สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ไต คนไต ไตโหลง ไตหลวง ไตใหญ่,ลัวะ,ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ กะเหรี่ยง,ปะโอ,คนบนพื้นที่สูง,คนพื้นที่ราบ,ความสัมพันธ์,แม่ฮ่องสอน
Author Kunstadler, Peter
Title Hill and Valley populations in Northwestern Thailand.
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity ลัวะ (ละเวือะ) ลเวือะ อเวือะ เลอเวือะ ลวะ ละว้า, ปะโอ, ปกาเกอะญอ, ไทใหญ่ ไต คนไต, Language and Linguistic Affiliations ไม่ระบุ
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 17 Year 2510
Source Proceeding of the First Symposium of Tribal Research Centre, Chiang Mai,Thailand. p.69-85
Abstract

กลุ่มคนบนพื้นที่สูงและพื้นที่ราบมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน ทั้งในเรื่องระบบเศรษฐกิจ สังคม และศาสนา มีการรับและแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมเกิดขึ้นจากการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างกัน แต่อย่างไรก็ตาม แต่ละกลุ่มต่างมีอัตลักษณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง แต่ก็ไม่สามารถแยกพื้นที่ทั้งสองออกจากกันได้ โครงสร้างทางการเมืองการปกครองของรัฐไทย ภายใต้กระบวนการเป็นสมัยใหม่ได้พยายามเข้ามาควบคุมและเปลี่ยนแปลงสภาพทางสังคมและวัฒนธรรมบนพื้นที่สูงให้กลายเป็นไทยส่งผลให้เกิดปัญหาความขัดแย้งของกลุ่มคนทั้งสองพื้นที่รวมถึงเกิดการเปลี่ยนทางสังคมและวัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่เกิดขึ้น (หน้า 69-85)

Focus

ความสัมพันธ์ระหว่างประชากรบนพื้นที่สูงและประชากรบนพื้นที่ราบ บริเวณตะวันตกเฉียงเหนือ อ.แม่สะเรียง จ. แม่ฮ่องสอน ประเทศไทย (หน้า 69)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ประชากรบนพื้นที่สูงและประชากรบนพื้นที่ราบ บริเวณตะวันตกเฉียงเหนือ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ประเทศไทย (หน้า 69)

Language and Linguistic Affiliations

ความแตกต่างทางด้านภาษาเห็นได้ชัดและแสดงอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ของคนทั้งสองประเภทกล่าวคือ กลุ่มคนบนพื้นที่สูงมีภาษาพูดของตนเองในแต่ละชาติพันธุ์ในขณะที่กลุ่มคนบนพื้นที่ราบ พูดภาษาเหนือ (คำเมือง) และ ภาษาไทย (หน้า 78)

Study Period (Data Collection)

ค.ศ. 1967

History of the Group and Community

ลัวะอาศัยในพื้นที่บริเวณนี้มาหลายร้อยปี ก่อนที่คนไทยจะเดินทางเข้ามาในพื้นที่บริเวณนี้ ส่วนกะเหรี่ยงสะกออาศัยอยู่ในบริเวณนี้ประมาณ 4-5 ชั่วอายุคน (100-150 ปีที่ผ่านมา) บรรพบุรุษของพวกเขามาจากทางตะวันตก จากรัฐฉาน ประเทศพม่า (หน้า 69) ปลายศตวรรษที่ 19 ภาคเหนือได้กลายเป็นชายแดนในการแบ่งแยกดินแดนในยุคอาณานิคม พม่าตกอยู่ใต้การปกครองของอังกฤษ และลาวตกอยู่ใต้การปกครองของฝรั่งเศส ตั้งแต่ช่วงระยะเวลานี้เป็นต้นมา พื้นที่บริเวณชายแดนมีการเมืองเข้ามา เกี่ยวข้องค่อนข้างสูง พื้นที่สูงกลายเป็นจุดประทะทำสงครามระหว่างประเทศ และกลุ่มคนบนพื้นที่สูงกลายเป็นแรงงานรับจ้าง ในสงคราม หรือควบคุมการขนส่งสินค้า และยังเป็นแรงงานสำคัญในการทำสัมปทานป่าไม้ และได้เปลี่ยนเป็นแรงงานในการ ปลูกพืชเศรษฐกิจในปัจจุบัน (หน้า 71)

Settlement Pattern

รอบ ๆ หุบเขาบนพื้นที่สูง ในระดับประมาณ 1,500 เมตร เป็นหมู่บ้านของลัวะ,กะเหรี่ยงสะกอ,กะเหรี่ยงโปว์ และไทใหญ่ หมู่บ้านของลัวะส่วนใหญ่จะอยู่บนภูเขา ทางตะวันออกเฉียงเหนือ ของ อ.แม่สะเรียง ทางตอนใต้และทางเหนือมีลัวะไม่ มากนัก หมู่บ้านของกะเหรี่ยงสะกอ พบทั้งในหุบเขาและบนภูเขารอบ ๆ อ. แม่สะเรียง หมู่บ้านของกะเหรี่ยงโปว์ อาศัยอยู่บริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของ อ.แม่สะเรียง หมู่บ้านของไทใหญ่ พบในบริเวณหุบเขาทางทิศเหนือ บริเวณแม่ลาน้อย ซึ่งใกล้กับชายแดนรัฐฉาน ประเทศพม่า (หน้า 69)

Demography

จำนวนประชากรส่วนใหญ่ของ อำเภอ แม่สะเรียงอาศัยอยู่บริเวณหุบเขาขุมยวม (หน้า 69) บนพื้นที่สูง หมู่บ้านประกอบด้วย 4-5 ครัวเรือน จนถึง 200 ครัวเรือน (หน้า 71) จำนวนประชากรในแม่สะเรียงเพิ่มขึ้นจากการเกิด 3% ต่อปี นอกจากนี้ ยังเพิ่มขึ้นจากการอพยพ (หน้า 80)

Economy

กลุ่มคนบนพื้นที่สูง ทำไร่หมุนเวียน ปลูกข้าวเป็นหลักเพื่อใช้ในการบริโภค และมีการปลูกพืชชนิดอื่น ๆ ไว้สำหรับครัวเรือนและขาย กลุ่มคนบนพื้นที่สูงค่อนข้างจน ไม่มีวิทยุ นาฬิกา จักรยาน และเครื่องมือเครื่องใช้ทันสมัย ในอดีตลัวะผลิตเครื่องมือเหล็กใช้เองแต่ภายหลังเมื่อมีตลาดและสินค้าราคาถูกภายในเมืองทำให้ต้องเลิกผลิต ครัวเรือนมีเงินเพียงเล็กน้อย มีบางกลุ่มออกไปทำงานรับจ้างภายนอกจะมีเงินมากกว่า (หน้า 69-70) การค้าระหว่างกลุ่มคนบนพื้นที่สูงและกลุ่มคนบนพื้นที่ราบใน อำเภอแม่สะเรียงส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่ตลาด สินค้าที่ขายเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคพื้นฐาน เช่น ข้าว เกลือ เมี่ยง ปลาเค็ม เป็นต้น กลุ่มคนบนพื้นที่สูงจะนำสินค้าจากไร่ งานหัตถกรรมในครัวเรือนและของป่านำมาขาย เช่น ข้าว เครื่องเงิน เสื่อ ตะกร้า เขาสัตว์ และของป่าอื่น ๆ การให้สินเชื่อสำหรับในกลุ่มลัวะจะมีการทำสินเชื่อกับกลุ่มพ่อค้าที่ตนสนิท และมีการยืมเงินจากกลุ่มกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงหากไม่สามารถยืมกับคนในหมู่บ้านของตนเองได้ และเมื่อจ่ายคืน อาจจะจ่ายเป็นข้าว หรือเงินและคิดดอกเบี้ยในอัตรา 3% ต่อเดือน การจ้างแรงงาน ส่วนใหญ่กลุ่มคนบนที่ราบจะจ้างแรงงานกลุ่มคนบนพื้นที่สูงสำหรับทำงานในไร่ ซึ่งอาจจะจ่ายให้เป็นเงิน หรืออาหาร เสื้อผ้าและที่พักอาศัย ชายทุกคนในหมู่บ้านบนพื้นที่สูงเคยทำงานรับจ้างกับกลุ่มคนบนที่ราบ สำหรับกลุ่มคนหนุ่มที่ยังไม่ได้แต่งงานส่วนใหญ่จะรับจ้างทำงานเพื่อหาเงินค่าสินสอดซึ่งมีค่ามากกว่า 1,000 บาท (หน้า 74-76)

Social Organization

ลัวะเป็นสังคมแบบผัวเดียวเมียเดียว ไม่นิยมการหย่าร้าง เมื่อแต่งงานกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ เช่น ชาวเหนือ ขมุ กะเหรี่ยง จะเข้ามาอยู่อาศัยในหมู่บ้านลัวะและเรียนรู้ประเพณีวัฒนธรรมของลัวะ กลุ่มคนในหมู่บ้านจะช่วยเหลือกันในการแลกเปลี่ยนแรงงานในการทำไร่ งานขึ้นบ้านใหม่ งานศพ งานสร้างบ้าน ฯลฯ และจะต้อนรับแขกที่มาเยือนเหมือนพี่น้อง กะเหรี่ยง ที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงกับหมู่บ้านลัวะเป็นระยะเวลานานจะมีความสัมพันธ์เหมือนเป็นญาติพี่น้องกัน (หน้า 78-80)

Political Organization

ปลายศตวรรษที่ 19 หัวหน้าหมู่บ้านจะต้องได้รับการยอมรับจากเจ้าฟ้าในพื้นที่และได้รับให้เป็นผู้นำในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียง และจะต้องจ่ายภาษีให้กับเจ้าฟ้า หมู่บ้านของลัวะทางตะวันตกเฉียงใต้ มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดจากการยอมรับของเจ้าฟ้าในการปกครองพื้นที่ และสามารถเรียกเก็บค่าเช่าจากผู้ที่เข้ามาอยู่ใหม่ได้ ครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 สถานการณ์เปลี่ยนไประบบการเมืองการปกครองของกลุ่มบนพื้นที่สูงที่ได้รับการยอมรับจากเจ้าฟ้าถูกแทนที่ด้วยระบบการปกครองของรัฐไทย หมู่บ้านจะได้รับการยอมรับจากอำเภอ และมีอำนาจเฉพาะในท้องถิ่นที่ตนอาศัยอยู่เท่านั้น (หน้า 72-74)

Belief System

กลุ่มคนบนพื้นที่ราบส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา สำหรับกลุ่มคนบนพื้นที่สูง นับถือผีบรรพบุรุษและอำนาจเหนือธรรมชาติ มีบางกลุ่มนับถือพุทธศาสนาควบคู่กับการนับถือผีมีหิ้งพระและพระพุทธรูปภายในบ้าน โดยเฉพาะการนับถือครูบาซึ่งเป็นพระในพุทธศาสนานิกายล้านนาเป็นที่เคารพนับถือมากในกลุ่มคนบนพื้นที่สูงและกลุ่มคนบนพื้นที่ราบ นอกจากนี้ กลุ่มคนบนพื้นที่สูงบางกลุ่มได้เปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์ มีโบสถ์อยู่ในพื้นที่หมู่บ้าน ลัวะ นับถือผู้นำทางศาสนาแบบดั้งเดิมหากมีบางคนเปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์ยังคงให้การเคารพผู้นำทางศาสนาดั้งเดิมและช่วยเหลือในการเตรียมงานพิธีกรรมแต่ไม่บูชาผี สำหรับในกลุ่มม้ง (เย้า) หากเปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์จะต้องออกจากหมู่บ้านยกเว้นถ้าเปลี่ยนทั้งหมด (หน้า 76-77)

Education and Socialization

กระทรวงศึกษาธิการของไทยเริ่มเข้าไปเปิดโรงเรียนบนพื้นที่สูง เป็นโรงเรียนตำรวจตระเวณชายแดน (หน้า 74)

Health and Medicine

โครงการป้องกันโรงมาลาเรียของรัฐบาลไทยไม่ได้ครอบคลุมไปถึงพื้นที่สูง แต่มีการจัดการด้านสาธารณสุขผ่านโครงการของตำรวจตระเวนชายแดนได้สอนการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ยาและรักษาอาการเจ็บป่วย และส่งคนป่วยเข้ามารักษาพยาบาลในจังหวัดเชียงใหม่ (หน้า 74)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

แต่ละกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงมีการแต่งกายที่มีเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่มแต่ก็มีเวลาที่เข้าติดต่อกับกลุ่มคนพื้นที่ราบจะแต่งกายคล้ายกับคนพื้นที่ราบ (หน้า 78)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคนบนพื้นที่สูงและ กลุ่มคนบนพื้นที่ราบ ในประวัติศาสตร์ กลุ่มคนบนพื้นที่สูงมีความสัมพันธ์และติดต่อกับกลุ่มคนบนพื้นที่ราบ และเขตแดนไม่ได้แบ่งแยกเด่นชัด ความเป็นชายขอบที่เกิดขึ้นในปัจจุบันในกลุ่มคนบนพื้นที่สูง ไม่ได้เกิดจากกลุ่มคนบนพื้นที่สูงต้องการรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนไว้ แต่เกิดจากความรู้สึกว่าถึงอย่างไรก็ไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมไทย ทำให้มีบางส่วนที่เป็นปัจจัยทำให้พวกเขาเปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริตส์ แทนที่นับถือพุทธซึ่งเป็นศาสนาหลักของกลุ่มคนบนพื้นที่ราบ เนื่องจากการรับศาสนาคริสต์เป็นกระบวนการรับความเป็นสมัยใหม่และยังคงรักษาความเป็นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มตนไว้ได้ ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคนทั้งสองเกิดปัญหาเนื่องจากการเป็นสมัยใหม่ของสังคมเมือง ปัญหาที่พบเช่น การที่รัฐบาลพยายาม นำความเป็นศูนย์กลางจัดการในทุกด้านทั้ง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมเข้าควบคุม แต่เนื่องจากกลุ่มคนบนพื้นที่สูงมีระบบเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของตนเอง ความแตกต่างทางวัฒนธรรมทำให้เกิดช่องว่างและความไม่เข้าใจต่อกันเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มคนบนพื้นที่สูงและกลุ่มคนพื้นที่ราบ เนื่องจากกลุ่มคนบนพื้นที่ราบอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐมากกว่า (หน้า 70-71)

Social Cultural and Identity Change

การเมืองการปกครองของรัฐไทยได้เข้ามามีส่วนสำคัญในการปกครองพื้นที่สูงเริ่มเมื่อประมาณ 70-80 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลไทยบังคับใช้กฏหมายห้ามไม่ให้ทำไร่หมุนเวียน แม้ว่าจะมีบางกลุ่มยังคงเพิกเฉยและทำไร่หมุนเวียนอยู่จนถึงปัจจุบัน แต่ก็เกิดเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจและสังคมแบบดั้งเดิมของกลุ่มบนพื้นที่สูงในหลายพื้นที่ (หน้า 74) การอพยพของกลุ่มลัวะจากภูเขาลงมาอยู่ในหุบเขาและพื้นที่ราบได้เปลี่ยนลัวะให้กลายเป็นไทยทั้งที่บริเวณขุนยวมและลุ่มน้ำแม่ปิง คนรุ่นที่สองและสาม แต่งงานกับชาวเหนือและกลายเป็นชาวเหนือ แต่ก็มีการแต่งงานกับชาวอินเดียและชาวตะวันตก ก็จะกลายเป็นอินเดียและตะวันตก (หน้า 81)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

นิเวศวิทยาและความสัมพันธ์และระหว่างคนบนพื้นที่สูงและคนพื้นที่ราบ ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดระหว่างสองพื้นที่คือระบบนิเวศวิทยา แต่ระบบนิเวศก็ไม่ได้แบ่งแยกทั้งสองพื้นที่ออกจากกัน กลุ่มคนในพื้นที่สูงและพื้นที่ราบยังคงมีการติดต่อระหว่างกัน แลกเปลี่ยนสินค้า และกลุ่มคนที่ราบยังคงต้องพึ่งพาน้ำและป่าไม้จากพื้นที่สูงในการดำรงชีวิต เจ้าหน้าที่รัฐได้เข้ามาควบคุมทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อป้องกันการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ ในการทำไร่หมุนเวียน แต่อย่างไรก็ตามการทำไร่หมุนเวียนของกลุ่มคนบนพื้นที่สูงไม่ได้ทำลายป่าไม้และไม่ควรที่จะต้องยกเลิกไป ควรมีการพัฒนาและสร้างความหลากหลายทางระบบนิเวศวิทยาระหว่างพื้นที่สูงและพื้นราบให้คงอยู่ (หน้า 82-83)

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst ชัชฎาวรรณ แก้วทะพยา Date of Report 06 ม.ค. 2566
TAG ไต คนไต ไตโหลง ไตหลวง ไตใหญ่, ลัวะ, ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ กะเหรี่ยง, ปะโอ, คนบนพื้นที่สูง, คนพื้นที่ราบ, ความสัมพันธ์, แม่ฮ่องสอน, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง