สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject พวน ไทยพวน ไทพวน,มอญ,ลาวแง้ว, ไทเบิ้ง,กลุ่มชาติพันธุ์,ประวัติศาสตร์,ประเพณี,ความเชื่อ,ลพบุรี
Author จารุวรรณ พุ่มพฤกษ์
Title กลุ่มชาติพันธุ์ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ลาวแง้ว, มอญ รมัน รามัญ, ไทยพวน ไทพวน คนพวน, ไทเบิ้ง ไทเดิ้ง, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 93 Year 2536
Source คณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยครูเทพสตรี
Abstract

กลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดลพบุรี หากแบ่งแยกตามถิ่นที่อยู่ดั้งเดิมสามารถจำแนกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ กลุ่มชาติพันธุ์ที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่ประเทศลาวและกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่รามัญประเทศซึ่งอยู่ตอนใต้ของประเทศพม่า อาชีพของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ จะมีลักษณะคล้ายคลึงกันคือ การทำนา ทำสวนและเลี้ยงสัตว์ ทำเครื่องจักสานและทอผ้า (แต่ละกลุ่มชาติพันธุ์จะมีรูปแบบ กรรมวิธีที่ต่างกัน) ส่วนการทำอิฐมีเฉพาะคนมอญเท่านั้น ในส่วนของประเพณี แต่ละชาติพันธุ์จะมีเอกลักษณ์ของตน โดยมากจะเป็นประเพณีตามความเชื่อทางศาสนาและความเชื่อของแต่ละกลุ่มชน

Focus

ประวัติศาสตร์ ประเพณี และกลุ่มชาติพันธุ์ในลพบุรี

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ไทยพวน, แง้ว, ไทยเบิ้ง และมอญ

Language and Linguistic Affiliations

แง้วจะมีภาษาที่แตกต่างจากพวนมักลงท้ายประโยคว่า "ตี้" จึงมีบางคนเรียกแง้วว่า "ลาวตี้" (หน้า 3) มอญบางขันหมากที่เป็นคนรุ่นเก่าจะพูดได้ 2 ภาษาได้แก่ ภาษาไทยและภาษามอญ (หน้า 6)

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

"พวน" หรือ "ไทยพวน" มีถิ่นฐานเดิมที่เมืองพวน ตอนเหนือของเมืองเชียงขวาง ถูกต้อนเข้าสู่ประเทศไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้นเจ้าอนุวงศ์เป็นกบฏ ไทยจึงส่งกองทัพขึ้นไปปราบ เมื่อชนะ ขากลับได้กวาดต้อนครอบครัวลาวลงมาโดยจัดให้อยู่แถวเมืองลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรีและนครไชยศรี ครั้งแรกที่เข้าเมืองลพบุรี ตั้งหลักปักฐานที่ตำบลบ้านเซ่า "อำเภอสนามแจง" ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็น "อำเภอบ้านหมี่" (หน้า 1) "แง้ว" หรือ "ลาวแง้ว" มีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่ประเทศลาวแถบเมืองเวียงจันท์ อพยพมาจังหวัดลพบุรีพร้อมกับพวน แง้วตั้งรกรากอยู่ที่หนองน้ำแห่งหนึ่งซึ่งมีป่าล้อมรอบเรียกว่า บ้านหนองเรา ต่อมาเปลี่ยนเป็น "บ้านหนองเมือง" อำเภอบ้านหมี่ (หน้า 3) "เบิ้ง" หรือ "ไทยเบิ้ง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพมาจากเมืองเวียงจันท์ ประเทศลาว ปัจจุบันตั้งรกรากเป็นกลุ่มใหญ่ที่ตำบลดีลังและตำบลพัฒนานิคน (หนองนา) เดิมตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บริเวณหนองปลาซิว ซึ่งห่างจากที่ตั้งปัจจุบัน 20 กิโลเมตร เกิดโรคห่าระบาดจึงได้ย้ายมาที่ตำบลดีลัง (เดิมชื่อบ้านอีลัง) (หน้า 4) "มอญ" "รามัญ" หรือ "ตะเลง" เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพมาจากรามัญประเทศ เข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรก ปี พ.ศ.2127 มอญที่อยู่ในจังหวัดลพบุรี เป็นมอญที่อพยพจาก จังหวัดปทุมธานี สมุทรปราการ อยุธยาและสิงห์บุรี เดิมตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณบ้านท่าดินเหนียว ซึ่งอยู่ในตำบลโพธิ์เก้าต้น ต่อมาย้ายมาบริเวณบ้านบางคู่ หรือตำบลบางขันหมากในปัจจุบัน (หน้า 5)

Settlement Pattern

การตั้งบ้านเรือนของมอญมีลักษณะต่างจากไทย คือ มอญปลูกเรือนขวางแม่น้ำนิยมหันหน้าเรือนไปทางทิศเหนือ เป็นเรือนยกพื้นสูงหลังคาทรงจั่ว ตัวเรือนประกอบด้วย นอกชาน ระเบียง ครัวจะอยู่ด้านข้าง ภายในบ้านต้องมีเสาเรือนที่เป็นเสาเอก เป็นที่อยู่ของผีเรือน ใต้ถุนบ้านจะโล่งสำหรับเก็บของ (หน้า 6)

Demography

ไม่มีข้อมูล

Economy

- พวนเมื่อว่างจากการทำนาทำไร่ก็หันมาทำงานเกี่ยวกับหัตกรรม ผู้หญิงจะทอผ้าที่รู้จักกันในนามของผ้ามัดหมี่ ส่วนผู้ชาย จักสานกระบุง ตะกร้าและเครื่องมือหาปลา (หน้า 2) - อาชีพส่วนใหญ่ของลาวแง้วโดยมากทำนา ทำไร่ ยามว่างผู้หญิงจะทอผ้าแต่ผ้าที่ทอมิใช่ผ้าซิ่นหมี่แบบพวนแต่เป็นผ้าฝ้ายธรรมดา ผู้ชายมักจะจักสานเครื่องมือหาปลาหรือตะกร้า (หน้า 3) - ไทยเบิ้งจะประกอบอาชีพทำนาเป็นส่วนใหญ่และมีการเลี้ยงสัตว์เพื่อไว้เป็นอาหารยามว่างผู้หญิงจะทอผ้า ส่วนผู้ชายจะทำ เครื่องจักสานเช่น กระบุงและตะกร้า เป็นต้น(หน้า 4) - มอญมีอาชีพหลักคือการทำนาและการทำอิฐ(หน้า 6)

Social Organization

พวนมีนิสัยรักสงบ รักสามัคคี ขยันขันแข็งในการประกอบอาชีพ (หน้า 2) ลาวแง้วมีนิสัยรักความสงบ รักความเป็นอิสรภาพ ใจคอเยือกเย็น มีความโอบอ้อมอารีเป็นมิตรกับทุกคนและทำมาหากินด้วยความขยันหมั่นเพียร (หน้า 3)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

พวนมีประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์และคงรักษาถึงปัจจุบันคือ "ประเพณีกำฟ้า" เพื่อให้ผีฟ้าหรือเทวดาพอใจจะได้ไม่บันดาลให้ เกิดภัยพิบัติต่างๆ ถือเอาวันขึ้น 3 ค่ำเดือน 3 เป็นวันกำฟ้า ประเพณีที่สำคัญของลาวแง้ว คือ "ประเพณีเพาะกระจาด" หรือ "ประเพณีใส่กระจาด" เป็นประเพณีการทำบุญเริ่มเมื่อมีการประกาศงานบุญมหาชาติโดยแต่ละหมู่บ้านจะกำหนดไม่ตรงกัน (หน้า 2-3) ไทยเบิ้งนับถือศาสนาพุทธแต่มีประเพณีเกี่ยวกับศาสนาบางประการที่ต่างจากคนกลุ่มอื่น เช่น ประเพณีการบวชพระ ชายไทย เบิ้งจะบวชในเดือน 4 จะเป็นการบวชหมู่ทั้งหมู่บ้าน โดยจะจัดงานในวันเดียวกัน ประเพณีอีกอย่างหนึ่งคือ การทำขวัญข้าว ทำ เมื่อเกี่ยวข้าวเสร็จแล้วเพราะเป็นการเชิญแม่โพสพจากท้องนามายังยุ้งฉางในบ้าน (หน้า 5) มอญนับถือศาสนาพุทธควบคู่กับการนับถือผี ผีที่นับถือได้แก่ ผีประจำตระกูล (ผีโรง) ผีเรือนและผีศาลเจ้า โดยเชื่อกันว่า หากตระกูลใดไม่ทำพิธีเลี้ยงผีโรงจะทำให้เกิดการเจ็บป่วยหรือประสบโชคร้ายต่าง ๆ ได้ ประเพณีอีกอย่างที่เป็นเอกลักษณ์ของมอญคือ ประเพณีการไว้ผมโก๊ะของเด็กชายและหญิง เป็นการไว้ผมกลางกระหม่อมโดยโกนบริเวณอื่นทิ้ง เด็กมอญบางขันหมากจะไว้ผมโก๊ะตั้งแต่เกิดจนถึงอายุ 2-3 ขวบหรือบางคนไว้จนกระทั่งจบการศึกษาในระดับประถมศึกษา (หน้า 6)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

"ไทยเบิ้ง" จะทอผ้าเป็นตารางหมากรุกทั้งตาใหญ่และตาเล็กสีสันสวยงามสะดุดตา (หน้า 4)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ Date of Report 20 ส.ค. 2556
TAG พวน ไทยพวน ไทพวน, มอญ, ลาวแง้ว, ไทเบิ้ง, กลุ่มชาติพันธุ์, ประวัติศาสตร์, ประเพณี, ความเชื่อ, ลพบุรี, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง