป็นไม้ฉลุลายสวยงามหรือประดับกระจกสี หลังคาเป็นจั่วสูงช่วยระบายความร้อน บ้านที่ยากจนสร้างด้วยฟากไม้ไผ่ มุงหลังคาจาก บ้านที่มีฐานะดีใช้สังกะสี หรือก่ออิฐและปูน บ้านเกือบทั้งหมดไม่มีรั้ว (หน้า 42-47)

Demography

ชุมชนปัตตานีมีจำนวนประชากรประมาณ 608 คน คิดเป็นจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 113 ครัวเรือน แยกออกเป็นชาย 296 คน และเป็นหญิง 312 คน (หน้า 420) จากการศึกษาประวัติการตั้งถิ่นฐาน พบว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรมีมาก สาเหตุคือ ค่านิยมการแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อยประมาณ 13-18 ปี ทำให้มีโอกาสมีบุตรมาก และค่านิยมที่ผู้ชายมุสลิมสามารถมีภรรยาได้ถึง 4 คน ทำให้โอกาสการมีบุตรเพิ่มมากขึ้น (หน้า 99)

Economy

ชาวบ้านในชุมชนปัตตานีประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก เช่น ทำนา (33.4%) ทำสวนยางพารา (30.2%) ปลูกพืชไร่ ผักและผลไม้ รับจ้างในภาคเกษตร (20.3%) นอกจากนั้น ทำสวนและลี้ยงสัตว์สำหรับบริโภคในครัวเรือนและขายเป็นรายได้เสริม เช่น แพะ แกะ เป็ด ไก่ วัว รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนประมาณ 16,000 บาท/ปี/ครัวเรือน ลักษณะการประกอบอาชีพในครัวเรือนมีมากกว่า 1 อย่าง เช่น ทำนาและเป็นแรงงานรับจ้างกรีดยาง (หน้า 47-48) ปัจจัยสำคัญคือจำนวนพื้นที่ที่ใช้ในการผลิต ภายในชุมชนมีปริมาณค่อนข้างน้อยเพราะการเพิ่มขึ้นของประชากร ทางรอดของผู้ไม่มีที่ดินหรือมีจำนวนน้อย คือ การใช้ระบบวะห์ หรือ ระบบการแบ่งที่นาโดยคิดค่าเช่าจากการแบ่งผลผลิต และระบบซอล์ หรือ ระบบการแลกเปลี่ยนแรงงานซึ่งกันและกัน (หน้า 166 และ 174) การจัดระเบียบเศรษฐกิจของชุมชน "ปัตตานี" ในปัจจุบัน สืบเนื่องมาจากพัฒนาการทางเศรษฐกิจในอดีตซึ่งจัดแบ่งได้เป็น 4 ยุค คือ "ยุคชุมชนบ้านป่า" ซึ่งเป็นช่วงแรกตั้งชุมชน มีระบบผลิตแบบยังชีพที่ใช้แรงงานคนในครัวเรือน ถางป่าทำไร่ เลี้ยงสัตว์พันธุ์พื้นเมือง หาอาหารจากป่าและทำเครื่องมือใช้เอง ยุคต่อมาเรียกว่า "ยุคขยายตัวของอำนาจและกลไกรัฐ" ซึ่งอาจจะเริ่มในรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 อำนาจรัฐไทยขยายเข้าไปผ่านการสร้างทางรถไฟ การตั้งโรงเรียน การเข้ามาของยาพารา การออกกฏหมายบังคับต่าง ๆ การเข้ามาของโครงการพัฒนาต่าง ๆ เรื่อยมาจนประมาณ พ.ศ.2532 ที่มีผลกระทบต่อชุมชน และการจัดระเบียบเศรษฐกิจมากบ้างน้อยบ้าง (หน้า 79-93) "ยุคขยายตัวของพืชพาณิชย์" และยุค "ขีดจำกัดของทรัพยากรธรรมชาติ" (หน้า 93-103) ซึ่งช่วงเวลากั้นแบ่งไม่ชัดเจนแน่นอน

Social Organization

ครอบครัวชาวไร่นาปัตตานีส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยว (98 ครัวเรือนจาก 113 ครัวเรือน) และมีครอบครัวร่วมซึ่งเกิดจากฝ่ายชายมีภรรยาหลายคนแล้วนำภรรยามาอยู่ร่วมในครัวเรือนเดียวกัน (9 ครัวเรือน) และครอบครัวขยาย (6 ครัวเรือน) ตามลำดับ การตั้งครัวเรือนภายหลังการแต่งงานส่วนใหญ่ฝ่ายชายจะไปอาศัยอยู่กับครัวเรือนฝ่ายหญิง ประมาณ 2-3 ปี แล้วจึงแยกย้ายไปตั้งครัวเรือนของตนภายหลัง การแต่งงานเริ่มจากการคบหาดูใจของบ่าวสาว จากนั้นทั้งคู่จะปรึกษาญาติผู้ใหญ่ ถ้าเห็นชอบฝ่ายชายจะส่งญาติผู้ใหญ่มาติดต่อญาติฝ่ายหญิง จะมีการนับญาติแบบสองสาย คือทั้งฝ่ายพ่อและแม่เหมือนระบบการนับญาติของคนไทยทั่วไป (หน้า 57-59) นอกจากนั้นในชุมชนยังมีระบบเครือญาติ ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของสมาชิกจากครัวเรือนต่างๆ ซึ่งเป็นผลมาจากระบบการนับญาติทั้งสายพ่อและสายแม่ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าฝ่ายแม่จะเหนียวแน่นมากกว่า (หน้า 59,64) และเป็นพื้นฐานของการแลกเปลี่ยนแรงงาน (ระบบวะห์) และการแบ่งที่นาให้เช่า (ระบบซอล์) ส่วนกลุ่มที่เป็นทางการที่ราชการเข้ามาช่วยจัดตั้งมีหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มเยาวชน กลุ่มรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน แต่กลุ่มจัดตั้งจะไม่มีความเหนียวแน่น ขึ้นกับการทำงานของเจ้าหน้าที่มากกว่า (หน้า 65-67)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ศาสนาอิสลามได้วางแนวทางปฏิบัติของชีวิตไว้อย่างครอบคลุมทุกด้านตั้งแต่เกิดจนตาย รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตส่วนตัวของปัจเจกชนจนถึงสังคมส่วนรวม (หน้า 68) หลักการสำคัญที่เกี่ยวกับคำสอน คือ หลักแห่งความศรัทธา (รุก่นอีหม่าน) 6 ประการ คือ ศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า (อัลลอฮ), ศรัทธาในบรรดามลาอิกะฮ, ศรัทธาในบรรดาคัมภีร์, ศรัทธาในบรรดาศาสนฑูต, ศรัทธาในวันพิพากษาและศรัทธาในกฎเกณฑ์สภาวการณ์ (เสาวนีย์ จิตต์หมวด, 2524-33-93) หลักการปฏิบัติตน (รก่นอิสลาม) มี 5 ประการ คือ การปฏิญาณตน, การทำละหมาดวันละ 5 เวลา, การถือศีลอด, การบริจาคซะกาตและการประกอบพิธีฮัจญ์ (เสาวนีย์ จิตต์หมวด, 2524-98-170) ศูนย์รวมทางศาสนาของชุมชน คือ มัสยิด ผู้นำทางศาสนาคือโต๊ะอิหม่าม โดยมีโต๊ะคอเต็บและโต๊ะบิหรั่นและคณะสัปบุรุษอีกประมาณ 10 คน คอยทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือในกิจการต่างๆ ที่เกี่ยวกับกิจการทางศาสนาของชุมชน (หน้า 68 -74) ศาสนาอิสลามมีหลักการบางประการที่มีอิทธิพลต่อการจัดระเบียบเศรษฐกิจของชุมชน คือ หลักการที่ยอมรับกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล การส่งเสริมให้ทำงานอย่างซื่อตรงเพื่อทรัพย์สิน และหลักการไม่ให้สะสมทรัพย์ (หน้า 77-78) แต่ความคิดความเชื่อทางศาสนาของชุมชนได้เปลี่ยนแปลงไป โดยมีผู้นำทางศาสนาและปัญญาชนที่สำเร็จการศึกษาจากซาอุดิอาระเบียที่รับเอาแนวการตีความศาสนาอิสลามตามแบบอย่างของนิกายศาสนาประเทศซาอุดิอาระเบียและเรียกกลุ่มตนเองว่า "วาหะบี" ซึ่งกลุ่มศาสนาใหม่ได้ตีความศาสนาแตกต่างออกไปจากนิกายสุนีห์ที่มุสลิมภาคใต้นับถือหลายอย่าง ซึ่งชาวบ้านจะมีการจัดกิจกรรมตามประเพณีแบบพราหมณ์ที่ยังคงฝังรากอยู่ ปัจจุบันในชุมชนปัตตานีมีสมาชิกกลุ่มวาหะบี 8 คน โดยคนเหล่านี้จะรวมตัวกันจัดสร้างสถานที่ละหมาดของกลุ่มตนเองโดยแยกตัวออกมาจากมัสยิด และมีการวิพากษ์วิจารณ์กิจกรรมทางศาสนาของชาวบ้านว่าไม่ถูกต้อง ซึ่งส่งผลสู่ความขัดแย้งทางความคิดความเชื่อทางศาสนาขึ้นในชุมชน (หน้า 76-77)

Education and Socialization

ไม่ระบุ

Health and Medicine

ชาวบ้านส่วนใหญ่มีปัญหาด้านสุขภาพอนามัยหลายอย่าง ตั้งแต่โรคพยาธิ, เด็กขาดสารอาหาร, โรคท้องร่วงและโรคผิวหนัง ส่วนใหญ่ไม่ร้ายแรงโดยมีสาเหตุมาจากขาดการดูแลรักษาสุขภาพเท่าที่ควร รวมถึงพฤติกรรม, ความเชื่อและค่านิยมดั้งเดิม, ค่านิยมของชาวบ้านที่ไม่นิยมไปหาหมอ แต่ชอบซื้อยากินเองหรือวินิจฉัยอาการต่างๆ ด้วยประสบการณ์ตนเอง และมีชาวบ้านจำนวนมากยังนิยมรักษาตัวด้วยวิธีแบบพื้นบ้าน เช่น หาหมอน้ำมนต์ หรือใช้ยาสมุนไพร นอกจากนั้นยังมีปัญหาอื่นๆ เช่น การมีบุตรมากทำให้สุขภาพอนามัยเสื่อมโทรมและความยากจน ซึ่งเป็นผลมาจากผู้หญิงมุสลิมมักจะแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย อีกทั้งบทบัญญัติของศาสนาห้ามไม่ให้มีการคุมกำเนิดทารกโดยเด็ดขาด ทางราชการได้เข้ามาดำเนินการหลายอย่าง เช่น ฝึกอบรมอาสาสมัครสาธารณสุข (อมส.) หรือผู้สื่อข่าวสาธารณสุข (ผสส.) (หน้า 54-55)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ในชุมชนชาวไร่นาปัตตานีมีเอกลักษณ์ทางชาติพันธุ์เป็นของตนเอง เรียกตนเองว่า "ออแรนายู" ซึ่งหมายถึง "คนมลายู" และเรียกคนไทยทั่วไปว่า "ออแรซีแย" หรือคนไทยสยาม ซึ่งการเป็น ออแรนายู มีความหมายในทางที่ก่อให้เกิดความแตกต่างชาติพันธ์เฉพาะต่างจากคนไทยอื่นๆ เช่น การมีเชื้อชาติและวัฒนธรรมมลายูและนับถือศาสนาอิสลาม (หน้า 57) นอกจากนี้ชาวบ้านที่ทำสวนยางยังมีความสัมพันธ์เชิงช่วยเหลือซึ่งกันและกันกับเถ้าแก่รับซื้อยางซึ่งเป็นคนไทยเชื้อสายจีน โดยผู้รับซื้อยางได้อาศัยความซื่อสัตย์และการช่วยเหลือสาระทุกข์สุขดิบต่างๆ ในการทำธุรกิจ ส่วนเจ้าหน้าที่ข้าราชการ ผู้วิจัยได้มองว่า ยังมีช่องว่างระหว่างข้าราชการกับชาวบ้านอยู่มาก (หน้า 159)

Social Cultural and Identity Change

การปลูกพืชเศรษฐกิจคือยางพาราเพื่อการค้า ทำให้ชาวบ้านต้องเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ที่ต้องใช้เงินตราในทุกขั้นตอนการผลิต ทำให้ชีวิตต้องผูกพันกับกลไกการตลาดมากขึ้น ส่งผลสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมหลายประการภายใน ชุมชนชาวไร่นาปัตตานี เช่น ระบบกรรมสิทธิ์ที่ดินมีความเข้มข้นมากขึ้น, ผู้หญิงเข้ามามีบทบาทในการทำงานมากขึ้น, เกิดระบบการจ้างงาน ชาวบ้านต้องติดต่อกับบุคคลภายนอกมากขึ้น รวมถึงการติดต่อกับเจ้าหน้าที่รัฐที่เข้ามาแนะนำเทคนิคการผลิตทางการเกษตรแบบใหม่ ๆ นอกจากนั้น ยังมีปัจจัยอย่างอื่นซึ่งเป็นผลมาจากระบบทุนนิยมโลกที่ได้แพร่ขยายภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง คือ การขยายตัวของเศรษฐกิจเชิงพาณิชย์ ปัจจัยด้านอำนาจและกลไกของรัฐ และปัจจัยภายใน ได้แก่ ข้อจำกัดทางนิเวศวิทยาและประชากร ปัจจัยด้านระบบค่านิยมของชุมชน เป็นต้น (หน้า 169-175)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Text Analyst ภัทรภร ภู่ทอง Date of Report 30 มิ.ย 2560
TAG ออแรนายู มลายูมุสลิม มุสลิมมลายู, มุสลิม, ชุมชน, ชาวไร่, ชาวนา, การจัดระเบียบทางเศรษฐกิจ, ปัตตานี, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง