สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject โพล่ง โผล่ง โพล่ว ซู (กะเหรี่ยง),ป่า,กาญจนบุรี
Author Buergin, Reiner บรรณาธิการ
Title มรดกที่ถูกทำให้เป็นการต่อสู้: ข้อถกเถียง คนกับป่า และพื้นที่มรดกโลกในการเข้าสู่บริบทโลกของไทย
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity โพล่ง โผล่ง โผล่ว ซู กะเหรี่ยง, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มนุษย์วิทยาสิรินธร Total Pages 27 Year 2544
Source Thomas Krings, Gerhard Oesten, Stefan Seitz (edit), Socio-Economics of Forest Use in the Tropics and Subtropics, จัดพิมพ์โดย คณะทำงานการใช้ป่าในทางสังคม-เศรษฐกิจในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน มหาวิทยาลัย Freiburg
Abstract

ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่กระบวนการโลกาภิวัตน์ทางการเมืองและวัฒนธรรม ในสมัยรัชกาลที่ 5 โลกาภิวัตน์ทางการเมืองประการแรกคือ การทำให้ทุกที่อยู่ภายในอาณาเขตดินแดนและการสร้างรัฐชาติตามแบบตะวันตก ขณะที่โลกาภิวัตน์ทางวัฒนธรรมมุ่งเน้นไปที่ การรับเอาแนวความคิดตะวันตกในเรื่องความเป็นเหตุเป็นผล (rationality) ความทันสมัย (modernity) และการพัฒนา (development) และการทำให้ป่าไม้ของไทยมีคุณค่าในฐานะ "ทรัพยากรธรรมชาติ" คือบทบาทสำคัญในกระบวนการขั้นแรกของโลกาภิวัตน์ การเปลี่ยนแปลงแนวคิดทางนโยบายป่าไม้ของไทยจากทรัพยากรธรรมชาติในฐานะ "สินค้า" มาสู่ "การอนุรักษ์" นั้นพบว่า เกิดจากปัจจัยสำคัญคือ การพัฒนาประเทศและลัทธิอนุรักษ์นิยม ซึ่งมาจากการพัฒนาระดับสากล แนวความคิดอนุรักษ์ธรรมชาติเข้ามาในประเทศไทยราวกลางศตวรรษที่ 20 ในบริบทของการสร้างชาติ (nationalization) ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ การประกาศเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้งเป็นมรดกทางธรรมชาติที่สำคัญของโลกในปี พ.ศ.2534 คือเครื่องมือสากลที่สร้างขึ้นเพื่ออนุรักษ์ "ทรัพยากรธรรมชาติ" (natural resources) ขณะที่กลุ่มชาติพันธุ์ชายขอบที่อาศัยอยู่ในเขตป่าเขา ซึ่งดำรงชีพด้วยการทำไร่หมุนเวียน กลายเป็นมายาภาพของการทำลายป่าในเวลาต่อมา ภายใต้บริบทของการสร้างรัฐชาติและการก้าวสู่ความทันสมัยของไทย กลุ่มชนชาติพันธุ์หลากหลายวัฒนธรรมกลุ่มต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ รวมถึงกะเหรี่ยงในป่าทุ่งใหญ่ฯ ถูกรวมเข้าไปในนิยามของ "ชาวเขา" ที่บุกรุกทำลายป่า (ทำไร่เลื่อนลอย) ทั้ง ๆ ที่คนเหล่านั้นดำรงชีพด้วยวิถีดั้งเดิมที่ยั่งยืนด้วยการทำไร่หมุนเวียน งานศึกษาในบทความนี้ได้ชี้ให้เห็นว่า แนวคิดอนุรักษ์นิยมใหม่มีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับการพัฒนาประเทศสู่ความทันสมัย ซึ่งแยกมนุษย์และธรรมชาติออกจากกันอย่างเด็ดขาด แนวคิดดังกล่าวแตกต่างจาก แนวคิดและค่านิยมของกลุ่มชาติพันธุ์ในท้องถิ่นอย่างชุมชนกะเหรี่ยงในป่าทุ่งใหญ่อย่างตรงกันข้าม คนเหล่านั้นมองว่ามนุษย์สามารถอยู่อย่างกลมกลืนกับธรรมชาติ ทั้งนี้เพราะ ธรรมชาติในความหมายของพวกเขาเป็นบ้านและพื้นที่แห่งชีวิต กรณีศึกษานี้ยังสะท้อนให้เห็นว่า กระบวนการทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมของโลกาภิวัตน์ในศตวรรษที่ 20 นี้ ล้วนเป็นผลลัพธ์จากความพยายามเข้าไปกำหนดกรอบคิดทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นจากระดับสากลมากขึ้น ส่งผลให้กระบวนการทางประวัติศาสตร์ของสังคมมีความซับซ้อนมากขึ้น

Focus

ในบทความนี้ ผู้เขียนได้เน้นการศึกษาปรากฎการณ์ของ "พื้นที่อนุรักษ์" (protected area) และการส่งเสริม "มรดกโลก" ในบริบทของลัทธิอนุรักษ์นิยมระหว่างประเทศ และข้อโต้เถียงระดับประเทศเกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติและความทันสมัย ตลอดจนอุดมการณ์ที่ไปด้วยกันไม่ได้ระหว่างคนและป่า เข้าครอบงำนโยบายการอนุรักษ์ในประเทศไทยอย่างไร ตลอดจนสาวลึกไปถึงรากเหง้าทางอุดมการณ์ของลัทธิอนุรักษ์นิยม โดยเฉพาะในกรอบความคิดทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับ "ความทันสมัย" และ "ลัทธิอนุรักษ์นิยม" ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงนโยบายป่าไม้และความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากความแตกต่างทางผลประโยชน์ระหว่างกลุ่มทางสังคมและสถาบันที่มีมากขึ้น

Theoretical Issues

ผู้เขียนใช้แนวทฤษฎีเกี่ยวกับนิเวศวิทยาการเมือง เพื่ออธิบาย "ลัทธิอนุรักษ์นิยม" (conservationism) ที่ปรากฏขึ้นในบริบทของ "ความทันสมัย" (modernization) และเข้ามาจัดระเบียบและทดแทนการบุกรุกธรรมชาติโดยมนุษย์ กรอบคิดทางวัฒนธรรมของลัทธิอนุรักษ์นิยมนี้ นำไปสู่ข้อถกเถียง 2 ประการ คือ ความเข้าใจและการกำหนดนโยบายที่ผิดพลาดต่อสถานการณ์ท้องถิ่นในพื้นที่มรดกโลกของประเทศไทย โดยเฉพาะกับ "ประชาชนท้องถิ่น" ที่อาศัยอยู่ใน "มรดกโลก" และอีกประการหนึ่งคือ การแสวงหาผลประโยชน์ทางการเมือง ผู้เขียนได้วิพากษ์ว่า แนวคิดและโครงการของ "ความทันสมัย" กลายเป็นแฟชั่นที่แพร่หลายในยุค "โลกาภิวัตน์" ที่มีการพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ซึ่งนำไปสู่ความซับซ้อนทางสังคมมากขึ้น ด้วยการสร้างความสัมพันธ์ข้ามประเทศและนานาประเทศ, สถาบันและเครือข่ายที่นำไปสู่การรวมการเติบโตและการพึ่งพาของโลกเข้าด้วยกัน ซึ่งรวมไปถึงเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และกระบวนการทางวัฒนธรรม และ "ความทันสมัย" ถูกทำให้เข้าใจว่าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการโลกาภิวัตน์ โดยเฉพาะ การนิยามทิศทาง ความหมาย และวัตถุประสงค์ในทางวัฒนธรรม

Ethnic Group in the Focus

กะเหรี่ยง

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

ชุมชนกะเหรี่ยงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร มีประชากรราว 3,000 คน ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้ง ได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติในปี พ.ศ.2534 ป่าทั้งสองแห่งมีพื้นที่รวมกันราว 6,200 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ติดกับชายแดนพม่า และถือเป็นผืนป่าสำคัญของป่าตะวันตกที่มีป่าอุดมสมบูรณ์ที่สุดของประเทศไทย ซึ่งมีพื้นที่ราว 18,700 ตารางกิโลเมตร (น.2, 21) ชุมชนกะเหรี่ยงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ฯ ตั้งถิ่นฐานมาหลายร้อยปี พวกเขาได้รับสิทธิในการตั้งถิ่นฐานจากเจ้าเมืองกาญจนบุรี ในศตวรรษที่ 19 เจ้าเมืองได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ในรัชกาลที่ 3 ขนานนามว่า พระศรีสุวรรณคีรี เมืองนี้มีความสำคัญต่อกษัตริย์สยาม ในฐานะหน้าด่านของเขตแดนด้านตะวันตกติดกับพม่า ในศตวรรษที่ 20 เมื่อรัฐชาติไทยสมัยใหม่ถูกสถาปนาขึ้น พวกเขาถูกทำให้ปรากฎตัวขึ้นอีกครั้งในนโยบายระดับชาติ ว่าเป็นผู้บุกรุกและอพยพเข้ามาอย่างผิดกฎหมาย โดยเฉพาะในสายตาของนักอนุรักษ์ส่วนใหญ่มองว่าการดำรงอยู่ของกะเหรี่ยงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรคุกคามต่อผืนป่า ปัจจุบัน ชุมชนกะเหรี่ยงยังคงทำไร่หมุนเวียน กะเหรี่ยงไม่ล่าสัตว์ พวกเขากินเจตามความเชื่อทางศาสนา รายได้มาจากการขายพริก ยาสูบ ผลไม้จากสวน ไร่หมุนเวียนจะทิ้งไว้ 5-15 ปี (หรือมากกว่านั้น) ในความเข้าใจของคนกะเหรี่ยงในทุ่งใหญ่ที่มีต่อพวกเขาเอง พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของผืนป่า ซึ่งมีความซับซ้อนและเป็นสังคมที่ประกอบด้วยชีวิตของพืช สัตว์ มนุษย์ และจิตวิญญาณ ในมุมมองสมัยใหม่ กฎเกณฑ์และความดั้งเดิมของชุมชนอาจหมายถึง องค์ความรู้ทางนิเวศวิทยา ในกฎเกณฑ์และจารีตประเพณี และวิถีชีวิต ถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง องค์ความรู้มากมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของคนกะเหรี่ยงถูกเก็บและรักษาไว้กับวิถีชีวิต "องค์ความรู้ทางนิเวศ" "ชีวิตจริง" และ "จินตนาการ" ทางประวัติศาสตร์ของคนกะเหรี่ยงในทุ่งใหญ่คือ หัวใจแห่งอัตลักษณ์และวิถีทางที่พวกเขามองเห็นตัวเอง แต่ในสายตาของโลกข้างนอก โดยเฉพาะในโลกของคนไทย มองต่างออกไปอย่างมาก ความสัมพันธ์ของคนกะเหรี่ยงกับโลกข้างนอกมีความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ไม่น้อยไปกว่าในบริบทของกระบวนการโลกาภิวัตน์และความทันสมัย คนกะเหรี่ยงปกครองตนเองมาจนกระทั่งเข้าสู่ศตวรรษ 1960 (พ.ศ.2503) การขยายตัวทางเศรษฐกิจและการเมือง ไปยังเมืองรอบนอกในนามของ "ความทันสมัย" "การพัฒนา" และ "ความมั่นคงของชาติ" การเข้าไปของสถาบันไทยใน "พื้นที่อาศัย" ของคนกะเหรี่ยง ได้เปลี่ยนแปลงลักษณะทางสังคม การเมือง และองค์กรศาสนาของสังคมกะเหรี่ยงอย่างมาก แต่องค์กรทางครอบครัวส่วนใหญ่ยังคงเดิม จนกระทั่งปลายทศวรรษ 1980 ถึงต้นทศวรรษ 1990 (พ.ศ.2523-2533) ระหว่างครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 ประชากรในทุ่งใหญ่มีเพียงเล็กน้อย จาก ค.ศ.1970-1990 ประชากรมีประมาณ 3,000 คน การเพิ่มขึ้นมาจากการอพยพของกะเหรี่ยงข้างเคียงที่ถูกน้ำท่วมจากเขื่อน พวกที่หนีสงครามพม่าและการปราบปราม มีเกษตรกรไทยถือครองที่ดินคิดเป็นร้อยละ 1 ของประชากรทั้งหมด อาจเป็นเพราะพื้นที่อยู่ห่างไกลและเป็นพื้นที่อนุรักษ์ การดำรงชีพหรือการใช้ที่ดินของคนกะเหรี่ยงไม่เป็นปัญหาในบริบทของระบบการใช้ที่ดินแบบดั้งเดิม (ไร่หมุนเวียน) "ไร่เหล่า" จะทิ้งไว้ 10 ปี พื้นที่การเกษตรในเขตรักษาพันธุ์ฯ รวมไร่เหล่า มีประมาณร้อยละ 1 ของพื้นที่เขตรักษาพันธุ์ฯ ช่วงเริ่มต้นของทศวรรษ 1990 (พ.ศ.2533) กรมป่าไม้พยายามอพยพคนกะเหรี่ยงออกจากป่าทุ่งใหญ่ฯ กรมป่าไม้ ห้ามใช้พื้นที่ไร่เหล่าที่ทิ้งไว้มากกว่า 3 ปี เพื่อลดความเสี่ยงต่อพื้นที่ป่า ทำให้ผลผลิตข้าวลดลง ชุมชนถูกควบคุมโดยกรมป่าไม้และกองทัพ หลายครอบครัวประสบปัญหาการยังชีพเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษ 1990 (พ.ศ.2533-2543) ในปัจจุบัน กรมป่าไม้และกองทัพวางนโยบายการอพยพด้วยการชักชวนชุมชนกะเหรี่ยงให้อพยพโดยสมัครใจ การใช้มาตรการกีดกัน และลัทธิเหยียดทางชาติพันธุ์ พร้อมกับการทำให้ชุมชนกะเหรี่ยงอยู่ด้วยความหวาดกลัว

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

ไม่มีข้อมูล

Economy

ทำไร่หมุนเวียน ปลูกข้าว และพืชอื่น ๆ

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ในบทความชิ้นนี้ไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ แต่เขียนไว้สั้น ๆ ในเรื่องความเชื่อของคนกะเหรี่ยงที่มีต่อธรรมชาติ พวกเขาเชื่อว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของผืนป่าที่มีความซับซ้อน และเป็นสังคมที่ประกอบด้วยชีวิตของพืช สัตว์ มนุษย์ และจิตวิญญาณ (น. 22)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

กะเหรี่ยงเป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งที่ถูกนิยามว่าเป็น "ชาวเขา" คำว่า ชาวเขา เริ่มใช้กันมาตั้งแต่ทศวรรรษ 1950 (พ.ศ.2593) เป็นชื่อตระกูลที่ไม่ใช่กลุ่มคนไทยหลายกลุ่มรวมกัน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูงทางภาคเหนือและตะวันตกของไทย นิยามความหมายของชาวเขามีลักษณะลบในแง่ของ การทำลายป่า ปลูกฝิ่น ผู้ก่อการร้ายต่างชาติอันตราย มายาคตินี้มีต้นกำเนิดจากกลุ่มชาติพันธุ์ม้งที่ทำไร่เลื่อนลอย ปลูกฝิ่นและบางส่วนเกี่ยวข้องกับคอมมิวนิสต์ ในไม่ช้ากลุ่มต่างๆ ก็ถูกตีตราว่าเป็น "ชาวเขา" ความหมายของคำว่า "ชาวเขา" มีความสัมพันธ์กับความหมายของคำว่า "ชาวป่า" ที่ใช้เรียกกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มน้อยที่ไม่ใช่คนไทยมาก่อนจะมีการใช้คำว่า "ชาวเขา" ในบริบททางภาษาและวัฒนธรรมของหลายชาติพันธุ์ กลุ่มชาติพันธุ์ไทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ "ป่า" หมายถึง ป่าไม้ ป่ารกชัฏ ป่าเถื่อน ตรงข้ามกับคำว่า "เมือง" หมายถึง "อารยะ" หรือ "ดินแดนมนุษย์" บ่อยครั้งที่ขั้วของ "อารยะ" เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไท ขณะที่ ป่าหรือป่ารกชัฏ เป็นขั้วของกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มน้อย ภายใต้บริบทของการสร้างรัฐชาติสยาม บรรดาขุนนางในเมืองได้ผสานความรับรู้เกี่ยวกับเมืองหรืออารยะเข้าแนวความคิดตะวันตกในแง่ของ "ความทันสมัย" และ "การพัฒนา" ในวัฒนธรรมคนเมืองของไทยนิยามคำว่า "ชาวกรุง" ว่าหมายถึง คนในเมือง และมีภาพของความเป็นชาติ เป็นวิทยาศาสตร์ และเศรษฐกิจแบบตะวันตก กลายเป็นรูปแบบของการเข้าสู่ความทันสมัย และ "การพัฒนาประเทศ" ส่วนวัฒนธรรมชนบทก็เป็น ชาวบ้านนอก หรือ ชาวบ้าน ซึ่งมีการพัฒนาล้าหลัง ลักษณะทางสังคมของชาวเขา ถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้างชาติ ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 อัตลักษณ์ของชาติและการนิยามความเป็นไทย เชื่อมโยงกับลักษณะทางวัฒนธรรมที่แน่นอน โดยเฉพาะศาสนาพุทธแบบไทย ภาษา และการมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ถิ่นฐานที่ตั้งของชาวเขา และวิถีชีวิตของพวกเขาได้ถูกกีดกันออกไปจากรัฐชาติไทย อีกทั้งยังเป็นภัยคุกคามต่อสวัสดิภาพของชาติ ด้วยการทำลายป่าไม้ของชาติ กลุ่มชาติพันธุ์หลากหลายวัฒนธรรมกลุ่มต่าง ๆ ถูกรวมเข้าไปในนิยามของ "ชาวเขา" คนเหล่านั้นไม่เคยเกี่ยวข้องกับธุรกิจฝิ่นหรือคอมมิวนิสต์ พวกเขาดำรงชีพในรูปแบบดั้งเดิมที่ยั่งยืนด้วยการทำเกษตรไร่หมุนเวียน เช่น กะเหรี่ยง ซึ่งมีจำนวนครึ่งหนึ่งของกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่บนที่สูง รูปแบบการดำรงชีพดั้งเดิมดังกล่าวต้องสูญหายไป เนื่องจากการเข้ามาควบคุมของรัฐและนโยบายการพัฒนาของประเทศและระหว่างประเทศ นโยบายของรัฐที่มีต่อชาติพันธุ์กลุ่มน้อย นับตั้งแต่ทศวรรษ 1950 ถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2493-ปัจจุบัน) มุ่งเน้น 3 ปัญหาสำคัญ คือ การปลูกฝิ่น ความมั่นคงของชาติ (การต่อต้านคอมมิวนิสต์) และป่าเสื่อมโทรม (การทำไร่เลื่อนลอย) ปัจจุบันพื้นที่ป่าส่วนใหญ่ของไทยเหลืออยู่ทางภาคเหนือและตะวันตก ซึ่งเป็นถิ่นฐานของชาวเขา นอกจากนั้น ป่าเสื่อมโทรมกลายเป็นประเด็นสาธารณะ และการอนุรักษ์ป่ากลายเป็นนโยบายหลักต่อชาวเขา และกองทัพเข้ามามีบทบาทหลักในนโยบายเกี่ยวกับชาวเขา ในส่วนของกรมป่าไม้ ชาวเขา กลายมาเป็น "กลุ่มปัญหา" หลักเกี่ยวกับ ป่าเสื่อมโทรม ในนโยบายป่าไม้แห่งชาติ พ.ศ.2528 ชาวเขาคือ "ปัญหาการทำลายป่า" ในระดับท้องถิ่น การขยายตัวของชาวนาไทยไปยังที่สูง การขยายตัวของพืชเศรษฐกิจในกลุ่มชาวเขาบางกลุ่ม การสนับสนุนโดยโครงการลดการปลูกฝิ่นระดับชาติและนานาชาติ ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคนไทยและชาวเขาเพิ่มมากขึ้นในระหว่างทศวรรษ 1980 (พ.ศ.2523-2533) โดยเฉพาะเรื่องที่ดิน ป่าไม้ และน้ำ เริ่มต้นทศวรรษ 1990 (พ.ศ.2533) ความขัดแย้งเหนือทรัพยากรในเชิงสิ่งแวดล้อม ปรากฎเป็นประเด็นระดับชาติภายใต้บริบทของข้อถกเถียงเกี่ยวกับ ร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชน NGOs เขียวเข้ม สนับสนุนกลุ่มชาวนาไทย "ทันสมัย" ผลักดันชาวเขาย้ายลงมาจากพื้นที่ต้นน้ำ เพราะชาวเขาเป็นผู้ทำลายป่าต้นน้ำของชาติ พวกเขากลายเป็นผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ที่ถูกประกาศให้เป็น "ต้นน้ำ" และ "พื้นที่อนุรักษ์" ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มี "ความอ่อนไหวทางนิเวศวิทยา" ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมีลักษณะทางชาติพันธุ์มากขึ้นเรื่อย ๆ นโยบายของรัฐมุ่งไปสู่การกีดกันทางการเมือง สังคม และขอบเขตดินแดน (ชาวเขา 240,000 คน จาก 840,000 คน ได้รับสัญชาติไทยส่วนที่เหลือถือบัตรฟ้าหรือ ทร.13 ห้ามโยกย้ายข้ามอำเภอ) นโยบายใหม่เกี่ยวกับชาวเขาในบริบทของความขัดแย้งทางสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1980 (พ.ศ.2523) ต่อต้นทศวรรษ 1990 (พ.ศ.2533) มุ่งไปสู่การอพยพหมู่บ้านชาวเขา และการห้ามใช้ที่ดินแบบดั้งเดิม ตั้งแต่ปี พ.ศ.2541 และกดดันต่อกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มน้อยบนพื้นที่สูงเริ่มปะทุขึ้นอีกครั้ง ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการจับกุมอย่างเด็ดขาด อพยพแบบบังคับ ข่มขู่และใช้ความรุนแรง กรมป่าไม้ร่วมมือกับกองทัพปกป้องผืนป่า โดยกรมป่าไม้จะดูแลพื้นที่ป่าสงวนที่มีเกษตรกรไทยอาศัยอยู่ และกองทัพดูแลในพื้นที่ที่มีชาติพันธุ์กลุ่มน้อยที่ไม่ใช่ "คนไทย" อาศัยอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่อนุรักษ์และต้นน้ำลำธาร เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ฯ เป็นพื้นที่นำร่องนโยบายใหม่ และข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว ในฐานะที่เป็นแกนกลางของผืนป่าตะวันตก อันเป็นผืนป่าที่สำคัญที่สุดในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ของโลก

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

"ลัทธิอนุรักษ์นิยม" หมายถึง ความพยายามที่จะปกป้อง "ธรรมชาติ" (nature) ซึ่งก่อนหน้านั้น นิยามของธรรมชาตินั้นหมายถึง "ที่อื่น" (the other), ตรงข้ามกับความเสื่อมโทรมและการทำลาย ลัทธิอนุรักษ์นิยมถูกใช้เป็นเหตุผลสำหรับการจัดการทรัพยากรหรือสิทธิที่ผูกติดกับสิทธิของ "ธรรมชาติ" (น.2)

Text Analyst พรพนา ก๋วยเจริญ Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG โพล่ง โผล่ง โพล่ว ซู (กะเหรี่ยง), ป่า, กาญจนบุรี, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง