สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject จีนมุสลิม จีนยูนนาน(จีนฮ่อ),ชุมชน,การอพยพ,ภาคเหนือ,ประเทศไทย
Author Wang Liulan
Title การอพยพข้ามพรมแดนและการตั้งชุมชนของชาวจีนยูนนานในภาคเหนือของประเทศไทย
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาญี่ปุ่น
Ethnic Identity จีนยูนนาน จีนฮ่อ มุสลิมยูนนาน, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดสยามสมาคม Total Pages 50 Year 2547
Source Journal of Asian and African Studies, No.67, 2004. (p.211-260)
Abstract

ชุมชนคนจีนยูนนานที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยมีการตั้งถิ่นฐานหลายแห่ง มีความหลากหลายของชุมชน ไม่ว่าจะเป็น ชุมชนทหารล้วนหรือชุมชนที่ผสมระหว่างทหารกับชาวบ้าน การอพยพเข้ามานั้นเกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น สงคราม ปัญหาจากทหารก๊กมินตั๋ง เป็นต้น

Focus

กระบวนการ สาเหตุและการก่อตั้งชุมชนของจีนยูนนานอพยพในภาคเหนือของไทย

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

จีนยูนนานในภาคเหนือของประเทศไทย

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

การสำรวจครั้งที่ 1 ตั้งแต่ปี ค.ศ.1995-1996 รวมระยะเวลา 4 เดือน การสำรวจครั้งที่ 2 ตั้งแต่ปี ค.ศ.1998-2000 รวมระยะเวลา 18 เดือน (หน้า 215)

History of the Group and Community

ในทางประวัติศาสตร์มีชาวจีนอพยพมาอาศัยอยู่ในประเทศไทยซึ่งมีเส้นทางเชื่อมต่อกับประเทศจีนได้ การเดินทางมายังประเทศไทยมีทั้งทางบกและทางทะเล สำหรับภาคเหนือของไทยนั้นเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชาวจีนซึ่งเดินทางมาทางบกจากมณฑลยูนนานเป็นส่วนใหญ่ (หน้า 212) ชุมชนชาวจีนฮ่อในภาคเหนือของไทยมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับพรรคก๊กมินตั๋งซึ่งเป็นพรรครัฐบาลของประเทศจีนในช่วง ค.ศ.1912-1949 รวมระยะเวลา 38 ปี ก่อนที่พรรคคอมมิวนิสต์จะยึดอำนาจได้ในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ.1949 ทหารก๊กมินตั๋งส่วนหนึ่งอพยพไปเกาะไต้หวัน แต่อีกส่วนหนึ่งต้องถอยร่นมาอยู่ทางภาคเหนือของไทยโดยค่อยๆ ล่าถอยมาจากเขตพม่า และการถอยร่นมาตั้งชุมชนในไทยเกิดขึ้นสองช่วงคือ ช่วงแรก ในปี ค.ศ.1953 องค์การสหประชาชาติได้แนะนำให้ถอนทหารก๊กมินตั๋งไปอยู่ที่ใต้หวัน แต่ยังคงมีทหารตกค้างที่พม่าประมาณ 6,000 คน และในจำนวนนี้ส่วนหนึ่งอพยพมาตั้งชุมชนอยู่ที่ภาคเหนือของไทย ช่วงที่สองในปี ค.ศ.1961 องค์การสหประชาชาติสนับสนุนให้ทหารก๊กมินตั๋งย้ายไปที่ไต้หวันอีกครั้ง ครั้งนี้มีทหารอพยพจากพม่าไป 4,200-4,345 คน ที่เหลืออีก 2-3,000 คนอพยพลงมาตั้งชุมชนในไทย (หน้า 220-221) งานวิจัยนี้วิจัยกรณีศึกษาการอพยพของชาวจีนยูนนาน ที่ได้รับผลกระทบจากการอพยพกองทหารก๊กมินตั๋งจากพม่า คือ กรณีศึกษา คุณจาง คุณเป้า คุณเจียงและคุณหยาง สองกรณีแรกมีสาเหตุที่ทำให้ต้องอพยพจากยูนนานเหมือนกัน คือ ทั้งสองคนแต่งงานกับทหารก๊กมินตั๋งเมื่อเกิดสงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่น จึงต้องอพยพไปพม่าและหนีมาไทยในภายหลัง (หน้า 229-233, 257) กรณีคุณเจียงเป็นชายหนุ่มชาวบ้านที่อพยพจากยูนนานหลังปี ค.ศ.1949 และระหว่างการอพยพได้เข้าร่วมต่อต้านคอมมิวนิสต์และเข้าเป็นทหารก๊กมินตั๋งในที่สุด (หน้า 233-236, 257) กรณีสุดท้ายคือ คุณหยาง เป็นชาวบ้านที่อพยพจากยูนนานหลังปี ค.ศ. 1949 และต้องอพยพหนีมาไทยจากปัญหาที่เกิดจากทหารก๊กมินตั๋ง (หน้า 236-238, 257) กลุ่มผู้ที่อพยพจากพม่ามีทั้งชาวบ้านและทหาร การอพยพของชาวบ้านนั้นเริ่มตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1970 เรื่อยมากระทั่งทศวรรษ 1980 การอพยพในช่วงนี้มีหลายสาเหตุ เช่น คุณหลงและคุณโจวหนีสภาวะสงครามจากพม่า กรณีคุณไช่และคุณหวงซึ่งอพยพไปทางภาคใต้ของไทย หรือออกไปต่างประเทศอีกขั้นหนึ่งเพื่อความสำเร็จทางเศรษฐกิจ หรือกรณีคุณหวาง คุณเหวินและคุณหลี่ ซึ่งเป็นทหารโกกังต่อต้านรัฐบาลพม่า แต่ไม่ใช่ว่าคนโกกังทุกคนที่อพยพมาจะเป็นทหารต่อต้านรัฐบาล เช่นกรณีคุณหลินที่หนีสงครามกลางเมืองระหว่างกองโจรคอมมิวนิสต์กับรัฐบาล รวมถึงประเด็นเรื่องการค้ายาเสพติดด้วย (หน้า 238-252, 257-258) นอกจากนี้ยังมีกลุ่มที่ไม่ทราบถึงสาเหตุการอพยพที่ชัดเจน เช่น กรณีคุณจิน คุณหูและคุณเหมา (กรณีที่ 13-15) (หน้า 252-256, 258) จึงอาจสรุปได้ว่าสาเหตุของการอพยพของชาวจีนยูนนานเข้ามาไทย ไม่ได้มีความเกี่ยวเนื่องทหารก๊กมินตั๋งเท่านั้น ยังมีสาเหตุทางการเมืองอื่นๆ ทางเศรษฐกิจและผลกระทบจากสงครามอีกด้วย (หน้า 258)

Settlement Pattern

ในการสำรวจครั้งที่ 1 พบว่า ชาวจีนอพยพเข้ามายัง 3 จังหวัดภาคเหนือมาก คือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่และเชียงราย แต่จังหวัดที่มีแนวโน้มจำนวนชุมชนอพยเพิ่มขึ้นคือ จังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย ส่วนความต่างของขนาดของชุมชนในระดับจังหวัดนั้น พบว่า ขนาดของชุมชนจีนในจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่มีขนาดใหญ่กว่าและมีความหนาแน่นมากกว่าชุมชนจีนในแม่ฮ่องสอน (หน้า 217-218) กระบวนการก่อตั้งชุมชนชาวจีนยูนนานแบ่งได้เป็น 4 แบบ คือ 1. ชุมชนร่วมระหว่างทหารกับชาวบ้าน ชุมชนนี้ออกจากพม่ามาในปี ค.ศ.1953 แต่เดิมเป็นชุมชนในยูนนานแต่อพยพหนีสงครามมาเป็นระยะ กระทั่งมาตั้งเป็นชุมชนถาวรในไทย กลุ่มนี้มีประชากร 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายอดีตทหารซึ่งเรียกตัวเองว่า ทหารของประเทศหรือทหารก๊กมินตั๋ง กับกลุ่มชาวบ้านและกลุ่มพ่อค้า กลุ่มชาวบ้านบางส่วนไม่พอใจกลุ่มทหารมากนักจนบางครั้งเรียกทหารกลุ่มนี้ว่าเป็นเพียงกลุ่มกองโจรเท่านั้น รูปแบบความสัมพันธ์ของสองกลุ่มนี้จึงไม่ได้เกี่ยวพันกันในเชิงกลยุทธ์ทางทหาร (หน้า 222 -224, 256) 2. ชุมชนทหารก๊กมินตั๋งที่ตกค้างอยู่ ส่วนใหญ่เป็นชุมชนที่อพยพมาระยะที่ 2 หลังปี ค.ศ.1961 ปัจจุบันมีอยู่สองชุมชนหลัก คือ กองพลที่ 5 จังหวัดเชียงราย และกองพลที่ 3 จังหวัดเชียงใหม่ สองชุมชนนี้ยังคงรูปแบบชุมชนแบบทหารอยู่ ประชากรส่วนใหญ่เป็นอดีตทหารก๊กมินตั๋ง และได้นำอาวุธ เครื่องมือสื่อสารและสัตว์พาหนะมาตั้งอยู่ในประเทศไทยด้วย (หน้า 224-226, 256) 3. ชุมชนที่ถูกบังคับให้อพยพย้ายถิ่นฐาน ชุมชนนี้เป็นอดีตทหารก๊กมินตั๋งซึ่งอพยพมาอาศัยอยู่ในประเทศไทย แต่ในช่วงทศวรรษ 1970 ไทยประสบปัญหากองโจรบริเวณนั้น จึงต้องการให้กองทหารเหล่านี้ย้ายถิ่นฐานไปอยู่บริเวณชายแดนไทย-ลาวเพื่อปราบปรามกองโจรบริเวณนั้น การอพยพครั้งนี้จึงไม่ใช่การอพยพโดยการตัดสินใจของชุมชนเอง (หน้า 226-227, 256) 4. ชุมชนกองโจรแอบแฝง ในเอกสารนี้ศึกษาเฉพาะชุมชนโกกัง (Kokang) เขตรัฐฉานเท่านั้น เดิมชุมชนนี้เป็นชุมชนของทหารต่อต้านรัฐบาลพม่าที่อพยพเข้ามาในไทยในช่วงหลังทศวรรษ 1970 คาดว่าไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับการอพยพของทหารก๊กมินตั๋งเนื่องจากความต่างของระยะเวลาในการอพยพ (หน้า 227-229, 256-257) ลักษณะพิเศษของชุมชนชาวจีนยูนนานในเขตภาคเหนือของไทยนั้นมีอยู่ 2 ประการ คือ ประการแรก ทหารมีบทบาทในชุมชนทั้งสี่แบบ ไม่พบว่ามีชุมชนชาวจีนยูนนานใดที่ตั้งอยู่โดยไม่มีกลุ่มทหารเข้ามาเกี่ยวข้อง และประการที่สอง การก่อตั้งชุมชนทั้งหมดอยู่บริเวณเขตพื้นที่ภูเขาทั้งสิ้น (หน้า 257) หากวิเคราะห์กระบวนการอพยพของคนจีนยูนนานในไทย มีรูปแบบการอพยพ 3 รูปแบบหลัก คือ 1. การอพยพแบบไม่มีพื้นที่เป้าหมาย ในช่วงการอพยพที่ 1 2. กลุ่มที่อพยพมาอาศัยร่วมกับชุมชนยูนนานอพยพที่มีอยู่ก่อนแล้ว เช่น กรณีคุณหวางและคุณเหวิน (กรณี 7-8) 3. ชาวยูนนานที่อพยพมาอาศัยร่วมกับกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเขาในไทยก่อนในระยะแรก ต่อมาจึงอพยพเข้าไปอาศัยในชุมชนจีนยูนนานอีกทีหนึ่ง เช่น กรณีคุณไช่ (กรณี 10) (หน้า 258-259) และชาวจีนยูนนานเหล่านี้เมื่อเข้ามาอาศัยในประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอนหรือกรุงเทพฯ มักจะมีลักษณะเฉพาะของความเป็นชุมชนคนยูนนาน มีความรู้สึกร่วมสูงและมักจะก่อตั้งสมาคมยูนนานขึ้น (หน้า 259-260)

Demography

นายกสมาคมยูนนานจังหวัดเชียงใหม่ได้ให้ข้อมูลว่า ในเชียงใหม่มีชุมชนคนจีนอยู่ถึง 70 กว่าชุมชน คาดว่ามีจำนวนคนจีนอยู่ถึง 80,000 กว่าคนในเขตภาคเหนือของไทย และมีประมาณ 100,000 คนที่อาศัยในกรุงเทพฯ (หน้า 218)

Economy

ไม่มีข้อมูล

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ไม่มีข้อมูล

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

คนไทยในประเทศไทยเรียกคนจีนที่อพยพมาจากแต่ละแห่งแตกต่างกัน คือ เรียกคนจีนที่อพยพมาทางทะเลว่า "เจ๊ก" และเรียกคนจีนที่อพยพมาทางบกว่า "จีนฮ่อ หรือ ฮ่อ" (หน้า 213)

Map/Illustration

แผนที่ 1 แผนที่เขตที่มีความเกี่ยวข้องกับการอพยพของคนจีนยูนนานในงานวิจัย (หน้า214) แผนที่ 2 การกระจายของชุมชนชาวจีนยูนนานจากการสำรวจในปี 1995 (หน้า 215) แผนที่ 3 ขนาดของชุมชนชาวจีนยูนนานจากการสำรวจในปี 1995 (หน้า 216) แผนที่ 4 ข้อมูลยืนยันการกระจายตัวของชุมชนชาวจีนยูนนาน ปี 1995-2000 (หน้า 217) แผนที่ 5 การกระจายชุมชนชาวจีนยูนนาน (ชนชาติจีนฮั่นและชาวมุสลิม) (หน้า 219) แผนที่ 6 แผนที่เส้นทางอพยพของคุณจาง (กรณี 1) (หน้า 230) แผนที่ 7 แผนที่เส้นทางอพยพของคุณเป้า (กรณี 2) (หน้า 231) แผนที่ 8 แผนที่เส้นทางอพยพของคุณเจียง (กรณี 3) (หน้า 235) แผนที่ 9 แผนที่เส้นทางอพยพของคุณหยาง (กรณี 4) (หน้า 236) แผนที่ 10 แผนที่เส้นทางอพยพของคุณโจว (กรณี 5) (หน้า 239) แผนที่ 11 แผนที่เส้นทางอพยพของคุณหลง (กรณี 6) (หน้า 241) แผนที่ 12 แผนที่เส้นทางอพยพของคุณหวาง (กรณี 7) (หน้า 243) แผนที่ 13 แผนที่เส้นทางอพยพของคุณเหวิน (กรณี 8) (หน้า 245) แผนที่ 14 แผนที่เส้นทางอพยพของคุณหลี่ (กรณี 9) (หน้า 247) แผนที่ 15 แผนที่เส้นทางอพยพของคุณแย่ (กรณี 10) (หน้า 248) แผนที่ 16 แผนที่เส้นทางอพยพของคุณหลิน (กรณี 11) (หน้า 249) แผนที่ 17 แผนที่เส้นทางอพยพของคุณหวง (กรณี 12) (หน้า 251) แผนที่ 18 แผนที่เส้นทางอพยพของคุณจิน (กรณี 13) (หน้า 253)

Text Analyst Tatsuo Iida, Sivarin Lertpusit Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG จีนมุสลิม จีนยูนนาน(จีนฮ่อ), ชุมชน, การอพยพ, ภาคเหนือ, ประเทศไทย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง