สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject มอญ,สถาปัตยกรรม,การอนุรักษ์,พระประแดง,สมุทรปราการ
Author สรัญญา ชูชาติไทย
Title แนวทางการอนุรักษ์หมู่บ้านมอญพระประแดง: กรณีศึกษาหมู่บ้านทรงคนอง
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity มอญ รมัน รามัญ, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 178 Year 2543
Source วิทยานิพนธ์สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract

แนวทางที่เหมาะสมในการอนุรักษ์หมู่บ้านทรงคนองที่เหมาะสม คือ การอนุรักษ์ให้เป็นที่อยู่อาศัยของคนมอญต่อไป โดยการเสนอแนวทางการอนุรักษ์ด้วยการส่งเสริมด้านคุณค่าและความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของหมู่บ้าน รวมถึงการเชื่อมโยงหมู่บ้านกับสถานที่สำคัญในอำเภอ พร้อมทั้งปรับปรุงทางกายภาพของชุมชน การควบคุมการก่อสร้างอาคาร การปรับเปลี่ยนรูปแบบทางสถาปัตยกรรมและการพัฒนาด้านระบบสาธารณูปโภคต่างๆ อย่างเหมาะสม

Focus

นำเสนอแนวทางการอนุรักษ์หมู่บ้านมอญพระประแดง กรณีศึกษาหมู่บ้านทรงคนอง

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

มอญหรือรามัญ

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

พ.ศ. 2543

History of the Group and Community

สมัยก่อนพื้นที่ทั้งหมดตั้งแต่อ่าวไทยไปจนถึงตอนใต้ของกรุงศรีอยุธยาเป็นทะเลทั้งหมดต่อมาเกิดการทับถมของตะกอนจนกลายเป็นแผ่นดิน จึงมีผู้คนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานมากขึ้นตามลำดับ โดยสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายว่า เมืองพระประแดงเป็นเมืองที่ขอมสร้างขึ้นเพื่อเป็นเมืองหน้าด่าน เดิมชื่อว่าเมืองบาแดง ตั้งอยู่ที่ตำบลราชบูรณะ (บริเวณคลองเตย เขตพระโขนง) ไม่ใช่ปากลัดในปัจจุบัน เมืองพระประแดงได้เป็นเมืองปากน้ำของขอมจนขอมเสื่อมอำนาจจึงขึ้นอยู่กับเมืองสุโขทัยและต่อมาจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา เมืองสมุทรปราการและเมืองพระประแดงมีบทบาทสำคัญ เป็นเมืองหน้าด่านทางทะเลที่สำคัญมาทุกยุคทุกสมัย โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาตำแหน่งที่ตั้งของเมืองหน้าด่านได้ย้ายที่ตั้งตามความเหมาะสม เนื่องจากเกิดแผ่นดินงอกใหม่ จนกระทั่งสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้พระราชทานนามว่า "นครเขื่อนขันธ์" และให้ย้ายครอบครัวมอญจากเมืองปทุมธานีมีพวกพระยาแจ่ง มีชายฉกรรจ์ 300 คน ลงไปอยู่ที่เมือง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 พ.ศ.2458 เปลี่ยนนามนครเขื่อนขันธ์เป็น จังหวัดพระประแดงและยกเมืองสมุทรปราการขึ้นเป็นจังหวัด ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 7 พ.ศ. 2474 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำจึงได้ยุบจังหวัดพระประแดงเป็นอำเภอขึ้นกับจังหวัดสมุทรปราการ (หน้า 24 - 30) มอญพระประแดง เป็นมอญที่อพยพเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 2 ประกอบด้วยมอญ 2 พวก คือ มอญที่อพยพมาจากเมืองปทุมธานีพร้อมกับการสร้างนครเขื่อนขันธ์ และมอญที่อพยพเข้ามาจากด่านเจดีย์สามองค์และทางเมืองตาก โดยมีสมิงสอดเบาเป็นหัวหน้า กลุ่มนี้เรียกว่า "มอญใหม่" โดยมากจะเป็นพวกนายทหาร การอพยพย่อยยังมีเพิ่มเติมอีกในสมัยรัชกาลที่ 3 ขณะอังกฤษทำศึกกับพม่า มอญในกรุงเทพฯ ได้เรียนท่านเสนาบดีให้กราบบังคมทูลขอยกกองทัพไปรับครอบครัว ญาติพี่น้องที่อยู่ในเมืองมอญเข้ามาไว้ในพระนคร พระองค์จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ) เป็นผู้คุมทัพ และให้ไปตั้งบ้านเรือนที่นครเขื่อนขันธ์เพราะใกล้กับพระนคร และเป็นบริเวณที่มีมอญอยู่มาก และพระราชทานให้อยู่ที่สำโรง บางนา บางพลี มีนบุรี และลาดกระบังเนื่องจากเมืองนครเขื่อนขันธ์มีแต่ป้อม 9 ป้อม ไม่มีที่นา (หน้า 30 -31 )

Settlement Pattern

กลุ่มหมู่บ้านทรงคนอง มีลักษณะการตั้งบ้านเรือนหนาแน่น เห็นลักษณะทางกายภาพของชุมชนโบราณอย่างชัดเจน ส่วนกลุ่มหมู่บ้านโรงเรือนการตั้งถิ่นฐานจะเป็นกลุ่มที่เล็กกว่าและลักษณะทางกายภาพทรุดโทรมกว่าหมู่บ้านทรงคนอง (หน้า 79) ลักษณะการจัดพื้นที่ในหมู่บ้านทรงคะนองจะสัมพันธ์กับกิจกรรมต่างๆ คือ ใต้ถุนบ้านเป็นสถานที่รวมกิจกรรม ประเพณีต่างๆ และการละเล่นสะบ้า ที่ว่างสาธารณะมีเพียงทางเดินและถนนคอนกรีตจะเกิดกิจกรรมตามแนวยาว เช่น ตักบาตร พบปะพูดคุย เป็นที่เล่นของเด็กๆ โดยเฉพาะกิจกรรมจะเกิดขึ้นบริเวณทางแยกสู่บ้านแต่ละหลัง อาคารในหมู่บ้านมีความหนาแน่นสูง ไม่สามารถขยายทางสัญจรเพื่อนำรถเข้าได้ ชาวบ้านจึงฝากจอดรถตามสถานที่ต่างๆ เช่น พื้นที่ของบ้านบางหลัง ลานวัดคันลัด เป็นต้น ทางแยกเข้าสู่หมู่บ้านมีรูปแบบของถนนในเมืองเก่าที่พัฒนามาจากทางเท้าทำให้คับแคบ และขยายตัวลำบาก หมู่บ้านทรงคะนองมีขอบเขตที่ชัดเจน โดยมีคลองถนนและที่ว่างรอบหมู่บ้านเป็นตัวแบ่ง แต่ในด้านทิศเหนือของหมู่ 7 และ 8 มีขอบเขตไม่ชัดเจนเนื่องจากมีการใช้ที่ดินเป็นที่อยู่อาศัยต่อเนื่องกันไป การใช้ที่ดินของหมู่บ้านมีลักษณะอิ่มตัว การขยายตัวของที่พักอาศัยรูปแบบใหม่จึงอยู่รอบนอกของหมู่บ้าน (หน้า 53-60) หมู่บ้านทรงคะนองเป็นพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาจึงมีปัญหาน้ำท่วมในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคมของทุกปีและระดับน้ำที่ท่วมเข้ามาในหมู่บ้านจะสูงขึ้นทุกปี (หน้า 85)

Demography

มอญที่อพยพเข้ามาจากด่านเจดีย์สามองค์และทางเมืองตาก โดยมีสมิงสอดเบาเป็นหัวหน้า เมื่อ พ.ศ. 2358 มีมอญมาถึง 40,000 คนเศษ โดยมากเป็นพวกนายทหาร สมัยเริ่มสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ ในอำเภอพระประแดงมีมอญอพยพมาทั้ง 2 ครั้ง 1,470 คน รวมกับครอบครัวที่ติดตามมาจำนวน 3,000 คนเศษ (หน้า 30) จำนวนประชากรของตำบลทรงคนอง อำเภอพระประแดง เมื่อ ปี พ.ศ. 2534 มีจำนวนประชากร 8,341 คนเดือนตุลาคม พ.ศ. 2542 มีประชากรเพิ่มเป็น 9,256 คน คิดเป็นอัตราการเพิ่ม ร้อยละ 0.2 ต่อปี (หน้า 48)

Economy

ในอดีตมอญในหมู่บ้านมีที่นาและทำนาเป็นหลัก ยามว่างจะทำงานจักสานและเลี้ยงสัตว์ ต่อมาน้ำเสียทำให้นาไม่ได้ผลกอปรกับที่ดินมีราคาสูงขึ้นในช่วง พ.ศ. 2535 - 2538 มอญจึงขายที่เพื่อนำเงินฝากธนาคารและนิยมให้ลูกหลานได้รับการศึกษาที่ดี และเปลี่ยนเป็นอาชีพรับราชการและเอกชนเป็นส่วนมากแต่ก็มีบางส่วนที่ยังคงมีที่นาหรือสวนที่สำโรงแต่นิยมให้เช่าที่ทำนา มิได้ประกอบเป็นอาชีพหลักอย่างอดีต (หน้า 33)

Social Organization

กลุ่มทางสังคมในระดับหมู่บ้านมีความเชื่อมโยงกันด้วยความเป็นชนกลุ่มน้อย (Ethnic) เป็นหลัก ความสัมพันธ์ระหว่างหมู่บ้านทรงคนองและหมู่บ้านโรงเรือมีความสัมพันธ์กันหลายลักษณะไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ทางเครือญาติ ความสัมพันธ์ในฐานะกลุ่มเพื่อนบ้านและความสัมพันธ์ด้วยการจัดงานพิธีกรรม กิจกรรมและประเพณีต่างๆ เนื่องจากความรู้สึกผูกพันกับพื้นที่และความเกี่ยวดองทางเครือญาติ ทำให้ชุมชนเกาะกลุ่มกันได้อย่างเหนียวแน่น และส่วนมากเป็นคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่มานาน มีการรวมตัวกันประกอบกิจกรรมต่างๆ ตลอดปี อันนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ดีทำให้พื้นที่มีชีวิตชีวาและมีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตและอนุรักษ์พื้นที่ ตลอดจนประเพณีให้คงอยู่ต่อไป (หน้า 79 - 80)

Political Organization

ปัจจุบันหมู่บ้านทรงคะนองอยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลทรงคนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ส่วนอำเภอพระประแดงแบ่งการปกครองออกเป็น 14 ตำบล 177 หมู่บ้าน (หน้า46)

Belief System

มอญในหมู่บ้านทรงคนองโดยทั่วไปนับถือพุทธศาสนาโดยมีวัดประจำหมู่บ้านเป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจ ควบคู่ไปกับการผีเรือนประจำสายตระกูล เรือนบางหลังที่เคร่งครัดจะไม่มีพระพุทธรูปตั้งในบ้าน เพราะเชื่อว่าเมื่อเดินไปมาในบ้านจะเป็นการรบกวนพระพุทธรูป แต่บางครอบครัวที่สมรสกับคนชาติอื่นจะมีพระพุทธรูปในบ้านโดยตั้งพระพุทธรูปหันไปทางทิศเหนือหรือทิศตะวันออก บางบ้านที่ไม่มีหิ้งอัฐิจะตั้งพระไว้ที่เสาผีก็มี ส่วนความเชื่อเรื่องทิศ จะหันหัวนอนทางทิศใต้หรือทิศตะวันออก (หน้า 33) - การบวชนาค จะมีความแตกต่างกับนาคไทยคือนาคจะไม่โกนผม และการแห่นาคจะนั่งแคร่ไม่ขี่คอแบบไทย (การแต่งกายการบวชนาคจะแต่งตัวด้วยผ้ายก ห่มสไบ คล้องพวงมาลัยและทัดดอกไม้ - หน้า 34) - พิธีกรรมเกี่ยวกับการตาย จะใช้โลงมอญ (ฮลาบ๊อก) ถ้าเป็นพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่จะมีการตกแต่งเมรุ ยกยอดปราสาท 3 ชั้น 5 ชั้น และ 7ชั้น ตามความสำคัญของพระ - ประเพณีทางศาสนาที่สำคัญของมอญพระประแดงคือ เทศกาลงานสงกรานต์พระประแดง (ปากลัด) ประเพณีในพิธีสงกรานต์ได้แก่ การกวนกาละแม ประเพณีส่งข้าวสงกรานต์ ประเพณีแห่หงส์ธงตะขาบ ประชาชนในหมู่บ้านจะช่วยกันทำและนำมาเจิมหลังจากพิธีทำบุญกลางบ้านเสร็จสิ้น ตอนบ่ายจะแห่ไปที่วัดประจำหมู่บ้านมีแตรวง กลองยาวและฟ้อนรำนำขบวน เมื่อถึงวัด พระสงฆ์จะเอาธงตะขาบผูกเชือกขึ้นยอดเสาพอประมาณก่อนเมื่อกล่าวคำบูชาธงตะขาบเสร็จ จึงเริ่มชักธงสู่ยอดเสาหงส์ พระสงฆ์จะสวดชัยมงคลคาถาจนเสร็จพิธี แตรวงบรรเลงเพลงและมีการปล่อยนกปล่อยปลา การเล่นสะบ้า ในอดีตจะเล่นบริเวณใต้ถุนบ้าน โดยทุบดินให้แน่น ปัจจุบันเล่นตามลานโล่งและที่ว่างหรือใต้ถุนซีเมนต์ ส่วนประเพณีแข่งเรือ จะจัดขึ้นทุกปีในวันแรม 1-6 ค่ำเดือน 11 คือเดือนตุลาคม ลักษณะกิจกรรมการจัดงานเทศกาลสามารถแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือการจัดงานเพื่อสืบทอดและอนุรักษ์ประเพณีโดยคนในพื้นที่ กิจกรรมที่จัดขึ้นจึงมีลักษณะเฉพาะและประชาสัมพันธ์ในพื้นที่ เช่น การเล่นสะบ้า ดังนั้น กิจกรรมจึงกระจายอยู่ในแต่ละหมู่บ้าน ส่วนที่ 2 คือ การจัดงานเทศกาลเพื่อการท่องเที่ยวและการประชาสัมพันธ์ มีการจัดงานประเพณีเพิ่มจากประเพณีเดิมเพื่อเพิ่มความดึงดูดของนักท่องเที่ยว (หน้า 34 -36 )

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ลักษณะของเรือนไทยมอญในอำเภอพระประแดง เรือนรุ่นแรกจะเป็นเรือนเครื่องผูกแบบไทย ต่อมาจึงปรับเปลี่ยนให้มีความคงทนถาวรขึ้น สามารถจำแนกเรือนที่มีลักษณะคล้ายกันได้ 6 กลุ่ม คือ - เรือนเดี่ยว มีชาน ไม่ต่อเติม (นอกจากต่อหลังคาคลุมชาน) - เรือนเดี่ยวมีชานมีหลังคาคลุมส่วนต่อเติมด้านยาวของตัวเรือน (พบมากที่สุด) - เรือน 2 หลังมีชานกลางต่อหลังคาคลุมเนื้อที่ใหม่ด้านหลัง - เรือน 2 หลังแฝดมีหลังคาคลุมชานกลางและมีหลังคาคลุมพื้นที่ต่อเติมด้านหลัง - เรือน 2 หลังมีชาน วางเหลื่อมหันหน้าตามกันต่อหลังคาคลุมพื้นที่ต่อเติมด้านหลัง - เรือนหมู่มากกว่า 2 เรือนขึ้นไป แต่ในหมู่บ้านทรงคะนองพบเพียง 4 แบบได้แก่ เรือนเดี่ยวไม่มีชาน ต่อเติมด้านหลัง, เรือนเดี่ยว มีชานหรือไม่มีชาน มีหลังคาคลุม ต่อเติมใหม่ด้านยาวหรือด้านสกัด, เรือน 2 หลังวางตั้งฉากกันต่อเติมหลังคาคลุมด้านหลัง และเรือน 2 แฝดไม่มีหรือมีหลังคาคลุมชานกลาง ต่อหลังคาคลุมเนื้อที่ใหม่ด้านหลัง ความแตกต่างของเรือนไทยมอญกับเรือนไทยคือ เรือนไทย จะมีเรือนพ่อแม่เป็นเรือนกลาง เรือนขยายจะขยายออกสองข้างของเรือนพ่อแม่ มีห้องมิดชิดพร้อมชานหลังขยายออกไปในระบบเดียวกัน แต่เรือนไทยมอญจะมีการขยายตัวไม่เป็นระบบเดียวกันกับเรือนเดิม การวางเรือนนอน ประตูและบันไดทางขึ้น ร้อยละ 72.6 ยังมีความเชื่อในเรื่องทิศมงคลคือหันหัวนอนทางทิศใต้ จึงวางเรือนขนานกับแม่น้ำเพื่อให้สอดคล้องกับการหันหัวนอน บางหลังวางตามที่ดินที่จำกัด บันไดทางขึ้นนิยมหันทางทิศตะวันออกและเลี่ยงการหันไปทางทิศตะวันตกเพราะเชื่อว่าเป็นทิศแห่งความตาย (หน้า 37 - 39)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

- ปัจจุบันการใช้โลงมอญในพิธีศพยังคงปรากฏในปัจจุบันแต่น้อยลงกว่าอดีตเนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการทำสูง (หน้า34) - ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงและต่อเติมอาคารทำให้ตำแหน่งบันไดวางตามความเหมาะสมแต่ไม่เน้นความเชื่อเรื่องทิศมงคลอย่างอดีต(หน้า 39) - ในอดีตชาวบ้านใช้น้ำอุปโภคบริโภคจากท่าเรือประจำหมู่บ้านเป็นหลัก ต่อมาราว 30 ปีจึงเริ่มมีระบบบาดาล แต่ปัจจุบันใช้น้ำประปาจากการประปานครหลวง(หน้า 76)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

แนวทางการอนุรักษ์หมู่บ้านมอญ การปรับปรุงในลักษณะทางกายภาพได้แก่ การควบคุมกิจกรรมและการก่อสร้างอาคาร คือ การควบคุมการก่อสร้างที่ไม่สอดคล้องกับการส่งเสริมคุณค่าของหมู่บ้าน ตลอดจนการจัดกิจกรรมบางประเภทที่ไม่เหมาะสมกับการปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค เช่น โครงการจัดทำระบบป้องกันน้ำท่วม เป็นต้น การปรับปรุงระบบสัญจรและการเข้าถึงเช่น การเชื่อมโยงหมู่บ้านกับสถานที่สำคัญในบริเวณใกล้เคียง ควรมีการเชื่อมต่อทางเดินให้เป็นระบบและมีการจัดทิศทางการเดินรถ เป็นต้น การปรับปรุงพื้นที่โล่งในหมู่บ้านทรงคนอง เพื่ออนุรักษ์พื้นที่สีเขียวรวมถึงการปรับปรุงพื้นที่ให้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยการควบคุมและพัฒนาพื้นที่ การปรับปรุงสถาปัตยกรรมและการจัดทำโครงการอนุรักษ์และปรับปรุงด้านกายภาพหมู่บ้านทรงคนอง คุณค่าอันมีเอกลักษณ์ของหมู่บ้านซึ่งแสดงถึงลักษณะการตั้งถิ่นฐานควรมีการรักษาเพื่อส่งเสริมคุณค่าทางประวัติศาสตร์และชุมชน เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างที่ว่างและอาคาร ลักษณะของแปลงที่ดินและการวางอาคารในหมู่บ้าน ลักษณะทางกายภาพและสถาปัตยกรรมแบบเรือนไทยมอญ ตลอดจนวิถีชีวิตและประเพณีสืบทอดต่อเนื่องที่มีความสัมพันธ์กับการใช้ตัวเรือน เป็นต้น ส่วนการจัดทำโครงการอนุรักษ์และปรับปรุงด้านกายภาพ เช่น ควรมีการเน้นทางเข้าหลักสู่หมู่บ้านให้จดจำได้ง่ายขึ้นและควรปรับปรุง ฟื้นฟูเส้นทางการเชื่อมต่อระหว่างวัดและหมู่บ้านให้มีความเหมาะสมมากขึ้น ควรมีการพัฒนาพื้นที่เปิดโล่งที่มีอยู่เดิม รวมทั้งพื้นที่ใช้งานเพื่อให้ชาวบ้านได้มีการทำกิจกรรมร่วมกันมากขึ้นโดยไม่รบกวนเส้นทางเดินรถและใช้ที่ว่างที่มีให้เป็นประโยชน์ เป็นต้น (หน้า 113-154)

Map/Illustration

สารบัญตาราง - ตารางแสดงวิธีการดำเนินการวิจัย (หน้า23) - ตารางแสดงประชากรชาวไทยเชื้อสายมอญ(หน้า48) - ตารางแสดงจำนวนประชากรของตำบลทรงคนอง(หน้า48) - ตารางสรุป เปรียบเทียบลักษณะทั่วไปของภูมิทัศน์ในหมู่บ้าน(หน้า75) - ตารางสรุปเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพจากปัญหาน้ำท่วม(หน้า85) - ตารางเปรียบเทียบการจัดกิจกรรมและปัญหาที่เกิดขึ้น(หน้า102) สารบัญภาพ - แผนที่ลำดับการย้ายเมืองพระประแดงและเมืองสมุทรปราการ(หน้า27) - แผนที่ตั้งหมู่บ้านมอญและวัดประจำหมู่บ้าน(หน้า32) - ภาพงานบวชของมอญ(หน้า34) - ภาพงานศพของพระครูสมุทรวราภรณ์(หน้า34) - งานแห่หงส์ธงตะขาบ(หน้า36) - ภาพเรือนไทยรูปแบบต่างๆ (หน้า37) - ผังของเรือนไทยมอญประเภทต่างๆ ในหมู่บ้านทรงคนอง(หน้า38) - ลักษณะความแตกต่างของเรือนไทยมอญเปรียบเทียบกับเรือนไทย(หน้า39) - ภาพแสดงวิวัฒนาการการตั้งถิ่นฐานของหมู่บ้านทรงคนอง(หน้า45) - ภาพที่ตั้งตำบลทรงคนอง(หน้า47) - อาณาเขตตำบลทรงคนอง(หน้า47) - ของเขตการศึกษา(หน้า47) - แผนที่แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน พ.ศ. 2446(หน้า50) - แผนที่แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน พ.ศ.2534(หน้า50) - แผนที่การสัญจรและการเข้าถึง(หน้า52) - แผนที่การวิเคราะห์การใช้พื้นที่เปิดโล่ง(หน้า55) - ภาพพื้นที่เปิดโล่งที่แท้จริงในหมู่บ้าน(หน้า56) - ภาพพื้นที่เปิดโล่งที่สามารถใช้งานได้สาธารณะ(หน้า56) - แผนที่แสดงตำแหน่งที่จอดรถรวมของหมู่บ้าน(หน้า57) - ภาพเส้นทาง(หน้า58) - ภาพแสดงขอบเขตของหมู่บ้านทรงคะนองและโรงเรือ(หน้า59) - กลุ่มเรือนไทยมอญแสดงความเป็นย่านที่พักอาศัย(หน้า60) - ศูนย์ชุมชน(หน้า60) - ที่หมายตาของหมู่บ้าน(หน้า62) - แผนที่ที่หมายตาและองค์ประกอบทางกายภาพที่พึงประสงค์(หน้า63) - บ้านไม้(หน้า66) - บ้านคอนกรีต(หน้า66) - แฟลตให้เช่า หมู่ 9 (หน้า66) - บ้านเช่าหมู่ 7(หน้า66) - บ้านพักกึ่งค้าขาย(หน้า67) - เพิงค้าขาย(หน้า67) - วักคันลัด(หน้า67) - วัดทรงธรรม(หน้า67) - ความขัดแย้งของขนาดโรงงานกับขนาดหมู่บ้าน(หน้า68) - แผนที่แสดงการใช้อาคาร(หน้า69) - แผนที่แสดงชนิดประเภทอาคารแบ่งตามโครงสร้างอาคาร(หน้า70) - แผนที่แสดงสภาพอาคาร(หน้า71) - พืชพันธุ์ในพื้นที่(หน้า75) - น้ำท่วมขังบริเวณปากซอยทรงคนอง 2 ซึ่งเป็นทางเข้าสู่หมู่บ้าน(หน้า86) - ทางเดินที่ยกสูงเพื่อให้พ้นระดับน้ำท่วมทำให้ใต้ถุนเรือนใช้การไม่ได้(หน้า86) - สภาพตลิ่งที่ถูกกัดเซาะ ไปจนเกือบหมดโดยมีถนนเป็นตัวซึ่งทำหน้าที่เป็นเขื่อนในตัว(หน้า87) - ท่าเรือขนทรายซึ่งทำให้เกิดฝุ่นละอองและแรงสั่นสะเทือนจากรถบรรทุก(หน้า87) - แผนที่แสดงจุดที่มีปัญหาขยะตกค้างในบริเวณหมู่บ้านทรงคะนองและโรงเรือ(หน้า89) - ทางเดินที่มีการเทคอนกรีตทับทำให้เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาน้ำลงช้า(หน้า89) - จุดที่มีปัญหาขยะตกค้างเนื่องจากน้ำท่วมและการขาดการดูแล(หน้า89) - การติดตั้งถังดับเพลิงที่ได้รับแจกจาก อ.บ.ต.ไว้ภายในบริเวณหมู่บ้าน(หน้า90) - การจราจรในหมู่บ้านไม่มีการจัดระบบสามารถวิ่งสวนทางได้(หน้า91) - ลานจอดรถของหมู่ 7 ใช้เป็นลานสะบ้าในช่วงสงกรานต์(หน้า91) - การวางสิ่งของยึดครองพื้นที่ทางเดินปลายตัน(หน้า93) - การสร้างเพิงรุกล้ำทางเดินของบ้านเช่าหมู่ 7(หน้า93) - การใช้กันสาดรุกล้ำของบ้านเช่าหมู่ 8 (หน้า93) - การตากผ้าโดยรุกล้ำพื้นที่ริมลำกระโดงหมู่ที่ 9(หน้า93) - ทางเดินยกระดับและรั้วกั้นใต้ถุนออกจากกัน ทำลายความต่อเนื่องของการใช้พื้นที่(หน้า95) - ทางเดินกว้าง 0.50 เมตร หากมีการสร้างรั้วเพิ่มจะทำให้เกิดซอกระหว่างรั้วได้(หน้า95) - การจัดงานปีใหม่ที่ต้องรุกล้ำพื้นที่ถนน(หน้า95) - ที่ว่างรกร้างรอบนอกหมู่บ้านไม่มีการปรับพื้นที่จึงใช้งานไม่ได้(หน้า95) - สภาพเรือนไทยมอญที่ทรุดโทรม(หน้า96) - ภาพเรือนไทยมอญที่มีการเปลี่ยนแปลงจนสภาพเรือนเปลี่ยนไป(หน้า96) - การต่อเติมที่บดบังเรือนเดิม โดยใช้วัสดุและรูปแบบที่ไม่เหมาะสม(หน้า97) - การต่อเติมเรือนที่บดบังเรือนเดิม(หน้า97) - ที่พักอาศัยให้เช่าซึ่งมีขนาดและรูปแบบขัดแย้งกับกลุ่มเรือนในหมู่บ้าน(หน้า98) - บ้านที่มีสีและรูปแบบหลังคาขัดแย้งกับกลุ่มเรือนไทยมอญ(หน้า98) - แผนที่ตำแหน่งที่มีปัญหาทางสถาปัตยกรรม(หน้า99) - สภาพกลุ่มบ้านเช่าหมู่ 8 (หน้า100) - สภาพชุมชนบ้านเช่าในบริเวณต่อเนื่องกับหมู่ 7(หน้า100) - แผนที่พื้นที่อนุรักษ์ควบคุมกิจกรรมและการก่อสร้าง(หน้า114) - แผนที่แสดงการเชื่อมโยงหมู่บ้านทรงคนองกับสถานที่ท่องเที่ยว(หน้า119) - แผนที่สถานที่และเส้นทางเกี่ยวกับประเพณี(หน้า120) - แผนที่เส้นทางเดินรถและการปรับปรุงทางเดิน(หน้า121) - แนวทางการปรับปรุงเรือนไทยมอญ(หน้า128) - แนวทางการต่อเติมเรือนไทยมอญแบบต่างๆ (หน้า129) - แนวทางการต่อเติมส่วนหน้าและส่วนหลังอาคาร(หน้า130) - ข้อเสนอแนะแผนผังโครงการอนุรักษ์และปรับปรุงด้านกายภาพหมู่บ้านทรงคนอง(หน้า133) - ผังโครงการฟื้นฟูการเชื่อมโยงหมู่บ้านทรงคะนองและวัดคันลัด(หน้า134) - ผังโครงการที่ 3 - 7(หน้า135) - โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์เส้นทางหลักภายในหมู่บ้าน(หน้า137) - โครงการปรับปรุงพื้นที่จอดรถบริเวณหมู่ 8 และหมู่ 9 (หน้า138) -ผังโครงการปรับปรุงท่าเรือเดิม(หน้า139) - ผังโครงการปรับปรุงพื้นที่โล่งหมู่บ้านทรงคนอง(หน้า141) - ผังโครงการปรับปรุงพื้นที่โล่งหมู่บ้านโรงเรือ(หน้า141) - โครงการปรับปรุงพื้นที่ริมตลิ่งแม่น้ำ(หน้า143) - ผังโครงการที่ 8 - 10 (หน้า144) - โครงการเชื่อมโยงหมู่บ้านหมู่บ้านทรงคะนองและโรงเรือ(หน้า145) - โครงการปรับปรุงพื้นที่โล่งของหมู่บ้านโรงเรือ(หน้า146) - ผังแม่บทโครงการสวนกลางมหานคร(หน้า162) - แผนที่ท้ายกฎกระทรวงฉบับที่ 37 (พ.ศ. 2535)( หน้า164) - ผังแสดงข้อกำหนดการใช้ที่ดินบริเวณอำเภอพระประแดง(หน้า165) - แผนที่ท้ายพระราชฎีกากำหนดที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืน พ.ศ. 2541(หน้า 168)

Text Analyst สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ Date of Report 11 เม.ย 2556
TAG มอญ, สถาปัตยกรรม, การอนุรักษ์, พระประแดง, สมุทรปราการ, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง