สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลื้อ,ชาติพันธุ์วรรณา,อัตลักษณ์ชาติพันธุ์,วัฒนธรรม,ปฏิสัมพันธ์,เชียงคำ,เชียงราย
Author Moerman, Michael
Title Ariadne's Thread and Indra's Net : Reflections on Ethnography, Ethnicity, Identity, Culture, and Interaction
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity ไทลื้อ ลื้อ ไตลื้อ, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 12 Year 2536
Source Research on Language and Social Interaction, 26(1), 85-98, Lawrence Erlbaum Association, Inc.
Abstract

ผู้เขียนบทความนี้ทบทวนแนวความคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์วรรณา การธำรงชาติพันธุ์ อัตลักษณ์ วัฒนธรรมและการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ซึ่งแต่ละส่วนต่างก็เป็นผลิตผลของกระบวนการที่ทาบเกี่ยวกัน(the ongoing product of intersecting processes) กระบวนการนี้เกิดขึ้นภายในเงื่อนไขสถานการณ์ที่เกิดเหตุการณ์ และเป็นเป้าหมายหรือความสำเร็จทางสังคม(social accomplishment) (น.96-97)

Focus

นำเสนอความคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์วรรณา การธำรงชาติพันธุ์ อัตลักษณ์ วัฒนธรรมและการปฏิสัมพันธ์

Theoretical Issues

ผู้เขียนเห็นว่าการศึกษาวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรม (intercultural research) มักจะเผชิญปัญหาการใช้มโนทัศน์ อัตลักษณ์และการธำรงชาติพันธุ์ ทั้งในแง่ที่เป็นแนวคิดและเป็นปรากฏการณ์ การทำงานที่นำเสนออัตลักษณ์และการธำรงชาติพันธุ์ต่างก็เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมที่สืบทอดยาวนานกับการปฏิสัมพันธ์ที่เป็นเรื่องตามสถานการณ์ จึงจำเป็นต้องตรวจสอบทบทวนวิธีการใช้แนวความคิดการธำรงชาติพันธุ์และอัตลักษณ์ใหม่ โดยใช้วิธีของนักวิเคราะห์ชาติพันธุ์ (an ethnomethodologist) (น.85-86) ทั้งนี้ ผู้เขียนเห็นว่าแนวความคิดชาติพันธุ์วรรณา การธำรงชาติพันธุ์ การปฏิสัมพันธ์ทางสังคม อัตลักษณ์และวัฒนธรรมต่างก็มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันในสถานการณ์ที่เกิดเหตุการณ์ (น.96)

Ethnic Group in the Focus

ลื้อที่เชียงคำ ภาคเหนือของไทย (น.86)

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ไม่ได้ระบุช่วงเวลาที่แน่นอน กล่าวแต่ว่าได้ศึกษาไทลื้อเป็นช่วง ๆ มา 30 ปี (น.86)

History of the Group and Community

ไม่มีข้อมูล

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

ไม่มีข้อมูล

Economy

ไม่มีข้อมูล

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ไม่มีข้อมูล

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ผู้เขียนกล่าวถึง ความหมายของการธำรงชาติพันธุ์ว่ามีลักษณะทำนองเดียวกับเกลียวเชือกที่พันกัน และในบรรดาความหมายหลักของการธำรงชาติพันธุ์ที่นักมานุษยวิทยาสร้างขึ้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับตราประทับที่ใช้กำหนดหรืออ้างถึงเกณฑ์บางประการ ประชากรหรือกลุ่มคนที่เหมือนกับพวกเขาหรือต่างจากพวกเขา (น.87) สิ่งที่กล่าวอ้างว่าเหมือนกันและยึดถือว่าเป็นพวกเดียวกันและต่างพวกกัน ได้แก่ 1. การเชื่อมโยงกับสถานที่หรือเขตแดน 2. ประวัติศาสตร์และจุดมุ่งหมาย 3. ภาษาและลักษณะอื่นๆ ของวัฒนธรรม เช่น คุณค่ามาตรฐานพื้นฐาน ศาสนาและลักษณะคุณสมบัติหรือการกระทำที่ต่างกันหรือการปรับตัวเชิงนิเวศน์ (น.88) ผู้เขียนเห็นว่า ปัจจัยทุกประการที่กล่าวมานี้เป็นความมุ่งหมายหรือความสำเร็จทางสังคม (a social accomplishment) โดยตัวของมันเอง ปัจจัยทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในจุดที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอของสังคมและประวัติศาสตร์ ไม่มีปัจจัยใดคงที่แน่นอนและเป็นอิสระจากกัน การจัดระเบียบระหว่างกันไม่ได้เป็นสากลร่วมสำหรับทุกคนที่ถูกประทับตรา และไม่ได้คงที่สม่ำเสมอสำหรับคนหนึ่งคนใด ผู้เขียนสรุปว่า การธำรงชาติพันธุ์ไม่ได้ติดแน่นถาวรในกลุ่มคน แต่ทว่าเป็นเครือข่ายของกระบวนการการปฏิสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์และสังคม (น.88) ในการมองการธำรงชาติพันธุ์ของนักมานุษยวิทยากับคนลื้อมีทั้งเหมือนและต่างกัน ส่วนที่เหมือนกัน ได้แก่ การเชื่อมโยงการธำรงชาติพันธุ์เข้ากับวัฒนธรรม บางครั้งคนลื้อก็คิดว่า คนที่มีตราประทับชาติพันธุ์เหมือนกันมีวัฒนธรรมร่วมกัน มีวิถีชีวิตที่สืบทอดมาเหมือนกัน (น.86) หรือมองว่าวัฒนธรรมเป็นมวลรวมของลักษณะหรือการปฏิบัติ และเข้าใจว่าการปฏิบัติเหล่านั้นเกี่ยวข้องกันทั้งในเชิงหน้าที่และประวัติศาสตร์ ถ้ามีการปฏิบัติที่เรียกว่า "ลื้อ" พวกเขาก็คาดว่าคนอื่นที่ไม่ใช่พวกเขาจะปฏิบัติต่างออกไป และบางครั้งลื้อก็ตีความการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางวัฒนธรรมว่าเป็นการสูญเสียวัฒนธรรมเมื่อถูกวัฒนธรรมอื่นเข้ามาแทนที่ สำหรับความคิดส่วนที่ต่างกัน คือ ความคิดของนักมานุษยวิทยาไม่ยืดหยุ่นและยึดมั่นมากกว่าคนลื้อซึ่งเป็นคนพื้นเมือง (น.87) ความไม่ชัดเจนของชื่อชาติพันธุ์ ความไม่แน่นอนของกลุ่มที่ถูกประทับตราไม่ใช่ปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อคนพื้นเมืองที่จะเข้าใจและประสบความสำเร็จในการธำรงชาติพันธุ์ กล่าวคือ ระบบการเรียกชื่อชาติพันธุ์ท้องถิ่น(a local taxonomy of ethnic names)เป็นตราประทับอย่างหนึ่ง บุคคลหรือชุมชนจะใช้ชื่อเปลี่ยนไปในสถานการณ์ที่มีความขัดแย้งในระดับต่างๆ กัน การจำแนกตนเองด้วยตราประทับนี้เป็นเกณฑ์จำเป็นสำหรับการเป็นสมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ (น.89) บางครั้งคนท้องถิ่นก็ใช้ตราชาติพันธุ์บ่งบอกว่า คนๆ นั้นเป็นใคร และก็ใช้อธิบายการกระทำของคน ๆ นั้น เช่นเดียวกับตราประทับอื่นๆ เช่น ชนชั้น เครือญาติ ชุมชน ศาสนา และอื่นๆ การธำรงชาติพันธุ์หรือตราชาติพันธุ์จึงไม่ใช่ผิวหนังที่ติดตัวคน แต่เป็นเหมือนเสื้อคลุมตัวหนึ่งในจำนวนหลายๆ ตัวที่ถอดเปลี่ยนได้ ผู้เขียนเปรียบการใช้ตราชาติพันธุ์ว่า บางครั้งเป็นงาน บางครั้งเป็นบทบาทการแสดง บางครั้งเป็นปฏิกริยาสะท้อนกลับ (a reflex) สิ่งที่คนพื้นเมืองพูดและทำจึงแตกต่างกันไปตามสถานการณ์ ผู้เขียนจึงเห็นว่า การศึกษาการธำรงชาติพันธุ์ในสถานการณ์หนึ่งๆ จึงจำเป็นต้องศึกษาสถานการณ์ทางสังคมที่เกิดการกระทำนั้น ซึ่งก็คือ การปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (น.90) ผู้เขียนเห็นว่า การปฏิสัมพันธ์ทางสังคมเป็นรูปแบบและศูนย์กลางสำคัญของการกระทำและการเรียนรู้วัฒนธรรมและสังคม (น.90) ซึ่งความเกี่ยวพันกันระหว่างวัฒนธรรมกับการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมจะเห็นได้ชัดเจน ทั้งนี้ เนื้อหาและรูปแบบของวัฒนธรรมจะปรากฏในเวลาที่มีปฏิสัมพันธ์กัน (น.97) เมื่อใดก็ตามที่ตราประทับ พรมแดนหรือเครื่องหมายใดของการแบ่งแยกทางชาติพันธุ์เกิดเป็นเหตุการณ์จริงในการปฏิสัมพันธ์กัน ตราประทับ พรมแดนหรือเครื่องหมายเหล่านั้นได้ถูกสร้างขึ้นโดยเฉพาะ (น.92) ดังกรณีตัวอย่างของเจ๊กไฮ้ (Cek Hai) ในวงสนทนาของชาวบ้านซึ่งมีเจ้าหน้าที่อำเภอและผู้เขียนร่วมอยู่ด้วย ชาวบ้านใช้คำเรียกเจ๊กไฮ้ต่างกันเมื่อเหตุการณ์ในวงสนทนาเปลี่ยนไป ชาวบ้านใช้คำ "เจ๊กไฮ้" เมื่อในวงสนทนามีแต่ชาวบ้านด้วยกัน ซึ่งคำว่า "เจ๊ก" หมายถึงคนจีน เป็นคำนำหน้าชื่อที่แสดงการดูถูก และแสดงถึงการเป็นคนอื่นที่ต่างจากชาวบ้าน แต่เมื่อมีเจ้าหน้าที่อำเภอเข้าร่วมวงสนทนาด้วย ชาวบ้านก็เปลี่ยนคำเรียก "เจ๊กไฮ้" เป็น "กู๋" (Koo) แทน ซึ่งหมายถึงพี่ชาย เป็นคำแสดงชาติพันธุ์ที่มีนัยยะความหมายเชิงยกย่อง เป็นการแสดงถึงการเป็นคนในเมืองที่ร่ำรวย มีฐานะสูง เช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่อำเภอ ขณะที่ใช้คำว่า "กาดปู้น" (kaat pun) เมื่อพูดกับผู้เขียน หมายถึง คนที่อยู่ในตลาด เพราะผู้เขียนไม่รู้จักเจ๊กไฮ้ว่าเป็นใคร คำเรียกเจ๊กไฮ้ทั้งสามคำแสดงถึงการจัดลำดับชั้นการเป็นคนในและคนนอก โดยสองคำแรกแสดงถึงการมีความรู้และวัฒนธรรมร่วมกัน ส่วนคำที่สามแสดงถึงการเป็นคนนอก (น.91-93)

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst อธิตา สุนทโรทก Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG ลื้อ, ชาติพันธุ์วรรณา, อัตลักษณ์ชาติพันธุ์, วัฒนธรรม, ปฏิสัมพันธ์, เชียงคำ, เชียงราย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง