สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ไต,ไท,ประวัติศาสตร์,วัฒนธรรม,รัฐฉาน
Author ปราณี ศิริธร
Title สารัตถคดี เหนือแคว้นแดนสยาม
Document Type หนังสือ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ไทใหญ่ ไต คนไต, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Total Pages 538 Year 2528
Source เหนือแคว้นแดนสยาม, ลานนาสาร,โรงพิมพ์ช้างเผือก จ.เชียงใหม่
Abstract

เนื้อหาของงานเขียนเล่มนี้เป็นการกล่าวถึงประวัติศาสตร์ และความเป็นมาของคนไตยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และกล่าวถึงชนชาติ หรือกลุ่มชนที่มีความเกี่ยวข้องกับคนไตยที่ค่อนข้างละเอียด โดยเฉพาะพม่าชนชาติที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของคนไตยมากที่สุด

Focus

ประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงของชนชาติไตยหรือไทที่อาศัยอยู่เหนือดินแดนประเทศไทยขึ้นไป

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ผู้เขียนกล่าวถึงชนชาติที่ศึกษาว่า "เชื้อชาติไตย" ซึ่งมีคำตามหลังขึ้นอยู่กับบริเวณที่อาศัยอยู่ เช่น ไทยลาว คือ ชนชาติไทยที่อาศัยอยู่ในลาว ไทยใหญ่คือ ชนชาติไทยในรัฐฉาน เป็นต้น นอกจากนี้ยังกล่าวถึงชนชาติอื่นๆ ที่มีความสัมพันธ์กับชนชาติไทย ได้แก่ มอญ พม่า (มะรันม่า :หน้า 3-6) และชนเผ่าอื่นๆ (หน้า :3-67)

Language and Linguistic Affiliations

ชนชาติไตย มีภาษาเขียนแตกต่างกันตามกลุ่มย่อยดังนี้ 1.) ชนชาติไทยใหญ่ (ไตยสยาม) ใช้อักษรไทยเหนือในราชสำนักน่านเจ้าเรียกว่า "ลีกถั่วงอก" ซึ่งมีรูปร่างคล้ายถั่วงอก ในปัจจุบันได้พัฒนาไปเป็นตัวกลม 2.) ชนชาติไตยลื้อ ไตยเขิน ไตยลาวไตยโยนก มีตัวอักษรลักษณะกลมหางยาวคล้ายตัวเขมร 3.)ไตยหลำ ไตยดำมีตัวอักษรค่อนข้างเหลี่ยม หรือบ้างคล้ายของไตยเหนือและสมัยน่านเจ้า สำหรับภาษาพูดนั้นทุกเผ่ามีสำเนียงและความหมายคล้ายคลึงและใกล้เคียงกันมาก จะต่างกันเฉพาะการเขียนเท่านั้น (หน้า :422)

Study Period (Data Collection)

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2490-ราว พ.ศ. 2528 โดยผู้เขียนได้รวบรวมจากบันทึกของบุคคลสำคัญต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในเหตุการณ์การกู้ชาติของไทยใหญ่ มอญ กะเหรี่ยง ละว้า (คำนำของ ผู้เขียน)

History of the Group and Community

ชนชาติไตยมีกระจัดกระจายอยู่ในหลายประเทศ สำหรับในแถบรัฐฉานหรือชาน มีอยู่ด้วยกัน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่อาศัยอยู่ดั้งเดิม และกลุ่มที่สองคือ กลุ่มที่อพยพมาจากจีน ไตยที่อยู่มาดั้งเดิมเป็นกลุ่มคนที่พวกบามาหรือพม่าเชื่อว่าอพยพมาจากธิเบต และเรียกว่า "สยาม" หรือ "ชาน" ในภาษาพม่า มอญ เรียกว่า "เสียมโนก" แต่กะเหรี่ยง เรียกว่า "โยนก" คะฉิ่น เรียกว่า "เสม" (หน้า: 49-53) ชนชาติไตยเหล่านี้ดั้งเดิมปกครองตนเองและแบ่งเป็นอาณาจักรซึ่งในภาษาไตยเรียกว่า "ฮายหอ" มีทั้งหมด 9 อาณาจักร ซึ่งปัจจุบันอยู่ในบริเวณประเทศพม่า และเรียกชื่อชนเผ่าตามถิ่นฐาน เช่น ไตลื้อ โยนก ไตยเขิน เป็นต้น ถิ่นที่อยู่อาศัยจะเป็นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำระหว่างหุบเขา เช่น ลุ่มน้ำอิระวดี (ที่ราบสูงสยามตะวันออก) ลุ่มแม่น้ำสะโตง ขึ้นไปถึงเมืองอัสสัม แคว้นอาหม ประเทศอินเดีย ลุ่มแม่น้ำชีนตะวิน หรือที่ราบลุ่มเกาะปากแม่น้ำอิระวดี บ้างปรากฏที่ทางใต้ของแคว้นมอญ เป็นต้น ซึ่งแต่ละกลุ่มชาวไทยมีดินแดน และการติดต่อกันดังนี้ - ไตยเขิน อยู่ที่แคว้นเชียงตุง ลุ่ม แม่น้ำเขิน มีความใกล้ชิดกับไทยลื้อในเรื่องของภาษาและการนับถือ เชื่อว่าไทยเขินอพยพมาจากทางใต้ (จ.นครศรีธรรมราช) ถึงแม้ว่าภาษาไทยเขินทางเหนือกับทางใต้จะไม่เหมือนกัน แต่สิ่งที่แสดงความเกี่ยวข้องกันคือ งานหัตถกรรมเครื่องเขินนั่นเอง - ไตยลื้อ อยู่ที่แถบสิบสองพันนา รัฐฉาน น่าจะอพยพมาจากแถบลุ่มแม่น้ำลื้อแคว้นล้านนาในประเทศไทย - ไตยลาว ส่วนใหญ่อยู่ในอาณาจักรลาวที่มีสิบสองพันนา สิบสองจุไท และยูนนาน เชื่อว่าอพยพมาจากการรุกรานของจีนจากยูนนาน - ไตยหลำ อยู่แถบลุ่มน้ำดำและแดง ปากอ่าวตังเกี๋ย (ทางตอนบนของเวียตนามเหนือ) ไตยหลำที่อพยพเข้ามาในไทยเรียกว่า ภูไทย อาศัยอยู่แถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เอกลักษณ์ที่โดดเด่นของภูไท คือ คำสอน เช่น อย่าลักหมกจกห่อ (ห้ามลักขโมย) - ไตยใหญ่ (สยามไทย) อยู่แถบอาณาจักรน่านเจ้า ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.119 หลังจากที่หลบหนีจากการรุกรานของชนชาติจีนมายังตังเกี๋ย ลาว อินโดจีน ชะเลียง จนมาถึงสุวรรณภูมิ ในอดีตจัดเป็นอาณาจักรที่มีอาณาเขตกว้างขวางมาก จนต้องหนีการรุกรานของราชวงศ์หงวนในปี พ.ศ. 1797 ปัจจุบันยังมีไตยใหญ่ในน่านเจ้าอยู่บ้างในแถบลุ่มน้ำสาละวิน คุนหมิง และนครเชียงตุง

Settlement Pattern

สภาพบ้านของไตยใหญ่เรียกว่า ทรงไทย มีความคล้ายคลึงกันในทุกๆ แหล่ง กล่าวคือตัวบ้านจะรักษาความอบอุ่น เพราะอยู่บริเวณหุบเขา ผังบ้านเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคามุงจาก ฝาผนังเป็นไม้ไผ่สาน ใต้ถุนสูง รั้วไม่ไผ่โปร่ง(หน้า:392)

Demography

จากการสำรวจประชากรสยามในแคว้นต่างๆ ในปี ค.ศ. 1931 มีดังนี้ 1.) แถบไทย 12 ล้านคน 2.) แถบโยธยา 13 ล้านคน 3.) แถบอินโด-จีน 18 ล้านคน 4.) แถบจีน 19 ล้านคน (หน้า 53)

Economy

อาชีพของคนไทยหรือไตยนั้น เป็นไปในทางการเกษตรกรรม ได้แก่ ทำนาข้าว ทำไร่พืชพันธัญญาหาร ผลไม้ และเลี้ยงสัตว์บ้าง ไตย นิยมที่จะมีตลาดประจำหมู่บ้านหรือชุมชนของตน นอกจากนี้ ยังมีตลาดนัดทุกเจ็ดวัน การค้าขายหรือแลกปลี่ยนสินค้ากับต่างถิ่นนิยมใช้เกวียนเป็นยานพาหนะ

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ไตยมีการปกครองเป็นอาณาจักร (ฮายหอ) โดยมีผู้ปกครองเป็นราชวงศ์ (กษัตริย์) แต่ละอาณาจักรจะมีบริวารตัวอย่างเช่นอาณาจักรน่านเจ้า อาณาจักรที่มีอาณาเขตกว้างขวางที่สุดของไตย เมื่อสมัยที่รุ่งเรืองสุดขีดมีระบบการปกครองดังนี้ ลำดับที่ 1 กษัตริย์ ลำดับที่ 2 มหาอำมาตย์ เสนาบดี ลำดับที่ 3 คณะที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ลำดับที่ 4 หัวหน้าฝ่ายปกครอง หัวหน้าฝ่ายบริหาร ลำดับที่ 5 ฝ่ายทหาร ฝ่ายบัญชีพลเรือน ฝ่ายราชประเพณี ฝ่ายตัดสินคดี ฝ่ายปกครอง ลำดับที่ 6 ฝ่ายก่อสร้าง ฝ่ายการคลัง ฝ่ายติดต่อต่างประเทศ ฝ่ายพาณิชย์ ลำดับที่ 7 ขุนเวียง ลำดับที่ 8 เจ้าฟ้าราชวงศ์ เจ้าฟ้านักปราชญ์ราชบัณฑิต ลำดับที่ 9 กำนันราชวงศ์ กำนันนักปราชญ์ ลำดับที่ 10 เฒ่าเมือง ลำดับที่ 11 พ่อเมือง ลำดับที่ 12 ผู้ใหญ่บ้าน (หน้า :78) ในปัจจุบันถึงแม่จะไม่มีระบบกษัตริย์ชัดเจนในกลุ่มชนชาติไตย แต่ในสังคมชองไตยยังมีสถานะเจ้า หรือราชวงศ์อยู่

Belief System

ศาสนา :ไตยนับถือศาสนาพุทธ 3 นิกาย ได้แก่ นิกายหินยาน นิกายมหายาน นิการวชิรญาณ (หน้า:394) นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มคนเล็กๆ ที่นับถือ ผี กันอยู่บ้าง เช่น ผีน้ำ ที่มีการตั้งหอผีใกล้กับลำธาร เชื่อกันว่าจะปกปักษ์ไม่ให้แหล่งน้ำแห้งเหือดไป พิธีกรรม : วันครูหมอไตย ; บุคคลใดก็ตามที่มีความรู้ ความชำนาญในสาขาใดสาขาหนึ่ง จนสามารถสอนให้แก่ผู้อื่นได้จะเรียกว่าครูหมอ เพื่อเป็นการรักษาและเผยแพร่ความรู้ จึงจัดให้มีวันสำคัญเรียกว่า วันครูหมอไตย เพื่อยกย่องผู้ชำนาญการนั้นๆ สำหรับครูคนใดที่ล่วงลับไปแล้วก็จะมีการทำบุญอุทิศกุศลให้ในวันนั้น ส่วนที่ยังมีชีวิตอยู่จะมาในงานเพื่อประกาศให้ทุกคนรับรู้โดยทั่วกัน โหราศาสตร์ ; ฮุลาไตย (ฮุลาคือโหรา) เป็นศาสตร์ที่คู่กับไตยมาช้านาน ฮุลาไตยที่โดดเด่นและมีมาถึงทุกวันนี้คือ ข้องสามตา ไตยทุกคนถือฤกษ์ยามตามเวลาที่ดอกไม้ออกผลเป็นการคาดการณ์ล่วงหน้า ฮุลาไตยอีกอย่างของคนไตย คือ ยามแปดตา เป็นการทำนายโดยใช้ตารางเวลา สามารถบอกเหตุการณ์ที่จะเกิดตามวันและเวลาทีปรากฏในตาราง วัฒนธรรมการตั้งชื่อ การตั้งชื่อของไตยนั้นโดยมากจะให้พระที่วัดเป็นผู้ตั้งให้ตามประเภทของทานที่ถวาย เช่น สร้างพระถวาย จะได้ชื่อ เงินชื่น เงินใส เงินเฮือง สร้างจีวรถวายสงฆ์ จะได้ชื่อ ไหมชื่อ ไหมใส สร้างพระคัมภีร์ถวาย จะได้ชื่อ ลายชื่น ลายใส ลายเฮือง เป็นต้น

Education and Socialization

นอกจากศึกษาความรู้จากครูหมอไตยแล้ว ไตยในปัจจุบันได้มีระบบการศึกษาสากล เช่น ที่บ้านใหม่ หมอกจ๋าม อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระมหากรุณาธิคุณจัดสร้างโรงเรียนพ่อหลวงอุปถัมภ์เพื่อเป็นการส่งเสริมการศึกษาให้แก่ไตย

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

การแต่งกาย ไตยนิยมใช้ผ้าด้ายดิบสีหม่น สีดำย้อมคราม โดยการแต่งกายจะแบ่งเป็นหญิงชาย ดังนี้ ชาย นิยมกางเกงโห่งโป่ง เป้ายาน สวมเสื้อแขนกว้างยาว โพกศีรษะด้วยผ้ายาวประมาณ 5-7 ศอก เมื่อมีงานปอยหลวงจะเปลี่ยนมาใช้กางเกงแพร เสื้อจุ่ง เสื้อแพร โพกศีรษะด้วยผ้าไหม พกมีดสั้นด้ามเงิน สะพายดาบด้ามเงิน ใส่หมวกทอลั่น ใส่รองเท้าหนังไตหนอง ผู้ชายไตยนิยมไว้ผมยาว คนหนุ่มจะใส่ตุ้มหูทองคำข้างหูซ้าย หญิง นุ่งซิ่นดำ ถ้าร่วมงานปอย นุ่งซิ่นเจ๋นหรือซิ่นแพรตีนซิ่น เย็บต่อตีนด้วยผ้าไหมกว้าง 3 นิ้วเย็บต่อกัน 2 ชั้น โพกหัวผ้าสีขาว หญิงชราโพกสีดำ ชายผ้าทอลายเป็นปล้อง สีเหลือง เขียว ขาวใส่เสื้อไม่แหวกอก กลัดกระดุมเงิน กระดุมทอง ใส่กำไลเงิน กำไลทอง ก่อนแต่งตัวร่วมงานจะอาบน้ำสระผมที่ลำธารน้ำไหล (หน้า :48,435) นอกจากการแต่งกายแล้วสิ่งที่แสดงถึงศิลปหัตถกรรมได้ดีที่สุดของไตย คือ พิพิธภัณฑ์ ที่เก็บรักษาสมบัติของไตย จัดตั้งโดยกระทรวงวัฒนธรรมไตย ตั้งอยู่ที่เมืองต่องกี่ สิ่งที่เก็บรักษาที่นี่มีอยู่ด้วยกันสามหมวด ดังนี้ หมวดเชื้อชาติ เช่น เสื้อผ้า เครื่องอิสริยยศ หมวดวรรณกรรม และหมวดศาสนา เช่น พระพุทธรูป ที่พิพิธภัณฑ์นี้ได้จัดให้มีการส่งเสริมงานฝีมือที่แสดงถึงวัฒนธรรมของไตย เช่น งานแกะสลัก งานปั้น งานจักสาน เป็นต้น

Folklore

ไม่ได้ระบุชัดเจน แต่มีการกล่าวถึงการแสดงนาฏกรรมเป็นประเพณี เช่น ฟ้อนกลองไตย ฟ้อนกลองยาว ฟ้อนดาบลายเซิ้ง

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของไตยมีดังนี้ 1.) ภาษาพูด 2.) ภาษาเขียน 3.) วันครูหมอไต 4.) งานบวชปอย (บวชลูกแก้ว) 5.) การแต่งกาย 6.) โหราศาสตร์และการทำนาย 7.) วัฒนธรรมการตั้งชื่อ 8.) วรรณกรรม ความสัมพันธ์กับชนชาติอื่น : - ชาวจีน ไตยเคยอาศัยอยู่ในดินแดนที่เป็นของชนชาติจีน แม้ในปัจจุบันก็ยังคงมีไตยบางกลุ่มที่อาศัยอยู่ในจีน - พม่า จากอดีตจนถึงปัจจุบันนอกจากไตยได้อาศัยอยู่ในดินแดนของพม่าแล้ว ชายไตยยังได้มีการติดต่อค้าขายกับชาวพม่า อีกด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างไตยกับชนกลุ่มน้อยอื่นๆ เช่น กะเหรี่ยง คะฉิ่น จัดเป็นผู้ร่วมชะตากรรม กล่าวคือ ทั้งชายไตยและชนกลุ่มน้อยเหล่านี้ต่างก็ถูกปกครองโดยอังกฤษ เช่น เดียวกับพม่าในช่วงการล่าอาณานิคม และภายหลังพม่าเป็นอิสระภาพ จากอังกฤษแล้ว พม่าก็ได้รุกรานไตย และชนกลุ่มน้อยเพื่อแย่งดินแดนที่เต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์นั่น เอง

Social Cultural and Identity Change

ในปัจจุบันไตยมีวิธีการปกครองที่แตกต่างไปจากเดิม กล่าวคือจากที่เคยเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ เมื่อหมดความเข้มแข็งลงจึงตกอยู่ใต้การปกครองของแคว้นที่เข้มแข็งกว่า เช่น ในสิบสองปันนาที่อยู่ภายใต้การปกครองของจีน ในประเทศไทยที่อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลไทย เป็นต้น ในหมู่ชายไตยสถานภาพความเป็นเจ้ายังคงมีอยู่แต่แทบจะไม่มีความสำคัญดังเช่นอดีต ส่วนทางด้านประเพณี วัฒนธรรมดั้งเดิม ยังคงมีอยู่ เช่น ประเพณีปอยส่างลอง วันครูหมอไตย ภาษาพูด ภาษาเขียน การแต่งกาย การถือฤกษ์ยาม

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

แผนที่ อาณาจักรไทยสมัยพระเจ้าขุนรามคำแหง พ.ศ. 1821-1860(หน้า:105) แผนที่รัฐที่มีไทยใหญ่หนาแน่น(หน้า:106) แผนที่แสดงเส้นทางการอพยพยของต้นตระกูลไทย(หน้า:196) ขบวนการกู้ชาติไทยใหญ่(หน้า:316) แผนภูมิสหรัฐไทยใหญ่(หน้า:323) บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ(หน้า:381) HTEE HSET MET YWA-LAND OF KAREN FOREFATHERS(หน้า:495) The(3)Routes of the Karens in Migrating Southwards(หน้า:496) Present Union of Burma(หน้า:498) Present Karen Revolutionary Areas inEast Kawthoolei(หน้า:499) พม่า(หน้า:500) BURMA(หน้า:517) รูปภาพ ชนเผ่าต่างๆ (หน้า:5-67) หมู่บ้านและที่อยู่อาศัยของไตย(หน้า:6,55,63) พญาเศวตกุญชรของกษัตริย์พม่า(หน้า:113) อานันทเจดีย์(หน้า:114) พิพพันยูเจดีย์(หน้า:116) อังกฤษยกพลขึ้นบก?(หน้า:118) พระเจ้ามันดุง(หน้า:122) พระนางอเลนันดอ(หน้า:124) พระนางศุภยาลัต(หน้า:128) เตงคาหวุ่นคยี?(หน้า:129) หอหลวงของเจ้าฟ้าพรหมลือ เจ้าหญิงทิพวรรณ(หน้า:139) หอคอยพระนางศุภยาลัต(หน้า:142) จ่อโฟและขุนนุ(หน้า:147) ขุนหม่องและขุนหม่ง(หน้า:148) ขุนทีและขุนส่วยจี่(หน้า:149) เจ้าหม่องและขุนแสง(หน้า:150) เจดีย์ทองที่หงสาวดี(หน้า:162) พ่อครู ด็อกเตอร์มาร์คส์(หน้า:163) อนุสาวรีย์เตือนจิต?(หน้า:165) เจดีย์ทองชะเวดากอง(หน้า:166) กษัตริย์มินดง?(หน้า:174) ราชบรรลังก์ของเจ้าฟ้าแสนหวี(หน้า:175)บัลลังก์ของกษัตริย์พม่า(หน้า:180) จอมมหาเหี้ยมของพม่า(หน้า:186) กำแพงวังมัณฑะเลอันเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล(หน้า:187) นางสนองพระโอษฐ์?(หน้า:191) เครื่องใช้บางส่วนของกษัตริย์พม่า(หน้า:192) พม่าเปลี่ยนสัญลักษณ์จากนกยูง มาเป็นสิงห์(หน้า:202) ระฆังใบใหญ่?(หน้า:203) เจ้าฟ้าจ่ามทูน?(หน้า:211) อ่องซาน?(หน้า:212) หอคำที่ประทับเจ้าฟ้าเชียงตุง(หน้า:213) อูอ่องซานกล่าวคำโฆษณา(หน้า:215) โบสถ์ฝรั่งเมืองต่องกี(หน้า:219) อูอ่องซาน(หน้า:220) ฝูงชนกระหายเอกราช(หน้า:221) อูอ่องซาน(หน้า:222) อูอ่องซานตรวจการณ์รักษาความสงบ(หน้า:223) อูอ่องซานและมารดา(หน้า:225) อนุสาวรีย์ อ่องซานเมืองต่องกี(หน้า:226) ตะขิ่น อูนุ อดีตนายกรัฐมนตรี?(หน้า:228) เจ้าฟ้าส่วยไต้(หน้า:229) เจ้าฟ้าส่วยไต้ ปฏิญาณตนเข้ารับตำแหน่ง?(หน้า:230) เจ้าห่มฟ้า?(หน้า:232)นายตำรวจพม่า?(หน้า:234) เนวินนำอูนุ?(หน้า:236) ชุมนุมเรียกร้องเอกราช(หน้า:238) เมื่อได้เอกราช?(หน้า:244) เซอร์ เรยินัลด์ คอร์มันสมิท(หน้า:248) พลเอกเนวิน?(หน้า:250)นายพลเนวินและมาดาม?(หน้า:253) พลเอกซานยุ ผู้บัญชาการทหารบก(หน้า:255) พลเอกติ่นอู ผู้บัญชาการกองพลภาคใต้พม่า(หน้า:257) ที่ฝังศพเจ้าฟ้า?(หน้า:261) อนุสาวรีย์บ่อโจ่?(หน้า:263) พ.ศ. 2510โมเฮง?(หน้า:264) หอเจ้าฟ้าเมืองเชียงตุง(หน้า:267) พวกชาวบ้านไทยใหญ่ที่มาสมัครเข้าเป็น "หนุ่มศึกหาญ"และสรุปบรรยายก่อนออกรบ (หน้า:268) บาดเจ็บจากการสู้รบ(หน้า:269) การฝึกทหาร?(หน้า:270) เจ้าน้อยหยั่นต๊ะ?(หน้า:271) ชาติใคร?(หน้า:272) กำลังทหารของกองทัพ S.S.A.ฝึกอบรมวิชาการทหารอยู่(หน้า:273) เมืองล่าเสี้ยว สถานที่ตั้งคณะกู้ชาติไตยเป็นครั้งแรก(หน้า:274) เหรียญสมเด็จพระนเรศวรมหาราชสู้สึก และกองมูขุนหอคำไตย(หน้า:276) หลักเขตไทยกับพม่าที่เมืองหาง(หน้า:277) สรุปบรรยายก่อนรบ(หน้า:278) ก่าก่วยแย?(หน้า:279) ฉลองครบรอบ 7 ปี กองทัพกู้ชาติไตยที่เปียงหลวง(หน้า:280) ค.ศ. 1998 ปืนไต กำลังอบรมทหารภาคใต้สาละวิน(หน้า:281) วิทยุรับส่งแบบเคาะสัญญาณ(หน้า:282) พันตรีเสือเยน?(หน้า:283)นายทหารของS.S.A.ทำความเคารพ?(หน้า:284) ทหารของS.S.A.มุงดูรูปภาพ?(หน้า:285) พันเอกอูบัณฑิตเครือเสือ?(หน้า:286) พ.ท.แยจ่อตู่?(หน้า287) สิงห์ร้ายอดีตนักศึกษา?(หน้า:288) วันที่ 7 ธันวาคม 1949?(หน้า:290) กำลังบางส่วนของกองทัพ?(หน้า:291) เจ้าแม่มหาเทวีเฮือนคำ?(หน้า:293) เสือเลนและภรรยา(หน้า:294) ซอหยั่นต๊ะ(หน้า:296) เจ้าเฒ่า ปืนไต?(หน้า:301) พ.ศ.2507 ขึ้น 4 ค่ำ?(หน้า:303) แถวหน้ายืนจากซ้ายไปขวา1.พันเอกแสนหลวง(หัวหน้ามูเซอ)?(หน้า:304) ลุงกอนเจิง(หน้า:306) ด้านหน้าของวังเจ้าฟ้าแสนหวี(หน้า:307) โบ่เต๋หวิ่น(หน้า:308) เจ้างาคำ(หน้า:309) เจ้าฟ้าชายหลวง?(หน้า:310) ชายทุนเอ?(หน้า:311) โบ่โมเฮง(หน้า:312) เสือเลน(หน้า:318) เจ้าหน่อเมียะ?(หน้า:320) จ่อจิ่ง?(หน้า:321) 1กันเจ๊ด 4 ปืนไต?(หน้า:322) จายอ่อง มหาซาง?(หน้า:324) เจ้ายี่ เลขาธิการพรรคS.S.P.P?(หน้า:325) ร้อยเอกแสงหาญ?และลุงพ่อเมืองญาณะ?(หน้า:326) เจ้ากองไต ลูกเจ้าฟ้าก้อนแก้วและเจ้าขุนเปี้ย เมืองนาย(หน้า:327) ค.ศ.1959ชายทูนเอ?(หน้า:329)พันเอกจ่อทูน?และร้อยเอกหญี่ หญี่?(หน้า:330)จิมมี่แหลด(หน้า:332) กลุ่มอาสาสมัครโกก้าง?(หน้า:333) ไร่ฝิ่นนับพันไร่บนดอยหม่อ(หน้า:335) โลชิงฮันและดอกฝิ่นกำลังสุก(หน้า:336) กรีดดอกฝิ่นยามเช้า(หน้า:337)การกรีดดอกฝิ่นด้วยมีดขอบางคมและยางฝิ่นที่ไหลออกเกาะข้างดอกฝิ่น?(หน้า:338) นายพลเล่าต่วน(หน้า:339) ซ้ายมือโลชิงฮัน(หน้า:342) ฤดูการเก็บฝิ่น(หน้า:343) ที่ไนหๆก็เรียนรู้ได้ ส่วนหนึ่งของชีวิต?ไตย(หน้า:344) ยามคอยแจ้งเหตุทหารกู้ชาติ(หน้า:345) เตรียมวัสดุตั้งค่ายทหารกู้ชาติ(หน้า:346) นายทัพใหญ่ของกองทัพอาณาจักรไตย?และพ.อ.จ่ามไทยกำลังตรวจพลที่บ้านนางิ้ว เมืองสีป้อ(หน้า:347) เจ้าฟ้าโกก้าง (จิมมี่ ยัง)(หน้า:348) ขุนส่าพร้อมกำลังส่วนหนึ่ง(หน้า:350) เมืองต่องกี่(หน้า:352) ขุนส่าพร้อมทหารคู่ใจ(หน้า:353) ขุนส่าหรือจางซีฟู หรือจันทร์ จางตระกูล(หน้า:354) มร.เบลิส?(หน้า:355) ขุนส่าสมัยถูกพม่าจับกุมตัวที่เมืองตองกี่(หน้า:357) ดร.เพียร์ นิทสกี้?(หน้า:358) บ้านพักขุนส่า ที่บ้านหินแตก(หน้า:360) โบ่เตหวิ่น(หน้า:361) เสือข่าน(หน้า:362) บ้านหินแตก ถิ่นพำนักกองกำลังขุนส่า(หน้า:363) ขุนมหาต้างยาน?(หน้า:364) นายพลพญาจะอ๋อ?(หน้า:366) ทหารหญิงกู้ชาติไตย(หน้า:367) ทหารพม่าเอารถชนกำแพงวัดเครือไตยพัง ที่เมืองล่าเสี้ยว(หน้า:377) การกรีดฝิ่นให้ยาว ฝิ่นไหลออกตามรอยกรีด(หน้า:380) พ.ท.ชาติชาย ชุณหวัน?(หน้า:387) นายเรือง นิมมานเหมินท์?(หน้า:388) อักษรไทยใหญ่ในอาณาจักรหนองแส(หน้า:389)อักษรภษาาพยู(หน้า:391) สภาพบ้านของไทยใหญ่?(หน้า:392) ฟ้อนรำดาบ(หน้า:393) บรรพชาหมู่ ของชาวไทยใหญ่ที่วัดเครือไตย เมืองล่าเสี้ยว(หน้า:394) วัดมังคลาหม่วยต่อ?(หน้า:395)พระมหามัยมนุ?(หน้า:396) พระเจดีย์เก่าแก่อายุเกือบพันปีที่พุกาม(หน้า:397) อ่านหนังสือ?(หน้า:398) เคารพนับถือจริงๆ?(หน้า:399) พิธีบรรพชา เด็กกำพร้าที่เชียงตุง ค.ศ.1958(หน้า:400) เรือกาละเวกผ่องต่ออู่?(หน้า:401) วัดผ่องต่ออู่ เมืองยองห้วย รัฐชาน(หน้า:402) อักษรไต(ไทยใหญ่)?(หน้า:403-410) พระภิกษุไทยใหญ่กำลังวางศิลาฤกษ์?(หน้า:411) นักศึกษาและอาจารย์ใหญ่?(หน้า:412) อุปสมบทที่สีมากลางน้ำของชาวไทยใหญ่(หน้า:413) พระพุทธรูปผ่องต่ออู(หน้า:414) ค.ศ. 1951 วัดเครือไตย?(หน้า:415)เจ้าฟ้าส่วยใต้คำศึก?(หน้า:417) พิธีแห่ลูกแก้วในไทยใหญ่(หน้า:418) พระภิกษุสามเณรไทยใหญ่แห่งสำนักป๋างโหลง(หน้า:419) พระเจดีย์ผ่องต่ออู ?(หน้า:420) เจ้าเมียะจี่ เจ้าแว่น...(หน้า:421)ยามแปดตาและสีซอ(หน้า:422-423) พระเจดีย์โกมุท?และอนุสาวรีย์อิสระภาพที่เมืองล่าเสี้ยว(หน้า:427) การแจวเรือด้วยเท้า(หน้า:428) พระพุทธรูปทรงเครื่องที่อังกฤษยึดไปจากพม่า(หน้า:429) พระพุทธรูปพระเจ้าทิพย์?(หน้า:430) กำลังนำลูกแก้ว ของเจ้าแม่นางเฮือนคำเข้าวิหารเพื่อบรรพชา(หน้า:432) ล้นเกล้าฯทั้งสองพระองค์ทรงเสด็จเปิดโรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ฯ(หน้า:434) การแต่งกายชาวไตในทะเลสาปอินเล(หน้า:435)หนองน้อย?(หน้า:436) ชาวกะฉิ่นเผ่าอะสิ ในเขตสะดง(หน้า:443) ชาวกะฉิ่นเผ่ามะรุ ในเขตกะฉิ่น ภาคเหนือสุด(หน้า:444) มีทหารร่วมขบวนคือทหารหญิงเมียวเติง(หน้า:446) ชาวกะฉิ่นเผ่าอะสิ ในเขตสะดง(หน้า:447) ชนชาติกะเหรี่ยง?(หน้า:449) เมื่อกะเหรี่ยงกอทูเลกับไทยใหญ่รักกัน(หน้า:451) รบเพื่อชาติกะเหรี่ยงกอทูเล(หน้า:453) สงวนไว้ซึ่งอาวุธยุทโธปกรณ์(หน้า:456) รอคอยตลบหลัง(หน้า:457) วันชาติกะเหรี่ยงกอทูเล(หน้า:458) ไม่ก้มหัวให้พม่ามาแต่ต้น(หน้า:459) ระบำกระทบไม้ของชาวกอทูเล(หน้า:460) เตรียมกำลังรบ(หน้า:461)กองทัพเยาวชนกู้ชาติ(หน้า:462) กอทู(อุ่งเผ่)(หน้า:463) พลเอกจ่อเมียะต่าน?(หน้า:465) ซอฮันเตอร์?(หน้า:466) สกอ,เลอ-ทอ?(หน้า:467) ซอบ๊ะอูยี(หน้า:468) มาห์น บ๊ะซาน(หน้า:469) นอร์หลุยซ่า บินสิ่น(หน้า:472) ทำพิธีถวายเครื่องสักการะในสถานที่เพาะปลูกพืช(หน้า:473) แต่งกายตามประเพณี ชาวกะเหรี่ยง กอทูเล(หน้า:474) ซอร์ บาร์ติ่น(หน้า:475) ชายหนุ่มโสดชาวกะเหรี่ยง(หน้า:476) ดร.ยอด ตาวา?(หน้า:477) หนุ่มน้อยชาวกะเหรี่ยง(หน้า:478) ซอร์แทมลาโบว(หน้า:479) พลตรีซอ ทัมลาบอ(หน้า:480) พลตรีซอเต็ง(หน้า:481) ซอเมี๊ยะ หม่วง(หน้า:482) พรรคกอบกู้ชาติอาระกัน?(หน้า:484) ซอตานอ่วง(หน้า:485) ดร.เอช.เอ็ม.ซิงห์?.(หน้า:486) เด็กชายชาวกะเหรี่ยงคล้องคอด้วยฟันปลาและตะกร้าของชาวกะเหรี่ยงที่ทาด้วยแลกเกอร์ผสมน้ำผึ้ง(หน้า:488) ตะกร้าบรรจุเสื้อผ้า?และตะกร้าสานด้วยไม้ไผ่?(หน้า:489) เด็กชายกะเหรี่ยงเฝ้าเครื่องสักการะพระแม่ธรณีในไร่และชาวกะเหรี่ยงใช้ครกตำข้าวด้วยมือ(หน้า:490) ถุงย่ามของชาวกะเหรี่ยงที่ทออย่างสวยงามและการแต่งทรงผมตามจารีตประเพณี(หน้า:491) นายพลโบเมียะ(หน้า:494) นายพลติ่นอู ผุ้บัญชาการกองพลภาคใต้(หน้า:501) นายพลเนวิน ประธานาธิบดีสหภาพพม่า?(หน้า:502) ทหารของโหม่อง?(หน้า:504) กองทัพละว้า?(หน้า:505) กำลังละว้า การฝึกซ้อม(หน้า:506) กำลังละว้าฝึกการเข้าโจมตี(หน้า:507) หน่วยละว้า กำลังออกรบพม่า(หน้า:511) สุภาพบุรุษชาวพม่า?(หน้า:513) วัดในเมืองพุกาม(หน้า:514) เจดียืที่พุกาม(หน้า:516) วัดอีกแห่งในเมืองพุกาม(หน้า:519) พระพุทธรูปมอญยุคทวารวดี อานันทเจดีย์ที่พุกาม(หน้า:525) เนินเขาฝั่งเมาะลำเลิง?(หน้า:526) เจดีย์ชเวดากอง(หน้า:527) พระเจดีย์องค์หนึ่งที่เมืองมิงกุน(หน้า:528) วัดมอญที่ซีเรียม (เดิงเชียง)ร่างกุ้ง(หน้า:529) เลดี้หม่องยี?(หน้า:534) พลเอกจ่อเมียะ?(หน้า:536) พระพุทธรูปที่อยู่ในเจดีย์(หน้า:537)

Text Analyst ศิริเพ็ญ วรปัสสุ Date of Report 12 พ.ค. 2548
TAG ไต, ไท, ประวัติศาสตร์, วัฒนธรรม, รัฐฉาน, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง