สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ยอง,ประวัติศาสตร์,การย้ายถิ่นฐาน,ลำพูน
Author แสวง มาละแซม
Title คนยองย้ายแผ่นดิน
Document Type หนังสือ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ยอง คนยอง ชาวยอง ไทยอง ขงเมืองยอง จาวยอง, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 182 Year 2544
Source พิมพ์ครั้งที่ 2 จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพ
Abstract

จากประวัติศาสตร์ของเมืองยอง และเมืองลำพูน พบว่ามีการเคลื่อนย้ายของผู้คนด้วยเหตุผลต่างๆ ตามยุคสมัย ซึ่งจากการศึกษาแสดงให้เห็นถึง ผู้คนจากเมืองยองเข้ามาตั้งถิ่นฐานในล้านนาตั้งแต่สมัยพญาติโลกราช และครั้งสำคัญในปี พ.ศ.2348 สมัยพระเจ้ากาวิละ เพื่อรวบรวมผู้คนจากหัวเมืองต่างๆ ในการฟื้นฟูเชียงใหม่และลำพูน ซึ่งการกวาดต้อนครั้งนี้เป็นแบบ "เทครัว" มาตั้งถิ่นฐานที่เมืองลำพูน ซึ่งหมายถึงมาทั้งโครงสร้างทางสังคม ประกอบด้วย เจ้าเมือง บุตร ภรรยา พี่น้อง ขุนนาง พระสงฆ์ ตลอดจนไพร่พลจำนวนมาก ผู้คนจากเมืองยองเป็นประชากรส่วนใหญ่ โดยสามารถรักษาวัฒนธรรมทางภาษาของตนไว้ และการอพยพเช่นนี้ทำให้มีผลต่อโครงสร้างการปกครองเมืองลำพูนในระยะต้น ซึ่งมีบทบาทในการปกครองเมืองลำพูนร่วมกับกลุ่มเจ้าเจ็ดตนด้วย นอกจากนี้ การเข้ามาตั้งถิ่นฐานของผู้คนจากเมืองยองกลุ่มแรกอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำสำคัญของเมืองลำพูน ได้แก่ แม่น้ำปิง กวง ทา และลี้ และกระจายไปตามที่ราบอื่น ๆ แต่ถึงแม้ว่าผู้คนจากเมืองยองเป็นประชากรส่วนใหญ่ แต่สังคมเมืองลำพูนยังประกอบด้วยผู้คนที่มาจากหลายบ้านเมืองที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในระยะเวลาใกล้เคียงกัน เกิดความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม เมืองลำพูนจึงมีพัฒนาการของผู้คนที่มีการผสมผสานกันทางสังคมและวัฒนธรรม (หน้า 15)

Focus

เน้นการอธิบายประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยให้ความสำคัญกับบทบาท และการเคลื่อนไหวของชาวยอง ซึ่งมีพัฒนาการจากหลายยุคสมัย (หน้า 13)

Theoretical Issues

ผู้วิจัยนั้นไม่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าใช้ทฤษฎีใดเป็นกรอบทางความคิด แต่อาจกล่าวได้ว่าเป็นการวิจัยทางประวัติศาสตร์ ที่ให้ความสำคัญกับคนในท้องถิ่น และใช้วิธีวิจัยรอบด้านเพื่อสนับสนุนงานการศึกษา คือศึกษาจากเอกสารชั้นต้นภาษาล้านนา ไทลื้อ ไทย สัมภาษณ์พระภิกษุ ผู้สูงอายุ และผู้รู้ในท้องถิ่นต่าง ๆ ทั้งในประเทศไทย พม่า ลาว จีน รวมทั้งหลักฐานทางโบราณคดี

Ethnic Group in the Focus

"ชาวยอง" (กลุ่มคนที่อพยพมาจากเมืองยอง) ( Remarks : แต่เดิม "ยอง" อาจจะไม่ใช่กลุ่มชาติพันธุ์ เพราะเมืองยองเป็นที่อาศัยของหลายกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น ลัวะ เป็นต้น "ชาวยอง" หมายความว่า คนที่อยู่ หรือมาจาก เมืองยอง แต่เมื่อได้มาตั้งถิ่นฐานและถูกเรียกเหมือนกัน "ยอง" อาจกลายเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ได้ (ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ))

Language and Linguistic Affiliations

ในงานการศึกษาระบุแต่เพียงว่าชาวยองเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาในตระกูลไท หรือไต เช่นเดียวกับกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อในดินแดนสิบสองปันนา

Study Period (Data Collection)

ไม่ได้ระบุว่าได้ทำการศึกษาในปีใด แต่ช่วงเวลาประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานของชาวยอง ที่ศึกษาประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 - 25

History of the Group and Community

จากหลักฐานประเภทตำนานกล่าวว่า แอ่งที่ราบขนาดเล็กที่กระจายตัวอยู่ระหว่างแม่น้ำคง (สาละวิน) และแม่น้ำโขงตอนกลาง มีชุมชนดั้งเดิมกลุ่มต่าง ๆ เช่น ลัวะ ละว้า ทมิล ข่า ซึ่งเป็นกลุ่มที่พูดภาษาในตระกูลมอญ-เขมร ได้ครอบครองดินแดนนี้รวมถึงบริเวณที่ราบแม่น้ำยองมาก่อนที่จะมีกลุ่มคนที่พูดภาษาตระกูลไทหลายกลุ่มซึ่งรวมถึงชาวยองได้เข้ามามีอำนาจเหนือคนพื้นเมือง และมีการสร้างสัมพันธ์ทางเครือญาติเรื่อยมา ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18-19 ชุมชนเมืองยองเริ่มขยายตัวขึ้น โดยการอพยพผู้คนเข้ามาจากบ้านเมืองอื่น คือ เชียงรุ่ง และมีการผสมผสานกันทางวัฒนธรรม ทำให้โครงสร้างทางสังคมและการขยายตัวเริ่มซับซ้อนมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ในช่วงนี้เมืองยองก็มีความสัมพันธ์กับเมืองอื่นในฐานะพันธมิตร เช่น เชียงแสน เชียงของ เมืองล่า เมืองพง เป็นความสัมพันธ์กันแบบบ้านพี่เมืองน้อง แต่ต่อมาด้วยปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก ประกอบกับสภาพทางภูมิศาสตร์ ทำให้เมืองยองไม่สามารถพัฒนาตนเองเป็นเมืองขนาดใหญ่ได้ กลับกลายเป็นแค่เมืองชายขอบของศูนย์กลางอำนาจต่าง ๆ ที่ผลัดกันขึ้นมามีอำนาจและการปกครองเหนือเมืองยอง ทั้ง พม่า จีน เชียงรุ่ง เชียงตุง เชียงใหม่ และหลวงพระบาง ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ประวัติศาสตร์ของเมืองยองส่วนใหญ่จึงมักมีในด้านการทำสงคราม การเกณฑ์ไพร่พล และการสวามิภักดิ์ต่อดินแดนที่มีอำนาจ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเมืองยองกลุ่มเมืองต่างๆ ต้องเปลี่ยนแปลงและปรับเปลี่ยนอยู่ตลอด ซึ่งในยามสงครามเมืองยองมักมีความสำคัญอยู่ในฐานะเป็นปัจจัยทางด้านกำลังพลและเสบียง ผู้คนจึงมักถูกกวาดต้อนมาโดยตลอด ต่อมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2101 เมื่อเมืองเชียงใหม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพม่า ทำให้ผู้คนสูญเสียไปมาก อันเนื่องมาจากความไม่สงบตั้งแต่ปลายสมัยราชวงศ์มังราย ไม่มีการอพยพเข้าสู่เมืองเชียงใหม่ และในปี พ.ศ. 2318-2319 พม่ายกกองทัพล้อมเมืองเชียงใหม่อยู่ถึง 8 เดือน ผู้คนในเมืองต่างละทิ้งบ้านเรือนไปอยู่ลำปาง เชียงใหม่จึงเป็นเมืองร้างอยู่ถึง 20 ปี จนกระทั่งพระยาจ่าบ้านและเจ้ากาวิละได้รับการสนับสนุนจากกรุงธนบุรีทำสงครามขับไล่พม่าออกไปจากที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงตอนบนบริเวณเชียงใหม่-ลำพูนได้สำเร็จ แต่ยังคงเป็นเมืองร้าง เจ้ากาวิละจึงดำเนินนโยบายทำสงครามรวบรวมและกวาดต้อนผู้คนจากเมืองต่างๆ ทางตอนบนเพื่อมาใส่บ้านซ่อมเมืองหรือที่เรียกกันว่า "เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง" มาตั้งที่เวียงป่าซางในปี พ.ศ. 2325-2339 และมีจุดประสงค์สำคัญเพื่อการฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ สำหรับชาวยองที่เมืองยองก็ได้อพยพเข้ามาอยู่ที่เวียงป่าซางในช่วงเวลานี้ด้วยวิธีการที่เจ้ากาวิละเข้าไปเกลี้ยกล่อมและชักจูงเจ้าเมืองยอง ทำให้ยอมทิ้งเมืองพาไพร่พลมาอยู่ที่ป่าซางกันแบบเทครัว และชาวเมืองยองยังมีการเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่เมืองลำพูน อีกครั้งสำคัญคือ ปี พ.ศ. 2348 และ พ.ศ. 2356 ทำให้ชาวยองกลายเป็นพลเมืองส่วนใหญ่และกระจายตัวออกไปทั่วเมืองลำพูนในเวลาต่อมา

Settlement Pattern

แบบแผนการตั้งถิ่นฐานของชาวยอง มีความแตกต่างไปบ้างตามยุคสมัยและท้องถิ่น เช่น การตั้งถิ่นฐานที่เมืองยอง เวียงป่ายางและลำพูน ตำนานเมืองยองได้กล่าวถึงการตั้งชุมชนตามลุ่มน้ำยองออกเป็น 7 เวียง ซึ่งมีฐานะเป็นชุมชน คล้ายหมู่บ้าน ซึ่งประมาณว่าเป็นช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 ซึ่งมีลัวะ เป็นผู้ปกครอง และเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนใหญ่ และยังมีกลุ่มอื่น ๆ อีก ต่อมาถูกปกครองโดยคนไท และมีการสร้างพระธาตุจอมยอง ในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 และมีหลักฐานชี้ว่ามีจำนวนหมู่บ้านที่มากขึ้น และมีคนไทอพยพเข้ามาอยู่จากเมืองต่าง ๆ อย่างไรก็ตามแม้ว่าที่ตั้งเมืองยองจะเป็นที่ทำการเกษตรกรรมได้ แต่ไม่สามารถพัฒนาไปสู่ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจได้ เพราะไม่ได้อยู่บนเส้นทางการค้าที่สำคัญ แต่กลับอยู่บนเส้นทางเดินทัพ ทำให้เมืองยองตกอยู่ในภาวะล่อแหลม บ้านแตกสาแหรกขาดบ่อย ๆ (หน้า 15, 29, 32) ในช่วงเวลาประมาณ พ.ศ. 2325 - 2339 เป็นผลสืบเนื่องมาจากไทยช่วยขับไล่พม่า (ตรงกับสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี) และเชียงใหม่ได้พยายามสร้างเมือง เจ้ากาวิละได้รวบรวมและชักชวนผู้คนมาไว้ที่เวียงป่าซาง ซึ่งเป็นชุมชนอยู่ริมแม่น้ำปิง กวง และทา มาสบกัน มีอาหารอุดมสมบูรณ์ เจ้าเมืองยองจึงพาไพร่พลมาสมทบที่ป่าซาง แต่ลักษณะที่ตั้งของเวียงป่าซางเป็นอุปสรรคต่อความมั่นคงและความปลอดภัย ประกอบกับการคมนาคมถึงชุมชนอื่นไม่สะดวก เพราะลำน้ำทา และกวงค่อนข้างขนาดเล็ก จึงทำให้เจ้ากาวิละคิดหันกลับไปฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ และทำสงครามกับพม่า ซึ่งตั้งหลักที่เชียงแสนอย่างต่อเนื่อง ในที่สุดพม่าแพ้ และทำให้เกิดการ "เทครัว" โดยเจ้าเมืองยอง บุตร ภรรยา น้องอีก 4 คน ขุนนาง พระสงฆ์ ทั้งไพร่พลในระดับต่าง ๆ ถูกกวาดต้อนมาอยู่ลำพูน ในปี พ.ศ. 2348 (หน้า 98) หมู่บ้านที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานแรกที่ลำพูนเรียกว่า "หมู่บ้านหลัก" มักจะอยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ เช่น แม่ปิง แม่กวง และแม่ทา กระจัดกระจายกันไป บริเวณที่ชาวยองเข้าไปตั้งถิ่นฐานมักเคยเป็นชุมชนเก่าแก่ และชุมชนจะกระจายตัวออกไปจากหมู่บ้านหลักหลายหมู่บ้าน หลังปี พ.ศ. 2371 และเมื่อชุมชนมีการสร้างวัดตามมา วัดต่าง ๆ ของชาวยองที่ลำพูนมักมีอายุเก่าแก่ประมาณ 150-180 ปี (หน้า 114)

Demography

ไม่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจน แต่เพียงกล่าวไว้ส่วนหนึ่งว่าประชากรจากเมืองยองที่อพยพเข้ามาอยู่ที่เมืองลำพูนนั้น มีจำนวนมากนับ 10,000 คน (หน้า 114)

Economy

สังคมเมืองยอง มีพื้นฐานมาจากการเกษตรกรรม ซึ่งการปลูกข้าวเป็นเศรษฐกิจหลัก แม้ว่าแอ่งที่ราบเมืองยองไม่กว้างขวางนัก แต่มีสภาพธรรมชาติเอื้ออำนวยต่อการเกษตรเป็นอย่างดี นอกจากนี้ ในหนองน้ำยังมีปลาจำนวนมาก ระบบเศรษฐกิจในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 มีระบบตลาดที่ซับซ้อนขึ้น แต่ถึงแม้จะเป็นเมืองที่ผลิตข้าวได้มาก ก็ยังไม่สามารถพัฒนาตนเองไปสู่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจได้ เพราะไม่ได้ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าที่สำคัญ ต่อมาเมื่อมีการอพยพย้ายถิ่นฐานจากเมืองยองมาอยู่ที่เมืองลำพูน งานการศึกษาได้กล่าวว่า ไพร่พลต่าง ๆ ออกทำไร่ไถนา มากกว่าที่จะถูกกำหนดให้ทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ โดยมีแหล่งผลิตในแถบนอกเมืองลำพูนออกไป เช่น ที่ราบลุ่มแม่น้ำกวงฝั่งตะวันออกที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงฝั่งตะวันออก และที่ราบด้านใต้ที่อยู่ระหว่างแม่น้ำทา แม่น้ำกวง และแม่น้ำปิง ซึ่งการผลิตเป็นแบบลี้ยงตัวเอง การแลกเปลี่ยนสินค้าจึงมีน้อย การขยายตัวของชาวยองนับจากปี พ.ศ.2348 นอกจาการปลูกข้าวเป็นหลักแล้ว ยังสามารถผลิต ยาสูบ น้ำตาล ครั่ง และเลี้ยงวัวควายจำนวนมากพอที่จะขายให้กับพ่อค้าชาวอังกฤษได้ และหลังจากสัญญาเบาว์ริ่ง พ.ศ. 2398 ได้กระตุ้นให้เกิดการผลิตเพื่อการค้ามากขึ้น และมีการขยายเส้นทางการค้าไปตามหัวเมืองต่าง ๆ รวมทั้งเมืองลำพูนด้วย (หน้า 31, 121,129-130, 148-151)

Social Organization

ในงานการศึกษากล่าวว่า ก่อนการได้รับอิทธิพลจากอินเดีย ด้านสังคม สตรีมีความสำคัญในสังคม และการสืบเชื้อสายทางมารดา มีระบบการดำเนินงานหรือการปกครองที่มีระเบียบ เมื่อพุทธศาสนาแพร่เข้ามา ประกอบกับการขยายตัวของเมือง จำเป็นต้องมีการควบคุมกำลังคนโดยแบ่งผู้คนออกเป็น 6 กลุ่ม เพื่อเป็นข้าดูแลพระธาตุและไม้ประจำเมือง มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ จัดสรรแรงงาน ผลประโยชน์ลดหลั่นกันลงไป โดยกลุ่มใหญ่ คือ ขุนแสนทั้ง 4 ขุนนาง พระสงฆ์ ไพร่พลเมือง ซึ่งกลุ่มนี้น่าจะแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มข้าพระธาตุ และกลุ่มไม่ได้เป็นข้าพระธาตุ นอกจากนี้ โดยพื้นฐานโครงสร้างและความสัมพันธ์ทางครอบครัวมีส่วนสำคัญในการจัดระเบียบของสังคม รวมถึงเป็นพื้นฐานให้กับสถาบันต่างๆ โดยเฉพาะการเมืองการปกครอง นอกจากนี้เมื่อครั้งที่ชาวยองอพยพมาตั้งชุมชนที่เมืองลำพูนเมื่อปี พ.ศ. 2348 นั้น กล่าวได้ว่า เป็นการอพยพมาทั้งระบบโครงสร้างของสังคม ประกอบด้วยพญามหิยังคบุรี พร้อมกับน้องอีก 3 คน ร่วมด้วยไพร่พล แต่สภาพสังคมยังเป็นความสัมพันธ์แบบเครือญาติอย่างใกล้ชิด หรือการนับถือผีเดียวกัน โดยชายหญิงเมื่อเข้าพิธีแต่งงาน ฝ่ายชายต้องมาทำพิธีเซ่นไหว้ผีประจำตระกูลของฝ่ายหญิง (หน้า 20, 28-29, 114, 127-128)

Political Organization

เมืองยองในยุคของชนพื้นเมืองนั้นราวพุธศตวรรษที่ 18 เริ่มมีการจัดระเบียบภายในสังคม โดยแบ่งชุมชนออกเป็น 7 หมู่บ้านหรือเวียง โดยแต่ละเวียงมีหัวหน้าปกครอง หลังจากนั้นก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจการรุกรานจากเมืองเชียงรุ่ง โดยการนำของเจ้าสุนันทะ และผู้ปกครองมักสร้างระบบความสัมพันธ์ทางเครือญาติโดยการแต่งงาน เพื่อรักษาอำนาจในการปกครอง ในยุคที่ศาสนาแพร่เข้ามาและมีความสำคัญก่อให้เกิดความซับซ้อนทางโครงสร้างของสังคม จึงมีการจัดระเบียบสังคมของคนออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ เช่น มีขุนแสน 4 คน ประจำเมือง ประกอบด้วยพระยา เสนา พ่อเมืองขวาและพ่อเมืองซ้าย และในสมัยพระยาอินทวิไชย กำหนดขุนนางไว้ 4 ตำแหน่ง คือ แสนคำคาด แสนคำมูล แสนพิชชะวง และแสนคำซาว เพื่อดูแลบ้านเมืองคล้ายเค้าสนาม ต่อมา ในสมัยที่พม่าประสบความสำเร็จในการขยายอิทธิพลราว พ.ศ. 2101-2317 พม่าได้ให้ความสำคัญกับหัวเมืองต่าง ๆ โดยการแต่งตั้งผู้นำเข้ามาปกครอง แต่พม่าไม่ได้ให้ความสำคัญกับเมืองยองเท่าใดนัก จึงให้ผู้นำท้องถิ่นปกครองกันเอง ต่อมาเมื่อมีการอพยพมาตั้งถิ่นฐานที่เมืองลำพูน ซึ่งเป็นการเทครัวมาทั้งระบบโครงสร้างของสังคม พระเจ้ากาวิละจึงมีการแต่งตั้งเจ้าเมืองซึ่งในขณะนั้นเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญ คือ เจ้าคำฝั้น ซึ่งเป็นอนุชาใกล้ชิดกับเจ้ากาวิละปกครองดูแลไพร่พล แต่การที่ชาวยองเข้ามาอยู่เป็นจำนวนมาก มีผลทำให้เจ้าเมืองยองมีส่วนร่วมในการปกครองบ้านเมือง ดังจะเห็นได้จากในปี พ.ศ. 2354 ซึ่งเป็นระยะแรกของการอพยพ เจ้าเมืองยองมีส่วนร่วมในการปกครองร่วมกับกลุ่มเจ้าเจ็ดตน โดยมีเจ้าเมืองลำพูนเป็นผู้นำสูงสุด รองลงมาคือ เจ้าอุปราช เจ้าเมืองยอง และขุนสนามตามลำดับ ซึ่งขุนสนามทำหน้าที่เป็นผู้ปกครองประจำหมู่บ้าน โดยการปกครองในขณะนั้นชุมชนค่อนข้างเป็นอิสระจากเจ้าเมืองลำพูน ต่อมาในปี พ.ศ. 2437-2445 ได้มีการปฏิรูปการปกครองเมืองลำพูนใหม่ โดยการเข้ามามีอำนาจของรัฐบาลกลางกรุงเทพฯ เพื่อปฏิรูปการปกครองแบบรวมศูนย์ให้ขึ้นกับรัฐบาลกลาง โดยไม่มีการแต่ตั้งเจ้าเมืองขึ้นปกครองดังเช่นที่ผ่านมา มีการจัดราชการเมืองลำพูนเสียใหม่ (หน้า 15, 28-30,113-119, 141)

Belief System

ในด้านศาสนางานการศึกษาอธิบายว่า เมืองยองและกลุ่มวัฒนธรรมในแถบดินแดนใกล้เคียงเป็นเมืองพุทธศาสนา แต่ก่อนที่จะได้รับอิทธิพลจากอินเดีย มีการนับถือผี วิญญาณ บูชาบรรพบุรุษ และเทพเจ้าแห่งแผ่นดิน สร้างศาลเทพเจ้าตามที่สูง ฝังศพในไห โอ่ง หรือหีบหิน เมื่อได้รับอิทธิพลทางพุทธศาสนา จึงมีการผสมผสานความเชื่อพื้นเมืองเข้ากับศาสนาพุทธ ซึ่งมีอิทธิพลต่อพัฒนาการของสังคม นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ "ไม้ศรีเมือง" หรือ "ไม้มิ่งเมือง" ที่ให้ความสำคัญกับไม้ใหญ่ประจำเมือง เพื่อทำพิธีสืบชะตา เซ่นสรวงบูชา เพื่อความเป็นสิริมงคล เป็นความเชื่อในธรรมชาติ ซึ่งถือว่าเป็นรากฐานสำคัญของชีวิตมนุษย์ มีพระธาตุซึ่งเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์อีกแห่งหนึ่งของเมือง ซึ่งการสร้างพระธาตุเป็นรูปทรงเจดีย์แบบต่างๆ ปรากฏอยู่ทั่วไปพร้อมกับการสร้างบ้านแปงเมือง สำหรับเมืองยองมีพระธาตุคู่เมืองที่สำคัญ คือ พระมหาธาตุจอมยอง และจากการนับถือพุทธศาสนา ทำให้หัวเมืองต่างๆ มีประเพณีร่วมกัน คือ การไหว้พระธาตุและสรงน้ำพระธาตุตามปีเกิดของตนเอง นอกจากนี้ยังพบว่ามีประชากรจำนวนหนึ่งนับถือศาสนาคริสต์ด้วย (หน้า 20, 22-26, 40)

Education and Socialization

ในด้านการศึกษา ผู้วิจัยได้กล่าวไว้ช่วงหนึ่งว่า รัฐบาลกรุงเทพฯ ต้องการหาวิธีที่จะดำเนินนโยบายผนวกผู้คนและดินแดนต่าง ๆ เข้ากับส่วนกลาง โดยการให้การศึกษาแก่คนในท้องถิ่น ซึ่งก่อนปี พ.ศ. 2444 ยังไม่ปรากฏหลักฐานว่าจัดการศึกษาอย่างเป็นระบบขึ้นที่ใด แต่มักจะเป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ในวัด แต่มีข้อจำกัด คือ ให้เฉพาะผู้ชายบวชเรียน แต่ในปี พ.ศ. 2443 ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนสำหรับบุตรหลานเจ้านายและข้าราชการเมืองลำพูนอย่างเป็นทางการ นับเป็นโรงเรียนแห่งแรกที่จัดโดยรัฐบาลส่วนกลาง จากนั้นการศึกษาในระบบโรงเรียน จึงได้ขยายออกไปตามหมู่บ้านต่าง ๆ ตามนโยบายอย่างต่อเนื่อง เพื่อการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสยาม (หน้า 161-162)

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ตำนานเมืองยองเท่าที่มีการสำรวจและพบตามวัดต่างๆ มีไม่น้อยกว่า 15 สำนวน มีเนื้อหาเรื่องราวทั้งเกี่ยวกับฝ่ายพุทธศาสนาและฝ่ายบ้านเมือง มักเริ่มต้นด้วยเรื่องราวการเสด็จมาของพระพุทธเจ้าหลายองค์ มาถึงดอยจอมยองขณะที่ยังเป็นป่าและหนองน้ำ และได้ทำนายว่า ในอนาคตบริเวณนี้จะเป็นบ้านเมือง พุทธศาสนารุ่งเรืองโดยการอุปถัมภ์ของเจ้าเมือง ยังมีตำนานอีกหลายฉบับในล้านนา เช่น จามเทวีวงศ์ ชินกาลมาลีปกรณ์ ตำนานมูลศาสนา ซึ่งได้รับอิทธิพลจากการเผยแผ่พุทธศาสนา บางตำนานได้กล่าวเกี่ยวกับการเข้ามาตั้งถิ่นฐานว่า มียักษ์ซึ่งเป็นคนพื้นเมืองตั้งถิ่นฐานและมีอำนาจ เจ้าบุญปันได้มาปราบยักษ์ที่รุกรานเมืองเชียงรุ่ง และยังมีตำนานของพญาเจิง ที่ปรากฏอย่างกว้างขวางในตำนานของชนชาติไท เช่น ตำนานล้านช้าง ตำนานเมืองพะเยา ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ตำนานเงินยางเชียงแสน หนังสือเรื่องท้าวฮุ่งหรือเจือง เป็นต้น ซึ่งเล่าถึงความกล้าหาญ และยิ่งใหญ่ของพญาเจิง ตำนานเมืองยองได้ระบุถึงการที่เจ้าสุนันทะจากเมืองเชียงรุ่ง พาบริวารมาแย่งอำนาจคนในท้องถิ่น คือ ทมิลหรือลัวะ ในเมืองยอง (หน้า 3-10)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

การศึกษาได้กล่าวว่าการอพยพของชาวยองมาที่เมืองลำพูนนั้นแตกต่างจากหัวเมืองอื่น ๆ โดยมีการปรับตัวในฐานะของคนส่วนใหญ่ของสังคม จึงยังคงรักษาลักษณะทางสังคมวัฒนธรรมได้ค่อนข้างยาวนาน โดยเฉพาะภาษา แต่ถึงอย่างไรก็ตามเมืองลำพูนไม่ได้มีเพียงแค่ชาวยองที่อพยพเข้ามาเท่านั้น แต่ยังมีชนกลุ่มอื่นเข้ามาตั้งถิ่นฐานในช่วงเวลาเดียวกันด้วย เช่น ชาวเขิน ซึ่งบางครั้งนำไปสู่การขัดแย้ง และจากการศึกษาการปรับตัวของชาวยองหลังการเข้ามาตั้งถิ่นฐานนั้น ชาวยองมาอย่างผู้มีเกียรติ ได้รับการยกย่อง ด้วยเหตุนี้ไทลื้อที่มาจากเมืองยอง จึงพยายามแบ่งแยกตัวเองออกจากไทลื้อ โดยแสดงตนเองว่าเป็น "ชาวยอง" เพราะเมืองยองมีสำนึกทางชาติพันธุ์ต่างไปจากกลุ่มลื้อที่มาจากเมืองอื่น ๆ ในสิบสองปันนาของจีนก็เป็นได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตามชาวยองก็ได้มีการผสมกลมกลืนกับวัฒนธรรมอื่นที่อยู่ร่วมกันในสังคมเมืองลำพูน และวัฒนธรรมของส่วนกลาง คนยองจึงไม่ได้แยกสำนึกของตนเองออกไปจากคนไทยกลุ่มอื่น ๆ อย่างเด่นชัด (หน้า 157-159, 162, 181-182)

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

แผนที่เขตวัฒนธรรมไทลื้อ-ไทยวน (หน้า 2) แผนที่ที่ตั้งเมืองยองและเมืองต่างๆ ที่อยู่ระหว่างแม่น้ำคงและแม่น้ำโขง (หน้า 7) โครงสร้างการปกครองเมืองยองสมัยพุทศตวรรษที่ 18 (หน้า 16) แผนที่แอ่งที่ราบเมืองยอง สำรวจเมื่อ พ.ศ.2535 และชื่อหมู่บ้านต่างๆ ในเขตที่ราบเมืองยอง (หน้า 27) โครงสร้างการปกครองเมืองยอง พ.ศ.1947-2068 (หน้า 30) แผนที่เครือข่ายและเส้นทางการค้าที่สำคัญ (ไม่ผ่านเมืองยอง) ในจีนตอนใต้เชื่อมโยงกับดินแดนต่างๆ ทางตอนล่าง (หน้า 33) แผนที่ดินแดนเมืองชายขอบของศูนย์อำนาจต่างๆ (หน้า 59) แผนที่ทิศทางการกวาดต้อนผู้คน สมัยพระเจ้ากาวิละ (พ.ศ. 2325-2356) แผนที่เส้นทางการเคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานของคนเมืองยองในเมืองลำพูน (พ.ศ. 2348) แผนที่บริเวณที่คนเมืองยองยุคแรกๆ เข้ามาตั้งถิ่นฐานเมืองลำพูน (พ.ศ. 2348) โครงสร้างการปกครองเมืองลำพูน พ.ศ. 2354 สมัยเจ้าคำฝั้น เจ้าผู้ครองเมืองลำพูนลำดับที่ 1 (หน้า 118) แผนที่ทิศทางการขยายตัวและการกระจายตัวของชุมชนชาวยอง (พ.ศ. 2380-2445) (หน้า 139) โครงสร้างการปกครองเมืองลำพูน ระหว่างปี พ.ศ. 2438-2445 (หน้า 146) เส้นทางการค้าระหว่างเมืองต่างๆ ของพม่า สิบสองปันนา ล้านนา ล้านช้าง (หน้า 150) เส้นทางการค้าที่เชื่อมโยงหัวเมืองต่างๆ ในล้านนากับหัวเมืองทางตอนบนและเมืองท่า เมาะตะมะหรือเมาะละแหม่ง(พ.ศ. 2372-2445) (หน้า 153) แผนที่พื้นที่ที่คนยองคนลื้อกระจายอยู่ในจังหวัดต่างๆ ในภาคเหนือตอนบน (หน้า 170)

Text Analyst สุรัสวดี พึ่งสุข Date of Report 26 ม.ค. 2548
TAG ยอง, ประวัติศาสตร์, การย้ายถิ่นฐาน, ลำพูน, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง