สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ไทใหญ่,อัตลักษณ์,เชียงใหม่
Author วันดี สันติวุฒิเมธี
Title กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของชาวไทใหญ่ชายแดนไทยพม่า กรณีศึกษา หมู่บ้านเปียงหลวง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ไทใหญ่ ไต คนไต, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 29 Year 2545
Source ล้านนา จักรวาล ตัวตน อำนาจ ,โครงการอาณาบริเวณศึกษา 5 ภูมิภาค, พ.ย. 2545, หน้า 183-211.
Abstract

ความเป็นชาติพันธุ์ของไทใหญ่เปียงหลวงเป็นสำนึกที่ถูกสร้างขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยไทใหญ่บ้านเปียงหลวงเป็นผู้เลือก อัตลักษณ์ต่าง ๆ ได้แก่ การหยิบยกบุคคลและเหตุการณ์ที่สร้างจิตสำนึกที่สร้างความเป็นชาติ การสืบทอดอัตลักษณ์ ทางภาษาและวัฒนธรรมไต การผลิตสื่อทางการเมืองในรูปของบทเพลง และสิ่งพิมพ์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเมือง ใน ขณะเดียวกันก็มี อัตลักษณ์ที่ถูกทำให้พร่ามัว ได้แก่ การสัก การผลิตอัตลักษณ์ของไทใหญ่บ้านเปียงหลวงเป็น การขีดเส้นพรมแดนทางชาติพันธุ์ของตนให้ชัดเจน เพื่อแสดงออกถึงสำนึกที่มีต่อชาติพันธุ์ตนเอง และต่อต้านนโยบาย "ทำให้เป็นพม่า" ไทใหญ่ บ้านเปียงหลวงได้เลือกอัตลักษณ์มากมายขึ้นมาใช้จำแนกตนเองออกจากกลุ่มชาติพันธุ์อื่น (หน้า 206)

Focus

ศึกษาการสร้างและรักษาอัตลักษณ์ความเป็นไทใหญ่ ท่ามกลางกระแสการเมืองที่เปลี่ยนแปลงและการรับรู้ของประชาคมไทใหญ่ (คำนำ)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ไทใหญ่ชายแดนไทย - พม่า หมู่บ้านเปียงหลวง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ (หน้า 183)

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาไทใหญ่ (หน้า 230)

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

หมู่บ้านเปียงหลวง ประชากรเกือบทั้งหมดของหมู่บ้านอพยพมาจากรัฐฉาน ประเทศพม่า ปี พ.ศ. 2471 เริ่มจากมีกลุ่มพ่อค้าไทใหญ่และไทยล้านนาประมาณ 10 กว่าครอบครัวเป็นกลุ่มแรกมาที่หมู่บ้านเปียงหลวง ต่อมาปี พ.ศ. 2501 เจ้าน้อยซอหยันต๊ะ ผู้นำกลุ่ม "หนุ่มศึกหาญ" กองกำลังกู้ชาติไทใหญ่กลุ่มแรก ได้เข้ามาตั้งกองบัญชาการตามแนวชายแดนไทยตั้งแต่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย จนถึงจังหวัดแม่ฮ่องสอน เนื่องจากหมู่บ้านเปียงหลวงอยู่ระหว่างกองบัญชาการย่อยทั้งหมด จึงกลายเป็นศูนย์กลางการประสานงานของกองกำลังกู้ชาติไทใหญ่ ประชากรหมู่บ้านจึงเป็นทหารไทใหญ่และครอบครัว ต่อมาไทยใหญ่เป็นพันธมิตรกับกองกำลังทหารจีนคณะชาติ ที่ถอยร่นการสู้รบจากรัฐฉานมาประเทศไทย และด้วยนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ไทยจึงยอมให้หมู่บ้านเปียงหลวงเป็นศูนย์บัญชาการใหญ่ของกองกำลังกู้ชาติไทใหญ่ และยอมให้ทหารจีนคณะชาติตั้งบ้านเรือนร่วมกับทหารไทใหญ่ (หน้า 183-184)

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

ประชากรของหมู่บ้านเปียงหลวงปัจจุบันมีจำนวนมากกว่า 10,000 คน ร้อยละ 60 เป็นไทใหญ่ (หน้า 188) ประชากรไทใหญ่กว่าร้อยละ 90 ไม่มีบัตรประชาชน ประชากรกลุ่มหลักเป็นไทใหญ่ รองลงมาเป็นจีนฮ่อ ลีซอ ปะหล่องและคนไทย (หน้า 183)

Economy

หลังจากที่ขุนส่าวางอาวุธต่อรัฐบาลพม่า ส่งผลถึงความเป็นอยู่ของชาวบ้านเปียงหลวง เช่น อาชีพเปลี่ยนไป จากการเป็นบุคลากรในกองทัพมาเป็นแรงงานรับจ้างในเมือง และเมื่อมีการปิดด่าน ทำให้เส้นทางค้าขายที่สำคัญ จากที่เคยอยู่ที่บ้าน เปียง หลวงเปลี่ยนไปอยู่ที่บ้านหนองอุก อำเภอเชียงดาวแทน ส่งผลให้ตลาดที่เคยคึกคักเงียบเหงาลง (หน้า 187) เนื่อง จากไทใหญ่ส่วนใหญ่ไม่มีบัตรประชาชน ที่ดินทำกินและงานในหมู่บ้านมีไม่มากนัก จึงต้องไปหางานทำในเมืองเชียงใหม่และเมืองอื่น ๆ อาชีพที่ทำได้มีไม่มากนักและมีรายได้น้อย หากต้องการรายได้มาก จำเป็นต้องประกอบอาชีพที่สังคมไม่ยอมรับและผิดกฏหมาย เช่น อาชีพโสเภณี และค้ายาเสพติด ชีวิตของชาวเปียงหลวงในปัจจุบันจึงเกี่ยวพันกับปัญหาแรงงานผิดกฏหมาย โสเภณี ยาเสพติด (หน้า 188)

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

หลังจากก่อตั้งกองกำลัง SURA (Shan United Revolutionary) นายพลโมเฮงได้จับมือเป็นพันธมิตรกับนายพล หลี่ เหวินฮวน ผู้นำกองกำลังทหารจีนคณะชาติหรือทหารก๊กมินตั๋ง โดยทั้งสองตกลงกันว่าจะร่วมกันสู้รบกับพรรคคอมมิวนิสต์และกองกำลังของรัฐบาลพม่า ขณะนั้นประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาคอมมิวนิสต์ ปี พ.ศ. 2512 รัฐบาลไทยจึงยอมให้กองกำลังกู้ชาติไทใหญ่ตั้งศูนย์บัญชาการใหญ่ที่หมู่บ้านเปียงหลวง เนื่องจากกลุ่มกู้ชาติไทใหญ่มีหลายกลุ่ม จึงมีแนวคิดที่จะรวมกลุ่มให้เป็นเอกภาพ ขุนส่าจึงเข้าร่วม โดยมีนายพลโมเฮงเป็นผู้นำทางการเมือง มีขุนส่าเป็นผู้นำทางการทหารและเศรษฐกิจ สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปเมื่อนายพลโมเฮงเสียชีวิต ขุนส่ากลายเป็นผู้นำสูงสุด ประกาศตั้งรัฐอิสระในพื้นที่รัฐฉาน และนำเงินจากการค้ายาเสพติดมากู้ชาติ เขตปกครองของทหารไทใหญ่คือ ชายแดนระหว่างจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน จนถึงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวินในรัฐฉาน ต่อมาในปี พ.ศ.2539 ขุนส่าประกาศวางอาวุธกับรัฐบาลพม่า ส่งผลถึงความเป็นอยู่ของชาวบ้านเปียงหลวง เช่น เกิดการจัดระเบียบสังคมใหม่ อาชีพเปลี่ยนไปจากเป็นบุคลากรในกองทัพมาเป็นแรงงานรับจ้าง เส้นทางการค้าเปลี่ยนไป โรงเรียนทั้ง 18 แห่งของกองทัพไทใหญ่ต้องปิดตัวลง วัดฟ้าเวียงอินทร์ที่เคยเป็นศูนย์กลางประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของไทใหญ่ทั้ง 2 ฝั่ง คือ หมู่บ้านเปียงหลวงและหมู่บ้านในเขตชายแดนรัฐฉานถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนอย่างชัดเจน และจำนวนไทใหญ่อพยพมาอยู่หมู่บ้านเปียงหลวงมีมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากนโยบายการปราบปรามไทใหญ่ของรัฐบาลพม่า (หน้า 184-186)

Belief System

ไทใหญ่บ้านเปียงหลวงนับถือศาสนาพุทธ มีวัดฟ้าเวียงอินทร์ เป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนา (หน้า 187) รอยสักเป็นอัตลักษณ์ที่บ่งบอกความเป็นไทใหญ่มาแต่อดีต นิยมสักทั้งชายและหญิง เช่น การสักยาข่าม มีเป้าหมายเพื่อความเป็นคงกระพันชาตรี การสักมหานิยม มีเป้าหมายเพื่อความเป็นสิริมงคล การสักขาลาย มีเป้าหมายเพื่อแสดงความอดทนโดยมี "สล่าสักยา" หรือ "หมอสัก" เป็นผู้ทำการสัก (หน้า 191)

Education and Socialization

ไทใหญ่ในรัฐฉานมีแบบเรียนภาษาไทใหญ่แบบ "ลิ่กตัวกลม" สำหรับชั้น ป.1- ป.5 ตำราชุดนี้เรียกว่า "ลิ่กไตหัวเสือ" (หน้า 196) บ้านเปียงหลวงโรงเรียนเปียงหลวง สอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลจนถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปัจจุบันมีนักเรียนมากกว่า 1,000 คน (หน้า 209) ประเพณีปอยที่สะท้อนถึงการให้ความสำคัญกับการศึกษา - ปอยครูหมอ จัดขึ้นเพื่อยกย่องครูบาอาจารย์ที่สั่งสมความรู้ไว้ให้คนรุ่นหลังเนื่องจากคำว่า "หมอ" ในภาษาไทใหญ่หมายถึงผู้มีความชำนาญในวิชาความรู้สาขาใดสาขาหนึ่งจนสามารถนำไปสอนผู้อื่นได้ -ปอยปิดภาคเรียนภาษาไต เป็นประเพณีใหม่ที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อรองรับหลักสูตรการเรียนภาษาไทใหญ่ภาคฤดูร้อนของหมู่บ้านเปียงหลวง เด็กที่เข้าเรียนภาษาไทใหญ่จะจัดเตรียมการแสดงประกอบเพลง เนื้อหาของเพลงโดยมากส่งเสริมให้เด็กเห็นความสำคัญของการสืบทอดภาษา สถานที่จัดงานคือวัดเปียงหลวงซึ่งเป็นศูนย์กลางการเรียนการสอน (หน้า 202-203)

Health and Medicine

"สล่าสักยา" เป็นผู้มีความรู้ ทำการรักษาโรคด้วยยาสมุนไพร เป็นหมอผีและหมอดู (หน้า 192)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

เพลงชาติที่ไทใหญ่บ้านเปียงหลวงรู้จักมี 2 แบบ แบบแรกมีชื่อว่า "กวามเจ้อจ้าต" (ความเชื้อชาติ) เป็นเพลงที่สภาเจ้าฟ้าไทใหญ่ในรัฐฉานประกาศให้เป็นเพลงชาติครั้งแรกในวันชิติไต 7 กุมภาพันธ์ 1947 ส่วนเพลงชาติแบบที่ 2 คือเพลงชาติไต ทำนองเดียวกับเพลงชาติไทย แต่งขึ้นสมัยเจ้าน้อย วงดนตรี "เจิงแลว" เป็นบทเพลงที่มีเนื้อหาปลุกใจให้รักชาติ มีเนื้อหาสะท้อนให้เห็นถึงสถานการณ์การเมืองและสภาพชีวิตของไทใหญ่ อาทิเช่น เพลงวันไตเต๋รอดแลว แปลว่าวันที่ไทใหญ่จะได้เป็นเอกราช เพลงเนวินโจรแค็บจ๊อย แปลว่า เนวินโจรปล้นแบ็งค์ร้อย เป็นต้น (หน้า 198-199)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไทใหญ่บ้านเปียงหลวงมีอัตลักษณ์หลายอย่างที่นำมาสร้างพรมแดนชาติพันธุ์ของตน เช่นเรื่อง ภาษา เครื่องแต่งกาย รอยสัก และระบบการผลิตและการประกอบอาชีพ เป็นต้น และเริ่มเปลี่ยนไปหลังจากสถานการณ์การเมืองเปลี่ยนไป ดังนี้ - การสร้างสำนึกทางประวัติศาสตร์ผ่านบุคคลและเหตุการณ์ ได้แก่ เจ้าเสือข่านฟ้า มีความสำคัญในฐานะเป็นผู้ "สร้างชาติ" ไทใหญ่ขึ้นเป็นครั้งแรก พระนเรศวร มีความสำคัญในฐานะผู้มีความสามารถในการรบชนะพม่า หรือมี "ศัตรูร่วม" กับคนไทใหญ่ รวมทั้งเป็นกษัตริย์ผู้เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างชายไทใหญ่ - ไทยน้อย นายพลโม เฮง มีความสำคัญในฐานะ "นักรบกู้ชาติ" เป็น "แม่แบบ" ของนักรบในความเป็นจริงที่คนไทใหญ่ควรเอาเยี่ยงอย่าง และสัญญาปากโหลง เป็นสัญญาแห่งความเลวร้ายของรัฐบาลพม่า ที่ทำให้ไทใหญ่ต้องลุกขึ้นจับปืนรบและอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในแผ่นดินไทย (หน้า 195) - อัตลักษณ์ด้านภาษา มีการสอนภาษาไทใหญ่ขึ้นอีกครั้งในโรงเรียนและวัด ไทใหญ่ในรัฐฉานเริ่มมีแบบเรียนภาษาไทใหญ่แบบ "ลิ่กตัวกลม" ใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2501 - อัตลักษณ์ทางการเมืองเป็นอัตลักษณ์ที่เด่นที่สุด เนื่องจากบริเวณพรมแดนนี้อยู่ภายใต้การควบคุมของกองกำลังกู้ชาติไทใหญ่เป็นระยะเวลานานเกือบ 30 ปี อัตลักษณ์ที่ถูกผลิตออกมา คือบทเพลงและสิ่งตีพิมพ์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเมือง (หน้า 197-198) - การรื้อฟื้นประเพณีเก่า ประดิษฐ์ประเพณีใหม่ ได้แก่ งานปอยปีใหม่ งานปอยครูหมอไต และงานปิดภาคเรียนภาษาไต การต่อสู้ของจ้าตไต จ้าตไต คือ ลิเกไทใหญ่ และยังมีการผลิตอัตลักษณ์ของไทใหญ่ ได้แก่ การใช้สัญลักษณ์ของการใช้สีธงชาติไต คือ เหลือง เขียว แดง มาตบแต่ง (หน้า 201-204) - รอยสัก การสักเป็นอัตลักษณ์ที่บ่งบอกความเป็นไทใหญ่มาแต่อดีต นิยมสักทั้งชายและหญิง มีการสักหลายรูปแบบ เช่น การสักยาข่าม มีเป้าหมายเพื่อคงกระพันชาตรี การสักมหานิยม มีเป้าหมายเพื่อความเป็นสิริมงคล การสักขาลาย มีเป้าหมายเพื่อแสดงถึงความอดทนเข้มแข็ง เป็นต้น (หน้า 175-222) - ไทใหญ่มีเพลงชาติไทใหญ่ที่บ้านเปียงหลวงมี 2 แบบ แบบแรกมีชื่อว่า "กวามเจ้อจ๊าต" (ความเชื้อชาติ) โดยสภาเจ้าฟ้าไทใหญ่ประกาศให้เป็นเพลงชาติและประกาศให้ชนชาติไทใหญ่ใช้ธงชาติไตร่วมกันตั้งแต่ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1947 เพลงชาติแบบที่ 2 คือ "เพลงชาติไต" มีทำนองเดียวกับเพลงชาติไทย (หน้า 191 -198 )

Social Cultural and Identity Change

รอยสักเป็นอัตลักษณ์ที่บ่งบอกความเป็นไทใหญ่มาแต่อดีต หลังจากที่ขุนส่าวางอาวุธ ไทใหญ่จำนวนมากหนีเข้ามาอยู่ในประเทศไทย การสักซึ่งเป็นอัตลักษณ์ที่บ่งบอกความเป็นไทใหญ่อย่างชัดเจนในอดีต แต่คนรุ่นปัจจุบันไม่นิยมสัก เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองที่เปลี่ยนไป ไทใหญ่ส่วนใหญ่มีบัตรประชาชน ถ้ามีรอยสักก็จะเป็นที่สังเกต ส่งผลให้ "สล่าสักยา" หรือ "หมอสัก" ที่เคยเป็นที่นับถือของชุมชนก็ลดบทบาทลง ไม่มีผู้สืบทอดความรู้เรื่องสัก (หน้า 175 - 222)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

- เครื่องแต่งกายชายไทใหญ่,เครื่องแต่งกายหญิงไทใหญ่แบบสมัยใหม่(176) - สัญลักษณ์ธงชาติไต มักปรากฏอยู่ในข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของไทใหญ่บ้านเปียงหลวง(177) - ชุดนางรำจ้าตไตหรือลิเกไทใหญ่ก่อนถูกตัดชายสิ้นเพื่อหลีกหนีความเป็นพม่า,ชุดนางรำจ้าตไตหรือลิเกไทใหญ่หลังตัดชายซิ่น(178) - งานปอยส่างลองหรืองานบวชเณรของไทใหญ่(179) - เจ้าน้อย ซอหยิ่นต๊ะ ผู้นำกลุ่มหนุ่มศึกหาญ กองกำลังกู้ชาติไทใหญ่กลุ่มแรก ก่อตั้งปี พ.ศ.2501,นายพลโม เฮงหรือเจ้ากอนเจิง ผู้นำกองกำลังกู้ชาติไทใหญ่ กลุ่ม "SURA" สูญเสียแขนจากการสู้รบเมื่อปี 2502(180) - ขุนส่าหรือจางซีฟู ผู้นำกองกำลังกู้ชาติไทใหญ่ต่อจากนายพลโม เฮง และตัดสินใจวางอาวุธเมื่อเดือน มกราคม 2539(181) - ตำราเรียนภาษาไทใหญ่ ชั้น ป.1- ป.5(182) - หมายเลข 1 2และ3 คือหมู่บ้านของเด็กนักเรียนที่เดินทางมาเรียนที่โรงเรียนหลักแต่ง ประกอบด้วยหมู่บ้านปางก้ำก่อ ห้วยยาวและปางใหม่สูง ตามลำดับ(หมู่บ้านทั้งหมดอยู่ในเขตการสู้รบ)(หน้า 211)

Text Analyst ขนิษฐา อลังกรณ์, สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ Date of Report 12 เม.ย 2548
TAG ไทใหญ่, อัตลักษณ์, เชียงใหม่, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง