สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject บ้านครัวเหนือ,บ้านแขกครัว,ประวัติความเป็นมา,การตั้งถิ่นฐาน,สภาพเศรษฐกิจ,สังคม,วัฒนธรรม,กรุงเทพมหานคร
Author เสาวภา พรสิริพงษ์, พรทิพย์ อุศุภรัตน์, ดวงพร คำนูณรัตน์
Title การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับชุมชนบ้านครัวเหนือ (บ้านแขกครัว) กรณีศึกษา สภาพเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity มลายู ออแฆนายู มลายูมุสลิม ไทยมุสลิม, Language and Linguistic Affiliations ไม่ระบุ
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 76 Year 2532
Source สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล
Abstract

ผู้วิจัยได้บรรยายสภาพเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมชุมชนบ้านครัวเหนือ (บ้านแขกครัว) ภายหลังอาชีพการทอไหมซึ่งเป็นอาชีพหลักของชุมชนลดบทบาทลง

Focus

เน้นการพรรณนาสภาพชุมชนของไทยมุสลิมเชื้อสายแขกจาม รวมประวัติความเป็นมา สาเหตุการเข้ามาตั้งถิ่นฐาน, ลักษณะทางกายภาพของชุมชน, สภาพเศรษฐกิจและสังคม, ลักษณะทางประชากรและความสัมพันธ์, กลุ่มทางสังคมและความรู้สึกรวมทั้งการมีส่วนร่วมทางการเมือง (หน้า 55)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ไทยมุสลิมเชื้อสายแขกจาม

Language and Linguistic Affiliations

ประชากรส่วนใหญ่ของชุมชนบ้านครัวเหนือร้อยละ 70 เป็นไทยมุสลิมซึ่งประกอบด้วยไทยมุสลิมรุ่นเก่า และไทยมุสลิมรุ่นใหม่ กลุ่มคนไทยเชื้อสายจีน และกลุ่มคนอีสาน ไทยมุสลิมรุ่นเก่า ส่วนมากพูดภาษาเขมรได้และนิยมพูดภาษาเขมรระหว่างคนมีอายุด้วยกัน โดยเฉพาะเมื่อไม่ต้องการให้ผู้อื่นเข้าใจเรื่องที่ตนเองสนทนา (หน้า 24) ด้วยเหตุที่คนมุสลิมเชื้อสายแขกจามที่บ้านครัวเหนือ มีบรรพบุรุษที่อพยพจากเวียดนามเข้าไปอยู่ในกัมพูชา และผสมกลมกลืนกับคนเขมร จึงใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาพูด คนเฒ่าคนแก่ที่ยังคงมีชีวิตอยู่ที่บ้านครัวเหนือ บอกว่ารู้ภาษาจามแต่พูดไม่ได้ (หน้า 11) ไทยมุสลิมรุ่นใหม่ไม่รู้ภาษาเขมร แต่จะเรียนภาษาอาหรับเพื่ออ่านพระคัมภีร์อัลกุรอ่าน (หน้า 24) สำหรับกลุ่มคนไทยเชื้อสายจีนพูดภาษาไทยและภาษาจีนกันในครอบครัว บางคนพูดเขมรได้ (หน้า 28) ส่วนคนอีสานจะใช้ภาษาถิ่นภายในครอบครัว และกับคนอีสานด้วยกัน มีบางครอบครัวที่มีลูกเกิดในกรุงเทพฯ ก็อาจพูดภาษาถิ่นและภาษากลางกับลูก (หน้า 31)

Study Period (Data Collection)

มกราคม พ.ศ.2528 ถึง พฤษภาคม พ.ศ.2529

History of the Group and Community

เมื่อ พ.ศ. 2376 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไทยทำสงครามกับเขมร ได้กวาดต้อนเชลยสงครามคนเขมรรวมทั้งคนจามเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ในกรุงเทพฯ (หน้า 5) ผู้วิจัยได้อ้างถึง ชวน ขำสุวัฒน์ (2514 : 21-22) ได้กล่าวถึงจามว่า " เจ้าพระยาบดินทรเดชา ได้กวาดต้อนครอบครัวเขมรรวม 3,000 คนเศษ ส่งเข้ามากรุงเทพฯ ผ่านทางเมืองปราจีนบุรี ได้แบ่งครอบครัวไว้สำหรับเมืองปราจีนบุรีบ้าง และที่เหลือนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดครอบครัวเขมรไปอยู่ที่คลองมหานาค ตลอดไปจนลำคลองหัวหมาก บางกะปิ พร้อมทั้งพระราชทานที่บ้าน ที่สวนให้อยู่ทำมาหากินเป็นปกติ และให้เป็นไพร่หลวงรักษาเรือรบตามริมคลองบางกะปิ เขมรพวกนี้ได้ชื่อว่าเป็นแขกเขมรโดยมีบิดาเป็นแขก มารดาเป็นเขมร ไทยเรียกว่า แขกครัว เพราะไทยกวาดครอบครัวมาทั้งหมด (หน้า 5) จากการสัมภาษณ์ผู้นำศาสนาของชุมชน ซึ่งมีอายุ 70 ปี ถึงการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของแขกครัว ได้ความว่า แขกครัวได้อพยพมาจากพระตะบอง ประเทศกัมพูชา มาอยู่ที่ชุมชนบ้านครัวมากว่า 4 ชั่วอายุคนแล้ว สมัยก่อนบริเวณนี้เรียกว่า บ้านแขกครัว มุสลิมบ้านครัวมาจากหลายๆ ตำบลในเขมร มาจากตำบลใดก็มักเรียกชื่อบริเวณที่ตนเองอาศัยอยู่ตามชื่อตำบลดั้งเดิมในเขมร (หน้า 6)

Settlement Pattern

ลักษณะพื้นที่ของชุมชนบ้านครัวเหนือยาวขนานไปตามชายฝั่งคลองมหานาคทางด้านเหนือ ซึ่งเป็นชุมชนที่อยู่ใจกลางกรุงเทพฯ ชาวบ้านสามารถติดต่อกับชุมชนภายนอกได้อย่างสะดวก ในช่วงเวลาที่สำรวจชุมชนมีจำนวนหลังคาเรือน 623 หลัง บ้านเรือนส่วนใหญ่จะเป็นบ้านไม้ มีทั้งบ้านชั้นเดียวและสองชั้น ปลูกกันอยู่หนาแน่น มีทางเดินกว้างประมาณ .70 เมตร เชื่อมติดต่อกัน เมื่อสมาชิกในครอบครัวเพิ่มขึ้น ก็จะแบ่งพื้นที่ให้สร้างบ้าน ทำให้ที่ดินมีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ เนื่องจากพื้นที่ดินมีจำนวนจำกัด ไม่สามารถขยายออกไปได้อีก จนทำให้เกิดความแออัด (หน้า 16)

Demography

ชุมชนบ้านครัวเหนือมีจำนวนหลังคาเรือน 623 หลัง และมีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 1,121 ครัวเรือน มีประชากร 6,200 คน แยกเป็นประชากรชายร้อยละ 47.12 ประชากรหญิงร้อยละ 52.88 ความหนาแน่นของประชากร ประมาณ 180 คนต่อไร่ ประชากรร้อยละ 70 เป็นมุสลิม ที่เหลือเป็นไทยเชื้อสายจีน ไทยอีสาน ภาคกลาง และภาคอื่น ๆ (หน้า 24)

Economy

อาชีพดั้งเดิมของชุมชนบ้านครัวเหนือ คือ การทอผ้าไหม ซึ่งเฟื่องฟูมากในยุคที่จิม ทอมสันเข้ามามาสนับสนุน ซึ่งกิจการทอผ้าไหมทำให้มีธุรกิจอย่างอื่นเกิดขึ้นซึ่งเป็นการสร้างงานในชุมชน เช่น การย้อมไหม ลงแป้งไหม กรอไหมยืนและไหมพุ่ง การเก็บตะกอและขึ้นหัวม้วน การทอผ้า การรับจ้างสอยผ้าไหมแบต่างๆ แต่เมื่อจิม ทอมสันหายสาบสูญไป ธุรกิจนี้เริ่มมีอุปสรรคและซบเซามากขึ้นจนส่วนใหญ่ต้องเลิกกิจการไป ผู้ที่เลิกกิจการก็จะทำธุรกิจบ้านเช่าแทน ให้คนอีสาน นักศึกษาเช่า นอกจากนั้น คนในชุมชนยังทำอาชีพอื่นๆ เช่น รับราชการ รับจ้าง ค้าขายเล็ก ๆ น้อย ๆ ขับแท็กซี่ เป็นต้น ซึ่งกิจการทอไหมในบ้านครัวยังดำเนินอยู่ เพียงแต่ไม่ได้เป็นอาชีพส่วนใหญ่ของคนในชุมชน (หน้า 21)

Social Organization

สมัยก่อน แขกครัวนิยมแต่งงานกันเองในหมู่ญาติที่เป็นลูกพี่ลูกน้อง โดยครอบครัวเป็นผู้จัดการแต่งงานให้ ซึ่งความนิยมดังกล่าว ทำให้คนในชุมชนส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์เป็นแบบเครือญาติ ซึ่งนำมาสู่ความสนิทสนมและการช่วยเหลือ (หน้า 10) รวมถึงคำสอนทางศาสนาอิสลามที่สอนให้คนมุสลิมรักใคร่กันเหมือนพี่น้อง ส่วนศาสนาอิสลามก็ได้มีอิทธิพลต่อการจัดองค์กรทางสังคมในชุมชน โดยมีมัสยิดเป็นศูนย์กลางกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม โต๊ะอิหม่ามซึ่งเป็นผู้นำทางศาสนามาจากการเลือกตั้งและอยู่ในตำแหน่งตลอดชีวิต ส่วนคณะกรรมการมัสยิดมาจากการเลือกตั้ง ทุก ๆ 4 ปี (หน้า 21)

Political Organization

เมื่อการเคหะแห่งชาติเข้ามาพัฒนาปรับปรุงชุมชนบ้านครัวเหนือ ได้มีการเลือกตั้งกลุ่มทางสังคมซึ่งมีบทบาทต่อกิจกรรมต่าง ๆ ภายในชุมชน 2 กลุ่มคือ คณะกรรมการชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุข ซึ่งประกอบด้วยคนไทยมุสลิมและคนไทยเชื้อสายจีน (หน้า 31, 33-48) กลุ่มทางสังคมกลุ่มที่ 1 คือคณะกรรมการชุมชนจะมาจากการเลือกตั้งซึ่งมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อม เช่น แต่งตั้งคณะกรรมการโดยการเคหะ, การสอบถามแล้วแต่งตั้งและการเลือกตั้งซึ่งทางเขตพญาไทเป็นผู้รับผิดชอบ คณะกรรมการไม่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย เป็นเพียงตัวแทนจากชุมชนเพื่อประสานงานกับภาครัฐและเอกชนให้เกิดความสะดวก สงบเรียบร้อยในชุมชน เช่น การของบประมาณสร้างสะพานข้ามคลอง, ดูแลเรื่องขยะ, งานด้านอาชีพและสุขภาพ โครงสร้างของคณะกรรมการประกอบด้วย ประธาน รองประธาน ที่ปรึกษา เลขานุการ ประชาสัมพันธ์ เหรัญญิก กรรมการฝ่ายการศึกษา กีฬา ฝ่ายบริการชุมชนและฝ่ายกิจกรรมพิเศษ แม้ว่าชาวบ้านส่วนใหญ่จะมองว่าคณะกรรมการมีความจำเป็นต่อชุมชน และเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ แต่ชาวบ้านและคณะกรรมการก็มีความขัดแย้งและไม่ลงรอยกัน โดยชาวบ้านเห็นว่าคณะกรรมการมีความขัดแย้งกันเอง เนื่องมาจากอุดมการณ์ทางการเมืองต่างกัน และการขาดการประชาสัมพันธ์ในการทำงาน ส่วนคณะกรรมการมีความเห็นต่อชาวบ้านในส่วนของการไม่ให้ความร่วมมือต่อคณะกรรมการและการพัฒนาชุมชน ซึ่งจากการย้ายเข้ามาพักพิงในชุมชนของชาวอีสานได้เป็นปัญหาหนึ่งของการทำงานของคณะกรรมการชุมชน ทั้งนี้ คณะกรรมการเห็นว่า ชาวอีสานขาดจิตสำนึกว่าไม่ใช่ชุมชนของตนและความเกรงใจชาวชุมชน เช่น การไม่ระวังเรื่องไฟ, การทำเสียงดังและไม่ดูแลเรื่องความสะอาด สำหรับอนาคตของคณะกรรมการนั้น มีแนวโน้มว่าคนหนุ่มสาวที่มีความรู้และเข้าใจในงานพัฒนาจะเข้ารับสมัครเพื่อเป็นคณะกรรมการชุมชนชุดต่อไป โดยชาวบ้านไม่ได้เห็นความสำคัญว่า คณะกรรมการควรเป็นชาวจีนหรือมุสลิม กลุ่มทางสังคมกลุ่มที่ 2 คือ อาสาสมัครสาธารณสุข หรือ อสม. ซึ่งดูแลประสานงานเรื่องสุขภาพรวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน อสม. มาจากการคัดเลือกตัวแทนจากซอยต่างๆ ในชุมชนแล้วเข้ารับการอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขขั้นมูลฐาน โดยสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร และจะมีการอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้อย่างต่อเนื่อง อสม. หนึ่งคนจะรับผิดชอบชาวบ้านประมาณ 30-40 หลังคาเรือน ซึ่งอสม.ได้รับผลตอบแทนด้วยการเข้ารับการรักษาพยาบาลฟรีจากโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร (หน้า 37-49)

Belief System

ศาสนาที่สำคัญของชุมชนบ้านครัวคือ ศาสนาอิสลาม ซึ่งศาสนาได้มีบทบาทต่อการจัดตั้งองค์กรชุมชน โดยมีมัสยิดเป็นศูนย์กลาง ซึ่งไทยมุสลิมมีความเชื่อและมีการปฏิบัติด้านศาสนาสอดคล้องกับหลักการของศาสนามากกว่าไทยพุทธ โดยมีความเชื่อและการปฏิบัติที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจงและมีความถี่ในการปฏิบัติมากกว่า ส่วนไทยพุทธในชุมชนมีการปฏิบัติด้านศาสนาค่อนข้างน้อย เพราะเหตุผลด้านเศรษฐกิจ (หน้า 22)

Education and Socialization

ไม่ระบุชัดเจน

Health and Medicine

ชาวชุมชนบ้านครัวเหนือเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เช่น หอบ หวัดเรื้อรัง และโรคปอด เพราะบ้านเรือนที่สร้างติดๆ กัน ทำให้อากาศไม่ถ่ายเท สภาพน้ำครำและเศษขยะใต้ถุนบ้านและท่อระบายน้ำ ทำให้น้ำมีกลิ่นเหม็นตลอดเวลา เมื่อมีปัญหาด้านสุขภาพ ชาวชุมชนส่วนใหญ่ซื้อยาจากร้านขายยาโดยขอคำแนะนำจากร้านขายยา และรักษาเองตามประสบการณ์ของญาติและเพื่อน ซึ่งยาที่ใช้เป็นแผนปัจจุบันร้อยละ 61 นอกนั้นใช้ยาแผนโบราณและอื่น ๆ นอกจากนั้น ทุก ๆ วันอังคารจะมีแพทย์จาก กทม. มาให้บริการฟรีที่สุเหร่าเกาะกอย ถ้าเจ็บป่วยกะทันหันไปรักษาที่คลีนิค ใกล้ ๆ ถ้ามีอาการมากจะไปรักษาตามโรงพยาบาลของรัฐในบริเวณใกล้เคียง เช่น โรงพยาบาลตำรวจ, โรงพยาบาลกลาง, โรงพยาบาลวชิระ (หน้า 23)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

อาชีพทอผ้าไหมเป็นอาชีพดั้งเดิมของผู้หญิงบ้านครัวซึ่งสืบทอดมาตั้งแต่สมัยยังอยู่ที่เขมร เมื่อถูกกวาดต้อนเข้ามาตั้งรกรากริมคลองมหานาคในรัชกาลที่ 3 ก็ประกอบอาชีพดั้งเดิม จึงเกิดเป็นกิจการทอผ้าไหม ส่วนผู้ชายถึงแม้จะถนัดการเดินเรือ ยังมีส่วนร่วมในกิจการผ้าไหม เช่น ย้อมไหม, กระทบไหม รวมทั้งออกไปหาวัตถุดิบและนำผ้าไหมไปขายต่างถิ่นทั้งในเมืองไทยและประเทศใกล้เคียง ในอดีตนั้น ชาวบ้านบ้านครัวจะทอผ้าไหมกันทุกบ้าน ผ้าไหมบ้านครัวได้รับการยกย่องว่ามีคุณภาพดีและเป็นที่นิยม ซึ่งขั้นตอนการทำผ้าไหมในอดีตนั้นจะเริ่มด้วยการนำไหมดิบมาย้อมในหม้อต้ม โดยผสมขี้เถ้าจากไม้แสมแทนด่างจนสะอาด จากนั้น จึงบิดให้แห้งแล้วย้อมสีธรรมชาติก่อนเริ่มกระบวนการทอ สมัยนั้นแรงงานจะเป็นแรงงานภายในทั้งหมด กิจการทอผ้าไหมของบ้านครัวรุ่งเรืองสุดขีดช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 - พ.ศ.2510 โดยจิม ทอมสันซึ่งเป็นคนอเมริกัน ได้เข้ามาส่งเสริมธุรกิจทอผ้าไหมทั้งการแนะนำเรื่องสี การกำหนดลาย การใช้กี่กระตุกและการให้ชาวบ้านร่วมหุ้นในรูปแบบบริษัท ซึ่งเป็นช่วงที่แรงงานภายนอกจากอีสานอพยพเข้ามา หลังจากการหายตัวไปของจิม ทอมสัน ธุรกิจนี้ก็ซบเซาลง บริษัทของจิมทอมสันตั้งโรงงานเป็นของตนเองรวมทั้งมีการกำหนดคุณภาพงานที่เข้มงวดขึ้น ประกอบกับภาวะค่าเงินและราคาวัตถุดิบ ทำให้ชาวบ้านหลายรายเลิกกิจการทอผ้าไหม ซึ่งจากช่วงเวลานั้นจนถึงปัจจุบัน ยังมีชาวบ้านที่ประกอบอาชีพทอผ้าไหมโดยใช้เทคโนโลยีพื้นบ้าน และนำเข้าไหมจากประเทศญี่ปุ่น จีน บราซิลนอกเหนือจากไหมจากภาคอีสาน และประกอบกิจการที่เกี่ยวกับการทอผ้าไหมบ้าง เช่น สอยผ้าไหม กรอไหม เป็นต้น (หน้า 58-75)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มอื่น ๆ ในชุมชนของไทยมุสลิมนั้นมีอยู่ 2 กลุ่มคือ คนไทยเชื้อสายจีน และคนไทยอีสาน ซึ่งกลุ่มคนเชื้อสายจีนจะมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ตั้งบ้านเรือนอยู่รอบนอกชุมชน และกลุ่มที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ภายในชุมชน กลุ่มที่อยู่ภายในชุมชนจะมีทัศนคติและความสัมพันธ์ที่ดีกว่ากลุ่มแรก เพราะอยู่มานานและมีความคุ้นเคยมากกว่าและทราบพิธีกรรมต่าง ๆ ของไทยมุสลิมเป็นอย่างดี แต่ไม่ยุ่งเกี่ยวหรือขัดแย้งกัน ในขณะที่กลุ่มคนไทยจีนที่อาศัยอยู่รอบนอก ค่อนข้างมีทัศนคติทางลบต่อไทยมุสลิม โดยมีความรู้สึกว่าเด็กวัยรุ่นไทยมุสลิมนั้นน่ากลัว ส่วนคนไทยอีสานนั้น มีความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกันและกันในฐานะเจ้าของบ้านและผู้เช่า แต่ไทยมุสลิมส่วนหนึ่งมองว่า สกปรก มีอิสระเสรีทางเพศมากเกินไป เสียงดัง ชอบกินเหล้าและทะเลาะวิวาท ส่วนคนไทยอีสานจะมองว่าคนไทยมุสลิมว่าเป็นพวกเจ้าถิ่น ชอบส่งเสียงดัง (หน้า 26) ซึ่งทัศนคติและการยอมรับขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ส่วนตัว, ระยะเวลาการอาศัยในชุมชน มีอาชีพและเวลาเข้าสังคมกับเพื่อนบ้าน (หน้า 26)

Social Cultural and Identity Change

การเปลี่ยนแปลงด้านสังคมวัฒนธรรมในชุมชนบ้านครัวเหนืออยู่ในระดับที่ไม่รวดเร็วนัก เพราะลักษณะวัฒนธรรมมุสลิมที่ใช้หลักศาสนาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างเคร่งครัด เช่น ความสัมพันธ์ของกลุ่มเครือญาติ แต่ขณะเดียวกันชาวชุมชนพร้อมจะปรับตัวให้อยู่ร่วมกับสังคมภายนอกและมีสำนึกร่วมของความเป็นไทย ซึ่งเห็นได้จากการมีส่วนร่วมและสำนึกทางการเมือง (หน้า 55) แต่อย่างไรก็ตาม การลดบทบาทของอาชีพทอไหมของชุมชนทำให้ชาวบ้านต้องประกอบอาชีพอื่นเพื่อดำรงชีวิตอยู่ คือ อาชีพการทำบ้านเช่า บ้านหลังใหญ่ที่เคยเป็นโรงงานทอผ้าได้แบ่งเป็นห้องเล็ก ๆ ให้คนอีสาน นักเรียน นักศึกษาเช่า (หน้า 20) ปัจจุบันชุมชนบ้านครัวเหนือจึงไม่ได้มีเพียงกลุ่มคนที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษแขกจาม แต่ยังมีกลุ่มเชื้อชาติอื่นที่เข้าไปอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนไทยอีสาน, คนไทยเชื้อสายจีนและคนไทยจากภาคอื่นๆ (หน้า 54-55) นอกจากนั้นเด็กรุ่นหลังที่มีโอกาสเรียนหนังสือก็จะไปประกอบอาชีพอื่นนอกชุมชนที่รายได้มั่นคง เมื่อคนรุ่นพ่อแม่หมดไป กิจการผ้าไหมก็คงจะหมดลงด้วย (หน้า 75)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Text Analyst ภัทรภร ภู่ทอง Date of Report 05 ม.ค. 2566
TAG บ้านครัวเหนือ, บ้านแขกครัว, ประวัติความเป็นมา, การตั้งถิ่นฐาน, สภาพเศรษฐกิจ, สังคม, วัฒนธรรม, กรุงเทพมหานคร, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง