สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลื้อ,ลัวะ,ม้ง,ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ กะเหรี่ยง,ภาษาพูด,คำเรียกสี,การรับรู้สี,เชียงราย,พะเยา
Author ศตนันต์ เชื้อมหาวัน
Title คำเรียกสีและการรับรู้สีของผู้พูดภาษาไทลื้อ ลัวะ ม้ง และกะเหรี่ยง ในพื้นที่จังหวัดเชียงรายและพะเยา
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ลัวะ (มัล ปรัย) ลัวะมัล ไปร ลัวะปรัย, ม้ง, ปกาเกอะญอ, Language and Linguistic Affiliations ม้ง-เมี่ยน
Location of
Documents
ห้องสมุดคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Total Pages 115 Year 2541
Source บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract

ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับคำเรียกสีพื้นฐานและคำเรียกสีไม่พื้นฐานในภาษาไทลื้อ ลัวะถิ่น ม้งเขียว และกะเหรี่ยงสะกอ ตลอดจนการรับรู้สีและทัศนคติที่มีต่อสีของชาติพันธุ์ที่พูดภาษาทั้ง 4 ดังกล่าว โดยใช้ผู้ให้ข้อมูลภาษาเป็นไทลื้อบ้านธาตุ ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ลัวะถิ่นในศูนย์อพยพตำบลป่าสัก อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา ม้งเขียวบ้านคอดยาว ตำบลป่าสัก อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา และกะเหรี่ยงสะกอบ้านห้วยขม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ซึ่ง ผลการวิจัยสรุปเนื้อหาสำคัญได้ว่า ภาษาไทลื้อ ลัวะถิ่น ม้งเขียว และกะเหรี่ยงสะกอ มีจำนวนคำเรียกสีพื้นฐานคือ 12, 5, 6, 5 คำตามลำดับ และมีวิวัฒนาการของคำเรียกสีพื้นฐานจัดได้เป็นระยะที่ 7, 5, 5, และ 4 ตามลำดับ ส่วนการสร้างคำเรียกสีไม่พื้นฐานของทั้ง 4 ภาษา มีกลวิธีสร้างคำเรียกสีไม่พื้นฐาน 3 วิธี คือ 1.ผสมคำเรียกสีเข้าด้วยกัน 2.การผสมคำเรียกสีกับคำขยาย และ 3.การใช้คำเรียกสิ่งของเฉพาะมาเป็นคำเรียกสีไม่พื้นฐาน ภาษาไทลื้อ ลัวะถิ่น และม้งเขียว ใช้กลวิธีการผสมคำเรียกสีกับคำขยายในการสร้างคำเรียกสีไม่พื้นฐานมากที่สุด แต่ภาษากะเหรี่ยงสะกอใช้กลวิธีการผสมคำเรียกสีเข้าด้วยกันมากที่สุด แต่ทุกภาษามีการใช้กลวิธีการใช้คำเรียกสิ่งของเฉพาะมาเป็นคำเรียกสีไม่พื้นฐานน้อยที่สุด สำหรับผลการวิเคราะห์การรับรู้สีและทัศนคติที่มีต่อสี พบว่า ผู้พูดของทั้ง 4 ภาษา มีการรับรู้ใจกลางสี (foci point) ของทุกประเภทสีคล้ายคลึงกัน ส่วนการรับรู้ขอบเขตสี (colour boundary) พบว่าผู้พูดของทั้ง 4 ภาษา มีการรับรู้ขอบเขตของประเภทสีเขียวได้ดีที่สุดเมื่อเทียบกับขอบเขตสีของประเภทสีอื่น ๆ สำหรับการวิเคราะห์ทัศนคติที่มีต่อสี พบว่า ผู้พูดภาษาเหล่านี้มีทัศนคติบวกต่อสีสดและสีเข้ม และมีทัศนคติลบต่อสีตุ่นและสีอ่อน (หน้า ง)

Focus

วิเคราะห์คำเรียกสี การรับรู้สี และทัศนคติต่อสี ทั้งที่เป็นสีพื้นฐานและไม่พื้นฐาน ของไทลื้อ ลัวะถิ่น ม้งเขียว และกะเหรี่ยงสะกอ

Theoretical Issues

ผู้เขียนใช้กรอบทฤษฎีสากลและวิวัฒนาการของคำเรียกสีของเบอร์ลินและเคย์ (Berlin and Kay) มาทดสอบกับภาษาต่าง ๆ 4 ภาษา คือ ภาษาไทลื้อ ลัวะ ม้ง และกะเหรี่ยง เนื่องจากยังไม่มีงานวิจัยใดที่เปรียบเทียบคำเรียกสีในหลาย ๆ ภาษาโดยใช้วิธีดำเนินการวิจัยและวิธีการวิเคราะห์แบบเดียวกัน งานวิจัยนี้จึงทำขึ้นเพื่อหาข้อสรุปว่าคำเรียกสีนั้นเป็นสากลตามผลการวิจัยของเบอร์ลินและเคย์หรือไม่ และศึกษาการรับรู้สีและทัศนคติที่มีต่อสีของชาติพันธ์ที่พูดภาษาทั้ง 4 ภาษาดังกล่าวด้วย เนื่องจาก กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้เป็นชนกลุ่มน้อยที่มีอาชีพคลุกคลีอยู่กับสี เช่น งานช่างปักผ้าและช่างทอผ้า เป็นต้น ผลการวิจัยอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจหรือมีหน้าที่ส่งเสริมงานศิลปะหัตถกรรมของชนกลุ่มน้อย (หน้า 2, 7) โดยมีสมมติฐาน 3 ข้อ คือ 1. คำเรียกสีพื้นฐานของภาษาไทลื้อ ลัวะ ม้ง และกะเหรี่ยงมีไม่เกิน 5 คำ 2.ผู้พูดทั้ง 4 ภาษาดังกล่าวจะรับรู้ใจกลางสี (foci point) แต่ละประเภทเหมือนกัน และ 3. ผู้พูดทั้ง 4 ภาษาดังกล่าว จะมีทัศนคติต่อสีที่คล้ายคลึงกัน คือมีทัศนคติทางบวกต่อสีสดและสีเข้ม (bright 0r vivid colour) แต่มีทัศนคติทางลบต่อสีตุ่น (subtle colour) และสีอ่อน (light colour) โดยผู้วิจัยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3 ชนิด คือ ตารางสี (colour chart) บัตรสี (colour card) และแผ่นบันทึกข้อมูล โดยจะเก็บข้อมูลกับผู้บอกภาษาเพศหญิงที่มีอายุระหว่าง 30 - 45 ปี ภาษาละ 10 คน รวม 40 คน (หน้า 3, 32, 42)

Ethnic Group in the Focus

ผู้เขียนเรียกชาติพันธุ์ในงานวิจัยชิ้นนี้ว่า ไทลื้อ ม้งเขียว กะเหรี่ยงสะกอ และลัวะถิ่นหรือที่เรียกว่า ถิ่น

Language and Linguistic Affiliations

ผู้เขียนระบุว่า ภาษาไทลื้อ อยู่ในตระกูลไท ภาษากะเหรี่ยงสะกอ อยู่ไนตระกูลทิเบต - พม่า ภาษาม้งเขียว อยู่ในตระกูลม้ง - เมี่ยน และภาษาลัวะถิ่น อยู่ในตระกูลออสโตรเอเชียติก สาขามอญ - เขมร นอกจากนี้ จากผลการวิจัยเกี่ยวกับคำเรียกสี ปรากฏว่าคำเรียกสีของภาษาไทลื้อมีถึง 12 คำ ซึ่งมากกว่าอีกสามภาษากว่าครึ่ง และไม่เป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัย ทั้งนี้ ผู้เขียนสันนิษฐานว่า เป็นเพราะไทลื้อมีการสัมผัสทางวัฒนธรรมและภาษากับคนเมืองจนมีการยืมคำมาใช้เป็นเวลานานมาแล้ว เนื่องจากไทลื้อในอำเภอเชียงคำนั้นสันนิษฐานกันว่าอพยพมาจากสิบสองปันนาเมื่อประมาณ 200 กว่าปีมาแล้ว การที่ไทลื้อได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นราบตลอดมาและพูดภาษาตระกูลไท ทำให้สามารถผสมกลมกลืนเข้ากับคนเมืองหรือไทยวน (ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของภาคเหนือ) ได้อย่างรวดเร็ว จึงเกิดการยืมคำมาใช้ขึ้น และเมื่อมีการยืมคำเกิดขึ้นก็จะทำให้โลกทัศน์ของผู้พูดภาษาไทลื้อคล้ายกับผู้พูดภาษาตระกูลไทอื่น ๆ ในประเทศไทย ดังนั้น คำเรียกสีของไทลื้อจึงมีถึง 12 คำมากกว่าคำเรียกสีพื้นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ แม้จะมีลัวะถิ่น ม้งเขียว และกะเหรี่ยงสะกอที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ราบ แต่ก็แยกหมู่บ้านออกไปต่างหากไม่ปะปนกับคนเมือง ดังนั้น การสัมผัสทางวัฒนธรรมจีงยังไม่เกิดขึ้นเหมือนกับไทลื้อ (หน้า 42, 64-65)

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

ไทลื้อ - ไทลื้ออพยพมาจากแคว้นสิบสองปันนา ซึ่งปัจจุบันคือเขตปกครองตนเองและส่วนหนึ่งของมณฑลยูนนาน ไทลื้ออพยพเคลื่อนย้ายออกมาจากยูนนานประมาณเมื่อ 300 ปีมาแล้ว ปัจจุบันมีไทลื้อตั้งบ้านเรือนอยู่ทั่วไปในเขตภาคเหนือตอนบน เช่น อำเภอสะเมิง และดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอเมือง และแม่ทะ จังหวัดลำปาง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน อำเภอแม่สาย และเชียงของ จังหวัดเชียงราย อำเภอเชียงม่วน และอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา อำเภอท่าวังผา ปัว เชียงกลาง และทุ่งช้าง จังหวัดน่าน สำหรับหมู่บ้านธาตุ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ประมาณ 385 ครัวเรือน และยังมีการพูดภาษาไทยลื้อในชีวิตประจำวันกันอยู่ (หน้า 27) ลัวะ - ลัวะในที่นี้หมายถึงลัวะถิ่นหรือที่เรียกว่า "ชาวถิ่น" เป็นชนกลุ่มน้อยที่อาศัยในจังหวัดน่าน ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างประเทศไทยและประเทศลาว ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่า ลัวะถิ่นตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทยหรืออพยพมาจากลาว จากการสำรวจของกองสงเคราะห์ชาวเขาพบว่า ลัวะถิ่นอาศัยอยู่ในจังหวัดน่านเพียงจังหวัดเดียวในประเทศไทย และในช่วงปี พ.ศ. 2512 - 2513 พื้นที่ที่ลัวะอาศัยอยู่เป็นพื้นที่ที่คอมมิวนิสต์มาตั้งถิ่นฐานอยู่ ดังนั้น หลังจากปี พ.ศ. 2512 - 2513 ลัวะถิ่นจึงอพยพลงมาอยู่ร่วมกับชาวพื้นราบ ลัวะถิ่นที่อาศัยอยู่ในศูนย์อพยพตำบลป่าสัก กิ่งอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา เป็นลัวะถิ่นที่อพยพมาจากจังหวัดน่านเมื่อปี พ.ศ. 2538 จำนวน 150 ครอบครัว แต่ในขณะเก็บข้อมูลมีลัวะถิ่นอาศัยอยู่ในศูนย์อพยพ 60 ครัวเรือน เนื่องจากบางส่วนทางราชการได้จัดสรรที่ดินทำกินให้ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย และที่เหลือกำลังรอทางการจัดสรรที่ดินให้ในพื้นที่กิ่งอำเภอภูซางและอำเภอเชียงคำในจังหวัดพะเยา (หน้า 27) ม้ง - ประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล ม้งแต่เดิมอาศัยอยู่ในประเทศจีน หลังจากสู้รบกันยืดเยื้อและรุนแรงกับจีน ม้งส่วนหนึ่งก็ยอมตกอยู่ใต้อำนาจของชาวจีนและยอมรับวัฒนธรรมจีน แต่อีกส่วนหนึ่งถอยล่นไปอยู่ตามป่าเขาและถิ่นทุรกันดาร จัดตั้งเป็นอาณาจักรอิสระย่อย ๆ โดยมีผู้นำเป็นของตนเอง ต่อมาในศตวรรษที่ 17 จักรพรรดิแมนจูมีนโยบายปราบปรามม้งให้ยอมจำนนต่อจีน ม้งจึงอพยพลงสู่ทางใต้เรื่อยมา เข้าสู่เวียดนาม ลาว ราวปี พ.ศ. 2400 ม้งเริ่มอพยพเข้าสู่ประเทศไทย (ส่วนใหญ่อพยพมาจากประเทศลาว) และตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตจังหวัดเชียงราย น่าน เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และตาก ม้งในประเทศไทยสามารถจำแนกออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ม้งขาว (Hmong Daw) ม้งเขียว หรือม้งน้ำเงิน (Hmong Njua) และม้งลายหรือมังกัวอึมบา (Hmong Gua Mba) สำหรับม้งเขียวที่บ้านคอดยาว ตำบลป่าสัก กิ่งอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา เป็นหมู่บ้านสร้างใหม่ มีม้งเขียวอาศัยอยู่โดยไม่ปะปนกับคนไทยกลุ่มอื่น ๆ ทั้งหมด 78 ครัวเรือน (หน้า 28) กะเหรี่ยง - กะเหรี่ยงเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย อพยพมาจากประเทศพม่า ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่ากะเหรี่ยงอพยพเข้ามาในไทยตั้งแต่เมื่อไร แต่สันนิษฐานว่าเข้ามาในสมัยที่ไทยรบกับพม่า คือตั้งแต่รัชกาลพระเจ้าไชยราชาในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมา สาเหตุของการอพยพนอกเหนือจากสงครามแล้ว ยังมีสาเหตุมาจากปัญหาทางเศรษฐกิจ กะเหรี่ยงมีการกระจายตัวอยู่ตามพรมแดนไทย - พม่า และอาศัยอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ ของประเทศไทย คือ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน แพร่ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร อุทัยธานี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี และประจวบคีรีขันธ์ แต่อยู่มากที่สุดที่อำเภอแม่สะเรียงจังหวัดแม่ฮ่องสอน กะเหรี่ยงที่พบในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 4 พวก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ กะเหรี่ยงสะกอ กะเหรี่ยงโป กะเหรี่ยงแบร และกะเหรี่ยงตองอูหรือปาโอ ส่วนกะเหรี่ยงสะกอบ้านห้วยขม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงรายอพยพมาจากจังหวัดแม่ฮ่องสอนเมื่อประมาณ 60 - 70 ปีมาแล้ว หมู่บ้านนี้มี 76 ครัวเรือน ชีวิตประจำวันยังพูดภาษากะเหรี่ยง อยู่ และเด็ก ๆ ยังเรียนเขียนภาษากะเหรี่ยงอยู่ โดยมีคนแก่ที่มีความรู้ในหมู่บ้านเป็นผู้สอนให้ (หน้า 30)

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

ไม่ได้ระบุชัดเจนถึงจำนวนประชากรของแต่ละหมู่บ้าน ระบุเพียงว่าบ้านธาตุอำเภอเชียงคำจังหวัดพะเยาที่มีไทลื้ออยู่ มีขนาดใหญ่ประมาณ 385 ครัวเรือน ลัวะถิ่นที่อาศัยอยู่ในศูนย์อพยพตำบลป่าสัก กิ่งอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยามีประมาณ 60 ครัวเรือน ม้งเขียวบ้านคอดยาว ตำบลป่าสัก กิ่งอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา มีทั้งหมด 78 ครัวเรือน เป็นม้งเขียวทั้งหมด และบ้านห้วยขม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงรายที่กะเหรี่ยงสะกออาศัยอยู่ มีทั้งสิ้น 76 ครัวเรือน (หน้า 27-28, 30)

Economy

ไม่มีข้อมูลชัดเจน ระบุเกี่ยวกับ ไทลื้อที่บ้านธาตุ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา เพียงว่า แม่บ้านส่วนใหญ่มีอาชีพทอผ้าเป็นอาชีพเสริม ม้งเขียวบ้านคอดยาว ตำบลป่าสัก กิ่งอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ทอผ้าใยกัญชาและย้อมเป็นสีต่าง ๆ ขายเป็นอาชีพเสริม นอกจากนั้น หญิงม้งยังทอและปักผ้าเป็นลวดลายตามแบบม้งไว้ใส่เองและเพื่อขาย สำหรับกะเหรี่ยงสะกอ บ้านห้วยขม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ผู้เขียนระบุเพียงว่ายามว่างจากการทำไร่-ทำนา ผู้หญิงกะเหรี่ยงในหมู่บ้านนี้จะทอผ้าและปักผ้าเพื่อใช้เองในครอบครัวและขาย (หน้า 27, 28, 30)

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ไม่มีข้อมูล

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

การรับรู้สี - จากผลการวิจัยเรื่องคำเรียกสีพื้นฐานของไทลื้อ ลัวะถิ่น ม้งเขียว กะเหรี่ยงสะกอ พบว่าชาติพันธุ์ทั้ง 4 มีคำเรียกสีพื้นฐาน 12 , 5, 6, 5 คำตามลำดับ ผู้เขียนอธิบายว่า จำนวนคำเรียกสีพื้นฐานที่แตกต่างกัน แสดงให้เห็นว่าผู้พูดภาษาเหล่านี้มีการจำแนกและรับรู้สีไม่เหมือนกัน ภาษาที่มีจำนวนคำเรียกสีพื้นฐานมาก ย่อมแสดงให้เห็นว่าผู้พูดภาษานั้นมีการจำแนกและรับรู้สีที่มีอยู่ในธรรมชาติอย่างละเอียด (หน้า 74) นอกจากนี้ จากผลการวิเคราะห์ของผู้เขียน พบว่า ไทลื้อ ลัวะ ม้ง และกะเหรี่ยง ที่ใช้เป็นกรณีศึกษามีการรับรู้ใจกลางสี (foci point) ของแต่ละประเภทสีคล้ายกันมาก แตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และมีการรับรู้ใจกลางสีขาว สีดำ และสีเหลืองตรงกัน ตลอดจนมีการรับรู้ความเข้ม - จางของประเภทสีเขียวได้ดีที่สุด สำหรับทัศนคติที่มีต่อสี - ทั้งไทลื้อ ลัวะ ม้ง และกะเหรี่ยง มีทัศนคติต่อสีเหมือนกัน คือมีทัศนคติบวกกับสีสดและสีเข้ม เช่น สีแดง สีบานเย็น สีฟ้าสด เป็นต้น และมีทัศนคติลบต่อสีตุ่นและอ่อน เช่น สีเทา และสีฟ้าอมเขียว เป็นต้น (หน้า 100) ไทลื้อมีทัศนคติในทางบวกต่อประเภทสีชมพู เหลือง ฟ้า แดง เขียว และม่วง (หน้า 92) ลัวะมีทัศนคติในทางบวกต่อประเภทสีฟ้า ส้ม แดง เขียว และม่วง โดยเฉพาะชอบสีแดงและสีม่วงเข้มมากเป็นพิเศษ (หน้า 93) ส่วนม้งเขียว มีทัศนคติในทางบวกต่อสีชมพูเข้มหรือสีบานเย็น สีแดง สีเขียว โดยเฉพาะชอบสีชมพูเข้มและสีแดงเป็นพิเศษ (หน้า 95) สำหรับกะเหรี่ยงสะกอมีทัศนคติในทางบวกต่อประเภทสีชมพู เหลือง ฟ้า แดง และเขียว (หน้า 96)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

1. แผนที่เขตจังหวัดภาคเหนือตอนบน (หน้า 26) 2. แผนที่จังหวัดพะเยาแสดงจุดเก็บข้อมูล (หน้า 29) 3. แผนที่จังหวัดเชียงรายแสดงจุดเก็บข้อมูล (หน้า 31) 1. แผนภูมิแสดงวิวัฒนาการของคำเรียกสีพื้นฐาน (หน้า 1-11) 2. แผนภูมิแสดงสมมติฐานวิวัฒนาการของคำเรียกสีพื้นฐาน (หน้า 55, 57, 60, 62, 63, 64) 3. แผนภูมิแสดงการเรียงแผ่นสี (หน้า 35) 1. แผนผังของตารางสี (หน้า 36, 39) 2. แผนผังแสดงอักษรและหมายเลขกำกับตารางสี (หน้า37) 1. ภาพลักษณะบัตรสี (หน้า 40) 2. ภาพการจำแนกประเภทสี (หน้า 54, 57, 59, 61) 3. ภาพขอบเขตสี (หน้า 76, 78, 81, 84) 4. ภาพการรับรู้ใจกลางสี (หน้า 77, 80, 83, 86) 5. ภาพเปรียบเทียบการรับรู้สี (หน้า 90) 1. ตารางเปรียบเทียบจำนวนคำเรียกสีพื้นฐาน (หน้า 62) 2. ตารางเปรียบเทียบความถี่การใช้กลวิธีสร้างคำเรียกสี (หน้า68, 70, 71, 73) 3. ตารางการรับรู้ใจกลางและขอบเขตสี (หน้า 75, 78, 81, 84) 4. ตารางเปรียบเทียบใจกลางสี (หน้า 87) 5. ตารางเปรียบเทียบขอบเขตสี (หน้า 88) 6. ตารางทัศนคติที่มีต่อสี (หน้า 92-96) 6. ตารางจำนวนคำเรียกสีพื้นฐาน (หน้า 99) 7. ตารางจำนวนร้อยละของแต่ละกลวีธี (หน้า 100) 8. ตารางคำเรียกสีพื้นฐาน (หน้า 102, 104-106)

Text Analyst บุญสม ชีรวณิชย์กุล Date of Report 06 ม.ค. 2566
TAG ลื้อ, ลัวะ, ม้ง, ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ กะเหรี่ยง, ภาษาพูด, คำเรียกสี, การรับรู้สี, เชียงราย, พะเยา, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง