สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลีซู, การตั้งถิ่นฐาน, ที่อยู่อาศั ภาคเหนือ
Author ประเสริฐ ชัยพิกุสิต
Title บ้านลีซอ
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ลีซู, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 18 Year 2526
Source ศูนย์วิจัยชาวเขา กรมสงเคราะห์ชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย
Abstract

เนื้อหาส่วนใหญ่เน้นในส่วนของลักษณะการตั้งบ้านเรือน และสิ่งปลูกสร้างอันเกี่ยวโยงผูกพันอยู่กับความเชื่อ-ประเพณี-พิธีกรรม กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตลีซอ

Focus

ศึกษารูปแบบการตั้งถิ่นฐาน และลักษณะการตั้งบ้านเรือนของชาวเขาเผ่าลีซอ

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ลีซอเรียกตัวเองว่า ลีซู แบ่งเป็น 3-กลุ่มย่อย ดังนี้ 1) ลีซอลาย (Flowery Lisu) 2) ลีซอดำ (Black Lisu or Independent Lisu) 3) ลีซอขาว (White Lisu) ลีซอในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นลีซอลาย มีอลีซอดำยู่บ้างเพียงไม่กี่คน (หน้าคำนำ) หลายแซ่สืบเชื้อสายบรรพบุรุษมาจากจีน ไม่พบปัญหาขัดแย้งเรื่องเชื้อชาติหรือขนบธรรมเนียมประเพณีความเชื่อถือแต่อย่างใด จีนฮ่อบางคนแต่งงานกับหญิงลีซอ บุตรหลานที่เกิดมาจึงเป็นลีซอไปในที่สุด (หน้า 8-9)

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาลีซอจัดอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ธิเบต (Sino-Tibetan) สาขาธิเบต-พม่า (Tibeto-Burman) (หน้าคำนำ)

Study Period (Data Collection)

ไม่ได้ระบุรายละเอียด เพียงแต่ระบุว่า รวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องในปี พ.ศ. 2525

History of the Group and Community

ตามประวัติศาสตร์กล่าวไว้ว่า ลีซอสู้รบกับชนเผ่าอื่นหลายครั้ง และได้อพยพกระจัดกระจายลงมาทางใต้เข้าไปในประเทศอินเดีย พม่า ไทย ลีซออพยพเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรก ระหว่างปี พ.ศ. 2462-2464 และได้ตั้งหมู่บ้านลีซอแห่งแรกบนภูเขาในท้องที่จังหวัดเชียงราย

Settlement Pattern

การปลูกสร้างบ้านในหมู่บ้านลีซอมีลักษณะไม่เป็นแถวเป็นแนวระเกะระกะ (หน้า 7) ทางเข้าหมู่บ้านมีการปลูกสร้างศาลาไว้ข้างทาง หันหน้าออกไปยังทางเดิน (หน้า 3-4) ศาลผีประจำหมู่บ้าน ตั้งอยู่บนเนินเขาสูงกว่าหมู่บ้านเล็กน้อย หากไม่มีเนินเขาก็อาจตั้งบริเวณกลางหมู่บ้านก็ได้ มักล้อมรั้วไม้ไผ่หรือปักไม้ไว้ห้ามผู้หญิงเข้า (หน้า 5) ลีซอจะปลูกสร้างศาลผีประจำหมู่บ้านไว้ก่อนที่จะปลูกสร้างบ้าน ประตูบ้านจะต้องอยู่ในแนวหรือทิศทางที่ไม่ตรงกับประตูของศาลผีประจำหมู่บ้าน หิ้งบูชาผีภายในบ้านและประตูบ้านของแต่ละครอบครัว จะอยู่ในแนวตรงกันตามยาวไม่ได้ ในบางแซ่สกุล ผู้ที่เป็นบุตรหลานหรือญาติพี่น้องที่อยู่ในลำดับชั้นที่ต่ำกว่าจะปลูกสร้างบ้านในแนวนอนตามขวาง เป็นแนวเดียวกันกับผู้ที่มีอาวุโสซึ่งอยู่ในลำดับชั้นที่สูงกว่าไม่ได้ (หน้า 5-8) ในการเลือกสถานที่ปลูกสร้างบ้านจะมีการประกอบพิธีกรรมเสี่ยงทาย และมักปลูกสร้างหลังฤดูเก็บเกี่ยวช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม (หน้า 14-15) (รายละเอียดรูปแบบบ้านอยู่อาศัย ดูหัวข้อ Art and Crafts)

Demography

จากข้อมูลการกระจายตัวและข้อมูลเกี่ยวกับประชากรของลีซอในประเทศไทย ปี 2525 พบว่า ลีซอกระจายตัวอยู่ในท้องที่ 9 จังหวัดคือ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา ลำปาง ตาก เพชรบูรณ์ สุโขทัย กำแพงเพชร รวมเป็นจำนวน 105 หมู่บ้าน นับได้ 2,833 หลังคาเรือน มีจำนวนประชากร 16,783 คน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4 ของประชากรชาวเขาทั้งหมดในประเทศไทย การอพยพย้ายถิ่น ลีซอมักอพยพย้ายถิ่นบ่อยเนื่องจาก 1) เป็นการย้ายตามบิดามารดาของตนเองหรือของภรรยา หรือญาติพี่น้อง 2) เกิดความขัดแย้งหรือมีเรื่องบาดหมางใจกับครอบครัวอื่นที่อยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน 3) ที่ดินทำกินขาดความอุดมสมบูรณ์ 4) ถูกรังแกหรือถูกรบกวนจากชนเผ่าอื่นอยู่เสมอ การย้ายบ้าน ลีซอจะไปกล่าวลาหมอเมืองผู้ใหญ่บ้านหรือหัวหน้าบ้าน แล้วขายบ้านหรือมอบให้ญาติพี่น้องหรืออาจรื้อบ้านขนย้ายไปปลูกสร้างกันใหม่ เป็นที่น่าสังเกตว่าเมื่อลีซอย้ายบ้านไปอยู่หมู่บ้านแห่งใด มักไม่ได้แจ้งย้ายต่อเจ้าหน้าที่ระดับท้องถิ่นของทางราชการอย่างถูกต้องตามกฎหมายบ้านเมือง (หน้า 17)

Economy

ลีซอประกอบอาชีพเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์ เช่น หมู ไก่ ม้า วัว (หน้า 7, 8, 9,15) ในขณะที่จีนฮ่อในหมู่บ้านประกอบอาชีพค้าขาย นำสินค้าชนิดต่างๆ ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน เช่น อาหารและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ มาขายให้กับลีซอ และรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรบางชนิดจากคนในหมู่บ้าน ไปขายให้กับพ่อค้าในเมืองอีกทอดหนึ่ง

Social Organization

ครัวเรือนลีซอ มีทั้งครอบครัวเดี่ยวและครอบครัวขยาย ซึ่งมีมากกว่า 1 ครอบครัว แต่มักพบว่าจำนวนครอบครัวเดี่ยวมีมากกว่าจำนวนจำนวนครอบครัวขยาย เพราะว่าเมื่อถึงเวลาอันสมควรแล้ว ครอบครัวของลูกมักจะขอแยกไปปลูกสร้างบ้านของตนเองต่างหาก และกลายเป็นครอบครัวเดี่ยวต่อไป

Political Organization

ไม่มี

Belief System

ลีซอนับถือผี ทั้งผีประจำหมู่บ้านซึ่งเรียกว่า "อาปาหมุฮี" หมายถึงบ้านของผู้ปู่เฒ่า และผีบรรพบุรุษ แต่ละครอบครัวจะเซ่นไหว้ในวันศีล ซึ่งจัดขึ้นทุก 15 วันครั้ง โดยจะหยุดงานกันทั้งหมู่บ้าน เชื่อกันว่า ภายในบริเวณศาลผีหมู่บ้านจะมีผีสิงสถิตอยู่ 3 ตัว คือ "อาปาหมุ" สิงสถิตอยู่ภายในเพิงหมาแหงน "อิดามา" ผีใหญ่ที่สุดและ "ชั่วสือ" ผีตัวเล็กสุด อยู่กลางแจ้งนอกเพิงทางขวามือและซ้ายมือ ในวันพิธีต่างๆ อาทิ ปีใหม่ใหญ่ ปีใหม่น้อย พิธีกินข้าวโพดใหม่ พิธีแต่งงาน พิธีกรรมในการเข้าทรง รวมถึงเมื่อสมาชิกเกิดเจ็บป่วย สมาชิกของหมู่บ้านจะขึ้นมาทำพิธีเซ่นไหว้บูชาด้วยข้าว สุรา น้ำชา น้ำ หมูหรือไก่ เมื่อมีการอพยพย้ายเข้ามาอยู่ใหม่ หรือเมื่อมีคนหรือสัตว์เลี้ยงเกิดในบ้าน เจ้าของบ้านจะทำพิธีบอกให้ผีประจำหมู่บ้านได้รับทราบ เพื่อคุ้มครองปกปักรักษาสมาชิกใหม่ บ้านของปู่ผู้เฒ่าถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ห้ามผู้หญิงเข้า บางหมู่บ้านก็จะห้ามเฉพาะหญิงที่แต่งงานแล้ว (หน้า 5-6,16) ลีซอทำพิธีเลี้ยงผีดินเพื่อความสุขความเจริญ เชื่อว่าจะช่วยให้สมาชิกภายในบ้านมีอายุยืนนานสุขภาพอนามัยแข็งแรง พิธีนี้จัดขึ้นภายในบ้าน เวลากลางคืนในช่วงระหว่าง ปีใหม่ใหญ่กับปีใหม่น้อย โดยจะใช้กระบอกไม้ไผ่กระทุ้งพื้นดิน หรือบริเวณเตาไฟ (สำหรับบ้านแบบยกพื้น) เป็นจังหวะ ผู้ทำพิธีโดยมากเป็นชายที่มีครอบครัวแล้ว จะต้องสวดไปด้วย ใช้เวลาระหว่าง 15-60 นาที ในระหว่างทำพิธีห้ามคนเข้า-ออกจากบ้าน (หน้า 16-17) เมื่อมีคนตาย ลีซอจะนำไปฝังหรือเผาบริเวณเนินเขา สันเขาหรือริมห้วย ขึ้นอยู่กับ สถานภาพ-วัย-ลักษณะการตาย และประเพณีความเชื่อที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษ ไม่มีสุสานส่วนรวม ลีซอมีความเชื่อเรื่องผีเคร่งครัด ภายในบ้านจึงมีหิ้งบูชาผีบรรพบุรุษตั้งอยู่ติดฝาบ้านด้านใน ตรงกับแนวประตูบ้าน อยู่สูงเหนือศีรษะเล็กน้อย มักตั้งน้ำในถ้วยและธูปเป็นเครื่องเซ่นไหว้ (หน้า 15-16) เมื่อลีซอต้องการเลือกสถานที่ปลูกสร้างบ้าน จะเซ่นไหว้ผีและทำพิธีเสี่ยงทายโดยใช้ข้าวเปลือกที่สมบูรณ์ จำนวนเท่ากับจำนวนสมาชิกในครัวเรือนรวมทั้งสัตว์เลี้ยง มาเรียงวางล้อมรอบไม้ที่ปักอยู่กลางหลุม บริเวณที่ต้องการปลูกสร้างบ้าน เจ้าของบ้านหรือผู้อาวุโสที่เป็นชาย ทำพิธีจุดธูป 2 ดอก ใช้น้ำ 4 ถ้วยวางข้างหลุมแล้วอธิษฐาน หากเป็นบริเวณที่ปลูกสร้างบ้านได้ ข้าวสารจะเรียงเม็ดอยู่อย่างเดิม แต่หากข้าวสารกระจัดกระจายไม่เรียงเป็นระเบียบ แสดงว่าผีไม่ต้องการให้ปลูกสร้าง ณ ที่นั้น มีข้อห้ามและความเชื่อเกี่ยวกับการปลูกสร้างบ้าน เช่น ไม้ที่ถูกฟ้าผ่าหรือไม้ที่แห้งตายเอง จะไม่นิยมนำมาสร้างบ้าน เพราะเชื่อว่าเป็นอัปมงคล หากมีวัวหรือสุนัขขึ้นหลังคาบ้านที่อยู่อาศัยถือเป็นลางร้าย เจ้าของบ้านต้องทำพิธีเซ่นไหว้บูชาผี เพื่อป้องกันมิให้เกิดเคราะห์กรรมหรือเหตุร้ายแก่สมาชิกในครอบครัว ห้ามไม่ให้ปลูกสร้างยุ้ง คอกเล้าสัตว์ โรงตีเหล็ก ตรงแนวประตูบ้านซึ่งอยู่ตรงกับหิ้งบูชาผีภายในบ้าน เพราะเชื่อว่าเป็นเหมือนเครื่องกีดขวางทางเดินเข้าออกของผี การย้ายบ้าน หากมิใช่เป็นการย้ายอย่างฉุกเฉิน จะต้องทำพิธีเซ่นไหว้ผีประจำหมู่บ้าน บอกให้ผีทราบ เพื่ออัญเชิญผีบรรพบุรุษภายในบ้านไปอยู่กับตนในหมู่บ้านแห่งใหม่และให้ความคุ้มครองขณะ เดินทาง (หน้า 14-15)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ลักษณะการปลูกสร้างบ้านเรือนของลีซอ มีทั้งบ้านที่อยู่คร่อมกับดินเรียกว่า "หมี่ชาฮี" และบ้านแบบยกพื้นที่เรียกว่า คะซาฮี นอกจากนี้ยังมีบ้านที่ลีซอปลูกเลียนแบบชาวจีนฮ่อซึ่งใช้ดินเหนียวผสมกับฟางข้าว ซึ่งทำให้บ้านค่อนข้างมืดทึบแต่คงทนแข็งแรง อากาศในบ้านไม่ร้อน บ้านแบบคร่อมดินจะยกพื้นเฉพาะที่นอนและที่รับแขก เช่นเดียวกับชาวเขาเผ่าม้งและเย้า คล้ายบ้านชาวจีน มีเตาไฟอยู่ภายในบ้าน ประตูบ้านอยู่ระหว่างกึ่งกลางของฝาบ้านด้านหน้า ส่วนบ้านแบบยกพื้น หรือ "คะซาฮี" จะยกพื้นบ้านสูงจากพื้นดินประมาณ 2-3 เมตร มีบันไดพาดสำหรับเดินขึ้นลงด้านข้างของตัวบ้าน พื้นบ้านมักสร้างให้มีความสูงต่ำเป็น 2 ชั้น พื้นบ้านด้านในจะสูงกว่าด้านนอก การปลูกสร้างบ้านแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับ ความยากง่ายในการหาวัสดุภายในท้องถิ่น แรงงานที่ใช้ในการปลูกสร้าง และฐานะทางเศรษฐกิจ โดยมากญาติพี่น้องจะช่วยกันหาวัสดุจากป่าหรือซื้อมาให้พร้อม แล้วขอแรงสมาชิกในหมู่บ้านมาช่วยกันปลูกสร้าง (หน้า 9 -11,15) โครงสร้างบ้าน ผู้วิจัยอธิบายด้วยแผนผังทั้งครอบครัวเดี่ยวและครอบครัวขยาย (หน้า 13) ประกอบด้วยห้องนอน หิ้งบูชาผี เตาไฟ ที่นอนสำหรับแขก รางไม้ใส่เศษอาหารเพื่อนำไปให้สัตว์เลี้ยง ชั้นวางถ้วยชามอาหาร บริเวณที่เก็บเครื่องมือเกษตร ราวไม้สำหรับแขวนเก็บเสื้อผ้า แบบบ้านทั้งสองชนิดนี้เป็นแบบทั่ว ๆ ไปของลักษณะที่อยู่อาศัยของลีซอ ซึ่งบางครัวเรือนก็อาจมีห้องนอนเดียวสำหรับครอบครัวเดี่ยว หรือมีสองห้องนอนสำหรับครอบครัวขยาย ที่นอนสำหรับแขกบางครัวเรือนก็มีอยู่ด้านขวามือของประตูทางเข้า บางเรือนก็จัดไว้ตรงหิ้งบูชาผีภายในบ้าน

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

สุขลักษณะ ในหมู่บ้านลีซอจะเลี้ยงสัตว์ เช่น หมู ไก่ สุนัข บางแห่งมีการเลี้ยงวัวด้วย สัตว์เลี้ยงมักจะเลี้ยงในลักษณะที่ปล่อยให้หากินเอง และให้อาหารเช้าเย็นเป็นเวลา คอกสัตว์จะปลูกสร้างขึ้นไว้สำหรับให้สัตว์พักผ่อนหลบแดดฝน และเป็นที่สำหรับนอน กลางคืนด้วย พบมูลสัตว์อยู่ทั่วไปในหมู่บ้าน การรักษาความสะอาดของหมู่บ้านในบางแห่ง ที่ได้รับการพัฒนาจากทางราชการก็ได้ปรับปรุงดีขึ้น โดยชาวบ้านช่วยกันกวาดสิ่งปฏิกูล ล้อมรั้วบริเวณบ้าน ขังสัตว์ไว้ และใช้ประปาจากน้ำธรรมชาติ สำหรับเรื่องส้วม โดยมากยังใช้ป่าหรือท้องทุ่งใกล้หมู่บ้านเป็นที่บรรเทาทุกข์ การใช้ส้วมอย่างถูกสุขลักษณะมีอยู่บ้างบางครอบครัวในบางหมู่บ้านเท่านั้น (หน้า 7)

Map/Illustration

ภาพหมู่บ้านลีซอ (3) ภาพศาลาริมทางเข้าหมู่บ้าน (4) ภาพศาลาในหมู่บ้าน (5) ภาพศาลผีประจำหมู่บ้าน (6) ภาพบ้านอยู่คร่อมกับดิน (10) ภาพบ้านแบบยกพื้น (11) แผนภาพ - แปลนภายในบ้านครอบครัวเดี่ยว-ครอบครัวขยาย (13)

Text Analyst เสาวนีย์ ศรีทับทิม Date of Report 01 พ.ย. 2555
TAG ลีซู, การตั้งถิ่นฐาน, ที่อยู่อาศั ภาคเหนือ, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง