สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลีซู, ประวัติ, วัฒนธรรม, ความเชื่อ, เศรษฐกิจ, สังคม, การเมือง, ภาคเหนือ
Author Rashid, Mohd. Razha and Walker, Pauline H.
Title The Lisu People : An Introduction
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity ลีซู, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดกลางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 8 Year 2518
Source Farmer in the Hills : Upland Peoples of North Thailand, Anthony R. Walker (Editor) p.157-164, จัดพิมพ์โดย The School of Comparative Social Sciences, พิมพ์ที่ Universiti Sains Malaysia Press.
Abstract

มีเนื้อหาครอบคลุม วัฒนธรรม ความเชื่อ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ของชาติพันธุ์ลีซอ (Lisu) ในภาพรวมโดยเน้นที่ชุมชนลีซอในภาคเหนือของประเทศไทย ลีซอเรียกตัวเองว่า "ลีซู" (Lisu) มี 3 กลุ่มย่อย คือ ลีซอขาว (White Lisu - Pai) Flowery Lisu หรือ Hua และลีซอดำ ภาษาลีซอเป็นภาษาในกลุ่มภาษา Tibeto-Burman บ้านลีซอมี 2 แบบ สร้างบนเสาเหมือนลาหู่ หรือสร้างบนพื้นเหมือนบ้าน คนจีน ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณสันเขาที่ความสูง 5,000 ฟุตหรือมากกว่าเหนือระดับน้ำทะเล ลีซอทำไร่แบบโค่นถางต้นไม้แล้วเผา (slash-and-burn) การเกษตรหลักคือการเพาะปลูกข้าวไร่เพื่อการบริโภค และปลูกฝิ่นเพื่อเป็นรายได้ ครอบครัวลีซอโดยปกติประกอบด้วยครอบครัวเดี่ยว สืบตระกูลทางพ่อ ชุมชนลีซอไม่มีโครงสร้างระบบการเมืองรวมทั้งหัวหน้าหมู่บ้านและสภาผู้อาวุโส ลีซอเป็นผู้ยึดถือความเสมอภาค ไม่มีการปกครองตามระดับชั้น ลีซอมีความเชื่อเรื่องวิญญาณหรือผี รวมทั้งผีบรรพบุรุษตามอิทธิพลจีนด้วย

Focus

เสนอภาพวัฒนธรรม ความเชื่อ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ของลีซอ (Lisu) ในภาคเหนือของประเทศไทย

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ลีซอ : ชาวจีนเรียกว่า "ลี" (Li), ลีซอ (Lisaw), Lishaw หรือ Lip'a Kachin รู้จักในชื่อ Yawyin, Yawyen หรือ Yaoyen พวก Maru เรียก Lasi และพวก Lolo เรียก Lip'o ส่วนอาข่า ลาหู่ ม้ง เย้า กะเหรี่ยง และ Nakhi เรียกว่า "Lisu" ตามที่ลีซอเรียกตัวเอง ผู้ให้ข้อมูลลีซอในไทยกล่าวถึงความหมายของคำว่า "Lisu" คือ "นอกกฏหมาย กบฎ" ในภาษา Nakhi "Lisu" มีความหมายว่า "เกิดจากก้อนหิน" (born from the stone) หรือ "คนภูเขา" (people of the mountain) นักวิชาการบางท่านจำแนกลีซอเป็น 3 กลุ่มย่อย คือ ลีซอขาว (White Lisu - Pai), Flowery Lisu หรือ Hua และลีซอดำ (Black Lisu - He) แต่เข้าใจว่าการจำแนกเช่นนี้มีพื้นฐานมาจากการจำแนกของคนจีน (หน้า 157-158)

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาลีซอเป็นภาษาในกลุ่มภาษา Tibeto-Burman เกี่ยวข้องสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับภาษาลาหู่และอาข่า ในหมู่ผู้พูดภาษาลีซอมีความแตกต่างทางภาษากันมากพอสมควร เช่น ลีซอทางเหนือของไทยยากที่จะเข้าใจภาษาลีซอจากพม่า เป็นต้น ภาษาลีซอไม่มีภาษาเขียน หมอสอนศาสนาคริสต์ในจีนสร้างภาษาเขียนลีซอโดยใช้อักษรโรมัน แต่เสียงในภาษาลีซอไม่มีเสียงภาษาอังกฤษที่เท่ากัน เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานักภาษาศาสตร์จีนจาก Central Institute of Nationalities ในปักกิ่ง ได้พัฒนาตัวเขียนใหม่ขึ้นมา (หน้า 158)

Study Period (Data Collection)

เมษายน-พฤษภาคม ค.ศ. 1973

History of the Group and Community

จากหลักฐานภาษาที่พูดร่วมกับมุมมองของลีซอเองบ่งบอกว่า ลีซอน่าจะอพยพมาจากทางเหนือมากกว่ามาจากถิ่นที่อยู่ในปัจจุบัน บางทีอาจจะมาจากบางแห่งของตะวันออกของที่ราบสูงธิเบต มีหลักฐานที่เขียนในปี ค.ศ.685 ระบุว่าลีซออาศัยอยู่ในภูมิภาคที่ทุกวันนี้คือ Yunnan-Kweichow-Szechuan ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 20 ลีซอต่อสู้กับการปกครองของจีนเป็นระยะ ๆ จนในศตวรรษที่ 20 ถูกกดดันให้อพยพออกจากยูนนานเข้าสู่รัฐฉานในพม่า แล้วเคลื่อนย้ายเข้าไทย (หน้า 158)

Settlement Pattern

บ้านลีซอ สร้างไปตามแนวเขา ประตูหลักหันหน้าลงไปทางเขา บ้านจะสร้างอยู่ต่ำกว่าศูนย์กลางพิธีกรรมของหมู่บ้าน บ้านมี 2 แบบ สร้างบนเสาเหมือนลาหู่ หรือสร้างบนพื้นเหมือนบ้านคนจีน บ้านที่สร้างบนเสาจะมีไม้เป็นโครงสนับสนุนหลัก ฝาและพื้นเป็นไม้ไผ่ หลังคามุงหญ้าหรือมุงจาก ส่วนบ้านที่สร้างบนพื้นสร้างด้วยวัสดุเหมือนกัน นอกจากฝาผนังบางครั้งทำด้วยไม้กระดานปักตามยาวลงพื้น พื้นเป็นพื้นดินอัดแน่น บ้านทุกหลังมีเฉลียง (หน้า 159)

Demography

ลีซอ : มีในจีน 375,000 คน (Bruk & Apenchenko 1964) พม่า 40,000 คน (Bruk & Apenchenko 1964) อินเดีย 200 คน (Dessaint 1972a) ในประเทศไทยมี 11,000 คน (Dessaint 1972a) ในประเทศไทยลีซอตั้งถิ่นฐานอยู่กระจายไปตลอดแนวชายแดนตะวันตกเฉียงเหนือ มีหนาแน่นที่สุดในพื้นที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงราย และอาศัยอยู่ในลำปาง แม่ฮ่องสอน ตาก และพิษณุโลก (หน้า 157)

Economy

ลีซอทำไร่แบบโค่นถางต้นไม้แล้วเผา (slash-and-burn) การเกษตรหลักคือการเพาะปลูกข้าวไร่เพื่อการบริโภค และปลูกฝิ่นเพื่อเป็นรายได้ ลีซอใช้วิธีโค่นต้นไม้ทั้งหมดและเผา การถางใช้เวลาต่อเนื่องกัน 2 ปีหรือมากกว่า แล้วทิ้งไว้เพื่อเป็นไร่ผืนใหม่ และใช้เพาะปลูก 12 ปีติดต่อกัน แม้จะมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เพราะที่ดินป่ามีเหลืออยู่จำกัด ส่วนพืชเสริมเช่น ข้าวเดือย พริก ข้าวโพด ถั่ว แตงโม และพืชประเภทมัน และเลี้ยงสัตว์เช่น หมู ไก่ แพะ และวัว วัวเลี้ยงเพื่อขายมากกว่าการบริโภค ตามการสำรวจของรัฐบาลไทยในปี ค.ศ.1961-1962 รายได้เฉลี่ยประจำปีต่อครอบครัวประมาณ 3,200 -3,600 บาท เงินตราที่ใช้ในการค้าขาย ลีซอมักใช้เหรียญเงินจีนและอินเดีย แต่ในประเทศไทยจะใช้เงินตราไทย ในการค้าขายลีซอติดต่อเชื่อมโยงโดยตรงกับระบบเศรษฐกิจที่กว้างกว่าและอาศัยพึ่งพาชาวพื้นราบ เพราะว่ารายได้ที่เป็นเงินสดของลีซอเกือบทั้งหมดมาจากการขายฝิ่น ราคาที่ขึ้นลงของยาเสพติด ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของลีซอ ชีวิตของคนลีซอขึ้นกับบุคคลสามฝ่าย ฝ่ายแรกคือผู้ซื้อฝิ่น ฝ่ายที่สองคือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เพิ่มความพยายามในการไม่ให้มีการค้าฝิ่น และสุดท้ายคือชาวนาพื้นราบ เนื่องจากลีซอปลูกข้าวไม่พอยังชีพ ต้องพึ่งพาแหล่งอาหารจากชาวนาพื้นราบ (หน้า 162-163)

Social Organization

ครัวเรือนเป็นหน่วยสังคมพื้นฐานของสังคมลีซอ โดยปกติประกอบด้วยครอบครัวเดี่ยว (nuclear family) ไม่ค่อยพบครัวเรือนที่ มีญาติของสามีหรือภรรยามาอยู่ด้วย ลูกชายคนเล็กจะอยู่ในครัวเรือนและเป็นทายาท ได้ครอบครองบ้านหลังการตายของพ่อแม่ หน่วยสังคมที่ใหญ่ขึ้น คือ หมู่บ้าน ... ลีซอจะรวมตัวกันในกลุ่มคนตระกูลข้างพ่อ ซึ่งอาจจะมีอยู่ต่างหมู่บ้าน และ exogamous แต่ละชื่อสกุลมีผี (spirit) และขนบธรรมเนียม (custom) ประจำตระกูลเป็นของตนเอง แต่ไม่มีสภาพเป็นกลุ่มเศรษฐกิจและการเมือง มีความสำคัญเพียงทางสังคมและพิธีกรรม (หน้า 159) การแต่งงาน มีข้อห้ามแต่งงานกันเองในตระกูล กฎตาม clan exogamy ชายลีซอนิยมแต่งงานกับลูกพี่ลูกน้องซึ่งเป็นลูกสาวของพี่สาวหรือน้องสาวของพ่อ และห้ามแต่งงานกับลูกพี่ลูกน้องซึ่งเป็นลูกสาวของพี่ชายหรือน้องชายของพ่อ การแต่งงานมัก อยู่ในระบบผัวเดียวเมียเดียว พ่อแม่เป็นผู้จัดการรับหมั้นโดยไม่ต้องสอบถามความสมัครใจของลูก โดยปกติสินสอดเป็นสิ่งจำเป็น แต่หากชายหนุ่มไม่สามารถจ่ายเป็นเงินสด สามารถทำงานตอบแทนให้แก่พ่อแม่ฝ่ายหญิงได้ ในกรณีนี้ หลังแต่งงานผู้ชายจะไปอยู่บ้านครอบครัวของฝ่ายภรรยา (uxorilocal) แต่โดยปกติ หลังแต่งงานผู้หญิงจะไปอยู่บ้านฝ่ายชาย (virilocal) ? หนุ่มลีซอจะเลือกคู่ของตัวเอง ที่ปรากฏการลักพาหรือหนีตามผู้ชายเป็นสิ่งที่ชายลีซอปฏิบัติกันมานาน (หน้า 160)

Political Organization

ลีซอจะต่างจากชาวเขาเผ่าอื่นๆ เช่น กะเหรี่ยง อาข่า หรือลาหู่ คือไม่มีโครงสร้างระบบการเมืองรวมทั้งหัวหน้าหมู่บ้านและ สภาผู้อาวุโส ลีซอเป็นผู้ยึดถือความเสมอภาค อย่างสุดขั้ว และไม่มีการปกครองตามระดับชั้น ปกติการจัดหาผู้นำเป็นไปอย่างไม่เป็นทางการโดยบรรดาผู้อาวุโสของชุมชน ความเคารพนับถือและอิทธิพลของผู้นำขึ้นกับบุคลิกภาพส่วนตัว ประสบการณ์ ความสามารถ ความมั่งคั่งและขนาดของครอบครัว โดยจารีตประเพณีลีซอยอมรับการสืบทอดผู้นำ แต่ในประเทศไทย หัวหน้าคนใหม่ได้รับเลือกจากผู้อาวุโสในหมู่ผู้อาวุโสด้วยกัน บางทีหัวหน้าหมู่บ้านอาจเป็นเพียงในนาม ไม่มีอำนาจที่แท้จริง เลือกเพื่อเอาใจรัฐ หน่วยทางการเมืองของหมู่บ้านมีเพียงความสัมพันธ์อย่างผิวเผินกับหน่วยการปกครองของไทย (หน้า 160)

Belief System

ลีซอ มีความเชื่อเรื่องวิญญาณหรือผี รวมทั้งผีบรรพบุรุษตามอิทธิพลจีนด้วย สิ่งเหนือธรรมชาติของลีซอแบ่งออกกว้าง ๆ เป็น 2 ประเภท คือ 1.ne หรือ ni รวมผีบรรพบุรุษ ผีป่า ผีครัวเรือน เจ้าที่เจ้าทาง ผีคนตาย 2.ไม่มีชื่อ เรียกรวม ๆ รวมสิ่งเหนือธรรมชาติที่มีลำดับความสำคัญแตกต่างกัน ลำดับแรกคือ Wu-sa ผู้สร้างโลก ?ในปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ลีซอทำให้กลายเป็นสิ่งเหนือธรรมชาติ เช่น ฟ้าผ่า ฟ้าแลบ ดาวตก เป็นต้น ถือว่า "ne" สร้างขึ้นมา ในขณะที่ปารกฏการณ์อื่น ๆ เช่นรุ้งถูกรวมเข้ากับสิ่งเหนือธรรมชาติประเภทที่สอง ในชีวิตประจำวันของลีซอ "ne" จะสำคัญเป็นพิเศษ และที่สำคัญที่สุดในกลุ่มนี้คือ ผีบรรพบุรุษ และ "si" หรือ "owner" spirits ในแต่ละบ้านจะมีแท่นบูชาเซ่นไหว้บรรพบุรุษตามเวลา เพื่อให้ผีบรรพบุรุษอำนวยพรให้สมาชิกในครัวเรือน ส่วนในระดับชุมชนรวมเป็นเอกภาพด้วยการจงรักภักดีต่อผีที่อาศัยอยู่และเป็นเจ้าของภูเขา ซึ่งมีอิทธิพลต่อหมู่บ้าน เวลาที่ชุมชนลีซอสร้างหมู่บ้านใหม่ ผู้อาวุโสจะเลือกบริเวณเขาที่มีต้นไม้ที่มีใบกว้าง (leafy tree) ตั้งตระหง่านอยู่ เมื่อเลือกแล้วจะสร้างศาล (shrine) เจ้าป่าเจ้าเขา (resident hill spirit) จากนั้นลีซอจะเรียกสิ่งเหนือธรรมชาตินี้ว่า "Apa mo" (Old Grandfather) และในโอกาสสำคัญต่างๆ ของหมู่บ้านลีซอต้องเซ่นไหว้ศาล "Apa mo" เพราะ Old Grandfather เป็นที่เคารพบูชายำเกรงมากที่สุดในหมู่ผีทั้งหมด Old Grandfather ช่วยปกป้องชุมชนจากอิทธิพลชั่วร้ายจากโลกภายนอก โรคภัยไข้เจ็บ ทุพภิกขภัย โจรผู้ร้าย และผีร้าย ชาวบ้านทั่วไปจะแสดงความเคารพต่อ Old Grandfather ด้วยการไม่เข้าไปในบริเวณศาล คณะของผู้วิจัยสองคนไม่ได้สนใจข้อห้ามนี้เข้าไปในบริเวณทำพิธี จึงต้องจ่ายค่าไก่ตัวผู้ 1 ตัวและแม่ไก่อีก 1 ตัว เพื่อเซ่นไหว้ Old Grandfather ให้ความไม่พอใจต่อพฤติกรรมที่หยาบคายนี้เสื่อมคลายลง โดยหมอผี (spirit - doctor) จะเป็นผู้ทำพิธี เพราะหาก Old Grandfather ถูกทำให้ไม่พอใจแล้วไม่ได้รับเครื่องเซ่นไหว้ที่เหมาะสม สามารถทำร้ายเป็นอันตรายกับคนได้ หมู่บ้านมีศูนย์กลางพิธีกรรมเป็น "ศาล" (shrine) หรือบ้านสำหรับผีอารักษ์ (guardian spirit, Apa mo) ของหมู่บ้าน ภายนอกศาลด้านขวาเป็นแท่นบูชา Ida wa ผีภูเขา และด้านซ้ายแท่นหนึ่งสำหรับ Hwa - sy ผู้ช่วยของผีอารักษ์ (guardian spirit's assistant) ของหมู่บ้าน หมู่บ้านลีซอมักจะมีผู้เชี่ยวชาญต่างๆ เพื่อใช้ติดต่อกับบรรดาสิ่งเหนือธรรมชาติ เช่น มีนักบวช 1 คน (meumeu pha) ไว้ติดต่อกับ Apa mo และ ne pha (spirit men) หลายคน เพื่อช่วยเหลือผู้ที่เลื่อมใสบูชาบรรพบุรุษ หน้าที่ของ spirit man หรือหมอผี (shaman) เป็นผู้เสี่ยงทายทำนายประเภทของสิ่งเหนือธรรมชาติ ที่เป็นสาเหตุของความเจ็บป่วยหรือโชคร้าย (โดยสภาวะจิตที่เข้าสู่ภวังค์) ผู้ชายคนใดก็อาจเป็นหมอผี (shaman) หรือสื่อทางวิญญาณ (spirit medium) ได้ หากเขามีแนวโน้มตามธรรมชาติหรือความสามารถที่จะติดต่อกับบรรพบุรุษและผี และผ่านการทดสอบเบื้องต้นจากหมอผีอื่นๆ ตำแหน่งหมอผีไม่มีอำนาจและได้ค่าตอบแทนเป็นเงินอันน้อยนิด งานศพ ลีซอเชื่อว่าการตายเป็นเครื่องหมายการผ่านเข้าสู่อาณาจักรของวิญญาณ และการเดินทางสู่โลกหลังตายนี้ กล่าวกันว่าอันตราย คนที่มีชีวิตอยู่จะต้องดูแลปลอบขวัญให้วิญญาณสงบ เพื่อให้ผู้ตายมีความสุขในโลกหน้า เช่น การตายด้วยอุบัติเหตุหรือด้วยความรุนแรง ศพผู้ตายจะถูกเผา เป็นต้น ปกติจะใช้วิธีฝัง โดยใส่เมล็ดข้าวเปลือกและเงินชิ้นเล็กๆ เข้าไปในปากของผู้ตาย ใส่ข้าวและน้ำเต้าใส่น้ำ แถบผ้าและมีดเก่าไว้ในตะกร้าแบกหลังของผู้ตาย ตะกร้านี้จะแขวนไว้บนเสาด้านหน้าหลุมฝังศพ ศพบรรจุในโลงวางในหลุม ใส่ดินกลบ กองหินทรงกรวยกลม (cairn of stones) กองไว้เหนือหลุมศพ ยอดกองหินวางชามน้ำไว้ 1 ชาม หนึ่งเดือนผ่านไป ชามน้ำนี้จะถูกนำไปไว้ที่แท่นบูชาของครัวเรือน (household altar) วางร่วมกับเทียนขี้ผึ้งและธูป "วิญญาณของผู้ตายจะได้รับการเคารพนับถือเป็นบรรพบุรุษ และกลับมาอยู่ร่วมกับวงตระกูล (หน้า 160-162)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ลีซอปกติแต่งกายด้วยชุดแบบชาวจีนชนบท สวมเสื้อป้ายซ้อนทบกันบริเวณอก (double-breasted shirt) และกางเกงหลวมเป้าหย่อนความยาวแค่เข่า (baggy knee-length trousers) ผู้หญิงยังรักษาการแต่งกายตามประเพณี สวมเสื้อผ้าฝ้ายตัวใหญ่ยาวถึงเข่า ด้านหน้าป้ายทบกันบริเวณอก (double-breasted cotton tunic) กางเกงหลวม เป้าหย่อน ทั้งชายและหญิงสวมสนับแข้ง ชุดที่สวมมักเป็นสีน้ำเงินหรือเขียว แต่เสื้อตัวยาวของผู้หญิงจะประดับด้วยแถบผ้าหลากสีสดใส ตามประเพณีทั้งหญิงและชายลีซอจะสวมหมวกแบบผ้าโพกศีรษะขนาดใหญ่สีดำหรือสีน้ำเงินเข้ม และในงานพิธีจะสวมใส่เครื่องประดับเงินขนาดใหญ่และหนัก (หน้า 158-159)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ลีซอมักจะมองคนนอกด้วยความหวาดระแวง แต่ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมพันธ์กับชาติพันธุ์ที่ไม่ใช่ลีซอ ลีซอเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ปลูกฝิ่น และผู้ปลูกฝิ่นเกือบทั้งหมดแสวงหาที่ดินปลูกฝิ่นและพื้นที่ตั้งหมู่บ้านประเภทเดียวกัน ลีซอจึงมีแนวโน้มเลือกที่ดินซึ่งบุกเบิกแล้วโดยลาหู่ อาข่า หรือม้ง ทำให้ลีซออยู่ท่ามกลางเพื่อนบ้านชาติพันธุ์ลาหู่ อาข่า และม้ง นอกจากนี้ ในหมู่บ้านลีซอบางแห่งจะมี "Haw" หรือชาวยูนนานอยู่ร่วมด้วยประมาณครึ่งหนึ่ง ในขณะที่หมู่บ้านลีซอที่มีลีซออาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่ ก็มีบ้านลาหู่แซม มีการแต่งงานระหว่างลีซอและชาวยูนนานหรือกับลาหู่ถือเป็นเรื่องปกติ (หน้า 162-163)

Social Cultural and Identity Change

ลีซอพยายามต่อสู้เพื่อคงความเป็นอิสระทางการเมืองและยับยั้งคนพื้นราบไม่ให้เข้าแทรกแซงเรื่องราวของตน ไม่มีเครื่องบ่งชี้ว่าลีซอจะถูกดูดกลืนโดยคนไทย หรือจะลงไปอยู่บนพื้นราบ (valley) แต่มีลีซอบางคนเริ่มเพาะปลูกนาดำ (wet rice) ไม่ใช่อยู่เพียงบนหุบเขาสูงแต่อยู่บนพื้นที่ราบด้วย ผู้วิจัยพบหมู่บ้านลีซอบนพื้นราบในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ อาศัยอยู่ใกล้กับหมู่บ้านไทย และปลูกข้าวนาดำ (wet rice) แม้ลีซอที่อยู่บนเขาจะยังรักษาวิถีชีวิตตามจารีตไว้ในรูปของเครื่องแต่งกายและที่อยู่อาศัย แต่ก็ได้รับอิทธิพลจากขนบประเพณีไทยเพิ่มขึ้น เพราะการปราบปรามขบวนการขนฝิ่นประกอบกับแรงกดดันเรื่องการขาดแคลนที่ดินเพื่อทำไร่ตามจารีต ทำให้วิถีชีวิตของลีซอมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง (หน้า 163)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

รูปภาพ : หลังหน้า 164 : 1. หมู่บ้านลีซอ (21a) 2. นาข้าวของลีซอ (21b) 3. หญิงลีซอปักชุดใหม่ (22a) 4. หญิงลีซอซักเสื้อผ้า (22b) 5. หญิงสาวลีซอกำจัดวัชพืชในไร่ฝิ่น (23a) 6. ม้าแกลบบรรทุกของบ้านลีซอ (23b) 7. ผู้อาวุโสลีซอ (24a) 8. หญิงสาวลีซอ (24b)

Text Analyst บุญสม ชีรวณิชย์กุล Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG ลีซู, ประวัติ, วัฒนธรรม, ความเชื่อ, เศรษฐกิจ, สังคม, การเมือง, ภาคเหนือ, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง