สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ผู้ย้อย ย้อย ลาวย้อย ไทย้อย โย่ย,สังคม,วัฒนธรรม,สกลนคร
Author ลัดดา พนัสนอก
Title วัฒนธรรมชาวไทโย้ยบ้านอากาศ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ไทโย้ย โย่ย โย้ย ไทยโย้ย ไทย้อย ผู้ย้อย ย้อย ลาวย้อย, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 101 Year 2538
Source สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
Abstract

วัฒนธรรมทางด้านคติธรรมของไทโย้ย มีการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษโดยมีบิดา มารดาเป็นผู้อบรม วัฒนธรรมทางด้านเนติธรรม มีการปฏิบัติตามจารีตประเพณี มีความเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติ เช่น การนับถือผี เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีความเชื่อเรื่องขวัญและยึดระบบอาวุโส เมื่อเกิดการขัดแย้งกันผู้อาวุโสจะเป็นที่พึ่ง วัฒนธรรมทางวัตถุธรรม ไทโย้ยสร้างเรือนอยู่เองโดยมีญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านช่วย ลักษณะทางสถาปัตยกรรมปัจจุบันยังเป็นแบบดั้งเดิมมาก การปลูกเรือนนิยมหันหน้าเรือนออกสู่ถนน วัฒนธรรมทางสหธรรม ไทโย้ยยึดมั่นในระบบผัวเดียวเมียเดียว ไม่นิยมจดทะเบียนเนื่องจากไม่เห็นความสำคัญ บิดามารดามีหน้าที่เลี้ยงดูและสั่งสอนบุตรธิดา การแต่งงานสามารถแต่งกับคนในกลุ่มหรือนอกกลุ่มก็ได้ไม่มีการห้าม ไทโย้ยมีเจ้าโคตรของแต่ละตระกูลเป็นผู้ควบคุมพฤติกรรมของคนในกลุ่มของตน ส่วนในด้านการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมพบว่า วัฒนธรรมหลักของประเทศได้เข้าไปมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมดั้งเดิมมากขึ้น ตามแนวคิดทฤษฎีการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม เช่น การเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากนโยบายของรัฐเพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่นของคนในชาติโดยการจัดการศึกษาแก่เยาวชนในท้องถิ่น

Focus

ศึกษาลักษณะวัฒนธรรมของไทโย้ยบ้านอากาศ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร ในแง่คติธรรม เนติธรรม วัตถุธรรมและสหธรรม ตลอดจนการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ไทโย้ย

Language and Linguistic Affiliations

ไทโย้ยพูดภาษาไทโย้ยเฉพาะในกลุ่มของตนแต่เมื่อสื่อสารกับคนนอกกลุ่มจะใช้สำเนียงไทยลาวหรือไทยกลาง (หน้า 26)

Study Period (Data Collection)

พ.ศ. 2538

History of the Group and Community

ไทโย้ยบ้านอากาศ โย้ย หมายถึง คนไทกลุ่มหนึ่งซึ่งอพยพมาจากทางซ้ายของแม่น้ำโขง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในภาคอีสานบริเวณอำเภอวานรนิวาสและอำเภออากาศอำนวย ไทโย้ยมีรูปร่างลักษณะเหมือนกับคนไทยต่างเพียงสำเนียงพูดเท่านั้น ไทโย้ยอพยพ จากทางซ้ายของแม่น้ำโขงเข้ามาในประเทศไทยหลายครั้งโดยเฉพาะในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อครั้งที่ยกกองทัพเข้าตีเมืองเวียงจันทน์และหัวเมืองบริวารเมื่อ พ.ศ. 2321 กองทัพไทยได้กวาดต้อนผู้คนจำนวนมากมาตั้งบ้านเรือนในเมืองต่างๆ เช่นกรุงธนบุรี หลัง พ.ศ. 2380 ท้าวศรีสุราช ท้าวจันทนาม ท้าวนามโคตร พร้อมไพร่พลจำนวนกว่าสองพันเศษอพยพข้ามแม่น้ำโขงเข้ามาในประเทศไทยเพื่อหาที่ตั้งบ้านเรือนทำกิน โดยเลือกแหล่งที่มีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ มีแหล่งน้ำเป็นสำคัญ ในเวลาต่อมาพบว่าลำน้ำยามซึ่งเป็นลำน้ำย่อยของแม่น้ำสงครารมมีความเหมาะสม จึงทำการถางป่าและขุดแหล่ง น้ำเพิ่มแล้วสร้างบ้านเรือนขึ้น เรียกว่า"บ้านม่วงริมน้ำยาม" (หน้า 17-21) เพราะมีลำน้ำยามไหลผ่าน ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านม่วงริมยามเป็นเมืองชื่อ "เมืองอากาศอำนวย" โดยแต่งตั้งท้าวศรีสุราชเป็นผู้ครองเมือง จึงมีฐานะเป็นเมืองขึ้นกับจังหวัดนครพนม ต่อมา พ.ศ. 2428 ได้มีการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองใหม่ได้ยุบอำเภออากาศอำนวยเป็นตำบลขึ้นอยู่ในเขตของอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ต่อมา พ.ศ.2506 จอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ ได้ยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ ขึ้นกับอำเภอวานรนิวาส และต่อมาได้ยกฐานะจากกิ่งอำเภอเป็นอำเภออากาศอำนวยเมื่อ วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2508 จนถึงปัจจุบัน (หน้า 12-13)

Settlement Pattern

บ้านอากาศจัดว่าเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ มีแม่น้ำขามไหลผ่าน เป็นหมู่บ้านในเขตสุขาภิบาล (หน้า 16-17) การปลูกเรือนนิยมหันหน้าเรือนออกสู่ถนน สมัยก่อนไม่นิยมทำรั้ว ปัจจุบันนิยมทำรั้วรอบบ้านเพราะป้องกันสัตว์เลี้ยงกินพืชผักสวนครัวในบ้าน เพื่อกั้นขอบเขตและป้องกันการลักขโมย เดิมรั้วทำด้วยไม้ไผ่เป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันนิยมแต่รั้วที่ทำด้วยคอนกรีตและลวดหนาม บ้านแบบเก่ามีลักษณะใต้ถุนสูง หลังคาสามเหลี่ยมหน้าจั่วมีน้อย ส่วนแบบที่สร้างใหม่มีทั้งแบบที่สร้างด้วยไม้และก่ออิฐถือปูนชั้นล่าง บ้านโดยมากมี 1-2 ห้องนอน ห้องที่สำคัญคือ ห้องพระ ห้องนอนและห้องลูกสาว (หน้า 37, 40-41)

Demography

อำเภออากาศอำนวยมีประชากรทั้งสิ้น 55,398 คน ความหนาแน่นโดยเฉลี่ย 84.7 คนต่อตารางกิโลเมตร บ้านอากาศ มีประชากร 9,066 คนจำแนกเป็นชาย 4,242 คน หญิง 4,824 คน ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทโย้ยทั้งสิ้น (หน้า 15-16) บ้านม่วงริมน้ำยามเมื่อแรกตั้งเมืองมีประชากรทั้งหมด 2,339 คน มีพระสงฆ์ สามเณร คนชราและคนพิการ 109 คน ท้าวเพีย 109 คน ฉกรรจ์ 240 คน (หน้า 22)

Economy

อาชีพหลักของไทโย้ย คือ การทำนา ส่วนอาชีพเสริมได้แก่ การหาปลา การจักสาน การทอผ้าและตัดเย็บเสื้อผ้า (หน้า 26)

Social Organization

ครอบครัวไทโย้ยนิยมแต่งงานผัวเดียวเมียเดียว พ่อบ้านมีหน้าที่รับผิดชอบในครอบครัว แม่บ้านมีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องภายในบ้าน โดยทั้งสามีหรือภรรยาจะเป็นผู้อบรมบุตรธิดาในเรื่องต่างๆ (หน้า 35-36) ไทโย้ยในวัยเด็กจะได้รับการอบรมสั่งสอนให้รู้จักช่วยครอบครัว เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นจะได้รับการฝึกอาชีพจากหัวหน้าครอบครัว เมื่อมีครอบครัวก็จะทำอาชีพเช่นเดียวกับที่บรรพบุรุษของตนเคยปฏิบัติ (หน้า 49)

Political Organization

อำเภออากาศอำนวยแบ่งการปกครองออกเป็น 8 ตำบล 68 หมู่บ้าน มีสุขาภิบาล 1 แห่งคือ สุขาภิบาลอากาศอำนวย ส่วนบ้านอากาศ เป็นหมู่บ้านหนึ่งในเขตสุขาภิบาลตำบลอากาศอำนวย ประกอบด้วย 11 หมู่บ้าน มี 2,030 ครัวเรือน (หน้า 15-16)

Belief System

ประเพณีที่สำคัญของชนกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขงคือ พิธีลอยเรือไฟ (หน้า 20) ไทโย้ยนับถือพุทธศาสนาตามบรรพบุรุษควบคู่กับการนับถือผี ผีที่ไทโย้ยนับถือได้แก่ ผีบรรพบุรุษ ซึ่งเป็นผีประจำตระกูล ผีเรือน เป็นผีประจำครอบครัว ผีปู่ตา เป็นผีประจำหมู่บ้าน และผีตาแฮก ซึ่งเป็นผีที่ดูแลไร่นาไม่ให้เสียหายจากภัยพิบัติต่างๆ จะต้องมีการเซ่นสรวงหรือทำพิธีเลี้ยงผีเหล่านี้เสมอ ไทโย้ยยึดฮีตสิบสองเป็นประเพณีเช่นเดียวกับคนไทยอีสาน ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับชีวิต เริ่มจากประเพณีการเกิด จะมีการผูกแขน การบวชจะมีการทำขวัญ การแต่งงานจะมีพิธีบายศรีและการตายจะมีการสวดทำบุญอุทิศส่วนกุศล ประเพณีโดยมากทำ เพื่อความสบายใจและเพื่อความเป็นสิริมงคลต่อชีวิต ไทโย้ยมีความเชื่อเรื่องขวัญ เชื่อว่าถ้าขวัญอยู่กับตัวย่อมทำให้ปราศจาก โรคภัย ส่วนการทำขวัญจะนิยมทำเมื่อเกิดเหตุร้าย เช่น ได้รับอุบัติเหตุต่างๆ การสะเดาะเคราะห์ เป็นความเชื่อเรื่องโหราศาสตร์จัดพิธี ในกรณีที่เจ็บป่วย มีลางร้ายหรือฝันร้ายนอกจากความเชื่อดังกล่าวแล้วไทโย้ยยังมีความเชื่อในเรื่องฤกษ์ยามอีกด้วย (หน้า29,32)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่ปรากฏชัดเจน กล่าวเพียงว่า มีการสะเดาะเคราะห์ในกรณีที่เจ็บป่วยหรือมีลางร้ายและนิยมทำพิธีเรียกขวัญในกรณีเมื่อเกิดเหตุร้าย เช่น ได้รับอุบัติเหตุต่างๆ (หน้า 32)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไทโย้ยสมัยโบราณแต่งกายด้วยเสื้อผ้าฝ้ายย้อมครามทอมือ เย็บมือ สีกรมท่าเข้มออกดำ เสื้อแขนทรงกระบอก กางเกงขาทรงกระบอก มีผ้าขาวม้าผ้าฝ้ายหรือผ้าไหมผูกเอว ส่วนผู้หญิงใส่เสื้อแขนทรงกระบอก นุ่งผ้าถุงมัดหมี่มีหัวซิ่นและตีนซิ่น มีผ้าสไบลวดลายต่างๆ พาดไหล่ สามารถแต่งได้ทุกเวลา - เด็กหญิง จะสวมเสื้อคอกลม มีจีบรูดถี่ๆ สวมหัว ไม่มีแขนตัดด้วยผ้าฝ้าย นุ่งซิ่น ต่างๆ (ผ้าถุง) ทรงผมนิยมตัดสั้นแค่ใบหู - หญิงสาว ขณะอยู่บ้านจะสวมเสื้อต่องผ่าหน้าติดกระดุมหรือผ้าเคียนอกซึ่งเป็นผ้าขาวม้าฝ้ายย้อมคราม เมื่อไปทำบุญที่วัดจะใส่เสื้อแขนกระบอกบางครั้งจะห่มผ้าเบี่ยงทับตัวเสื้อ นุ่งซิ่นต่ง แบบเหน็บชายพก ไม่คาดเข็มขัด นิยมไว้ผมทรงซิงเกิ้ล ทรงดอกกระทุ่ม ทรงบ๊อบ และผมยาวเกล้ามวยสูงก็มี - สำหรับหญิงที่แต่งงานมีบุตรแล้วนิยมเปลือยอก ส่วนหญิงที่มีฐานะจะสวมเสื้อทับเสื้ออ้องอีกชั้นหนึ่ง หญิงมีอายุ สวมเสื้อต่อง หรือเสื้ออ้อง บางครั้งใช้เพียงผ้าขาวม้ามาห่มพาดเบี่ยงพาดอก นุ่งซิ่นหมี่ลาดหรือหมี่คั่น ไว้ผมทรง ซิงเกิ้ลและผมยาวเกล้ามวยสูง - เด็กชาย เดิมไม่ค่อยให้สวมเสื้อเมื่อไปโรงเรียงจึงจะสวมเสื้อ นุ่งซ่งหรือกางเกง ผมตัดสั้น - ชายหนุ่ม โดยทั่วไปไม่นิยมสวมเสื้อยกเว้นตอนไปงานทำบุญจะสวมเสื้อคอกลมผ่าหน้าแขนสั้น แต่เดิมนุ่งผ้าขาวม้าแบบนุ่งผ้าเตี่ยวเมื่ออกทำงานจะนุ่งผ้าโสร่ง เมื่อไปทำบุญหรืองานเทศกาลจะมีผ้าขาวม้าพาดไหล่ ระยะต่อมานิยมสวมกางเกงที่เรียกว่า ซ่งอุดร (ทรงอุดร) เป็นกางเกงขาสั้นคล้ายกางเกงนักเรียน และยังมีกางเกงอีกประเภทหนึ่งเป็นกางเกงขาสั้นหูรูด เรียกว่าทรงหูฮูด ภายหลังใช้เป็นกางเกงชั้นในต่อมามีกางเกงทรงฮั่งหรือกางเกงขาก๊วย ทรงผมไว้ทรงปีก (หวีผมแสกกลาง) - ส่วนชายมีอายุ ถ้าอยู่บ้านจะนุ่งผ้าขาวม้าหรือนุ่งซ่งหูรูดไม่สวมเสื้อยกเว้นไปวัด ไปงานบุญจะแต่งกายเหมือนผู้ชายคนอื่นๆ แต่ปัจจุบันจะแต่งเฉพาะในเทศกาลเท่านั้น ในชีวิตประจำวันจะแต่งชุดธรรมดาเหมือนคนกลุ่มอื่นๆ ถ้าเป็นงานศพจะแต่งกายไว้ทุกข์สีขาว สีดำหรือสีสุภาพ (หน้า 41-44)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

- แม่น้ำยาม เส้นเลือดชีวิตของไทโย้ยบ้านอากาศ (หน้า 82) - อีกมุมหนึ่งของแม่น้ำยาม (หน้า 83) - สิม(โบสถ์)เก่าแต่บูรณะใหม่ที่วัดกลาง (หน้า 84) - ศาลาการเปรียญวัดกลางที่ประดิษฐานพระแก้ว (หน้า 85) - ส่วนหนึ่งของครัวไฟในบ้านไทโย้ย (หน้า 86) - ใต้ถุนบ้านของไทโย้ยเก็บกองฟืนไว้สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิง (หน้า 87) - ยามว่างของแม่บ้านไทโย้ย (หน้า 88) - แม่บ้านไทโย้ยกำลังทอผ้า (หน้า 89) - ไทโย้ยร่วมกันทำบุญในงานเทศกาลเข้าพรรษา (หน้า 90) - ไทโย้ยร่วมกันทำบุญในงานเทศกาลบุญกฐิน (หน้า 91) - บายศรีสู่ขวัญงานมงคล (หน้า 92,93) - การแต่งกายของไทโย้ยสูงอายุ (หน้า 95,96,97) - การแต่งกายของไทโย้ยชาย- หญิงอีกลักษณะหนึ่ง (หน้า 98) - แผนที่แสดงเขตการปกครองอำเภออากาศอำนวย (หน้า 100) - แผนที่จังหวัดสกลนคร (หน้า 101)

Text Analyst สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ Date of Report 31 ต.ค. 2555
TAG ผู้ย้อย ย้อย ลาวย้อย ไทย้อย โย่ย, สังคม, วัฒนธรรม, สกลนคร, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง